ข้อสังเกตสถานะทางกฎหมายของกฎหมายในหมวดปฏิรูปประเทศภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายในหมวดปฏิรูปประเทศภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังมีประเด็นข้อคำถามว่ากฎหมายในหมวดนี้ถือเป็นกฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญหรือเป็นกฎหมายที่ออกตามความรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงกฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญหรือเป็นกฎหมายที่ออกตามความรัฐธรรมนูญ ว่าคือกฎหมายอะไร
“กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ” หมายถึง “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ” (Organic Law) เป็นกฎหมายที่ผูกอิงอยู่กับรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ แตกต่างจากกฎหมายชนิดอื่น ๆ เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น เป็นกฎหมายที่สำคัญรองจากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญจะกล่าวถึงเฉพาะหลักการสำคัญ ส่วนรายละเอียดก็กำหนดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อขยายเนื้อหาในรัฐธรรมนูญโดย “อาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ” ในการหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ “ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ” กำหนดให้มี “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ” เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” (Organic Act) ซึ่งเป็น “กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ” เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็น “กฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ” และได้กำหนดให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีสถานะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญเทียบเท่ากับกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ โดยให้เหตุผลว่าถึงแม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายพิเศษ แต่มีลำดับชั้นทางกฎหมายลำดับชั้นเดียวกับพระราชบัญญัติ เพียงแต่มีเงื่อนไขในการตราที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติ คือ มีกรอบเนื้อหาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วโดยรัฐธรรมนูญมีไว้เพื่อขยายความรัฐธรรมนูญ และเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญนั้นเองจะเป็นผู้กำหนดว่าให้มีกฎหมายใดบ้างที่ถือเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกำหนดกรอบว่ากฎหมายนั้นจะมีเนื้อหาอย่างไร โดยจะมีกระบวนการตรา คือ การออกกฎหมายที่พิเศษเฉพาะกว่ากฎหมายทั่วไป แต่ลำดับศักดิ์ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ก็ไม่น่าจะสูงกว่าพระราชบัญญัติ ด้วยเหตุผล 2 ประการที่สำคัญดังนี้
ประการที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคดีที่ 1-2/2550 และ คดีที่ 3-5/2550 ได้วินิจฉัย “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีสถานะทางเท่าเทียมกับพระราชบัญญัติ” ถือว่าเป็น “กฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ” เช่นเดียวกัน
ประการที่ 2 คือ ไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดให้อำนาจตรา “กฎหมาย” (ในความหมายของพระราชบัญญัติ) ขึ้นมาเพื่อขยายความพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งการ “ออก (กฎหมาย) ลูก” ได้นี้ คือ ข้อบ่งชี้ประการหนึ่งของความเป็นกฎหมายที่ลำดับศักดิ์สูงกว่า ตามทฤษฎีห่วงโซ่แห่งความบริสุทธิ์ของกฎหมายของ ฮันส์ เคลเซ่น (Hans Kelsen) ดังนั้น หากมีกรณีขัดแย้งกันระหว่างพระราชบัญญัติทั่วไป กับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ต้องกลับไปสู่หลักการตีความกฎหมายทั่วไป คือ กฎหมายเฉพาะยกเว้นกฎหมายทั่วไป เช่นนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถือ เป็นกฎหมายเฉพาะ (คือเฉพาะเรื่องที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญ) จึงอาจยกเว้นกฎหมายทั่วไปได้ กฎหมายอื่นจึงขัดกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่ไม่ใช่เพราะมันลำดับศักดิ์สูงกว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ม มาตรา 130 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 “ให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ (1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน (6) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (7) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน (8) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (10) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
แต่อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นับว่ามีความพิเศษกว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทั้ง 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้มีความเป็นพิเศษและมีความสำคัญกว่าพระราชบัญญัติจะเห็นได้จากจำนวนผู้มีเสนอร่างกฎหมาย การพิจารณาร่างกฎหมายและการควบคุมร่างกฎหมายที่แตกต่างไปจากพระราชบัญญัติ
“กฎหมายที่ออกตามความของรัฐธรรมนูญ” หมายถึง “พระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ” ที่ออกมาโดย “อาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ” ซึ่ง “พระราชบัญญัติ” มีมากมายหลายฉบับด้วยกัน ตามความต้องการของประชาชนตามสถานการณ์ของบ้านเมือง เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขความสมบูรณ์ของกฎหมายที่จะตราขึ้นใช้บังคับ “ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ” กฎหมายนั้นย่อมเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ในตัวมันเองโดยมิได้ผูกอิงอยู่ติดกับรัฐธรรมนูญ ดังเช่นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ส่วน “กฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญของประเทศไทย” คือ กฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ ได้แก่ พระราชกำหนด ประมวลกฎหมาย กฎมณเทียรบาล กฎอัยการศึก เป็นต้น
“กฎหมายในหมวดปฏิรูปประเทศ” หมายถึง พระราชบัญญัติที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดไว้หมวดปฏิรูปประเทศหมวดที่ 16 ตั้งแต่มาตรา 257 ถึงมาตรา 261 ดังนี้
มาตรา 257 การปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(1) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ
(2) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ
(3) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 258 ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้
ก. ด้านการเมือง
(1) ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองรวมตลอดทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รู้จักยอมรับในความเห็นทางการเมืองโดยสุจริตที่แตกต่างกัน และให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งและออกเสียงประชามติโดยอิสระปราศจากการครอบงำไม่ว่าด้วยทางใด
(2) ให้การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองเป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เพื่อให้พรรคการเมืองพัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน มีกระบวนการให้สมาชิกพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริงในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และการคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรมจริยธรรม เข้ามาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
(3) มีกลไกที่กำหนดความรับผิดชอบของพรรคการเมืองในการประกาศโฆษณานโยบายที่มิได้วิเคราะห์ผลกระทบ ความคุ้มค่า และความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
(4) มีกลไกที่กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
(5) มีกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธีภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
(1) ให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
(2) ให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบข้อมูลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน
(3) ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและระบบการบริหารงานของรัฐและแผนกำลังคนภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ โดยต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับภารกิจของหน่วยงานของรัฐแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน
(4) ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานบุคคลภาครัฐเพื่อจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้ามาทำงานในหน่วยงานของรัฐ และสามารถเจริญก้าวหน้าได้ตามความสามารถและผลสัมฤทธิ์ของงานของแต่ละบุคคล มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว มีความคิดสร้างสรรค์และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้การปฏิบัติราชการและการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองป้องกันบุคลากรภาครัฐจากการใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา
(5) ให้มีการปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีความคล่องตัว เปิดเผย ตรวจสอบได้และมีกลไกในการป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน
ค. ด้านกฎหมาย
(1) มีกลไกให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา ๗๗ และพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตและระบบการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัว โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(2) ปฏิรูประบบการเรียนการสอนและการศึกษาอบรมวิชากฎหมายเพื่อพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายให้เป็นผู้มีความรอบรู้ มีนิติทัศนะ และยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย
(3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลกฎหมายของรัฐโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลกฎหมายได้สะดวก และสามารถเข้าใจเนื้อหาสาระของกฎหมายได้ง่าย
(4) จัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย
ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม
(1) ให้มีการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า และมีกลไกช่วยเหลือประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ รวมตลอดทั้งการสร้างกลไกเพื่อให้มีการบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม
(2) ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ชัดเจนเพื่อมิให้คดีขาดอายุความ และสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา รวมทั้งกำหนดให้การสอบสวนต้องใช้ประโยชน์จากนิติวิทยาศาสตร์ และจัดให้มีบริการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์มากกว่าหนึ่งหน่วยงานที่มีอิสระจากกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีทางเลือก
(3) เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้มุ่งอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยสะดวกและรวดเร็ว
(4) ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ อำนาจ และภารกิจของตำรวจให้เหมาะสม และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เกิดประสิทธิภาพ มีหลักประกันว่าข้าราชการตำรวจจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้ง และโยกย้าย และการพิจารณาบำเหน็จความชอบตามระบบคุณธรรมที่ชัดเจน ซึ่งในการพิจารณาแต่งตั้งและโยกย้ายต้องคำนึงถึงอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกัน เพื่อให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีอิสระ ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคลใด มีประสิทธิภาพและภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
จ. ด้านการศึกษา
(1) ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามมาตรา 54 วรรค 2 เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
(2) ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา ๕๔ วรรคหก ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(3) ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู
(4) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่
ฉ. ด้านเศรษฐกิจ
(1) ขจัดอุปสรรคและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี
(2) สร้างกลไกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(3) ปรับปรุงระบบภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มพูนรายได้ของรัฐด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงระบบการจัดทำและการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล
(4) สร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสหกรณ์และผู้ประกอบการแต่ละขนาดให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างเหมาะสม และส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและวิสาหกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างกลไกเพิ่มโอกาสในการทำงานและการประกอบอาชีพของประชาชน
ช. ด้านอื่น ๆ
(1) ให้มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำในทุกมิติ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ประกอบกัน
(2) จัดให้มีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการตรวจสอบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดินทั้งประเทศเพื่อแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินอย่างเป็นระบบ
(3) จัดให้มีระบบจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้
(4) ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการและการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน
(5) ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม
มาตรา 259 ภายใต้บังคับมาตรา 260 และมาตรา 261 การปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศซึ่งอย่างน้อยต้องมีวิธีการจัดทำแผน การมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนในการดำเนินการปฏิรูปประเทศ การวัดผลการดำเนินการ และระยะเวลาดำเนินการปฏิรูปประเทศทุกด้าน ซึ่งต้องกำหนดให้เริ่มดำเนินการปฏิรูปในแต่ละด้านภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้รวมตลอดทั้งผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังว่าจะบรรลุในระยะเวลาห้าปี
ให้ดำเนินการตรากฎหมายตามวรรค 1 และประกาศใช้บังคับภายใน 120 วันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ในระหว่างที่กฎหมายตามวรรค 1 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิรูปโดยอาศัยหน้าที่และอำนาจที่มีอยู่แล้วไปพลางก่อน
มาตรา 260 ในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายตามมาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม (4) ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ประกอบด้วย
(1) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมเป็นที่ประจักษ์และไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน เป็นประธาน
(2) ผู้เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งอย่างน้อยต้องมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรวมอยู่ด้วย มีจำนวนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เป็นกรรมการ
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมเป็นที่ประจักษ์และไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน มีจำนวนเท่ากับกรรมการตาม (2) เป็นกรรมการ
(4) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการตามวรรค 1 ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรค 2 แล้ว ถ้าการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ให้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจดำเนินการตามหลักอาวุโสตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 261 ในการปฏิรูปตามมาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา ให้มีคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระคณะหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป
ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และให้คณะกรรมการดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
ดังนั้น จึงมีประเด็นคำถามว่า “กฎหมายในหมวดปฏิรูปประเทศภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” มีสถานะทางกฎหมายที่เป็น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐ หรือ เป็นเพียง พระราชบัญญัติที่เป็นกฎหมายที่ออกตามความรัฐธรรมนูญ เนื่องจากกฎหมายจากกฎหมายในหมวดนี้ได้กำหนดไว้เฉพาะเจาะจงเป็นกฎหมายที่กำหนดในหมวดปฏิรูปประเทศที่กำหนดกรอบการตรากฎหมายไว้ชัดเจนมีลักษณะและที่สำคัญได้กำหนดวิธีการตราเช่นเดียวกันกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับพระราชบัญญัติในเรื่องชื่อ เป็น “พระราชบัญญัติ” และได้กำหนดการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันกับพระราชบัญญัติ ทำให้พระราชบัญญัติในหมวดปฏิรูปประเทศภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีลักษณะที่เป็นลูกผสมระหว่าง “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” กับ “พระราชบัญญัติ” เกิดคำถามที่ทำให้งวยงงว่า กฎหมายเหล่านี้เป็นกฎหมายประใดกันแน่
「จิตใจ หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於จิตใจ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於จิตใจ หมายถึง 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最讚貼文
- 關於จิตใจ หมายถึง 在 มาตัง ระดับดาว Facebook 的最讚貼文
- 關於จิตใจ หมายถึง 在 ร่างกาย vs จิตใจอะไรสำคัญกว่า? | ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - YouTube 的評價
- 關於จิตใจ หมายถึง 在 Psychological well-being… สุขภาวะทางจิต หมายถึง ... - Facebook 的評價
จิตใจ หมายถึง 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最讚貼文
ชีวิตในอาชีพ ที่เห็นชีวิต ฟังรับรู้ชีวิต ลงมือทำดำเนินชีวิต...
ชีวิตเราเป็นมนุษย์ มีศาสนา มีศรัทธา ด้วยเป็นคนพุทธ ต้องมีสติ มีหลักฆราวาสธรรม สำหรับวิถี มนุษย์ทุกๆคนเป็น"เพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมโลก ในท่ามกลางกาลเวลาเดียวกัน"
ยามนี้ เวลานี้ เรื่องที่ น่ากลัวที่สุดคือ "สภาพอารมณ์ จิตใจ ความรู้สึก ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรง ทางอ้อม จาก สถานการณ์ โรคโควิด 19 ระบาด"
ตามที่เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวBBCไทยและเป็นข่าวไปทั่วโลก ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ว่า "วิกฤติครั้งนี้ จะผ่อนคลาย ในเดือนกรกฎาคม"
แต่ สถานการณ์เชิงลึก ของโรคระบาด และเรื่องอื่นๆเช่นสงคราม ยังมีความน่ากลัวไปถึงปี 2565
หมายถึง การระบาดซ้ำ คนเคยติดแล้วเชื้อโรคที่อยู่ในตัวมันยังไม่ตาย มันน่ากลัว ต้องดูแลร่างกายและตรวจเช็คสุขภาพ ระวังการตีกลับของโรคและการเเพร่เชื้อ
สงครามและความรุนแรงทางการเมืองในหลายประเทศ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ
วิถีชีวิตแบบพอเพียง พึ่งพาตนเอง การหันมาสนใจเรื่องการเพาะปลูก พืชเกษตร พืชสวน การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ลดการก่อหนี้บุคคล หนี้ครัวเรือน
แผ่นดินไทยนี้ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยพระบารมีอดีตบุรพกษัตริย์และบรรพบุรุษ บรรพสตรีไทย ขอให้มีสติ ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท ใช้ชีวิตอยู่กับความจริง แบบพอเพียง มีความหวัง กำลังใจ แม้ยามนี้ จะมึนๆ มืดๆ เเวบๆ เป็นปกติ ทุกๆคนเจอเหมือนกัน ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันทั้งประเทศ และหลายๆประเทศหนักกว่าเรามาก ครับ
ขอให้ทุกๆคน มีความหวังกำลังใจ และผ่านพ้น เรื่องที่เลวร้าย ไม่มีอะไรหนักกว่าที่ผ่านมาแล้วครับ ฟ้าหลังฝนของ คนดี มีสติ มีธรรม มีบุญ ย่อมดีอย่างแน่นอน
ลักษณ์ ราชสีห์
จิตใจ หมายถึง 在 มาตัง ระดับดาว Facebook 的最讚貼文
ผ่านไป 2 วัน นับจากวันเกิด 20/12/62
ขอบคุณทุกคำอวยพร
ของขวัญทุกชิ้น รูปภาพทุกรูป
รอยยิ้มของทุกคน ที่ให้กันมา
20 ปีของการเกิดมาในโลกใบนี้
555555555555 เว่อมาก แต่จริง
ภูมิใจกับตัวเองอยู่ไม่น้อย
ที่ผ่านมาได้ขนาดนี้เนอะะะะะ
รู้สึกตัวเลย ว่าตัวเองเนี่ย เปลี่ยนไปทุกวัน
ไม่มีมาตังคนเดิมสักวันเลย
แต่เราพยายามเปลี่ยนตัวเอง
ให้ได้เวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิมนะะเว้ย
เมื่อก่อนพูดบ่อยมากว่า ‘จะไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง’
มาถึง ณ วันนี้ เราทำแบบนั้นไม่ได้หรอก
ขอแค่เราผิดหวังกับตัวเองให้น้อยที่สุด ก็พอแล้ว
20ปี สำหรับทุกคน อาจจะผ่านไปไวเหมือนโกหก
บางคนตดยังไม่ทันหายเหม็น ก็ 20ขวบละ
แต่สำหรับเรา เรารอคอยวันนี้มานานมาก
ตั้งแต่ออกจากท้องแม่ เราก็อยากอายุ 20 แล้ว
55555555555 เว่ออีกและะะะ
หลายคนอาจจะคิดว่า ไอ้เด็กนี่ รอเข้าร้านเหล้าแหล่ะ
รอทำนู่นนี่ ที่มันไม่ดีบ้างแหล่ะ บลาๆ
แต่ส่วนตัวเรา เรามองว่า 20ปีบริบูรณ์
คือเราสามารถรับผิดชอบตัวเองได้แล้ว
หมายถึง ไม่จำเป็นต้องพึ่งลายเซ็นใคร
อีกสิ่งนึงคือ หน้าที่การงานเราด้วย
มันอาจจะหลากหลายมากกว่าเมื่อก่อน
คอนเท้นต์ในเพลง ก็คงจะไม่เด็กเหมือนแต่ก่อน
เข้าร้านเหล้าได้ คือ อยากเข้าไปร้องเพลง
เราอยากเจอคนเยอะๆแบบพี่ศิลปินคนอื่นบ้าง
แค่นี้แหล่ะ 5555555555555555
ไม่ขอตั้งใจว่าจะเปลี่ยนอะไรในตัวเองละกัน
เพราะเราเปลี่ยนไปโดยไม่รู้ตัวในทุกย่างก้าวอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่มันยังเหมือนเดิมสำหรับเรา คือ จิตใจ
ไปละ ขอบคุณอีกทีนะคะ :)
จิตใจ หมายถึง 在 Psychological well-being… สุขภาวะทางจิต หมายถึง ... - Facebook 的推薦與評價
สุขภาวะทางจิต หมายถึง สภาวะทางจิตใจของบุคคลอันเป็นภาวะทางจิตที่ดี มีความสุข มีความพึงพอใจในชีวิต ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับการที่บุคคลมีคุณภาพชี ... ... <看更多>
จิตใจ หมายถึง 在 ร่างกาย vs จิตใจอะไรสำคัญกว่า? | ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - YouTube 的推薦與評價
ร่างกายกับ จิตใจคือ ส่วนหนึ่งของตัวเรา มีความสำคัญเท่ากัน ไม่มีสิ่งไหนที่สำคัญกว่าหนึ่งในข้อคิดที่ได้จากบทสัมภาษณ์ยาวของเกลา นิสัยอันตราย ... ... <看更多>