ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับ PASSIVE INCOME
.
วันนี้มีเวลานั่งดูรายการในช่อง YouTube จับพลัดจับผลูเปิดไปเจอช่องรายการสอนรวยของกูรูธุรกิจและการลงทุน ตอนแรกว่าจะข้ามไป แต่เห็นเขาพูดถึง PASSIVE INCOME แถมยกหนังสือ Rich Dad Poor Dad (พ่อรวยสอนลูก) ที่ผมเป็นคนเรียบเรียงขึ้นมาอ้าง ก็เลยนั่งฟังดูสักหน่อย
.
เผลอแพร๊บเดียว นั่งดูไปตั้งหลายคนหลายตอน แต่บทสรุปที่ได้รับจากการดู ก็คือ ทุกคนพูดเรื่อง PASSIVE INCOME ดีเกินจริง ดีเกินไป เหมือนมีแล้วไม่ต้องทำอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เลย
.
วันนี้ผมเลยอยากหยิบยก 5 ความเข้าใจผิดๆ ที่พูดถึงกันบ่อยๆ เกี่ยวกับ Passive Income มาเล่าให้ฟังกันครับ
.
1) PASSIVE INCOME เป็นเรื่องง่ายๆ
.
ที่จริงประเด็นนี้ก็ใช่ว่าจะผิดไปทั้งหมดหรอกนะครับ เพราะ PI ที่ทำได้ง่าย มันก็มีจริงๆ อย่างเช่น “เงินฝาก” แค่เอาเงินไปฝากธนาคาร เราก็ได้ “ดอกเบี้ย” เป็น Passive Income แล้ว เพียงแต่อาจต้องมีเงินฝากเป็นกอบเป็นกำจริงๆ ดอกเบี้ยถึงจะพอเลี้ยงตัวเราได้
.
แต่ถ้าเป็น Passive Income จากธุรกิจและการลงทุน ในรูป “ค่าเช่า” “เงินปันผล” หรือ “ค่าลิขสิทธิ์” เช่น เป็นเจ้าของกิจการ ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า การลงทุนในหุ้น หรือกองทุนรวม รวมไปถึงลิขสิทธิ์ในงานที่เราสร้างขึ้น อันนี้ต้องใช้ทักษะและความรู้เพิ่มขึ้นมาเยอะเลย ถึงจะมีรายได้จากทรัพย์สินได้
.
ทั้งนี้ไอ้ประเภท จ่ายเงินครั้งเดียว กินกำไรกันไปตลอด ผมคิดว่าไม่น่าจะใช่ และน่าจะเป็นการหลอกลวงเสียมากกว่า ยิ่งถ้าโฆษณาการันตีผลตอบแทนสูง ๆ อันนี้ยิ่งต้องระวังครับ
.
2) มี Passive Income แล้วเป็นเสือนอนกิน ไม่ต้องทำอะไร
.
ประเด็นนี้คิดว่าน่าจะเป็น Gimmick เอาไว้หลอกคนขี้เกียจอยากรวย อยู่เฉยๆ แล้วอยากได้เงิน ซึ่งก็ไม่่มีจริงหรอกครับ ผมเองมี Passive Income จากทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล และค่าลิขสิทธิ์ บอกได้เลยว่า ไม่ต้องทำอะไรแล้วจะได้รายได้ เป็นเรื่องไม่จริง
.
การมีทรัพย์สินที่สร้างรายได้ อาจช่วยผ่อนแรงให้คุณไม่ต้องทำงานทุกวัน และเลือกจัดสรรเวลาทำงานได้ แต่ไม่ทำงานเลย อันนี้คงไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่น
.
ถ้าคุณมีธุรกิจ: คุณอาจไม่ได้เข้าออฟฟิศทุกวัน เพราะมีลูกน้องคอยช่วยคุณทำงาน แต่คุณไม่ทำงานเลย ไม่บริหารจัดการ ไม่พบปะลูกค้า ไม่มีปัญหาอะไรให้คุณแก้เลย ก็คงจะไม่ใช่
.
ถ้าคุณมีบ้านเช่า: คุณก็ไม่ต้องทำงานทุกวัน สิ้นเดือนคอยเก็บค่าเช่าก็จริง แต่ระหว่างเดือนมีปัญหามาได้ตลอดนะ ไอ้โน่นเสีย ไอ้นี่พัง ผู้เช่ามีเรื่องทะเลาะกับบ้านข้างๆ วันดีคืนดีผู้เช่าย้ายออก ค่าเช่าหายแว๊บเลยนะ
.
ถ้าคุณมีลิขสิทธิ์: คุณก็ต้องคอยบริหารลิขสิทธิ์และผลประโยชน์ของตัวเอง มีเรื่องสู้กับคนละเมิดลิขสิทธิ์อยู่บ่อยๆ
.
ถ้าคุณมีหุ้น: คงไม่มีหุ้นที่ซื้อไว้ครั้งเดียวแล้วกินปันผลจนตายได้หรอกครับ เวลาเปลี่ยน ธุรกิจมีทั้งเติบโตล้มตาย พอร์ตหุ้นก็ต้องปรับ มีข้อมูลให้ต้องติดตามอยู่ตลอด
.
โดยสรุปการมี Passive Income ไม่ใช่ว่ามีแล้วจะมีไปตลอด มันก็มีเพิ่มมีลดตามความสามารถในการสร้างรายได้ของทรัพย์สินที่เราถือครอง ดังนั้นมันจะขาดการทำงานของเจ้าของทรัพย์สินไปไม่ได้หรอกครับ
.
เพียงแต่ว่าถ้าคุณมีทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด มันจะเหมือนคุณมี “เครื่องผ่อนแรง” ให้คุณได้พักจากการทำงานแลกเงิน (Active Income) อยู่บ้าง ช่วยให้คุณจัดสรรเวลาในชีวิต มีอิสระทางเวลาที่มากขึ้นเท่านั้น
.
จะสังเกตผมใช้คำว่า “เครื่องผ่อนแรง” เพราะมันทำงานให้เราได้ มันก็หยุดเสียหยุดซ่อมได้ อะไรที่มีคำว่า “เครื่อง” นำหน้า มีลักษณะแบบนี้เหมือนกันหมดครับ
.
3) Passive Inome จะทำเงินให้เราไปตลอด
.
ประเด็นนี้ก็ไม่จริงนะครับ ไม่มีอะไรเป็นอมตะนิรันดร์กาลขนาดนั้นหรอก จำไว้ว่า ทรัพย์สินใดๆ ในโลกล้วน Dynamic มีขึ้น มีลง มีเติบโต มีตกต่ำ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งหมดทั้งปวง (สาธุ)
.
ธุรกิจที่เคยทำเงิน วันหนึ่งก็กลายเป็นธุรกิจที่ล่มสลายได้ (ลองนึกธุรกิจที่เราเห็นในตอนเป็นเด็ก แต่วันนี้ไม่อยู่แล้วดู)
บ้านเช่าที่เคยมีคนอยู่อาศัยไม่เคยขาด วันหนึ่งก็อาจร้าง ไม่มีผู้เช่าได้เหมือนกัน (ช่วงโควิดนี่ชัดเลย)
.
ลิขสิทธิ์เพลง หนังสือ ที่เคยได้รับความนิยม วันหนึ่งคนก็ลืม ไม่ซื้อ ไม่โหลด (วันนึงโค้ชหนุ่มหันหลังให้ยุทธจักร ก็คงไม่มีคนซื้อหนังสือโค้ชหนุ่มแล้ว 555)
.
หุ้นที่เคยปันผล วันหนึ่งกิจการไม่ดี ไม่ทำกำไร ก็คงไม่มีปันผล
.
ไม่มีอะไรทำครั้งเดียวแล้วสบายไปตลอดชาติหรอกครับ ทุกอย่างมันมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเสมอ ดังนั้นอย่าเผลอติดกับดักหลอกลวงแบบนี้ การรู้เท่าทันในทรัพย์สินที่เราลงทุน ความรู้ทางการเงินต่างหาก ความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง คือ สิ่งที่จะช่วยให้เรามั่งคั่งและมั่นคงได้จริง
.
4) PASSIVE INCOME ดีกว่า ACTIVE INCOME
.
ได้ยินการพูดถึง Passive Income ที่ไหน ก็มักจะมีการหยิกกัดรายได้จากการทำงาน หรือ Active Income เสียทุกครั้งไป พาลกันไปว่าการเป็นพนักงานประจำนั้นไม่ดี เงินเดือนมีเพดาน ไม่ทำหรือหยุดทำก็ไม่มีรายได้
.
โดยส่วนตัวผมมองว่า รายได้จากการทำงานไม่ใช่สิ่งเลวร้าย และหลายคนก็ใช้มันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรายได้จากทรัพย์สิน ด้วยการเก็บออม แล้วก็นำเงินไปลงทุนต่อยอด และจากเหตุผลในข้อ 3 ที่ว่า ไม่มีรายได้ช่องทางใดที่เป็นอมตะนิรันดร์กาล Passive Income ที่เรามี อยู่ดีๆ ก็อาจวูบหายไปเลยก็เป็นได้
.
ทางที่ดีผมว่าเราควรมีแหล่งรายได้จากหลายช่องทาง หรือ Multi-Income Stream คือ มีทั้งรายได้จากทรัพย์สินคอยช่วยผ่อนแรง ไม่ให้เราต้องเหนื่อยไปตลอด และมีรายได้จากการทำงาน คอยเติม คอยสะสมต่อยอดความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้น่าจะดีกว่า
.
นอกจากนี้ สิ่งที่ผมอยากจะบอกจากใจของคนที่มี Passive Income พอเลี้ยงตัวแล้วก็คือ ผมเองยังรักและชอบรายได้จากการทำงาน หรือ Active Income อยู่นะ เพราะแม้มันจะต้องทำงานถึงได้เงิน ต้องเหนื่อยอยู่บ้าง แต่ผมรู้สึกว่าการทำงานมันทำให้เรารู้สึกมีคุณค่า และได้รับความรู้สึกดีๆ ที่ได้ทำงาน ยิ่งถ้าได้ทำงานที่รัก ที่เราชอบ และเลือกทำมันด้วยตัวเองแล้วละก็ ยิ่งแจ่มกันไปใหญ่ ส่วน Passive Income ผมชอบที่มันช่วยผ่อนแรง ช่วยลดความกังวลทางการเงิน ทำให้เรามีเวลามากขึ้น และมีทางเลือกที่มากขึ้น
.
สรุปเลยดีกว่าไอ้โค้ช ชอบอะไรมากกว่าระหว่าง Active กับ Passive Income
คำตอบคือ “ทำอะไรที่สนุกแล้วได้ตังค์ กูเอาหมดครับ” 555
.
5) ต้องมี Passive Income ถึงจะมีอิสรภาพการเงิน
.
ถ้ายึดเอาตามนิยามหนังสือพ่อรวยสอนลูก ที่ว่าคนเราจะมีอิสรภาพการเงินได้ ก็ต่อเมื่อมีรายได้จากทรัพย์สินมากกว่ารายจ่ายรวม อิสรภาพทางการเงินแบบนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับ Passive Income แต่ถ้าเรามองว่า อิสรภาพทางการเงินนั้น แก่นของมันคือ อิสระทางเวลา และการเบาบางความกังวลทางการเงิน ก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องมี Passive Income เยอะแยะมากมาย
.
ตัวผมเองตอนเริ่มต้นไม่ได้ตั้งโจทย์ว่าต้องมีรายได้จากทรัพย์สินดูแลตัวเองไปได้ตลอดชีวิต เพราะคิดว่าชีวิตคนเรามันเปลีี่ยนตลอด โจทย์มันถูกปรับตลอดตามเวลาและสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ตอนนั้นเลยคิดโจทย์ง่ายๆ ว่า จะเก็บสะสมเงินให้พอใช้ได้ 5 ปี ให้ได้เร็วที่สุด
.
ลองนึกภาพว่า ถ้า 5 ปีต่อจากนี้ ไม่มีเงินรายได้เลยแม้แต่บาทเดียว เป็นเวลา 1,825 วัน แต่คุณมีเงินพอใช้จ่ายได้ทุกวัน ไม่เดือดร้อน มันทำให้คุณรู้สึก 1) มีอิสระทางเวลาขึ้นนิดนึงหรือเปล่า และ 2) มันเบาบางความกังวลทางการเงินของคุณไปได้บ้างมั้ย
.
ถ้าใช่! ในมุมมองผมนี่ก็เป็น “อิสรภาพทางการเงินเล็กๆ” แล้วเหมือนกันนะครับ ตัวผมเองตอนเก็บเงินพอใช้ 5 ปี มีหยุดพักเที่ยวอยู่ช่วงใหญ่ๆ เลย ประมาณว่าอยากซึมซับอิสระทางเวลาสักหน่อย ตอนแรกกะว่าจะพักผ่อนเต็มๆ 1 ปี สุดท้ายผ่านไปได้ 3 เดือน ก็เหมือนได้พักเต็มที่ คราวนี้กลับมาจัดหนักกว่าเดิม ขยับสู่ความสำเร็จทางการเงินที่เติบโตมากขึ้นได้อีก
.
นี่คือ 5 ประเด็นที่ผมอยากจะเคลียร์และอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับ Passive Income หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับคนกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว และสร้างชีวิตกันทุกคนนะครับ
.
สุดท้ายแล้วการมีรายได้จากทรัพย์สิน ก็ดีกว่าไม่มีแหละครับ แต่การมีความคิดความเข้าใจที่ผิด จะทำให้เราเสียเวลาและไปสู่ความสำเร็จทางการเงินได้ช้า ยังไงก็ลองนำข้อคิดในวันนี้ไปปรับใช้กันดูนะครับ
.
เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่อยากมีอิสรภาพการเงินครับ
.
#โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH
同時也有348部Youtube影片,追蹤數超過9萬的網紅LightFuryLF,也在其Youtube影片中提到,QC แผน Luna ที่ชอบใช้ + NA gameplay OG ในโหมดใหม่ Axe Carry โหมด PSG.OGD ไม่เป็นแล้วผู้นำ meta ลอกแชมป์ Major ดีกว่า ทัวร์ ?ESL One Summer 2021 พบกั...
「ดีกว่า」的推薦目錄:
- 關於ดีกว่า 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
- 關於ดีกว่า 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於ดีกว่า 在 แบนโจ Facebook 的最佳貼文
- 關於ดีกว่า 在 LightFuryLF Youtube 的最佳貼文
- 關於ดีกว่า 在 ANIBON Youtube 的最佳貼文
- 關於ดีกว่า 在 Pit Start Youtube 的精選貼文
- 關於ดีกว่า 在 G-BEAR & MERFIOUS - ดีกว่า (prod.lapas) - YouTube 的評價
- 關於ดีกว่า 在 G-BEAR - ดีกว่า (Official Visualizer) - YouTube 的評價
- 關於ดีกว่า 在 ดีกว่า (Better) - SIN (SINGULAR) | OFFICIAL VIDEO - YouTube 的評價
- 關於ดีกว่า 在 Jannine Weigel - ดีกว่า (Better) Unofficial Lyrics Video - YouTube 的評價
- 關於ดีกว่า 在 MIKESICKFLOW - ดีกว่านี้ Ft.K6Y, K.AGLET(Visualizer) 的評價
- 關於ดีกว่า 在 ดีกว่านี้ - (music video) - YouTube 的評價
- 關於ดีกว่า 在 BUNNYKING - "ดีกว่า" (Better)「Official Lyrics Video」 - YouTube 的評價
- 關於ดีกว่า 在 ดีกว่ากินดิน - Facebook 的評價
- 關於ดีกว่า 在 อย่าด่าใคร ถ้าไม่มั่นใจว่าตัวเองมีดีกว่าเขา - Pinterest 的評價
ดีกว่า 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ?
Clubhouse BBLAM x ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง Theme การลงทุนพลังงานสะอาด หลายคนก็มักจะติดภาพความน่าเบื่อ และไม่ตื่นเต้น
แต่หลังจากที่ ลงทุนแมน ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คือ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง ในวันพุธที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา
ก็พบว่า Theme พลังงานสะอาด ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่หลายคนคิด นอกจากนั้นยังเป็น Theme ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก และยังเกี่ยวโยงกับหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตในอนาคต อีกด้วย
ความน่าสนใจของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังง่าย ๆ 9 ข้อ..
1. ทำไมกระแส ESG จึงกลายเป็นที่พูดถึงในตอนนี้ ?
พลังงานสะอาดคือ เทรนด์การลงทุนที่สำคัญมากในอนาคต และไม่ใช่แค่เทรนด์ระยะสั้น
สังเกตได้จากเม็ดเงินที่ไหลเข้ากองทุน ESG ทั่วโลกแตะ 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ อ่านว่า “1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” เป็นครั้งแรก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในยุโรป และการลงทุนใน ESG ยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย จึงเป็นหลักของการลงทุนที่เรียกว่า Green and Great Return
ถ้าเราลองมาดูผลตอบแทนของ กองทุน Pictet Global Environmental กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกองทุนหนึ่งที่ B-SIP เข้าไปลงทุน ก็ให้ผลตอบแทนดีในหลายไตรมาส
และหากลงทุนตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 2014 ก็จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14.92% ถือว่าทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในดัชนีโลกที่มีทั้ง ESG และไม่มี ESG ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 10%
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ก็เป็นเพราะว่าบริษัทที่ยึดหลัก ESG จะมีคุณภาพทั้งด้านรายได้ กำไร และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ดีกว่า บริษัททั่ว ๆ ไป
ทำให้สามารถกำหนดราคาสูงขึ้นได้ ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานได้ง่าย รวมทั้งยังมีโอกาสด้านต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกกว่า เสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และธนาคารปล่อยสินเชื่อง่ายกว่าอีกด้วย
2. ทำไม พลังงานสะอาด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก ?
สิ่งที่ทำให้ กองทุนบัวหลวงมองว่า พลังงานสะอาดจะไม่ใช่เทรนด์ระยะสั้น
ก็คือการสังเกตคลื่นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาแล้ว 5 คลื่นด้วยกัน นั่นคือ
- คลื่นที่ 1 คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- คลื่นที่ 2 คือ การเริ่มใช้พลังงานไอน้ำ
- คลื่นที่ 3 คือ การใช้รถยนต์แทนม้า
- คลื่นที่ 4 คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน
- คลื่นที่ 5 คือ โลกออนไลน์ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon, Netflix
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กินระยะเวลายาวนานหลายสิบปี และนำมาซึ่งกิจการขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น
แต่ในโลกอีก 25 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ และทั่วทั้งโลกกำลังเผชิญเหมือนกันอยู่ก็คือ “ภาวะโลกร้อน”
เพราะฉะนั้น คลื่นที่ 6 ก็คือ “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” ซึ่งจะเป็นหนึ่งเทรนด์ต่อจากนี้ไปอีก 25 ปี พร้อม ๆ กับ Robotics, Drones, AI, IoT สิ่งนี้เองที่จะเป็นแนวทางให้เราได้ว่า โลกในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน แล้วเราควรจะลงทุนอะไรต่อไป
3. สัญญาณสำคัญที่ชี้ว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงต้น คลื่นที่ 6 พลังงานสะอาด คืออะไร ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า Megatrends จะต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความร่วมมือระดับโลก
2. การเห็นด้วยจากรัฐบาล
3. ความร่วมมือภาคเอกชน
เมื่อครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เงินลงทุนก็จะหลั่งไหลมายังเทรนด์นั้น ๆ อย่างแน่นอน ซึ่งเทรนด์ ESG ตอนนี้มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบเรียบร้อยแล้ว
เริ่มต้นด้วยความร่วมมือระดับโลกคือ ข้อตกลง Paris Agreement จาก UN
ที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน
ต่อมาคือ การขานรับนโยบาย จากรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ
เราได้เห็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
- European Green Deal เพื่อที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2050
- European Climate Law กฎหมายที่พูดถึงการลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030
นอกจากนี้มหาอำนาจอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็ได้จัดตั้งแผนงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
- แผนที่ 1 วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
- แผนที่ 2 วงเงิน 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานพลังงานสีเขียว ซึ่งภายในปี 2035 สหรัฐอเมริกาตั้งเป้าจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 40% ของพลังงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน มหาอำนาจซีกโลกตะวันออกอย่าง “จีน” ที่แม้จะยังคงใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลัก แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2035 เป็นต้นไป
โดยล่าสุดประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ไว้ในแผนการพัฒนาประเทศฉบับที่ 14 ซึ่งจะลดการปล่อยคาร์บอนต่อสัดส่วนของ GDP ลง 65% และจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2030 อีกด้วย
หรือประเด็นรถยนต์ไฟฟ้า แม้ในปี 2020 ยุโรปขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.3 ล้านคน ขณะที่จีนขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.2 ล้านคัน แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจีนจะสามารถแซงหน้าและกินส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2025 ได้ไม่ยากเลย
4. แล้วภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมั่นใน Megatrends เรื่องพลังงานสะอาด แค่ไหน ?
ผลสำรวจของ UBS หรือธนาคารเพื่อการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์
ที่ได้สอบถามองค์กรต่าง ๆ ว่าอยากลงทุนใน Theme อะไรเป็นอันดับหนึ่ง
ปรากฏว่า 2 ใน 3 ตอบว่า จะลงทุนในพลังงานสะอาด เพราะเป็นปัญหาที่โลกเราต้องแก้ไข และยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย
ซึ่งหากลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อเทียบกับการลงทุนในพลังงานแบบเก่า
จะเห็นว่า ผลตอบแทนแตกต่างกันค่อนข้างมาก จุดนี้เองที่บอกว่ามันคือ Green and Great Return
นอกจากนี้กองทุนใหญ่ ๆ ก็ประกาศเข้ามาลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดเช่นกัน
เช่น Cathie Wood ผู้จัดการกองทุน ETF ARK
ประกาศว่าจะทำกองทุน ETF ใหม่ ที่ใช้ ESG Score ทั้งสามด้าน
คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
โดยจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ส่งผลดีต่อสังคม
ขณะเดียวกัน กองทุนมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีขนาด 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ประกาศหยุดการลงทุนในบริษัทที่ผลิตพลังงานฟอสซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งบริษัทผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Saudi Aramco ก็ประกาศลงทุนในพลังงานสะอาด
โดยลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ยังวางเป้าหมายประเทศว่าจะใช้พลังงานสะอาดให้ได้ 50% ภายในปี 2030 และจะไม่ได้ลงทุนแค่พลังงานลมและแสงอาทิตย์ แต่ยังลงทุนในพลังงานไฮโดรเจน อีกด้วย
5. แล้วอะไรคือ ความเสี่ยงของเทรนด์ ESG และพลังงานสะอาด ?
ความเสี่ยงของ ESG พลังงานสะอาดอย่างแรกคือ กองทุนที่เสนอขายเป็น ESG จริงหรือไม่ แล้วมีมาตรฐานขอบเขตการลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่ชัดเจนจริง ๆ หรือไม่
ความเสี่ยงที่สองคือ ต้องระวังว่าบริษัทที่เกี่ยวกับพลังงานสีเขียวนี้ มีราคาแพงไปแล้วหรือยัง มีฟองสบู่ที่เรียกว่า Green Bubble จากเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุน 1.65 แสนล้านในปี 2019 และอีกกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อยู่หรือไม่
ดังนั้น วิธีการลงทุนที่สำคัญ คือ การเลือกกองทุนที่ใส่ใจเรื่อง Valuation และใช้เรื่องมูลค่ามาเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญในการลงทุน
6. แล้วเราควรเลือกลงทุนใน ธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างไร ?
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง การทำการเกษตร ว่าจะสามารถ Green and Great Return ไปพร้อมกับการให้ผลตอบแทนที่ดีได้จริงหรือไม่
เริ่มต้นที่ Orsted บริษัทพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเดนมาร์ก เดิมทีเคยเป็นบริษัทพลังงานถ่านหินเก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1972 โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากฟอสซิล
จากนั้นในปี 2008 ก็พลิกธุรกิจครั้งใหญ่มาสู่เส้นทางพลังงานสะอาด โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานสีเขียว และเดินทางสู่การเป็นบริษัทพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้สำเร็จ
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF บริษัทพลังงานของไทย ก็ได้ร่วมลงทุนใน Orsted เช่นกัน เพราะมองเห็นนวัตกรรมของพลังงานลมที่ดีที่สุดในโลกของ Orsted โดย 1/3 ของพลังงานลมของโลก มาจากบริษัทนี้
ที่น่าสนใจก็คือ ราคาของพลังงานลม ถูกกว่า ราคาพลังงานของถ่านหินไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2018 และยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พลังงานลมและแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดในโลก
ในแง่ของ Green and Great Return อย่าง Orsted เริ่มเข้าตลาดปี 2016 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 96% ต่อปี
ขณะเดียวกันยังมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงปี 2050 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น
7. ธุรกิจพลังงานสะอาดที่ไม่พูดไม่ได้ในตอนนี้ ก็คือ EV ?
เราทราบดีอยู่แล้วว่า หนทางลดปัญหามลภาวะจากการใช้รถยนต์ก็คือ การหันมาใช้รถยนต์ EV หรือรถไฟฟ้า แต่สงสัยไหมว่า ทำไมเทรนด์นี้จึงกลายเป็นโอกาสลงทุนมหาศาลในอนาคต
จากข้อมูลคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ EV จะเพิ่มขึ้น 18 เท่าในอีกสิบปีข้างหน้า แสดงว่าอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ ปี ซึ่งในอนาคตรถยนต์ทั่วโลกจะกลายเป็นรถยนต์ EV อย่างน้อย 80%
เหตุผลก็เพราะว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเรื่อย ๆ สังเกตได้จาก ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ ที่มีราคาถูกลง 88% เมื่อเทียบกับสิบปีก่อน หากราคายังคงลดลงเรื่อย ๆ ก็เชื่อว่า ราคารถยนต์ EV และรถยนต์สันดาป จะมีระดับราคาใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ นโยบายของประเทศแถบยุโรปยังให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยจะยกเลิกการขายรถยนต์สันดาปแล้วจริง ๆ เช่น สวีเดน ประกาศยกเลิกในปี 2025 หรืออังกฤษ ก็ประกาศยกเลิกในปี 2035
พอเป็นแบบนี้ แบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เก่าแก่อย่าง Honda, Toyota หรือแบรนด์ใหม่อย่าง Tesla, BYD, XPeng แม้กระทั่งค่ายเก๋าอย่าง Harley-Davidson, Porsche ก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์รอบนี้ ทิศทางเงินลงทุนไม่ใช่แค่ส่วนของรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่จะไปถึง Supply Chain ต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น
- บริษัทผลิตแบตเตอรี่
- บริษัทชิป Semiconductor
- บริษัท Software ที่ทำ ADAS (รถยนต์ไร้คนขับ Autonomous Driving) และบริษัท Simulation ทำการจำลองการขับรถ
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างธุรกิจรถยนต์ EV ที่กองทุน B-SIP เข้าไปลงทุนกันบ้าง
XPeng อ่านว่า เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทรถยนต์ EV เน้นตลาดระดับกลางเเละระดับสูงในจีน ที่เรียกได้ว่าท้าชนกับ Tesla ได้เลย เช่น รถยนต์ EV รุ่น XPeng P7 ที่มีราคาเปิดตัวล้านกว่าบาท ชาร์จหนึ่งครั้งจะวิ่งได้ 700 กิโลเมตร โครงสร้างต่าง ๆ มาจากการออกแบบของวิศวกรที่มาจาก Apple, Tesla
XPeng ยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่าง 5G, AI ซึ่งตอนนี้ก็มีเทคโนโลยี Autonomous Driving เรียบร้อยแล้ว และยังใช้แบตเตอรี่ของ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่จีนที่ใหญ่ที่สุด ที่เพียงใช้เวลา 30 นาที ก็สามารถชาร์จได้ 80% อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ กองทุน B-SIP จึงไม่พลาดที่จะเข้าไปลงทุน IPO ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาดที่มี Green and Great Return เลยทีเดียว
8. นอกจาก พลังงานลม และรถยนต์ EV ยังมีธุรกิจไหนจะเป็นเทรนด์อนาคตได้อีกบ้าง ?
เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัว อย่างอาหารที่เรียกว่า “Beyond Meat” ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตอาหารคล้ายเนื้อที่ไม่ได้มาจากเนื้อจริง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องปัญหาดิน ปัญหาน้ำ และปัญหามลพิษ
โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก 2.8 พันล้านคน และจะตามมาด้วยปริมาณอาหารที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
หากเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าการปลูกพืชอย่างมาก เช่น การเลี้ยงวัว จะใช้ที่ดินมากกว่า 18 เท่า รวมทั้งใช้น้ำและพลังงานมากกว่า 10 เท่า และยังจะปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ออกมาจากร่างกายอีกด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยว่า สัดส่วน 79% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเกษตรมาจาก “การเลี้ยงสัตว์”
ปัจจุบัน Beyond Meat กำลังขยายฐานลูกค้าได้ดี สังเกตได้จากแบรนด์อาหารต่าง ๆ ที่หันมานำเสนอผลิตภัณฑ์จาก Beyond Meat มากขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา
เช่น แมคโดนัลด์, เอแอนด์ดับบลิว, Dunkin'
และยังกระจายไปตามร้านสะดวกซื้อ ที่เราสามารถซื้อกลับไปปรุงอาหารที่บ้านได้เองอีกด้วย
Beyond Meat กลายเป็นบริษัทที่น่าจับตามอง และเข้า IPO ในปี 2019 ที่มีมูลค่าบริษัท 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาในปีนี้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นสองเท่ากว่า ๆ ภายในสองปี นอกจากนี้ยังมีรายได้ปี 2020 เติบโต 36% อีกด้วย
นอกจากธุรกิจอาหารแล้ว ก็ยังธุรกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น
- Schneider Electric เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ลิฟต์ ที่มีการคำนวณการใช้งานแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งในอนาคตหากอาคารไหนเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ก็จะสามารถเรียกค่าเช่าสูงขึ้นได้
- Equinix เป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลก เป็นศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ ต้องใช้ไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน ปัจจุบันบริษัทสามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 92% ของพลังงานทั้งหมด
- Ansys เป็นบริษัทจำลองผล จำลองสถานการณ์สำหรับรถยนต์, เครื่องบิน และอื่น ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณการสูญเสียทรัพยากรในช่วงของการทดสอบ
เช่น Dyson แบรนด์เครื่องเป่าผมของผู้หญิง ทำให้แห้งเร็วขึ้นและดีขึ้น
Ansys เข้ามาช่วยคำนวณทิศทางลม, ลมแรง และค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยใช้ซอฟต์แวร์จำลองผลการทดสอบ ช่วยประหยัดทรัพยากร และประหยัดต้นทุนไปได้อย่างมาก
สรุปแล้ว แค่ Theme พลังงานสะอาดอย่างเดียว ก็ทำให้เราเห็นโอกาสของธุรกิจหลากหลายสาขา
ไม่ว่าจะเป็น การผลิตไฟฟ้าที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังงานลม
หรือจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ที่จะเปลี่ยนทั้ง EV Supply Chain
รวมทั้ง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น นั่นเอง
9. แล้วเราจะเข้าถึงโอกาสการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้อย่างไร ?
กองทุน B-SIP เป็นหนึ่งกองทุนเพื่อตอบโจทย์การลงทุนในพลังงานสะอาดโดยตรง และมีจุดเด่นด้วยสไตล์การลงทุนของกองทุนบัวหลวง ที่จะเฟ้นหาธุรกิจดีมีคุณภาพและเติบโต ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากกองทุนอื่นทั่วไป นั่นคือ
1. เน้นลงทุนธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคตที่เรียกว่า Green and Great Return นั่นเอง
2. มองว่าเทรนด์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด จะเป็น Megatrends ของโลกที่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น จึงเชื่อว่า Theme นี้มีความน่าสนใจและสามารถลงทุนระยะยาวได้
3. เปลี่ยนภาพจำว่า การลงทุนในพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นน่าเบื่อหรือหุ้นโครงสร้างพื้นฐานเสมอไป
เพราะการลงทุนของ B-SIP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเติบโต มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยี และยังคำนึงถึงการประเมิน Valuation ด้วย
ถ้าฉายภาพใหญ่ ๆ ก็คือ กองทุน B-SIP จะลงทุนทั้งในฝั่ง Global Environmental Opportunities และ Clean Energy นั่นเอง
โดยฝั่ง Global Environment จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 40% นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทอุตสาหกรรม, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเคมีภัณฑ์
ซึ่งจะมีรูปแบบลงทุน Active Management เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่า
ส่วนในฝั่งของพลังงานสะอาด จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 48% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม EV ทั้ง Supply Chain ราว 33% ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพราะเป็นผู้นำเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เช่น Orsted ธุรกิจพลังงานลมนอกชายฝั่งมากว่า 10 ปี มีเทคโนโลยีน่าสนใจ และยังมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก
ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนได้ว่า กองทุน B-SIP เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทุนใน Theme พลังงานสะอาดที่จะสร้างการเติบโตในระยะยาวได้แบบ Green and Great Return นั่นเอง..
ดีกว่า 在 แบนโจ Facebook 的最佳貼文
ดูครับแนะนำ ดีชิบหาย
.
ดีกว่า ภาคล่าสุด ที่แน่ๆ 55555555+
ดีกว่า 在 LightFuryLF Youtube 的最佳貼文
QC แผน Luna ที่ชอบใช้ + NA gameplay OG ในโหมดใหม่ Axe Carry โหมด PSG.OGD ไม่เป็นแล้วผู้นำ meta ลอกแชมป์ Major ดีกว่า
ทัวร์ ?ESL One Summer 2021 พบกันระหว่าง OG⚔️Quincy Crew (patch 7.29d)
เริ่มดราฟ - 01:19
เริ่มเกม - 11:29
► รายชื่อผู้เล่น
OG
Carry - SumaiL // Mid - Topson // Offlane - Ceb // Sup 4 - Saksa // Sup 5 - N0tail
Quincy Crew
Carry - YawaR // Mid - Quinn // Offlane - Lelis // Sup 4 - MSS // Sup 5 - SVG
► อย่าแค่จดแล้วทำตาม เรียนรู้ Dota2 จากความเข้าใจ ผ่านคอร์สสอนจาก Pro Player ชื่อดังระดับโลก ได้ที่ GamerzClass ➡️ https://gamerzclass.com/?rfsn=5394884.252b2c (สมัครใหม่ดูฟรี 3 วัน !!!)
►สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
https://www.youtube.com/channel/UCyZuvgP1t2vvZHgb8gsl3zw/join
#Dota2 #พากย์ไทย #LightFuryLF
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
► ติดตามผมได้ที่
LF แฟนเพจ ➡️ https://www.facebook.com/lightfuryth/
Discord ของช่อง ➡️ https://discord.gg/AGyAFAE
► ติดตามการสตรีมของ LightFury ใน Twitch ➡️ https://www.twitch.tv/lightfurylf
Twitter ของ LF ➡️ https://twitter.com/LightFuryLF
กลุ่ม Facebook หมู่บ้านหลังเขางาคุเระของ LF ➡️ https://www.facebook.com/groups/311645886304343/
► สนับสนุน LF
โอนธนาคาร [KBank] ➡️บัญชีธนาคารกสิกรไทย นายนรุตม์ ไผทสิทธิกุล เลขที่บัญชี : 3912748064
ดีกว่า 在 ANIBON Youtube 的最佳貼文
คุณฝึกความมีเมตตา แล้วหรือยัง ? อย่าเป็นแบบ Weeb พวกลิงโง่ๆ และมาเป็น Chad แบบท่าน Za Bhudda ดีกว่า
ส่ง Meme หัวข้อ LIVE และเสนอความเห็นต่อรายการ มาให้ผมได้ที่ Twitter : https://twitter.com/phuboatanibon
ทุกท่านสามารถเข้ามาช่วยปรับปรุงและสร้างสีสันให้กับ Server Discord ของ ANIBON
ได้ที่ - https://discord.gg/KRxV2hx
ทุกท่านโดเนทค่าข้าว เป็นกำลังใจให้กับผม ได้ในหน้านี้ : https://tipme.in.th/anibonlive
หรือการบริจาคผ่านบัญชี PayPal ได้ในหน้านี้ : https://streamlabs.com/Anibonofficial
ดีกว่า 在 Pit Start Youtube 的精選貼文
หลังจากขับ mazda 3 มาได้เกือบปีทำไปนิดๆ หน่อยๆ แต่แทบไม่แรงขึ้นเลย อิจฉาสายซิ่งขับ Civic ทำนิดเดียวแรงขึ้นเป็นกอง
ดีกว่า 在 G-BEAR - ดีกว่า (Official Visualizer) - YouTube 的推薦與評價
Title : ดีกว่า Artist : G-BEAR / MERFURIOUSOfficial Visualizer By : GONNAFLY Mixed & Master By : JONINProd By : LAPASRemaster By : @scwcrew . ... <看更多>
ดีกว่า 在 ดีกว่า (Better) - SIN (SINGULAR) | OFFICIAL VIDEO - YouTube 的推薦與評價
คำร้อง/ทำนอง : SINเรียบเรียง/โปรดิวซ์ : FUNKY WAH WAH / SINAdditional Musician : HUA NAP A LEANเธอขออภัย ... ... <看更多>
ดีกว่า 在 G-BEAR & MERFIOUS - ดีกว่า (prod.lapas) - YouTube 的推薦與評價
gbear #merfious Title : ดีกว่า Artist : G-BEAR x MERFIOUSArtwork By : MADBOYMixed & Master By : JONINProd By : LAPAS. ... <看更多>