ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ ก.ล.ต. ส่งเสริม SMEs และ Startups เข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุน เปิดเวที LiVE Demo Day ตอกย้ำการขับเคลื่อน 14 ก.ย. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับ ก.ล.ต. จัดงาน “LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market” ตอกย้ำบทบาทการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และ Startups เข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุนเต็มรูปแบบ โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ปาฐกถาพิเศษถึงยุทธศาสตร์การยกระดับความสามารถผู้ประกอบการไทย พร้อมชวนผู้ลงทุน ผู้ประกอบการ ผู้สนใจ รับฟังการนำเสนอข้อมูลจาก 21 บริษัท SMEs และ Startups ที่มีศักยภาพ วันที่ 14 กันยายน 2564 ในรูปแบบ virtual conference
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ เล็งเห็นความสำคัญของผู้ประกอบการรายเล็กโดยเฉพาะ SMEs และ Startups ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ โดยมีแผนกลยุทธ์สำคัญในการเสริมศักยภาพและสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจเหล่านี้ ล่าสุด ร่วมกับ ก.ล.ต. จัดงาน “LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market” ตอกย้ำบทบาทการส่งเสริมครบทุกมิติ สอดคล้องนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งเพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่อนาคต โดยได้รับเกียรติจาก รมว. คลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ปาฐกถาพิเศษ “ยุทธศาสตร์ส่งเสริม SMEs / Startups เพื่อยกระดับขีดความสามารถและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้าบทบาทในการส่งเสริม SMEs และ Startups ให้เติบโตไปอีกขั้นผ่านกลไกตลาดทุน” มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการผ่าน LiVE Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุนสำหรับผู้ประกอบการ โดยได้ร่วมกับพันธมิตรในทุกภาคส่วน พัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ อาทิ การจัดทำ e-Learning เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ขั้นพื้นฐานและเชิงลึก การให้บริการ Business Coaching ผ่านโครงการ LiVE Acceleration Program และ LiVE Incubation Program เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเตรียมจัดตั้ง LiVE Exchange ซึ่งเป็นตลาดรองสำหรับ SMEs และ Startups ที่มีการระดมทุนในวงกว้าง (IPO) โดยได้ทำงานร่วมกับ ก.ล.ต. พัฒนาหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในวงกว้าง และการจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดรองสำหรับ SMEs และ Startups หวังเพิ่มช่องทางการระดมทุนสำหรับ SMEs และ Startups ซึ่งได้เปิดรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ไปเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ ในการพัฒนาระบบซื้อขายสำหรับ LiVE Exchange ซึ่งจะมีกลไกการซื้อขายและการกำกับดูแลที่แตกต่างจาก SET และ mai โดยรูปแบบการซื้อขายจะเป็นลักษณะ Auction-based วันละ 1 รอบ และชำระราคาและส่งมอบหุ้นภายในวัน โดยจะมีการจำกัดประเภทผู้ลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงในการลงทุน เบื้องต้นมีบริษัทหลักทรัพย์ที่สนใจเข้าร่วมทดสอบระบบเพื่อให้บริการ LiVE Exchange แล้วกว่า 25 ราย คาดเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 2564 นี้
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาตลาดทุน เล็งเห็นความสำคัญและบทบาทของ SMEs และ Startups ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ก.ล.ต. จึงดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมที่จะทำให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง (Capital Market for All) โดยมุ่งหวังให้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญสำหรับกิจการทุกขนาดและทุกประเภท ซึ่งรวมถึง SMEs และ Startups สอดคล้องแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2561 - 2580) และแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 3 (ปี 2560 - 2564)
“ก.ล.ต. ได้ดำเนินการให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุนมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นมาตั้งแต่กลางปี 2562 ทั้งในเรื่องการออกหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในตลาดทุนของ SMEs และ Startups ควบคู่กับการให้ความรู้และวิธีการระดมทุนผ่านตลาดทุน โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าถึงผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเสนอขายหลักทรัพย์ในวงจำกัด (SME-PP) ของบริษัทจำกัด และปรับปรุงการระดมทุนผ่านระบบคราวด์ฟันดิง (crowdfunding) ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ระดมทุนผ่าน SME-PP และ crowdfunding จำนวน 83 ราย มูลค่าระดมทุนรวม 795 ล้านบาท (ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564) นอกจากนี้ เพื่อให้การระดมทุนในตลาดทุนครอบคลุมกิจการ SMEs และ Startups ก.ล.ต. จึงได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในวงกว้างของ SMEs และ Startups (SME-PO) และ
นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดรอง (LiVE Exchange) โดยพิจารณาผ่อนปรนหลักเกณฑ์เพื่อให้มีความเหมาะสม และยังคงหลักการเรื่องการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสม ซึ่งคาดว่าหลักเกณฑ์ SME-PO จะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2564”
การขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs และ Startups ผ่าน LiVE Platform ของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรกว่า 25 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลาดทุน มหาวิทยาลัย ในการร่วมพัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านกลไกตลาดทุนได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งได้รับเงินทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงการ และเงินทุนสนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs / Startups จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF)
งาน “LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market” จัดขึ้นในวันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 10.00–16.30 น. ในรูปแบบ virtual conference โดยมีหลากหลายหัวข้อสัมมนาน่าสนใจ และมี 21 บริษัท SMEs และ Startups จาก LiVE Acceleration Program 2020 มานำเสนอข้อมูลธุรกิจและศักยภาพการเติบโตสู่การระดมทุนในอนาคต ผู้สนใจดูรายละเอียดและติดตามรับชมที่ www.facebook.com/LiVE.Platform.SET/, www.facebook.com/set.or.th หรือ www.youtube.com/setgroupofficial
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過87萬的網紅Paul Pattarapon พอล ภัทรพล,也在其Youtube影片中提到,ใครกลัวความเสี่ยงและคิดจะไม่ลงทุน! มาฟังทางนี้ ถ้าหากคุณไม่ลงทุน จะต้องเจอความเสี่ยงกับอะไรบ้าง ติดตามชมคลิปกันได้เลยครับ สำหรับคนที่ฟังแล้วอยากจะลงท...
「ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย」的推薦目錄:
- 關於ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 Money Coach Facebook 的精選貼文
- 關於ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的最佳解答
- 關於ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 ครูบอน สอนบัญชี Youtube 的最讚貼文
- 關於ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 prasertcbs Youtube 的最讚貼文
- 關於ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 SET Thailand - หน้าหลัก - Facebook 的評價
- 關於ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศรายชื่อ 170 บจ. ในทำเนียบ 'หุ้นยั่งยืน THSI ... 的評價
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 Money Coach Facebook 的精選貼文
สิ่งที่มือใหม่ลงทุนหุ้น ... ต้องรู้
.
ช่วงนี้การลงทุนในหุ้นกลับมาคึกคัก หลายคนที่ไม่เคยสนใจหุ้นมาก่อน เริ่มหันมาสนใจอยากลงทุนกันเยอะ คำถามสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่มีเข้ามาตลอด บทความวันนี้ผมเลยอยากหยิบประเด็นที่นักลงทุนมือใหม่ต้องเข้าใจ เล่าเป็นเกร็ดความรู้อย่างง่าย ก่อนเลือกซื้อหุ้นเพื่อลงทุน ดังนี้
.
1.“หุ้น คือ หุ้นส่วน”
.
การซื้อหุ้นก็คือ การลงทุนในความเป็นหุ้นส่วน เป็นเจ้าของและมีสิทธิในกิจการตามสัดส่วนหุ้นที่ถือ ถ้าหากกิจการดีมีกำไรต่อเนื่องเราก็ได้ส่วนแบ่งกำไรด้วย แต่ถ้ากิจการขาดทุน เราก็จะได้รับผลขาดทุนตามไปด้วยเช่นกัน
.
ความรู้สึกนี้อยากให้เกิดกับผู้ลงทุนทุกคนเลยครับ ลงทุนหุ้นไม่ควรรู้แค่ว่าเราถือหุ้นอะไร แต่ควรรู้จักกิจการที่เราลงทุน แบบที่เจ้าของกิจการรู้เลยครับ จะเป็นประโยชน์กับการลงทุนอย่างมาก
.
2.ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้น
.
การลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทน 2 รูปแบบ คือ
.
2.1 เงินปันผล (Dividend) ซึ่งคือกำไรที่แบ่งให้กับผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนหุ้นที่ถือครอง ถ้าปีไหนบริษัทมีกำไรก็มีโอกาสที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับปันผลแต่ถ้าหากขาดทุนก็จะไม่มีปันผลให้
.
2.2 กำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น (Capital Gain) คือ การที่ราคาหุ้นที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาที่ซื้อ ซึ่งก็เป็นผลมาจากการดำเนินกิจการของหุ้นที่เราซื้อนั่นแหละ เพราะถ้ากิจการดี ขายดีขึ้นทุกปี กำไรมากขึ้นทุกปี ปันผลต่อเนื่องทุกปี ก็รับประกันได้เลยว่า จะมีคนต้องการเป็นเจ้าของหุ้นนี้มาก และเมื่อมีความต้องการเป็นเจ้าของมากก็จะสะท้อนออกมาในรูปของราคาที่เพิ่มขึ้น
.
แต่ก็ใช่ว่าซื้อหุ้นแล้วจะมีแต่กำไร เพราะหากกิจการไม่ดี หุ้นก็จะถูกตีราคาต่ำลงและทำให้เราขาดทุนได้ รวมไปถึงกรณีที่เกิดความผันผวนจากข่าวหรือประเด็นที่มีผลกระทบ ก็อาจทำให้ราคาหุ้นขึ้นลงในระยะสั้นๆ ได้ ซึ่งผู้ที่จะลงทุนต้องทำความเข้าใจในจุดนี้ให้ดีก่อนลงทุน
.
3.หลักการลงทุนหุ้น
.
ราคาหุ้นที่เราลงทุนอาจมีความผันผวนได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวราคาหุ้นจะสะท้อนผลการดำเนินการของกิจการ ดังนั้น หลักการเลือกหุ้นเพื่อลงทุนอย่างง่าย ก็คือ “ซื้อหุ้นดี ในราคาที่เหมาะสม” และถือครองไว้ตราบเท่าที่ธุรกิจยังดีอยู่ (ฟังแล้วดูกำปั้นทุบดิน ไม่เหมือนเป็นคำแนะนำเลยใช่มั้ยครับ)
.
“หุ้นดี” อาจวัดเบื้องต้นได้จาก หุ้นที่มียอดขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น กำไรเพิ่มขึ้น และมีปันผลสม่ำเสมอทุกปี (ในช่วงโควิดอาจหาหุ้นแบบนี้ได้ยากหน่อย เพราะหลายธุรกิจรายได้ลดลง แต่ก็พอคาดการณ์ได้) ซึ่งเราสามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ของกิจการได้จากงบการเงินย้อนหลัง นอกจากนี้อาจยังต้องพิจารณาถึงข้อมูลด้านการเงินอื่นๆ และแนวโน้มการเติบโตในอนาคตประกอบกันด้วย
.
“ราคาที่เหมาะสม” อาจพิจารณารายกิจการ จากความสามารถในการทำกำไรในอนาคต หุ้นที่คาดว่าจะทำกำไรได้มาก ก็อาจซื้อในราคาที่สูงได้ (ตรงนี้ต้องอาศัยการคำนวณพอสมควร) หรืออีกวิธีหนึ่ง ราคาที่เหมาะสมอาจใช้วิธีการเปรียบเทียบ ราคาซื้อต่อกำไรต่อหุ้น (Price per Earning Ratio, PE) ก็พอจะเป็นการเปรียบเทียบหุ้นถูกหุ้นแพงได้
.
4.ความรู้ที่ต้องมี
.
สำหรับคนที่เริ่มต้นศึกษาการลงทุนในหุ้น ผมแนะนำเลยครับว่าควรลงทุนในความรู้ก่อนที่จะลงทุนเงินซื้อหุ้นที่คุณสนใจ โดยความรู้ที่คุณควรจะมี ได้แก่
.
(ก) ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน ต้องประเมินเชิงคุณภาพได้ว่า ธุรกิจ (หุ้น) ที่เราสนใจ ดีหรือไม่อย่างไร และราคาหุ้นที่เหมาะสมแก่การซื้อลงทุน ควรเป็นเท่าไหร่
.
(ข) ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่จะลงทุน อาทิ หุ้นที่เราจะลงทุนมีกิจการอะไรอยู่บ้าง โมเดลการสร้างรายได้ของแต่ละกิจการเป็นอย่างไร (วิธีทำเงิน) ธุรกิจมีความได้เปรียบเชิงแข่งขันหรือไม่ ความแข็งแกร่งทางการเงินเป็นอย่างไร พร้อมรับความเสี่ยงในแต่ละด้านทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีอย่างไร
.
5.วิธีการเริ่มต้นลงทุน
.
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงจะรู้สึก จะซื้อหุ้นสักตัว ทำไมมันอยากจัง (วะ) เอาเข้าจริงแล้วไม่ได้ยากหรอกครับ เพียงแต่คนไม่เคยลงทุน ก็อาจจะไม่คุ้นชินกับกระบวนการเลือกหุ้นเพื่อลงทุน ทั้งนี้สำหรับผู้เริ่มต้น ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ
.
(ก) หาความรู้จากหนังสือ ผมแนะนำหนังสือ “นั่งตกปลากับบัฟเฟตต์” และ “เพาะหุ้นเป็นเห็นผลยั่งยืน” (หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป) สองเล่มนี้อ่านง่าย เหมาะกับผู้เริ่มต้น
.
(ข) หาความรู้จากอินเทอร์เน็ต ผมแนะนำห้องเรียนนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามลิงค์นี้ครับ https://www.setinvestnow.com/th/stock
.
(ค) เริ่มต้นศึกษาหุ้นจากธุรกิจใกล้ตัว เลือกที่กินที่ใช้เป็นประจำ เห็นว่าเขาขายดี มีคนนิยมซื้อสินค้าและบริการเข้าเยอะ ลองเสิร์ชดูเลยครับว่า บริษัทเข้าอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือเปล่า การเริ่มจากธุรกิจใกล้ตัวช่วยให้เราวิเคราะห์หุ้นได้ง่ายขึ้น
.
(ง) เริ่มลงทุนด้วยเงินก้อนเล็ก อ่านหนังสือดูวีดีโอลงทุนมากแค่ไหน ก็ลงทุนไม่เป็นหรอกครับ ถ้าไม่เริ่มซื้อหุ้นสักที แต่สำหรับมือใหม่อย่าใจร้อน ใช้เงินเย็นๆ ก้อนเล็กๆ เริ่มลงทุนทีละน้อย จำกัดความเสี่ยงไว้สักหน่อย แล้วค่อยๆ ทยอยลงทุนเพิ่มตามความรู้ที่เพิ่มขึ้นหรืออาจใช้วิธีการออมหุ้น เพื่อลงทุนทีละน้อยสม่ำเสมอก็ได้ (เอาไว้วันหลังจะมาเล่าวิธีการให้ฟังกัน)
.
ก็หวังว่าบทความในวันนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจหุ้น และอยากที่จะเริ่มต้นลงทุนบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำก็คือ การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่ายและมีความเสี่ยง แต่ก็เป็นเรื่องที่เรียนรู้ได้ และความรู้จะช่วยจำกัดความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นให้กับเราได้
.
ดังนั้น ก่อนลงทุนเงิน อย่าลืมลงทุนเวลาหาความรู้นะครับ
#TheMoneyCoachTH
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ด่วน! กลุ่ม CP ปรับโครงสร้าง โยกกิจการโลตัส ไปให้ Makro ถือหุ้น
สรุปให้เข้าใจในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา บริษัทในกลุ่มซีพีที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง CPALL, CPF, MAKRO ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่มบริษัท โดยเอกสารมีกว่า 100 หน้า หลายคนอาจไม่เข้าใจ แต่ลงทุนแมนจะสรุปให้แบบง่าย ๆ ดังนี้
1. กลุ่มซีพีจะโอนกิจการทั้งหมดของโลตัส ที่ตอนนี้ถือหุ้นโดย บริษัทของซีพี 3 บริษัทคือ CPALL, CPM, CPH ไปให้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ Makro
CPM เป็นบริษัทที่เป็นบริษัทลูกของ CPF
ส่วน CPH เป็นบริษัทลูกของบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์โดยตรง
2. โดยการรับกิจการโลตัสในครั้งนี้ Makro จะให้ออกหุ้นเพิ่มทุนของ Makro เองเป็นการตอบแทนแก่ CPALL, CPM, CPH
3. แต่เดิม CPALL ถือหุ้น Makro อยู่ 93.08% และผู้ถือหุ้นรายย่อยอีก 6.92%
4. พอมีดีลนี้เกิดขึ้น ก็แปลว่าหลังจากนี้ บริษัท Makro จะมีจำนวนหุ้นเยอะขึ้น และจะมีผู้ถือหุ้นหน้าใหม่เข้ามาถือ Makro ด้วย นั่นก็คือ CPM, CPH
5. สัดส่วนการถือหุ้นหลังจากดีล จะเป็นดังนี้
CPALL จะถือหุ้น Makro ลดลงเหลือ 65.97%
CPM เข้ามาถือหุ้น Makro 10.21%
CPH เข้ามาถือหุ้น Makro 20.43%
ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย จะมีสัดส่วนถือหุ้น Makro ลดลงจาก 6.92% เหลือ 3.39%
จะเห็นได้ว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อย ถูก Dilute หรือถูกลดสัดส่วนการถือหุ้น Makro ลงเกือบครึ่งหนึ่งหลังจากดีลนี้ เพื่อแลกกับกิจการโลตัสที่ได้รับเข้ามาใน Makro
สรุปง่าย ๆ อีกทีก็คือ
หลังจากดีลนี้ บริษัท Makro จะเป็นเจ้าของทั้งกิจการ Makro ของตัวเอง และกิจการโลตัสที่รับเข้ามา ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย Makro เดิมก็ต้องยอมถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นครึ่งหนึ่ง
ถ้าถามว่า มันจะคุ้มหรือไม่ สำหรับรายย่อยที่ถือหุ้น Makro
ก็ต้องบอกว่า แล้วแต่ความเห็นต่อ “มูลค่ากิจการของโลตัส”
ถ้าผู้ถือหุ้นรายย่อย Makro คิดว่าโลตัสควรจะมีมูลค่าน้อยกว่า กิจการ Makro เดิมมาก ดีลนี้ก็อาจไม่คุ้ม
แต่ถ้าคิดว่า โลตัสมีมูลค่ามากกว่า กิจการ Makro เดิม ดีลนี้ก็อาจจะคุ้ม
สำหรับผู้ถือหุ้นของ CPALL
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ CPALL จะมีสัดส่วนการถือหุ้น Makro น้อยลงหลังจากดีลนี้ จาก 93.08% เป็น 65.97% เพราะเสมือนว่า CPALL แบ่งหุ้นไปให้ CPM และ CPH เข้ามาถือ Makro ซึ่งแลกกับการที่ CPALL จะมีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการโลตัสมากขึ้นกว่าเดิมจาก 40% เป็น 65.97% (ผ่านการถือหุ้น Makro)
ซึ่งหลังจากดีลนี้ CPALL ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีสัดส่วน 65.97% ทำให้ CPALL ยังสามารถ Consolidate หรือรวมงบการเงินของ Makro เข้ามาที่บริษัทได้
สำหรับรายได้ของงบรวม CPALL จะมากขึ้นในงบการเงินหลังจากดีลนี้ เพราะจะมีรายได้ของกิจการโลตัสเข้ามาอยู่ในรายได้ของงบรวมด้วย ซึ่งแต่เดิมจะรับรู้การถือกิจการโลตัสอยู่ในรูปของส่วนแบ่งกำไรขาดทุน แต่หลังจากดีลนี้จะ Consolidate รายได้ของโลตัสได้แล้ว
แต่ในแง่ของกำไร CPALL จะมีส่วนได้เสียเพิ่มขึ้นในกิจการโลตัส และต้องเสียส่วนแบ่งกำไรของกิจการ Makro เดิมให้ CPM และ CPH
และสำหรับผู้ถือหุ้นของ CPF จะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก เพราะแต่เดิม CPF นั้นจะเกี่ยวข้องกับกิจการโลตัสทางอ้อม ผ่านการถือหุ้น CPALL และ CPM อยู่แล้ว
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าหลังจากดีลนี้เสร็จ Makro ก็จะเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะอีกไม่เกิน 12.9% เพื่อให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยเพิ่มให้ถึงเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดที่ 15% ด้วย
มาถึงตรงนี้หลายคน คงสงสัยว่าทำไมต้องโยกกิจการโลตัสมาอยู่ใต้ Makro
เบื้องหลังของดีลนี้อาจมีหลายเหตุผล
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า Makro เป็นบริษัทเดียวในกลุ่มซีพี ที่ยังมีหนี้ไม่มาก
และหลายคนก็คงรู้กันว่าโลตัสน่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการล็อกดาวน์ในวิกฤติโควิดในครั้งนี้
การที่โยกกิจการโลตัสมาในบริษัท Makro ก็น่าจะทำให้โลตัสสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มเติม จากการช่วยเหลือของ Makro ได้
และถ้าให้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งหมด
ก็จะเห็นได้ว่า กิจการโลตัสเป็นประเด็นหลักในดีลนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
CPALL จะมีส่วนได้เสียในโลตัสมากขึ้น 65%
Makro จะมีส่วนได้เสียในโลตัสมากขึ้นแบบมีนัยสำคัญ ซึ่งมีขนาดมูลค่าเท่ากับกิจการ Makro เดิมเลยทีเดียว
ส่วน CPH จะถือหุ้นในโลตัสน้อยลง แต่ได้หุ้น Makro มา
เรื่องนี้อาจจะบอกเป็นนัยได้ว่า CPH อยากลดการมีส่วนได้เสียในกิจการโลตัส แต่อยากเพิ่มการมีส่วนได้เสียในกิจการ Makro
และอีกสาเหตุหนึ่งก็คงเป็นกิจการโลตัส ที่มีลักษณะคล้าย Makro อยู่มาก ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกที่เน้นราคาถูกเป็นหลัก การรวมกันของ 2 กิจการนี้ภายใต้บริษัทเดียวกัน ก็น่าจะทำให้เกิดการ Synergy กันไม่มากก็น้อย
แต่ในขณะเดียวกันในฐานะเราที่เป็นผู้บริโภคก็น่าตกใจไม่แพ้กัน
ยกตัวอย่างง่าย ๆ
ต่อไปนี้ ถ้าเราคิดจะซื้อสินค้าราคาถูก
ไม่ว่าเราจะเดินเข้าโลตัส หรือ Makro
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ 2 ร้านนี้ จะมีเจ้าของเป็นบริษัทเดียวกัน..
เมื่อก่อนเราคุ้นชื่อ เทสโก้โลตัส แต่ตอนนี้ เราอาจเจอชื่อใหม่ว่า แม็กโครโลตัส..
Reference
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的最佳解答
ใครกลัวความเสี่ยงและคิดจะไม่ลงทุน! มาฟังทางนี้ ถ้าหากคุณไม่ลงทุน จะต้องเจอความเสี่ยงกับอะไรบ้าง ติดตามชมคลิปกันได้เลยครับ
สำหรับคนที่ฟังแล้วอยากจะลงทุนพบกันได้ที่งาน
SET in the City 2019 “เลือกสร้างความมั่งคั่งในแบบที่ใช่.. สไตล์คุณ” มาหาคำตอบง่ายๆ แค่ลงทะเบียนที่นี่ คลิก!! http://bit.ly/2ogW8kB
งานจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-17 พ.ย.นี้ SET in the City 2019
มหกรรมการลงทุนแห่งปี ที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน
ช่องทางการติดต่อ :
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCunVACpk7PRWB1tz1VrhrrA
Facebook : https://www.facebook.com/paulpattaraponofficial
Instagram : https://www.instagram.com/paulpattarapon
Website : https://www.paulpattarapon.com
สนใจติดต่อโฆษณา และทำวีดีโอ Youtube
โทร : 02-048-5705-9
Email : [email protected]
Powered by CastingAsia
#MoneyMatters #PaulPattarapon #SETintheCity2019
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 ครูบอน สอนบัญชี Youtube 的最讚貼文
ครูบอนพาชม INVESTORY พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน
พา นร. เรียนรู้ และเข้าชม INVESTORY พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
INVESTORY หรือพิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน…
พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุนแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดประสบการณ์การเรียนรู้มิติใหม่ในรูปแบบ Discovery Museum ซึ่งผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้และฝึกฝนวิธีกำจัด Money Monsters ซึ่งเป็นศัตรูร้ายทางการเงิน โดยเรียนรู้และฝึกฝนกับ SET Heroes ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ในการร่วมกันต่อสู้เพื่อเอาชนะ Money Monsters และเพื่ออิสรภาพทางการเงินของทุกคน
ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชม INVESTORY ได้ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ติดสถานทูตจีน)
วันและเวลาทำการ วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดให้บริการวันจันทร์ วันปีใหม่ และวันสงกรานต์) เวลา 09.30 – 19.00 น.
-อัตราค่าเข้าชม บุคคลทั่วไป ราคา 100 บาท (ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ)
-เข้าชมฟรี สำหรับ เด็ก นักเรียน นักศึกษา (ไม่เกินระดับปริญญาตรี) พระภิกษุ สามเณร และนักบวช ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) และผู้พิการ
ครูบอน สอนบัญชี (บัญชีอีซี่)
-------
เข้าชม ไซต์ครูบอน https://sites.google.com/site/accbybon/
เพจ ครูบอน สอนบัญชี
ติดต่อไลน์แอด @krubon.acc
-------
รับสอนบัญชี ติวบัญชี นอกสถานที่ ราคากันเอง
-------
ประสบการณ์สอนกว่า 4 ปี กับนักเรียน 3,000 คน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 prasertcbs Youtube 的最讚貼文
สอนการใช้ฟังก์ชัน WebService และ FilterXML ในการดึงราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยย้อนหลัง เช่น ดึงราคาหุ้น SCC (ปูนซิเมนต์ไทย) ย้อนหลัง 1 เดือน โดยใช้ Yahoo API
==ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างได้ที่ https://goo.gl/IuEu5H
**หมายเหตุ เมื่อเปิดไฟล์ตัวอย่างแล้ว ให้กดฟังก์ชันคีย์ [F9] เพื่อ refresh ข้อมูล
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศรายชื่อ 170 บจ. ในทำเนียบ 'หุ้นยั่งยืน THSI ... 的推薦與評價
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment) ประจำปี 2565 โดยมีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ... <看更多>
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 在 SET Thailand - หน้าหลัก - Facebook 的推薦與評價
พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน INVESTORY และ ห้องสมุดมารวย ร่วมฉลองในโอกาสตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก้าวสู่ปีที่ 49. พบกับโปรโมชันพิเศษ ในวันเกิดตลาดหลักทรัพย์ฯ ... ... <看更多>