"ว่าด้วยเรื่อง "อรัญวาสี"-"คามวาสี" : กรณีศึกษาสมณศักดิ์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พระพรมคุณากรณ์)"
หมายเหตุ คัดลอกมาจากบทความของ เปลว สีเงิน ในไทยโพสต์ (ออนไลน์) วันที่ ๖ ธันวามคม ๒๕๕๙ (ข้อความในวงเล็บความเห็นผู้เขียน)
เป็นมหามงคล "รัชกาลที่ ๑๐" และเป็นบุญประเทศยิ่ง ๕ ธ.ค. ๒๕๕๙�"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" รัชกาลที่ ๑๐ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน �เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" รัชกาลที่ ๙ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม�และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาเลื่อน-แต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ๑๕๙ รูป �ในจำนวน ๑๕๙ รูปนั้น ที่ยังความปลาบปลื้มยินดีให้บังเกิดแก่พุทธศาสนิกชนเป็นพิเศษ ดังความที่ "ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ ๕ ธันวามหาราช ๒๕๕๙ ดังนี้�
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ว่า ทรงเป็นพุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก ทรงใส่พระราชหฤทัยในการทะนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่พระสังฆาธิการ ซึ่งดำรงในสมณคุณ มีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาเป็นประจำทุกปี�บัดนี้ เพื่อเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร �จึงสมควรจะสถาปนาอิสริยยศและเลื่อนอิสริยฐานันดรพระสงฆ์ที่ดำรงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาดังกล่าวสูงขึ้นเพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณีสืบต่อไป�จึงทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา (สำหรับพระไม่ใช้คำว่า "โปรดเกล้าฯ" ใช้กับบุคคล)
�๑.พระพรหมคุณาภรณ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลก วรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม "คามวาสีอรัญวาสี" สถิต ณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม �มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๑๐ รูป
�๒.พระธรรมวราจารย์ ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่าพระสุธรรมาธิบดี ปูชนียฐานประยุต มงคลวุฒคณาทร บวรศีลาจาร ศาสนภารธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสรบวรสังฆาราม "คามวาสี" สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป
�๓.พระธรรมสุธี ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่าพระธรรมปัญญาบดี ศรีสังฆวรนายก มหาจุฬาลงกรณดิลกสุพพิธาน นายกสภาบริหารบัณฑิตปริยัติกิจวรธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม "คามวาสี" สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร �มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป
�๔.พระธรรมมังคลาจารย์ ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมงคล ภาวนาโกศลสุพพิธาน วิปัสสนาบริหารพิสุทธิ์ ปาวจนุตตมานุศาสน์คัมภีรญาณพิลาสธำรง มหาคณิสสร บวรสังฆาราม "คามวาสี" สถิต ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ �มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป�
ขออาราธนาพระคุณผู้ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณฐานันดร เพิ่มอิสริยยศ ในครั้งนี้ จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะและในพระอาราม ตามสมควรแก่กำลัง และอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้ และจงเจริญอายุ วรรณ สุข พลปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ�ประกาศ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาลปัจจุบัน�ผู้รับสนองพระราชโองการ�พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา�นายกรัฐมนตรี" �
ซึ่ง เปลว สีเงินได้ สรุป สมณศักดิ์ของสงฆ์ไทย ทั้งหมดมี ๙ ชั้น ๒๑ อันดับ ที่ควรสนใจระดับปกครองคณะสงฆ์ ก็คือ
ชั้น ๑ สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสังฆราช
ชั้น ๒ มหาสังฆนายก เจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัฏ�คือสมเด็จพระราชาคณะ มี ๔ ตำแหน่ง คือ พระพุทธโฆษาจารย์, พระวันรัต, พระพุทธาจารย์, มหาวีรวงศ์
ชั้น ๓ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มี ๒ อันดับ คือพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ�
เปลว สีเงิน อธิบาย ต่อว่า "สมเด็จพระราชาคณะ" ชั้นสุพรรณบัฏที่ "พระพรหมคุณาภรณ์" หรือท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตฺโต ได้รับสถาปนาราชทินนามตามที่จารึกว่า "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" นั้น รองลงมาจากสมเด็จพระสังฆราช สูงกว่าพระราชาคณะเจ้าคณะรองในชั้น "หิรัญบัฏ"
เปลว สีเงิน ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ�ราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลก วรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี สถิต ณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม" นั้นระบุทั้ง "คามวาสีและอรัญวาสี" "อรัญวาสี-คามวาสี" คืออะไร หลายท่านอาจอยากทราบ?�ทั้ง ๒ อย่างนั้น ใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ สำหรับระดับพระราชาคณะขึ้นไปเท่านั้น เพื่อบ่งบอกว่า
�"อรัญวาสี" หมายถึงพระราชาคณะรูปนั้น เป็น "พระป่า" วัตรปฏิบัติจะมุ่งเน้น ๒ อย่าง คือการเจริญจิตภาวนาด้วยวิปัสสนากรรมฐาน และสอนคนให้เดินอยู่ในเส้นทางศีล-สมาธิ-ปัญญา ไม่เน้นงานด้านบริหารปกครองคณะสงฆ์�
"คามวาสี" หมายถึงพระราชาคณะรูปนั้น เป็น "พระบ้าน" คือ "พระในเมือง" มุ่งงานด้านบริหารปกครอง ก่อสร้าง พัฒนา ด้านวัตถุ ด้านปริยัติ งานสวด งานเผา งานแต่ง ก็ต้องพระคามวาสีเป็นหลัก�สรุป พระอรัญวาสี มุ่งพัฒนาจิต พระคามวาสี มุ่งพัฒนาวัตถุ นี่เป็นหลักกว้างๆ �
เมื่อทราบหลักเช่นนี้แล้ว ก็ลองย้อนขึ้นไปดูราชทินนาม "สมเด็จพระราชาคณะ" คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และพระราชาคณะเจ้าคณะรอง อีก ๓ รูปดู ก็จะทราบว่า รูปไหนเป็นพระป่า-พระบ้าน�
แต่ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" มีทั้งคำว่า "อรัญวาสี" และ "คามวาสี"�หมายถึง นับต่อจากนี้ เมื่อได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชาคณะ" รูปแรกและรูปเดียว เป็นปฐมแห่งแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐ แล้ว�จากที่มุ่งทางอรัญวาสีแต่เดิม ก็จะต้องรับธุระด้าน "คามวาสี" คือ งานปกครองคณะสงฆ์ควบคู่ไปด้วย �ตามคำประกาศ ดังปรากฏในราชกิจจา ว่าด้วยการสถาปนาสมณศักดิ์ความเบื้องต้นว่า�"เพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณีสืบต่อไป"�และความเบื้องปลาย ว่า "จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะและในพระอารามตามสมควรแก่กำลัง และอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้" �
ส่วนพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ในชั้นหิรัญบัฏ อีก ๓ รูป�๑.พระสุธรรมาธิบดี วัดบวรฯ กทม.�๒.พระธรรมปัญญาบดี วัดมหาธาตุ กทม.�๓.พระพรหมมงคล วัดศรีจอมทอง เชียงใหม่�เห็นชัด ว่าทั้ง ๓ รูป เป็น"พระบ้าน" คือ พระทำหน้าที่ด้านคันถธุระ หมายถึงงานทางบริหาร-ปกครอง เพราะจารึกในหิรัญบัฏระบุ "คามวาสี" อย่างเดียว.
มีบางคนเข้าใจว่า คามวาสี ใช้กับพระมหานิกาย และอรัญวาสี ใช้กับพระฝ่ายธรรมยุต ไม่น่าถูกต้อง ดูตัวอย่าง เช่น
"สมเด็จพระญาณสังวร" สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ฝ่ายธรรมยุต จารึกในสุพรรณบัฏ มีคำว่า "คามวาสี อรัญวาสี"�เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติทั้งวิปัสสนาธุระ ทั้งทรงทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ อันเป็นฝ่ายคันถธุระ�
"สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" วัดปากน้ำ ซึ่งเป็นฝ่ายมหานิกายก็เช่นกัน นามตามจารึกในสุพรรณบัฏ ก็มี "คามวาสี อรัญวาสี"�
ซึ่งในตำแหน่ง "สมเด็จพระราชาคณะ" ซึ่งต้องปกครองคณะสงฆ์ ก็ต้องทำหน้าที่ทั้งด้าน "พระป่า" และ "พระบ้าน"
สำหรับเปลว สีเงิน ยังงงกับเรื่องนี้เพราะนี่เป็นครั้งแรกในวงการสงฆ์ ที่พระจากวัดราษฎร์ คือ "วัดญาณเวศกวัน" ทั้งเป็น "พระป่า" คือ ท่านเจ้าคุณประยุทธ์�ได้รับสถาปนาขึ้นระดับสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" มาทำหน้าที่ "พระบ้าน" อีกด้านหนึ่ง
อนึ่งเปลว สีเงิน บอกว่า ในการสถาปนาเลื่อน-แต่งตั้งสมณศักดิ์ ปี ๕๙ นี้ ในจำนวน "พระราชาคณะชั้นสามัญ" ๘๗ รูป �อันดับที่ ๖๘ "พระมหาโชว์" วัดศรีสุดาราม ที่คุ้นๆ หน้าจากเวทีเสื้อแดง ได้เป็นเจ้าคุณด้วยที่ "พระสุธีวีรบัณฑิต" �ขอท่านเจ้าคุณโชว์จงงอกงามในกรรม.
Search