ทำไม นิวซีแลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ผลิตภัณฑ์นม ? /โดย ลงทุนแมน
ซีรีส์บทความ “Branding the Nation”
หากพูดถึงนิวซีแลนด์ สัตว์เลี้ยงที่คนทั่วโลกนึกถึง ก็คงจะเป็น “แกะ”
เพราะประเทศหมู่เกาะแห่งนี้มีประชากรแกะมากถึง 27.3 ล้านตัว
คิดเป็นเกือบ 6 เท่า ของประชากรคนที่มีอยู่ 5 ล้านคน
แต่นิวซีแลนด์ไม่ได้มีแค่แกะเท่านั้นที่มีจำนวนมากกว่าคน
เพราะปศุสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีมากกว่าคนก็คือ “โคนม”
นิวซีแลนด์มีวัวอยู่ราว 6.1 ล้านตัว ผลิตนมส่งออกปีละ 1.5 ล้านตัน
จนกลายเป็นประเทศที่ส่งออกนมมากที่สุดในโลก มูลค่าปีละ 200,000 ล้านบาท
และคิดเป็นสัดส่วนถึง 20% ของการส่งออกนมทั่วทั้งโลก
ไม่ใช่แค่ปริมาณ แต่ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ยังขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ
และมีการสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม ให้สามารถตอบโจทย์กับลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นนม Anlene ที่เน้นในเรื่องของการบำรุงกระดูก
หรือนม Anmum ที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมลูกน้อย
อะไรที่ทำให้ประเทศหมู่เกาะโดดเดี่ยว ที่อยู่ห่างไกลจากประเทศอื่นมากที่สุด
ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำด้านผลิตภัณฑ์นมระดับโลก ?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม นิวซีแลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ผลิตภัณฑ์นม ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1649
Abel Tasman นักสำรวจชาวดัตช์ได้ล่องเรือจากเกาะชวามาค้นพบเกาะแห่งหนึ่งโดยบังเอิญ
แต่ในตอนนั้นเขาถูกต่อต้าน และคุกคามโดยชาวพื้นเมืองบนเกาะ
ทำให้เขาต้องรีบถอยกองเรือออกมา โดยแทบไม่ได้สำรวจอะไรบนเกาะแห่งนี้เลย
Tasman ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “New Zealand”
ตามชื่อแคว้น Zeeland ทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์
ความลึกลับของนิวซีแลนด์คงอยู่ต่อมาจนถึงปี 1769 เมื่อกัปตันชาวอังกฤษ James Cook
ได้ล่องเรือมาสำรวจดินแดนแห่งนี้อย่างละเอียด พบว่าดินแดนนิวซีแลนด์มีเกาะใหญ่หลัก ๆ
อยู่ 2 เกาะคือ เกาะเหนือและเกาะใต้
ด้วยภูมิอากาศอบอุ่น และมีฝนตกตลอดทั้งปีคล้ายกับเกาะอังกฤษ จึงเริ่มมีชาวอังกฤษ
และชาวยุโรปอื่น ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ส่วนใหญ่เป็นนักเดินเรือ เป็นพ่อค้า และเป็นเกษตรกร
แต่ดินแดนแห่งนี้มีชาวพื้นเมืองอยู่แล้ว คือ “ชาวเมารี”
เมื่อชาวยุโรปอพยพมาอยู่มากเข้า ก็เริ่มมีปัญหาจนนำมาสู่ความขัดแย้งหลายครั้ง
ทั้งระหว่างชาวเมารีกับชาวยุโรป และระหว่างชาวเมารีด้วยกันเองที่ต้องการซื้อปืนจากชาวยุโรปเพื่อมาทำสงครามระหว่างเผ่า จนนำมาสู่การเสียชีวิตของชาวเมารีหลายหมื่นคน
จนในปี 1840 อังกฤษก็ได้เชิญหัวหน้าเผ่าชาวเมารีกว่า 500 เผ่า มาทำข้อตกลงร่วมกัน
ด้วยการยอมรับให้ดินแดนนิวซีแลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยชาวเมารีจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินของตนเอง และได้รับสิทธิ์อื่น ๆ เช่นเดียวกับชาวอังกฤษทุกประการ
ข้อตกลงนี้เรียกว่า สนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi)
ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของนิวซีแลนด์ ในการเป็นอาณานิคมอังกฤษอย่างเป็นทางการ..
เจ้าอาณานิคมได้เข้ามาวางรากฐานระบบต่าง ๆ ให้กับนิวซีแลนด์
ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การปกครอง และศาสนา
คณะมิชชันนารีชาวอังกฤษได้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์เข้ามาเผยแผ่ให้กับชาวเมารี
และก็เป็นคณะมิชชันนารีนี่เอง ที่นำแกะและวัวพันธุ์ชอร์ตฮอร์น เข้ามาสู่นิวซีแลนด์ และเริ่มส่งเสริมให้มีการทำฟาร์มเลี้ยงวัวอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษ 1840s
นิวซีแลนด์มีฝนตกตลอดทั้งปี และมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ โดยเฉพาะที่ราบไวกาโตบนเกาะเหนือ และที่ราบแคนเทอร์เบอรี, ที่ราบโอตาโกบนเกาะใต้
บริเวณเหล่านี้ ค่อย ๆ เติบโตกลายเป็นเขตเลี้ยงวัวที่สำคัญ ที่มีการผลิตทั้งนม เนย ชีส ซึ่งในช่วงแรกก็มีไว้สำหรับบริโภคภายในประเทศ
แต่เมื่อมีการพัฒนาระบบตู้เย็นในช่วงทศวรรษ 1880s นิวซีแลนด์ก็เริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์นม
ไปยังดินแดนอื่น ๆ และมีการตั้งโรงงานเนยแห่งแรก คือ “Anchor” ในปี 1886
ซึ่งปัจจุบันได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในแบรนด์นม และเนยคุณภาพสูงที่คนทั้งโลกรู้จัก
ความอุดมสมบูรณ์ของนิวซีแลนด์ ดึงดูดชาวยุโรปให้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น
ผู้คนเหล่านี้ก็นำองค์ความรู้และเครื่องจักรในยุคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเครื่องรีดนมวัว
ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มจำนวนวัวที่เลี้ยงได้มากขึ้น ปริมาณผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อได้เปรียบของการทำฟาร์มโคนมในนิวซีแลนด์ คือการมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ทำให้มีอาหารเพียงพอจนสามารถเลี้ยงวัวในระบบฟาร์มเปิด ที่ให้วัวเดินหาอาหารได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ช่วยให้วัวมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมสร้างน้ำนมคุณภาพเยี่ยม
แต่ข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์สามารถโดดเด่นขึ้นมาในระดับโลก เพราะยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น
ประการที่ 1 ระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็ง
ระบบสหกรณ์ (Cooperative) เป็นอีกหนึ่งมรดกตกทอดจากอังกฤษ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อผู้ประกอบการรายย่อย และเกษตรกรได้รวมตัวกันก่อตั้งสหกรณ์ เพื่อต่อสู้กับเหล่านายทุนเจ้าของโรงงาน
สหกรณ์จะมีการระดมทุนจากสมาชิกที่มีอาชีพเดียวกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สมาชิกที่ขาดแคลนเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยถูก และให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกที่เป็นผู้ฝากเงิน
สหกรณ์ยังให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ จัดหาวัตถุดิบ จัดหาตลาด กำหนดราคาสินค้า
ไปจนถึงการนำเงินทุนมาลงทุนตั้งโรงงานผลิต และผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยทรัพย์สินของสหกรณ์จะถือเป็นของส่วนรวม และสมาชิกทุกคนจะถือเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน
สหกรณ์แห่งแรกของนิวซีแลนด์ คือ Otago Cooperative Cheese Co. ก่อตั้งในปี 1871
เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรเจ้าของฟาร์มโคนมในแถบที่ราบโอตาโกในเกาะใต้
เพื่อตั้งโรงงานผลิตชีส เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกจะถือหุ้นส่วนตามสัดส่วนผลผลิตนมที่ส่งให้กับสหกรณ์ และสมาชิกก็จะได้เงินปันผล หากสหกรณ์มีกำไร
ด้วยความที่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นิวซีแลนด์เป็นประเทศใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมากนัก ทำให้ไม่มีเจ้าของโรงงาน หรือชนชั้นนายทุนมาขัดขวาง
ระบบสหกรณ์จึงเติบโต และเจริญก้าวหน้าในนิวซีแลนด์ได้ดีกว่าหลายประเทศในยุโรป
สมาชิกทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงจะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจของสหกรณ์ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ใช้หลักประชาธิปไตยเป็นสำคัญ สมาชิก 1 คน มีสิทธิ 1 เสียงเท่าเทียมกัน ระบบสหกรณ์จึงค่อย ๆ หยั่งรากประชาธิปไตยให้ฝังลึกลงในสังคมนิวซีแลนด์มาตั้งแต่ยุคนั้น
และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีดัชนีประชาธิปไตย (Democracy Index)
อันดับ Top 5 ของโลกในปัจจุบัน..
การรวมกลุ่มในลักษณะสหกรณ์ ช่วยทำให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับนายทุน มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาสินค้า ทิศทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
และเกษตรกรยังได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม ทั้งผลตอบแทนจากการขายนมให้แก่สหกรณ์ และผลตอบแทนในรูปปันผลจากกำไรของสหกรณ์
ซึ่งในปัจจุบัน สหกรณ์ถือเป็นโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์
สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ 30 แห่ง สร้างรายได้ต่อปีคิดเป็นสัดส่วนถึง 17.5% ของ GDP ประเทศ
สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ Fonterra Co-operative Group Limited
ซึ่งเกิดจากการควบรวมสหกรณ์โคนมหลายร้อยแห่งทั่วประเทศในปี 2001
Fonterra Co-operative Group Limited ยังจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวซีแลนด์อีกด้วย และมีมูลค่าบริษัทสูงกว่า 140,000 ล้านบาท
ประการที่ 2 ความร่วมมือจากภาครัฐในการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง
หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1907 รัฐบาลนิวซีแลนด์ก็ได้ออกกฎหมายอุตสาหกรรมโคนมในอีก 1 ปีต่อมา เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์นม ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การเลี้ยงวัว
มีการควบคุมโรงเลี้ยงวัวให้มีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย สายพันธุ์วัวจะต้องมีการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมอย่างเป็นระบบ ผ่านสมาคมเพาะพันธุ์วัว หรือ Breed Association ที่จัดตั้งขึ้นในปี 1914 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ดีที่สุด ให้น้ำนมมากที่สุด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นมมีคุณภาพ
กลุ่มสหกรณ์โคนมยังได้รวมกันตั้ง Livestock Improvement Corporation (LIC) ในปี 1909 เพื่อเป็นบริษัทที่ให้บริการข้อมูลด้านพันธุศาสตร์มาช่วยปรับปรุงสายพันธุ์วัว เก็บรักษาน้ำเชื้อพ่อวัวพันธุ์ดี และให้บริการผสมเทียมแก่แม่วัวที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950s
ในเรื่องของการควบคุมคุณภาพ มีการตั้งคณะกรรมการโคนมแห่งนิวซีแลนด์ หรือ
New Zealand Dairy Board เป็นคณะกรรมการด้านกฎหมายที่ควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ทั้งหมด คอยควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์นมส่งออกมาตั้งแต่ปี 1923
ประการที่ 3 การสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม
ข้อนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ หลังจากที่นิวซีแลนด์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกนมอันดับ 1 ของโลกในช่วงทศวรรษ 1970s
แต่ด้วยความที่นิวซีแลนด์เป็นประเทศรายได้สูง ซึ่งส่งผลมาสู่ค่าแรงที่สูง และดันให้ราคาของผลผลิตนมสูงตามไปด้วย การที่จะต่อสู้กับผลิตภัณฑ์นมจากประเทศอื่น ๆ ที่มีค่าแรงถูกกว่าได้
จำเป็นจะต้องสร้างความแตกต่าง และความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์
เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รัฐบาลได้จัดตั้ง New Zealand Food Innovation Network (NZFIN) หน่วยงานที่สังกัดกระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และการจ้างงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทั้งการวิจัยผลิตภัณฑ์ การทดสอบกับกลุ่มลูกค้า การผลิตในขนาดเล็ก ไปจนถึงวางแผนการผลิตจริง
ในปี 2008 เพื่อความสะดวกในการวางแผนการตลาด และการแข่งขันกับตลาดโลก
สหกรณ์โคนมหลายร้อยแห่งของนิวซีแลนด์ จึงได้รวมตัวกันให้กลายเป็นสหกรณ์โคนมขนาด
ใหญ่เพียง 3 แห่ง ประกอบไปด้วย
1. สหกรณ์ Fonterra เป็นสหกรณ์โคนมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ครองส่วนแบ่งการตลาด
มากกว่า 80% มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์นมในเครือหลายสิบแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทั้งนม Anlene ที่มีปริมาณแคลเซียมสูง มีหลายสูตรเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
นม Anmum ที่มีแคลเซียมและโฟเลตสูง เป็นสูตรเฉพาะสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก
และเนย Anchor เป็นเนยที่ผลิตจากครีมแท้ 100% จากน้ำนมที่ได้มาตรฐานสูงสุด
2. สหกรณ์ Tatua เป็นสหกรณ์ที่เน้นผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงเกี่ยวกับนม เช่น สารสกัดโปรตีนจากนม สารสกัดไขมันจากนม และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
3. สหกรณ์ Westland เน้นผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทนมผง เวย์โปรตีน เคซีน และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก
จะเห็นได้ว่า สหกรณ์ทั้ง 3 แห่ง ล้วนมี “จุดเด่น” ของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ที่ต่อยอดมาจากน้ำนมธรรมดา
นิวซีแลนด์เป็นประเทศร่ำรวยไม่กี่ประเทศ ที่สินค้าส่งออกถึง 70% มาจากภาคเกษตรกรรม
โดยผลิตภัณฑ์นม ทั้งนม เนย ชีส นมผง และเวย์ คิดเป็นสัดส่วน 18% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ภาคการเกษตรใช้แรงงาน 5.5% ของแรงงานชาวนิวซีแลนด์
แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 7% ของ GDP
ซึ่งขัดกับประเทศกำลังพัฒนาในหลายประเทศที่ใช้แรงงานในภาคการเกษตรมาก แต่ไม่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก
ความโชคดีของประเทศนี้ คือการที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ มีภูมิอากาศเหมาะสม มีหญ้ามากเพียงพอที่จะทำให้วัวมีสุขภาพดี และให้นมคุณภาพสูง
แต่สิ่งเหล่านี้จะยั่งยืนไม่ได้เลย หากขาดระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็ง ความช่วยเหลืออย่างจริงจังจากภาครัฐ และความร่วมมือกันในการวางแผนพัฒนาจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม
จนต่อไปสู่ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ สร้างความ “พรีเมียม” ให้กับแบรนด์สินค้า
และสร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำนมธรรมดาอย่างมหาศาล
นับตั้งแต่ปี 1970 นิวซีแลนด์ยังคงรักษาตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกนมอันดับ 1 ของโลก
ในแง่ของมูลค่า มาได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่มีใครรู้ว่าตำแหน่งจะถูกเปลี่ยนมือไปเมื่อไร แต่จากบทความทั้งหมดที่กล่าวมา
ก็พอจะคาดเดาได้ว่า “นิวซีแลนด์” น่าจะยังอยู่ในตำแหน่งนี้ ต่อไปอีกยาวนาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.statista.com/statistics/974482/new-zealand-dairy-cattle-numbers/
-https://teara.govt.nz/en/dairying-and-dairy-products
-https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/182277/153930/
-https://www.ica.coop/en/newsroom/news/new-report-co-operative-economy-new-zealand
-https://theeconreview.com/2017/02/22/new-zealand-the-model-for-farms-of-the-future/
-https://www.gtreview.com/magazine/volume-15issue-5/milk-new-zealands-dairy-exports-conquered-world/
-https://www.stats.govt.nz/experimental/which-industries-contributed-to-new-zealands-gdp
ถูกสุขอนามัย คือ 在 สมองไหล Facebook 的最佳貼文
เดินทางมาถึงวันที่ 5 ของการเปิดจอง “หนังสืองานประจำสอนทำธุรกิจ” หนังสือเล่มแรกที่ถ่ายทอดออกมาจากประสบการณ์สร้างธุรกิจโดยใช้งานประจำเป็นสะพานเชื่อมความสำเร็จของผม จนถึงตอนนี้ยอดการจองทะลุ 500 เล่ม เรียบร้อยแล้ว โดยที่ไม่ได้ยิงโฆษณาเลยแม้แต่บาทเดียว
.
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการขอบคุณทุกคนที่สนับสนุนหนังสือเล่มแรกของผม ผมจึงได้นำ 5 เทคนิค ที่ช่วยให้ยอดขายครั้งนี้ทะลุ 500 เล่มได้ โดยที่ไม่เสียเงินยิงโฆษณาเลยสักบาท มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ทุกคน ซึ่งเป็นเทคนิคง่ายๆ แต่คนส่วนใหญ่ไปรู้ ที่สามารถเอาไปใช้ได้จริงครับ
.
1) การยิง Ads แค่ช่วยให้คนเห็น ไม่ได้ทำให้คนซื้อ นี่คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด ว่าสูตรสำเร็จของการขายออนไลน์ คือ การยิง Ads เก่งๆ แม่นๆ
.
แต่ความจริงแล้วการยิง Ads ก็เหมือนการที่เราจ้างคนแจกใบปลิว ไปแจกลูกค้า ยิ่งยิง Ads มากเท่าไหร่ก็เหมือนกับการจ้างหลายคนมากขึ้นเท่านั้น
.
แต่คำถาม คือ การมีคนแจกเยอะ ช่วยเพิ่มยอดขายจริงๆ หรอ ?
.
คำตอบ คือ “ไม่”
.
เพราะตัวตัดสินว่าลูกค้าจะซื้อของๆ คุณหรือไม่ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “คนแจกใบปลิว” แต่ขึ้นอยู่กับตัวใบปลิว ซึ่งก็คือ “คอนเทนต์” ต่างหาก
.
ถ้าคอนเทนต์ คุณดึงดูดมากพอลูกค้าก็จะตามมาที่หน้าร้านเพื่อซื้อของๆ คุณจากข้อมูลบนใบปลิวนั้น หรือ ไม่ก็เอาไปส่งต่อให้เพื่อนๆ ดูอีก เปรียบเสมือนการ “แชร์”
.
แต่ถ้าคอนเทนต์ที่คุณทำออกมามันไม่สามารถทำให้ลูกค้าอยากซื้อได้ ต่อให้มีคนแจกใบปลิวมากเท่าไหร่ หรือแจกสักกี่ใบ ลูกค้าก็เอาไปทิ้งถังขยะ ซึ่งเปรียบเหมือนการ “เลื่อนผ่าน” อยู่ดี
.
ฉะนั้น สิ่งที่เราต้องกลับมาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ การทำ “คอนเทนต์” เมื่อทำคอนเทนต์ได้อย่างทรงพลังแล้ว การยิง Ads หรือ การจ้างคนแจกใบปลิวถึงจะใช้ได้ผล
.
2) ไม่ว่าจะเพจเล็กหรือเพจใหญ่ ถ้าคุณทำคอนเทนต์ที่ไม่มีประโยชน์กับผู้อ่าน ผู้คนก็พร้อมที่จะเลื่อนผ่านเหมือนกัน สังเกตได้จากโพสต์โปรโมตหนังสืองานประจำสอนทำธุรกิจในช่วง 5 วันที่ผ่านมานี้ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. โพสต์ขาย (แห้งๆ) กับ 2. โพสต์บทความที่อ้างอิงจากเนื้อหาในหนังสือ
.
ถ้าใครติดตามเพจสมองไหลมาสักระยะหนึ่งจะรู้ว่าเกือบทุกคอนเทนต์ของเพจสมองไหลจะมียอดไลค์ไม่ต่ำกว่า 2,000 ครั้ง และ ยอดแชร์ ที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ครั้ง
.
แต่พอผมได้ทำโพสต์ขายหนังสือแบบแห้งๆ ซึ่งตอนที่ทำผมรู้สึกว่ามันสวยมากๆ ตั้งใจทำเป็นอัลบั้มอย่างดี แต่พอโพสต์ลงเท่านั้นแหละ “เงียบกริบ” ไลค์ยังไม่ถึง 50 ส่วนยอดแชร์คงไม่ต้องพูดถึงครับ
.
ซึ่งเอาจริงๆ ผมก็ไม่ได้แปลกใจอะไรมาก เพราะรู้อยู่แล้วว่าโพสต์ขายแห้งๆ แบบนี้คนจะไม่ค่อยสนใจ แต่แค่ตกใจติดๆ ว่าเพจเราก็มีคนติดตามตั้ง 3 แสนกว่า มันไม่น่าจะน้อยได้ขนาดนี้เลย
.
นี่แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า ต่อให้เพจจะใหญ่แค่ไหน แต่ถ้าคอนเทนต์ไม่ได้มีประโยชน์กับผู้อ่าน ผู้คนก็พร้อมจะเลื่อนผ่านได้เหมือนกัน
.
แต่คำถาม คือ แล้วคอนเทนต์แบบไหนล่ะ ถึงจะเรียกว่า “มีประโยชน์”
.
คำตอบก็ต้องย้อนกลับไปที่ 1 ใน 5 ศาสตร์การขายที่ผมมักจะพูดบ่อยๆ นั่นก็คือ อย่าขายชิ้นเนื้อ แต่ให้ขาย “เสียงย่างเนื้อ”
.
ลองนึกภาพเวลาคุณเดินผ่านร้านข้าวเหนียวหมูปิ้งข้างถนน สิ่งที่ทำให้คุณอยากจะแวะซื้อแล้วควักเงินออกมาจ่าย คือ จังหวะที่คุณเห็นเนื้อหมูสดๆ หรือ จังหวะที่คุณได้ยินเสียง ซ่าๆ ของแม่ค้าที่กำลังปิ้งหมู และ กลิ่นหอมเย้ายวนเตะจมูกของคุณ
.
แน่นอนว่า จะต้องเป็นจังหวะที่ 2 จริงไหม ?
.
นั่นก็เพราะ ทุกครั้งที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสิ่งใด เขาไม่สนหรอกว่าของๆ คุณจะดีแค่ไหน เขาอยากรู้อย่างเดียวคือ “ฉันจะได้ประโยชน์อะไรจากมัน” ซึ่งไอจังหวะที่แม่ค้ากำลังปิ้งหมูนั่นแหละ คือ จังหวะที่ทำให้ลูกค้ารู้ว่าฉันจะได้กินของอร่อย
.
การขายสินค้าอื่นๆ ก็เหมือนกัน ทุกสินค้าจะถูกแบ่งออกเป็น 2 คุณลักษณะ คือ คุณสมบัติ และ คุณประโยชน์
คุณสมบัติ คือ สิ่งที่สินค้านั้นมี
ส่วนคุณประโยชน์ คือ สิ่งที่ลูกค้าจะได้จากสินค้านั้น
.
นั่นหมายความว่า การที่ผมโพส์ขายรูปหนังสือ มันไม่ได้ทำให้ลูกค้ารู้ว่าเขาจะได้ประโยชน์อะไร ไม่ต่างกับการเอาหมูสดๆ มาวางต่อหน้าลูกค้า แล้วบอกว่าเนื้อหมูนี้ถูกเลี้ยงมาอย่างดี เกรดพรีเมี่ยม ถูกสุขอนามัย ซึ่งต่อให้เราจะร่ายคุณสมบัติให้ลูกค้าฟังมากแค่ไหน ลูกค้าก็มีแค่คำถามเดียวในหัวคือ “ฉันจะได้ประโยชน์อะไรจากมัน ของดีแล้วไงล่ะ ต่อให้เนื้อหมูชั้นดีแค่ไหน แต่ถ้าปิ้งออกมาแล้วมันเหม็นไหม้ หมักไม่อร่อย ก็ไม่มีประโยชน์อยู่ดี”
.
3) แต่พอผมทำคอนเทนต์แบบ “ขายเสียงย่างเนื้อ” นั่นก็ คือ การทำคอนเทนต์โดยอ้างเนื้อหาของหนังสือ ปรากฎว่า มียอดจองเข้ามาเฉลี่ยถึงวันละ 100 เล่ม นั่นก็เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ลูกค้ารู้ว่าเขาจะได้อะไรจากหนังสือเล่มนี้บ้าง
.
เขารู้แล้วว่า “หนังสือเล่มนี้แหละ จะทำให้เขาสามารถใช้งานประจำเป็นสะพานในการสร้างธุรกิจโดยไม่จำเป็นต้องใข้เงินทุน จนสามารถลาออกจากงานประจำแล้วกระโดดไปทำธุรกิจอย่างเต็มตัวได้”
.
ซึ่งไม่ต่างกับการที่เขาได้ยินเสียงหมูปิ้ง และ กลิ่นหอมที่เย้ายวน แล้วรู้ทันทีว่า เขากำลังจะได้กินของอร่อยนั่นแหละ
.
4) คุณลองคิดดูว่าถ้าคุณได้กินข้าวเหนียวหมูปิ้งนั้น แล้วปรากฎว่ารสชาติมันอร่อยมากๆ คุณจะอยากซื้อกลับไปฝากคนที่บ้านไหม หรือ อยากจะไปบอกต่อเพื่อนๆ ให้มากินข้าวเหนียวหมูปิ้งร้านนี้หรือเปล่า ซึ่งมันก็ไม่ต่างอะไรจากการ “แชร์” บนโลกออนไลน์เลย
.
เมื่อมีคนแชร์มากขึ้น มีคนบอกต่อมากขึ้น คุณก็จะได้ลูกค้ามากขึ้นโดยที่ไม่ต้องออกแรงอะไรเลย แต่ถ้าเกิดคุณอยากจะได้ลูกค้ามากขึ้นกว่านี้ ก็ค่อยไปจ้างคนแจกใบปลิวเพิ่ม หรือ การยิง Ads เพราะถ้าคุณทำให้ลูกค้าหลงไหลในเสียงย่างเนื้อได้แล้ว คุณแค่จ้างคนแจกใบปลิวสัก 10 ใบ ลูกค้าก็พร้อมที่จะเอาใบปลิวนั้นไปส่งต่อให้คนที่บ้านอีก 3 คน เท่ากับว่า คุณจะได้ลูกค้า 30 คน จากการแจกใบปลิวแค่ 10 ใบ
.
แต่กลับกันถ้าใบปลิวของคุณมันแย่ ต่อให้จ้างคนแจกใบปลิว 100 ใบ ลูกค้าก็เอาไปทิ้งถังขยะหมด แล้วอย่างนี้จะไม่ให้หลายคนรู้สึกว่าค่า Ads แพงได้ยังไง ก็ในเมื่อยิงไปเท่าไหร่ ลูกค้าก็เลื่อนผ่านหมด
.
โดยส่วนตัวถ้าผมจะยิง Ads เพิ่มก็ทำได้ และ ยอดขายคงมากกว่านี้ แต่ด้วยความที่ผมกำหนดหนังสือพร้อมลายเซ็นต์ไว้จำนวนจำกัดแค่ 500 เล่ม (เพราะมากกว่านี้คงเซ็นต์ไม่ไหว) ผมก็เลยไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องยิง Ads
.
5) การขายของก็ไม่ต่างกับการจีบสาว คือ คุณไม่สามารถขอเป็นแฟนกับเขาได้ตั้งแต่เจอกันครั้งแรก แต่คนส่วนใหญ่มักหวังขอเป็นแฟนกับลูกค้าตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกันเลย
.
ลองนึกภาพว่าคุณเป็นผู้หญิงที่มีผู้ชายคนหนึ่งแอบชอบ แต่จู่ๆ เขาก็เดินเข้ามา แนะนำตัวว่าตัวเองชื่ออะไร แล้วก็บอกว่า ผมเป็นคนดี ผมรวย ผมสามารถดูแลคุณได้ และ คุณจะมีความสุขถ้าคบกับผม เรามาเป็นแฟนกันเถอะ !!
.
ซึ่งถ้าทำแบบนี้ผู้หญิงคนนี้คงจะ งง แล้วก็คิดในใจว่า “มึงมาหลอกกูหรือเปล่าเนี่ย !! เป็นคนดีแน่หรอ ? รวยจริงหรือเปล่า ? และสุดท้ายก็คงเดินหนีแล้วทิ้งผู้ชายคนนี้ไว้ตรงนั้น...
.
ซึ่งไม่ต่างกับการขายของ ที่คนส่วนใหญ่เข้ามาแนะนำสินค้าตัวเอง แล้วก็บอกคุณสมบัติต่างๆ ว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ แล้วพยายามให้ลูกค้าซื้อทันที ซึ่งจุดจบก็คือการที่ลูกค้าจะเดินหนีไม่ต่างจากคุณผู้หญิงที่เดินหนีผู้ชายเมื่อสักครู่นี้เลย
.
ฉะนั้น หน้าที่ของคุณคือ การไปหาผู้หญิงคนนี้ทุกวันเหมือนกับการทำคอนเทนต์ทุกวัน เพราะลองคิดดูว่าถ้าคุณไปหาผู้หญิง 3 วัน หายไป 4 วัน ผู้หญิงคนนั้นคงจะรับรักคุณอยู่หรอก
.
และไม่ใช่แค่ไปหาทุกวัน แต่ต้องไปหาอย่างมีคุณภาพด้วย คุณจึงต้องเสริฟคอนเทนต์ดีๆ แสดงให้เห็นว่าเราสามารถดูแล และ ช่วยอะไรลูกค้าได้บ้าง เหมือนกับการที่ผู้ชายจะต้องไปรับไปส่ง พาผู้หญิงไปทานข้าว เพื่อแสดงให้เห็นว่า ฉันเป็นคนดี คนรวย และ ฉันดูแลเธอได้จริงๆ
.
และ ท้ายที่สุดถ้าผู้หญิงคนนี้เชื่อแล้วว่าผู้ชายคนนี้จะดูแลเขาได้ เขาถึงจะยอมตกลงเป็นแฟน เหมือนกับการที่ลูกค้าตกลงที่จะจ่ายเงินซื้อของๆ คุณ
.
และผมหวังว่าทั้ง 5 ข้อนี้ จะช่วยให้คุณสามารถขอลูกค้าเป็นแฟนได้ และ ทำให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้นไปอีกนะครับ
.
สุดท้ายนี้ ผมก็ต้องขอบคุณทุกคนมากๆ ที่จองหนังสือพร้อมลายเซ็นเข้ามาเต็มโค้วต้า 500 เล่ม ซึ่งคนที่ยังไม่จองก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะผมมีข่าวดีมาบอก !!
.
เนื่องในโอกาสที่เพจสมองไหล มีผู้ติดตามครบ 3 แสนคนพอดี เมื่อช่วงค่ำของเมื่อวานนี้ ผมจึงตัดสินใจขยายโค้วต้าหนังสือพร้อมลายเซ็นเพิ่มให้อีก 500 เล่ม
.
เพราะไหนๆ ทุกคนก็สนับสนุนผมมาขนาดนี้ อยู่ด้วยกันมาตลอด 1 ปีกว่า แค่ฝืนนิ้วล็อคเซ็นเพิ่มอีก 500 เล่ม คงไม่ถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลหรอก
.
ฉะนั้น ใครที่ยังไม่ได้จอง รีบเข้ามาจองด่วนเลยครับ เพราะผมจะเปิดแค่รอบนี้รอบเดียวเท่านั้น เพราะด้วยมารยาทของนักเขียน เราจะไม่ขายหนังสือแข่งกับสำนักพิมพ์ นั่นจึงทำให้ผมสามารถเปิดจองหนังสือได้เพียงรอบเดียวเท่านั้น !!
.
พิเศษ !! รับส่วนลด 10% เพียงแชร์โพสต์นี้เป็นสาธารณะ
เหลือเพียง 220 บาท เท่านั้น !! (จากราคาปกติ 245 บาท)
ค่าส่งเหมาๆ สั่งกี่เล่มก็ 60 บาท
.
วิธีการสั่งซื้อ
.
1.กดลิงก์ https://m.me/432860907260347?ref=sale_pYgxqDgb
.
2.กด “สั่งซื้อ”
.
3.เลือก “จำนวน” และ กด “ยืนยันคำสั่งซื้อ”
.
จากนั้น ชำระเงิน ตามเลขบัญชีที่ให้ไว้ใน Inbox
.
1 เล่ม 280 บาท
2 เล่ม 500 บาท
.
ปล. เริ่มจัดส่งหนังสือวันที่ 15 เมษายน 2021
ถูกสุขอนามัย คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
“เวียนนา” ทำอย่างไร? ให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก 10 ปีซ้อน / โดย ลงทุนแมน
จากการจัดอันดับเมืองน่าอยู่ของบริษัทที่ปรึกษา Mercer จากทั้งหมด 231 เมืองทั่วโลก
กรุงเวียนนา เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย ครองตำแหน่งเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก
ในปี 2019 และครองตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2010
เท่ากับว่า เมืองที่มีประชากร 2 ล้านคนแห่งนี้ เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกมาเป็นเวลา 10 ปีซ้อน..
นอกจากบริษัทที่ปรึกษาด้านบริหารทรัพยากรบุคคลอย่าง Mercer แล้ว
สถาบันอย่าง The Economist ก็ได้มอบตำแหน่งเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกให้กับเวียนนาในปี 2019 ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่ทำให้เวียนนาเป็นเมือง “น่าอยู่” คืออะไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ก่อนอื่นมารู้จักประวัติของเวียนนากันสักนิด
กรุงเวียนนา หรือชื่อภาษาเยอรมันว่า “Wien” ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศออสเตรีย
มีแม่น้ำดานูบไหลผ่านกลางเมือง
กรุงเวียนนาเป็นศูนย์กลางของราชวงศ์ฮับส์บวร์กมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
ในศตวรรษที่ 18 ก็ขึ้นแท่นเป็นศูนย์กลางการปกครองที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของยุโรป
มีพระราชวังเชินบรุนน์ที่งามสง่า มีถนนหนทางโอ่อ่า อาคารประดับประดาสวยงาม
เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมโดยเฉพาะดนตรีคลาสสิก ได้รับฉายาว่า “นครหลวงแห่งการดนตรี”
คีตกวีชื่อดังระดับโลกทั้ง โยฮันน์ ชเตราสส์, โมซาร์ท, เบทโฮเฟิน
ล้วนมีช่วงชีวิตรุ่งโรจน์อยู่ในเมืองแห่งนี้
เวียนนายังคงเป็นศูนย์กลางต่อเนื่องถึงจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เวลานั้นตรงกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของยุโรป
เวียนนาก็ไม่ต่างกับเมืองใหญ่ๆ หลายแห่งของยุโรป มีการสร้างโรงงานมากมาย ดึงดูดแรงงานจากชนบทให้เข้ามาอยู่ในเมือง ประชากรของเวียนนาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมากกว่า 1 ล้านคน
ในช่วงทศวรรษ 1880s
ท้ายที่สุดก็นำมาสู่ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย..
นอกถนนวงแหวนที่ล้อมเขตเมืองเก่าที่สวยงาม เต็มไปด้วยอาคารที่อยู่อาศัยที่เสื่อมโทรม
ผู้คนแออัดยัดเยียด หลายแห่งไม่มีห้องน้ำ ยังไม่นับรวมผู้คนอีกมากมายที่อาศัยอยู่ในบ้านทั้งหมดส่งผลให้สุขอนามัยของชาวเวียนนาอยู่ในขั้นวิกฤติ เกิดการระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะ “วัณโรค”
ปัญหาดูจะย่ำแย่ลงไปอีก เมื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1918 พร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ผู้อพยพจากดินแดนอื่นๆ ของจักรวรรดิต่างหลั่งไหลมาอยู่กรุงเวียนนา และเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หรือ Great Depression ที่ทำให้ผู้คนว่างงาน
แต่ช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุด ก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ทำให้วิถีชีวิตผู้คนดีขึ้น
หลังจักรวรรดิล่มสลาย ออสเตรียกลายเป็นสาธารณรัฐ มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
โดยเริ่มให้สิทธิเลือกตั้งกับทุกคนรวมถึงผู้หญิง ไม่จำกัดเฉพาะชนชั้นสูงผู้ชายอีกต่อไป
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยได้ขึ้นมาเป็นเทศมนตรีแห่งกรุงเวียนนาในช่วงปี ค.ศ. 1918 - ค.ศ. 1934 และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองก็เริ่มได้รับการพัฒนาขึ้นทีละน้อย
อย่างแรกก็คือ การแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย..
คุณ Karl Seitz นายกเทศมนตรีแห่งกรุงเวียนนาระหว่างปี ค.ศ. 1923 - ค.ศ. 1934
เป็นผู้ผลักดันโครงการที่อยู่อาศัยที่เมืองเป็นผู้สนับสนุนค่าเช่า
โดยเมืองจะทำหน้าที่เป็นผู้สร้าง และเก็บค่าเช่าจากผู้คนในราคาถูก
คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 4% ของค่าครองชีพ
แต่เนื่องจากเมืองก็ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย จึงจำเป็นต้องหารายได้ด้วยการปฏิรูปภาษี
โดยเริ่มการปฏิรูปในปี ค.ศ. 1922 ด้วยการปรับขึ้นภาษีต่างๆ โดยเฉพาะภาษีที่ดิน และภาษีที่อยู่อาศัยสำหรับเอกชน
เมื่อเมืองมีรายได้มากขึ้น สวนทางกับภาคเอกชน ที่ไม่มีใครอยากซื้อที่ดินมาทำโครงการบ้าน เพราะทำไปก็ไม่คุ้ม ผลที่ได้ เมืองสามารถซื้อที่ดินว่างเปล่ามาเพื่อสร้างอะพาร์ตเมนต์สำหรับประชาชน ซึ่งถูกเรียกว่า “Gemeindebau”
แต่ Gemeindebau ก็ไม่ใช่อะพาร์ตเมนต์ที่สร้างแบบหยาบๆ มีการออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียวควบคู่ไปด้วย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้งศูนย์ดูแลเด็ก ห้องสมุด โรงยิม ร้านค้าสหกรณ์ สนามเด็กเล่น ซึ่งกลายเป็นชุมชนให้ผู้คนได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ท้ายที่สุด เมืองก็กลายมาเป็นผู้ครอบครองที่ดินมากที่สุดในเวียนนา โดยมีการสร้างอะพาร์ตเมนต์แบบ Gemeindebau กว่า 60,000 แห่งทั่วเมือง โดยอะพาร์ตเมนต์ที่ใหญ่ที่สุด คือ Karl Marx-Hof ซึ่งมีความยาวถึง 1.1 กิโลเมตร
เมื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของเมืองได้รับการแก้ไข ผู้คนมากมายสามารถมีที่อยู่โดยใช้เงินเพียงเล็กน้อย ปัญหาต่างๆ จึงเริ่มบรรเทาลง ทั้งปัญหาสุขอนามัย และอาชญากรรม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรียได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหรัฐอเมริกาในแผนการ Marshall ทำให้รัฐบาลมีเงินมาซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนที่เสียหายจากสงคราม และปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน โดยสร้างอะพาร์ตเมนต์แบบใหม่ที่สะดวกสบายมากขึ้นอีก และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ
เมื่อระบบรถราง (Tram) และรถไฟใต้ดินของเวียนนาที่สร้างมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19
เริ่มเก่าและเสื่อมสภาพลง จึงมีการปรับปรุงและขยายเส้นทางให้ครอบคลุมทั่วเมือง ในช่วงทศวรรษ 1970s เกิดเป็น Vienna U-Bahn ระบบรถไฟในเมือง
และ Vienna S-Bahn ระบบรถไฟชานเมือง เชื่อมระหว่างใจกลางเมือง กับเขตเมืองรอบๆ
ในปัจจุบัน เวียนนาและเขตปริมณฑล มีระบบรถไฟทั้ง U-Bahn และ S-Bahn
รวมกันเป็นระยะทางมากกว่า 700 กิโลเมตร และระบบรถรางเป็นระยะทางกว่า 170 กิโลเมตร
โดยค่าตั๋วเดินทางแบบรายปี มีราคาเพียง 365 ยูโร สามารถใช้กับระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองได้ทุกประเภททั้งรถไฟ รถราง และรถเมล์ ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะเป็นค่าใช้จ่ายวันละ 1 ยูโร หรือ 40 บาทต่อวัน
เมื่อเทียบกับ GDP ต่อหัวของชาวเวียนนาในปี 2019 ที่ 44,000 ยูโร
ค่าเดินทางจะมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของรายได้ด้วยซ้ำ..
ปัจจุบันเวียนนาจึงมีระบบขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมในราคาที่เอื้อมถึง มีพื้นที่สีเขียว มีพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และที่สำคัญ ประชาชนมี “บ้าน” ที่ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และมีค่าเช่าที่ไม่แพง
ปัจจุบันมีชาวเวียนนากว่า 60% อาศัยอยู่ในอะพาร์ตเมนต์ Gemeindebau ที่มีการออกแบบทันสมัยมากขึ้น มีการนำนวัตกรรมด้านประหยัดพลังงานมาใช้พัฒนาให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นไปอีก
โดยตัวแปรในการจัดอันดับเมืองน่าอยู่ของ Mercer ประกอบไปด้วย
ความมั่นคงทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงออก สุขอนามัย อาชญากรรม การศึกษา
ระบบขนส่งมวลชน พื้นที่สาธารณะ และที่อยู่อาศัย
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ คงได้คำตอบแล้วว่า
อะไรที่ทำให้เวียนนา “น่าอยู่” จนได้รับตำแหน่งอันดับ 1 ของโลกมาครอบครอง..
สำหรับกรุงเทพมหานคร จากการจัดอันดับเมืองน่าอยู่ของ Mercer อยู่ในอันดับที่ 133 จากทั้งหมด 231 เมืองทั่วโลก
ทุกคนรู้ว่ากรุงเทพฯ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนเป็นอันดับ 1 ของโลก
เป็นเมือง “น่าเที่ยว” ที่มีสถานที่สวยงามมากมาย มีอาหารอร่อย มีบริการที่ครบครันในราคาไม่แพง
แต่สำหรับความ “น่าอยู่” แล้ว
สิ่งรอบตัวคนกรุงเทพฯ เช่น ระบบขนส่งมวลชน การจราจร พื้นที่สีเขียว และทางเท้า คงจะเป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ ว่าทำไม กรุงเทพฯ ถึงเป็นเมืองน่าอยู่อันดับที่ 133 ของโลก..
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.mercer.com/newsroom/2019-quality-of-living-survey.html
-https://www.independent.co.uk/travel/news-and-advice/vienna-best-city-live-quality-life-ranking-mercer-australia-europe-a8820396.html
-https://www.wien.info/en/sightseeing/red-vienna/100-years-of-red-vienna
-https://ec.europa.eu/growth/tools-databases/regional-innovation-monitor/base-profile/vienna
-https://www.theguardian.com/world/2019/jul/09/vienna-euro-a-day-public-transport-berlin-365-annual-ticket
-เมืองน่าอยู่ที่รู้สึก, Little Thoughts