วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ "
ปีนี้มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จึงตรงกับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
.
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด
ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ
เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. “ประสูติ” เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หรือราวประมาณ ๒,๖๔๔ ปีก่อน
.
เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้า
สุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี
ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น
.
ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
.
ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"
ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงถือว่า วันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
.
๒. “ตรัสรู้” เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา
ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
.
การตรัสรู้อริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
.
ชาวพุทธทั่วไปจึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้น
พระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ"
คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ"
คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ"
คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
.
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
.
๓. “ปรินิพพาน” หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศ
พระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ เป็นระยะเวลา
๔๕ พรรษา
.
พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
.
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา
.
อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก
ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
.
ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า
และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
.
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
.
หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี
บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖
.
ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์
และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
พระปัญญาธิคุณ
และพระบริสุทธิคุณ
ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
--------------
ตามรอย ธรรม
FB : ใต้ร่ม ธรรม
ทุกข์ แปลว่า 在 Capt.Benz Facebook 的最佳解答
ทำยังไง?
เมื่อรู้สึกว่าตัวเองทำผิดพลาดมาเยอะ
บาปกรรมเยอะ จนไม่น่าให้อภัย 😞
แม้จะกลับตัวตั้งใจเป็นคนที่ดีขึ้นแล้ว
แต่ความชั่วหยาบที่เคยทำมากก็กลับมาหลอกหลอนซ้ำแล้วซ้ำอีก
คนรอบตัวก็ยังคงพูดถึงความผิดพลาดนี้ให้เรารู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจอยู่บ่อยครั้ง
จนบางครั้งท้อแท้หมดกำลังใจ
หมดใจที่จะทำความดี เป็นคนดี เป็นคนใหม่
เพราะรู้สึกว่ามันยากเย็นเหลือเกิน
.
ก่อนอื่น
พึงเข้าใจกฎของธรรมชาติ
ธรรม หรือ ธรรมะ แปลว่า things
คือสิ่งที่เกิดขึ้นของมันอย่างนั้น
ธรรมที่เกิดขึ้นเอง เรียกว่า ธรรมชาติ
ธรรมที่เกิดขึ้นจากการให้ค่า เรียกว่า ธรรมคุณ
มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
แต่ความรัก โกรธ เกลียด กำหนดฐานะ ชนชั้น ความสำคัญ ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเป็นธรรมคุณ
.
ธรรมในส่วนของ ‘ธรรมคุณ’ นั้น ก็ยังมีอีก 2 ส่วน
ส่วนแรกคือ โลกธรรม
หรือธรรมแบบโลกๆ
ได้ลาภ เสื่อมลาภ
ได้ยศ เสื่อมยศ (ยศ หมายถึง อำนาจ, แม้อำนาจในที่ทำงาน ในครอบครัว ในระหว่างคู่ครอง ก็ถือเป็นอำนาจ)
นินทา สรรเสริญ
สุข ทุกข์
มี 8 ตัว 4 คู่ ทั้งฝ่าย possitive และ negative
ขึ้นชื่อว่า โลก
ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้
.
ส่วนที่สองคือ สัจธรรม
ธรรมที่เป็นความจริงแท้
เป็นจริงของมันเช่นนั้น
พ้นจากลาภ พ้นจากยศ พ้นจากสรรเสริญ พ้นจากสุข และคู่ของมัน
สัจธรรมนี้ ไม่มีอะไรหักล้างได้ และไม่ว่าใครก็ต้องเจอ
เช่นกฎไตรลักษณ์
สามลักษณะของทุกสรรพสิ่ง
มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ชั่วคราว และมีสูญสลายหายไป
ที่ว่าทุกสรรพสิ่งนั้น มันเป็นทุกสรรพสิ่งจริงๆ
แม้ความดี ความชั่ว
ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว และสูญสลายหายไปในที่สุด
จะทรงอยู่ได้ก็แต่เฉพาะตอนระลึกนึกถึง
ซึ่งเมื่อไปทำกิจอย่างอื่น ก็หลงลืมไปตามธรรมดา
.
ไม่มีใครทำบุญ ให้ทานแล้ว ค้างอยู่อย่างนั้น
ทุกคนต้องเปลี่ยนอิริยาบท ไปทำกิจการงานอื่นต่อไป
ความดีนั้นจะกลับมาอีกครั้งได้ ก็เฉพาะแต่ในความทรงจำ
ฉันใดก็ฉันนั้น
ไม่มีใครทำบาป แล้วก็ค้างการกระทำอยู่แบบนั้น
ล้วนต้องเปลี่ยนอิริยาบทไป
บาปจะกลับมารบกวนอีกครั้ง ต่อเมื่อถูกทำให้ระลึกถึง
หรือเจ้าตัวระลึกถึงเอง
.
สำหรับผู้ที่ระลึกได้ถึงบาปแล้วทุกข์
โปรดจำไว้ว่า นี่คือผลของมัน
ยอมรับเสีย แล้วตั้งสติ
ธรรมดาของชีวิต
ไม่มีใครไม่เคยผิดพลาด
และไม่มีใครสามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขความผิดพลาดได้
แต่จงรู้ว่าจิตที่ก่อความผิดพลาด ณ ขณะนั้น
เป็นคนละจิตกับ ณ ขณะที่ระลึกถึงความผิดพลาดได้ในขณะนี้
จิตตอนทำชั่ว ชั่วทั้งก้อน
แต่จิตตอนระลึกถึงความชั่วได้
เป็นจิตที่ละอายต่อบาป
มันไม่ได้ชั่วทั้งก้อน
มันคือจิตส่วนหนึ่ง
ความไม่สบายใจต่อความชั่วส่วนหนึ่ง (ภาษาพระเรียก “หิริโอตตัปปะ”)
และความรู้ตัวทั่วพร้อมอีกส่วนหนึ่ง (สติสัมปชัญญะ)
อย่างน้อย จิตขณะนี้ประกอบด้วยคุณธรรม
.
การทำความดีในพระพุทธศาสนา
มี 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ทาน ศีล ภาวนา
ทาน คือ การให้ การสละ
ศีล คือ การประพฤติในร่องรอยของความปกติ ไม่เบียดเบียน
ส่วน ภาวนา คือ การชำระจิตใจให้ผ่องใส ทำจิตใจให้สูงขึ้น
ในทาน ศีล ภาวนา
“การภาวนา” เป็นบุญที่สูงสุด
เพราะเมื่อใจสูง ศีลก็มั่นคง ทานก็งดงาม
.
การก่อร่างสร้างความผิดพลาดในอดีตอาจเป็นความชั่ว
แต่เมื่อใดที่ได้ระลึกและพิจารณาอย่างแยบคายจนเห็นธรรมอันเป็นสัจจะแล้ว
เช่นนี้ จัดเป็นการภาวนา
.
ฉะนั้น เมื่อความผิดพลาดย้อนกลับมาทำร้ายเรา
จงพิจารณาให้เห็นตามนี้
และมองให้เห็นคุณธรรมความดีของตัวเองในขณะปัจจุบัน
มองให้เห็นปัญญาของตัวเอง
ว่าเราสามารถระลึกผิดชอบชั่วดีได้
แม้ระลึกไม่ได้ในอดีต
แต่ระลึกได้ในปัจจุบัน
เช่นนี้ ก็น่าชื่นชมเพียงพอ
.
อดีตของเราอาจไม่น่าให้อภัย
แต่ถ้าจิตปัจจุบันสามารถให้อภัยตัวเองได้
ระลึกถึงความผิดความชั่วของตัวเองในอดีตได้
และมั่นคงที่จะไม่กลับไปทำผิดทำชั่วอีก
นี่แหล่ะ “ความรู้ตัว”
ซึ่งเท่านี้ ก็เพียงพอ
.
.
เมื่อพลั้งพลาด ในศีลเข้า อย่าเศร้าหมอง
จงตรึกตรอง ด้วยจิต คิดแก้ไข
ไม่ประมาท พลาดพลั้ง ครั้งต่อไป
เริ่มต้นใหม่ ให้จิตแผ้ว แคล้วมลทิน
แม้ทานพร่อง ศีลพร่อง ไม่ผ่องใส
จงทำใจ หนักแน่น ดังแผ่นหิน
จงตามดู รู้เห็น เป็นอาจิณ
เพียรให้สิ้น ละบาป เรื่องหยาบคาย
หิริโอต ตัปปะ มากำกับ
คอยสำทับ ไม่ให้จิต คิดเสียหาย
ไม่พลั้งพลาด ผิดซ้ำ ทำวุ่นวาย
จบตามสไตล์ “ความรัก ก็เช่นกัน” 😘
.
#ผู้กองเบนซ์
ปล. ปล่อยวางอดีต ประณีตปัจจุบัน ไม่หวาดหวั่นอนาคต 🙂
ทุกข์ แปลว่า 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
“Change Innovation Idealism Freedom “
เจ้าคุณธงชัยกล่าวถึง Uranus Theory หรือทฤษฎีดาวมฤตยู ที่ปรากฎอยู่บนยันต์สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้ ซึ่งมีอยู่ 4 คำคือ Change Innovation Idealism Freedom เปรียบเสมือนอริยสัจ 4 ท่านอธิบายว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เราเรียกว่า ทุกข์ แน่นอนมันคือ การเปลี่ยนแปลง หรือ Change จากเด็กมาเป็นหนุ่มเป็นสาว จนมาเป็นผู้สูงวัย คือ สัจธรรมว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง เป็นการเคลื่อนไหว ไม่สามารถดำรงความไม่เปลี่ยนแปลงได้ เด็กอยู่ตลอดกาลไม่ได้ นี่คือสิ่งต่างๆ ที่ต้องมีการ Change เราต้องพัฒนาจิตใจให้ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นและปรับปรุงชีวิตใหม่ ด้วยความเข้าใจถึงอริยสัจ 4 ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์บอกว่าเป็นทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรที่จะยั่งยืน มั่นคงได้ ให้สำรวจตรวจตรา ใช้สติ ใช้ใจดู และมองด้วยปัญญาเห็นความเปลี่ยนแปลง เอาไปใช้กับหน้าที่การงาน สังคม และสิ่งต่างๆ ที่เราเกี่ยวข้องด้วย
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้นัยยะว่าเราจะต้องมีปัญญา หาสาเหตุ ทุกคนทุกข์ไม่เหมือนกัน ก็แสดงว่าสาเหตุของทุกข์หรือสมุทัยแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกคนต้องหาเหตุให้ได้ ท่านทั้งหลายจะต้องใช้ Innovation คือ นวัตกรรมและต้องเป็นนวัตกรรมใหม่ ในเชิงการทำงาน ในความเป็นอยู่ของเรา ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์ เราต้องใช้เครื่องมือ เพราะสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงมากและเกิดขึ้นจริง
Idealism หรือนิโรธ (การดับทุกข์) มนุษย์เรานั้นมีจริตไม่เหมือนกัน นานาจิตตัง จิตนั้นต่างกัน ทานอาหารไม่เหมือนกัน รสชาติไม่เหมือนกัน ความพึงพอใจไม่เหมือนกัน จริตไม่เหมือนกัน ต้องใช้ให้ถูกจริต ซึ่ง นิโรธเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ได้สรุปไว้แล้ว และเราสามารถที่จะเลือกให้ถูกกับจริตของเรานำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายได้ Freedom แปลว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรือเรียกว่า มรรค คือการเดินทางปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายถึงอริยะบุคคล ต้องมีผลสัมฤทธิ์เป็นเชิงบัญญัติว่าปฏิบัติแล้วได้ผลจริง เป็นที่ประจักษ์
☀️🌙☀️🌙☀️🌙☀️🌙☀️🌙☀️🌙☀️🌙☀️🌙☀️
“พระกริ่งสมเด็จธงชัย”
เนื้อ : นวโลหะครบสูตร เททองแบบเข้าดินไทยโบราณ ก้นทองคำ ชุดเลขสวยประมูล
หมายเลขประจำองค์พระ : no.๙
ผู้ครอบครองร่วมบุญสร้าง : บัณฑิต ศรีปุงวิวัฒน์
สถานะ : โชว์เฉยๆ จร้าาา😍😍😍
มงคลที่ระลึกสมโภช สุพรรณบัฏ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี
โดยมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก 5 วาระสำคัญครบถ้วน สมบูรณ์ จนแล้วเสร็จ ได้แก่ :
๑.พิธีพุทธาภิเษก เจริญพระคาถาชินบัญชร 108 จบ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์ ในวันที่ 15 ก.พ 2563 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม
๒.พิธีพุทธาภิเษก เจริญพระพุทธมนต์พระปริตร ในวันที่ 16 ก.พ 2563 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม
๓.พิธีพุทธาภิเษก เจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์ ในวันที่ 21 ก.พ 2563 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม
๔.พิธีพุทธาภิเษก เจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์ในวาระดาวเสาร์ (7) ย้ายราศี ในวันที่ 2 มี.ค 2563 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม
๕.พิธีพุทธามังคลาภิเษกและพิธีสมโภช ในวันเสาร์ที่ 27 มิ.ย 2563 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม
ประธานจัดสร้าง : อาจารย์ลักษณ์ ราชสีห์ / มูลนิธิพระศิวะนาฎราช
เนื้อนวโลหะครบสูตร เททองแบบเข้าดินไทยโบราณ ก้นทองคำ ชุดเลขสวยประมูล : ใต้ฐานองค์พระ บรรจุผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายพันรายการ และผงชนวนมวลสารสมเด็จธงชัย เส้นเกศาสมเด็จธงชัย เม็ดกริ่งนวโลหะครบสูตร ปิดก้น ดวงตราเทพพระนารายณ์ทรงครุฑประทับพระราหู เนื้อทองคำ