นิทานชาดก เรื่อง พลังแห่งสัจจะของนกคุ่มน้อย
เสียงเล่า โดย อุรัสยา เสปอร์บันด์
กำกับการเล่านิทาน โดย พันพัสสา ธูปเทียน
ดนตรีประกอบ โดย 28Production
เรียบเรียง โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
ภาพประกอบ โดย สมนึก คลังนอก
การบำเพ็ญสัจจบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นนกคุ่มมีความเชื่อมั่นในพลังแห่งสัจจธรรมคือ คุณงามความดี คุณแห่งศีล คุณแห่งพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้พร้อมทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญาอันเป็นความจริงแท้ คุณแห่งพระธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว นกคุ่มน้อยได้น้อมนำสัจธรรมเหล่านี้มาเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึงให้จิตสงบนิ่งเพื่อทำสัจกิริยาบอกไฟป่าว่า ถ้าสภาวะของตนนั้นมีความพร้อม ก็จะหลีกหนีอันตรายไป แต่ความจริงขณะนี้ ตนเองยังเล็กนัก ปีกและเท้าก็ยังไม่แข็งแรงที่จะหนีไปได้ ขอให้ไฟป่าที่โหมรุนแรงอยู่นั้นโปรดเอ็นดูและถอยออกไปอย่าได้ทำอันตรายแก่ตนด้วยพลังแห่งสัจจกิริยาที่มีความสัตย์ซื่อบริสุทธิ์ของนกคุ่มน้อยจึงทำให้ไฟป่านั้นเอื้อเอ็นดูและดับลงไม่เหลือเชื้อ
โครงการ “บารมีดีที่ตน”
•บารมีธรรมนำภูมิคุ้มกันให้ชีวิต•
#บารมีดีที่ตน #นิทานชาดก #ชาดกยกระดับใจ #เล่าอ่านฟังชาดกยุคใหม่ #ภูมิคุ้มกันชีวิต
Line : @baramidee
Facebook.com/baramidee
IG : baramidee
Email : baramidee@gmail.com
ธงทอง จันทรางศุ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
นิทานชาดก เรื่อง เสนกบัณฑิตผู้เปี่ยมด้วยปัญญา
เสียงเล่า โดย จิรายุ ตั้งศรีสุข
กำกับการเล่านิทาน โดย พันพัสสา ธูปเทียน
ดนตรีประกอบ โดย 28Production
เรียบเรียง โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
ภาพประกอบ โดย นวลตอง ประสานทอง
การบำเพ็ญปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิตผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดได้ใช้ปัญญาไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นประโยชน์ ไม่ทำร้ายผู้อื่น บอกกล่าวอบรมสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ถึงธรรมะ มีสติในการทำ พูด คิด หลีกเลี่ยงการทำบาปทั้งปวง ดำเนินชีวิตไม่ตกเป็นทาสหลงกิเลสในตนและการที่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญในเหตุผลอย่างรอบคอบจนสามารถไขปริศนาที่ยากซับซ้อนให้กระจ่างนั้นได้ช่วยให้พราหมณ์เฒ่าและนางพราหมณีผู้เป็นภรรยารอดพ้นจากงูเห่ากัดเป็นการใช้สติปัญญาอันชาญฉลาดที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ช่วยเหลือผู้อื่นที่กำลังจะมีอันตรายถึงชีวิตให้พ้นจากอันตรายนั้นได้
โครงการ “บารมีดีที่ตน”
•บารมีธรรมนำภูมิคุ้มกันให้ชีวิต•
#บารมีดีที่ตน #นิทานชาดก #ชาดกยกระดับใจ #เล่าอ่านฟังชาดกยุคใหม่ #ภูมิคุ้มกันชีวิต
Line : @baramidee
Facebook.com/baramidee
IG : baramidee
Email : baramidee@gmail.com
ธงทอง จันทรางศุ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
บทสนทนา เรื่อง การบูรณาการงานวิจัยสู่การเขียนหนังสือ/ตำรา
บทสนทนากับอาจารย์ในเรื่องการนำงานวิจัยมาบูรณาการงานวิจัย มาเขียนเป็น หนังสือ /ตำรา ใช้ในการเรียนการสอน ระหว่าง อาจารย์ ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ กับ ศิษย์ รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง ณ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
สิทธิกร : กราบสวัสดีครับอาจารย์
อาจารย์ : สวัสดีสิทธิกร
สิทธิกร : อาจารย์ครับ ผมมีแนวคิดเอางานวิจัย มาเขียนหนังสือ ตำรา อยู่ แนวทาง ครับ
แนวทาง ที่ 1 นำงานวิจัยมาเขียนไว้ใน หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ในแต่หัวที่เกี่ยวข้อง
แนวทางที่ 2 นำงานวิจัยมาเขียนเป็นหนังสือรายงานวิจัย โดยมีการเขียนเพิ่มเติม ในรูปแบบหนังสือ แต่เนื้อหานั้นเป็นเนื้อหาที่มาตากงานวิจัยทั้งหมด
แนวทางที่ 3 นำงานบางส่วนในงานวิจัย มาเขียนเป็นหนังสือ
อาจารย์ : ก็ดีนะสิทธิกร มันจะให้ข้อมูลในการเรียนการสอนที่มีสิ่งใหม่ๆ ที่มาจากงานวิจัย
สิทธิกร : ครับโดยทั่วไป ที่เขากันจะเป็นแนวที่ 1 ครับ คือ นำงานวิจัยมาเขียนไว้ใน หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ในแต่หัวที่เกี่ยวข้อง ส่วนนี้จะไม่พบปัญหาในการประเมิน ครับอาจารย์ แต่ส่วนเป็นปัญหา คือ แนวทางที่ 2 กับแนวทางที่ 3 ครับอาจารย์
อาจารย์ : มันเป็นปัญหาอย่างไร
สิทธิกร : ปัญหาแนวทางที่ 2 นำงานวิจัยมาเขียนเป็นหนังสือรายงานวิจัย โดยมีการเขียนเพิ่มเติม ในรูปแบบหนังสือ ในรูปแบบนี้ ผู้ประเมิน ส่วนใหญ่เขาประเมินในรูปแบบกระบวนการวิจัย เข้าใจว่าเป็นงานวิจัย และที่สำคัญมนรูปแบบนี้ ยังไม่รูปแบบกรือแนวทางที่ชัดเจน ครับ ผมก็ทำในแนวทางพบปัญหา ในการประเมินครับ
และที่สำคัญถ้าประเมินแบบกระบวนการวิจัย มันก็ไม่ผ่านการประเมิน ครับ
ส่วนแนวทางที่ 3 ผมทำขึ้นมาเป็นหนังสือ เพื่อส่วนหนึ่งการสอนเช่นกัน แต่เป็นหัวข้อหนึ่งงานวิจัย มาเขียนเป็นหนังสือ วางรูปแบบใหม่ให้น่าสนใจมากขึ้น
อาจารย์ : ใช่สิทธิกร มันเป็นเรื่องใหม่ นะ สำหรับผมมองว่า
1. ในหน่วยงานที่ให้ทุนการขอ เข้าใจการเขียนหนังสือในแนวทางนี้หรือไม่ เมื่อไม่เข้าใจ การสื่อผ่านการเสนอผู้ประเมินเข้าใจว่าให้เมินงานวิจัย
2. หรือผู้ประเมินงานในเรื่องนี้ยังไม่เข้าใจนี้ จึงประเมินงานแบบงานวิจัย
สิทธิกร : อาจารย์ครับ การนำงานวิจัยมาบูรณาการการเขียน หนังสือ ตำรา ในแนวทาง ที่ 2 บทสุดท้ายที่ผมเขียน เป็นบทสรุป ข้อเสนอแนะ สมควรเขียนไหมครับ
อาจารย์ : สิทธิกร การเขียนในลักษณะนี้แหละ ที่ทำให้ผู้ประเมินผลงานคิดว่าประเมินงานวิจัย โดยหลักไม่ว่าเอางานวิจัย มาเขียน ในแนวทางที่ 1 หรือ แนวทางที่ 2 หรือแนวทางที่ 3 การเขียนหัวข้อแต่บทในกนังสือ ตำรา ต้องไม่ยืดเยื้อ ต้องเขียนให้กระชับ เข้าใจง่ายในแต่บท และต้องเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ ไม่ใช่คุณ ผู้เขียนคนเดียวที่เข้าใจ การเขียนต้องให้คนทั่วไปเข้าใจด้วย
สิทธิกร : ครับอาจารย์ ผมต้องเรียนรู้จากอาจารย์นะ
อาจารย์ : ไม่เสมอไปสิทธิกร การคิดในสิ่งใหม่ของคุณ ผมก็ได้ไอเดียความคิดใหม่เข่นกันนะ สิ่งที่ผมเห็นความขยันของคุณ คือ การนำงานวิจัย ทั้งเล่มมาพัฒนา หรือ ที่คุณเรียกว่า บูรณาการ มาต่อยอดเป็นหนังสือ ในรูปแบบนี้ผมเห็นไม่มีใครทำกัน
เพราะที่เห็นการทำงานวิจัยในรูปหนังสือ ก็เป็นการทำในรูปแบบกระบวนการวิจัยทุกอย่าง ที่เป็นหนังสือรายงานวิจัย แต่นี่เป็นหนังสือ ที่เกิดจากงานวิจัยทั้งหมด ต่อยอดพัฒนามาเป็นหนังสือ และที่ทำเป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีในหลักสูตรถือเป็นเรื่องใหม่พอสมควร ที่ยังไม่มีรูปแบบแน่ชัด
ปัญหาที่ผมคิด คือ การเขียนแบบนี้ เป็นการเอาผลงานตนเองมาเขียนใหม่ ต้องอ้างอิงอย่างไร ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อการคัดบอกผลงานตนเอง เรื่องนี้เราก็ต้องระวังอย่างยิ่ง
สิทธิกร : ครับ อาจารย์ เรื่องนี้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในรูปแบบที่ 2 การนำงานวิจัยทั้งหมดมาเขียนเป็นหนังสือ ที่ผมทำอยู่ในขณะนี้ คือ การอธิบายของที่มาของหนังสือ ว่ามาจากงานวิจัย ไว้ในคำนำ และจะอธิบายบทที่ 1 บทนำ คือ อธิบายความเป็นมาของการบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอนเป็นหนังสือ วัตถุประสงค์ของการบูณาการงานวิจัย วิธีการบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการ ประโยชน์ที่ได้รับจากการบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน และคำนิยามศัพท์ และในบทต่อไป จะนำงานวิจัยมาขยายเนื้อหาแต่ละบท ตามที่ได้อธิบายไว้ในคำนำ ซึ่งผมคิดขึ้นมาเองนะครับอาจารย์
อาจารย์ : อย่างที่ผมบอกนะสิทธิกร ว่ามันเป็นเรื่องใหม่พอสมควร ถ้าไม่ยึดติดรูปแบบอย่างที่ทำกันมาก็โอเค นะ แต่ถ้าติดรูปแบบ งานแบบนี้จะมีคนยอมรับมากน้อยแค่ไหน สำหรับผมว่ามันดีนะ หนังสือ ตำรา ที่ใช้ในการเรียนการสอน ที่มาจากงานวิจัย
สิทธิกร : ครับอาจารย์ ที่ผ่านมาเกือบทั้งชีวิตที่ผมเป็นอาจารย์มา ถึงปีนี้ 19 ปี ผมจะทำวิจัย เขียนบทความวิชาการ หนังสือ ตำรา จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรายวิชาที่ผมสอน ครับอาจารย์
อาจารย์ : ก็ดี อาจารย์ว่านะรูปแบบ งานวิจัย หนังสือ ตำรา มันมีส่วนสำคัญ แต่ไม่สำคัญไปกว่า การที่นำงานเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร โดยเฉพาะงานวิจัยที่เป็นเอกสาร ที่ไม่ใช่นวัตกรรม มามีชีวิตชีวาขึ้นมา ไม่ได้อยู่บนชั้นวางหนังสือ เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้อีกทางหนึ่ง และที่สำคัญมันเป็นการต่ออดให้มีมูลค่า ขึ้นมา ที่ผมเห็นน่าจะเป็นงานวิทยานิพนธ์ ทั้งเล่ม ของ ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ มาทำเป็นหนังสือ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฏหมายรัฐธรรมนูญ และพิมพ์มาหลายครั้ง
สิทธิกร : ครับอาจารย์ ผมมีความต้องการที่จะให้เป็นแบบนั้น ครับ อาจารย์ แต่เป็นงานวิจัยที่ไม่ใช่วิทยานิพนธ์ ครับ อาจารย์ ครับ วันนี้ผมได้ความรู้อะไรใหม่ ๆจากการพูดคุยกับอาจารย์ครับ ซึ่งไม่สามารถค้นหาได้ตากการเรียน การสัมนา กราบขอบพระคุณอาจารย์ ครับที่เอื้ออาทรต่อศิษย์เสมอมา
อาจารย์ : ใช่สิทธิกร วิธีการแบบนี้ที่คุณทำนะ มันเป็นกระบวนการที่เขาทำกันมาหลายพันปีแล้ว นะ เป็นกระบวนการการเข้าถึงความรู้ เข้าถึงปัญญาด้วยการสนทนาแลกเปลี่ยนกัน ตามแนวคิดของโสเกรตีส ที่เรียกว่า “โสเกรตีสเมทตอด” ไง
สิทธิกร : ครับอาจารย์ วันนี้ผมได้ความรู้มากเลยครีบ วันนี้ผมขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ ครับที่เอื้ออาทรต่อศิษย์เสมอมา
อาจารย์ : ยินดี