การเคารพนับถือกฎหมาย
การเคารพนับถือกฎหมาย (Obedience to Law) ที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคมมีสุภาษิตกฎหมายลาตินอยู่บทหนึ่งว่า “การเชื่อฟังกฎหมาย คือ แก่นสาระสำคัญแห่งกฎหมาย” มีหลักการและนักคิดที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพเชื่อฟังกฎมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม ดังนี้
1.หลักการที่สำคัญของการเคารพเชื่อฟังกฎหมาย
เมื่อพิจารณาถึงสุภาษิตดังกล่าวแล้ว สาระสำคัญแห่งความเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคมนั้นอยู่ที่สภาพบังคับของกฎหมายหรือธรรมชาติของการที่กำหนดให้ผู้คนทั่วไปต้องคารพเชื่อฟังกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “กฎหมายและการเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นสิ่งที่ต้องเกิดคู่กันเสมอไม่อาจแยกออกจากกันได้” แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปหรือสาระสำคัญดังกล่าวไม่ได้ให้เหตุผลว่า “ทำไมเราจึงต้องเคารพกฎหมาย” นอกจากคำตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “เพราะมันคือกฎหมายเท่านั้น” อีกครั้งที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดความกระจ่างเลยว่า “อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นการเคารพเชื่อฟังกฎหมายและธรรมชาติของกฎหมาย”
ประเด็นคำถามที่น่าศึกษาต่อมา คือ การเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคมเป็นพันธะหน้าที่ทางศีลธรรม (Moral duty) หรือไม่ เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมคงต้องยอมรับเห็นด้วยว่าเป็น “พันธะหน้าที่เชิงศีลธรรม” ของสมาชิกในชุมชนที่ต้องผูกมัดตัวต่อกฎหมาย ทำนองเดียวกับพันธะทางศีลธรรมในการรักษาคำมั่นสัญญาในทรรศนะนี้บางครั้งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความคิดหรือข้อสรุป “เรื่องหลักนิติศาสตร์ธรรมหรือหลักนิติธรรม” (The Rule of Law) ในสังคม
2. นักคิดที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพเชื่อฟังกฎมาย
ประเด็นที่น่าสนใจต่อมาแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษย์ ชาติมาเป็นเวลาช้านานแล้วเกือบ 2,000 ปี ที่มีนักคิดสนับสนุนการยอมรับการเชื่อฟังกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม ที่สำคัญได้แก่ โสกราตีส (Socrates) ได้ยืนยันในหลักการดังกล่าว โดยมอบชีวิตตัวเองให้แก่รัฐสมัยนั้นเพื่อพิสูจน์ความเชื่อของตนต่อความสมบูรณ์ ศักดิ์สิทธิ์ของหลักการนี้ เซอร์ พอล วิโนกราดอฟ (Sir Paul Vinogradoff) ได้อธิบายเหตุผลในแง่ดังกล่าว ว่า “การเคารพเชื่อฟังกฎหมายสืบแต่ความสำคัญของกฎหมายเอง” กล่าวคือ เป็นความจำเป็นของสังคมที่ต้องมีกฎหมายใช้บังคับแก่สมาชิกทั้งหลายในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์สุขร่วมของสังคม เบนแธม (Bentham) สนับสนุนข้อสรุปว่า กฎหมายทุกฉบับควรอยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์โดยคำนึงถึงหลักอรรถประโยชน์เป็นสำคัญ ก็ยืนยันว่าภายใต้รัฐบาลแห่งกฎหมาย สิ่งที่เป็นเสมือนภาษิตในใจของประชาชนที่ดี คือ “เคารพเชื่อฟังกฎหมายสม่ำเสมอ ตรวจสอบวิจารณ์กฎหมายโดยเสรี” เป็นไปตามอรรถประโยชน์หรือเป็นประโยชน์สูงสุดของคนส่วนรวมต้องเคารพกฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม
เมื่อพิจารณาศึกษานักคิดที่ให้ความสำคัญกับหลักการเคารพเชื่อฟังกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม ที่คลาสสิคและเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุด คือ โสกราตีส กล่าวคือ โสกราตีส ได้วางหลักการแนวคิดการยอมรับกฎหมายที่ตัวเองไม่มีความผิดในข้อหา “สร้างเทพเจ้าขึ้นใหม่และบ่อนทำลายจิตใจของคนหนุ่มสาวกรีก” สมัยนั้น โดนพิพากษาลงโทษดื่มยาพิษ โสกราตีส ยืนยันที่ยอมรับโทษประหารชีวิต ถึงแม้ได้ประกาศว่าตนเองนั้นไม่มีความผิด ซึ่งกฎหมายหรือคำสั่งของผู้ปกครองที่ขัดต่อหลักกฎหมายธรรมชาติถือว่าเป็นกฎหมายหรือคำสั่งของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ตามและที่สำคัญแม้ตนเองจะมีช่องทางหลบเลี่ยงโทษมหันต์ได้ แต่ โสกราตีส ต้องการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย อันเป็นหลักคุณธรรมของเขาว่า “ประชาชนทุกคนต้องเคารพปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่คำนึงว่ากฎหมายนั้นจะเป็นธรรมหรือไม่ก็ตาม” โดยผู้เขียนขอนำข้อความบางส่วนในหนังสือ “ไครโต (โสกราตีส) เปลโต เขียน ส. ศิวรักษ์ แปล” ที่เขียนเกี่ยวกับการเคารพเชื่อฟังกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐ ซึ่งเป็นสนทนาระหว่าง โสกราตีสกับใครโต ได้แก่
“โสกราตีส .......
ไครโต .......
โสกราตีส “เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ขอให้เราจงมาพิจารณาว่า ถ้าเราจากไปโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐ เราจะได้ชื่อว่าทำความผิดไหมและเป็นความผิดอันเราจะกระทำให้แก่คน ผู้ไม่ควรรับโทษทัณฑ์อันนี้เลยหรือเปล่า เราคงจะยึดมติที่เรายอมรับว่าถูกหรือไม่
ไครโต “ข้าพเจ้าตอบไม่ได้ดอก โสกราตีส เพราะข้าพเจ้าไม่เข้าใจ”
โสกราตีส “ถ้าเช่นนั้นก็ขอให้ข้าพเจ้าพูดใหม่ สมมติว่าเราหนีหรือจะเรียกว่ากระไรก็ตามและสมมติว่า กฎหมายและบ้านเมืองจะมาถามปัญหาว่า “โสกราตีส บอกเราหน่อยว่าการกระทำของท่านั้น หมายความว่ากระไรท่านทำการเพราะไม่ยอมเคารพสถาบันแห่งนี้ใช่ไหมท่านไม่นำพาต่อกฎหมายและจักรภพก็เท่ากับว่ารัฐนี้ควรตั้งอยู่ หรือควรสลายตัวลง” ไครโต เราจะตอบถ้อยคำนั้น ๆว่าอย่างไร อาจพูดได้มากยิ่งศิลปะวาทีด้วยแล้วยิ่งพูดได้คล่องว่า กฎหมายอันพิพากษาตัดสินสิ้นสุดไปแล้วนั้นไม่ดี หรือเราจะตอบว่า “ก็เพราะรัฐทำผิดก่อนคำตัดสินไม่ยุติธรรม” เราจะพูดว่ากระนั้นหรือพูดว่ากระไร”
ไครโต “พูดอย่างนี้ได้แน่”
โสกราตีส “ถ้ากฎหมายจะตอบว่า “ท่านกับเราตกลงกันแล้วมิใช่หรือ ท่านสาบานว่าจะทำตามคำตัดสินของบ้านเมือง” ถ้าเราแสดงความแปลกใจนี้กับคำพูดนี้ กฎหมายบ้านเมืองก็จะกล่าวต่อไปว่า “อย่าแปลกใจเลย โสกราตีสเรารู้ว่าท่านชอบถามและตอบปัญหา เราตอบก่อนว่า ท่านมีอะไรที่คิดคัดค้านต่อต้านนครนี้ จนพยายามที่จะทำลายเรา เราไม่ได้ให้กำเนิดท่านมาดอกหรือ ไม่ใช่เพราะอาศัยเราดอกหรือหรือ ที่บิดาท่านได้กับมารดาจนเกิดท่าน ท่านเห็นว่ากฎหมายสมรสผิดกระนั้นหรือ” ข้าพเจ้าก็ต้องตอบว่า เปล่า “ถ้าเช่นนั้นท่านก็ต้องเห็นว่า กฎหมาว่าด้วยทารกสงเคราะห์และการศึกษาผิด ทั้ง ๆ ที่เราให้การศึกษาแก่ท่าน เราทำผิดหรือ เมื่อเราสั่งให้บิดาให้การศึกษาแก่ทาน ให้บำรุงเลี้ยงดูให้ฝึกหัดท่านทั้งทางกายแลทางใจ” ข้าพเจ้าก็ต้องตอบว่าไม่ผิดหริแ รัฐย่อมกล่าวต่อไปว่า “ดีแล้วก็เมื่อท่านเกิดเติบโตและได้เรียนรู้แล้ว ท่านจะว่าตัวท่านตลอดจนผู้สิบสายโลหิตของท่านต่อไปไม่ใช่ลูกของรัฐ บ่าวของรัฐอย่างไรก็ได้ถ้าเช่นนั้นแล้ว ท่านมีสิทธิที่จะทำกับเราได้เช่นเดียวกับที่เราจะทำกับท่านกระนั้นหรือ ถ้าท่านมีนาย ท่านจะทำกับนายอย่างที่ทำกับท่านไหม นายว่าท่าน ท่านว่านาย นายเฆี่ยนท่าน ท่านเฆี่ยนนาย นายทำให้ท่านเดือดร้อนท่านก็ทำกับนายเช่นนั้นบ้าง ท่านจะพยายามอย่างยิ่งที่จะทำลายล้างเรากระนั้นหรือ ท่านจะอ้างสิทธิที่จะทำเช่นนั้นไหม ท่านผู้รักคุณงามความดี ปัญญาของท่านไม่ได้สั่งสอนให้ทราบดอกหรือ ว่าสิ่งซึ่งสุงกว่าบิดามารดาและญาติกาทั้งหลายก็คือ ประเทศชาติ อันเป็นที่รักยิ่งและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าบรรพบุรุษ ทั้งเทวดาและมนุษย์ที่มีความคิด ย่อมให้เกียรติรัฐยิ่งกว่าบุคคลท่านเคราพประเทศชาติ ยอมอยู่ใต้อำนาจ ทำการงานให้ยามเมื่อชาติต้องการยิ่งกว่าบิดามารดา ถ้าอยากให้รัฐทำตามเราก็ต้องเสนอแนะให้รัฐเห็นดีด้วย ถ้ารัฐออกคำสั่งท่านก็ต้องเชื่อฟังอย่างไม่ปริปาก จะสั่งอย่างไรก็ต้องทำตามจะขัง จะเฆี่ยนหรือฆ่าก็ตาม ที่ทำตามนั้นถูกต้องแล้วจะหนี จะเลี่ยง จะละหน้าที่ หาได้ไม่ ไม่ว่าจะในสงคราม ในศาลหรือที่ไหน ๆ ก็ตาม เราต้องทำตามคำของรัฐ เว้นไว้แต่เราจะพูดให้รัฐเชื่อตามหลักความยุตะรรมของเรา จะใช้กำลังต่อต้านบิดา มารดา ยังไม่ได้ แล้วจะไปขัดขืน ปิตุภูมิ มาตุภูมิ จะมียิ่งแล้วใหญ่หรือ” ไครโต เราจะตอบว่าอย่างไรที่กฎหมายบ้านเมืองว่ามานั้นจริงไหม”
ไครโต “.......
โสกราตีส ....
ไครโต “ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะพูดอีกแล้ว โสกราตีส”
โสกราตีส “ถ้าเช่นนั้นก็พอแล้ว ไครโต ปล่อยให้ข้าพเจ้าได้สนองเทวโองการตามที่ควรจะเป็นไปเถิด”
ข้อสังเกต เราคงต้องตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยในเรื่องที่เกี่ยวกับการเคราพเชื่อฟังกฎหมายที่เป้นเครื่องมือขของรัฐควบคุมคนในสังคมของ โสกราตีส “จะมี” หรือ “ไม่มีแนวคิดลัทธิอะไร” นอกเหนือไปจากการมีความรักในปัญญา ความรู้ แต่สิ่งที่น่าสงสัย คือ ทำไม “นครรัฐเอเธนส์ที่เป็นประชาธิปไตยอันเองชื่อจึงไม่ยอมให้พลเมืองอย่าง โสกราตีส มีเสรีภาพทางความคิดได้ ทำไม่สังคมเสรีอย่างเอเธนส์จึงตัดสินพิพากษาลงโทษโสกราตีสได้” ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดที่ว่า “เป็นสังคมที่ได้รับการยกย่องว่าให้สิทธิพลเมืองมีเสรีภาพในการพูด แสดงความคิดเห็นโดยการประหารชีวิตผู้รักในความรู้ในฐานะที่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจากการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าว” เป็นไปได้หรือไม่ว่าปัญญาความรู้อย่างจริงจัง ย่อมนำมาซึ่งการตั้งคำถามกับ “ความจริงที่ดำรงอยู่อันเป็นปฏิปักษ์ต่อจารีตแบบแผนกฎเกณฑ์ที่ดำรงอยู่ในบ้านเมืองขณะนั้นด้วยเสมอ” ทำให้นครรัฐเอเธนส์เกิดข้อสงสัยว่า “ผู้รักในความรู้ในระบอบประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสรีภาพในการพูดแก่ทุกคนและขระเดียวก็เป็นระบอบที่ขับเคลื่อนด้วย “มติมหาชน” นั้นบางเรื่องก็ไม่สามารถไปด้วยกันได้เช่นกัน
3. เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงจุดเริ่มต้นของพิจารณาที่เหตุผลส่วนตัวของแต่ละบุคคลในการปฏิบัติตามกฎหมายดูเหมือนมีคำตอบ หลายแง่หลายมุมทั้งในแง่เหตุผลและในแง่จิตวิทยา นับแต่ “ความเกียจคร้าน” (Indolence) “ความเคารพ” (Deference) “ความคล้อยเห็นตาม” (Sympathy) “ความกลัว” (Fear) และ “ความคิดรอบคอบ” (เหตุผล = Reason) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาลึกๆ ลงสู่เหตุผลพื้นฐานของการต้องเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม พบว่า มีเหตุผลในเชิงหลักการหลาย ๆ ประการที่วางอยู่เบื้องหลังข้อสรุป ดังนี้ คือ
1.1 ในแง่สิทธิเสรีภาพ
เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมายในแง่ของสิทธิเสรีภาพนี้ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าทุกคนต้องเคารพกฎหมายและต้องยอมรับก่อนในขั้นแรกว่าเป็นการมองในแง่อุดมคติ จึงจะทำให้เราสามารถที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่นัยสิทธิเสรีภาพได้ เพราะการเคารพเชื่อฟังกฎหมายนั้นจริง ๆ แล้วเมื่อวิเคราะห์ลึก ๆ จะเห็นว่า “เป็นไปเพื่อค้ำประกันผลประโยชน์ของทุกคน” ทั้งนี้เพราะทุกคนมีความเสมอภาคกันภายในกฎหมาย ดังนั้นการเคารพเชื่อฟังกฎหมายจึงเป็นเรื่องภาระหน้าที่ในทางนิติปรัชญาจึงถือว่า “การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นเสมือนสิ่งที่ก่อให้เกิดเสรีภาพ” แต่อย่างไรก็ตามนั้นจะต้องพิจารณาพันธะในการปฏิบัติตามกฎหมาย เซอร์ พอล วิโนกราดอฟ (Sir Paul Vinogradoff) ได้อธิบายเหตุผลในแง่ดังกล่าว ว่า “การเคารพเชื่อฟังกฎหมายสืบแต่ความสำคัญของกฎหมายเอง” กล่าวคือ เป็นความจำเป็นของสังคมที่ต้องมีกฎหมายใช้บังคับแก่สมาชิกทั้งหลายในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์สุขร่วมของสังคม โดยเฉพาะในเรื่องของการปกครองแบบ “นิติรัฐ” (Legal State) และการปกครองแบบ “นิติธรรม” (The Rule of Law) ซึ่งถือว่า “กฎหมายเป็นใหญ่” และมีความสำคัญเหนือสิ่งใด เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ราษฎรทั้งหลายต้องยอมรับนับถือกฎหมาย และรัฐเองต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎรมิให้รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต
1.2 ในแง่สัญญาประชาคม
เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมายในแง่สัญญาประชาคม (Social Contract) ตรงที่ต้องทำความเข้าใจทฤษฎีสัญญาประชาคมก่อนว่า ทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น หมายถึง การบุคคลเข้ามาอยู่ในสัญญาประชาคมก็คือเสมือนกับได้ทำข้อตกลงเป็นสัญญาว่าอยู่ในสังคมร่วมกัน จะเคารพกติกาบ้านเมืองจะปฏิบัติตามคำสั่งของบ้านเมือง ซึ่งเราอาจมองได้ 2 ลักษณะ คือ
1. เป็นสัญญาที่มอบอำนาจให้รัฐโดยเด็ดขาด
2. การมอบอำนาจให้รัฐนั้นมันมีเงื่อนไขว่ารัฐไม่ต้องกระทำที่เป็นการมิชอบถ้ารัฐกระทำการมิชอบประชาชน สามารถยกเลิกสัญญาได้
ในแง่นี้การเอาสัญญาประชาคมมารับรองจะอยู่ใน ลักษณะที่ 1 คือ เป็นสัญญาที่มอบอำนาจให้รัฐโดยเด็ดขาด ในแง่นี้ โสกราตีส (Socrates) ถูกตัดสินพิพากษาประหารชีวิตโดยข้อหาก่ออาชญากรรมอุกฉกรรจ์ด้วยการปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าสร้างพระองค์ใหม่ขึ้น และทำความเสื่อมเสียฉ้อฉลต่อศีลธรรมของหนุ่มสาวกรีกยุคนั้น ในระหว่างการรอประหารชีวิตด้วยการให้กินยาพิษฆ่าตัวตาย มิตรสหายของ โสกราตีส ได้พยายามชักชวนให้เขาหลบหนีการลงโทษ แต่ โสกราตีส กลับปฏิเสธโดยโต้แย้งว่า เขาได้อุทิศชีวิตของเขาทั้งหมดเพื่อสอนถึงความสำคัญของเรื่อง “ความยุติธรรมและการเคารพต่อกฎหมายของรัฐ” ดังนั้น แม้เขาจะยืนยันว่าเขาบริสุทธิ์ แต่การที่เขาได้ดำรงอยู่ในสังคมนั้นก็เสมือนว่าเขาได้ทำข้อตกลงที่จะเคารพเชื่อฟังกฎหมาย ดังนั้น เมื่อกฎหมายสั่งอย่างไรเขาก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแม้ผลลัพธ์ของกฎหมายนั้นจะทำให้เขาได้รับอันตรายก็ตาม
ดังนั้น แนวคิดของ โสกราตีส นั้นสรุปได้ว่า โสกราตีส มองว่า พันธะในการที่การเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นสิ่งสมบูรณ์ ทุกคนต้องยอมรับแม้จะเป็นผลร้ายแก่ตัวเองก็ตาม นอกจากนั้นเขายังพยายามอ้างว่า รัฐเปรียบเสมือนพ่อแม่ที่เขาต้องเคารพเชื่อฟัง เราเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ฉันท์ใดเราก็ต้องเคารพรัฐฉันท์นั้น พ่อแม่จะปฏิบัติต่อลูกอย่างไรแม้ไม่ถูกต้องลูกก็ไม่มีสิทธิที่จะแก้แค้นหรือตอบโต้รัฐเช่นเดียวกัน รัฐจะกระทำต่อพลเมืองอย่างไรพลเมืองก็ไม่มีสิทธิตอบโต้การปฏิเสธรัฐปฏิเสธกฎหมายทำได้อย่างเดียว คือ ออกไปเสียจากสังคมนั้น ๆ เท่านั้น
1.3 ในแง่หลักความเที่ยงธรรม
เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมาย ในแง่หลักความเที่ยงธรรม หรือความชอบธรรม (Fairness) ถือว่า การที่มนุษย์อยู่สังคมมนุษย์ย่อมจะได้รับความสงบสุข เพราะคนในสังคมปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อคนอื่นปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นในสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า การใช้สิทธิเสรีภาพนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้นต่างคนต่างก็ต้องเคารพกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมเพื่อมิให้การใช้สิทธิของตนไปกระทบกระเทือนบุคคลอื่นแม้
เหตุผลในเชิงหลักการข้างต้นดังกล่าวที่รองรับการเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นเครื่องมีอของรัฐควบคุมคนในสังคม แต่ทว่าหากเราลองมองสำรวจรอบๆ ตัว เราจะพบว่ามีคนอยู่ไม่น้อยที่เป็นคนดี บริสุทธิ์ ซึ่งละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย โดยพวกเขากลับไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องผิด บกพร่องทางศีลธรรมอะไรในการกระทำดังกล่าว
อ้างอิง
จรัญ โฆษณษนันท์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2552 หน้า 124-130
ส.ศิวรักษ์ “ไครโต (โสกราตีส) เปลโต เขียน ส. ศิวรักษ์ แปล” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม,พิมพ์ครั้งที่ 7 หน้า 16-18
「นิติธรรม คือ」的推薦目錄:
นิติธรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ประเทศไทยกับการปกครองแบบหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
ถาม หลักนิติรัฐ (Legal State) กับหลักนิติธรรม (The Rule of Law) คืออะไร
ตอบ หลักนิติรัฐ คือ หลักการปกครองที่มีต้นกำเนิดในประเทศเยอรมัน ที่มีบ่อเกิดของกฎหมายลายลักษณ์อักษร วางหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประขาชนไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดปกครองประเทศ มีการวางหลักการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยมีการควบคุมตรวจสอบการตรากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ และการควบคุมตรวจสอบใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ และมีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายเพื่อนำคดีขึ้นสู่ศาล เช่น คดีเอกชนนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรม และใช้ระบบวิธีพิจารณาระบบกล่าวหา ส่วนคดีปกครองนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง คดีรัฐธรรมนูญนำคดีขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญ ใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวน
ส่วนหลักนิติธรรม เป็นหลักการปกตรองที่มีต้นกำเนิดทึ่อังกฤษ วางหลักการปกครองการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยคำพิพากษา เพราะคำพิพากษา คือ บ่อเกิดของกฎหมายเป็นหลัก การใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง คือ ฝ่ายบริหารจะกระทำตามอำเภอใจไม่ได้ และต้องกระทำอย่างเสมอภาค โดยจะต้องถูกตรวจสอบโดยศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียว ใช้ระบบวิธิพิจารณาคดีแบบกล่าวหา ส่วนการตรากฎหมายของฝ่ายบิติบัญญัตินั้นไม่สามารถตรวจสอบได้
ถาม หลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรม มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ หลักนิติรัฐกับหลักนิติมีความแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย คือ ความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเยอรมนีต้นกำเนิดหลักนิติรัฐและประเทศอังกฤษต้นกำเนิดหลักนิติธรรมที่มีชนชาติตลอดจนประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองที่ความแตกต่างกันย่อมส่งผลต่อเนื้อหาของหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม ดังนี้
1. ความแตกต่างในแง่บ่อเกิดของกฎหมาย ในประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐโดยเฉพาะประเทศเยอรมนีที่มาบ่อเกิดของกฎหมายนั้นมาจากตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับเป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ศาลในฐานะที่เป็นผู้ที่รับใช้รัฐมีหน้าที่ในการปรับใช้กฎหมาย การตัดสินคดีของศาลในแต่ละคดีไม่มีผลเป็นการสร้างหลักกฎหมาย จึงไม่ถือว่าเป็นบ่อเกิดของของกฎหมายโดยตรง ส่วนประเทศที่ใช้หลักนิติธรรมโดยเฉพาะประเทศอังกฤษที่มาบ่อเกิดของกฎหมายมาจากคำพิพากษาของศาลถือว่าศาลเป็นผู้สร้างกฎหมายถือเป็นบ่อเกิดของกฎหมายโดยตรง ส่วนกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศอังกฤษศาลจะผูกพันการปรับใช้กฎหมายแต่จะไม่ผูกพันกระบวนการตรากฎหมายว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
2. ความแตกต่างในแง่ของการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ในประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐโดยเฉพาะประเทศเยอรมนีนั้นมีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรได้บัญญัติหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้ในระดับรัฐธรรมนูญ ในประเทศอังกฤษที่ใช้หลักนิติธรรมไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรจึงไม่ได้ประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในระดับรัฐธรรมนูญแต่ได้ประกันสิทธิขั้นพื้นฐานโดยองค์กรตุลาการ
3. ความแตกต่างในแง่ของการควบคุมตรวจสอบการตรากฎหมาย ในประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐโดยเฉพาะประเทศเยอรมนี องค์กรนิติบัญญัติย่อมต้องผูกพันต่อรัฐธรรมนูญในการตรากฎหมายใช้บังคับ เพื่อให้หลักความผูกพันต่อรัฐธรรมนูญขององค์กรนิติบัญญัติมีผลในทางปฏิบัติ โดยมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการตรากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งถือว่ามีองค์กรที่มีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ส่วนในประเทศที่ใช้หลักนิติธรรมโดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ถือว่า รัฐสภา (องค์กรนิติบัญญัติ) เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ในทางทฤษฎีรัฐสภาสามารถตรากฎหมายอย่างไรก็ได้ทั้งสิ้น ศาลในประเทศอังกฤษไม่มีอำนาจที่จะตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการตรากฎหมายของรัฐสภาด้วยเหตุนี้ประเทศอังกฤษจึงไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ (Constitution Court) ในการควบคุมการตรากฎหมายของรัฐสภา
4. ความแตกต่างในแง่ของการมีศาลปกครองและระบบวิธีพิจารณาคดี ในประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐ โดยเฉพาะประเทศเยอรมนีมีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายระหว่างกฎหมายเอกชน (Private Law) กับกฎหมายมหาชน (Public Law) ออกจากกัน จึงแยกระบบวิธีพิจารณาออกจากกัน ถ้าเป็นคดีตามระบบกฎหมายเอกชนใช้ระบบวิธีพิจารณาระบบกล่าวหา (Accusatorial System) แต่ถ้าเป็นคดีตามระบบกฎหมายมหาชนจะใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่ส่วน (Inquisitorial System) จึงมีการแยกระบบศาลในการพิจารณาคดี คือ มีศาลปกครอง (Administrative Court) พิจารณาคดีควบคู่ไปกับศาลยุติธรรม ส่วนในประเทศที่ใช้หลักนิติธรรมโดยเฉพาะประเทศอังกฤษไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนออกจากกันจึงใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหาเป็นหลักโดยมีศาลยุติธรรมศาลเดียวพิจารณาคดี
5.ความแตกต่างในแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) ประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐ โดยเฉพาะประเทศเยอรมนีถือว่าหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นหลักการที่เป็นองค์ประกอบสำคัญอันจะขาดเสียมิได้ของหลักนิติรัฐ ในขณะที่ประเทศที่ใช้หลักนิติธรรมโดยเฉพาะประเทศอังกฤษจะเห็นได้ว่าไม่ปรากฏเรื่องการแบ่งแยกอำนาจไว้
ถาม ความคล้ายคลึงระหว่างนิติรัฐกับนิติธรรม
ตอบ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแต่ละประเทศได้นำหลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรมมาใช้ร่วมกันจนกลายเป็นหลักเดียวกัน ซึ่งจะประกอบด้วย สาระสำคัญ อยู่ 3 เรื่องด้วยกัน ดังนี้
1. หลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ กล่าวคือ รัฐจะกระทำการใดอันจะรับรองสิทธิเสรีภาพหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้นั้นต้องมีกฎหมายให้อำนาจ จะกระทำตามอำเภอใจไม่ได้ ซึ่งกฎหมายนี้ได้แก่ รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ รองลงมาลำดับชั้นที่ 2 คือ กฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด เป็นต้น และลำดับชั้นที่ 3 คือ กฎหมายลำดับรอง เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น กฎระเบียบข้อบังคับอื่นใดที่เป็นการทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง เป็นต้น
2.หลักการแบ่งแยกอำนาจ คือ แบ่งแยกการใช้อำนาจออกะป็น 3 อำนาจ ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ โดยทั้ง 3 อำนาจนั้นต้องกระทำภายในขอบเขตของอำนาจที่ให้ไว้ ภายใต้หลักเสมอภาค หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วน
3.การคุ้มครองที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะถูกรับรองไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ (นิติรัฐ) และคำพิพากษาของศาล (นิติธรรม)
ถาม ประเทศไทยนำหลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรมมาใช้ร่วมกันอย่างไร
ตอบ สำหรับประเทศไทยใช้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมร่วมกัน ถือเป็นหลักเดียวกัน นั้นมีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรได้บัญญัติหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ในระดับรัฐธรรมนูญ ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดการรับรองครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้แก่
มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม
หมวด 3 สิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย ตั้งแต่ มาตรา 25 ถึง มาตรา 49 ยกตัวอย่างเช่น
มาตรา 25 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม เป็นต้น
นิติธรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
การเคารพนับถือกฎหมาย
การเคารพนับถือกฎหมาย (Obedience to Law) ที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคมมีสุภาษิตกฎหมายลาตินอยู่บทหนึ่งว่า “การเชื่อฟังกฎหมาย คือ แก่นสาระสำคัญแห่งกฎหมาย” มีหลักการและนักคิดที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพเชื่อฟังกฎมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม ดังนี้
1.หลักการที่สำคัญของการเคารพเชื่อฟังกฎหมาย
เมื่อพิจารณาถึงสุภาษิตดังกล่าวแล้ว สาระสำคัญแห่งความเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคมนั้นอยู่ที่สภาพบังคับของกฎหมายหรือธรรมชาติของการที่กำหนดให้ผู้คนทั่วไปต้องคารพเชื่อฟังกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “กฎหมายและการเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นสิ่งที่ต้องเกิดคู่กันเสมอไม่อาจแยกออกจากกันได้” แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปหรือสาระสำคัญดังกล่าวไม่ได้ให้เหตุผลว่า “ทำไมเราจึงต้องเคารพกฎหมาย” นอกจากคำตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “เพราะมันคือกฎหมายเท่านั้น” อีกครั้งที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดความกระจ่างเลยว่า “อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นการเคารพเชื่อฟังกฎหมายและธรรมชาติของกฎหมาย”
ประเด็นคำถามที่น่าศึกษาต่อมา คือ การเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคมเป็นพันธะหน้าที่ทางศีลธรรม (Moral duty) หรือไม่ เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมคงต้องยอมรับเห็นด้วยว่าเป็น “พันธะหน้าที่เชิงศีลธรรม” ของสมาชิกในชุมชนที่ต้องผูกมัดตัวต่อกฎหมาย ทำนองเดียวกับพันธะทางศีลธรรมในการรักษาคำมั่นสัญญาในทรรศนะนี้บางครั้งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความคิดหรือข้อสรุป “เรื่องหลักนิติศาสตร์ธรรมหรือหลักนิติธรรม” (The Rule of Law) ในสังคม
2. นักคิดที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพเชื่อฟังกฎมาย
ประเด็นที่น่าสนใจต่อมาแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษย์ ชาติมาเป็นเวลาช้านานแล้วเกือบ 2,000 ปี ที่มีนักคิดสนับสนุนการยอมรับการเชื่อฟังกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม ที่สำคัญได้แก่ โสกราตีส (Socrates) ได้ยืนยันในหลักการดังกล่าว โดยมอบชีวิตตัวเองให้แก่รัฐสมัยนั้นเพื่อพิสูจน์ความเชื่อของตนต่อความสมบูรณ์ ศักดิ์สิทธิ์ของหลักการนี้ เซอร์ พอล วิโนกราดอฟ (Sir Paul Vinogradoff) ได้อธิบายเหตุผลในแง่ดังกล่าว ว่า “การเคารพเชื่อฟังกฎหมายสืบแต่ความสำคัญของกฎหมายเอง” กล่าวคือ เป็นความจำเป็นของสังคมที่ต้องมีกฎหมายใช้บังคับแก่สมาชิกทั้งหลายในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์สุขร่วมของสังคม เบนแธม (Bentham) สนับสนุนข้อสรุปว่า กฎหมายทุกฉบับควรอยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์โดยคำนึงถึงหลักอรรถประโยชน์เป็นสำคัญ ก็ยืนยันว่าภายใต้รัฐบาลแห่งกฎหมาย สิ่งที่เป็นเสมือนภาษิตในใจของประชาชนที่ดี คือ “เคารพเชื่อฟังกฎหมายสม่ำเสมอ ตรวจสอบวิจารณ์กฎหมายโดยเสรี” เป็นไปตามอรรถประโยชน์หรือเป็นประโยชน์สูงสุดของคนส่วนรวมต้องเคารพกฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม
เมื่อพิจารณาศึกษานักคิดที่ให้ความสำคัญกับหลักการเคารพเชื่อฟังกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม ที่คลาสสิคและเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุด คือ โสกราตีส กล่าวคือ โสกราตีส ได้วางหลักการแนวคิดการยอมรับกฎหมายที่ตัวเองไม่มีความผิดในข้อหา “สร้างเทพเจ้าขึ้นใหม่และบ่อนทำลายจิตใจของคนหนุ่มสาวกรีก” สมัยนั้น โดนพิพากษาลงโทษดื่มยาพิษ โสกราตีส ยืนยันที่ยอมรับโทษประหารชีวิต ถึงแม้ได้ประกาศว่าตนเองนั้นไม่มีความผิด ซึ่งกฎหมายหรือคำสั่งของผู้ปกครองที่ขัดต่อหลักกฎหมายธรรมชาติถือว่าเป็นกฎหมายหรือคำสั่งของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ตามและที่สำคัญแม้ตนเองจะมีช่องทางหลบเลี่ยงโทษมหันต์ได้ แต่ โสกราตีส ต้องการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย อันเป็นหลักคุณธรรมของเขาว่า “ประชาชนทุกคนต้องเคารพปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่คำนึงว่ากฎหมายนั้นจะเป็นธรรมหรือไม่ก็ตาม” โดยผู้เขียนขอนำข้อความบางส่วนในหนังสือ “ไครโต (โสกราตีส) เปลโต เขียน ส. ศิวรักษ์ แปล” ที่เขียนเกี่ยวกับการเคารพเชื่อฟังกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐ ซึ่งเป็นสนทนาระหว่าง โสกราตีสกับใครโต ได้แก่
“โสกราตีส .......
ไครโต .......
โสกราตีส “เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ขอให้เราจงมาพิจารณาว่า ถ้าเราจากไปโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐ เราจะได้ชื่อว่าทำความผิดไหมและเป็นความผิดอันเราจะกระทำให้แก่คน ผู้ไม่ควรรับโทษทัณฑ์อันนี้เลยหรือเปล่า เราคงจะยึดมติที่เรายอมรับว่าถูกหรือไม่
ไครโต “ข้าพเจ้าตอบไม่ได้ดอก โสกราตีส เพราะข้าพเจ้าไม่เข้าใจ”
โสกราตีส “ถ้าเช่นนั้นก็ขอให้ข้าพเจ้าพูดใหม่ สมมติว่าเราหนีหรือจะเรียกว่ากระไรก็ตามและสมมติว่า กฎหมายและบ้านเมืองจะมาถามปัญหาว่า “โสกราตีส บอกเราหน่อยว่าการกระทำของท่านั้น หมายความว่ากระไรท่านทำการเพราะไม่ยอมเคารพสถาบันแห่งนี้ใช่ไหมท่านไม่นำพาต่อกฎหมายและจักรภพก็เท่ากับว่ารัฐนี้ควรตั้งอยู่ หรือควรสลายตัวลง” ไครโต เราจะตอบถ้อยคำนั้น ๆว่าอย่างไร อาจพูดได้มากยิ่งศิลปะวาทีด้วยแล้วยิ่งพูดได้คล่องว่า กฎหมายอันพิพากษาตัดสินสิ้นสุดไปแล้วนั้นไม่ดี หรือเราจะตอบว่า “ก็เพราะรัฐทำผิดก่อนคำตัดสินไม่ยุติธรรม” เราจะพูดว่ากระนั้นหรือพูดว่ากระไร”
ไครโต “พูดอย่างนี้ได้แน่”
โสกราตีส “ถ้ากฎหมายจะตอบว่า “ท่านกับเราตกลงกันแล้วมิใช่หรือ ท่านสาบานว่าจะทำตามคำตัดสินของบ้านเมือง” ถ้าเราแสดงความแปลกใจนี้กับคำพูดนี้ กฎหมายบ้านเมืองก็จะกล่าวต่อไปว่า “อย่าแปลกใจเลย โสกราตีสเรารู้ว่าท่านชอบถามและตอบปัญหา เราตอบก่อนว่า ท่านมีอะไรที่คิดคัดค้านต่อต้านนครนี้ จนพยายามที่จะทำลายเรา เราไม่ได้ให้กำเนิดท่านมาดอกหรือ ไม่ใช่เพราะอาศัยเราดอกหรือหรือ ที่บิดาท่านได้กับมารดาจนเกิดท่าน ท่านเห็นว่ากฎหมายสมรสผิดกระนั้นหรือ” ข้าพเจ้าก็ต้องตอบว่า เปล่า “ถ้าเช่นนั้นท่านก็ต้องเห็นว่า กฎหมาว่าด้วยทารกสงเคราะห์และการศึกษาผิด ทั้ง ๆ ที่เราให้การศึกษาแก่ท่าน เราทำผิดหรือ เมื่อเราสั่งให้บิดาให้การศึกษาแก่ทาน ให้บำรุงเลี้ยงดูให้ฝึกหัดท่านทั้งทางกายแลทางใจ” ข้าพเจ้าก็ต้องตอบว่าไม่ผิดหริแ รัฐย่อมกล่าวต่อไปว่า “ดีแล้วก็เมื่อท่านเกิดเติบโตและได้เรียนรู้แล้ว ท่านจะว่าตัวท่านตลอดจนผู้สิบสายโลหิตของท่านต่อไปไม่ใช่ลูกของรัฐ บ่าวของรัฐอย่างไรก็ได้ถ้าเช่นนั้นแล้ว ท่านมีสิทธิที่จะทำกับเราได้เช่นเดียวกับที่เราจะทำกับท่านกระนั้นหรือ ถ้าท่านมีนาย ท่านจะทำกับนายอย่างที่ทำกับท่านไหม นายว่าท่าน ท่านว่านาย นายเฆี่ยนท่าน ท่านเฆี่ยนนาย นายทำให้ท่านเดือดร้อนท่านก็ทำกับนายเช่นนั้นบ้าง ท่านจะพยายามอย่างยิ่งที่จะทำลายล้างเรากระนั้นหรือ ท่านจะอ้างสิทธิที่จะทำเช่นนั้นไหม ท่านผู้รักคุณงามความดี ปัญญาของท่านไม่ได้สั่งสอนให้ทราบดอกหรือ ว่าสิ่งซึ่งสุงกว่าบิดามารดาและญาติกาทั้งหลายก็คือ ประเทศชาติ อันเป็นที่รักยิ่งและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าบรรพบุรุษ ทั้งเทวดาและมนุษย์ที่มีความคิด ย่อมให้เกียรติรัฐยิ่งกว่าบุคคลท่านเคราพประเทศชาติ ยอมอยู่ใต้อำนาจ ทำการงานให้ยามเมื่อชาติต้องการยิ่งกว่าบิดามารดา ถ้าอยากให้รัฐทำตามเราก็ต้องเสนอแนะให้รัฐเห็นดีด้วย ถ้ารัฐออกคำสั่งท่านก็ต้องเชื่อฟังอย่างไม่ปริปาก จะสั่งอย่างไรก็ต้องทำตามจะขัง จะเฆี่ยนหรือฆ่าก็ตาม ที่ทำตามนั้นถูกต้องแล้วจะหนี จะเลี่ยง จะละหน้าที่ หาได้ไม่ ไม่ว่าจะในสงคราม ในศาลหรือที่ไหน ๆ ก็ตาม เราต้องทำตามคำของรัฐ เว้นไว้แต่เราจะพูดให้รัฐเชื่อตามหลักความยุตะรรมของเรา จะใช้กำลังต่อต้านบิดา มารดา ยังไม่ได้ แล้วจะไปขัดขืน ปิตุภูมิ มาตุภูมิ จะมียิ่งแล้วใหญ่หรือ” ไครโต เราจะตอบว่าอย่างไรที่กฎหมายบ้านเมืองว่ามานั้นจริงไหม”
ไครโต “.......
โสกราตีส ....
ไครโต “ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะพูดอีกแล้ว โสกราตีส”
โสกราตีส “ถ้าเช่นนั้นก็พอแล้ว ไครโต ปล่อยให้ข้าพเจ้าได้สนองเทวโองการตามที่ควรจะเป็นไปเถิด”
ข้อสังเกต เราคงต้องตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยในเรื่องที่เกี่ยวกับการเคราพเชื่อฟังกฎหมายที่เป้นเครื่องมือขของรัฐควบคุมคนในสังคมของ โสกราตีส “จะมี” หรือ “ไม่มีแนวคิดลัทธิอะไร” นอกเหนือไปจากการมีความรักในปัญญา ความรู้ แต่สิ่งที่น่าสงสัย คือ ทำไม “นครรัฐเอเธนส์ที่เป็นประชาธิปไตยอันเองชื่อจึงไม่ยอมให้พลเมืองอย่าง โสกราตีส มีเสรีภาพทางความคิดได้ ทำไม่สังคมเสรีอย่างเอเธนส์จึงตัดสินพิพากษาลงโทษโสกราตีสได้” ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดที่ว่า “เป็นสังคมที่ได้รับการยกย่องว่าให้สิทธิพลเมืองมีเสรีภาพในการพูด แสดงความคิดเห็นโดยการประหารชีวติผู้รักในความรู้ในฐานะที่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจากการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าว” เป็นไปได้หรือไม่ว่าปัญญาความรู้อย่างจริงจัง ย่อมนำมาซึ่งการตั้งคำถามกับ “ความจริงที่ดำรงอยู่อันเป็นปฏิปักษ์ต่อจารีตแบบแผนกฎเกณฑ์ที่ดำรงอยู่ในบ้านเมืองขณะนั้นด้วยเสมอ” ทำให้นครรัฐเอเธนส์เกิดข้อสงสัยว่า “ผู้รักในความรู้ในระบอบประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสรีภาพในการพูดแก่ทุกคนและขระเดียวก็เป็นระบอบที่ขับเคลื่อนด้วย “มติมหาชน” นั้นบางเรื่องก็ไม่สามารถไปด้วยกันได้เช่นกัน
3. เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงจุดเริ่มต้นของพิจารณาที่เหตุผลส่วนตัวของแต่ละบุคคลในการปฏิบัติตามกฎหมายดูเหมือนมีคำตอบ หลายแง่หลายมุมทั้งในแง่เหตุผลและในแง่จิตวิทยา นับแต่ “ความเกียจคร้าน” (Indolence) “ความเคารพ” (Deference) “ความคล้อยเห็นตาม” (Sympathy) “ความกลัว” (Fear) และ “ความคิดรอบคอบ” (เหตุผล = Reason) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาลึกๆ ลงสู่เหตุผลพื้นฐานของการต้องเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมทางสังคม พบว่า มีเหตุผลในเชิงหลักการหลาย ๆ ประการที่วางอยู่เบื้องหลังข้อสรุป ดังนี้ คือ
1.1 ในแง่สิทธิเสรีภาพ
เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมายในแง่ของสิทธิเสรีภาพนี้ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าทุกคนต้องเคารพกฎหมายและต้องยอมรับก่อนในขั้นแรกว่าเป็นการมองในแง่อุดมคติ จึงจะทำให้เราสามารถที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่นัยสิทธิเสรีภาพได้ เพราะการเคารพเชื่อฟังกฎหมายนั้นจริง ๆ แล้วเมื่อวิเคราะห์ลึก ๆ จะเห็นว่า “เป็นไปเพื่อค้ำประกันผลประโยชน์ของทุกคน” ทั้งนี้เพราะทุกคนมีความเสมอภาคกันภายในกฎหมาย ดังนั้นการเคารพเชื่อฟังกฎหมายจึงเป็นเรื่องภาระหน้าที่ในทางนิติปรัชญาจึงถือว่า “การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นเสมือนสิ่งที่ก่อให้เกิดเสรีภาพ” แต่อย่างไรก็ตามนั้นจะต้องพิจารณาพันธะในการปฏิบัติตามกฎหมาย เซอร์ พอล วิโนกราดอฟ (Sir Paul Vinogradoff) ได้อธิบายเหตุผลในแง่ดังกล่าว ว่า “การเคารพเชื่อฟังกฎหมายสืบแต่ความสำคัญของกฎหมายเอง” กล่าวคือ เป็นความจำเป็นของสังคมที่ต้องมีกฎหมายใช้บังคับแก่สมาชิกทั้งหลายในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์สุขร่วมของสังคม โดยเฉพาะในเรื่องของการปกครองแบบ “นิติรัฐ” (Legal State) และการปกครองแบบ “นิติธรรม” (The Rule of Law) ซึ่งถือว่า “กฎหมายเป็นใหญ่” และมีความสำคัญเหนือสิ่งใด เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ราษฎรทั้งหลายต้องยอมรับนับถือกฎหมาย และรัฐเองต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎรมิให้รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต
1.2 ในแง่สัญญาประชาคม
เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมายในแง่สัญญาประชาคม (Social Contract) ตรงที่ต้องทำความเข้าใจทฤษฎีสัญญาประชาคมก่อนว่า ทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น หมายถึง การบุคคลเข้ามาอยู่ในสัญญาประชาคมก็คือเสมือนกับได้ทำข้อตกลงเป็นสัญญาว่าอยู่ในสังคมร่วมกัน จะเคารพกติกาบ้านเมืองจะปฏิบัติตามคำสั่งของบ้านเมือง ซึ่งเราอาจมองได้ 2 ลักษณะ คือ
1. เป็นสัญญาที่มอบอำนาจให้รัฐโดยเด็ดขาด
2. การมอบอำนาจให้รัฐนั้นมันมีเงื่อนไขว่ารัฐไม่ต้องกระทำที่เป็นการมิชอบถ้ารัฐกระทำการมิชอบประชาชน สามารถยกเลิกสัญญาได้
ในแง่นี้การเอาสัญญาประชาคมมารับรองจะอยู่ใน ลักษณะที่ 1 คือ เป็นสัญญาที่มอบอำนาจให้รัฐโดยเด็ดขาด ในแง่นี้ โสกราตีส (Socrates) ถูกตัดสินพิพากษาประหารชีวิตโดยข้อหาก่ออาชญากรรมอุกฉกรรจ์ด้วยการปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าสร้างพระองค์ใหม่ขึ้น และทำความเสื่อมเสียฉ้อฉลต่อศีลธรรมของหนุ่มสาวกรีกยุคนั้น ในระหว่างการรอปร ะหารชีวิตด้วยการให้กินยาพิษฆ่าตัวตาย มิตรสหายของ โสกราตีส ได้พยายามชักชวนให้เขาหลบหนีการลงโทษ แต่ โสกราตีส กลับปฏิเสธโดยโต้แย้งว่า เขาได้อุทิศชีวิตของเขาทั้งหมดเพื่อสอนถึงความสำคัญของเรื่อง “ความยุติธรรมและการเคารพต่อกฎหมายของรัฐ” ดังนั้น แม้เขาจะยืนยันว่าเขาบริสุทธิ์ แต่การที่เขาได้ดำรงอยู่ในสังคมนั้นก็เสมือนว่าเขาได้ทำข้อตกลงที่จะเคารพเชื่อฟังกฎหมาย ดังนั้น เมื่อกฎหมายสั่งอย่างไรเขาก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแม้ผลลัพธ์ของกฎหมายนั้นจะทำให้เขาได้รับอันตรายก็ตาม
ดังนั้น แนวคิดของ โสกราตีส นั้นสรุปได้ว่า โสกราตีส มองว่า พันธะในการที่การเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นสิ่งสมบูรณ์ ทุกคนต้องยอมรับแม้จะเป็นผลร้ายแก่ตัวเองก็ตาม นอกจากนั้นเขายังพยายามอ้างว่า รัฐเปรียบเสมือนพ่อแม่ที่เขาต้องเคารพเชื่อฟัง เราเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ฉันท์ใดเราก็ต้องเคารพรัฐฉันท์นั้น พ่อแม่จะปฏิบัติต่อลูกอย่างไรแม้ไม่ถูกต้องลูกก็ไม่มีสิทธิที่จะแก้แค้นหรือตอบโต้รัฐเช่นเดียวกัน รัฐจะกระทำต่อพลเมืองอย่างไรพลเมืองก็ไม่มีสิทธิตอบโต้การปฏิเสธรัฐปฏิเสธกฎหมายทำได้อย่างเดียว คือ ออกไปเสียจากสังคมนั้น ๆ เท่านั้น
1.3 ในแง่หลักความเที่ยงธรรม
เหตุผลในเชิงหลักการที่เข้ามารองรับหลักที่ว่าต้องเคารพกฎหมาย ในแง่หลักความเที่ยงธรรม หรือความชอบธรรม (Fairness) ถือว่า การที่มนุษย์อยู่สังคมมนุษย์ย่อมจะได้รับความสงบสุข เพราะคนในสังคมปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อคนอื่นปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นในสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า การใช้สิทธิเสรีภาพนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้นต่างคนต่างก็ต้องเคารพกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมเพื่อมิให้การใช้สิทธิของตนไปกระทบกระเทือนบุคคลอื่นแม้
เหตุผลในเชิงหลักการข้างต้นดังกล่าวที่รองรับการเคารพเชื่อฟังกฎหมายเป็นเครื่องมีอของรัฐควบคุมคนในสังคม แต่ทว่าหากเราลองมองสำรวจรอบๆ ตัว เราจะพบว่ามีคนอยู่ไม่น้อยที่เป็นคนดี บริสุทธิ์ ซึ่งละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย โดยพวกเขากลับไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องผิด บกพร่องทางศีลธรรมอะไรในการกระทำดังกล่าว
อ้างอิง
จรัญ โฆษณษนันท์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2552 หน้า 124-130
ส.ศิวรักษ์ “ไครโต (โสกราตีส) เปลโต เขียน ส. ศิวรักษ์ แปล” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม,พิมพ์ครั้งที่ 7 หน้า 16-18
นิติธรรม คือ 在 ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์เป็น ... 的推薦與評價
หากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งหลัก นิติธรรม คือ หลักการพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ยึดถือหลักการปกคร องโดยกฎหมาย และคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ... ... <看更多>
นิติธรรม คือ 在 ฺClip VDO. BR 5_หลักนิติธรรม - YouTube 的推薦與評價
ประเทศไทยปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งในประเทศไทยนั้น หลัก นิติธรรม คือ หลักการพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ยึดถือหลักการปกครองโดยกฎหมาย ... ... <看更多>