กรณีศึกษา BBIK กับการเป็น IPO คอนซัลต์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันตัวแรกของไทย
Bluebik x ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตยุคนี้คืออะไร
หนึ่งคำตอบของใครหลายคนก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัล
ปัจจุบันคนไทย 70% ของประเทศกำลังใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเกือบ 9 ชั่วโมงต่อวัน
สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
ผลที่ตามมาคือ ฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เรียกว่า Big Data
รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายอุตสาหกรรมต่างต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อตามทันโลกดิจิทัล
เรื่องนี้กำลังเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล
หนึ่งในนั้นคือ Bluebik องค์กรเล็ก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันได้ และผลักดันให้เกิดการเติบโตในระยะยาวได้
โดยล่าสุด Bluebik กำลังจะ IPO ในชื่อ BBIK (อ่านว่า บี-บิก) ในตลาดหลักทรัพย์ MAI
ซึ่งจะกลายเป็น บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกด้วย
ความน่าสนใจของธุรกิจนี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Digital Transformation เป็นอีกหนึ่งคำคุ้นหูในช่วงเวลานี้
ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบพลิกโฉมด้วยเทคโนโลยี เพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัล
หลายองค์กรมักจะจ้างที่ปรึกษาหรือ Consulting Firm เข้ามาช่วยดูแล
ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- ที่ปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ในระดับผู้บริหารหรือ C-Level
ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ปรึกษามีชื่อเสียงระดับโลก เช่น McKinsey, BCG
มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง เน้นบริการด้านกลยุทธ์ แต่อาจจะขาดการให้คำปรึกษาด้านการดำเนินการ
- ที่ปรึกษาด้านการดำเนินการ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจสัญชาติไทย
ที่มีความเชี่ยวชาญในงานระบบเฉพาะด้านตามความต้องการของลูกค้า
แต่ปัญหาก็คือ มักจะขาดความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์
สังเกตไหมว่าตลาด Consulting Firm กำลังมีช่องว่างที่น่าสนใจเกิดขึ้น
และนั่นจึงเป็นที่มาของ Bluebik หรือก็คือ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ครบวงจร ที่มีบริการ 5 ด้าน ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำเรียกว่า End-to-End Consulting Firm เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
แล้วบริการ 5 ด้านแบบ End-to-End Consulting Firm ของ Bluebik น่าสนใจอย่างไร ?
1. ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ หรือ Management Consulting
เช่น กำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ, ค้นหาปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจ, กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม
2. ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการเชิงยุทธศาสตร์ หรือ Strategic PMO
เช่น บริหารโครงการขนาดใหญ่, วางโครงสร้างระบบไอทีภายในองค์กร
3. ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี หรือ Digital Excellence and Delivery
เช่น การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งานและส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ (UX/UI) บนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
4. ที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ Big Data & Advanced Analytics เช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย AI
5. ให้บริการทรัพยากรบุคคลชั่วคราวด้านไอที หรือ IT Staff Augmentation เช่น พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอย่างโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
พูดง่าย ๆ ว่า Bluebik มีบริการครบถ้วนที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่โลกดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ
สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพตัวจริงในวงการที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation นั่นเอง
ที่สำคัญไม่เพียงจะมี “รูปแบบบริการ” ครบถ้วนทุกขั้นตอนตอบโจทย์ยุค Digital Economy
แต่ Bluebik ยังมี “บุคลากรทำงาน” ที่เป็นตัวจริงในวงการธุรกิจ อีกด้วย
เราจึงเห็น “บอร์ดบริหาร” ล้วนเป็นแนวหน้าหลากหลายธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย เช่น
- คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทในเครือ SCB 10X
- คุณครรชิต บุนะจินดา ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เซ็นทรัล, โรบินสัน
- คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจสายงานดิจิทัลทีวีชั้นนำ เวิร์คพอยท์
- คุณวศิษฐ์ กาญจนหัตถกิจ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ศรีสวัสดิ์
- คุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสื่อมากกว่า 20 ปี
รวมทั้ง “ทีมผู้บริหารและพนักงาน” ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง อายุน้อย แต่มากประสบการณ์
จากธุรกิจที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกกว่า 100 คนมารวมกัน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจให้กับลูกค้าได้
จึงไม่แปลกใจที่กลุ่มลูกค้า Bluebik ล้วนเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
โดยล่าสุด Bluebik ยังได้ร่วมทุนกับ OR ในเครือธุรกิจ ปตท.
จัดตั้งธุรกิจ ORBIT Digital ที่มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนหุ้น Bluebik : OR เท่ากับ 60:40
เป้าหมายก็เพื่อก้าวทันโลก ต่อยอดธุรกิจที่จะสร้างรายได้เติบโตในยุค Digital Economy อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า Bluebik เป็นอีกหนึ่งดวงดาวจรัสแสง
ที่ครบถ้วนด้วยบริการเต็มรูปแบบ พร้อมด้วยบุคลากรทำงานคุณภาพ
และกำลังเดินเคียงข้างองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยสู่ Digital Transformation
แล้วผลประกอบการ Bluebik เป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้รวม 133 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 185 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้รวม 201 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44 ล้านบาท
ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขายและบริการ 126.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 30.06 ล้านบาท คิดเป็นอัตราทำกำไรสุทธิที่ 23.67%
จะเห็นได้ว่า Bluebik มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีงานในมือ (Backlog) 161 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้รายได้ภายใน 1-2 ปีนี้
ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมรายได้ที่จะมาจาก ORBIT Digital จากการร่วมมือกับ OR อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังเดินทางเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ
รู้หรือไม่ว่า ตลาด Digital Transformation ในประเทศไทยปี 2564
ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 280,000 ล้านบาท และจะขยายตัวเป็น 442,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า
ภายใต้เทรนด์ Digital Transformation ที่กำลังเปลี่ยนโลกนี้เอง
เราจะได้เห็น Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกของประเทศไทย จะนำพาธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยจุดเด่นด้านบริการ End-to-End Consulting Firm และทีมบุคลากรคุณภาพระดับผู้บริหาร และระดับบุคลากรทำงาน
ซึ่งโอกาสเติบโตของ Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่กำลังจะ IPO ในครั้งนี้ อาจจะกลายมาเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ ในตลาด Consulting Firm ระดับโลก ด้าน Digital Transformation ก็เป็นได้..
คำเตือน: บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้แต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
Reference
- บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過20萬的網紅คิดเรื่องอยู่ ThinkofLiving,也在其Youtube影片中提到,รีวิวทาวน์โฮม บ้านฟ้า ทาวน์นี่ ปิ่นเกล้า-สาย5 กด Subcribe ช่อง ThinkofLiving ได้ที่นี่ครับ: http://www.youtube.com/subscription_center?add_user=thinko...
「บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด」的推薦目錄:
- 關於บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 คิดเรื่องอยู่ ThinkofLiving Youtube 的精選貼文
- 關於บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 Central Restaurants Group 的評價
- 關於บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 งานเปิดบริษัท เอช วี เซ็นทรัลกรุ๊ปจำกัด - YouTube 的評價
- 關於บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 ข่าวความเคลื่อนไหว : เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกพันธมิตร กลุ่ม ... 的評價
บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กรณีศึกษา การเข้าซื้อร้านส้มตำนัว ของกลุ่มเซ็นทรัล / โดย ลงทุนแมน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ CENTEL เจ้าของธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารในกลุ่มเซ็นทรัล
ได้ให้บริษัทลูกอย่าง CRG ที่ทำกลุ่มธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในธุรกิจร้านอาหาร ที่ชื่อว่า “ส้มตำนัว”
คำถามคือ ทำไม กลุ่มเซ็นทรัล จึงอยากลงทุนในธุรกิจร้านส้มตำ
แล้วร้านส้มตำนัว มีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ร้านส้มตำนัวมีจุดเริ่มต้นมาจากคุณสุธาชล วัฒนะสิมากร
ชาวอุดรธานี ที่ตอนแรกเข้ามาทำงานในบริษัทเอเจนซีโฆษณาในกรุงเทพมหานคร
วันหนึ่ง คุณสุธาชล อยากกินส้มตำปลาร้า
เขาพยายามมองหาร้านส้มตำรสชาติอีสานแท้ ๆ ในกรุงเทพมหานคร
แต่พบว่าหายากมาก และร้านที่เข้าไปรับประทานก็ยังมีรสชาติไม่ถูกปากเท่าไรนัก
สุดท้าย เขาจึงกลับมาต้มปลาร้าและตำส้มตำกินเอง
และก็คิดขึ้นมาว่า “ทำไมเราไม่เปิดร้านส้มตำขายเองเสียเลย”
ไม่นานเขาจึงตัดสินใจชวนเพื่อนอีกคน
คือ คุณประพันธ์ กลั่นบิดา ซึ่งเป็นคนกาฬสินธุ์ มาลงทุนทำร้านส้มตำด้วยกัน
โดยช่วงแรกก่อนที่ทั้งคู่จะตั้งร้านนั้น พวกเขาลงทุนตระเวนชิมส้มตำตามร้านต่าง ๆ เพื่อนำมาทำเป็นสูตรเด็ดของร้านตนเอง
ที่สำคัญคือ ต้องคงเอกลักษณ์ความเป็นลูกอีสานเอาไว้ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของทั้งคู่ด้วย
เมื่อตัดสินใจว่าจะทำร้านส้มตำ และได้เมนูเรียบร้อยแล้ว
เรื่องต่อมาที่ทั้งคู่ต้องทำคือ การหาทำเล
ทั้งสองคนมองว่า ทำเลของร้านต้องมีผู้คนเดินทางผ่านไปผ่านมาหนาแน่น และทั้งคู่ก็มาเลือกที่สยามสแควร์ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีผู้คนจำนวนมาก
ซึ่งแม้ว่าจะมีความเสี่ยงในเรื่องต้นทุนค่าเช่าที่สูง
แต่ทั้งคู่มองว่าเมื่อหักลบความเสี่ยงและโอกาสที่ร้านจะขายได้ดีแล้วน่าจะคุ้มค่า
ทั้งคู่จึงตัดสินใจมาเปิดร้านส้มตำนัวสาขาแรกที่สยามสแควร์ ในปี 2546
โดยสาขาแรกของร้านส้มตำนัวที่สาขาสยามสแควร์ ถือเป็นร้านส้มตำติดแอร์ร้านแรก ๆ แถวนั้นด้วย
เปิดร้านไปสักระยะ ทั้งคู่ก็สังเกตว่า ลูกค้าที่นั่งทานในร้านหลายโต๊ะบางครั้งต้องรีบสั่ง รีบกิน และรีบไป
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ มีคนรอคิวหน้าร้านจำนวนมาก
ดังนั้น ทั้งคู่มองว่า พวกเขาจำเป็นต้องขยายร้านให้มากขึ้น
ร้านส้มตำนัว จึงเริ่มขยายสาขามากขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบัน มีแล้วทั้งหมด 6 สาขา
ได้แก่ สยามสแควร์, สยามเซ็นเตอร์, เซ็นทรัล เอ็มบาสซี, เซ็นทรัลเวิลด์, เมกาบางนา และเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ซึ่งนอกจากรสชาติความนัวของส้มตำนัวจะเป็นที่ถูกปากลูกค้าชาวไทยแล้ว ยังเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวเกาหลี ที่เดินทางมาท่องเที่ยวอีกด้วย
จนสุดท้าย รสชาติและชื่อเสียงของร้านส้มตำนัว ก็ไปเข้าตาบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล
โดย CENTEL นั้น คือบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทำธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร
ในปี 2563 รายได้หลักของ CENTEL นั้นมาจากธุรกิจหลัก 2 กลุ่มคือ
-ธุรกิจอาหาร 76%
-ธุรกิจโรงแรมและอื่น ๆ 24%
ในส่วนของธุรกิจอาหารนั้น CENTEL จะให้บริษัทลูกที่ชื่อว่า บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เป็นผู้ดูแล
โดย CRG นั้นมีฐานะที่เป็นผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) และเจ้าของลิขสิทธิ์ (Company Owned) แบรนด์ร้านอาหารชื่อดังต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบัน CRG มีแบรนด์ร้านอาหารภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 15 แบรนด์
ยกตัวอย่างเช่น Mister Donut, KFC, Auntie Anne’s, Pepper Lunch, Yoshinoya
ลองมาดูผลประกอบการของ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ในปีที่ผ่านมา
ปี 2560 รายได้ 10,081 ล้านบาท กำไร 690 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 11,007 ล้านบาท กำไร 680 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 11,288 ล้านบาท กำไร 570 ล้านบาท
ซึ่งต้องบอกว่าแม้ CRG จะมีแบรนด์ร้านอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหารจานด่วน ร้านขนม ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านอาหารไทย แต่ CRG ยังไม่มีแบรนด์ร้านส้มตำและร้านอาหารอีสาน ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างชาติ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ CRG จึงตัดสินใจเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้น 85% ในบริษัท เอสทีเอ็น เรสเตอรองต์ จำกัด เจ้าของแบรนด์ “ส้มตำนัว” ซึ่งมูลค่าการลงทุนของ CRG ในครั้งนี้คิดเป็นเงินลงทุน 200 ล้านบาท
นั่นหมายความว่า มูลค่าแบรนด์ร้านส้มตำนัวในตอนนี้ ถูกให้มูลค่าสูงถึงประมาณ 235 ล้านบาท
และด้วยจำนวนสาขา 6 สาขาในปัจจุบัน หมายความว่า CRG กำลังให้มูลค่ากับร้านส้มตำนัว โดยเฉลี่ยแล้ว สาขาละ 39 ล้านบาท เลยทีเดียว..
โดย CRG มีแผนที่จะขยายสาขาร้านส้มตำนัว ให้ได้ถึงประมาณ 130 สาขา ภายใน 5 ปีหลังจากนี้
การที่ CRG ได้แบรนด์ร้านอาหารส้มตำและอาหารอีสาน อย่างร้านส้มตำนัวมาอยู่ในมือ ทำให้ต้องบอกว่า ณ ตอนนี้ ธุรกิจร้านอาหารของ CRG มีความหลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ร้านส้มตำนัว หลังจากกลุ่มเซ็นทรัลเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
แต่หลังจากนี้ ร้านส้มตำนัว ก็คงขยับเข้ามาใกล้บ้านใครหลาย ๆ คนแน่นอน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16171468344951&sequence=2021037375
-https://www.prachachat.net/marketing/news-641179
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2563, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
-https://www.siammakro.co.th/horeca_article_detail/
บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
KFC ในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของ? /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงแบรนด์ไก่ทอด หลายคนคงนึกถึง KFC
KFC เป็นแบรนด์ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
และเป็นหนึ่งในร้านอาหารจานด่วนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า KFC ในประเทศไทย มีใครเป็นเจ้าของบ้าง
และแต่ละรายมีผลประกอบการเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้หรือไม่ว่า KFC ย่อมาจาก “Kentucky Fried Chicken”
ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473 หรือเมื่อ 90 ปีที่แล้ว
โดยพันเอกฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์
ชายผู้ผ่านความล้มเหลวมาเกือบทุกเรื่องในชีวิต
แต่เรื่องเดียวที่เขาทำสำเร็จคือ “ทอดไก่ขาย”
จนสุดท้ายแบรนด์ไก่ทอดของเขาก็โด่งดังไปทั่วโลก
ปี พ.ศ. 2562 KFC มีสาขาทั่วโลกกว่า 22,621 สาขา
กระจายอยู่ใน 150 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
ปัจจุบัน KFC เป็นแบรนด์ในเครือ บริษัท “Yum! Brands” หนึ่งในบริษัทเจ้าของแบรนด์อาหารที่เป็นที่นิยมและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
สำหรับในประเทศไทย ธุรกิจร้านอาหารจานด่วน (Quick Service Restaurant) มูลค่าตลาดกว่า 31,200 ล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากที่สุดในบรรดาธุรกิจร้านอาหารรูปแบบต่างๆ
และแน่นอนว่า KFC ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง ในธุรกิจร้านอาหารจานด่วนของไทย
โดย KFC ในประเทศไทย มี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) หรือ ยัม! ประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารแบรนด์ ทำการตลาด และโปรโมชัน
ต้องบอกก่อนว่า ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา
บริษัท Yum! Brands มีนโยบายจะให้ร้านอาหารในเครือเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด
จึงทำให้ร้าน KFC ในประเทศไทย จะมี ยัม! ประเทศไทย บริหารแบรนด์และทำการตลาดให้
ส่วนหน้าที่การบริหารจัดการร้าน จะเป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับสิทธิ์การจัดจำหน่าย หรือที่เรียกว่า “แฟรนไชซี” เป็นผู้ดำเนินการ
โดยแฟรนไชซี จะต้องทำตามข้อตกลงที่ทำไว้กับ ยัม! ประเทศไทย ทั้งรูปแบบสาขา การปรับปรุงร้าน เมนูอาหาร และเครื่องดื่มที่จำหน่ายในร้าน ทุกอย่างต้องผ่านการยินยอมและอนุมัติจาก ยัม! ประเทศไทย ทั้งสิ้น
ซึ่งแฟรนไชซีของแบรนด์ KFC ในประเทศไทยตอนนี้ มีอยู่ทั้งหมด 3 ราย คือ
1. บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG)
2. บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
3. บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
KFC เข้ามาเปิดสาขาแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 หรือ 35 ปีที่แล้ว ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ซึ่งเป็นการนำเข้ามาของ เครือเซ็นทรัล ที่เป็นเจ้าแรกที่ได้สิทธิ์เป็นแฟรนไชซีแบรนด์ KFC
ซึ่งปัจจุบัน KFC ก็อยู่ภายใต้การบริหารงานของเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) บริษัทในเครือเซ็นทรัล
ผลประกอบการของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 11,007 ล้านบาท กำไร 681 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 11,288 ล้านบาท กำไร 570 ล้านบาท
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ไม่ได้ขายแค่ไก่ทอด KFC เท่านั้น
แต่ยังมีแบรนด์อาหารอื่นๆ ในพอร์ตอีก เช่น Mister Donut, Auntie Anne’s รวมทั้งร้านอาหารไทยและร้านอาหารญี่ปุ่น รวมกว่า 15 แบรนด์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ยัม! ประเทศไทย ได้มอบสิทธิ์แฟรนไชส์ KFC ให้กับแฟรนไชซีรายที่ 2
คือ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
โดย RD เป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนของผู้ลงทุนทั้งไทยและอาเซียน และได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญี่ปุ่น
ผลประกอบการของบริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 4,067 ล้านบาท ขาดทุน 93 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 4,370 ล้านบาท ขาดทุน 127 ล้านบาท
และในปลายปี พ.ศ. 2560 ยัม! ประเทศไทย ก็มีแฟรนไชซีเพิ่มมาอีกหนึ่งราย
บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ
ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
ผลประกอบการของบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 6,117 ล้านบาท กำไร 169 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 7,745 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท
โดยข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2562 KFC ในประเทศไทยมีทั้งหมด 826 สาขา แบ่งเป็น
เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) 283 สาขา
เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) 207 สาขา
คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) 336 สาขา
จากข้อมูลผลประกอบการสองปีที่ผ่านมา
จะเห็นว่า KFC ภายใต้การดำเนินงานของ เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) ยังขาดทุนอยู่เมื่อเทียบกับแฟรนไชซีอีก 2 ราย
ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนสาขาที่น้อยกว่า ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ที่น้อยกว่าแฟรนไชซีอีกสองเจ้า
สรุปแล้ว ถ้าถามว่า KFC ในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของ?
ก็ต้องตอบว่า ถ้าในมุมของการเป็นเจ้าของแบรนด์ ผู้ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ KFC ในไทย ก็คือ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ Yum! ประเทศไทย
ส่วนถ้าเป็นในแง่ของการเป็นเจ้าของสิทธิ์ในการบริหารร้าน KFC หรือที่เรียกว่า แฟรนไชซี ก็จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ราย คือ เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG), เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) และ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย (QSA) นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ Yum! Brands คือ บริษัทร้านอาหารที่เป็นที่นิยมและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE)
โดยในปี พ.ศ. 2562 Yum! Brands มีรายได้ 175,000 ล้านบาท และกำไร 40,500 ล้านบาท
ปัจจุบัน Yum! Brands มีมูลค่าบริษัทประมาณ 950,000 ล้านบาท ซึ่งถ้า Yum! Brands จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย ก็จะมีมูลค่าเป็นอันดับต้นๆ ของตลาดเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Yum!_Brands
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
-http://www.rdthailand.com/about/th
-https://foa.co.th/brand/kfc/pages/about_en.html
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892602
-https://finance.yahoo.com/quote/YUM/
บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 คิดเรื่องอยู่ ThinkofLiving Youtube 的精選貼文
รีวิวทาวน์โฮม บ้านฟ้า ทาวน์นี่ ปิ่นเกล้า-สาย5
กด Subcribe ช่อง ThinkofLiving ได้ที่นี่ครับ: http://www.youtube.com/subscription_center?add_user=thinkofliving
รายการ คิด.เรื่อง.อยู่ ตอนที่ 330 - บ้านฟ้า ทาวน์นี่ ปิ่นเกล้า-สาย5 ทาวน์โฮม 2 ชั้น จาก NC Group ตัวโครงการตั้งอยู่แถวพุทธมณฑลสาย 5 ใกล้กับตลาดน้ำดอนหวาย เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จำนวน 328 ยูนิต บนเนื้อที่ 80 ไร่ พร้อมพื้นที่ส่วนกลาง Clubhouse ขนาดกว่า 2 ไร่ รูปแบบบ้านมีจุดเด่นที่หน้ากว้าง 6 เมตร บนที่ดินเริ่มต้น 20.5 ตร.วา ใครที่กำลังมองหาบ้านที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยที่คุ้มค่า อย่ารอช้ารีบกดเข้ามาดู 2 หนุ่มจะมารีวิวกันแบบเจาะลึกให้ชมกันครับ
- อ่านรีวิวเจาะลึก : http://wp.me/p1YZB1-1JR0
- Official Website : http://www.ncgroup.co.th/
แบ่งปันความรู้เรื่องบ้านและคอนโดโดย www.thinkofliving.com
- แนะนำติชมรายการ หรือ ติดต่อทีมงานได้ที่: thinkofliving@gmail.com
- ติดต่อโฆษณาได้ที่ ฝ่ายขาย บริษัท คิดเรื่องอยู่ จำกัด โทร 02-618-8877
[คิด.เรื่อง.อยู่ Ep.330 - รีวิวทาวน์โฮม บ้านฟ้า ทาวน์นี่ ปิ่นเกล้า-สาย5]
ลงทะเบียนรับหนังสือ "อยู่แถวไหนดี" หนังสือเล่มล่าสุดส่งท้ายปี 2017 คลิ้ก!!! : https://goo.gl/iKVYU2
บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 งานเปิดบริษัท เอช วี เซ็นทรัลกรุ๊ปจำกัด - YouTube 的推薦與評價
งานเปิด บริษัท เอช วี เซ็นทรัลกรุ๊ปจำกัด. 4K views · 1 year ago ...more. สิงโตมังกรทอง ลูกชัยมงคล. 14.6K. Subscribe. 14.6K subscribers. 39. Share. Save. ... <看更多>
บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 ข่าวความเคลื่อนไหว : เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกพันธมิตร กลุ่ม ... 的推薦與評價
กรุงเทพฯ - วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 – บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จับมือ กลุ่ม ปตท. ภายใต้แบรนด์ ออน- ไอออน (on-ion) จัดงาน ... ... <看更多>
บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด 在 Central Restaurants Group 的推薦與評價
บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (ซีอาร์จี) หนึ่งในผู้นำธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Food Chain Industry) ของประเทศไทยที่มีความชำนาญ และประสบการณ์อัน ... ... <看更多>