การเกิดของกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการเกิดของกฎหมายการเกิดของกฎหมายนี้ผู้เขียนจะอธิบายถึงการอุบัติหรือการเกิดขึ้นของกฎหมายกับแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย ดังนี้
1 การอุบัติหรือการเกิดขึ้นของกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการเกิดของกฎหมาย จะเห็นได้ว่าการที่มนุษย์จะสามารถพัฒนามาจนถึงระบบกฎหมายดังที่ปรากฏ และมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบันทั้งใน ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) นั้นได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางความคิดทางรูปแบบและโครงสร้างของกฎหมายหลายยุคหลายสมัย ซึ่งพอสรุปอย่างคร่าวๆ ว่ากฎหมายได้ปรากฏตัวขึ้นโดยมีวิวัฒนาการกฎหมายของมนุษย์ เป็น 3 ยุค คือ ยุคกฎหมายชาวบ้าน ยุคกฎหมายของนักกฎหมายและยุคกฎหมายเทคนิค ดังนี้
1.1 ยุคกฎหมายชาวบ้าน
กฎหมายในยุคนี้กฎหมายนั้นค่อยๆก่อตัวขึ้นตามวิถีของคนในสังคม ซึ่งแต่ละคนย่อมมีชีวิต เสรีภาพและการแสวงหาความสุข ซึ่งเกิดขึ้นนับตั้งแต่มนุษย์กำเนิดขึ้นในธรรมชาติ มนุษย์ไม่อาจอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวในธรรมชาติ จึงต้องรวมตัวกันเพื่อแบ่งหน้าที่และช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อมในปัจจัย 4 ที่จำเป็นแห่งการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหารเพื่อดำรงชีวิต เครื่องนุ่งห่มเพื่อปกป้องร่างกาย ที่อยู่อาศัยเพื่อความปลอดภัยและยารักษาโรคเพื่อรักษาสุขภาพ จากความต้องการปัจจัย 4 นี้เองมนุษย์จึงต้องรวมตัวกัน เพื่อต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิติและต้องการอยู่ดีกินดีมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันในสังคมมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวของคนแต่ละคนเกิดจากตัณหาภายในและความเสื่อมถอยแห่งคุณธรรมของคน ก็จะทำให้มนุษย์บางกคนกระทำความผิด เช่น การละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การหยิบฉวยสิ่งของอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมหรือเจ้าของไม่ยินยอม การพรากลูกผิดเมียเขา การทำร้ายร่างกายและชีวิตของผู้อื่น ฯลฯ ความผิดเหล่านี้เมื่อมีมากขึ้นย่อมจะทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยส่วนรวมในสังคมวุ่นวายไม่สงบ มนุษย์ส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องอาศัยข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับอันเป็นเงื่อนไขข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนในสังคมยึดถือปฏิบัติร่วมกัน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่านี้ค่อยพัฒนาจนเรียกว่า “กฎหมาย” (Law) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ปรากฏออกมาในรูปของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1.ต้องประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและเป็นเวลานาน
2.ต้องเป็นที่ยอมรับกันในชุมชนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าไม่ปฏิบัติตามเช่นนั้นก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ผิด
1.2 ยุคกฎหมายนักกฎหมาย
ยุคกฎหมายนักกฎหมาย เป็นยุคที่กฎหมายเจริญขึ้นต่อจากยุคแรก ซึ่งยังไม่สามารถแยกกฎหมายออกจากศีลธรรม ต่อมาถึงยุคกฎหมายของนักกฎหมายมองเห็นว่ากฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากศีลธรรมและจารีตประเพณี มีกระบวนการพิจารณาและบังคับคดีชุมชน คือ เริ่มจากการปกครองที่เป็นรูปธรรมทำให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เจริญมีกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ทำให้มีกฎเกณฑ์เกิดขึ้นใหม่เป็นการเสริมกฎเกณฑ์เก่าที่มีอยู่ในรูปแบบขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อเติมแต่งให้มีรายละเอียด เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในคดีที่สลับซับซ้อน เมื่อตัดสินคดีไปหลายคดี ข้อที่เคยปฏิบัติในการพิจารณาคดีก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่เราเรียกว่า “กฎหมายของนักกฎหมาย”
1.3 ยุคกฎหมายเทคนิค
ยุคกฎหมายเทคนิค เมื่อสังคมเจริญขึ้นการติดต่อระหว่างคนในสังคมมีมากขึ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้นซับซ้อนยิ่งขึ้น เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำรงชีวิตก็มีมากขึ้น ความขัดแย้งในสังคมก็มีมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไม่เพียงพอ จึงจำต้องมีกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นมาทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายเทคนิคเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการนิติบัญญัติ ที่จะต้องมี 2 ประการคือ
1.เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นทันทีเพื่อวัตถุประสงค์บางประการ ซึ่งเป็นเหตุผลทางเทคนิค
2. เป็นกฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์เหล่านั้นเกี่ยวข้องกับศีลธรรมหรือไม่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมหรือไม่ก็ได้
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงตัวอย่างยุคกฎหมายเทคนิค เช่น แต่เดิมไม่รถยนต์ในการสัญจรของคนในสังคม มีแต่เทียมเกวียนใช้ในการสัญจรไม่มีความสลับซับซ้อน แต่ตอมาสังคมมีความเจริญก้าวหน้ามีรถยนต์ใช้ในการสัญจรจำเป็นต้องมีกฎหมายขึ้นมาแก้ไขปัญหาการสัญจรของคนในสังคม ก็การออกกฎหมายจราจรขึ้นมาเป็นต้น เป็นต้น
2. แหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายจะพบว่ามีแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย 2 แหล่งด้วยกัน คือ แหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรกับแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้
2.1 แหล่งที่มาของกฎหมายมหาชนที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร
กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบรรดากฎเกณฑ์ต่างๆ ที่องค์กรของรัฐตราขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้บังคับแก่ราษฎรมีอยู่หลายรูปแบบ ในกรณีของไทยสามารถจำแนกที่มาของกฎหมายลายลักษณ์อักษร มีอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ที่มาของรัฐธรรมนูญ ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ และที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายลำดับรอง
2.1.1 ที่มาของกฎหมายที่มีสถานะสูงสุดในการปกครองประเทศ
ที่มาของกฎหมายที่มีสถานะสูงสุดในการปกครองประเทศจะพบว่ามีอยู่ 2 กรณี คือ ในกรณีปกติกับที่มาของกฎหมายที่มีสถานะกฎหมายสูงสุดการปกครองประเทศในกรณีที่ไม่ปกติ ดังนี้
2.1.1.1. ที่มาของกฎหมายสถานะสูงสุดการปกครองประเทศในกรณีปกติ
โดยทั่วไปในการปกครองระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกถือว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด” รัฐธรรมนูญ (Constitution) เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรที่มี “อำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญ” ซึ่งอำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจที่ควบคู่กับ “อำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ” เพราะถ้าไม่มีผู้จัดให้มีก็ย่อมไม่มีผู้จัดทำ ดังนั้นผู้มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญสามารถแยกประเภทผู้มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญโดยยึดหลักจำนวนและสถานะของผู้จัดทำ ซึ่งอาจจะมาจากการจัดทำบุคคลคนเดียว หรืออาจะมาจากการจัดทำโดยคณะบุคคล หรืออาจจะมาจาการจัดทำโดยสภานิติบัญญัติ หรืออาจจะมาจากการจัดทำโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ เช่น องค์กรที่มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2550 เป็นต้น
2.1.1.2 ที่มาของกฎหมายที่มีสถานะกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศกรณีที่ไม่ปกติ
ในกรณีที่มีการปฏิวัติหรือรัฐประหารขึ้นคณะปฏิบัติออกประกาศคณะปฏิวัติขึ้นมาปกครองปกครองเทศในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ (Sovereignty) เช่น ประกาศ คำสั่งต่างๆ ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ย่อมถือได้ว่าชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าการประกาศหรือคำสั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2549 ฉบับชั่วคราว เท่ากับว่าประกาศคำสั่งต่างๆของ คปค.มีค่าเสมือนหนึ่งเป็นรัฐธรรมนูญ เพราะสามารถขัดกับรัฐธรรมนูญได้ โดยไม่มีศาลหรือองค์กรใดๆเข้าตรวจสอบได้ เป็นต้น
2.1.2 ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ
ที่มาของระดับกฎหมายบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยการพิจารณาองค์กรหรือสถาบันที่เป็นผู้ตรากฎหมายออกมาใช้บังคับและการพิจารณาจากกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติที่ประเทศไทยได้ยอมรับกับกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติยังมีการโต้แย้ง ดังนี้
2.1.2.1 ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติที่ประเทศไทยได้ให้การยอมรับ
ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติที่ประเทศไทยได้ให้การยอมรับ โดยพิจารณาจากองค์กรเป็นผู้ตรา คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ
1.กฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรนิติบัญญัติ (Legislative) ของไทยประกอบด้วยพระมหากษัตริย์และรัฐสภารวมกัน ซึ่งหมายความว่าพระมหากษัตริย์ และรัฐสภาจะต้องเห็นพ้องต้องกันให้ร่างกฎหมายออกมาใช้บังคับ ประเภทของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายและกฎมณเฑียรบาล
1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (Organic Law) ได้แก่ บรรดากฎเกณฑ์ที่ออกมาขยายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางการเมืองการปกครอง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงอาศัย อำนาจที่รัฐธรรมนูญถวายให้แก่พระองค์ตราขึ้นใช้บังคับตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่สำคัญรองจากรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับรัฐธรรมนูญอย่างใกล้ชิด เป็นกฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐธรรมนูญสูญสิ้นไปกฎหมายเหล่านี้ก็สูญสิ้นไปด้วย
2) พระราชบัญญัติ (Act) ได้แก่ บรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงอาศัยอำนาจที่รัฐธรรมนูญถวายให้แก่พระองค์ตราขึ้นใช้บังคับตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐธรรมนูญสูญสิ้นไปกฎหมายเหล่านี้ก็ยังคงบังคับใช้อยู่ต่อไป
3) ประมวลกฎหมาย (Code of Law) เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้รวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกันมาบัญญัติไว้รวมกัน เป็นเรื่อง เป็นหมวด เป็นหมู่ อย่างเป็นระบบ เพื่อสะดวกในการศึกษา สำหรับประเทศไทยมีประมวลกฎหมายที่สำคัญที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลรัษฎากร เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามจะใช้ประมวลกฎหมายใช้บังคับได้นั้นจะต้องมีกฎหมายออกมากำหนดให้ใช้ประมวลกฎหมายนั้นด้วย
4) กฎมณเฑียรบาล (Royal Law) หมายถึง ข้อบังคับที่ว่าด้วยการปกครองภายในพระราชฐาน กฏมนเฑียรบาลนั้นมีมาแต่โบราณแล้ว เป็นกฎหมายส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีต้นกำเนิดมาจากตำราราชประเพณีของพราหมณ์ที่เรียกว่า คัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย ซึ่งได้แก่
(1) กฎมนเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรส แห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ พุทธศักราช 2467 และแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475
(2) กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 ซึ่งในส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์ พุทธศักราช 2467 เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดำริเป็นประการใด ให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มกฎมณเฑียรบาลเดิมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีดำเนินการแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบและให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
2.กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยฝ่ายบริหาร (Executive) ที่มาของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร หรือเรียกว่า องค์กรบริหารบัญญัติที่สำคัญ คือ
1) พระราชกำหนด (Royal Act) ซึ่งพระราชกำหนด หมายถึง กฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงอาศัย พระราชอำนาจที่รัฐธรรมนูญถวายแก่พระองค์ตราขึ้นเพื่อใช้บังคับตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีและมีค่าบังคับเช่นพระราชบัญญัติ แต่อย่างไรก็ตามพระราชกำหนดประกาศใช้แล้วเมื่อถึงสมัยประชุมนิติบัญญัติจะต้องนำพระราชกำหนดที่ประเทศใช้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยองค์กรนิติบัญญัติ ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติผ่านพิจารณาอนุมัติ พระราชกำหนดนั้นจะกลายเป็นพระราชบัญญัติทันที แต่ถ้าพระราชกำหนดนั้นไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดนั้นจะตกไป
2) กฎอัยการศึก (Martial Law) ซึ่งกฎอัยการศึกเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารออกกฎหมายในยามฉุกเฉิน ภาวะไม่ปกติจากเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ภาวะไม่ปกติอันเนื่องจากเหตุการณ์ภายนอกประเทศกับภาวะไม่ปกติอันเนื่องจากเหตุการณ์ภายในประเทศ กฎหมายให้อำนาจฝ่ายบริหารออกกฎอัยการศึกได้ตามลักษณะและวิธีกรตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกษา
2.1.2.2 ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติที่ประเทศไทยยังมีการโต้แย้ง
ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติที่ประเทศไทยยังมีการโต้แย้ง คือ กฎหมายที่ประกาศโดยคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหาร คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ (Announcement of the Revolutionary Council) ที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ ที่ตราออกมาโดยคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจการปกครองหรือใช้อำนาจทางนิติบัญญัติออกประกาศคณะปฏิวัติหรือคำสั่งคณะปฏิรูปขึ้นมาเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองถือว่าอยู่ในกลุ่มกฎหมายที่ตราโดยองค์กรบัญญัติด้วย แต่ก็ยังมีความขัดแย้งในทางวิชาการเป็นอย่างมากในสังคมปัจจุบันของประเทศไทยว่า “ประกาศคณะปฏิวัติเป็นแหล่งที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” ซึ่งยังมีความเห็นอยู่ 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติที่เป็นแหล่งที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ เพราะได้มีศาลพิพากษาศาลฎีกา คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รับรองและมีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
กลุ่มที่ 2 เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติที่เป็นแหล่งที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ เพราะไม่มาจากองค์กรที่มีอำนาจตรากฎหมายที่ได้รับความยินยอมจากประชาชนตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ
2.1.3 ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายลำดับรอง
ที่มาของระดับกฎหมายลำดับรอง (Subordinate legislation) โดยที่กฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญ และระดับกฎหมายบัญญัติ ให้อำนาจในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งมีฐานะ เป็น “กฎ” เนื้อหาของกฎหมายระดับลำดับรองเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อปรับใช้กฎหมายที่ลำดับสูงกว่า เนื่องจากบัญญัติรายละเอียดเหล่านี้ กฎหมายแม่บทไม่สารถทำได้ล่วงหน้าสมบูรณ์เหมาะสมกับสถานการณ์ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กฎหมายแม่บทได้เพียงแต่กำหนดกรอบไว้เท่านั้น และที่สำคัญกฎหมายระดับกฎหมายลำดับรองไม่สามารถมีเนื้อหาสาระเกินไปกว่าที่ตัวบทบัญญัติในกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจไว้ได้
ในปัจจุบันของประเทศไทย โดยพิจารณาถึงองค์กรผู้มีอำนาจในการออกกฎหมายลำดับรอง ผู้เขียนสามารถสรุปออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหารและองค์ที่อยู่ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหาร กับกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรที่มิได้อยู่ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหาร ดังนี้
2.1.3.1 กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหารและองค์ที่อยู่ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหาร
กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหารและองค์ที่อยู่ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหาร จะแยกอธิบายการออกกฎหมายลำดับรองของแต่ละองค์กร ดังนี้
1.ที่มาของระดับกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรฝ่ายบริหาร ได้แก่
1) พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree) คือ บรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ หรือ ทรงอาศัยอำนาจตามตามกฎหมายระดับบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งตราขึ้นใช้บังคับตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี ซึ่งแสดงว่าการตราพระราชกฤษฎีกาที่เป็นอำนาจขององค์กรฝ่ายบริหารนั้น อาศัยอำนาจได้ 2 ทาง คือ อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ กับอาศัยอำนาจตามกฎหมายระดับบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง
ข้อสังเกต พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญในความเห็นของผู้เขียน ถือว่า เป็นกฎหมายลำดับรอง ดังเช่นพระราชกฤษีกาที่ออกโดยพระราชบัญญัติ แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่า พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การกระทำทางการเมืองเพื่อให้ฝ่ายบริหารถ่วงดุลและคานอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติที่มีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา เป็นดุลพินิจฝ่ายบริหารอย่างแท้จริงไม่อยู่ภายใต้ตรวจสอบของอำนาจตุลาการ ส่วนการกระทำทางปกครองจะอยู่ภายใต้การตรวจสอบของอำนาจตุลาการ คือ ศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาที่น่าขบคิดถึงสถานะของพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจ มาตรา 230 วรรค 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายระดับลำดับรอง ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีดังกล่าว เป็นกฎหมาย เป็นที่มาของกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 27/2540 ในความเห็นผู้เขียนด้วยความเคารพศาลรัฐธรรมนูญผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าว เพราะเป็นการสร้างความยุ่งยากในเรื่องของการจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
2) กฎกระทรวง (Ministerial Regulations) คือ บรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งตราออกมาใช้บังคับ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
3) ประกาศกระทรวง (Ministerial Announce) คือ บรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง ตราออกมาใช้บังคับ
มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงนั้นต่างก็เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งนั้นเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันตรงที่กฎกระทรวงจะประกาศใช้ได้นั้นจำเป็นต้องผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี แต่ประกาศกระทรวงไม่ต้องผ่านการอนุมัติของรัฐมนตรี สามารถประกาศใช้ได้เลย
4) มติคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ที่มีสถานะเป็นกฎหมายลำดับรอง มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการและข้าราชการถือปฏิบัติเป็นการทั่วไป แม้ไม่มีผลโดยตรง แต่ส่วนราชการต่างๆสามารถนำมติคณะรัฐมนตรีไปใช้บังคับกับข้อเท็จจริงกรณีต่างๆให้เกิดผลทางกฎหมายได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็นกฎ เช่น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ที่เห็นชอบตามมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยด้วยการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐพิจารณาการขอเลขหมายโทรศัพท์ใหม่ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
อย่างไรก็ตามยังมีระเบียบที่เป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2502 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถออกระเบียบว่าด้วยเงินทดรองราชการได้ เป็นต้น
2. กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรที่สังกัดฝ่ายบริหาร คือ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรวิชาชีพ ดังนี้
1) ที่มาของกฎหมายระดับรองที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ (Public Enterprise) กฎหมายที่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจสามารถออกกฎระเบียบข้อบังคับภายในองค์กรรัฐวิสาหกิจแต่ละรัฐวิสาหกิจกับประชาชนที่ไปใช้บริการสาธารณะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนได้ เช่น ระเบียบข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น
2).ที่มาของกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์การมหาชน (Public Organization) ซึ่งองค์การมหาชน คือ องค์กรที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นมาให้อำนาจองค์การมหาชน ออกระเบียบข้อบังคับกับประชาชนที่ไปใช้บริการสาธารณะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนได้ ซึ่งกฎระเบียบข้อบังคับขององค์การมหาชนถือเป็นกฎหมายลำดับรอง ดังนั้นในการพิจารณาคดีสามารถอ้างอิงได้ ลักษณะเป็นองค์การมหาชน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น
3.) ที่มากฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่ 5 รูปแบบ ดังนี้ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล กรุงเทศมหานคร และเมืองพัทยาซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีกฎหมายที่จัดตั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 5 รูปแบบ จะบัญญัติมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกกฎหมายขึ้นบังคับกับราษฎรในเขตท้องถิ่นของตนได้ ซึ่งมีชื่อแตกต่างกันออกไปตามชื่อองค์กรที่ตราขึ้น ดังนี้
(1) ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎที่ตราขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) ข้อบัญญัติตำบล เป็น กฎ ที่ตราขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบล
(3) เทศบัญญัติ เป็น กฎ ที่ตราขึ้นโดยเทศบาล
(4) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็น กฎ ที่ตราขึ้นโดยกรุงเทพมหานคร
(5) ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็น กฎ ตราขึ้นโดยเมืองพัทยา
ข้อสังเกต กฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างกับกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรบริหาร คือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้บังคับเฉพาะท้องถิ่นของตน ไม่ได้บังคับทั่วราชอาณาจักรเหมือนกันพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวง
(6). ที่มาของกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยหน่วยงานที่รับมอบหมายให้ใช้อำนาจปกครอง เช่น องค์กรวิชาชีพต่างๆ เช่น สภาทนายความ ที่มีอำนาจออกและเพิกถอนใบอนุญาตว่าความกับทนายความ เป็นต้น กับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครอง ดังนี้ที่ได้รับมอบหมายให้ชอบอำนาจทางปกครอง เช่น สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการศึกษาในสถาบันแห่งนั้น เป็นต้น
2.1.3.2 กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรที่มิได้สังกัดฝ่ายบริหาร
กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรที่มิได้สังกัดฝ่ายบริหาร มีอยู่หลายองค์กรด้วยกัน คือ คณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหาร ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรสังกัดรัฐสภา ดังนี้
1.ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยคณะปฏิวัติบางฉบับ ที่มีฐานะบังคับเป็น “กฎ” คือ มีฐานะเป็นกฎหมายระดับกฎหมายลำดับรอง เช่น ประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 33 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 มีผลบังคับใช้เป็นระเบียบกระทรวง เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่แก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฏไทย พ.ศ.2536 เป็นต้น
2.ที่มาของกฎหมายระดับกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรศาล (Court) เช่น
1) กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยศาลยุติธรรม (Judicial Court) เช่น ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2550 เป็นต้น
2)กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยศาลปกครอง (Administrative Court) คือ กฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติมอบอำนาจให้ศาลปกครองเป็นผู้ออกกฎหมายลำดับรอง ได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุดอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีศาลปกครอง พ.ศ.2542 ได้ออกระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543 เป็นต้น
3. ที่มาของกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (Organization Under Constitution) เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11และมาตรา 13 และ มาตราแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 และมาตรา16 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2541 ออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตและคณะกรรมการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง เป็นต้น
4. ที่มาของกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรสังกัดรัฐสภา เช่น กฎระเบียบที่ออกโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กฎระเบียบที่ออกโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นต้น
2.2 แหล่งที่มาอันเป็นบ่อเกิดของกฎหมายมหาชนที่ไม่ได้บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
แหล่งที่มาอันเป็นบ่อเกิดของกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศไทย พิจารณาแหล่งที่มาอันเป็นบ่อเกิดของกฎหมายได้ 2 ลักษณะ คือ กฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรที่ในประเทศไทยยอมรับกับกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ที่นักกฎหมายบางคนยอมรับบางคนไม่ยอมรับ คือ คำพิพากษาบรรทัดฐาน ดังนี้
2.2.1 กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ประเทศไทยยอมรับ
แหล่งที่มาอันเป็นบ่อเกิดของกฎหมายมหาชนที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ประเทศไทยยอมรับ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
2.2.1.1 กฎหมายประเพณี
แหล่งที่มาอันเป็นบ่อเกิดของกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายประเพณี (Customary Law) ซึ่งแยกอธิบาย ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายประเพณี คือ เริ่มจากหลักศีลธรรมและเมื่อหลักศีลธรรมได้รับการประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมานานๆ ก็กลายมาเป็นประเพณีที่สำคัญ ซึ่งสังคมใช้อำนาจส่วนกลางของสังคมเข้าบังคับก็เป็นกฎหมายประเพณี และกฎหมายประเพณีในอดีต ผู้บัญญัติกฎหมายได้นำมาเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นจำนวนมาก
2. ความหมายของกฎหมายประเพณี คือ บรรดากฎเกณฑ์ที่กำหนดแบบแผนความประพฤติของบุคคล ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่บุคคลในสังคมประพฤติติดต่อกันมาอย่างสม่ำเสมอซ้ำๆ ซากๆ เป็นเวลาช้านานและบุคคลในสังคมมีความรู้สึกโดยทั่วกันว่ากฎเกณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและจำต้องปฏิบัติตาม
3. องค์ประกอบของกฎหมายประเพณี
1) องค์ประกอบภายนอก (Old Practices) คือ แนวทางปฏิบัติเก่าแก่ดั้งเดิมที่ได้รับการประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยคนในสังคม จึงเกิดความขลังกลายเป็นแนวปฏิบัติที่สังคมยอมรับและปฏิบัติตาม
2) องค์ประกอบภายใน (Opinio Juris) คือ แนวทางปฏิบัติที่บุคคลรู้สึกถูกต้องสอดคล้องกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่อยู่ในจิตใจของตน เพราะฉะนั้นจึงต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตาม แล้วจะมีความรู้สึกผิด ขึ้นมาในจิตใจแม้ไม่มีใครเห็นไม่มีพยานหลักฐาน
4. ประเภทของกฎหมายประเพณี มี 3 ประเภท คือ กฎหมายประเพณีทั่วไป กฎหมายประเพณีเฉพาะถิ่นและกฎหมายประเพณีเฉพาะอาชีพ ดังนี้
1) กฎหมายประเพณีทั่วไป คือ เป็นที่รับรู้ของคนทั่วราชอาณาจักร ซึ่งประพฤติปฏิบัติตามเหมือนกันหมด ซึ่งในประเทศไทยยังไม่ปรากฏแน่ชัดมากนัก แต่อาจมีลักษณะที่ใกล้เคียง เช่น ในกรณีนายกรัฐมนตรีรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรี เพียงแต่กำหนดว่าต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
2) กฎหมายประเพณีเฉพาะถิ่น (Customary Law) คือ เป็นที่รับรู้เฉพาะถิ่น เฉพาะภาค เช่น รวมตัวกันเป็นชุมชนเพื่อเพื่อนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ที่สามารถออกกฎเกณฑ์กำหนดในท้องถิ่น เช่น กฎเกณฑ์ในการจัดการป่าชุมชน เป็นต้น
3) กฎหมายประเพณีเฉพาะอาชีพ (Profesional Customer Law) หรือ กฎหมายแพ่ง เรียกว่า ปกติประเพณีทางการค้า ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นในวงการอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
2.2.1.2 หลักกฎหมายทั่วไป
แหล่งที่มาอันเป็นบ่อเกิดของกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ที่เป็นหลักกฎหมายทั่วไป (General Principle of Law) สามารถอธิบายหลักกฎหมายทั่วไปได้ดังนี้
1. ความหมายของหลักกฎหมายทั่วไป คือ เป็นหลักการใหญ่ๆ ที่เป็นรากฐานที่อยู่เบื้องหลังบรรดากฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นระบบกฎหมายของประเทศ โดยระบบกฎหมายของประเทศประกอบด้วยกฎเกณฑ์มากมาย ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและทั้งที่เป็นจารีตประเพณี เช่น หลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค หลักความได้สัดส่วน เป็นต้น
2. วิธีการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไป มีได้หลายวิธี เช่น
1) วิเคราะห์จากบทบัญญัติในกฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องเดียวกัน หรือเรื่องที่ใกล้เคียงกันหลายๆ ฉบับหลายๆ มาตรา โดยใช้กระบวนการให้เหตุผลในทางตรรกวิทยาหรือที่เราเรียกว่าอุปนัย (Induction) สกัดจากกฎเกณฑ์เฉพาะมาเป็นกฎหมายทั่วไป ซึ่งเราเรียกว่า หลักเกณฑ์ทั่วไป
2) การค้นหาจากหลักเกณฑ์ที่อาจจะเป็นสุภาษิตกฎหมาย หรืออาจจะเป็นหลักกฎหมายของต่างประเทศมาเทียบเคียงในกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรมาบังคับใช้
3) ค้นหาจากมโนธรรมภายในใจของผู้พิจารณาคดี คือ พิจารณาจากมโนธรรมภายในจิตใจของผู้พิพากษาว่าอะไรเป็นธรรมอะไรไม่เป็นธรรม ซึ่งจะมีอยู่ในจิตใจมนุษย์ทุก ๆ คนเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันโดยวิธีนี้จะใช้เมื่อการค้นหาวิธีแรกหรือวิธีที่สองไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งหรือไม่มีกฎหมายประเพณี
2.2.2 กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ประเทศไทยยังมีข้อโต้แย้ง
ที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ประเทศไทยยังมีข้อโต้แย้ง กันอยู่ คือ คำพิพากษาของศาลที่เป็นบรรทัดฐานและความเห็นนักวิชาการ ดังนี้
2.2.2.1 คำพิพากษาของศาลบรรทัดฐาน
“คำพิพากษาของศาล” หมายถึง คำพิพากษาที่มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี และเมื่อพิพากษาเสร็จเป็นอันจบ ส่วนคำพิพากษาของศาลบรรทัดฐาน หมายถึง คำพิพากษาบางฉบับที่มีเหตุผลดี เป็นที่ยอมรับทั้งของคู่ความในคดีและสาธารณชนทั่วไป ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวอาจจะเป็นตัวอธิบายตัวบทกฎหมายที่อ่านเข้าใจยากหรือแปลได้หลายนัย เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายของคนในวงการกฎหมาย รวมทั้งผู้พิพากษา ดังนั้นในคดีหลัง ๆ ผู้พิพากษาจึงพิพากษาคดีอย่างเดียวกันให้เป็นไปตามคำพิพากษาฉบับก่อนซึ่งมีเหตุผลดี คำพิพากษาฉบับก่อนก็จะเป็นคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานมีคำพิพากษาหลัง ๆ เดินตามอีกมากมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงคำพิพากษาฎีกาบรรทัดฐานเป็นบ่อเกิดของกฎหมายมหาชนหรือไม่ มีความเห็นเป็น 2 แนวทาง ดังนี้
แนวทางที่ 1 เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาบรรทัดฐานไม่ใช่บ่อเกิดของกฎหมาย เพราะเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ถือคำพิพากษาเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่เป็นเพียงความสมัครใจ และเห็นด้วยกับคำพิพากษา จึงตัดสินตามคำพิพากษานั้น ๆ และศาลก็ไม่มีความผูกพันที่จะต้องนำคำพิพากษามาพิพากษากับกรณีที่มีความผูกพันที่จะต้องนำพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกามาพิพากษาคดีในลักษณะที่จะปฏิเสธไม่บังคับใช้พิพากษาไม่ได้
แนวทางที่ 2 เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาบรรทัดฐานเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย เพราะการที่มีบุคคลอ้างอิงและปฏิบัติตามด้วยเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง จึงถือได้ว่าเป็นแนวปฏิบัติเก่าแก่ที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาจนเป็นกฎหมายประเพณี
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาศึกษาถึงคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลปกครองในประเทศฝรั่งเศสที่ใช้ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) (ซึ่งเป็นประเทศต้นแบบของศาลปกครองที่มีใช้อยู่ทั่วโลก) ถือว่าคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลปกครอง เป็นแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายปกครอง ซึ่งประเทศไทยได้เดินตามแนวคิดในการสร้างหลักกฎหมายปกครองของประเทศฝรั่งเศส ดังเห็นได้จากการวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ในเรื่องของ สัญญาทางปกครอง ที่ตีความขยายสัญญาทางปกครอง คือ “สัญญาทางปกครอง” หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือถ้าไม่ใช่หน่วยงานทางปกครองก็ต้องเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ แต่มาทำสัญญาแทนในนามรัฐ ซึ่งต้องเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่คู่สัญญาทำบริการสาธารณะหรือสัญญาที่จัดให้คู่สัญญาจัดทำสิ่งสาธารณูปโภคหรือสัญญาที่คู่สัญญาแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือสัญญานั้นจะต้องแสดงถึงเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
2.2.2.2 ทฤษฎีกฎหมายและความเห็นของนักวิชาการ
ทฤษฎีกฎหมายและความเห็นในทางวิชาการ ก็อาจเป็นที่มาของกฎหมายได้ เนื่องจากทฤษฎีกฎหมายและความเห็นทางวิชาการเกิดจากการที่นักวิชาการพยายามสร้างและอธิบายประเด็นปัญหาต่างๆในทางกฎหมายปกครอง เกิดการผลึกทางความคิดทางกฎหมายปกครอง ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัตินำหลักทฤษฎีและความเห็นในทางวิชาการไปแก้หรือสร้างหลักกฎหมาย หรือบางครั้งผู้พิพากษาก็นำหลักทฤษฎีและความเห็นทางวิชาการนำไปตีความกฎหมาย แล้วพัฒนามาเป็นหลักกฎหมาย
3 ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy of Law)
เมื่อเราทราบถึงที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายแล้ว เราพบว่ากฎหมายนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีศักดิ์ของกฎหมายนั้นแตกต่างกัน บางตำราเรียกลำดับศักดิ์ของกฎหมายว่า “ลำดับชั้นของกฎหมาย” หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายต่างกัน เช่น รัฐธรรมนูญออกโดยองค์กรผู้มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติก็ออกโดยรัฐสภา เช่นกัน ในขณะเดียวกันกฎหมายเหล่านี้ก็อาจมอบให้องค์กรอื่นออกกฎหมายได้เช่นเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมายในรูปของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงเพื่อความเหมาะสมบางประการ หรือ พระราชบัญญัติบางฉบับก็ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดออกกฎหมายเพื่อใช้ในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชอบ เป็นต้น
โดยปกติกฎหมายไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะมีกฎหมายจารีตประเพณีอยู่บ้างแต่ก็น้อยมาก ในบรรดากฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งหลาย ย่อมมีระดับชั้นต่างกัน ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายแม่บทในการวางระเบียบบริหารประเทศย่อมมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง
2. รองลงมาเป็นกฎหมายที่ออกและเห็นชอบของรัฐสภา เรียกว่า “กฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ” ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ประกาศคณะปฏิวัติที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ
3. กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหารและองค์กรฝ่ายปกครองที่อยู่ภายฝ่าบริหาร เช่น กฎหมายลำดับรองออกโดยรัฐวิสาหกิจ ออกโดยองค์การมหาชน ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกโดยองค์กรวิชาชีพ กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์ฝ่ายปกครองที่มิได้อยู่ใต้สังกัดฝ่ายบริหาร เช่น กฎหมายลำดับรองออกโดยศาล ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ออกโดยหน่วยงานสังกัดรัฐสภา
บรรณานุกรม
โกเมศ ขวัญเมืองและสิทธิกร ศักดิ์แสง “การศึกษาแนวใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ทั่วไป” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2549
จิรศักดิ์ รอดจันทร์ “กฎหมายภาษี : วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียตามระบบกฎหมายของไทย
และระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ” จุลสารคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภาค 2/ 2549
จุลกิจ รัตนมาศทิพย์ “ฎีกามหาชน : วาทกรรมว่าด้วยสังคม,กฎหมายและความยุติธรรมใน
ประเทศไทย เล่ม 4 ภาค 3 นิติวิธี” กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ล้านคำ จำกัด,2553
เดโช สวนานนท์ “พจนานุกรมศัพท์การเมือง :คู่มือการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย” กรุงเทพฯ : บริษัทหน้าต่างสู่โลกกว้าง,2545
นรนิตติ เศรษฐบุตร บรรณาธาร “สารนุกรมการเมืองไทย” กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร, 2547
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนาพาณิชย์ “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547
ปรีดี เกษมทรัพย์ “นิติปรัชญา” พระนคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่
2,2531
พรเลิศ สุทธิรักษ์และสิทธิกร ศักดิ์แสง “การมีส่วนรวมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน :
กรณีศึกษาเปรียบเทียบการเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540กับ2550” รายงาวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยตาปี 2552
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช “เอกสารการสอนชุด วิชา กฎหมายมหาชน” หน่วยที่ 1-7
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 10,2531
มูลนิธิวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครอง “ข้อพิจารณาเกี่ยว กฎ” กรุงเทพฯ : มูลนิธิ
วิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครอง, 2551
วิษณุ เครืองาม “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2530
วิษณุ วรัญญู,ปิยะศาสตร์ ไขว้พันธุ์, เจตน์ สภาวรศีลพร “ตำรากฎหมายปกครองว่าด้วยกฎหมาย
ปกครองทั่วไป” กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,2551
สมยศ เชื้อไทย “คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่งทั่วไปหลักทั่วไป : ความรู้กฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์วิญญูชน พิมพ์ครั้งที่ 8,2545
สิทธิกร ศักดิ์แสง “ศาลเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายได้หรือไม่ในระบบกฎหมายของไทย” วารสารข่าว
กฎหมายใหม่ ปีที่ 5 ฉบับที่ 83 พฤษภาคม 2550
สิทธิกร ศักดิ์แสง “ปัญหาผู้ตีความตามรัฐธรรมนูญ กรณีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” วารสารกฎหมายใหม่ วารสารกฎหมายรายเดือน ปีที่ 4 ฉบับที่ 73 กรกฎาคม 2549
อุทัย ศุภนิตย์ “ประมวลศัพท์ในกฎหมายไทยในอดีตและปัจจุบัน เรียงตามตัวอักษร” พระนคร :
สำนักพิมพ์ประกายพรึก,2525
「ประมวลรัษฎากร คือ」的推薦目錄:
ประมวลรัษฎากร คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
เครื่องมือทางการคลัง ในเรื่องรายจ่ายสาธารณะ
การคลังภาครัฐ นั้น รายจ่ายสาธารณะ จะเป็นตัวกำหนด รายได้สาธารณะ ดังนั้นจึงเริ่มศึกษา ที่รายจ่ายสาธารณะ ก่อน
นิยาม ( Definition = Def-n ) รายจ่าย เมื่อพูดถึง รายจ่ายของบุคคลทั่วไป ก็จะต้องยอมรับว่า ทุกคนมีสิ่งที่จะต้องใช้จ่ายเป็นรายจ่ายของบุคคลทั่วไป ดังนั้น เมื่อพูดถึง รายจ่ายสาธารณะ ในอดีต รายจ่ายจึงหมายถึง รายจ่ายขององค์การสาธารณะเท่านั้น (ปัจจุบัน แนวคิดนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว จะได้ศึกษากันต่อไป )
องค์การสาธารณะ ( Public Organization ) หมายถึง อะไร
องค์การ คือ หน่วยงานที่ถูกกำหนดอำนาจหน้าที่ อาจก่อตั้งขึ้นด้วย กม.คนละประเภทกัน เช่น องค์การเอกชนทั่วไป จะเกิดขึ้นโดย ปพพ. แต่ องค์การสาธารณะ จะถูกจัดตั้งตามกระบวนการของ กม.มหาชน เช่น พรบ.จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม องค์การเหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดย ปพพ. และถือเป็นองค์การสาธารณะ
สำนัก Classic กล่าวว่า รายจ่ายสาธารณะ คือ รายจ่ายที่เกิดจากองค์การสาธารณะ ที่เป็นนิติบุคคล ที่ก่อตั้งตาม กม.เป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเป็น รายจ่ายของ นิติบุคคลที่เป็นองค์การสาธารณะ ก็จะถือว่าเป็น รายจ่ายสาธารณะ ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้จ่ายโดยเอกชน ไม่ว่าจะเพื่อการใดแล้วก็จะไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายสาธารณะ
สำนัก ปัจจุบัน รายจ่ายสาธารณะ จะมองแตกต่างจาก สำนัก Classic ในปัจจุบัน จะพิจารณาว่า เป็นรายจ่ายขององค์การสาธารณะ รวมถึง รายจ่ายของเอกชน ที่ใช้อำนาจของรัฐในการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับรัฐด้วย( ทั้งนี้เพราะ แนวคิดที่ว่า การคลังภาครัฐและเอกชน ต่างเป็นส่วนประกอบของกันและกัน ) สมัยปัจจุบัน จึงไม่ได้มอง รายจ่ายสาธารณะ ตามนัยยะ ของ กม.อย่าง สำนัก Classic แต่อาศัยหลักทางสังคม เศรษฐกิจ เข้ามาพิจารณาด้วย
การคลังในปัจจุบัน คือ เมื่อมีการใช้จ่ายแล้ว จะเกิดผลกระทบ( Impact) ต่อ Social อย่างไร มากน้อยเพียงใด เก็บภาษีเท่าใด เกิดผลกระทบ( Impact) อย่างไร เป็นปัจจัย( Factor) สำคัญในเชิงสังคมวิทยา
เชิงสังคมวิทยา จะแบ่งบุคคลในรัฐ เป็น 2 ฝ่าย
1.ฝ่ายปกครอง จะมีอำนาจพิเศษ ตาม กม. คือ “อำนาจบงการ”
2.ฝ่ายที่ถูกปกครอง จะต้องปฏิบัติตาม อำนาจบงการ ตามข้อ 1
ฝ่ายปกครอง จะใช้อำนาจบงการ ได้แก่การกำหนด ให้เอกชนจ่ายภาษี( Pay tax )โดยออกเป็น กม. ภาษีอากร เช่น ประมวลรัษฎากร ของไทย เป็นต้น
ในเชิงเศรษฐศาสตร์ จะพิจารณาในแง่ที่ว่า การเก็บภาษี( Tax ) นั้น จะเกิดผลกระทบ( Impact) ต่อสังคมอย่างไร ในรูปของคุณภาพชีวิต (Quality of life) ของคนในสังคม
สรุป
1. สำนัก Classic รายจ่ายสาธารณะ คือ รายจ่ายขององค์การสาธารณะที่เป็นนิติบุคคลตาม
กม.
2. สำนักปัจจุบัน รายจ่ายสาธารณะ คือ รายจ่ายขององค์การสาธารณะ และองค์การ
เอกชน ที่มีอำนาจเรียกว่า “อำนาจบงการ” และ มีผลกระทบ( Impact ) ต่อคนในสังคมโดยส่วนรวม
เราจะเห็นได้ว่า องค์การสาธารณะในปัจจุบัน อาจไม่มีอำนาจ หรือ ไม่ได้ใช้อำนาจปกครองเลย ตัวอย่าง คือ องค์การรัฐวิสาหกิจ ( Public Enterprise ) เช่น องค์การแก้ว ของ กห. มีหน้าที่ผลิตแก้วขายอย่างเอกชนทั่วไป แต่มีเอกชนบางประเภท ที่มีอำนาจปกครอง หรืออำนาจบงการ เช่น แพทยสภา , สภาทนายความ ฯลฯ เป็นองค์การเอกชน( Private organization) ที่สามารถใช้อำนาจรัฐ ในการจำกัด และ อำนาจควบคุมการประกอบวิชาชีพของบุคคลได้ แนวคิดในปัจจุบัน จึงพิจารณาดูว่า องค์การนั้น ใช้อำนาจบงการด้วยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นองค์การสาธารณะ หรือ องค์การเอกชน เพราะเราคำนึงถึง Factor ทางเศรษฐกิจ และสังคมมาใช้ในการพิจารณาถึง สถานะของรายจ่ายสาธารณะด้วยนั่นเอง
แนวคิดทางการคลัง Classic – แบบเสรีนิยม
แนวคิดพื้นฐานของ Classic แบบเสรีนิยม
การที่ประชาชาติจะมีความอยู่ดีมีสุขได้ รัฐควรทำกิจกรรม( Activity ) ของรัฐ เฉพาะที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ และการระงับข้อพิพาทของประชาชนในรัฐเท่านั้น ฉะนั้น รัฐจึงไม่ควรแทรกแซงกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับทางเศรษฐกิจและสังคมเลย ควรปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทั้งหมด
สำนักนี้ เชื่อว่า ฝ่ายเอกชน จะมีความสามารถมากกว่าภาครัฐ ใน 2 เรื่อง คือ ประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ ( Productivity Efficiency ) และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ( Creative ) ดังนั้น รัฐจึงควรปล่อยให้เอกชนดำเนินการทั้งสิ้น เพื่อเกิดประสิทธิผล( effective ) สูงสุด เป็นประโยชน์แก่รัฐโดยรวม
แต่อย่างไรก็ตาม มีกิจการบางประเภทที่เอกชน ไม่สามารถดำเนินการเองได้ เช่น กิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ( Public interest) ในด้านการธำรงอยู่ของรัฐ เช่น การรักษามั่นคงและความสงบฯภายใน รวมถึงการระงับข้อพิพาทของเอกชนในรัฐโดยยุติธรรม ( ก็คือ งานด้าน ทหาร ตำรวจ และศาล นั่นเอง )
แนวคิด Classic รัฐจึงมีหน้าที่เพียง 3 ประการ ข้างต้นที่กล่าวเท่านั้น และถือว่าเป็นรายจ่ายสาธารณะที่จำเป็นของรัฐ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ รัฐจึงจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณไว้ให้พอเหมาะ โดยต้องใช้อำนาจในการหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการดังกล่าว
นอกจากนี้ รัฐจะต้องใช้อำนาจในการหารายได้ อย่างมีขอบเขต ไม่ใช่จะพยายามหารายได้ให้ได้มากเหมือนกับเอกชน เนื่องจากเอกชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อหารายได้ให้มากกว่ารายจ่าย(กำไร) รัฐต้องหารายได้อย่าง “พอเหมาะ” เท่านั้น คือ ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป
นักการคลัง Classic จึงได้วางหลักเกณฑ์ที่ว่า
1. รัฐต้องมี Activity ที่เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ( 3 ประการข้างต้น )
2. รัฐต้องเก็บภาษี ให้ได้เท่าที่พอเหมาะเพียงพอแก่รายจ่ายเท่านั้น
การที่ รัฐ สามารถใช้อำนาจบังคับเอกชนให้ จ่ายภาษีให้แก่รัฐ ฉะนั้น ถ้าปล่อยให้รัฐมีบทบาทาก ก็จะต้องเก็บ Tax มาก ประชาชนก็จะยากจนลง เป็นการทำลายกำลังซื้อ( Purchase of power) ของประชาชน นักการคลัง Classic จึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี
การใช้จ่ายภาครัฐ จะต้องกระทำโดยประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงสุด และต้องเก็บภาษีอย่างเป็นธรรมเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ( คำว่า เป็นธรรม นั้นจะได้ศึกษากันต่อไป ว่าเป็นอย่างไร )
¨ คำถาม
รายจ่าย ภาคเอกชน กับ รายจ่าย สาธารณะ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?
* แนวตอบ
ถ้าจะมองโดยพิจารณากันในรูป สัญญาต่างตอบแทน สมัย Classic ถือว่า ทั้งรายจ่าย
ภาคเอกชน กับรายจ่ายสาธารณะ ไม่แตกต่างกันเลย ทั้งนี้เพราะ รัฐ จ่ายเงินให้ จนท.ของรัฐ ดังนั้น จนท.ของรัฐ ก็จะต้อง ให้บริการแก่ประชาชนของรัฐ กลับคืนมา เช่นเดียวกับ รายจ่ายของภาคเอกชน ที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน เป็นการตอบแทนการทำงานของพวกลูกจ้าง
นอกจากนี้ ก็ต้องสร้างที่ทำการให้ฝ่ายรัฐ เช่นเดียวกับ ฝ่ายเอกชน ไม่เห็นมีความแตกต่างกันเลยในทุก ๆ ด้าน
เหตุผลที่ฝ่าย Classic พยายามจำกัด บทบาทของรัฐ ไว้เพียง 3 ประการ ข้างต้น เพราะเห็นว่า กิจการ 3 ประการนั้น เป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการดังกล่าว จึงเป็นรายจ่ายที่จำเป็นมีลักษณะเป็นการสิ้นเปลือง และมองรัฐเป็นเสมือนผู้บริโภค หรือ Consumer เนื่องจาก มองรัฐเป็นนิติบุคคล ต้องใช้จ่าย เป็นผู้บริโภคที่ไม่แตกต่างจากภาคเอกชนเลย
บทบาทของรัฐจะมีมากน้อยเพียงใด นั้นขึ้นอยู่กับแนวคิดของแต่ละสำนัก ถ้าเป็นนักการคลังสมัยปัจจุบัน ก็จะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ Classic ที่จำกัดบทบาทของรัฐไว้แคบแค่ 3 ประการ เพราะเห็นว่า ไม่เป็นการเพียงพออีกต่อไป เนื่องเอกชนต้องการให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการจัดทำ Activity ในด้าน Public Services ให้แก่ประชาชนมากขึ้น เช่น การจัดทำถนนหนทาง การสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ประชาชนโดยเสมอภาค เพราะเอกชนไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ เนื่องจากแนวคิดของเอกชน คือ การจัดทำกิจการใด ๆ เพื่อกำไรสูงสุด( Maximize Profit) เท่านั้น แต่การจัดทำบริการสาธารณะ( Public Services) เหล่านี้ เอกชนหากำไรไม่ได้ จึงไม่ยอมลงทุน แนวคิดนักการคลังปัจจุบัน จึงแตกต่างจากแนวคิดของสำนัก Classic เป็นอย่างมาก
สรุป แนวคิด Classic
1. แยกรายจ่ายภาครัฐ กับ เอกชน อย่างชัดเจน
2. รัฐ ควรทำกิจกรรม อย่างจำกัดขอบเขต และ มองการคลัง แบบ Closed System การเก็บภาษีทำให้เอกชนยากจนลง จึงควรเก็บภาษีอย่างพอเหมาะแก่บทบาทอันจำกัด
3. มองเอกชน มีความสามารถสูงกว่าภาครัฐ ทั้งในด้าน Productivity และ Creative
แนวคิดสมัยปัจจุบัน
โดยหลัก คือ มองตรงข้ามกับ สำนัก Classic กล่าวคือ
1. รายจ่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน เป็นส่วนประกอบของกันและกัน แยกกันไม่ออก
2. ปฏิเสธความคิดที่ว่า รัฐ คือ ผู้บริโภค
3. กิจกรรมบางอย่างเท่านั้น ที่เอกชน สามารถทำได้ดีกว่าภาครัฐ เพราะปรากฏข้อเท็จจริง ในทางเทคโนโลยีทางทหาร รัฐกลับเป็นผู้นำการผลิต และมีความคิดสร้างสรรค์ดีกว่าภาคเอกชน
4.มอง การคลังในลักษณะที่เป็น Dynamic ไม่ตายตัวอยู่ในระบบปิด เหมือน
Classic นโยบายการคลังเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐควรอัดฉีดเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบ ก็จะมีทำให้เอกชนได้รับประโยชน์จากการอัดฉีดเงินของรัฐในที่สุด เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
เกี่ยวกับแนวคิดการเก็บภาษี
สำนัก Classic
สำนักนี้ มองการเก็บภาษี( Tax) ว่า ทำให้รัฐได้เงินมาจากภาคเอกชน เข้ามาเป็นรายได้ของรัฐ ทำให้ประชาชนยากจนลง สำนักนี้ เปรียบเทียบการเก็บภาษีเหมือนตุ่มน้ำ 2 ใบ
ตุ่มน้ำ ใบแรก เป็นของภาคเอกชน ส่วน ตุ่มน้ำ ใบที่สอง เป็นของภาครัฐ ถ้ารัฐเก็บ Tax มาก ก็จะเหมือนการตักน้ำจากตุ่มของเอกชน ไปใส่ตุ่มน้ำของภาครัฐ ทำให้น้ำของเอกชนเหือดแห้งลง มีผลทำให้เอกชนเดือดร้อน
สำนักปัจจุบัน
การเก็บภาษี เปรียบเหมือนการเคลื่อนย้ายทุนจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง เท่านั้น และ รัฐ ก็จะนำเงินเหล่านั้นอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมในลักษณะที่เป็น Dynamic อย่างไม่ขาดสาย ทำให้ Tax เหล่านั้น กลับเข้าสู่ในระบบเศรษฐกิจ เป็นทุนในการพัฒนาประเทศ ไม่ได้ทำให้เงินทุนในตุ่มน้ำภาคเอกชนพร่องลงอย่างที่ฝ่าย Classic มองแต่อย่างใดเลย ไม่ได้ทำให้เอกชนยากจนลง ในทางกลับกัน ยิ่งทำให้ประชาชนมีงานทำ มี Purchase of Power มากขึ้น และส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด
นักการคลัง สมัยใหม่ จึงมองตรงกันข้ามกับฝ่าย Classic คือ ฝ่าย Classic ทำลาย Purchase of Power ในขณะสำนักปัจจุบัน มองว่า เป็นการนำเงินเข้ามาใช้ในระบบ ทำให้ภาคเอกชน มี Purchase of Power มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงที่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน และทำลายความคิดของสำนัก Classic จนหมดสิ้นไป เช่น Economic Crisis ในปี พ.ศ.2472 ทำให้ยุโรป และอเมริกา เดือดร้อน แผ่ขยายวงกว้างอย่างมาก ขยายมาถึงประเทศไทยด้วย
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic Crisis) ที่ว่านั้น เป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญ ท้าทายแนวคิดในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของ ทั้ง 2 สำนัก
1.ฝ่าย Classic จะเสนอแนะนโยบาย “รัดเข็มขัด” รัฐไม่ควรใช้จ่ายเงินเกินกว่ารายได้ที่ได้รับจากภาษีที่ถดถอยตามสภาวะทางเศรษฐกิจ และรอว่า สักวัน ระบบเศรษฐกิจ จะกลับฟื้นขึ้นมาเอง
ผล ทำให้วิกฤตการณ์ ( Crisis ) นั้นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยายตัววงกว้างมากยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้น ตรงกับสมัย ร.7 ประสบปัญหาอย่างรุนแรง จนต้องใช้นโยบาย ดุนยภาพ คือ ลดรายจ่ายภาครัฐโดยการปลดข้าราชการ , เอกชน ก็ปลดคนงานเลิกจ้าง มีผลทำให้คนไม่มีรายได้(income) ประชาชนขาด กำลังซื้อ (Purchase of Power )มีผลทำให้ ความเลวร้ายทางเศรษฐกิจ ยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก เศรษฐกิจยิ่งถดถอย ยิ่งทำให้เก็บ Tax ไม่ได้มากยิ่งขึ้น จึงสรุปได้ว่า แนวคิดของ Classic จึงไม่สามารถใช้แก้ไขปัญหาได้
2.ฝ่ายนักการคลังสมัยปัจจุบัน เชื่อในทฤษฎี “ผลทวีคูณของรายจ่าย” เมื่อมีการใช้จ่ายเงินในระบบ เงินนั้นก็จะมีการใช้จ่ายไปเป็นทอด ๆ 2-5 ทอด เกิดรายได้ภายในระบบเศรษฐกิจโดยรวม สมัยนั้น ประธานาธิบดี รุสเวล ได้นำความคิดนี้มาใช้ คือ แทนที่จะลดรายจ่ายภาครัฐ กลับใช้วิธีการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐมากยิ่งขึ้น คือ ตั้งงบประมาณ( Budget ) มากกว่ารายได้ หรือ งบประมาณเกินดุล โดยเน้นการสร้างสาธารณูปโภค ( Public works ) เช่น สร้างถนนหนทาง เป็นต้น โดยรัฐได้กู้เงินมาจากแหล่งต่าง ๆทั้งภายในและต่างประเทศ ผลทำให้ Policy นี้ เกิดการสร้างงาน รัฐไปจ้าง บริษัทเอกชน และเกิดการจ้างงาน ประชาชนจึงมีรายได้( Income) ทำให้เกิด Purchase of power ที่จะไปซื้อ Product ของเอกชนด้วยกัน ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาเจริญเติบโตขึ้นมาได้ นโยบายนี้ จึงปฏิเสธแนวคิดของสำนัก Classic โดยสิ้นเชิง
สำนักปัจจุบัน สร้าง Model เป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ คือ
รายได้รวม =รายจ่ายรวมของคนในสังคม ณ เวลาหนึ่ง
ดังนั้น รัฐ จึงอาจจำเป็นที่จะต้อง ก่อหนี้สาธารณะ เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต เป็นนโยบายการคลังของรัฐ นอกจากนี้ ยังพบว่า กิจการบางอย่าง เอกชน ไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับภาครัฐ เช่น เทคโนโลยีทางการทหารที่ต้องใช้ต้นทุนสูง และไม่เกิดผลกำไรแก่เอกชน ข้อสรุปของสำนักปัจจุบัน จึงไม่เชื่อแนวคิดของ Classic และ Private sector จะสร้างดำเนินกิจกรรมได้ดีกว่า Public sector หรือ ภาครัฐในบางอย่างเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องมาจาก มี Basic Concept ที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน คือ
1.Private sectorจุดเน้นที่Maximize Profit
2. Public sector ( State ) จุดเน้นที่Public Interests
สำหรับ แนวคิดที่ว่า รัฐควรจะมีบทบาทอย่างไรนั้น แล้วแต่ยุคสมัย ในอดีต เห็นว่า รัฐ
ควรดำเนินกิจการประเภท Public Enterprise (รัฐวิสาหกิจ ) มาก ๆ แต่ ปัจจุบันเน้นนโยบาย การแปรรูปให้เป็น Privatization มากยิ่งขึ้น
แนวคิดเกี่ยวกับ กลไกราคาของตลาด
1. Classic เชื่อว่า กลไกราคาของตลาด จะเป็นตัวกำหนดราคาสินค้า เพราะ กลไกราคา
ตลาด จะก่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง Demand / Supply ใน Market รัฐจึงไม่ควรแทรกแซงใด ๆ
ในความเป็นจริง ปรากฎว่า กลไกราคาตลาด Dis-function เพราะ ภาคเอกชน รวมตัวกันฮั้วราคา ทำให้กลไกราคาตลาดไม่มีทางเป็นจริงได้ ( เพราะยิ่งแข่งขัน ก็ยิ่งเสียหาย จึงรวมตัวกันกำหนดราคาหรือฮั้วดีกว่า )
2. สำนักปัจจุบัน มองการคลังภาครัฐ เป็น Policy ในการกระจายรายได้(Income Distributor ) แก่เอกชนโดยเท่าเทียม ( อาจารย์เรียกว่า พิพากรายได้ให้แก่ประชาชน )
การคลัง ภาคราษฎร์ หรือ ภาคเอกชน จะมี 2 ประเภท คือ
1. ภาคครัวเรือน เช่น การรับจ้างได้เงินเดือน
2. ภาควิสาหกิจ ได้แก่การทำงานหารายได้ของบริษัทเอกชน เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ เป็น
ต้น
à คำถาม การใช้จ่ายภาครัฐ กับภาควิสาหกิจเอกชน มีการกระจายรายได้ แตกต่างหรือ
เหมือนกันอย่างไร
· แนวตอบ การกระจายรายได้ของรัฐ มีทั้งเหมือน และไม่เหมือนกับภาคเอกชน
สำหรับ ภาคเอกชน เช่น ร้านขายอาหาร เมื่อขายสินค้าได้ ก็จะนำเงินเหล่านั้น ไปซื้อ
สินค้าที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ก็ถือว่าเป็นผู้กระจายรายได้ให้แก่บุคคลอื่นเช่นกัน ข้อสำคัญ ก็คือ การกระจายรายได้ภาคเอกชน นั้น เป็นไปตามรูปแบบของสัญญาต่างตอบแทน คือ จะต้องผลิตสินค้า และบริการให้แก่ผู้อื่น เพื่อแลกเปลี่ยนกับรายได้ มี Nature อยู่ที่ Maximize Profit แต่รายจ่ายของภาคเอกชน นั้น ขึ้นอยู่ปริมาณรายได้ มี Scale ไม่ใหญ่โตกว้างมากนัก ถ้าเห็นว่าไม่คุ้มทุน
ในภาครัฐ สินค้าและบริการ ที่รัฐผลิต จะมี 2 ลักษณะ คือ
1. สินค้าและบริการที่รัฐทำกิจการเหมือนเอกชนทำ กล่าวคือ ในบางกรณี Public Organization จำพวก Public Enterprise เช่น องค์การแก้ว ของ กห. จะผลิตแก้ว ขายแก่ภาคเอกชน การกระจายรายได้ของ Public Organization นี้ จะดำเนินกิจการตาม ราคาตลาด โดยต้องคำนวณต้นทุน และกำไร ในการผลิตสินค้า เช่นเดียวกับภาคเอกชน
2. สินค้าและบริการในรูป Public Goods (สินค้าสาธารณะ) Public Organization บางประเภท รัฐเข้ามาทำ Activity เพื่อประโยชน์มหาชน โดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหากำไร เช่น องค์การ ขสมก. คิดราคาค่าโดยสาร เพียง 3.5 บาท ทั้งที่ต้นทุนและราคาตลาดแพงกว่านั้นมาก อาจเป็น 20 บาท จะเห็นว่ามีส่วนต่างของราคาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะรัฐเชื่อว่า การแบกรักภาระนี้ จะทำให้เอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้น คือ เมื่อลดรายจ่ายเหล่านี้ลงได้ เอกชน ก็จะมี Purchase power มากขึ้นนั่นเอง
สรุป สิ่งที่ทำให้ รายจ่ายสาธารณะ ที่มีผลต่อการกระจายรายได้ ระหว่าง Public sector กับ Private sector มีความแตกต่างกัน จะมี 2 ประการ คือ
1. แตกต่างกันที่ Nature ของการผลิต Private sector เน้นที่ Maximize Profit และมีที่มา
จากสัญญาต่างตอบแทน แต่สำหรับ Public sector มีจุดเน้นที่ Activity of State คือ Public Interest โดยไม่คำนึงถึง Profit และไม่ได้เกิดจาก สัญญาต่างตอบแทน ทั้งนี้ เพราะ การที่รัฐมีอำนาจบงการให้ประชาชน Pay tax นั้น ประชาชนจะไม่ได้รับสินค้าและบริการสาธารณะจากรัฐตอบแทนสู่เขาโดยตรงและชัดแจ้ง แต่รัฐจะนำ Tax นั้นไปใช้ ผลิต Public Goods เพื่อ Public Interests ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของผู้เสียภาษีโดยตรงคนใดคนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น รธน. กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ ในการจัดการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับ (Composedly ) แก่ภาคเอาชนฟรี แม้ว่าพ่อแม่ของนักเรียนเหล่านั้นจะจ่ายภาษีให้แก่รัฐก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่า ถ้าประชาชนไม่จ่ายภาษีนั้น รัฐก็ไม่ต้องจัดการศึกษาให้ Public Goods นี้ จึงไม่ได้เกิดจากการจ่าย Tax โดยตรง ทั้งนี้รัฐจะไม่คำนึงถึง Profit แต่ถ้าเป็นการจัดการศึกษาภาคเอกชน ก็จะต้องคำนึง Cost and benefit การผลิตสินค้าก็จะต้องไม่ขาดทุนและมีกำไรสูงสุด
2. แตกต่างกันที่ Scale ในใช้จ่ายภารัฐ เช่น ในทางเศรษฐกิจแล้ว รัฐต้องมีการลงทุน
และใช้จ่ายเงิน ดังนั้น งบประมาณรายจ่ายสาธารณะของภาครัฐ จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นงบประจำ ที่ใช้จ่ายให้แก่ข้าราชการ หรืองบบริโภค ส่วนที่สอง เป็นงบลงทุน ในการลงทุนภาครัฐเพื่อ Public Interests ก็จะต้องจัดให้แก่ ทุกคนโดยเท่าเทียมกันหมด โดยเฉพาะในด้านการธำรงรักษาไว้ซึ่งรัฐ และความมั่นคง จะมีขนาดการลงทุนที่ใหญ่โตกว่าเอกชนมาก
ปัจจุบัน รายจ่ายภาครัฐ เปลี่ยนแปลงจากสำนัก Classic มาก จึงสรุปได้ว่า ในปัจจุบัน นักการคลังมองว่า รัฐควรมีหน้าที่อย่างน้อย 3 ด้าน คือ
1. หน้าที่เช่นเดียวกับ สำนัก Classic คือการักษาความมั่นคง,ความสงบ และการระงับข้อ
พิพาท
3. หน้าที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในภาค Macro เช่น การรักษาดุลยภาพทาง
เงินตรา,ดุลรายจ่าย และรายได้ของประเทศ
4. หน้าที่เป็นผู้กระจายรายได้( Distributor income ) คือ กระจายรายได้แก่ชนในสังคม
อย่างเท่าเทียม ถ้วนหน้า และ เหมาะสมเพียงพอ
ทั้งนี้ เราเชื่อว่า รายจ่ายสาธารณะ มีบทบาท ต่อ Income และ Purchase of Power มาก ในการศึกษา วิชาการคลัง จึงต้องทำความเข้าใจประเภทของรายจ่ายสาธารณะให้ชัดเจน ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับว่า รายได้ของรัฐแต่ละประเภท จะมีผล Impact ต่อประชาชนอย่างหลากหลายกันไป
การสร้าง Model ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดนี้ คือ
รายจ่ายรวม= รายจ่ายภาคราษฎร์ + รายจ่ายภาครัฐ
รายจ่ายภาครัฐ จะแยกได้เป็น 2 ประเภทอย่างหยาบ ๆ คือ
1. งบลงทุน
2. งบประจำ / การบริโภค
รายจ่ายทั้ง 2 ตัวนี้ จะมี Impact ต่อประชาชนแตกต่างกันไป
การจำแนกประเภทของรายจ่ายสาธารณะ
เหตุที่ต้องมีการจำแนกประเภทของรายจ่ายสาธารณะ เพราะ เป็นที่ยอมรับว่า รายจ่ายแต่ละประเภทจะส่งผลกระทบ ( impact ) ต่อ ระบบเศรษฐกิจ และสังคม โดยตรงแตกต่างกัน การจำแนกงบประมาณ เป็นประเภทต่าง ๆ จึงต้องการที่จะประเมินผล ( Evaluation ) ผลกระทบของรายจ่ายที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม
หลักเกณฑ์การจำแนกประเภทรายจ่ายสาธารณะ
แต่ละประเทศ จะมีหลักเกณฑ์ การจำแนกฯ แตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยแล้ว จะใช้หลักเกณฑ์นี้
1. การจำแนกตามลักษณะทางปกครอง
2. การจำแนกตามลักษณะทางเศรษฐกิจ
1. การจำแนกตามลักษณะทางปกครอง
รายจ่ายสาธารณะที่จำแนกแบบนี้ ยังสามารถแบ่งได้ออกเป็น
1) งบประมาณรายจ่ายตามหน่วยงานหรือองค์การสาธารณะใช้จ่าย เช่น งบประมาณ ของ
กระทรวง,ทบวง,กรม หรือส่วนราชการต่าง ๆ
2) งบประมาณรายจ่าย ที่แบ่งตามลักษณะงาน ได้แก่ รายจ่ายฯ ด้านการป้องกันประเทศ
การศึกษา สาธารณสุข สาธารณูปโภคต่าง ๆ การชดใช้หนี้เงินกู้ต่าง ๆ เป็นต้น
2. การจำแนกตามลักษณะทางเศรษฐกิจ
1) งบลงทุน
2) งบประจำ
ลักษณะพิเศษของงบประมาณที่จำแนกตามลักษณะทางเศรษฐกิจ
ผลกระทบของรายจ่ายที่เกี่ยวพันกับ รายได้รวมของประชาชนทุกคน จะมีความแตกต่างกันไปตามงบประมาณแต่ละประเภท เพราะ งบลงทุน จะก่อให้เกิดผลรายได้รวมขั้นต่อ ๆ ไป มากกว่ารายจ่ายหรืองบประจำ ( ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว จะเรียกว่า “ผลทวีคูณด้านลงทุน” ที่เชื่อว่า ถ้ามีการใช้จ่ายลงทุน 100 บาท และได้มีการหมุนเวียนไป 7 ครั้ง จะก่อให้เกิดรายได้รวม เป็น 2 เท่าของรายจ่าย )
นอกจากนี้ ลักษณะรายจ่ายที่จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ ยังสามารถจำแนกได้อีกรูปแบบหนึ่ง คือ
1) งบประมาณรายจ่าย ที่มีผลกระทบต่อปัจจัยการผลิต ได้แก่ การลงทุนด้านการ
จ้างแรงงาน ( men) การใช้จ่ายเงินงบประมาณรูปแบบต่าง ๆ ( money ) ,การลงทุนด้านวัตถุดิบ ( material ) และเครื่องจักรกล ( machine ) : ซึ่งถือเป็นปัจจัยในการผลิต การใช้จ่ายเงินของภาครัฐ ในการจ้างข้าราชการ ก็จะมีผลเหมือนกับการจ้างคนงานในภาคเอกชน ก่อให้เกิดกำลังการซื้อและบริโภค , การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ จะส่งผลต่อการจ้างงาน การใช้วัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบต่าง ๆ เป็นต้น
2) งบประมาณรายจ่าย ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อปัจจัยการผลิต ได้แก่ เงิน
สนับสนุน หรือเงินโอน ( Transfer ) ผู้จ่าย/รัฐ ไม่ได้อะไรตอบแทนกลับมาที่ส่งผลต่อปัจจัยการผลิต ตัวอย่าง การส่งสินค้า (ข้าว) ออกไปยังต่างประเทศ ปรากฎว่าราคาสินค้าไทยสูงกว่าต่างประเทศอยู่ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้การส่งออกสินค้าแข่งขันกับต่างประเทศได้ รัฐไทยจึงสนับสนุนเงินจำนวนนั้น ให้แก่ผู้ส่งออกแล้วให้ผู้ส่งออกขายสินค้าไทยในราคาเท่ากัน หรือ ราคาที่แข่งขันกับต่างประเทศได้
จากการที่ได้ศึกษามาแล้ว จะเห็นว่า รายจ่ายสาธารณะ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมแตกต่างกันไป สมมุติว่า ฝ่ายเอกชนมีการลงทุนก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มากมาย แล้ว ความต้องการใช้แรงงาน วัตถุดิบ ฯลฯ ก็จะสูงด้วย ถ้าฝ่ายรัฐ ยังใช้จ่ายงบทุนต่าง ๆ แข่งกับภาคเอกชนแล้ว ก็จะทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน,วัตถุดิบ เกิดการแก่งแย่ง ราคาสูง ดังนั้น รัฐจึงต้องเป็นผู้ควบคุม การใช้งบประมาณรายจ่ายเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสมดุล ดังนั้น นโยบายในด้านรายจ่ายสาธารณะ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการวางแผนพัฒนาประเทศ ( อย่างไรก็ตาม หลักนโยบายการคลัง ดังกล่าว เป็นเพียงทฤษฎีที่สามารถปฏิบัติได้ยาก)
ประโยชน์ของการจำแนกรายจ่ายสาธารณะ
1. ก่อให้เกิดความเข้าใจว่า การใช้จ่ายงบประมาณ จะสะท้อนให้เห็นถึง นโยบาย การบริหารประเทศของรัฐบาลในคณะต่าง ๆ ถึงกับมีคำกล่าวว่า “งบประมาณรายจ่าย คือ แผนปฏิบัติงานของรัฐบาล ที่แปลงออกมาเป็นตัวเงิน” และ “ไม่มีผลงาน ถ้าไม่มีใช้จ่ายงบประมาณ”
2. ทำให้ทราบว่า ฝ่ายประจำมีบทบาท และอิทธิพลในการกำหนดรายจ่ายสาธารณะ
อย่างไร เพราะจะเป็นฝ่ายให้ข้อมูล พร้อมทั้งนำเสนอยัง รมว.ที่ว่าการกระทรวงฯ นั้น ๆ ให้นำเสนอต่อ รัฐสภาอนุมัติ
3. เป็นการพัฒนาประชาธิปไตยไปในตัว ถ้าคนให้ความสนใจงบประมาณของรัฐ ก็จะ
แสดงว่า ประชาชน ให้ความสนใจการบริหารงานของรัฐบาลด้วย จึงเป็นการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยแสดงความเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายการคลังกับรัฐบาล หรือ ฝ่ายค้าน ที่อภิปรายการใช้งบประมาณแผ่นดินในรัฐสภา และแสดงประชามติได้โดยผ่านกระบวนการทางการเมือง ( เช่น การเลือกตั้ง ฯลฯ )
เมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับรายจ่ายสาธารณะแล้ว ว่ามีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ไม่ว่ารายจ่ายประเภทใด แต่จะมีผลแตกต่างกัน จะมีคำถามคือ รายจ่ายนั้นได้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ถ้ามองเพียงตัวเลขจะเห็นว่า รายจ่ายสาธารณะจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในทางความเป็นจริง จะต้องพิจารณาตัวบ่งชี้ คือ ดัชนีค่าครองชีพ กล่าวคือ สมมติว่า งบประมาณรายจ่ายปีนี้ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3 % แต่ดัชนีค่าครองชีพแพงกว่าปีก่อน 0.5% ก็แสดงว่า งบประมาณเพิ่มขึ้นเพียง 2.5 %
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบเรื่องค่าของเงินที่เปลี่ยนไป เช่น เงินเฟ้อ ( Inflation ) คือต้องใช้เงินจำนวนที่มากขึ้น ในการซื้อสินค้าตัวเดิม ( ซึ่งจะไปศึกษาต่อไปในเรื่องดุลยภาพงบประมาณ )
สาเหตุที่ทำให้รายจ่ายสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
1. ค่าใช้จ่ายด้าน การทหารและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพิ่มมากขึ้น เช่น การสั่ง
สมกำลังอาวุธ ( มีทั้งผลดี-ผลเสีย ผลเสียคือ ถ้าไม่สั่งสมอาวุธ ราคายางพารา,ดีบุก ฯลฯ ก็จะตกลง เป็นต้น )
2. รัฐได้เพิ่มบทบาทต่อสังคมมากขึ้น เช่น ด้านการศึกษา ภาคบังคับเพิ่มขึ้น ฯลฯ
3. Concept หรือ Policy ทางการคลัง ได้เปลี่ยนแปลงไป จากสำนัก Classic มาเป็นสำนัก
สมัยใหม่ ที่มองว่าการคลัง ภาครัฐ และเอกชน เป็นส่วนประกอบกัน การเก็บภาษีมาจากเอกชน ก็นำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ นำมาก่อสร้าง Infrastructure ต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง ฯลฯ ก็จะกระจายรายได้แก่เอกชน ทำให้ระบบเศรษฐกิจเติบโต ไม่ได้ทำให้ ภาคเอกชนยากจนลงแต่อย่างใด
ประมวลรัษฎากร คือ 在 TaxBugnoms - หน่วยงานแรก คือ "กรมสรรพากร" เรียก ... - Facebook 的推薦與評價
กรมสรรพากรจะจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคภายในประเทศ โดยจัดเก็บตามกฎหมายที่เรียกว่า "ประมวลรัษฎากร" โดยมีอยู่ 5 ประเภทภาษี คือ ... ... <看更多>
ประมวลรัษฎากร คือ 在 ประมวลรัษฎากรคืออะไร ? #วุ้นแปลภาษี #TAXBugnoms - YouTube 的推薦與評價
ประมวลรัษฎากรคือ อะไร ? #วุ้นแปลภาษี #TAXBugnoms. 121 views · 17 hours ago ...more ... ... <看更多>