ผลการศึกษา การใช้ AZ + pfizer อันล่าสุดจาก เกาหลีใต้ พบว่าการฉีดสูตรผสมแบบนี้ (เป็นสูตรที่มีการทดลองมาจากทางฝั่งยุโรปและอเมริกาแล้ว) พบว่า ระดับภูมิต้านทาน สูงกว่าการฉีดแบบ AZ + AZ ประมาณหกเท่า สอดคล้องกับการวิจัยจากทางฝั่งอังกฤษอันล่าสุดนะเนี่ย
ผลการศึกษา 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
สำหรับบางคนที่สนใจวัคซีนโรคโควิด ตัวใหม่ล่าสุดคือ Novavax โนวาแวกซ์ ซึ่งใช้วิธีการสังเคราะห์โปรตีนหนามของไวรัสมาฉีดเข้าร่างกายโดยตรง
ผลการศึกษา จนถึงปัจจุบันนี้ พบว่ามีประสิทธิภาพดีมาก น่าสนใจมากๆ และอาจจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าตัวอื่นด้วย
แต่ ๆๆ ถ้าไทยเราสนใจจะสั่งซื้อ คงต้องรออีกนานมาก เพราะเขาจะผลิตให้กับโครงการ COVAX โคแวกซ์ ก่อน (ซึ่งไทยเราเป็นชาติเดียวในอาเซียนที่ถอนตัวออกมา)
ผลการศึกษา 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
#ช่วยลูกอย่างไรในช่วงรอยต่อระหว่างอนุบาลและประถม
ต่อจากโพสต์อนุบาลบูรณาการหรือวิชาการ
ที่หมอได้ยกปัญหา เรื่องของความแตกต่างระหว่างเด็กที่เรียนอนุบาลแบบเน้นเล่น กับอนุบาลวิชาการ
เมื่อมารวมกันในชั้นประถมเดียวกัน
》》 เด็กที่ไม่เคยเรียนเขียนอ่าน มาเริ่มนับ 1 ในชั้นประถม ก็ตามเพื่อนไม่ทัน
》》 เด็กที่เรียนแนววิชาการมาก่อน ทำได้ดีกว่าเพื่อน แต่ต้องมาเรียนเรื่องซ้ำๆ ทำให้เด็กบางคนเบื่อ ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน
คุณพ่อคุณแม่ให้ความสนใจในประเด็นนี้กันมาก
จนหมอต้องเชิญเพื่อนมาพูดคุยใน clubhouse
- คุณเกื้อ (บรรณาธิการสำนักพิมพ์สานอักษร โรงเรียนรุ่งอรุณ)
- แม่บี (นักวิจัยอิสระด้านการศึกษาทางเลือก และผู้ก่อตั้ง Flock Learning)
- แม่แหวน (เจ้าของร้านหนังสือ Bluedoor ที่มีประสบการณ์ย้ายโรงเรียนให้ลูก 4 ครั้ง จากแนวบูรณาการ-โรงเรียนอินเตอร์)
ในการพูดคุยครั้งนั้น มีคุณแม่ท่านอื่นๆ และผู้รู้มาแลกเปลี่ยนกันอีกหลายท่าน
.
ตามสัญญาค่ะ มาสรุปให้อ่านกัน
(file เสียงคุณภาพแย่มาก ไม่เหมาะจะเผยแพร่)
========== PART 1 ปัญหา =============
ใจความสำคัญที่พูดคุยใน clubhouse
คุณพ่อคุณแม่ มักจะกังวล ว่า
หากเราเลือกอนุบาลแบบบูรณาการให้กับลูก
จะมีปัญหาตอนที่เข้า ป.1
ซึ่งคงต้องบอกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นจริง
ปัญหานั้น เกิดได้จากหลายปัจจัย
มิใช่แค่เรื่องของแนวการสอนที่ต่างกัน
สรุปปัจจัยต่างๆ ได้แก่
👉1. ตัวเด็กเอง
ปัจจัยนี้สำคัญที่สุด
ต้องยอมรับว่า มีเด็กบางคนที่ปรับตัวได้เร็วมาก
ในขณะที่เด็กบางคนปรับตัวได้ช้า
การเปลี่ยนผ่านจากวัยอนุบาล ไปเป็นเด็กวัยประถม
ตัวเด็กเองมีแรงกดดันจากความคาดหวังของผู้ใหญ่รอบตัวมากขึ้น พ่อแม่ คุณครู ปู่ย่าตายาย
แม่แหวน เล่าว่า
แม้ลูกสาวจะย้ายโรงเรียนจากแนวบูรณาการมาเป็นโรงเรียนอินเตอร์ ซึ่งในสายตาของพ่อแม่ส่วนใหญ่ ก็ต้องคิดว่าไม่ได้เน้นวิชาการทั้งคู่
แต่เพราะเป็นเด็กที่ละเอียดอ่อนก็ต้องการเวลาในการปรับตัวเช่นเดียวกัน
สิ่งที่จะทำให้เด็กผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ คือ
พ่อแม่ต้องเข้าใจในนิสัย บุคลิกของลูก
และทางโรงเรียนควรจะมีระบบในการ support
เด็กที่ช้าในบางด้าน
โดยที่ไม่ตีตราว่า เป็น เด็กไม่เก่ง เป็นเด็กช้า
มีตอนหนึ่งแม่แหวนเล่าว่า ปรึกษาอ.ประภาภัทร (รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์และผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ) ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าโรงเรียนแนวไหนเหมาะกับลูก และจะเกิดปัญหาน้อยที่สุด อาจารย์กล่าวว่า “ไม่มีทางรู้หรอก เราต้องเรียนถูกเรียนผิดไปพร้อมกับลูก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น มันแก้ได้ทั้งนั้น อย่าไปกลัวว่าจะเกิดปัญหา ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราไม่ได้ลอง”
👉2. สิ่งที่พ่อแม่ให้คุณค่า
ปัจจัยนี้มีความสำคัญไม่แพ้กัน
แม่บี (นักวิจัยอิสระด้านการศึกษาทางเลือก และผู้ก่อตั้ง Flock Learning) เล่าว่า แม่บีอยู่ในวงการการศึกษามานาน ได้คลุกคลีอยุ่ในระบบการศึกษาทางเลือก และปัจจุบัน จัดการศึกษาบ้านเรียนให้กับลูกทั้งสองคน
แม่บีพบว่า ปัญหาเรื่องรอยต่อหรือ
ปัญหาเรื่องการเรียนรู้ของลูก
ส่วนหนึ่ง และเป็นส่วนที่สำคัญมาก
คือ ความคิดของพ่อแม่
ถ้าพ่อแม่ให้ความสำคัญกับสิ่งไหน
แล้วลูกยังทำได้ไม่ใกล้เคียงกับความคาดหวัง
จะเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเรียนรู้ในแนวทางไหนก็ตาม
เด็กที่เรียนในระบบ มีหลักสูตรชัด
มีสิ่งที่เด็กต้องทำได้อย่างชัดเจน
ความคาดหวังเรื่องการเรียนก็จะมองเห็นได้ชัด
ปัญหาก็จะเห็นได้ชัดกว่า
แต่ไม่ได้หมายความว่าการเรียนในระบบอื่นไม่มีปัญหา แม้จะเป็นเด็กโฮมสคูล ถ้าพ่อแม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการเรียน ก็จะเน้นทางนั้น
ถ้าพ่อแม่ให้ความสำคัญกับการเล่น ซีเรียสกับการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้มากๆ เช่น ต่อเลโก้ เล่นดนตรี เด็กก็จะถูกคาดหวังกับสิ่งนั้นอยู่ดี
(เครียดเรื่องลูกเล่นไม่พอ ก็มีนะเออ😅)
แม่บีคิดว่า
#พ่อแม่ควรคืนอำนาจในการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ
เราทำได้เพีงช่วยเหลือ จัดหาสิ่งต่างๆ จัดสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เด็กได้สร้างการเรียนรู้ของตัวเองให้เต็มศักยภาพ
• ครูก้า เสริมว่า พ่อแม่ควรกลับมาดูที่ครอบครัวเรา
ว่าเราต้องการได้ผลลัพธ์อะไรกับชีวิตของลูก
และคิดว่าการคิดในกรอบเก่าๆ ต้องเข้าโรงเรียนแบบนี้ ต้องเรียนให้ได้ระดับนี้ ถึงจะประสบความสำเร็จ อาจจะใช้ไม่ได้ในยุคปัจจุบัน
ในฐานะที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลที่เน้นให้เรียนรู้ผ่านการเล่น ก็ต้อง balance และต้องสื่อสารกับผู้ปกครอง เพราะบางครั้งก็ต้องบริหารความคาดหวังของพ่อแม่ว่า ลูกจะต้องรู้อะไรในวัยไหน
👉3. ระบบการศึกษา และการสอบแข่งขัน
ต้องยอมรับว่า
เมื่อคุณภาพของโรงเรียนที่ไม่เท่ากัน
ทำให้เกิดช่องว่าง เกิดความต่างในระบบ
ผู้ปกครองย่อมต้องการให้ลูกเรียนในโรงเรียนที่ดี
ดังนั้น เด็กที่อยากเข้าเรียน กับจำนวนนักเรียนที่รับได้ ไม่สมดุลกัน
เกิดเป็นระบบแพ้คัดออก
ต้องแข่งขันเรียนให้เร็วกว่าตั้งแต่เด็ก
คุณเกื้อเล่าว่า การสอบเข้าป.1 รับเอาวิธีการคัดเลือกคนเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยมาใช้
เพราะในสมัยก่อน (ย้อนกลับไปสัก 60 ปี)
เด็กป.1 ไม่ได้เป็นวัยที่ถูกคาดหวังให้อ่านหนังสือออกอยู่แล้ว
คุณครูระดับประถม 1 ทุกคน
รู้ข้อนี้ดี จึงไม่ได้เกิดความคาดหวัง
เด็กทุกคนก็ต้องมาสอนอ่านเขียนใหม่
ระดับมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น มีจำนวนที่นั่ง น้อย
จึงต้องใช้ระบบการสอบคัดเลือก
แต่ไปๆมาๆ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อจำนวนที่นั่งในโรงเรียนประถม
น้อยกว่าจำนวนผู้สมัคร
จึงใช้วิธีสอบคัดเลือกเอาคนที่ทำคะแนนได้มากที่สุดเป็นเกณฑ์ แม้ด็กที่เข้ารับการคัดเลือก คือ เด็กอนุบาล🥲 ซึ่งผิดหลักพัฒนาการเด็กมาก
ที่ให้เด็กในวัยนี้มาฝึกทำข้อสอบ ฝึกอ่าน ฝึกเขียน และพลาดโอกาสที่จะได้พัฒนาสิ่งสำคัญที่ต้องมีติดตัวไปใช้ตลอดชีวิต คือ ความอยากรู้อยากเห็น และจินตนาการ
👉3. ท่าทีของครู
ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ถ้าครูไม่เข้าใจพัฒนาการของเด็ก
และเผลอตัดสินความเก่ง ความสามารถของเด็กจากคะแนน หรือความเร็วที่ใช้ทำความเข้าใจบทเรียน เด็กที่เรียนในระบบที่เน้นการเล่น จะกลายเป็นเด็กช้าในห้องเรียน เพราะเด็กที่เคยเรียนมาก่อน จะต้องทำได้ดีกว่าอยู่แล้ว
แท้จริง มันไม่ได้หมายถึงสติปัญญาหรือปัญหาในการเรียนรู้ แต่มันคือ จำนวนครั้งของการทำซ้ำ มันต่างกัน
หากคุณครูเข้าใจ ปัญหาจะเบาบางลง
เพราะการจัดการเรียนรู้ที่ดี
ทำให้เด็กๆ ได้เห็นว่า พวกเค้าต่างก็มีจุดแข็งกันคนละแบบ บางคนอาจจะคิดเลขเร็ว
บางคนอาจจะวาดรูปสวย
บางคนอาจจะร้องเพลงเพราะ
ต้องมองให้เห็นว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่นอย่างไร ส่วนส่วนที่เค้ายังต้องพัฒนา ก็ค่อยๆสอนกันไป โดยไม่ตีตราเด็ก
#ครูที่เก่งสอนเด็กให้เก่งขึ้น
#แต่ครูที่ประเสริฐสุด_จะสอนให้เด็กทุกคนรู้ว่าตัวเองเก่งอย่างไร
👉4. ปัจจัยอื่นๆ เช่นการแพร่ระบาดของ COVID-19 หมอก็มองว่าทำให้เด็กๆต้องแบกรับความเครียดในการเรียนมากขึ้น การเรียนออนไลน์ในเด็กเล็กก็ไม่เหมาะ การที่เวลาเรียนมีจำกัด ก็ตัดกิจกรรมสันทนาการออกก่อนกิจกรรมวิชาการ ทำให้เด็กบางส่วน ไม่ได้โชว์ความสามารถของตัวเอง เป็นต้น
========= PART 2 แก้ปัญหา ===========
#แนวทางการแก้ไข สิ่งที่หมอทำ
👉1. วิเคราะห์ปัญหา
เราต้องรู้ดีที่สุดว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาของลูกเราคืออะไร
ตัวเด็กเอง ความคิดของเรา หลักสูตรของโรงเรียน หรือ ครู
หมอรู้ว่าเวลาเกิดปัญหาบางครั้งมันพันกันอีรุงตุงนังเหมือนเชือกพันกัน
แต่เราต้องแก้ปมแรกให้ได้ก่อน ปมที่เหลือถึงจะง่ายขึ้น
ในกรณีของหมอ หมอแก้ที่ตัวอง และตัวเด็ก
เพราะปัจจัยอื่น มันไม่ต้องแก้ คิดว่าโรงเรียนใช้หลักสูตร OK แล้ว ไม่คิดจะย้ายโรงเรียนแน่ๆ คุณครูก็สื่อสารกับเราได้ดี
เด็กที่บ้านนี้ มีสิ่งที่ต้องพัฒนา คือ เค้าต้องสามารถทำงานให้สำเร็จให้ได้ในเวลาที่กำหนด ที่ผ่านมาเป็นการเล่นอิสระ ไม่ได้มีใครให้ความสำคัญกับใบงาน เค้าก็ไม่รู้ว่าเมื่อประถม งานที่ครูสั่งให้ทำ ต้องทำให้เสร็จโดยมีเวลาเป็นตัวกำหนด เมื่อคุณครู comment
เราคิดว่าสิ่งนี้สำคัญจริง ต่อการทำงานในอนาคต
ก็สอนเค้า ค่อยปรับให้เห็นความสำคัญของเวลา ใช้หลายวิธี
ก็ค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ
ปมที่ 2 ของหมอที่ช่วยลูก คือเรื่องวิชาการ
หมอคิดว่าฐานที่สำคัญของ ป.1 เลย คือการอ่าน ก็สอนลูกเองที่บ้าน
ใช้จุดแช็งที่เค้าเป็นคนชอบอ่าน สอนหลักการอ่านทีละนิด
เลือกนิทานที่ให้เค้าอ่านได้แล้วเกิดความภูมิใจ
แล้วค่อยๆเพิ่มระดับความยากขึ้นทีละนิด
ตอนนี้การอ่านพัฒนาขึ้นมาก แม้จะยังไม่คล่อง
แต่เมื่อย้อนรอยเทียบกับตัวเค้าเองที่จุดตั้งต้น
เค้าพัฒนาได้ไกลและเร็วมากแล้ว
หมอให้เค้าดู VDO ตอนตัวเองหัดอ่านแรกๆ เทียบกับปัจจุบัน
เจ้าตัวยิ้มภูมิใจมาก
👉2. อย่ากลัวปัญหา
เพราะไม่ว่าจะเรียนโรงเรียนอะไร ระบบอะไร หรือแม้แต่ homeschool
ก็เกิดปัญหาได้หมด เปลี่ยนตัวเองเป็น นักแก้ปัญหา
(ในคลับเฮ้าส์คืนนั้น นอกจาก แม่แหวน แม่บี คุณเกื้อ ครูก้า ยังมีผู้ฟัง แม่บิว ที่ลูกเรียนแนวบูรณาการทั้งหมด คุณครูที่เป็นนักจิตวิทยาประจำโรงเรียนมาแชร์ว่า ไม่ว่าระบบไหน ก็มีปัญหาตอนเปลี่ยนผ่านจากวัยอนุบาลและประถมทั้งนั้น)
ซึ่งหมอคิดว่า
การที่ลูกได้เห็นมุมมองของเราต่อปัญหาต่างๆ
ทำให้เค้าเรียนรู้ วิธีคิดนี้ไปด้วยนะคะ
คำติดปากของลูกสาวคือ “ปัญหามีไว้แก้ไข”
และหมอก็ขอบคุณเค้าเสมอที่เค้าเป็นเด็ก ไม่กลัวปัญหา
👉3. การสื่อสารที่ดีกับคุณครูของลูก
ครูคือทีมเดียวกับพ่อแม่
ถ้าผลลัพธ์ของการผ่านชั้นเรียน คือ
#ทำให้เด็กคนหนึ่งสามารถพัฒนามากขึ้น
พ่อแม่ กับคุณครู ต้องช่วยกัน
หมอไม่มองว่าคำพูดของคุณครู คือ คำตัดสินในตัวเด็ก เพราะเรารู้จักลูกของเราหลายแง่มุมกว่าคุณครู
และก็ไม่มองว่า #ความคิดของตัวเองสำคัญกว่าความเห็นคุณครู
เวลาได้รับคำ comment ไม่ว่าบวก หรือ ลบ
จะเลือก feedback ที่มีประโยชน์กับตัวเด็ก
และ บอกให้ลูกรู้
ถ้าเป็นคำชม ก็ชื่นชมในความพยายามของเค้า ให้เกิด growth mindset
ถ้าเป็น comment ลบ ก็สื่อสารกับครูแล้วหาข้อสรุปที่เด็กสามารถพัฒนาตัวเองได้เป็นข้อๆ และชี้แนะ จับมือให้เค้าทำทีละข้อๆ
👉4. เก็บรักษาความภาคภูมิใจในตัวเด็ก
อย่าให้ความสำคัญกับชีวิตการเรียนของลูกมากๆ
จนลืมมุมดีอื่นๆของเค้าไป
เป็นตัวอย่างให้เค้าเห็นว่า
#เราเป็นพ่อแม่ที่มองกว้าง
การเรียนก็สำคัญก็จริง
แต่เป็นแค่ part หนึ่งของชีวิต
ที่บ้านลูกทำอะไรได้ดี ก็ให้เค้าได้ทำต่อ
ที่บ้านหมอ เด็กชอบเลี้ยงสัตว์ ก็ชื่นชมในจุดแข็งนี้ของเค้าและจัดเวลาให้เค้าทำสิ่งนั้น โดยไม่ห้าม
ไม่คิดว่าสิ่งนั้นสำคัญน้อยกว่าการเรียนในโรงเรียน
เด็กต้องการความรู้สึก ว่า “ฉันเป็นคนที่ใช้ได้”
ฉันทำบางสิ่งบางอย่างได้ดี
สิ่งนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนเสมอไป
ถ้าเค้ารู้สึกว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง
ก็ส่งเสริมสิ่งที่เค้าเก่ง
เป็นการบอกโดยนัยว่า "ลูกรัก แม่ให้ลูกได้ใช้เวลากับสิ่งที่ตัวเองชอบ"
ลองเอาใจเค้ามาใส่ใจเรา
หากเค้าเรียนไม่เก่ง
กลับบ้านมาแม่ก็พูดว่าเค้าไม่เก่ง
ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มวิชาที่ตัวเองไม่เก่ง
ในแต่ละวัน แทบไม่เหลือเวลา
ได้ชื่นชมกับข้อดีของตัวเองเลย
ขอใช้คำพูดของอาจารย์ประเสริฐ
“#เรียนไม่เก่งแล้วไง”
👉5. การเรียนสำคัญ และเป็นสิ่งที่ลูกพัฒนาได้
ที่เขียนมา อย่าเข้าใจผิด
คิดว่า หมอมองว่าการเรียนไม่สำคัญ
มีเด็กส่วนหนึ่งชอบการเรียน สนุกกับการเรียน
คุณพ่อคุณแม่ก็ส่งเสริม และชื่นชมเค้า
ในเด็กที่เรียนไม่เก่ง ไม่ใช่เราบอกกับลูกว่า
อย่าไปใส่ใจการเรียน การเรียนไม่ได้สำคัญ
#โดยที่เรายังไม่ทันได้วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะเหตุใด
ความคิดแบบนี้ เข้าข่าย หนีปัญหา หรือองุ่นเปรี้ยว
เด็กทุกคนต้องการพัฒนา
เด็กทุกคนอยากเก่งขึ้น และดีขึ้น
มีตั้งหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กคนหนึ่งเรียนไม่รู้เรื่อง
เราที่เป็นพ่อแม่ แสดงให้ลูกเห็นว่า
พ่อแม่ พร้อมจะช่วยเหลือและอยู่เคียงข้างเสมอ
เรามองเห็นความพยายามของลูกที่อยากดีขึ้น มากกว่าผลลัพธ์ที่ได้
#เต็มที่ในเหตุและปล่อยวางในผล
ถ้าลูกทำเต็มที่แล้ว พ่อแม่ชื่นชมผลลัพธ์นั้นเสมอ
ตอนหมอยังเป็นเด็ก
แม้แม่จะไม่มีเวลามาช่วยเรื่องการเรียนมากนัก
แต่แค่ความใส่ใจ และช่วยเหลือเสมอเมื่อลูกต้องการ
แค่นี้หมอก็พร้อมที่จะทำเต็มที่เพื่อให้แม่ได้ชื่นใจ
ผลการศึกษา PISA ก็บอกว่าเช่นนั้นว่า
เหนือกว่า การเกิดในประเทศที่ดี ระบบการศึกษาที่ดี โรงเรียนดี
คือพ่อแม่ที่ใส่ใจเค้าเสมอ
👉6. เรียนผิดเรียนถูก เรียนรู้ไปพร้อมกับลูก
ในปีแรกที่เข้าสู่ academic เต็มตัว หมอเองก็ทำอะไรผิดพลาดไปหลายอย่าง แต่สิ่งที่ทำให้ผ่านมาได้คือ ไม่จมกับความผิดพลาด ถ้ารู้ว่าผิด ให้อภัยตัวเองแล้วแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ บางช่วง อยากให้ลูกทันเพื่อน ก็ติวก็สอน ผลคือ เครียดกันทั้งแม่ทั้งลูก ก็เปลี่ยนเป็นสอนโดยที่ลูกไม่รู้ว่าสอน ด้วยการเล่นเกมส์ อ่านนิทาน ให้เค้า read aloud นิทานเป็นการฝึกอ่าน ฯลฯ
.
เป็นโพสต์ที่ยาวมาก😁😁
แต่หมอก็ได้กลั่นกรองให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย
หมอคิดว่า สิ่งสำคัญที่ได้จากการพูดคุย คือ
คนที่ผ่านปัญหาไปได้ คือคนที่คิดว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราก็พร้อมที่จะเผชิญหน้า และแก้ไขไปด้วยกัน ค่ะ
.
หมอแพม
ผลการศึกษา 在 ผลการศึกษา - YouTube 的推薦與評價
0:00 / 0:56•Watch full video. Live. •. •. Scroll for details. ผลการศึกษา. ces wu. ces wu. 114 subscribers. Subscribe. <__slot-el>. Subscribed. ... <看更多>
ผลการศึกษา 在 กลุ่มงานประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 的推薦與評價
กลุ่มงานประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, กทม. ถูกใจ 15792 คน · 310 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. บริการสาธารณะหรือบริการภาครัฐ. ... <看更多>