การเมืองท้องถิ่น อบจ. สามารถบ่งบอกการเมืองระดับชาติ
จากสรุปผลการเลือกตั้ง นายก อบจ. 2563 และข้อสังเกตุที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ซึ่งบุคคลที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับผู้สมัคร อบจ. และได้นายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
ภาคเหนือ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้
กำแพงเพชร = พปชร. เชียงใหม่ = พท.
เชียงราย = พท. น่าน = พท. นครสวรรค์ = พท. พะเยา = พปชร. พิจิตร = พท. พิษณุโลก = พปชร. แพร่ = พท. เพชรบูรณ์ = พปชร. แม่ฮ่องสอน = อิสระ ลำพูน = พท. ลำปาง = พท. สุโขทัย =ภจท. อุตรดิตถ์ = พท. อุทัยธานี = อิสระ
ภาคตะวันตก ได้นายก อบจ. ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. แบะเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้กาญจนบุรี = พท. ตาก =พปชร. ประจวบคีรีขันธ์ = ปชป. เพชรบุรี =พปชร. ราชบุรี = พปชร.
ภาคกลาง ได้ นายก อบจ.ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุนดังนี้ ชัยนาท = พปชร. นครนายก = อิสระ นครปฐม = ชท. นนทบุรี =พท. ปทุมธานี = พท. พระนครศรีอยุธยา =ภจท. ลพบุรี = ภจท. สมุทรสาคร = พท. สมุทรสงคราม = พปชร. สมุทรปราการ =พปชร. สระบุรี = พปชร. สิงห์บุรี =พท. อ่างทอง = ชท. สุพรรณบุรี =ชท.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้ อุบลราชธานี =พท. อุดรธานี =พท. หนองคาย =พท. อำนาจเจริญ =ภจท. สุรินทร์ =ภจท. กาฬสินธุ์ =พปชร. ขอนแก่น พท. ชัยภูมิ =ปชป. นครพนม = ภจท. นครราชสีมา =ภจท. บุรีรัมย์ =ภจท. มหาสารคาม =ภจท. ร้อยเอ็ด = พปชร. ยโสธร =พท. มุกดาหาร =พท. ศรีสะเกษ พปชร. เลย = ภจท. สกลนคร = พท. หนองบัวลำภู =ภจท. บึงกาฬ =ภจท.
ภาคตะวันออก ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้ ชลบุรี =พปชร. จันทบุรี =อิสระ ฉะเชิงเทรา =พปชร. ตราด =อิสระปราจีนบุรี =ภจท. ระยอง =ปชป. สระแก้ว =พปชร.
ภาคใต้ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุนดังนี้ กระบี่ =ภจท. ชุมพร =อิสระ ตรัง =ปชป. นครศรีธรรมราช= ปชป. นราธิวาส =ปชช. ปัตตานี =ปชช. พังงา =ปชป. พัทลุง= ปชป. ภูเก็ต =ปชป. ระนอง =อิสระ ยะลา =ปชช. สงขลา =ปชป. สตูล =ภจท. สุราษฎร์ธานี = ปชป.
วิเคราะห์การเมืองท้องถิ่น อบจ. สามารถบ่งบอกการเมืองระดับชาติ อยู่ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 บุคคลที่พรรคการเมืองสนับผู้สมัครนายก อบจ.
ส่วนใหญ่สนับสนุน จาก ส.ส. และเครือข่ายที่พรรคการเมืองรับรู้รับทราบ ในการสนับสนุน
1. พรรคเพื่อไทย หรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคเพื่อไทย (พท.)สนับสนุนผู้สมัคร นายกฯ อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 21 จังหวัด แต่อย่างไรก็ตามที่ผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไทย ได้นายก อบจ. แค่ 9 จังหวัดเท่านั้น นอกนั้น ส.ส. และเครื่อข่ายพรรคเพื่อไทยสนับสนุน เป็นส่วนใหญ่
2. พรรคพลังประชารัฐ หรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 17 จังหวัด
3. พรรคภูมิใจไทย หรือ กลุ่มส.ส. และเครือข่ายพรรคภูมิใจไทย (ภจท.)สนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ.ได้นายก อบจ. จำนวน 15 จังหวัด
4. พรรคประชาธิปัตย์หรือ กลุ่มส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 10 จังหวัด ส่วนใหญ่สนับสนุน จาก ส.ส. ที่พรรคการเมืองรับรู้รับทราบ
5. พรรรคชาติไทยพัฒนา หรือ กลุ่ม ส.ส.และเครื่อข่ายพรรคชาติไทยพัฒนา (ชท.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ.จำนวน 3 จังหวัด
6. พรรรคประชาชาติไทย หรือกลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาติไทย (ปชช.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. และได้ นายก อบจ. จำนวน 3 จังหวัด
7. ผู้สมัคร อิสระ (ส.ส.และเครือข่ายพรรคการเมือง อื่นๆ) กระจายสนับสนุนในฐานะส่วนตัว สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้ นายก อบจ. จำนวน 7 คน
ประเด็นที่ 2 ฐานเสียงของพรรคการเมือง
แสดงให้เห็นว่าฐานเสียงการเลือกนายก อบจ. กับฐานเสียงพรรคการเมือง เปลี่ยนแปลงหรือไม่เมื่อเทียบกับการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา
1. ฐานพรรคเพื่อไทย ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก เมื่อเทียบกับฐานเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งพรรคการเมืองได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด
2.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคการเมืองผู้นำรัฐบาล มีปัญหาในการบริหารประเทศทางเศรษฐกิจ แต่โควิดและการปกป้องสถาบัน และล่าสุดนโยบายคนละครึ่งตีโจทย์รากหญ้า ทำให้แรงหนุนจากประชาชน มีฐานเสียงคะแนนเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้สมัคร นายก อบจ. ได้เป็นนายก อบจ. ถึง 17 จังหวัด
3. พรรคก้าวไกล ที่ถูกยุบพรรคเปลี่ยนเป็น พรรคก้าวหน้า ที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยต้องการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปสถาบัน เกิดแรงต้านจากประชาชนฐานเสียงจึงลดไป รวมทั้งไม่มีแรงสนับสนุนจากพรรคการเมือง อื่นเช่น พรรคไทยรักษาชาติที่ถูกยุบ เทไปให้พรรคก้าวหน้า จึงได้คะแนน ปาร์ตี้ลิสต์ สูงและได้ ส.ส.เขต แต่เมื่อเกิดปัญหาแรวต้านเกี่ยวการล้มล้างสถาบัน ทำให้ฐานเสียงของพรรค หดหายไป ทุกจังหวัด
4. พรรคภูมิใจไทย ถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุน นายก อบจ. ที่มีฐานเสียงคะแนนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับฐานเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ได้นายก อบจ. จำนวน 15 จังหวัด
5.พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเทียบกับคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส. กับ การเลือกตั้ง นายก อบจ. กับสัดส่วนการได้รับเลือกนายก อบจ. จำนวน 10 จังหวัด ซึ่งมีฐานเสียงส่วนใหญ่ภาคใต้
ข้อสังเกต ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายก อบจ. ก็ไม่ได้มาจากคนของพรรคประชาธิปัยต์ แต่ ส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ บางส่วนสนับสนุนเท่านั้น ส่วนคนของพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนและพรรคประชาธิปัตย์รับทราบ กลับไม่ได้นายก อบจ.
อนึ่งซึ่งในจังหวัดนี้ เป็นจังหวัดเดียวที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ยกจังหวัด จำนวน 6 คน และที่สำคัญฐานเสียงพรรคภูมิใจไทย พรรคก้าวหน้า กลับหายไป และอีกส่วนหนึ่งคะแนนของพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่ไม่ส่งคนลงสมัคร เทเสียงไปให้กับคนที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนให้คะแนนของคนที่ ได้ นายก อบจ สูงมาก
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
Search