#เหตุผลที่เด็กทารกไม่ควรใส่_face_shield_หรือหน้ากาก
.
มีประกาศจากชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 63 เรื่อง #ไม่สนับสนุน ให้ใส่ face shield หรือ หน้ากาก ให้แก่ทารกแรกเกิด
.
หมอเห็นด้วย
และแนะนำเพิ่มเติมว่า ไม่เฉพาะทารกแรกเกิด
แต่เด็กทารก หมายถึง เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
ก็ไม่ควรใส่ด้วยเช่นกัน
(ถ้าจะให้ดี เด็ก 1-2 ปี ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องใส่นะคะ)
.
บอกก่อนว่า ข้อห้ามนี้ยังไม่มีงานวิจัยรองรับ
แต่สามารถอธิบายได้ด้วย #หลักสรีรวิทยาของการหายใจ ค่ะ
.
อากาศที่เราหายใจเข้า มีออกซิเจน 21% คาร์บอนไดออกไซด์ 0.04%
แต่ลมหายใจออกของเรา มีออกซิเจน 16% คาร์บอนไดออกไซด์ 4%
#ลมหายใจออกมีคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าอากาศทั่วไป 100 เท่า
.
หมอสมมติว่า
ลมหายใจที่ทารกต้องการ ต่อการหายใจ 1 ครั้ง
คือ 10 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ถ้าทารก หนัก 3 กิโลกรัม แปลว่าต้องการอากาศ 30 ซีซี ต่อการหายใจ 1 ครั้ง
ทารกหายใจประมาณ 40 ครั้ง/นาที
แปลว่าใน 1 นาที ต้องการอากาศ 30 x 40 = 1200 ซีซี
หรือประมาณ 1.2 ลิตร
ถ้าเด็กจะหายใจได้สะดวก จะต้องมีอากาศไหลเวียน
ประมาณ 3 เท่าของ 1.2 L = 3.6 L ต่อ 1 นาที
(ตัวเลขกลมๆคือ 4 L)
.
ถ้าเด็กหายใจในที่โล่งปกติ
ไม่มีปัญหา เนื่องจาก อากาศภายนอก มีความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าลมหายใจออกมากๆ
เมื่อเด็กหายใจออก คาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะแพร่ไปกับอากาศข้างนอกอย่างรวดเร็ว
(ตามหลักการแพร่ง่ายๆที่เราเคยเรียน)
.
แต่ ถ้าเราใส่ face shield หรือ face mask
ทำให้อากาศไหลเวียนที่อยู่ภายใต้ face shield และ face mask #มีปริมาตรจำกัด
(แม้จะเป็น face shield อย่าลืมว่า เด็กคอสั้นมาก พอใส่เข้าไปก็คล้ายใส่หมวกันน็อคเลยค่ะ ทำให้ปริมาตรอากาศที่ไหลเวียนในนั้นมีจำกัดมาก)
.
ถ้ามีอากาศไหลผ่านบริเวณจมูกของเด็ก น้อยกว่า 4 L/นาที
นั่นหมายความว่า อากาศที่เด็กหายใจออก จะวนเวียนอยู่บริเวณจมูก ซึ่งเป็นอากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง
ทำให้เด็กหายใจเอาอากาศที่คาร์บอนไอออกไซด์สูง แต่ออกซิเจนต่ำ
.
ใน 1 นาที เด็กหายใจหลายครั้ง
แปลว่า คาร์บอนไดออกไซด์ จะคั่งค้างสะสมบริเวณ
face shield หรือ mask เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะที่ %ความเข้มข้นของออกซิเจนลดลง
.
ท้ายที่สุด
เด็กจะมีภาวะขาดออกซิเจน
ซึ่งเด็กเล็กบอกเราไม่ได้
กว่าเราจะสังเกตอาการได้ด้วยสายตา
ค่าออกซิเจนในเลือดต้องต่ำมาก ซึ่งอันตรายต่อเด็กแล้วค่ะ
.
หมอเข้าใจว่า
ที่พวกเราทำอุปกรณ์ป้องกันเพื่อเด็ก #เป็นเพราะความหวังดี
ไม่อยากให้เด็กทารกได้รับเชื้อ
แต่อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นำมาใช้อย่างเป็นทางการ
#โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ในเด็กเล็ก
ต้องผ่านกระบวนการคิด การทดลองอย่างถี่ถ้วน
เป็นเพราะเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่บอบบางมากเลยค่ะ
.
face shield ที่ประดิษฐ์เอง
บางอันอาจพอใช้ได้ แต่บางอันใช้ไม่ได้เลย
ไม่มีมาตรฐานอะไรมาตรวจสอบ ได้ในตอนนี้
เพราะฉะนั้น แม้จะมีโอกาสเพียงน้อยที่เด็กจะได้รับอันตราย
#ก็เป็นสิ่งไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นการออกมาตรการห้าม ก็เพื่อความปลอดภัยของเด็กนะคะ
.
เอาเป็นว่า ในอนาคต
อาจจะมีอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเด็กกลุ่มนี้โดยเฉพาะ
แต่ในระหว่างนี้
#ผู้เลี้ยงดู คือ หัวใจหลัก ที่จะตัดสินว่าเด็กจะได้รับเชื้อหรือไม่
.
ถ้าเราเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กเล็ก
เราต้องระวังตัวเอง และปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัดเลยนะคะ
.
หมอแพม
แพทย์หญิงปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี
กุมารแพทย์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติ
ผู้เลี้ยงดู 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
#การช่วยชีวิตเป็นเรื่องของทุกคน
.
#การช่วยเหลือที่แตกต่าง_ให้ผลที่ต่างกันจนเราคิดไม่ถึง
.
ตอนเย็นหมอไปรับลูกสาวที่โรงเรียนตามปกติ
เนื่องจากบ้านอยู่ในเขตที่รถติดที่สุดของกรุงเทพ
หมอก็จะมีขนมเล็กๆน้อยๆเตรียมไว้ให้ลูกกินในรถ
วันนั้นเตรียมไม่ทัน จึงแวะซื้ออมยิ้ม ที่ร้านสะดวกซื้อ
คิดว่าขนาดเราผู้ใหญ่ ยังอมเป็นครึ่ง ชม.เลย
เด็กคงใช้เวลานานมาก เพราะเม็ดใหญ่และละลายช้า
แท่งเดียว...เอาอยู่
.
หมอดูถูกเด็กเกินไป
เพราะลูกสาวไม่ได้อมอย่างเดียว
แต่เธอกัด จนอมยิ้มกลมๆแตกออก
ตั้งแต่มันยังละลายไม่ถึงครึ่ง
.
ผ่านไปสักพัก หมอได้ยินลูกสาวร้องเสียงแปลกๆ
หันไปมอง เห็นลูกทำท่าไอ เค้น สิ่งที่ติดในลำคอออก
และได้ยินเสียงเฮือก....สิ่งนี้เรียกว่า choking
เป็นอาการของคนที่สำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม
หน้าลูกเริ่มแดง และ ไม่มีเสียงแล้ว
.
ขณะนั้นขับรถอยู่
จะช่วยเหลือทันที ก็จะเกิดอุบัติเหตุ ตายทั้งแม่ทั้งลูก
ตั้งสติ...ชลอรถ และเปิดไฟฉุกเฉิน จอดข้างทาง
และเอาสันมือ ฟาดไปที่หลังของลูก 4-5 ครั้ง
(black blows)
โชคดีที่ลูกอมเจ้าปัญหาหลุดออกมา
เพราะถ้าไม่หลุดก็ต้องช่วยด้วยวิธีถัดไป
ซึ่งพื้นที่ในรถจะทำไม่ได้ ก็ต้องอุ้มลูกออกมา
ข้างถนน ซึ่งก็เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
.
เหตุการณ์ในครั้งนี้
ทำให้หมอได้คิด....
#ภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตเกิดกับใครก็ได้
และปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความปลอดภัยอย่างมาก
คือ #การช่วยเหลือหลังการเกิดเหตุทันที
ไม่ว่าจะเป็น การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าหลอดลม
จมน้ำ หรือการช่วยเหลือเมื่อมีผู้ประสบภัยต่างๆ
.
โดยเฉพาะในเด็ก...ที่เค้ายังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
คนใกล้ชิดเด็ก คือ พ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดู คุณครูในโรงเรียน
ควรต้องเรียนรู้เรื่องการช่วยชีวิตเบื้องต้น
เช่น ท่าที่ใช้ช่วยเหลือ เมื่อเด็กสำลัก
ท่ากดหัวใจเมื่อพบคนหมดสติ
#เป็นความรู้ที่ทุกคนต้องเรียนรู้
.
หมอไม่มีเหตุการณ์ในรถของตัวเองมาให้ทุกคนดู
แต่หมอมีเหตุกาณ์จริงในประเทศ USA
ซึ่ง VDO นี้ หมอใช้ในการสอนเจ้าหน้าที่ และนักเรียน
ในบทเรียนเรื่อง การช่วยชีวิตพื้นฐาน
.
เด็กชายอนุบาล อายุ 5 ปี นั่งรถโรงเรียนกลับบ้าน
เพื่อนตะโกนบอกว่า เค้ากลืนเหรียญ
เด็กเอามือจับคอ เค้น เและเริ่มเฮือก
ซึ่งเป็นท่า classic ของคนไข้สำลักสิ่งแปลกปลอมในหลอดลม
ถ้าเหตุการณ์นี้ ไม่มีผู้ช่วยเหลือ....เด็กจะเริ่มหมดสติภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที
แล้วหลังจากนั้นอีกไม่กี่นาที สมองจะขาดออกซิเจน
และการทำงานของร่างกายจะผิดปกติ
ถ้ายังไม่ได้รับการช่วยเหลือ...หัวใจจะหยุดเต้น
แต่เป็นโชคดีของเด็ก ที่คุณป้า เจ้าหน้าที่ขับรถโรงเรียน
สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง..ทันท่วงที
ลองคิดว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ขับรถไม่มีความรู้เรื่องการช่วยเหลือเบื้องต้น
เด็กชายคนนั้นจะเป็นอย่างไร...แล้วถ้าเกิดกับลูกเรา?
.
เธอบอกว่าเธอเรียนเรื่องการช่วยชีวิตเบื้องต้นมา 17 ปี
นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ใช้ความรู้
.
นับว่าหมอได้ใช้เร็วกว่าเธอ
เพราะหมอเรียนเรื่องการช่วยเหลือ
คนไข้จากการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงหลอดลม
มา 12 ปี....
และหมอก็ได้ใช้งานกับคนจริงๆ
ครั้งนี้เป็นครั้งแรก
และคนๆนั้น....คือ #ลูกสาวตัวเอง
.
หมอคิดว่าเราต้องเรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
โดยเราไม่ต้องรอพึ่งพา หรือผลักภาระให้ระบบการศึกษา
เพราะยุคนี้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
มีสื่อดีๆ ให้เราเรียนรู้ด้วยตัวเองมากมาย
อย่างน้อย ให้เคยรู้ และเคยเห็น
เมื่อเกิดเหตุการณ์จริง....แม้จะทำได้ไม่ perfect 100%
แต่การได้รับการช่วยเหลือ
กับการไม่ได้....ผลต่างกันมากนะคะ
.
#สละเวลาเพื่อเรียนรู้เถอะค่ะ
มันไม่ได้ยาก ถ้าเราจำท่าเต้นคุ๊กกี้เสี่ยงทายได้
ท่าช่วยชีวิตก็จำง่ายเหมือนกัน
.
หมอรวบรวม link ที่คิดว่าเข้าใจง่าย
การช่วยเหลือเมื่อมีคนสำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม
https://youtu.be/SwJlZnu05Cw
VDO แรก สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ คิดว่าเหมาะกับคนทั่วไป
https://youtu.be/dHQW2Nt_jfU
VDO นี้ เพื่อนของหมอทำขึ้นเอง ชี้แจงรายละเอียดในเด็กเล็ก เวลา 13 นาที
-----------
2.การปั๊มหัวใจ
สำหรับหมอ คิดว่า clip นี้เข้าใจง่ายมากนะคะ
จำไว้ว่า เจอคนหมดสติ ถ้าคิดว่าเค้าไม่หายใจ เรียกไม่ตอบสนอง
ให้โทร 1669 (ถ้ามีอีกคน ให้อีกคนโทร)
จัดท่า แล้วปั๊มหัวใจอย่างเดียว โดยไม่ต้องช่วยหายใจก็ได้ค่ะ
https://youtu.be/x-kJvjln44I
.
หมอแพม
ตั้งแต่เปิดเพจมา หมอไม่เคยร้องขอลูกเพจให้มีการแชร์โพสต์ที่หมอเขียน...แต่โพสต์นี้ #หมอขอร้องให้แชร์ให้คนใกล้ชิดอ่าน
#รณรงค์ให้ความรู้เรื่องการช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นเป็นเรื่องของทุกคน