“ข้อสังเกต เกี่ยวกับการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 13 ฉบับ”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
หลังจากที่สมาชิกรัฐสภาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ร่างเสร็จสิ้นในเวลา 23.25 น. วันที่ 24 มิถุนายน โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้นเป็นการนับคะแนน
โดยหลังจากใช้ระยะเวลาในการนับคะแนนนานกว่า 2 ชั่วโมง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้ประกาศต่อที่ประชุม ว่า กฎหมายกำหนดไว้ว่าการลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมดของสภา
ในปัจจุบัน รัฐสภามีสมาชิกที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่ 733 คน ดังนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ 367 เสียง วุฒิสมาชิก 1 ใน 3 คือ 84 คน
ร่างที่ 1 : พรรคพลังประชารัฐ 5 ประเด็น 13 มาตรา มติรับหลักการ 334 คะแนน เป็น ส.ส. 334 คะแนน ส.ว. 0 คะแนน ไม่รับหลักการ 199 คะแนน เป็น ส.ส. 71 คะแนน วุฒิสมาชิก 128 คะแนน งดออกเสียง 173 คะแนน เป็น ส.ส. 75 คะแนน วุฒิสมาชิก 98 คะแนน เท่ากับร่างนี้ไม่ผ่านกระบวนการ
ร่างที่ 2 : พรรคเพื่อไทย-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐาน มีมติรับหลักการ 399 คะแนน เป็น ส.ส. 393 คะแนน วุฒิสมาชิก 6 คะแนน ไม่รับหลักการ 136 คะแนน เป็น ส.ส. 8 คะแนน วุฒิสมาชิก 128 คะแนน งดออกเสียง 171 คะแนน เป็นส.ส. 79 คะแนน วุฒิสมาชิก 92 คะแนน เท่ากับร่างที่ 2 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 3 : พรรคเพื่อไทย-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ มีมติรับหลักการ 376 คะแนน เป็น ส.ส. 340 คะแนน วุฒิสมาชิก 36 คะแนน ไม่รับหลักการ 89 คะแนน งดออกเสียง 241 คะแนน เท่ากับร่างที่ 3 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 4 : พรรคเพื่อไทย-ที่มานายกรัฐมนตรี มีมติรับหลักการ 455 คะแนน เป็น ส.ส. 440 คะแนน วุฒิสมาชิก 15 คะแนน ไม่รับหลักการ 101 คะแนน งดออกเสียง 150 คะแนน เท่ากับร่างที่ 4 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 5 : พรรคเพื่อไทย-รื้อมรดกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีมติรับหลักการ 327 คะแนน เป็น ส.ส. 326 คะแนน วุฒิสมาชิก 1 คะแนน ไม่รับหลักการ 150 คะแนน งดออกเสียง 229 คะแนน เท่ากับร่างที่ 5 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 6 : พรรคภูมิใจไทย-ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 454 คะแนน เป็น ส.ส. 419 คะแนน วุฒิสมาชิก 35 คะแนน ไม่รับหลักการ 86 คะแนน งดออกเสียง 166 คะแนน เท่ากับ ไม่รับหลักการ
ร่างที่ 7 : พรรคภูมิใจไทย-รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 476 คะแนน เป็น ส.ส. 421 คะแนน วุฒิสมาชิก 55 คะแนน ไม่รับหลักการ 78 คะแนน งดออกเสียง 152 คะแนน เท่ากับร่างที่ 7 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 8 : พรรคประชาธิปัตย์-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 469 คะแนน เป็น ส.ส. 421 คะแนน วุฒิสมาชิก 48 คะแนน ไม่รับหลักการ 75 คะแนน งดออกเสียง 162 คะแนน เท่ากับร่างที่ 6 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 9 : พรรคประชาธิปัตย์-ตัดอำนาจ ส.ว.แก้รัฐธรรมนูญ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 415 คะแนน เป็น ส.ส. 400 คะแนน วุฒิสมาชิก 15 คะแนน ไม่รับหลักการ 102 คะแนน งดออกเสียง 189 คะแนน เท่ากับร่างที่ 9 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 10 : พรรคประชาธิปัตย์-แก้การตรวจสอบ ป.ป.ช. ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 431 คะแนน เป็น ส.ส. 398 คะแนน วุฒิสมาชิก 33 คะแนน ไม่รับหลักการ 97 คะแนน งดออกเสียง 178 คะแนน เท่ากับร่างที่ 10 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 11 : พรรคประขาธิปัตย์-ที่มานายกรัฐมนตรี ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 461 คะแนน เป็น ส.ส. 440 คะแนน วุฒิสมาชิก 21 คะแนน ไม่รับหลักการ 96 คะแนน งดออกเสียง 149 คะแนน เท่ากับร่างที่ 11 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 12 : พรรคประชาธิปัตย์-กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 457 คะแนน เป็นส.ส. 407 คะแนน วุฒิสมาชิก 50 คะแนน ไม่รับหลักการ 82 คะแนน งดออกเสียง 167 คะแนน เท่ากับร่างที่ 12 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 13 : พรรคประชาธิปัตย์-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 552 คะแนน เป็น ส.ส. 342 คะแนน วุฒิสมาชิก 210 คะแนน ไม่รับหลักการ 24 คะแนน งดออกเสียง 130 คะแนน เท่ากับร่างที่ 13 คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง และได้เสียงจากวุฒิสมาชิกเกิน 1 ใน 3 ดังนั้น ร่างนี้จึงผ่านขั้นรับหลักการ
จากนั้นได้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่ … พ.ศ. … จำนวน 45 คน แบ่งเป็น ส.ว. 15 คน และ ส.ส. 30 คน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 8 คน พรรคพลังประชารัฐ 8 คน พรรคภูมิใจไทย 4 คน พรรคก้าวไกล 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คน พรรคประชาชาติ 1 คน และพรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน และจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ กมธ. หากผู้ใดมีความประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นใดก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อ กมธ.ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สภารับหลักการ
เมื่อพิจารณาสรุปการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เท่ากับร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอมา 13 ฉบับนั้น มีข้อพิจารณา ดังนี้
1. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่รับหลักการ เงื่อนไขจำนวนเกินกึ่งหนึ่ง แต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข การรับหลักการนั้น ไม่เสียงมีจำนวน ส.ว. เห็นด้วย 1 ใน 3
2. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ไม่รับหลักการ คือ เสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งและส.ว.ไม่ถึง 1 ใน 3
3. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมีการรับหลักการและเป็นไปตามเงื่อนไขเสียง ส.ว. มีเสียง ส.ว. เห็น 1 ใน 3
สรุปได้ว่า มีฉบับที่ 13 ผ่านเพียงฉบับเดียว
ข้อสังเกตเกี่ยวการผ่านพิจารณรารับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 13
กล่าวคือ ร่างที่ 13 : พรรคประชาธิปัตย์-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนี้
1. ร่างนี้ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
2.ร่างนี้พรรคการเมืองพรรคใหญ่ และพรรคการเมืองที่มีฐานคะแนนเสียงย่อมได้เปรียบ
3.ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับ 13 ที่เสนอ โดย ปชป.และพรรคร่วม คือ ภูมิใจไทยและขาติไทยพัฒนาสนับสนุนก็จริง แต่ก็เป็นการเสนอเข้าทางหรือเกมส์พรรคประชารัฐ ที่ต้องการให้ ส.ว. อยู่ที่เลือกนายกรัฐมนตรีได้ เมื่อยุบสภา คนของพรรคประขารัฐก็จะได้ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็คือ ประยุทธ์ ได้กลับมาอีก
4. เกมส์นี้เป็นการซื้อเวลาลดกระแส ทางการเมืองกับการรักษาคำพูด ว่าต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
5.เกมส์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามร่างฉบับที่ 13 พรรคที่เสียเปรียบ คือ พรรคเล็กและพรรคก้าวไกล เนื่องจากดูจากเขต แล้วไม่ค่อยได้ เมื่อแยกบัญชีรายชื่อกับ เขต เป็น 2 ใบ ทำให้ชัดเจนว่า จำนวน ส.ส. ลดแน่นอน เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ เกินโควต้า ถ้ายกเลิกโควต้า คือ ใช้บัตร 2 ใบ ส.ส.เขตก็ได้ บัญชีรายชื่อก็ได้
6. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ จะมีปัญหาในวาระ ที่ 3 ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ กล่าวคือ วาระที่ 2 เป็นขั้นพิจารณาเรียงรายมาตรา ให้ถือเสียงข้างมาก คือ ส.ส. หรือ ส.ว.ก็ได้รวมกันให้ได้ 375 เสียงขึ้นไป แต่หากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนเสนอความคิดเห็นด้วย จากนั้นรอ 15 วัน จึงเข้าวาระที่ 3 ไม่น่าจะมีปัญหา แต่จะมีปัญหา ในวาระที่ 3 เป็นขั้นสุดท้าย ตรงเงื่อไขพิเศษ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา คือ ส.ส.+ส.ว. ต้องได้เสียง 376 ขึ้นแต่มีเงื่อนไขพิเศษกำหนด ดังนี้
1) ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน
2)สมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ในวาระที่ 3 ปัญหาตรงเงื่อนไขพิเศษ 1) ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน ประเด็นนี้น่าจะมีปัญหาถ้าพรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก่ไขเพิ่มเติม
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過47萬的網紅Pai91.5 Resort,也在其Youtube影片中提到,#ฉีดน้ำดอกมะม่วง #มะม่วงติดลูกเยอะ พี่ชายขอเรียนด้วยความเคารพว่า พี่ชายเคารพในสิทธิ ความคิดและการตัดสินใจของทุกคน เพื่อที่เราจะก้าวข้ามความขัดแย้งไปด้...
「พรรคชาติไทยพัฒนา」的推薦目錄:
- 關於พรรคชาติไทยพัฒนา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於พรรคชาติไทยพัฒนา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於พรรคชาติไทยพัฒนา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於พรรคชาติไทยพัฒนา 在 Pai91.5 Resort Youtube 的最讚貼文
- 關於พรรคชาติไทยพัฒนา 在 Pai91.5 Resort Youtube 的最讚貼文
- 關於พรรคชาติไทยพัฒนา 在 พรรคชาติไทยพัฒนา Chartthaipattana Party - Facebook 的評價
- 關於พรรคชาติไทยพัฒนา 在 Live : พรรคชาติไทยพัฒนาปราศรัยใหญ่ - YouTube 的評價
พรรคชาติไทยพัฒนา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“แก้รัฐธรรมนูญ เหมือน-ต่าง ฉบับรัฐบาล vs ฝ่ายค้าน”
ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกนำมาพูดถึง เป็นประเด็นอีกครั้งหนึ่ง ท่ามกลางเสียงเรียกร้องจากนอกสภาและในสภา ร่วมประสานเสียงแก้ไข ฝ่ายการเมือง ในนามพรรคร่วมรัฐบาล 206 ส.ส. นำโดย นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น ได้ร่วมยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญถึงประธานรัฐสภา
พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย รวมไปถึงพรรคเพื่อชาติ พรรคประชาชาติ พรรคพลังปวงชนไทย พรรคเสรีรวมไทย ร่วมลงนามยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อประธานสภาฯ ต่างเห็นพ้องต้องกัน ขอยกในส่วนสำคัญ กล่าวคือ ให้ยกเลิกความในมาตรา 256 ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ภายใต้บังคับมาตรา 255 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยไม่แตะต้องหมวด 1-2 และเปิดให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จำนวน 200 คนเหมือนกัน แต่มีในรายละเอียดปลีกย่อยที่มองต่างการได้มาซึ่ง สสร.
สาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับพรรคร่วมฝ่ายค้าน
หมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
มาตรา 265/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละจังหวัด
การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 200 คน จำนวนที่ได้รับให้ถือว่าเป็นจำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหนึ่งคน
จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหนึ่งคนตามวรรคสอง ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหนึ่งคน ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหนึ่งคน
เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของแต่ละจังหวัดตามวรรคสองและวรรคสามแล้ว ถ้าจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ครบ 200 คน จังหวัดใดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณตามวรรคสองมากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณนั้นในลำดับรองลงมา ตามลำดับจนครบจำนวน 200 คน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
สาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของฝ่ายรัฐบาล
หมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
มาตรา 256/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ ประกอบด้วย สมาชิกจำนวนสองร้อยคน ดังต่อไปนี้
(1) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละจังหวัดจำนวน 150 คน
(2) สมาชิกซึ่งรัฐสภาคัดเลือกจำนวน 20 คน
(3) สมาชิกซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเลือกจำนวน 20 คน โดยคัดเลือก ดังนี้
-จากผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน สาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 10 คน และ
- จากผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 10 คน
(4) สมาชิกซึ่งคัดเลือกจากนักเรียน นิสิตหรือนักศึกษาจำนวน 10 คน
ข้อสรุปเปรียบเทียบที่มา สสร.ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล
พรรคร่วมรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ขัดข้องในกระบวนการให้มี สสร.200 คนเหมือนกัน
แต่กระบวนการได้มาซึ่ง สสร. แตกต่างในรายละเอียดบางประการ ฝ่ายค้าน เห็นควรให้มีการเลือกตั้งทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้ง 200 คน ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลขอเป็นในรูปแบบผสม
เลือกตั้ง 150 คน มาจากการคัดเลือกอีก 50 คน ที่น่าสนใจคือ ในจำนวนนี้ให้มีตัวแทนจากนิสิตนักศึกษาด้วย
สำหรับเนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาจาก สสร. จะออกมาอย่างไรยังไม่เป็นที่แน่ชัด เพียงแต่ในชั้นนี้ ตามที่คนในรัฐบาลและฝ่ายค้านเคยส่งสัญญาณมา ก็ตรงกัน ห้ามไปแตะในหมวด 1-2 ส่วนในเรื่องที่แก้ไข หนึ่งในนั้นที่มีการโหมประโคมตลอดคือ ระบบการเลือกตั้ง การคำนวณ บัตรลงคะแนน เป็นต้น
ฝ่ายการเมืองส่งสัญญาณสมานฉันท์ทางความคิด รัฐธรรมนูญต้องได้รับการแก้ไขอย่างแน่นอนในเบื้องต้น กระบวนการกว่าจะได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก ต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือน ลากยาวเป็นปี ถึง 2 ปีกว่าจะได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมา ระหว่างทาง จะเกิดปรากฏการณ์อะไรที่จะทำให้ต้องแปรเปลี่ยนอีกหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป.
พรรคชาติไทยพัฒนา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“การอ้างสิทธิ popular vote กับ การอ้างสิทธิจำนวน ส.ส.”
หลังจากการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ผลการเลือกตั้งไม่เป็นทางการ ออกมา ในวันนี้ วันที่ 28 มีนาคม 2562 ผลปรากฏออกมาว่า ได้มีการแบ่ง กลุ่ม 3 กลุ่มในการจัดตั้งรัฐบาล ดังนี้
กลุ่ม ที่ 1
พรรคที่เรียกตัวเองว่า “พรรคฝ่ายประชาธิปไตย” (ในสายตาของพวกเขา) มีคะแนนเสียงรวมกัน 15.99 ล้านเสียง รวม 248 ที่นั่ง (ถ้านับ ศม. เป็น 16.48 ล้านเสียง รวม 254 ที่นั่ง**)
* พรรคเพื่อไทย 7,920,630 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 137 ที่นั่ง
* พรรคอนาคตใหม่ 6,265,950 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 88 ที่นั่ง
* พรรคเสรีรวมไทย 826,530 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 11 ที่นั่ง
* พรรคเศรษฐกิจใหม่ 485,664 เสียง* ได้ว่าที่ ส.ส. 6 ที่นั่ง**
* พรรคประชาชาติ 485,436 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 6 ที่นั่ง
* พรรคเพื่อชาติ 419,393 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 5 ที่นั่ง
* พรรคพลังปวงชนไทย 81,733 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 1 ที่นั่ง
กลุ่มที่ 2
พรรคที่สนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ต่อไป มีคะแนนเสียงรวมกัน 8.84 ล้านเสียง รวม 118 ที่นั่ง
* พรรคพลังประชารัฐ 8,433,137 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส 118 ที่นั่งกับ
* พรรครวมพลังประชาชาติไทย 416,234 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 5 ที่นั่ง
*
* กลุ่ม ที่ 3 (ดูท่าจะเอนเอียงไปกลุ่มที่ 2)
พรรคที่มีทีนั่งในสภาฯ และยังไม่แสดงจุดยืนชัดเจน มีคะแนนเสียงรวมกัน 12.93 ล้านเสียง รวม 125 ที่นั่ง
* พรรคประชาธิปัตย์ 3,947,726 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 55 ที่นั่ง
* พรรคภูมิใจไทย3,732,883 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 51 ที่นั่ง
* พรรคชาติไทยพัฒนา 782,031 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 11 ที่นั่ง
* พรรคชาติพัฒนา 252,044 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 3 ที่นั่ง
* พรรคพลังท้องถิ่นไทย 213,129 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 2 ที่นั่ง
* พรรครักษ์ผืนป่าแห่งประเทศไทย 136,597 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 1 ที่นั่ง
* พรรคพลังชาติไทย 73,781 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 1 ที่นั่ง
*
* โดยพรรค เพื่อไทย ที่ได้เสียงข้างมาก ในกลุ่มแรก เรียกว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย”อ้างสิทธิจำนวน ส.ส. มากกว่า จัดตั้งรัฐบาล อีกกลุ่ม คือ กลุ่มที่ 2 พรรคพลังประชารัฐ อ้างสิทธิ “popular vote คือ คะแนนที่ประชาชนเลือกมากกว่า
*
* แต่การอ้างสิทธิ popular vote คะแนนเสียงประชาชนเลือก มากกว่าเพื่ออ้างสิทธิการจัดตั้งรัฐบาล อาจมีปัจจัยให้ชวนคิด คือ คะแนน ส.ส. ความนิยมของแต่ละพื้นที่ ไม่เท่ากัน และจำนวนในแต่พื้นที่ไม่เท่ากันในแต่ละเขต ซึ่งส่งผลให้คะแนนบัญชีรายชื่อ แตกต่างกัน
*
* ยกตัวอย่าง
* เขต 1 พรรค ก ชนะ พรรค ข 5,000 คะแนน ต่อ 4,500 คะแนน ด้วยเหตุไม่ชื่นชอบผู้สมัคร ทั้ง 2 คน แต่ชื่นชอบพรรค
* เขต 2 พรรค ก ชนะ พรรค ข 4,700 คะแนน ต่อ 4,500 คะแนน ด้วยเหตุว่า ผู้สมัคร ทั้ง 2 พรรค มีความนิยม ใกล้เคียงกันในตัวผู้สมัครและพรรค
* เขต 3 พรรค ข ชนะ พรรค ก 6,000 ต่อ 3,500 คะแนน ด้วยเหตุว่าในเขตนี้มีประชาชนนิยมชมชอบ ผู้สมัคร ของพรรค ข มาก กว่า พรรค ก
* สรุป พรรค ก ชนะ 2 เขต พรรค ข ชนะ 1 เขต แต่พรรค ข ชนะ คะแนน popular vote และ พรรค ข มาอ้างสิทธิว่า ตนเอง ชนะ popular vote เห็นสมควรจัดตั้งรัฐบาล นั้นไม่ถูกต้อง
*
* ผมเองไม่ได้เข้าข้างไหน อยู่ความถูกต้องตาม หลักการ ความคิดของผม ตามมองตามตัวบทกฎหมาย คือ รัฐธรรมนูญ 2560 ถึงรัฐธรรมนูญไม่สมบูรณ์ ขึ้นชื่อว่าห่วยแตก เมื่อเป็น “กฎ” “กติกา” อันสูงสุดในสังคมไทย คือ ตามมาตรา 272 รัฐสภา เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี คือ ส.ส. 500 บวก กับ ส.ว.250 ใครได้เสียงมากกว่า เป็นนายกรัฐมนตรี ในระยะ 5 ปี แรก ก็ต้องปฏิบัติตามนั้น
*
* ท้าย สุด คำตอบ คือ ส.ว. 250 คน ครับ ชี้ขาดว่าใคร เป็นนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาล คงมองเห็นได้ว่าประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ลุ้นต่อไป ว่า จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย หรือ รัฐบาลเสียงข้างมาก
* 9 พ.ค. 2562 คงชัดเจนพี่เณรบูรณ์
*
พรรคชาติไทยพัฒนา 在 Pai91.5 Resort Youtube 的最讚貼文
#ฉีดน้ำดอกมะม่วง #มะม่วงติดลูกเยอะ
พี่ชายขอเรียนด้วยความเคารพว่า พี่ชายเคารพในสิทธิ ความคิดและการตัดสินใจของทุกคน เพื่อที่เราจะก้าวข้ามความขัดแย้งไปด้วยกันให้ได้ เพื่อนๆน้องๆหลานๆคนไหนที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกพรรคไหนดีพี่ชายขอแนะนำ"พรรคชาติไทยพัฒนา"ไว้เป็นตัวเลือกครับ
พรรคชาติไทยพัฒนา 在 Pai91.5 Resort Youtube 的最讚貼文
#เลือกตั้ง #เลือกพรรคผิดชีวิตเปลี่ยน
มาเชิญชวนกันไปเลือกตั้ง เพื่อประโชยน์ของพวกเรา เศรษฐกิจของพวกเรา ประเทศของเรา จะได้เดินหน้าต่อไปอย่ามั่นคงและมั่งคั่ง
พรรคชาติไทยพัฒนา 在 Live : พรรคชาติไทยพัฒนาปราศรัยใหญ่ - YouTube 的推薦與評價
ถ่ายทอดสด พรรคชาติไทยพัฒนา ปราศรัยใหญ่ นำเสนอ “เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ ให้คนเก่งนำประเทศไปสู่อนาคต”พบกับ Top and TEAM ... ... <看更多>
พรรคชาติไทยพัฒนา 在 พรรคชาติไทยพัฒนา Chartthaipattana Party - Facebook 的推薦與評價
❤ วันนี้ (12 พ.ค. 2566) เราปิดท้ายการหาเสียงกันที่ จ. สุพรรณบุรี ครับ . ขอขอบพระคุณทุกกำลังใจ ที่มอบให้พวกเราชาวพรรคชาติไทยพัฒนา และในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ... ... <看更多>