วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตร หมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นในวันนี้
สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีกว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2557 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8)
ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ
สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น
กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด
cr.www.dmc.tv
มรรคมีองค์ 8 คือ 在 Danai Chanchaochai Facebook 的最讚貼文
Soft Side Management by ดร.วรภัทร ภู่เจริญ
ดร.วรภัทร สรุปให้ฟังว่า ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างจาก PETER SENGE
และจะต่อยอดให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
เป็น SOL (Society Organization Learning) ได้อย่างไร
ดร.วรภัทร์เล่าว่า ได้รับเเบบอย่าง OL เมื่อ 15 ปีก่อน
จากปีเตอร์ ท่านเริ่มใช้ในองค์กรต่างๆ เช่น SCG
และชื่นชม PETER ว่าเหมือนพระเซน และ
เป็นคนกตัญญู คบได้ เพราะสามารถตอบได้ว่า
อาจารย์คือใคร (เป็นปรมาจารย์ชาวจีน สอนให้นั่งสมาธิ)
เรื่องที่ปีเตอร์พูดเช้าวันเปิดงาน คือ คุณสมบัติสุดยอดของการเป็น
Coach เป็น Mentor และเป็น Facilitator
Peter connect เราด้วยหัวใจ
เป็นทักษะที่นำคนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สังเกตจากอะไร?
สังเกตจากการที่ให้คนในห้องถามคำถาม
ไม่กี่คำถาม เขาวิเคราะห์ได้ว่า...ประเทศไทย เรามีปัญหาอะไร?
และเราจะแก้ไขมันได้อย่างไร?
นั่นคือกระบวนการนำพาให้ผู้อื่นได้เกิดการเรียนรู้
และคำตอบที่ได้รับ คือ คุณเห็นตัวคุณรึยัง?
ทำอย่างไรให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
1. Shared Vision
ในองค์กร อย่าแซวกัน ( too nagative)
อย่ากดดัน อย่า KPI
2. Positive Approach ชื่นชมกันบ่อยๆ
หรือจะใช้ศาสตร์ AI คือการหาจุดดี มาชื่นชมเพื่อต่อยอด
Appreciative Inquiry
3. มีนักกระบวนกร หรือ Fatilator / Coaching ในองค์กร
ซึ่งควรเป็น นินจา .. คือไม่เปิดเผยตัว ทำเเบบเงียบๆ
ส่วน coaching ควร coach แบบ one on one
และผู้ได้รับการโค้ชต้องรู้ตัว เต็มใจ และยอมรับ
ผู้เป็น Coach ควรโค้ชตัวเองให้ได้ก่อน จัดการข้างในตัวเอง
ให้ได้ก่อน ทั้งอัตตา ตัวตน นิสัย พฤติกรรม
เพราะการโค้ชที่ดี คือ ไม่มีตัวเรา อยู่ในพื้นที่การโค้ช
และเปลี่ยนห้อง Meeting เป็น Learning
ห้องมีทติ้ง เป็นห้องที่คนเกลียดกันมาที่สุดในบริษัท
จะทำยังไงให้ห้องนี้ กลายเป็นห้องเลิร์นนิ่ง และเรียนรู้
การ Facilitate คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้คน
การ coach คือ เปิด Potential (บารมี 10) ให้เชี่ยวชาญ
จะทำยังไงให้ เปิดสมองของผู้คนออกมา
เริ่มด้วย open mind 》 open heart 》 open will
สำคัญสุดคือ เห็นก่อนว่าเราเป็นใคร
ดร.วรภัทร อธิบายเรื่อง วิธีจัดการแบบตะวันตก ซึ่งตรงกับ
มรรคมีองค์ 8
1. เราจะต้องถามตัวเองให้ได้ว่า ครูของเราคือใคร
2. เราต้องเห็นตัวเองให้ได้ว่า เราเป็นใคร
3. ฝึกขอบคุณ ฝึก gratitude ฝึกอานาปานสติ
4. ฝึกชื่นชมผู้อื่น ฝึกใช้ศาสตร์ AI กับตัวเอง กับระบบงาน
5. ฝึกตัวเอง และจัดการตัวเอง ให้มีบารมี 10
6. ฝึกตัวเองตามแบบฝึกหัดของดร.วรภัทร์ ในเพจ สอนคน_ให้เป็นโค้ช
เริ่มต้นง่ายๆ ที่ตัวเรา ถามตัวเอง ว่า เราจะทำอย่างไรได้บ้างที่ทำให้องค์กร
ของเรา เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ขอบคุณ Gup-gip Supita DMG Books ที่สรุปการเข้าสัมมนา
กับ ดร. วรภัทร ภู่เจริญ ในงานครบ 50 ปี สมาคมจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
Personnel Management Association of Thailand (PMAT)
มรรคมีองค์ 8 คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最讚貼文
มรรคมีองค์ ๘ ข้อธรรมท่ีเจ้าคุณธงชัย อบรมสั่งสอนให้ผม ลักษณ์ เรขานิเทศ ขัดเกลาให้ เข้าใจในวิถีแห่งการดำเนินชีวิต
ในวันท่ีผมตั้งใจดี คิดดี ทำดี มีอิทธิบาท4ครบ แต่ชีวิตยังไม่มีอะไรดี ผมถามท่านเจ้าคุณธงชัย ท่านได้เมตตาให้"ข้อธรรม"นี้ พร้อมทั้งอธิบายข้อธรรมอย่งลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน ยกตัวอย่างจนผมมีความเข้าใจ และนี่เป็น ข้อธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตในความเป็นฆราวาสชน จึงขอนำ ข้อธรรมบางส่วนบางตอนมาให้ท่านท่ีสนใจใคร่รู้ได้ศึกษา
มรรค 8
มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง
แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิต หรือ กาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอจนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
คำว่า มรรค แปลว่า ทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระ หลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว
มรรคมีองค์แปด คือ :-
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง
การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็นการเห็นอริยสัจนั้น ย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไรอย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆเป็นอย่างไรอย่างละเอียด ที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้นเรียกเป็นวิชชาไป และไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้วข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์
สัมมาวาจา(ศีล) คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
สัมมากัมมันตะ(ศีล) คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
สัมมาอาชีวะ(ศีล) คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
สัมมาวายามะ(สมาธิ) คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทางดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
สัมมาสติ(สมาธิ) คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอดอวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ ให้สิ้นไป
สัมมาสมาธิ(สมาธิ) คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็นอาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญาทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับมรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิกอยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกันเป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า \"การอบรมทำให้มาก\" สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตาม ส่วนองค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคีพร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรมยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า
ให้ปรับมาใช้ คิดพิจารณา ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ในการประกอบกิจการงานต่างๆ และการดำเนินชีวิต ขอให้ทุกๆคนได้เข้าใจ รู้แจ้ง และทำให้ชีวิตมีความสุขความเจริญด้วยเทอญ