“ศาลรัฐธรรมนูญกับการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ช่วงนี้กระแสเรื่องของการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระที่ 2 ในเวลานี้ และได้มีการประชุมรัฐสภาลงมติเสนอให้รัฐธรรมนูญ ตีความว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญช้อบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ รัฐสภาแห่งนี้มีอำนาจพิจารณาญัตติส่งศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจศาลรัฐธรรมนูญ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้มี “ศาลรัฐธรรมนูญ” (Constitition Court) อยู่หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญออกมาโดยเฉพาะ มาตรา 200-214 นอกจากหมวด 10 หมวดศาล จนมีคนพูดถึงหรือกล่าวถึงว่า “ศาลรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 189 คือ บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้แต่โดยพระราชบัญญัติ การตั้งศาลขึ้นใหม่หรือกำหนดวิธีพิจารณาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ๆ จะกระทำมิได้”
ดังนั้นจะอธิบายที่มาโคร้งสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดังนี้
ที่มาและโครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 9 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 3 คน
(2) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตุลาการศาลปกครองสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวน 2 คน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีและยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน
(5) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้รับหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 2 คน
ในกรณีไม่อาจเลือกผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาตาม (1) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะเลือกบุคคลจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีก็ได้
การนับเงื่อนไขระยะเวลาให้นับถึงวันที่ได้รับการคัดเลือกหรือวันสมัครเข้ารับการสรรหา แล้วแต่กรณี
อนึ่งในกรณีจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คณะกรรมการสรรหาจะประกาศลดระยะเวลาลงก็ได้ แต่จะลดลงเหลือน้อยกว่า 2 ปีมิได้
อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยหรือมีคำสั่งได้ในประเด็นปัญหาโดยศาลรัฐธรรมนูญเองกับมีอำนาจวินิจฉัยร่วมกับบุคคลอื่น ดังนี้
1. การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและร่างกฎหมายดังนี้
1) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มี 2 กรณี ดังนี้
(1) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ กรณี มาตรา 132
(2) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ กรณี มาตรา 148
2) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติมาตรา 148
3) การพิจารณาวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อรัฐสภา มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติ ที่ต้องยับยั้งไว้หรือไม่ ตามมาตรา 139
4) การพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้ บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ มาตรา 212
5) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอ ตามมาตรา 231 (1)
2.พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจขององค์กร คือ พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ มาตรา 210 วรรค 1 (2)
3.พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่
1) การพิจารณาวินิจฉัยร่างข้อบังคับการประชุมของ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่ให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 149
2) การพิจารณาวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภากระทำการการใดเพื่อให้ตนมีส่วนโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ ตามมาตรา 144
3) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของเงื่อนไขการ ตราพระราชกำหนด มาตรา 173
4) การพิจารณาวินิจฉัยกรณีที่ประชาชนหรือชุมชนฟ้องหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ได้รับประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 51
5) การพิจารณาวินิจฉัยกรณีที่ผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ร้องขอว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 213
6) การพิจารณาวินิจฉัยการ้องขอให้เลิกการกระทำนั้นเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข มาตรา 49
7) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 (9)
8)การวินิจฉัยหนังสือสัญญาใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่ มาตรา 178
9) การพิจารณาวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพหรือคุณสมบัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา มาตรา 82
10) การพิจารณาวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงหรือไม่ มาตรา 170
11) การพิจารณาการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของ ส.ส. ส.ว.มาตรา 184 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี มาตรา 186
4.การพิจารณาวินิจฉัยกรณีอื่นที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1) การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องคัดค้านมติคำสั่งและประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และการยุบพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
2) การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีหรือ การดำเนินการของคณะรัฐมนตรีว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560
5. ศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่และอำนาจที่นอกเหนือจากการวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลรัฐธรรมนูญยังมีหน้าที่ และอำนาจที่นอกเหนือจากการวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1) การเสนอแนะความเห็นต่อร่างกฎหมายได้แก่
(1) ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 132 (2)
(2) พิจารณาแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระร่วมนอกจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามมาตรา 217
(3) พิจารณาร่วมกับองค์กรอิสระร่วมกันกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นใช้บังคับแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระรวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ มาตรา 219
2) หน้าที่และอำนาจของประธานศาลรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 ในฐานะผู้รักษากฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ประเด็นอำนาจการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการอก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาถึงรัฐสภาจะใช้อำนาจพิจารณาญัตติส่งศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่นั้น เมื่อพิจารณาถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 พบว่า ได้มียื่นญัตติตามบทบัญญัติพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจขององค์กร คือ พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ ตามมาตรา 210 วรรค 1 (2) และมาตรา 41(4) ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งมติรัฐสภาเห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ให้รัฐสภามีอำนาจส่งศาลรัฐธรรมนูญให้ศาลหาข้อยุติว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ให้ สสร. (สภาร่างรัฐธรรมนูญ) ดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ แทนฉบับเดิม เป็นการกระทำเกินกว่าอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ซึ่งคงต้องรอศาลจะออกมาแนวใด
เมื่อพิจารณาศึกษาเทียบเคียงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18 - 22/2555 เรื่อง คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กรณีส่งเรื่อง ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีประเด็น เกี่ยวกับการแก้ไขเพิมเคิมรัฐธรรมนูญ ว่า
“อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของประชาชนอันเป็นที่มาโดยตรงในการให้กำเนิดรัฐธรรมนูญ โดยถือว่ามีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบกฎหมายและองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรนั้นใช้อำนาจที่ได้รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญนั้นเองกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนการใช้อำนาจแก้ไขกฎหมายธรรมดา แม้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเป็นอำนาจของรัฐสภาก็ตาม แต่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 ได้มาโดยการลงประชามติของประชาชน ก็ควรจะให้ประชาชนได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาะสมและเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินการดังกล่าวได้”
สรุปได้ว่าคำวินิจฉัยนี้ พูดถึงรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ จะแก้ไขเพิ่มเคิมให้มีการยกทั้งฉบับนั้นถ้าไม่ผ่านประชามติจะกระทำไม่ได้
มาตรา68 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"ลักษณะของรัฐธรรมนูญ"
จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 กรณีนายกรัฐมนตรีอาศัยบ้านพักทหารไม่ขัดต่อมาตรา 184 และมาตรา 186 รัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้เกิดความกังขา ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดหรือไม่ ทั้งที่เขียนไว้ว่าเป็น กฎหมายสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามในความคิดบริสุทธิ์ ถือว่ารัฐธรรมนูญของประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐ ยังถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด อยู่ดี
รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่สำคัญมีดังนี้
1.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญจึงมีในฐานะเป็นที่มาสูงสุดของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ องค์กรของรัฐทุกองค์กรในรัฐต้องเคารพรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งหลักการนี้ได้รับรองอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หลายมาตรา เช่น ในมาตรา 3 มาตรา 5 และ มาตรา 25 เป็นต้น ดังนั้น รูปแบบการตรากฎหมายและเนื้อหาของกฎหมายต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คือ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีชื่อหรือศัพท์ใช้เรียกเฉพาะเพื่อชี้ให้เห็นว่าพิเศษและต่างจากกฎหมายอื่นๆ ดังนี้
1) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่เกิดใหม่มีพลวัตร
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่เกิดใหม่มีพลวัตร มีการเคลื่อนไหวพัฒนาอยู่ตลอดเวลา คำวินิจฉัยของศาลหรือการตีความของศาลจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า "กฎเกณฑ์ใหม่ทำให้รัฐธรรมนูญมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ” ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสนใจกับคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามนอกจากคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลแล้ว ยังมีธรรมเนียมปฏิบัติหรือจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญขององค์กรทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญที่ปฏิบัติเชื่อกันว่าต้องทำตามก็ทำให้เกิดบรรทัดฐานหรือกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นได้เช่นกัน
2) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ทางการเมือง
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง การใช้อำนาจทางการเมือง รวมไปถึงการกระจายอำนาจการปครอง ดังนี้
(1) รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์ทางด้านอุดมการณ์
รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์ทางด้านอุดมการณ์ ซึ่งรัฐธรรมนูญจะประกาศอุดมการณ์ว่าสังคมนั้นๆ เลือกที่จะเป็นสังคมแบบใด เช่น ประเทศไทยเป็นสังคมที่ประกาศอุดมการณ์ในการปกครองแบบรัฐเดี่ยว มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นต้น มีการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ ประกาศอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกทางตลาด และให้รัฐมีอำนาจเข้าแทรกแซงได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น
(2) รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์กับองค์กรในการใช้อำนาจทางการเมือง
การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆที่จัดตั้งขึ้น ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะใด เช่น การกำหนดว่ารัฐสภากับคณะรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้โดยให้สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งรัฐสภามีสิทธิเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ ซึ่งการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลก็ดีหรือทั้งคณะก็ดี ในทางกฎหมายก็คือการให้ถอดถอนรัฐมนตรีคนนั้นหรือทั้งคณะออกจากตำแหน่ง และในด้านกลับกันก็ให้นายกรัฐมนตรีมีสิทธิถวายคำแนะนำและยินยอมให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของรัฐยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็คือการถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนออกจากตำแหน่งครบวาระนั่นเอง เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรีจึงมีความสัมพันธ์ที่ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันหรือคานอำนาจกัน (Check and Balance) ในแง่ที่ว่าต่างฝ่ายต่างก็มีอำนาจถอดถอนอีกฝ่ายหนึ่งออกจากตำแหน่งได้ รัฐสภาถอดถอนฝ่ายบริหารออกจากตำแหน่งได้ ฝ่ายบริหารก็ถอดถอนรัฐสภาออกจากตำแหน่งได้ เป็นลักษณะของความสัมพันธ์อันหนึ่งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจจะกำหนดให้ศาลมีอิสระในการทำหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้แก่ตนอย่างเป็นอิสระไม่ต้องฟังคำสั่ง หรือคำบังคับบัญชาของรัฐสภาและทั้งคณะรัฐมนตรี ศาลมีหน้าที่ผูกพันแต่เฉพาะกฎหมายเท่านั้นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ต้องเคารพและผูกพันปฏิบัติตามคำสั่งคำบังคับบัญชาของรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี และที่สำคัญมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร ตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น
ข้อสังเกต ความเป็นอิสระของศาลไม่ผูกพันกับองค์กรใดและไม่ต้องรับผิดชอบกับองค์กรใด แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น ทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบประธานาธิบดี ระบบรัฐสภาและระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ก็จะมีลักษณะเหมือนกันกับความเป็นอิสระของศาลในการพิพากษาอรรถคดี
(3) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กระจายอำนาจ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กระจายอำนาจ การใช้และการตีความรัฐธรรมนูญเป็นการใช้และการตีความที่มีการกระจายอำนาจสูง ไม่มีองค์กรใดในรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดสามารถตีความรัฐธรรมนูญได้ทุกเรื่องแต่เพียงผู้เดียว ขึ้นอยู่ตามความสำคัญแต่ละเรื่องไป ซึ่งบางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติใช้และตีความรัฐธรรมนูญในส่วนกระบวนการตรากฎหมาย บางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายบริหารใช้และตีความตามรัฐธรรมนูญในการบริหารราชการแผ่นดิน บางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายตุลาการใช้และตีความรัฐธรรมนูญในส่วนการตัดสินคดีตามกฎหมาย เป็นต้น
3. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ
กฎหมายที่มีแนวคิดพื้นฐานเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐ ย่อมส่งผลให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ควบคุมการใช้อำนาจของรัฐไม่ให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่รับรองไว้โดยกฎหมายกฎหมายสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญก็จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้โดยกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามหลักการปกครองแบบนิติรัฐ (Legal State) ที่ยึดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ เป็นการใช้หลักการปกครองที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะกระทำการใดได้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจและต้องกระทำภายในขอบเขตของกฎหมาย (หลักนิติรัฐ) โดยบังคับใช้กฎหมายเสมอภาคเท่าเทียมกัน (หลักนิติธรรม)
มาตรา68 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文
ที่สำคัญคือข้อนี้
ควรยกเลิกการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมด้วย ม.116 ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ การเรียกร้องประชาธิปไตยโดยสงบ ปราศจากอาวุธ มิใช่การกระทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้น และมิใช่สิ่งอันเป็นเท็จ “การดำเนินคดีด้วยกฎหมายดังกล่าว เป็นการทำเกินกว่าเหตุ”
คือมันไม่ใช่ว่าฟ้องคนที่ขึ้นปราศัยด้วยข้อหา 116 ไปจนหมด แล้วกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวเขาจะหยุดอ่ะนะ เขาไม่ได้ออกมาเพราะแกนนำ คือต่างคนเขาก็มีความคิดของตัวเองอยากเห็นประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ต่อให้เอาคนที่เข้าใจว่าเป็นแกนนำไปเข้าคุกหมด เด็กๆเขาก็เคลื่อนไหวต่อ และยิ่งทำให้สถานการณ์มันแย่ลงด้วย อันนี้เห็นด้วย ถ้าจะเริ่มคุยกัน อย่างแรกเลย หยุดไอ้เรื่องนี้ก่อน
UPDATE: แพทย์-ทันตแพทย์-พยาบาล กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขฯ ออกแถลงการณ์หนุน 3 ข้อเรียกร้องนักศึกษา
.
วันนี้ (1 กันยายน) กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ตามรายชื่อที่ลงนาม ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ กรณีการชุมนุมของกลุ่มนักเรียนนักศึกษา โดยมีรายละเอียดระบุว่า
.
1. การชุมนุมและแสดงออกของนักเรียนนักศึกษา ทั้งในและนอกสถานศึกษา เป็นสิทธิที่กระทำได้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 34 และ 44 ซึ่งบัญญัติว่าบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และยังเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ข้อ19, 20 ระบุ บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็น การแสดงออก และชุมนุมโดยสงบ การชุมนุมและแสดงออกของผู้ชุมนุม เป็นการใช้สิทธิแสดงความคิดเห็น ไม่มีลักษณะล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่กระทบความมั่นคง ไม่ละเมิดบุคคลอื่น จึงเป็นสิทธิที่กระทำได้
.
2. ควรยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มาควบคุมการชุมนุม โควิด-19 ไม่พบการติดเชื้อในประเทศเกิน 3 เดือนแล้ว ควรเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อใช้ชีวิตและประกอบอาชีพได้ใกล้เคียงปกติ บรรเทาปัญหาเศรษฐกิจ และใช้ พ.ร.บ. โรคติดต่อแทน เพราะสามารถกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น แยกกักผู้สัมผัสโรค กำหนดช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศได้เช่นกัน นายกฯ ยังสามารถใช้อำนาจบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ได้ “การควบคุมการชุมนุมโดย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ตรวจสอบโดยฟ้องร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศาลปกครองไม่ได้ และมีโทษรุนแรงเกินไป”
.
3. ควรยกเลิกการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมด้วย ม.116 ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ การเรียกร้องประชาธิปไตยโดยสงบ ปราศจากอาวุธ มิใช่การกระทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้น และมิใช่สิ่งอันเป็นเท็จ “การดำเนินคดีด้วยกฎหมายดังกล่าว เป็นการทำเกินกว่าเหตุ”
.
4. ที่มารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และรัฐบาลปัจจุบัน ไม่เป็นประชาธิปไตย คสช. ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 เพื่อตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ขึ้น แม้จัดลงประชามติ แต่ คสช. สามารถรณรงค์ให้รับร่างได้หลายเดือน ขณะฝ่ายตรงข้ามถูกตั้งข้อหาคดีต่างๆ เช่น ฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประชามติ มากกว่า 200 คน และอยู่ใต้เงื่อนไขหากไม่ลงมติรับ คสช. จะอยู่ต่อไป บทเฉพาะกาลยังให้ คสช. เลือกวุฒิสมาชิก 250 คน และวุฒิสมาชิกก็กลับมาเลือก พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ อีกครั้ง “รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และรัฐบาลมีที่มาจากการรัฐประหาร จึงไม่เป็นประชาธิปไตย”
.
5. รัฐบาลล้มเหลวในการบริหารประเทศ “คสช. และรัฐบาลล้มเหลวในการบริหารประเทศ โดยเฉพาะด้านคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเศรษฐกิจ” ตลอด 6 ปี ประชาชนถูกคุกคามมากกว่า 783 ราย ถูกดำเนินคดีต่างๆ มากกว่า 1,219 ราย ยังถูกจำคุกอยู่ราว 28 ราย ลี้ภัยทางการเมืองมากกว่า 104 ราย และอาจถูกบังคับให้สูญหายอย่างน้อย 10 ราย ด้านเศรษฐกิจ ในปี 2563 นี้ ประเทศไทยเป็นหนี้สาธารณะถึง 7.43 ล้านล้านบาท ประชาชนเป็นหนี้ครัวเรือน 13.48 ล้านล้านบาท และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบถึง 12.2%
.
กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย จึงเห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้ชุมนุมที่ให้ "รัฐบาลต้อง 1. หยุดคุกคามประชาชน 2. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 3. ยุบสภา"
.
รายชื่อบุคลากรด้านสาธารณสุข ที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์ ‘กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย’ (พว. = พยาบาลวิชาชีพ)
.
1. พญ.จินดา ยงใจยุทธ
2. นพ.ภีศเดช สัมมานันท์
3. รศ.นพ.ไตรจักร ซันดู
4. อ.นพ.ดิเรก บรรณจักร์
5. ศ.เกียรติคุณ พล.ต.หญิง วณิช วรรณพฤกษ์
6. ศ.เกียรติคุณ นพ.ทวิป กิตยาภรณ์
7. นพ.สุขุม รังคสิริ
8. ผศ.นพ.กำธน จันทร์แจ่ม
9. พว.ดุจดาว วิริยกิจโกศล
10. พว.วราภรณ์ เตชะวัชรีกุล
11. พว.ฐิตารีย์ อุทยานุกูลศิริกุล
12. พว.ผดุงพร ทรงคุณ
13. พว.เรณู ไชยชะนาญ
14. พว.วาทินี ไฝทอง
15. ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
16. ทพ.ศุภชัย พงษ์ศิริ
17. ทพญ.จันทร์จิรา หอมนาน
18. ทพ.สุรพงศ์ จินตนาภรณ์
19. ทพญ.นวรัตน์ แก้วนามไชยฐ์
20. รศ.สริตา ธีระวัฒน์สกุล
21. รศ.ดร.ภก.ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์
22. ภญ.สุวภา ปวุฒิยาพงศ์
23. ภก.เสกสรรค์ วิรุฬห์ศรี
24. นพ.วรพล สุจริตจันทร์
25. พญ.วรัชชญา จำปา
26. นพ.สมยศ สำราญบำรุง
27. นพ.อนันต์ โลหะพัฒนบำรุง
28. นพ.ยุทธนา ป้องโสม
29. นพ.เกรียงศักดิ์ ลาภจตุรพิธ
30. พญ.กรรณิการ์ บางสายน้อย
31. พญ.สุภาภรณ์ ปวุฒิยาพงศ์
32. นพ.สุรพงษ์ มาศรังสรรค์
33. พญ.นฤมล ภมะราภา
34. นพ.ไพรัช เกตุรัตนกุล
35. พญ.รานี จงจิระศิริ
36. นพ.บุญชู สถิรลีลา
37. นพ.สุพจน์ อุตรศักดิ์
38. นพ.ณฐพล จันทรอัมพร
39. พญ.จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
40. พญ.ปัณฑิตา ดีอนันต์ลาภ
41. พว.พรรัตน์ เกิดด้วยบุญ
42. อ.พว.วารุณี ผ่องแผ้ว
43. อ.พว.สุพิมล ขอผล
44. อ.พว.ดาววรรณ์ คุณยศยิ่ง
45. อ.พว.สถิตย์ วงศ์สุรประกิต
46. อ.พว.พัชรนันท์ รัตนภาค
47. สุทัศน์ สมบูรณ์
48. สุพิศ ถิรกมลพันธ์
49. รัชนี สอนสวาท
50. ศุภกาญจน์ สโมสร
51. ถิรวัฒน์ วงศ์วานิช
52. ทศพร ริยา
53. สมพร เรืองเดช
54. ปองกาญจน์ เรือนคำ
55. พว.รุ่งทิพย์ ประเสริฐพงค์
56. พว.มิ่งขวัญ พงษ์ดง
57. พว.สุชาดา ศรีสมบุญ
58. พว.พัศณี ปันสีทอง
59. พว.ฐิตาภา ทายะมหา
60. พว.สุวารี จูฑะรงค์
61. พว.สารภี เลิศวงศรัฐ
62. นพ.อิทธิ อาจหาญ
63. นพ.สังกาศ สุวรรณวิไล
64. นพ.สหชาติ พิพิธกุล
65. นพ.ณรงศักดิ์ ราชภักดี
66. พญ.สุพัตรา สิทธิราชา
67. นพ.ไพรัช ไชยกุล
68. พญ.รัตโนทัย พลับรู้การ
69. พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์
70. นพ.ธวัชชัย ภาสุรกุล
71. พว.พรจิต พัวเพิ่มพูลศิริ
72. พว.ธวัลยา มั่นพลับ
73. พว.อนงค์ ไชยกุล
74. พว.อรุณี รักชาติ
75. พว.ดารณี ลัทธิมนต์
76. พว.เลิศฤทธิ์ วุฒิตันติพงศ์
77. พว.ขวัญชนก จันทร์แจ่ม
78. พว.ธารสิริ วิริยานภาภรณ์
79. รศ.กรรณิกา วิทย์สุภากร
80. พว.เสาวคนธ์ เชา
81. พว.พรวรินทร์ นุตราวงศ์
82. พว.ศิวาพร บานเย็นงาม
83. พว.ศุภลักษณ์ พรมเทพ
84. พว.ยินดี ชำนาญกิจ
85. พว.เสาวลักษณ์ รอบคอบ
.
รายชื่อบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์ ‘กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย’
.
1. อ.ประเวศน์ มหารัตน์สกุล
2. ผศ.ดร.รัตนชัย ไพรินทร์
3. ร.ศ.สุดสงวน สุธีสร
4. อ.พนัส ทัศนียานนท์
5. งามวัลย์ ทัศนียานนท์
6. ฐิติชญา วสุนธราวงศ์
7. พงศ์พัฒน์ ประวัง
8. จุฑาทิพพ์ พ้องพงษ์ศรี
9. ดร.เกรียงศักดิ์ ไชยโรจน์
10. พลอยนวล วงศ์วิบูลย์ชัย
11. วีระพงษ์ เตชะวัชรีกุล
12. ทค.ณัฐ นามไธสง
13. ถาวร นนทรักษ์
14. ฉันฑิต นนท์รัก
15. สุนันทา ปวุฒิยาพงศ์
16. วราทิพย ธารนพ
17. อนันต์ นันทนาพรชัย
18. สุพรรณี เสริมสมัตถ์
19. สังวาลย์ ศรีวิชัย
20. ธนานุวัตน์ สีวิชัยลำพรรณ
21. ราชวัตร รัตนเวียงพิงค์
22. ทับทิม คงภูมิผล
23. กิตติ ลีรัตนรักษ์
24. สมรรถการ เสริมสมัตถ์
25. ธนาธิป สีวิชัยลำพรรณ
26. ชวนพิศ พานิชอัตรา
27. สมคิด พานิชอัตรา
28. วีระชัย กิตติวานิช
29. พิมพ์ชนก อามง
30. พินิท คำมูล
31. เทียน คำมูล
32. คนธรส สาคร
33. ไพศาล จันปาน
34. พลอยจันทร์ กีรติสกุล
35. อาณัติ เกิดด้วยบุญ
36. ผุสดี บัวเลิศ
37. เอนก เรืองอ่อน
38. สมใจ เรืองอ่อน
39. ทิพประทุม รุ่งโรจน์
40. ธีราภรณ์ รัตนชัย
41. วิภาวี นิลประสิทธิ์
42. พลอยนวล วงศ์วิบูลย์ชัย
43. นารีรัตน์ เรืองอ่อน
44. ว่าที่ร้อยตรี จิรายุ เรืองอ่อน
45. สุวรรณ มุกดาหา
46. เจียมจิตร บรรพระจันทร์
47. รจนี คูนาเอก
48. พัชร รัตนประทุม
49. ศุภศิริ บรรดาศักดิ์
50. สิริกาญจน์ พวงสุกระวัฒนะ
51. วารี บุญส่ง
52. ผไทมาส ศรีสมพร
53. ศิริศักดิ์ ลิ้มภักดี
54. รัตนา พวงกิ่งแก้ว
55. สุทธิวัฒน์ มังตรีสรรค์
56. อ.วันวิน ปังตระกูล
57. สุวรินทร์ จันทร์สุริยา
58. พิมพ์เดือน เชาวน์ลักษณ์
59. วีรพล เชาวน์ลักษณ์
60. รัชดา คำภีระ
61. เกรียงเทพ วีรนันทนาพันธุ์
62. เกษม สุนิลหงษ์
63. เฉลิมพล พูลสวัสดิ์
64. บุญงาม ปิ่นทอง
65. ธิดารัตน์ จันทรังศรี
66. นรินทร์ จันทรังศรี
67. ศุภาภรณ์ ถาปนศิริ
68. ปริศนา ทับกิจ
69. ปภิณวิช ปทีปนำพาผล
70. พรรณี วิศิษฐวัฒนาพร
71. สุชาติ สถิตย์พัฒนพันธ์
72. กมล ภู่ประเสริฐ
73. สุวีระ อัฑฒพงศ์
74. ไพมณี แสนอุบล
75. อรวรรณ เชิญรุ่งโรจน์
76. สุภาพ สงวนสุข
77. ชญานุช เจตน์ภักดิ์
78. อมรจิตร ดิเรกฤทธิ์
79. ประยงค์ อภิรัตน์เกษม
80. นิรันดร์ บุญเนตร
81. ลัดดา จันต๊ะคะรักษ์
82. สุดสงวน ท่าหลวง
83. อาทิตย์ เชิดนอก
84. สายทอง ไชยอำมาตย์
85. ลัดดา ยะคำแจ้
86 คำสอน แก้วมณีย์ยะ
.
อ่านต่อได้ที่ https://thestandard.co
#News #TheStandardCo