ความผิดฐานหมิ่นประมาท
ข้อมูลนี้ คัดลอกมาจากhttp://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42025/section1.htm ซึ่งผมเห็นว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ
ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326 ระบุถึงการกระทำความผิด
ฐานหมิ่นประมาทไว้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการ
ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียงถูก ดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การหมิ่นประมาท ที่จะเป็นความผิดที่มีโทษ ทางอาญานั้น จะต้องมีการกระทำ
ที่สำคัญ คือ “ใส่ความ”
ความหมายที่ได้บัญญัติไว้ โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2493 ให้ความหมายไว้ว่า พูดหาเหตุ หรือ กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับ
ความเสียหาย
ตามความหมายที่ชาวบ้านธรรมดาเข้าใจกัน ก็คือการใส่ความแก่กัน
ว่าใส่ร้ายหรือแสดงข้อความที่ไม่เป็นความจริง
แต่ข้อเท็จจริงตามกฏหมายข้อความที่กล่าวแก่บุคคลอื่นนั้นแม้ที่กล่าว
ออกไปนั้นเป็นความจริงก็ผิดกฎหมายมีโทษได้
การ “ใส่ความ” ในกฎหมายนั้นมิได้จำกัดแต่ว่าเอาเรื่องไม่จริง
ไปแต่งความใส่ร้ายเขาแต่มุ่งการเอาข้อความไปว่ากล่าวเขา ต้องเป็นการยืนยัน
ข้อเท็จจริงว่า เป็นข้อความแน่นอนเป็นเหตุให้ผู้อื่น เสียชื่อเสียงด้วยประการ
ต่าง ๆ เช่น
ดำบอกแดงว่า มีข่าวลือว่าขาว เป็นชู้กับเมียนายเขียว แม้ดำจะเชื่อว่า
ไม่จริง หรือเป็นความจริงก็ตาม ดำก็ผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว
การหมิ่นประมาทต้องเป็นการกล่าว “ใส่ความ” “ผู้อื่น”
ต่อ “บุคคลที่สาม” ต้องมีบุคคลสามฝ่าย คือ
1. ผู้กล่าว 2. ผู้อื่น 3. บุคคลที่สาม
เช่น
ดำบอกแดงว่า แดงขโมยของเขียวไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะไม่มี
บุคคลที่สาม แต่ถ้าดำบอกเหลืองว่า แดงขโมยของเขียว ดำผิดฐานหมิ่นประมาท
แล้ว เพราะเหลืองเป็นบุคคลที่สาม
เมื่อมีการกล่าว การใส่ความ บุคคลที่สามแล้ว ประการสุดท้ายที่จะ
เป็นผิดฐานหมิ่นประมาทได้นั้น การใส่ความต้องทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียหาย
ไม่ว่าจะเสียหายในชื่อเสียงถูกคนอื่นดูหมิ่น ถูกเกลียดชังก็ได้
สรุป ก็คือ จะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีการกระทำดังนี้ 1. ใส่ความผู้อื่น 2. ต่อบุคคลที่สาม 3. ทำให้ผู้อื่นเสียหายในชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง การใส่ความต้องมีผู้เสียหาย คือผู้ถูกใส่ความ ซึ่งตามหลักเกณฑ์ ทางกฏหมายคือผู้อื่น ผู้อื่นนั้นต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้
นิติบุคคล คือ บุคคลตามกฏหมาย เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด วัด เป็นต้น บุคคลผู้ถูกหมิ่นประมาทถ้าเป็นคนธรรมดา ต้องเป็นผู้มีชีวิตอยู่ แต่ถ้าตายไปแล้วก็ผิดกฏหมายได้ จะได้กล่าวในลำดับต่อไป บุคคลที่ถูกดูหมิ่นประมาทต้องมีตัวตน ระบุไว้แน่นอนว่าเป็นใคร กลุ่มใด สามารถกำหนดตัวตนได้เป็นที่แน่นอน ถ้ากล่าวกว้างเกินไป ก็ไม่สามารเอาผิดฐานหมิ่นประมาทได้ เช่น หมิ่นประมาทคนนครปฐม คนราชบุรี เป็นการระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ไม่เป็นผิด
ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา - การเขียนข้อความหมิ่นประมาทกำนันและปลัดอำเภอโดยไม่ระบุชื่อ ผู้อ่านบางคนรู้ว่าหมายความถึง บ.กำนันคนปัจจุบัน และ ป. ปลัดอำเภอ คนหนึ่งที่เกี่ยวข้องเรื่องนั้น ปลัดอำเภออีก 4 คน ไม่เกี่ยว ก็เป็น หมิ่นประมาท บ. และ ป. ไม่จำเป็นที่ผู้อ่านบางคน จะต้องรู้ว่าหมายความถึง บ. และ ป. - ออกชื่อบุคคลในหนังสือพิมพ์ตอนแรกแต่ไม่ออกชื่อในตอนหลัง อาจอ่านประกอบกันเป็นหมิ่นประมาทบุคคลที่ออกชื่อในตอนแรก ก็ได้ - กล่าวว่า แพทย์ชายใจทราม ในโรงพยาบาลศิริราช หมายความถึง แพทย์ชายคนหนึ่งมิได้หมายความถึงแพทย์ทุกคน ไม่เป็นความผิดฐานนี้ - กล่าวถึงบุคคลในพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกในพรรคคนหนึ่ง ฟ้องไม่ได้ ในเมื่อไม่มีอะไรแสดงว่ากล่าวถึงผู้นั้นโดยเฉพาะ - กล่าวว่าเทศมนตรีทุจริต แต่ในระยะ 1 ปี มีเทศมนตรีเปลี่ยนกัน มาแล้ว 7 ชุดยังเข้าใจไม่ได้ว่า หมายความถึง เทศมนตรีชุดปัจจุบัน 3 นาย - กล่าวว่า ราษฏรบ้านกราดที่อพยพมา ล้วนเป็นคอมมิวนิสต์ ราษฏร มี 4,000 คน ไม่เข้าใจว่า หมายความถึงโจทก์ไม่เป็นหมิ่นประมาท แต่ถ้ากล่าวข้อความหมิ่นประมาทถึงแม้จะ กล่าวถึงคนเป็นกลุ่มเป็นพวก ก็ตามถ้าสามารถเป็นที่เข้าใจได้ว่า หมายถึง คนในกลุ่มในพวกนั้นทุกคนก็เป็น หมิ่นประมาทได้ แต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่า คนในกลุ่มพวกดังกล่าว ต้องมีจำนวน ไม่มากเกินไป ถ้าจำนวนคนในกลุ่มพวกมีจำนวนมาก ๆ อาจทำให้เป็นที่เข้าใจ ได้ว่าไม่หมายความถึงทุกคน ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท ดังตัวอย่างตาม คำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น
ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา - พูดหมิ่นประมาท “พระวัดนี้” หมายความว่า พระทั้งวัดซึ่งมี 6 รูป - กล่าวว่า “ทนายความเมืองร้อยเอ็ดเป็นนกสองหัว” ซึ่งมีทนายความอยู่ 10 คน การใส่ความดังกล่าวมาแล้วข้างต้น คือ เป็นการแสดงข้อเท็จจริงอันหนึ่ง อันใดแม้เป็นความจริงก็ผิดได้ วิธีการใส่ความก็คือ แสดงข้อความให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ อาจเป็น พูด อ่านเขียน วาดภาพ แสดงท่าทาง ภาษามือ ใช้เครื่องหมายสัญญลักษณ์
ตัวอย่าง - ดำวาดภาพแสดงข้อความว่าแดงเป็นคนไม่ดีให้เขียวดู เป็นหมิ่นประมาท - ดำหมิ่นประมาทแดงโดยใช้ภาษามือกับเขียว เป็นหมิ่นประมาท - ดำส่งกระดาษที่มีข้อความหมิ่นประมาทเขียวให้แดงอ่าน เป็นหมิ่นประมาท หรืออาจเป็นการแสดงออกโดยปิดประกาศหรือส่งจดหมาย พูดทางโทรศัพท์ ก็ได้ ข้อความที่ใส่ความนั้นต้องหมิ่นประมาทด้วยกล่าวคือโดยประการ ที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังซึ่งลักษณะ ของการกระทำเป็นเพียง “น่าจะ” เท่านั้น ไม่ต้องให้ผู้รับฟัง หรือบุคคลที่สาม เกลียดชังผู้ถูกดูหมิ่น ก็ใช้ได้ ถือว่าผิดกฏหมายแม้บุคคลที่สาม จะไม่เชื่อข้อความ ก็ตาม ข้อความที่กล่าวจะผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาทั้งหมดรวม ๆกัน ถ้ารวมกัน ทั้งหมดแล้ว เป็นหมิ่นประมาทก็ผิด ไม่ใช่พิจารณาตอนใด ตอนหนึ่ง แต่คำกล่าวข้อความตอนต้นเป็นหมิ่นประมาทแล้ว แม้ตอนหลังจะไม่เป็น หมิ่นประมาทก็ผิด
ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา - หนังสือพิมพ์ ลงข่าวอดีตกำนันถูกฟ้องศาล พิจารณาคดีขบถ แต่ลงรูปถ่ายและข้อความว่า “คนขายชาติอดีตกำนัน ย.” เมื่อถูกตีแผ่ เป็นลมกลางศาล ข้อความตอนนี้แยกเป็นคนละตอนต่างหากจากตอนแรก เป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เองอธิบายภาพว่า ย. ขายชาติซึ่งความจริง ย. เพียงแต่ถูกฟ้อง เป็นความผิด ตามมาตรา 326 - กล่าวถึงผู้พิพากษาว่า "ถ้ามันจะกินไข่ของเขาเข้าไป” หมายความว่า ผู้พิพากษารับสินบน ผิดฐานหมิ่นประมาท - กล่าวว่า “นายกเทศมนตรีกินเนื้อ น. วันละ 8 กิโล” ผิดฐานหมิ่น ประมาท - กล่าวว่า “คุณติดตะรางเรื่องอะไร” แสดงว่าต้องโทษจำคุกมาแล้ว ผิดฐานหมิ่นประมาท -ข้อความในหนังสือพิมพ์ว่า “ท.เป็นสาวก้นแฉะ” บรรยายความในฟ้อง ด้วยว่าหมายความว่าชอบร่วมประเวณีกับชายทั่วไปจำเลย ให้การรับสารภาพ เป็นหมิ่นประมาท การกล่าวข้อความบางทีมองผิวเผิน อาจเข้าใจได้ว่าผิดกฏหมาย ฐานหมิ่นประมาท แต่จริง ๆ แล้วไม่ผิด ต้องผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น เป็นเพียง คำพูดไม่สุภาพ เป็นคำกล่าวลอย ๆ ไม่ยืนยันข้อเท็จจริง พูดกล่าวในสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ คำด่าทั่วไป แม้เป็นไปในทางเสื่อมเสียทำให้ผู้ถูกด่าโกรธ โมโห เจ็บใจ ไม่เป็นหมิ่นประมาท ไม่ใช่ว่าถ้ามีการด่าก็ผิดฐานหมิ่นประมาท (แต่อาจผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าได้)
ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา - กล่าวว่า ทำไม่ชอบด้วยศีลธรรมไม่เป็นหมิ่นประมาท - ว่า ประพฤติเลวทรามที่สุดทั้งการกระทำและคำพูด ไม่เป็นหมิ่นประมาท - เป็นคนนิสัยไม่ดี มีความรู้สึกต่ำไม่เป็นหมิ่นประมาท - อย่าเอาไม้ไปแหย่ขี้ เป็นแต่คำเปรียบเทียบ ไม่สุภาพ - กล่าวข้อความว่า เป็นผีปอบ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แม้คนบางกลุ่มจะ เชื่อ แต่ต้องถือตามความเข้าใจของคนทั่วไป ไม่เป็นหมิ่นประมาท แต่หากกล่าวว่า “เวลาผัวไม่อยู่ มีชู้ตั้งร้อยอันพันอัน” หมายความว่า ประพฤติเลวทรามทางประเวณี ไม่ใช่กรณีกล่าวในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เป็นหมิ่นประมาท - กล่าวว่า อ้ายเหี้ย อ้ายสัตว์ อ้ายชาติหมา เป็นคำด่า หมายความว่า เลวทราม ไม่ใช่ใส่ความหมิ่นประมาท - กล่าวว่า พระเป็นจิ้งเหลือง คือสัตว์ห่มผ้าเหลือง เป็นดูหมิ่น ไม่ใช่หมิ่นประมาท ถ้าคำด่ามีการหมิ่นประมาทรวมไปด้วยก็ผิดกฏหมายหมิ่น ประมาทได้ เช่น - ป. ข. ก. ด่ากัน ง. พี่ ก. เข้าช่วยด่า ป. ว่า “อีชาติดอกทอง คบกับ พี่กูที่ปากสระ ลูกของมึงคนหนึ่งเป็นลูกของผัวกู” เป็นหมิ่นประมาท - ล. ด่า ส. ว่า “อีส่องทำชู้กับผัวกู” พ่อแม่มันคบกับสัตว์กับหมา เป็นคำด่ามีข้อความหมิ่นประมาทรวมอยู่ด้วย - ด่ากับคนหนึ่ง แล้วเลยกล่าวไปถึงน้องของเขาว่ามีท้องรีดลูก เป็นหมิ่นประมาท - ด่าว่า “อีดอกทอง อีหน้าด้าน กะหรี่เถื่อน พวกมึง 3 คน แม่ลูกเป็น กะหรี่เถื่อน ให้เขาเอา 3 คน 50 บาท มีเงินก็เอาได้ ไม่มีเงินก็เอาได้” เป็นหมิ่นประมาท - มีคนบอก ส. ว่า พ. แอบดูเห็น ส. ร่วมประเวณีกับ ช. ส. ไปถาม พ. แล้ว พูดโต้ตอบเถียงกันว่าเห็นจริงหรือไม่ พ. พูดอีกว่ามึงเอากันจริง แล้ว ยังจะมาพาลหาเรื่องอีกดังนี้ พ. ไม่เพียงแต่ตอบคำถามของ ส. แต่เมื่อเถียง กันแล้ว ยังยืนยันอีก เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท - กล่าวในการทะเลาะโต้เถียงตอบโต้ย้อนซึ่งกันและกัน ไม่เป็นผู้เสียหาย ร้องทุกข์และฟ้องไม่ได้ การหมิ่นประมาท ต้องเป็นการใส่ความและมีพฤติกรรม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง การเสียชื่อเสียง อาจหมายความว่าทำให้คนอื่น มองไปในทางไม่ดี ลดคุณค่า ความเชื่อถือ นับถือลง เช่น - กล่าวว่า พระวัดนี้ดูหนัง เลวมาก บ้าผู้หญิง ไม่มีศีล เป็นหมิ่นประมาท ทำให้ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง เป็นความหมายตามธรรมดา ไม่ได้จำกัด แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างตามพิพากษาศาลฎีกา - ด. กล่าวว่า ย. เป็นคนโกงเอาสัญญาปลอมมาฟ้อง จะต้องฟ้อง ย. ให้ติดคุก เป็นหมิ่นประมาท - กล่าวว่า ง. ใช้คนไปลักเสาและเป็นคนทนสาบาน เป็นหมิ่น ประมาท - กล่าวว่า ผูเ้สียหายลักของจำเลยเป็นหมิ่นประมาท - กล่าวว่าให้และรับสินบน เป็นหมิ่นประมาท - ลงรูปถ่ายและข้อความหนังสือพิมพ์ ประกาศข้อหายักยอก ให้นำส่งสถานีตำรวจ แสดงว่าโจทก์ทุจริต จำเลยรู้ว่าโจทก์รับราชการ นำหมายจับ จับได้แน่นอน การโฆษณาเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ ประชาชนแม้ตำรวจออกหมายจับตามที่จำเลยร้องทุกข์จริงก็เป็นผิดมาตรา 328 - ซ. ชี้หน้า ช. ว่า คนชาติชั่ว หากินเท่าไรก็ไม่เจริญ โกงเอาทรัพย์สมบัติ เป็นหมิ่นประมาท ข้อความบางข้อความเป็นการกล่าวลอย ๆ ไม่รุนแรง ไม่ทำให้ถูก เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังก็ไม่เป็นหมิ่นประมาท
ตัวอย่างตามคำพิากษาศาลฎีกา - ช. นายอำเภอพูดว่า ง. ว่า,อีหน้าเลือด ไม่ปรานีคนจน ไม่เป็น หมิ่นประมาท - กล่าวเป็นคำถามว่า พ. ถูกเรียกชื่อพระราชทานคืนไม่ใช่หรือ ไม่เป็นคำใส่ร้ายไม่เข้าใจได้ว่า ประพฤติไม่ดีอย่างไร หรือทำชั่วร้าย อย่างไร ไม่เป็นหมิ่นประมาท - พูดว่าการกระทำขอ น. ไม่ชอบด้วยศีลธรรม ย่อมแล้วต่อการ กระทำนั้น หากไม่ระบุการกระทำเป็นการเลื่อนลอย ไม่รู้ว่าชั่วอย่างไร ไม่เป็นหมิ่นประมาท - ฟ้องบรรยายว่า ซ. กล่าวว่า ซ. ได้มอบเงินให้ ป. 150 บาท ไปถวาย พระ แต่ความจริงไม่ได้มอบ ดังนี้เป็นแต่ ซ. กล่าวเท็จ ไม่กล่าวหมิ่นประมาท ป. - เขียนจดหมายถึง ก. กล่าวว่า ข. ประพฤติเลวทรามที่สุดทั้งการกระทำ และคำพูดไม่ได้หมายความว่า ข.ลักทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ์ไม่เป็นหมิ่นประมาท - พระธุดงค์เข้าไปอยู่ในป่า เจ้าอาวาสไล่ชาวบ้านพอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ล. กล่าวต่อหน้าประชาชนว่า “หลวงพ่อวัดนี้เอาประชาชนบังหน้าต่อต้านพระ ที่ป่าช้า” ไม่รุนแรงถึงเป็นหมิ่นประมาท - ลงหนังสือพิมพ์ว่า อ. ไม่มีชื่อในทำเนียบนักข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถ้า อ. ไปอ้างที่ไหนว่า อ. เป็นนักข่าวให้แจ้งตำรวจจับได้เลย ไม่เป็นหมิ่นประมาท ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นหมิ่นประมาท - ลงข้อความในหนังสือพิมพ์ว่า ไอ้เสี่ยวบ้ากาม หมายถึงโจทก์มักมาก ในวิสัยปุถุชนทั่วไป - กล่าวหญิงมีสามีเป็นชู้กับชายอื่น - กล่าวว่า พี่น้องร่วมบิดามารดาได้เสียกันจนมีครรภ์ต้องทำแท้ง - กล่าวว่า พี่หร่ำ ระวังลูกสาวจะท้องโตหมายความว่าลูกสาวคบชู้สู่ชาย - กล่าวว่า ข้าราชการหญิงเป็นกะหรี่ที่ดิน - กล่าวว่ากำนันประพฤติตนไม่สมควรแก่หน้าที่ส่งเสริมลูกบ้านให้มีคดี อวดอ้างสนิทชิดชอบกับตุลาการและธุรการหลอกเอาเงินกินนอกกินเหนือ ทำให้ราษฎรเดือดร้อนอย่างแรง - กล่าวว่ากำนันเกเร กำนันเกะกะ กำนันเป็นผู้ร้าย - ว่ากรมอากาศยานเสียดายเครื่องบินยิ่งกว่าชีวิตมนุษย์ - ว่าสมเด็จพระสังฆราชสั่งสึกพระ อ. ก่อกรรมแก่พวกสามเณร ไม่รับ สามเณร ณ. ไว้ในอาวาส ไม่รับที่ดินเป็นธรณีสงฆ์ ประพฤติผิดหลักธรรม ผู้ใหญ่ ริษยา อาธรรม์ ถืออำนาจเป็น ธรรมไม่ละอายแก่บาป - ว่าพระจับมือ กอด เอาหญิงนั่งตัก - ว่าผู้พิพากษากินเลี้ยงฉลองกับผู้ชนะคดี ในเย็นวันที่ตอนตัดสินคดีนั้น หมายความในทำนองว่าพิพากษาคดีโดยไม่สุจริต - ว่าปลัดอำเภอช่วยผู้ต้องหามิให้ต้องรับโทษ ขู่พยานไม่ให้ยันผู้ต้องหา - ว่านายอำเภอเป็นเสือผู้หญิงไปตรวจราชการเที่ยวเอาผู้หญิงเป็นเมีย - ว่าตำรวจจับในข้อหามีไม้ขีดไฟผิดกฎหมายควบคุมแล้วเรียกเอาเงิน - ว่าตำรวจสอบสวนไม่ยุติธรรม จดคำพยานไม่ตรง - กล่าวว่า ข. ซึ่งเป็นข้าราชการโกงบ้านโกงเมือง - ผู้สมัครรับเลือกตั้งออกแถลงการณ์ว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นนายก เทศมนตรี บริหารงานบกพร่องมากจนสมาชิกไม่สนับสนุน เทศมนตรี ลาออก ฐานะการเงินทรุดหนักเป็นเลศนัยให้เข้าใจในทางอกุศล มีมูลเป็น หมิ่นประมาท - ว่าโจทก์ไม่อุทิศเวลาให้แก่ราชการมาสายเป็นประจำไม่ทำตามคำสั่ง ผู้บังคับบัญชา ทำให้ข้าราชการแตกความสามัคคี - ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดประพฤติตนอย่างไร้ศีลธรรม มีส่วนพัวพันเป็น ผู้จ้างคนฆ่านักข่าวใช้อำนาจในทางที่ผิดเป็นหมิ่นประมาท - ว่าหลบหนีเจ้าหนี้แสดงว่า ตั้งใจบิดพริ้วไม่ชำระหนี้ เป็นหมิ่นประมาท - เจ้าหนี้ปิดประกาศว่า แจ้งความให้พี่น้องทั้งหลายทราบ ล. ติด 53 สตางค์ ติด 1 ปี...ขอให้คิดว่าอาย ดังนี้อาจทำให้เข้าใจว่า ล. เป็นคนที่เชื่อถือ ไม่ได้ แม้เป็นหนี้เล็กน้อยก็ปล่อยให้ค้างเป็นแรมปี เป็นหมิ่นประมาท - หนังสือพิมพ์ลงข้อความว่า จ. ออกเช็คจ่ายเงิน 1 ล้านบาท ไม่มีเงิน ธนาคารงดจ่ายเงิน จ. เป็นนายกเทศมนตรี และทำการค้าเป็นหมิ่นประมาท เป็นที่เข้าใจว่า จ. ฐานะการเงินไม่น่าเชื่อถือ
ตัวอย่างที่ศาลได้เคยพิพากษาไว้ว่าไม่เป็นหมิ่นประมาท - พูดว่า อ้ายครูชาติหมา สอนเด็กให้ต่อยกัน - กล่าว่า ด ซึ่งเป็นครูประชาบาลเป็นคนนิสัยไม่ดี มีความรู้สึกต่ำ เป็นการเลื่อนลอยไม่ทำให้เข้าใจว่าไม่ดีหรือต่ำอย่างไร - กล่าวว่า “ไอ้ทนายกระจอก ทนายเฮงซวย” เป็นการพูดดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้อับอายเจ็บใจ ไม่เป็นการใส่ความให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ไม่เป็นหมิ่นประมาท - นายตำรวจกำลังเปรียบเทียบให้ ก. เสียค่าซ่อมรถที่ชนกัน ก. ว่า ผู้กองพูดอย่างนี้เอากฎหมายมาพูดไม่มีศีลธรรม - บ.โกรธ ม. ผู้อำนวยการโรงพยายาลจึงว่าผู้อำนวยการคนนี้ ใครว่าดี เดี๋ยวนี้ดีแตกแล้ว ไปติดต่อคนไข้มาก็ไล่...ใจร้อยยังกับไฟ...ถึงเจ็บ ก็จะไม่มารักษาที่นี่” เป็นคำกล่าวที่ไม่สมควร ขาดคารวะ - กล่าวว่า “นิคมเป็นตำรวจหมา ๆ บ่รู้จักอีหยังฯ”เป็นถ้อยคำไม่สุภาพ แต่ไม่ถึงทำให้เข้าใจว่าเป็นตำรวจเลวหรือ ไม่รับผิดชอบ ไม่เป็นหมิ่นประมาท - ผู้รับจำนองขอให้คนอื่นช่วยไกล่เกลี่ยให้ผู้จำนองไถ่จำนองเพื่อไม่ต้อง ฟ้องคดี แม้จะกล่าวว่าได้เตือนแต่เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ไม่เป็นการใส่ความ - ประกาศเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ปิดที่ร้านและบ้านลูกหนี้ ที่ตู้ยาม ตำรวจ เพราะไม่พบตัวลูกหนี้ ส่งทางไปรษณีย์ก็ไม่มีคนรับ - ประกาศว่าโจทก์พ้นจากตำแหน่งประธานชมรมร้านขายยาแล้ว ถ้าผู้นี้ไปแอบอ้างชื่อชมรม ชมรมไม่รับผิดชอบ - ลงหนังสือพิมพ์เป็นประกาศสำนักงานทนายความให้ลูกหนี้ใช้หนี้ ภายใน 7 วัน นำสืบไม่ได้ว่าแกล้งโดยไม่สุจริต หลังจากทวงหลายครั้ง ยังเกี่ยวจำนวนหนี้กันอยู่ เป็นการที่เจ้าหนี้มีสิทธิทำได้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 284 ไม่เป็นหมิ่นประมาท
ม อก 2493 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ตีพิมพ์ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แระกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 แล้ว นั้น
เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนดเว้นแต่เป็นการชุมนุมตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ข้อ 2.ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร
ข้อ 3.ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
ข้อ 4.ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใดๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดๆ ทั้งนี้ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
ข้อ 5.ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
ข้อ 6.ในการดำเนินการตามข้อ 1 ถึงข้อ 5 หัวหน้าผู้รับผิดชอบจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควรเพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
อนึ่ง พล.ท.ภราดร กล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า การที่รัฐบาลไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการถึงข้อกำหนดเพิ่มใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลัง ครม.มีมติเห็นชอบ เนื่องจากมาตรา 9 ต้องรอให้ ผบ.ตร.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกำหนดรายละเอียดเป้าหมายที่ชัดเจน ในการจำกัดสิทธิบางประการในบางพื้นที่การชุมนุมเพื่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีก 1-2 วัน จึงจะประกาศอย่างเป็นทางการได้ ในขณะที่มาตรา 7 อำนาจหน้าที่นายกฯมีการกำหนดไว้ในระเบียบแล้ว ส่วนสถานที่ที่จะใช้เป็นที่บัญชาการ ศรส.ทางผบ.ตร.กำลังดำเนินการจัดหาสถานที่อยู่
นอกจากนี้ ยังมีประกาศ เรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี อ.ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ลงวันที่ 21 ม.ค. พ.ศ.2557 แล้วนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคสอง และวรรคหก แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชาหรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังนี้
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 พระราชบัญญัตว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคมประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวนและการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ทั้งนี้ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา7 วรรคหก แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทนนายกรัฐมนตรี และในการใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบนี้ ผู้รับมอบต้องใช้ตามความจำเป็นและเหมาะสม และให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
และประกาศเรื่องให้อำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรสิ้นสุด
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2556 และวันที่ 18 ต.ค.2556 เห็นชอบให้ประกาศให้เขตพื้นที่เขตดุสิต เฉพาะแขวงดุสิต และแขวงจิตรลดา เขตพระนคร เฉพาะแขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงบ้านพานถม และแขวงบางขุนพรหม และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เฉพาะแขวงวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 9 ต.ค.2556 - 30 พ.ย.2556 โดยต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2556 และวันที่ 25 ธ.ค.2556 ให้ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรต่อไปจนถึงวันที่ 1 มี.ค.2557 โดยให้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมประกาศให้เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี และอ.บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการนั้นว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ตีพิมพ์ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แระกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 แล้ว นั้น
เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนดเว้นแต่เป็นการชุมนุมตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ข้อ 2.ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร
ข้อ 3.ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
ข้อ 4.ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใดๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดๆ ทั้งนี้ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
ข้อ 5.ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
ข้อ 6.ในการดำเนินการตามข้อ 1 ถึงข้อ 5 หัวหน้าผู้รับผิดชอบจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควรเพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
อนึ่ง พล.ท.ภราดร กล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า การที่รัฐบาลไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการถึงข้อกำหนดเพิ่มใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลัง ครม.มีมติเห็นชอบ เนื่องจากมาตรา 9 ต้องรอให้ ผบ.ตร.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกำหนดรายละเอียดเป้าหมายที่ชัดเจน ในการจำกัดสิทธิบางประการในบางพื้นที่การชุมนุมเพื่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีก 1-2 วัน จึงจะประกาศอย่างเป็นทางการได้ ในขณะที่มาตรา 7 อำนาจหน้าที่นายกฯมีการกำหนดไว้ในระเบียบแล้ว ส่วนสถานที่ที่จะใช้เป็นที่บัญชาการ ศรส.ทางผบ.ตร.กำลังดำเนินการจัดหาสถานที่อยู่
นอกจากนี้ ยังมีประกาศ เรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี อ.ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ลงวันที่ 21 ม.ค. พ.ศ.2557 แล้วนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคสอง และวรรคหก แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชาหรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังนี้
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 พระราชบัญญัตว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคมประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวนและการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ทั้งนี้ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา7 วรรคหก แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทนนายกรัฐมนตรี และในการใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบนี้ ผู้รับมอบต้องใช้ตามความจำเป็นและเหมาะสม และให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
และประกาศเรื่องให้อำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรสิ้นสุด
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2556 และวันที่ 18 ต.ค.2556 เห็นชอบให้ประกาศให้เขตพื้นที่เขตดุสิต เฉพาะแขวงดุสิต และแขวงจิตรลดา เขตพระนคร เฉพาะแขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงบ้านพานถม และแขวงบางขุนพรหม และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เฉพาะแขวงวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 9 ต.ค.2556 - 30 พ.ย.2556 โดยต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2556 และวันที่ 25 ธ.ค.2556 ให้ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรต่อไปจนถึงวันที่ 1 มี.ค.2557 โดยให้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมประกาศให้เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี และอ.บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการนั้น