ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ในระบบรัฐสภากับระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐบาลของประเทศไทย
อนึ่งยังมีอีก 2 ระบบ คือ ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีของฝรั่งเศส และอีกระบบหนึ่งคือ ระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา ของสวิสเซอร์แลนด์ครับ แต่อธิบาย 2 ระบบมาเปรียบเทียบความแตกต่างเพื่อให้เห็นความแตกต่างของไทยครับ
ระบบรัฐสภา ต้นแบบ อังกฤษ
ระบบรัฐสภาไม่ยึด “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) อย่างเคร่งครัดหากแต่ยึดหลักการแบ่งแยกองค์กรและแบ่งหน้าที่ (Function of Powers) ให้องค์กรกระทำของรัฐ เช่น แบ่งแยกให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ทำหน้าที่ตรากฎหมาย แบ่งแยกให้ฝ่ายบริการ (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) บริหารราชการแผ่นดิน แบ่งแยกให้องค์กรตุลาการพิพากษาอรรถคดี โดยยอมให้แต่ละองค์กรเกี่ยวข้องกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มีการแบ่งแยกองค์กรและแบ่งหน้าที่ แต่ยอมให้แต่ละองค์กรเกี่ยวข้องกันได้มากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอมหรือบังคับว่าให้ ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิดซึ่งเป็นการถ่วงดุลหรือคานอำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance) ในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภามีการกระทำบางประการที่ฝ่ายบริหารมีอยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ คือ การยุบสภา การยังยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาได้ลงมติให้ใช้ได้แล้วชั่วระยะเวลาหนึ่งหรืออาจตลอดไปก็ได้ รัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมกล่าวอภิปรายชี้แจงตอบโต้ในรัฐสภาก็ได้ แม้ตนมิได้เป็นสมาชิกของรัฐสภา ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็มีการกระทำหลายอย่างอยู่เหนือฝ่ายบริหาร ได้แก่ การให้ความไว้วางใจหรือการไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรี
ระบบประธานาธิบดี ต้นแบบสหรัฐอเมริกา
ในระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดียึดหลักการแบ่งแยกอำนาจการใช้อำนาจอธิปไตยค่อนข้างเคร่งครัด กล่าวคือ ตาม “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) ออกเป็น 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ แต่ละอำนาจอยู่ที่องค์กรแต่ละฝ่ายแยกออกจากกันค่อนข้างเด็ดขาด ไม่มีการก้าวก่ายกัน โดยเฉพาะการแยกอำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) กับฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีหลักการแบ่งแยกอำนาจที่สำคัญ ได้แก่ ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกมาจากประชาชนจะเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) โดยผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาและ รัฐมนตรีจะไม่สามารถเป็นสมาชิกสภาได้ ตรงนี้จะเห็นได้ว่าตรงข้ามกับระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่สมาชิกรัฐสภาเป็นกลุ่มเดียวกับฝ่ายบริหาร
สำหรับประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้วางหลักความสัมพันธ์ระหว่างนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร คือ
ใช้ระบบรัฐสภาวางหลักไม่ยึด “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) อย่างเคร่งครัดหากแต่ยึดหลักการแบ่งแยกองค์กรและแบ่งหน้าที่ (Function of Powers) ให้องค์กรกระทำของรัฐ กล่าวคือ
แบ่งแยกให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ทำหน้าที่ตรากฎหมาย
แบ่งแยกให้ฝ่ายบริการ (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) นำกฎหมายไปบริหารราชการแผ่นดิน
แบ่งแยกให้องค์กรตุลาการนำกฎหมายพิพากษาอรรถคดี
โดยยอมให้แต่ละองค์กรเกี่ยวข้องกันโดยเฉพาะนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มีการแบ่งแยกองค์กรและแบ่งหน้าที่ แต่ยอมให้แต่ละองค์กรเกี่ยวข้องกันได้มากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอมหรือบังคับว่าให้ ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิดซึ่งเป็นการถ่วงดุลหรือคานอำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance)
ฝ่ายนิติบัญญัติก็มีการกระทำหลายอย่างอยู่เหนือฝ่ายบริหาร ได้แก่ การให้ความไว้วางใจหรือการไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรี ได้แก่
1. การตั้งกระทู้ถาม
2.การตั้งกลไกกรรมาธิการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
3.การเปิดอภิปรายไม่วางใจแบบลงมติและไม่ลงมติต่อรัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารมีอยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติได้แก่
1.การยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม้เด็ดของฝ่ายบริหาร ในการถ่วงดุลสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างมาก
2.การยังยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาได้ลงมติให้ใช้ได้แล้วชั่วระยะเวลาหนึ่งหรืออาจตลอดไปก็ได้
3.รัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมกล่าวอภิปรายชี้แจงตอบโต้ในรัฐสภาก็ได้ แม้ตนมิได้เป็นสมาชิกของรัฐสภา
「ระบบประธานาธิบดี」的推薦目錄:
- 關於ระบบประธานาธิบดี 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ระบบประธานาธิบดี 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ระบบประธานาธิบดี 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ระบบประธานาธิบดี 在 ระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดี... - sittikorn saksang 的評價
- 關於ระบบประธานาธิบดี 在 ด้านที่เลวร้ายของระบบประธานาธิบดี ต้นเหตุวิกฤติฝรั่งเศส - YouTube 的評價
ระบบประธานาธิบดี 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารศึกษาในระบบรัฐสภากับระบบประธานาธิบดี
ระบบรัฐสภา
ระบบรัฐสภาไม่ยึด “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) อย่างเคร่งครัดหากแต่ยึดหลักการแบ่งแยกองค์กรและแบ่งหน้าที่ (Function of Powers) ให้องค์กรกระทำของรัฐ เช่น แบ่งแยกให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ทำหน้าที่ตรากฎหมาย แบ่งแยกให้ฝ่ายบริการ (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) บริหารราชการแผ่นดิน แบ่งแยกให้องค์กรตุลาการพิพากษาอรรถคดี โดยยอมให้แต่ละองค์กรเกี่ยวข้องกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มีการแบ่งแยกองค์กรและแบ่งหน้าที่ แต่ยอมให้แต่ละองค์กรเกี่ยวข้องกันได้มากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอมหรือบังคับว่าให้ ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิดซึ่งเป็นการถ่วงดุลหรือคานอำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance) ในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภามีการกระทำบางประการที่ฝ่ายบริหารมีอยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ คือ การยุบสภา การยังยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาได้ลงมติให้ใช้ได้แล้วชั่วระยะเวลาหนึ่งหรืออาจตลอดไปก็ได้ รัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมกล่าวอภิปรายชี้แจงตอบโต้ในรัฐสภาก็ได้ แม้ตนมิได้เป็นสมาชิกของรัฐสภา ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็มีการกระทำหลายอย่างอยู่เหนือฝ่ายบริหาร ได้แก่ การให้ความไว้วางใจหรือการไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรี
ระบบประธานาธิบดี
ในระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดียึดหลักการแบ่งแยกอำนาจการใช้อำนาจอธิปไตยค่อนข้างเคร่งครัด กล่าวคือ ตาม “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) ออกเป็น 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ แต่ละอำนาจอยู่ที่องค์กรแต่ละฝ่ายแยกออกจากกันค่อนข้างเด็ดขาด ไม่มีการก้าวก่ายกัน โดยเฉพาะการแยกอำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) กับฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีหลักการแบ่งแยกอำนาจที่สำคัญ ได้แก่ ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกมาจากประชาชนจะเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) โดยผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาและ รัฐมนตรีจะไม่สามารถเป็นสมาชิกสภาได้ ตรงนี้จะเห็นได้ว่าตรงข้ามกับระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่สมาชิกรัฐสภาเป็นกลุ่มเดียวกับฝ่ายบริหาร
ระบบประธานาธิบดี 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
1.4.ระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา
ระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภานี้มีใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ( Switzerland) หรือชื่อทางการคือ สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation) เป็นประเทศเล็ก ๆ มีการปกครองแบบสหพันธ์ ซึ่งระบบการเมืองของประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นระบบการเมืองที่มีรูปแบบพิเศษของการร่วมมือกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร โดยฝ่ายนิติบัญญัติมีฐานะทางรัฐธรรมนูญและทางนิตินัยที่เหนือกว่าฝ่ายบริหาร โดยฝ่ายบริหารก็ยังคงมีความเป็นอิสระในระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงสมควรเรียกระบบการเมืองของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ว่า “ระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา” แต่อย่างไรก็ตามในบางตำราเรียกว่า “ระบอบอำนวยการ” หรือ บางตำราเรียกว่า “ระบบสมัชชา” ซึ่งระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงหลักการทั่วไปของระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา รวมถึงการพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียดังนี้
1.4.1 หลักทั่วไปของระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา
ระบบรัฐบาลของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ไม่อาจจัดอยู่ในระบบรัฐบาลใดไม่ว่าระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี ระบบกึ่งรัฐสภา-กึ่งประธานาธิบดี ข้างต้น ซึ่งประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้วางหลักการปกครองระบบรัฐบาล “แบบผสมผสาน” (Hybrid from of Government) ดังนี้
1.4.1.1 รัฐสภาสหพันธ์
ในการปกครองของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระบบนี้ประชาชนจะเป็นผู้เลือกสมาชิกรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) สหพันธ์ดังนี้
1. รัฐสภาสหพันธ์ประกอบด้วยสองสภา คือ สภาแห่งชาติหรือสภาผู้แทนราษฎร (National Council) และสภาแห่งรัฐหรือวุฒิสภา (Council of States)
2. สภาแห่งชาติหรือสภาผู้แทนราษฎรของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 200 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยไดรับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงตามระบบสัดส่วนของประชากรของแต่ละมลรัฐ มลรัฐซึ่งมีประชากรน้อยที่สุดมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างน้อย 1 คน
3. สภาแห่งรัฐหรือวุฒิสภาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ประกอบ สมาชิกวุฒิสภา 46 คน โดยแต่ละมลรัฐมีสิทธิเลือกวุฒิสมาชิก ได้มลรัฐละ 2 คนเท่ากัน โดยแต่ละมลรัฐมีอำนาจออกกฎหมายกำหนดวิธีการเลือกตั้งเอง (เลือกตั้งโดยตรงหรือเลือกตั้งโดยอ้อม) และกำหนดการดำรงตำแหน่งได้เอง (3-4 ปี)
1.4.1.2 คณะผู้บริหารสหพันธ์
คณะผู้บริหารสหพันธ์ในระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์มีที่มา การดำรงตำแหน่งดังนี้
1. รัฐสภาสหพันธ์จะเป็นผู้เลือกสรรบุคคลขึ้นเป็นฝ่ายบริหารประกอบด้วย 7 คน เป็นสภาผู้บริหารของรัฐบาลกลาง ซึ่งว่าเป็น คณะรัฐมนตรี อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี ซึ่งมีสถานะภาพเท่าเทียมกัน
2. ผู้บริหารสหพันธ์นั้นต้องเลือกประธานผู้บริหาร เรียกว่า “ประธานแห่งสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์” ขึ้นมา 1 คน ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมและขณะเดียวกันก็ได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีและให้มีรองประธานาธิบดีช่วยเหลือประธานาธิบดี การเลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนี้จะทำด้วยการหมุนเวียนกันตามอาวุโส ระหว่างคณะรัฐมนตรี 7 คน
3. การดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่ง 1 ปี เพื่อผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทำหน้าที่ ซึ่งประธานาธิบดี (ประธานแห่งสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์) จะได้รับเลือกตั้งซ้ำในตำแหน่งทันทีไม่ได้ ส่วนรองประธานาธิบดีจะรับตำแหน่งติดต่อกันได้ 2 ปี เท่านั้น
4. การดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีและเป็นประธานสหันพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์นี้ ยังต้องดำรงตำแหน่งดูแลกระทรวงที่ตนเองรับผิดชอบด้วย และในระหว่างนั้นจะไม่มีอำนาจหน้าที่เหนือคณะรัฐมนตรีคนอื่นๆ แต่ประการใด
1.4.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างคณะผู้บริหารสหพันธ์กับรัฐสภาสหพันธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างคณะผู้บริหารสหพันธ์กับรัฐสภาสหพันธ์ ของระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ คือ ในทางปฏิบัติ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภาสหพันธ์กับคณะผู้บริหารสหพันธ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในแต่ละปีคณะผู้บริหารสหพันธ์จะเสนอ “รายงานผลการบริหารงาน” ต่อรัฐสภาสหพันธ์ ซึ่งก็คือรายงานผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาและนโยบายที่จะใช้ในการบริหารงานต่อไป เพื่อให้รัฐสภาสหพันธ์ได้อภิปรายและลงมติ ถ้ารัฐสภาสหพันธ์ลงมติไม่เห็นด้วยเท่ากับเป็นการลงมติไม่ไว้วางใจ แต่คณะผู้บริหารสหพันธ์ไม่ต้องลาออก แต่คณะผู้บริหารสมัครใจที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายของตนให้เป็นไปตามข้อคิดของรัฐสภาสหพันธ์ ซึ่งแสดงให้เห็นการควบคุมฝ่ายบริหารโดยรัฐสภาสหพันธ์นำไปสู่การร่วมมือกันระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายบริหารไม่สามารถยุบสภาได้และรัฐสภาก็ไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายบริหารลาออกได้ ซึ่งคล้ายกับระบบประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในทางทฤษฎีแล้วยังเป็นระบบสมัชชาอยู่และมาตรการในการตอบโต้กันระหว่างทั้งสองฝ่ายเป็นแบบระบบรัฐสภา
ข้อสังเกต ระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นไม่ยอมให้อำนาจสูงสุดตกอยู่ในมือคนๆ เดียว หรือองค์กรเดียวและไม่ให้มีการใช้อำนาจซ้ำซ้อนคล้ายคลึงกับระบบประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างไปจากประประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ หลัก “ความรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหาร” โดยรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) จะเป็นผู้ควบคุมตัวบุคคลและนโยบายของฝ่ายบริหารโดยใกล้ชิด แต่ระบบประธานาธิบดีนั้นไม่มีระบบการควบคุมของรัฐสภา และที่สำคัญในระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาประธานาธิบดี (ประธานแห่งสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์) ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามประเพณีเหมือนกับประมุขของรัฐไม่ว่าจะเป็นระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี คือ ไม่มีอำนาจให้อภัยโทษ สำหรับต่างประเทศก็ไม่ถือว่าประธานาธิบดี (ประธานแห่งสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์) เป็นผู้แทนของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพราะการเป็นผู้แทนเช่นนี้ถือว่าเป็นของ คณะผู้บริหารสหพันธ์ (คณะรัฐมนตรีสหพันธรัฐ)
1.4.2 ข้อดีข้อเสียระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา
ข้อดีข้อเสียของระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นสามารถแยกอธิบายสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.4.2.1 ข้อดีระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา
ระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นมีข้อดี ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้
1. เป็นระบบรัฐบาลที่อยู่อย่างต่อเนื่อง ครบวาระ 4 ปีไม่การยุบสภา ทำให้ฝ่ายบริหารบริหารบ้านเมืองอย่างต่อเนื่องเป็นผลต่อประชาชน
2. คณะผู้บริหารที่เรียกว่า ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี 7 คนที่สภาแต่งตั้งขึ้นมาบริหารประเทศ บริหารงานแต่ละกระทรวงนั้นมีความอิสระไม่ขึ้นอยู่กับใคร เพราะมีอำนาจเท่าเทียมกัน ทำให้รัฐมนตรีแต่ละคนทำงานไม่ต้องขึ้นตรงต่อใครแต่รับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภา
3. คณะผู้บริหาร 7 คน มีประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี ที่มีการเลือกตั้งกันเองอยู่ในวาระ 1 ปี โดยการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันนั้นไม่สามารถที่จะใช้นโยบายเพื่อประโยชน์ของตนเองได้หรือวางรากฐานเพื่อตนเองได้เพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตนเองได้ เพราะมีเวลาบริหารแค่ 1 ปี
1.4.2.2 ข้อเสียระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา
ระบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นมีข้อเสียซึ่งพิจารณาได้ดังนี้
1.การที่ประธานาธิบดีที่มาจาก คณะผู้บริหาร 7 คนนั้น มีเวลาบริหารงาน คนละ 1 ปี ในวาระ 4 ปี ทำให้นโยบายการบริหารประเทศของประธานาธิบดีคนก่อนที่เปลี่ยนหมุนเวียนให้กับประธานาธิบดีคนใหม่ นั้นอาจไม่สามารถดำเนินการสานต่อนโยบายที่ทำไปแล้วหรืออาจดำเนินขัดกับหลักนโยบายบริหารประเทศของประธานาธิบดีคนเก่าอาจเป็นผลเสียต่อการบริหารราชแผ่นดินได้
2.จากการที่คณะผู้บริหารหรือคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีมีอำนาจเท่าเทียมกัน อาจมีปัญหาในการควบคุมได้ หรือขาดผู้นำในองค์กรที่จะตัดสินใจ อาจจะกลายเป็นลักษณะต่างคนต่างทำก็ได้ เป็นต้น
ระบบประธานาธิบดี 在 ด้านที่เลวร้ายของระบบประธานาธิบดี ต้นเหตุวิกฤติฝรั่งเศส - YouTube 的推薦與評價

ด้านที่เลวร้ายของ ระบบประธานาธิบดี ต้นเหตุวิกฤติฝรั่งเศส แอป Sondhi App มีให้โหลดแล้วทั้ง iOS และ android ได้ที่ AppStore ... ... <看更多>
ระบบประธานาธิบดี 在 ระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดี... - sittikorn saksang 的推薦與評價
ระบบประธานาธิบดี เป็นระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ฝ่าย บริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล) อยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ ... ... <看更多>