กรณีศึกษา การเข้าซื้อร้านส้มตำนัว ของกลุ่มเซ็นทรัล / โดย ลงทุนแมน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ CENTEL เจ้าของธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารในกลุ่มเซ็นทรัล
ได้ให้บริษัทลูกอย่าง CRG ที่ทำกลุ่มธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในธุรกิจร้านอาหาร ที่ชื่อว่า “ส้มตำนัว”
คำถามคือ ทำไม กลุ่มเซ็นทรัล จึงอยากลงทุนในธุรกิจร้านส้มตำ
แล้วร้านส้มตำนัว มีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ร้านส้มตำนัวมีจุดเริ่มต้นมาจากคุณสุธาชล วัฒนะสิมากร
ชาวอุดรธานี ที่ตอนแรกเข้ามาทำงานในบริษัทเอเจนซีโฆษณาในกรุงเทพมหานคร
วันหนึ่ง คุณสุธาชล อยากกินส้มตำปลาร้า
เขาพยายามมองหาร้านส้มตำรสชาติอีสานแท้ ๆ ในกรุงเทพมหานคร
แต่พบว่าหายากมาก และร้านที่เข้าไปรับประทานก็ยังมีรสชาติไม่ถูกปากเท่าไรนัก
สุดท้าย เขาจึงกลับมาต้มปลาร้าและตำส้มตำกินเอง
และก็คิดขึ้นมาว่า “ทำไมเราไม่เปิดร้านส้มตำขายเองเสียเลย”
ไม่นานเขาจึงตัดสินใจชวนเพื่อนอีกคน
คือ คุณประพันธ์ กลั่นบิดา ซึ่งเป็นคนกาฬสินธุ์ มาลงทุนทำร้านส้มตำด้วยกัน
โดยช่วงแรกก่อนที่ทั้งคู่จะตั้งร้านนั้น พวกเขาลงทุนตระเวนชิมส้มตำตามร้านต่าง ๆ เพื่อนำมาทำเป็นสูตรเด็ดของร้านตนเอง
ที่สำคัญคือ ต้องคงเอกลักษณ์ความเป็นลูกอีสานเอาไว้ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของทั้งคู่ด้วย
เมื่อตัดสินใจว่าจะทำร้านส้มตำ และได้เมนูเรียบร้อยแล้ว
เรื่องต่อมาที่ทั้งคู่ต้องทำคือ การหาทำเล
ทั้งสองคนมองว่า ทำเลของร้านต้องมีผู้คนเดินทางผ่านไปผ่านมาหนาแน่น และทั้งคู่ก็มาเลือกที่สยามสแควร์ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีผู้คนจำนวนมาก
ซึ่งแม้ว่าจะมีความเสี่ยงในเรื่องต้นทุนค่าเช่าที่สูง
แต่ทั้งคู่มองว่าเมื่อหักลบความเสี่ยงและโอกาสที่ร้านจะขายได้ดีแล้วน่าจะคุ้มค่า
ทั้งคู่จึงตัดสินใจมาเปิดร้านส้มตำนัวสาขาแรกที่สยามสแควร์ ในปี 2546
โดยสาขาแรกของร้านส้มตำนัวที่สาขาสยามสแควร์ ถือเป็นร้านส้มตำติดแอร์ร้านแรก ๆ แถวนั้นด้วย
เปิดร้านไปสักระยะ ทั้งคู่ก็สังเกตว่า ลูกค้าที่นั่งทานในร้านหลายโต๊ะบางครั้งต้องรีบสั่ง รีบกิน และรีบไป
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ มีคนรอคิวหน้าร้านจำนวนมาก
ดังนั้น ทั้งคู่มองว่า พวกเขาจำเป็นต้องขยายร้านให้มากขึ้น
ร้านส้มตำนัว จึงเริ่มขยายสาขามากขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบัน มีแล้วทั้งหมด 6 สาขา
ได้แก่ สยามสแควร์, สยามเซ็นเตอร์, เซ็นทรัล เอ็มบาสซี, เซ็นทรัลเวิลด์, เมกาบางนา และเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ซึ่งนอกจากรสชาติความนัวของส้มตำนัวจะเป็นที่ถูกปากลูกค้าชาวไทยแล้ว ยังเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวเกาหลี ที่เดินทางมาท่องเที่ยวอีกด้วย
จนสุดท้าย รสชาติและชื่อเสียงของร้านส้มตำนัว ก็ไปเข้าตาบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล
โดย CENTEL นั้น คือบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทำธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร
ในปี 2563 รายได้หลักของ CENTEL นั้นมาจากธุรกิจหลัก 2 กลุ่มคือ
-ธุรกิจอาหาร 76%
-ธุรกิจโรงแรมและอื่น ๆ 24%
ในส่วนของธุรกิจอาหารนั้น CENTEL จะให้บริษัทลูกที่ชื่อว่า บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG เป็นผู้ดูแล
โดย CRG นั้นมีฐานะที่เป็นผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) และเจ้าของลิขสิทธิ์ (Company Owned) แบรนด์ร้านอาหารชื่อดังต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบัน CRG มีแบรนด์ร้านอาหารภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 15 แบรนด์
ยกตัวอย่างเช่น Mister Donut, KFC, Auntie Anne’s, Pepper Lunch, Yoshinoya
ลองมาดูผลประกอบการของ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ในปีที่ผ่านมา
ปี 2560 รายได้ 10,081 ล้านบาท กำไร 690 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 11,007 ล้านบาท กำไร 680 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 11,288 ล้านบาท กำไร 570 ล้านบาท
ซึ่งต้องบอกว่าแม้ CRG จะมีแบรนด์ร้านอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหารจานด่วน ร้านขนม ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านอาหารไทย แต่ CRG ยังไม่มีแบรนด์ร้านส้มตำและร้านอาหารอีสาน ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างชาติ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ CRG จึงตัดสินใจเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้น 85% ในบริษัท เอสทีเอ็น เรสเตอรองต์ จำกัด เจ้าของแบรนด์ “ส้มตำนัว” ซึ่งมูลค่าการลงทุนของ CRG ในครั้งนี้คิดเป็นเงินลงทุน 200 ล้านบาท
นั่นหมายความว่า มูลค่าแบรนด์ร้านส้มตำนัวในตอนนี้ ถูกให้มูลค่าสูงถึงประมาณ 235 ล้านบาท
และด้วยจำนวนสาขา 6 สาขาในปัจจุบัน หมายความว่า CRG กำลังให้มูลค่ากับร้านส้มตำนัว โดยเฉลี่ยแล้ว สาขาละ 39 ล้านบาท เลยทีเดียว..
โดย CRG มีแผนที่จะขยายสาขาร้านส้มตำนัว ให้ได้ถึงประมาณ 130 สาขา ภายใน 5 ปีหลังจากนี้
การที่ CRG ได้แบรนด์ร้านอาหารส้มตำและอาหารอีสาน อย่างร้านส้มตำนัวมาอยู่ในมือ ทำให้ต้องบอกว่า ณ ตอนนี้ ธุรกิจร้านอาหารของ CRG มีความหลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ร้านส้มตำนัว หลังจากกลุ่มเซ็นทรัลเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
แต่หลังจากนี้ ร้านส้มตำนัว ก็คงขยับเข้ามาใกล้บ้านใครหลาย ๆ คนแน่นอน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16171468344951&sequence=2021037375
-https://www.prachachat.net/marketing/news-641179
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2563, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
-https://www.siammakro.co.th/horeca_article_detail/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過69萬的網紅Wongnai,也在其Youtube影片中提到,Ma-Ke` Inu การรวมตัวของกลุ่มคนที่เคยแพ้และพร้อมปลอบโยนคุณด้วยอาหาร ❤ . ?ลดสูงสุด 34 % จาก 3,000 เหลือ 2,000 บาท . ซื้อเวาเชอร์ไปกินอาหารญี่ปุ่นที่ Ma-...
「ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว」的推薦目錄:
- 關於ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 Wongnai Youtube 的最佳貼文
- 關於ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 โอซากะ 26 ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 26 - Facebook 的評價
- 關於ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 พาไปกินร้าน Masaru Sushi ลาดพร้าว 101 บุฟเฟต์ร้าน ... - YouTube 的評價
ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
S&P จากร้านไอศกรีมเล็กๆ คูหาเดียว สู่เชนร้านอาหารยอดขาย 7,000 ล้าน /โดย ลงทุนแมน
“ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย” สโลแกนที่บางคนอาจคุ้น ซึ่งเป็นสโลแกนของ S&P
แบรนด์ร้านอาหารไทยและเบเกอรี ที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 47 ปี
รู้ไหมว่า S&P จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งมีมูลค่าบริษัทกว่า 4,400 ล้านบาท
และบริษัท ไม่ได้มีแค่แบรนด์ S&P แต่ยังมีแบรนด์ร้านอาหารอื่นๆ อีก
เช่น Maisen, Umenohana และ BlueCup
ความเป็นมาของ S&P ร้านอาหารและเบเกอรีแถวหน้าของเมืองไทย
เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนรอยไปเมื่อปี พ.ศ. 2516
โดยพี่น้องตระกูลไรวา และตระกูลศิลาอ่อน
ได้ร่วมลงขันกันคนละ 25,000 บาท เพื่อเปิดร้านขายไอศกรีมของโฟร์โมสต์
ในตึกแถวคูหาเดียวเล็กๆ ที่ซอยสุขุมวิท 23 (ซอยประสานมิตร)
ภายใต้ชื่อร้านว่า “S&P Ice-Cream Corner”
แต่พอดำเนินธุรกิจไปสักพัก พวกเขาเริ่มรู้สึกว่าการขายไอศกรีมอย่างเดียว คงไม่สามารถสร้างยอดขายได้เพียงพอ จึงตัดสินใจเพิ่มเมนูอาหารจานเดียว ของว่างต่างๆ รวมถึงเบเกอรีเข้าไป เพื่อบริการลูกค้า
ซึ่งปรากฏว่าทางร้านประสบความสำเร็จพอตัว และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า จนในซอยพูดถึงกันมาก
เนื่องจากในสมัยนั้น ยังไม่ค่อยมีร้านอาหารที่เป็นห้องแอร์
ส่วนใหญ่จะเป็นร้านตามข้างทาง หรือร้านอาหารในโรงแรม ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง
ด้วยคุณภาพของอาหาร รสชาติ และความแปลกใหม่ของรูปแบบร้าน
ทำให้ร้าน S&P มีลูกค้าเวียนเข้ามาใช้บริการอย่างหนาแน่น
จนต้องขยายร้านเป็น 2 คูหา และปรับปรุงชั้น 3 ให้เป็นโรงงานเบเกอรีเล็กๆ
ซึ่งเมนูอาหารเลื่องชื่อของทางร้านก็อย่างเช่น ข้าวไก่อบ, ข้าวผัดอเมริกัน, ข้าวผัดน้ำพริกกุ้งสด, ข้าวกุ้งผัดพริกขี้หนู และวุ้นเส้นผัดไทย
และด้วยพฤติกรรมของคนไทย ที่มีแนวโน้มหันมาทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น
S&P จึงเล็งเห็นโอกาส และมองว่าธุรกิจร้านอาหารของตัวเองมีศักยภาพมากพอ เลยตัดสินใจขยายสาขาเพิ่ม
โดยขยายสาขาไปที่สยามสแควร์ ในปี 2523
และสาขานี้ ได้กลายเป็นต้นแบบของร้าน S&P อื่นๆ ในเวลาต่อมา ซึ่งร้านมีการแบ่งสัดส่วนชัดเจนระหว่างโซนอาหารกับเบเกอรี
และต่อมาก็ได้ขยายสาขาไปเปิดที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว, แหล่งทำเลสำคัญๆ ในกรุงเทพฯ
รวมถึงบุกตลาดต่างจังหวัด โดยเชียงใหม่เป็นจังหวัดแรก
นอกจากเรื่องอาหารและเบเกอรี ที่ S&P ขึ้นชื่อแล้ว
S&P ยังเป็นผู้นำและผู้บุกเบิกการผลิตเค้กแต่งหน้าตามสั่ง และเค้กลายการ์ตูน รายแรกในไทยอีกด้วย
รวมถึงสร้างเมนู ขนมไหว้พระจันทร์ตรา “S&P” และ “มังกรทอง” ที่บรรจุด้วยแพ็กเกจจิงหรูหราสวยงาม
ซึ่งกลายมาเป็นอีกสินค้าเอกลักษณ์ของทางร้าน
หลังจากนั้นกิจการของ S&P ก็รุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เมื่อปี 2532
และมีการแตกแบรนด์ร้านอาหารใหม่ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น
เช่น เปิดร้าน “PATIO” ร้านอาหารแนว Home Style Cooking ในปี 2544
เปิดร้าน “BlueCup Coffee” ร้านกาแฟสด ในปี 2546
เปิดร้าน “VANILLA” ร้านอาหารสไตล์คาเฟ่ เจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและวัยทำงาน ในปี 2548
นำร้านอาหารประเภททงคัตสึ “MAISEN” และร้านอาหารญี่ปุ่นแบบไคเซกิดั้งเดิม “UMENOHANA”
จากญี่ปุ่น มาเปิดที่ประเทศไทย ในปี 2555 และ 2556 ตามลำดับ
ปัจจุบัน S&P ได้กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจร้านอาหาร ที่มีหลายร้อยสาขาทั่วประเทศ
โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
กลุ่ม S&P มีร้านอาหารที่เปิดให้บริการภายในประเทศ รวม 529 สาขา เช่น
S&P Bakery Shop ร้านเบเกอรีและกาแฟ รวม 356 สาขา
S&P Restaurant & Bakery ร้านอาหารบริการเต็มรูปแบบ รวม 144 สาขา
Maisen ร้านอาหารทงคัตสึ รวม 13 สาขา
BlueCup (Standalone) ร้านกาแฟสด รวม 3 สาขา
Umenohana ร้านอาหารญี่ปุ่น 2 สาขา
Nai Harng ร้านอาหารสไตล์ไทย-จีน 2 สาขา
ส่วนในต่างประเทศ มีร้านอาหารเปิดให้บริการอยู่ 17 สาขา
ใน 5 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรีย, จีน และกัมพูชา
แล้วที่ผ่านมา ผลประกอบการของกลุ่ม S&P เป็นอย่างไร ?
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
ปี 2561 มีรายได้ 7,710 ล้านบาท กำไร 400 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 7,389 ล้านบาท กำไร 314 ล้านบาท
สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปี 2563
บริษัท มีรายได้ 2,448 ล้านบาท ลดลง 30% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
และขาดทุน 77 ล้านบาท
ในขณะที่ 6 เดือนแรกของปี 2562 มีกำไร 110 ล้านบาท
ซึ่งผลประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์โควิด 19
ที่ทำให้รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ และสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว
ส่งผลให้ S&P ต้องปิดสาขาร้านอาหารชั่วคราว และเปิดจำหน่ายเฉพาะการซื้อกลับบ้านเท่านั้น
ถึงแม้ว่าร้านจะมียอดขายในส่วนของการซื้อกลับบ้านและจัดส่งถึงบ้าน เพิ่มสูงขึ้น
แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยยอดขาย ของการรับประทานในร้านได้
ซึ่งก็มีร้านอาหารในเครือของ S&P ก็คือร้าน “VANILLA”
ที่ทนพิษบาดแผลของโควิด 19 ไม่ไหว
จนต้องจำใจประกาศปิดกิจการลงทุกสาขาอย่างถาวรในที่สุด เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ดี ด้วยการควบคุมโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพ
และสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทยที่ผ่อนคลายขึ้นมาก
จนทำให้ผู้คน กล้ากลับมาใช้ชีวิตได้เกือบปกติทุกอย่างแล้ว
ได้ส่งผลให้ กิจการร้านอาหารและยอดขายของ S&P ค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว
ซึ่งร้านอาหาร S&P ก็คงอยู่คู่กับคนไทยไปอีกนานแสนนาน
ตราบเท่าที่ยังคงคุณภาพอาหารและการบริการอยู่เสมอ
ทั้งนี้ สำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
เป็นคนของ ตระกูลศิลาอ่อน ถือหุ้นรวมกันอยู่ 14.3%
และตระกูลไรวา ถือหุ้นรวมกันอยู่ 26.7%
แต่ที่น่าสนใจคือ
บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
เจ้าของเชนโรงแรม เช่น อนันตรา, อวานี และ โฟร์ซีซั่นส์
และเจ้าของเชนร้านอาหารมากมายในไทย เช่น เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, ซิซเล่อร์, บอนชอน, เบอร์เกอร์คิง, สเวนเซ่นส์ และแดรี่ ควีน
ก็เป็นหนึ่งในถือหุ้นใหญ่ โดยถือหุ้นอยู่ 35.9%
เริ่มแรก บรรดาผู้ก่อตั้ง S&P ตระกูลไรวา และตระกูลศิลาอ่อน
ตั้งใจจะเปิดร้าน S&P ให้เป็นธุรกิจครอบครัวเล็กๆ สำหรับพี่ๆ น้องๆ เท่านั้น
ไม่ได้หวังให้กลายเป็นเชนร้านอาหารระดับประเทศ เหมือนอย่างทุกวันนี้
แต่ด้วยความใส่ใจในสิ่งที่ทำ ใส่ใจในลูกค้า ของพวกเขา
และตั้งใจทำสิ่งตรงหน้าให้ดีที่สุด ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร
บวกกับ เอื้อมมือไปไขว่คว้าทุกโอกาสที่เข้ามาหาอย่างไม่ลังเล
ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ ได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้พวกเขาสามารถปลุกปั้น S&P จนมีวันนี้ และประสบความสำเร็จเกินกว่าที่หวังไว้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://snpfood.com/
-https://www.matichonacademy.com/content/business/article_11516
-https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/383251
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-แบบฟอร์ม 56-1
ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 Wongnai Youtube 的最佳貼文
Ma-Ke` Inu การรวมตัวของกลุ่มคนที่เคยแพ้และพร้อมปลอบโยนคุณด้วยอาหาร ❤
.
?ลดสูงสุด 34 % จาก 3,000 เหลือ 2,000 บาท
.
ซื้อเวาเชอร์ไปกินอาหารญี่ปุ่นที่ Ma-Ke` Inu
Ma-Ke` Inu ออกแบบร้านให้บรรยากาศสบาย ๆ เหมือนเพื่อนมาเที่ยวบ้านมากินดื่ม ของตกแต่งในร้านมีความย้อนวัย ส่วนอาหารก็เป็นอาหารญี่ปุ่นแบบ Homemade
.
“อาหารของร้านเรามีหลากหลายโดยที่คนคุ้นเคยกันมากที่สุดน่าจะเป็นจำพวกด้งและเนื้อที่คนนิยม เราไม่ได้เปิดร้านกันเล่น ๆ เราจริงจังกับทุกส่วน เหมือนคำที่เรายึดมั่นตั้งแต่เปิดร้านว่า “อาจจะแพ้แต่ไม่ตลอดไป” คือมันไม่ใช่แค่เรา แต่หมายถึงทุกคนที่เข้ามาในร้านด้วย”
.
การเข้าร่วมเวาเชอร์สุดคุ้ม “สู้ไปด้วยกัน #CovidReliefGiftVoucher” ที่ลดสูงสุดถึง 1,000 บาท
.
เวาเชอร์สุดคุ้มของ Ma-Ke` Inu มี 5 ราคา
✨ เวาเชอร์ ราคา 300 บาท ใช้ได้ถึง 350 บาท
✨ เวาเชอร์ ราคา 500 บาท ใช้ได้ถึง 600 บาท
✨ เวาเชอร์ ราคา 700 บาท ใช้ได้ถึง 900 บาท
✨ เวาเชอร์ ราคา 1,000 บาท ใช้ได้ถึง 1,400 บาท
✨ และเวาเชอร์ ราคา 2,000 บาท ใช้ได้ถึง 3,000 บาท
.
สนใจสามารถซื้อได้ เลยเวาเชอร์ 1 ใบ ใช้แทนเงินสด จะพาเพื่อนไปกินกี่คนก็ได้ แถมลดสูงสุดถึง 1,000 บาท
.
? : Ma-Ke` Inu
? : ถนน ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร (ลาดพร้าว ซ.4 ตรงข้าม Ladprao Hills)
✨ : ดูพิกัด และ รีวิวเพิ่มเติม ??https://www.wongnai.com/restaurants/304660YC
? : ซื้อเวาเชอร์เลย ??https://www.wongnai.com/restaurants/304660YC-ma-ke-inu/deals
.
ถ่ายภาพและสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563
ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 พาไปกินร้าน Masaru Sushi ลาดพร้าว 101 บุฟเฟต์ร้าน ... - YouTube 的推薦與評價
ร้าน Masaru Shabu & Sushi Buffet 499++ กดติดตามช่องของผมได้ที่ : https://www.youtube.com/c/SunSuprakrit ติดต่อรีวิวสินค้า และ อาหารได้ที่ E-mail ... ... <看更多>
ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 在 โอซากะ 26 ร้านอาหารญี่ปุ่น ลาดพร้าว 26 - Facebook 的推薦與評價
#ขึ้นหน้าขึ้นตามากกว่าสิว ก็คือความหิวนี่แหละ เปิด-ปิด 11:00- 22.00 น. หยุด ทุกวันที่ 1 กับ 16 ของทุกเดือน มีที่จอดรถ 32 ซอย ลาดพร้าว 26 ถนน ลาดพร้าว แขวง จอมพล เขตจตุจักร ... ... <看更多>