#เพิกเฉย_มิใช่_ทอดทิ้ง
#ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย
ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูลูกที่ไหนๆก็เขียนว่า
เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เรามีเทคนิคยอดนิยม คือ เบี่ยงเบน เพิกเฉย
เบี่ยงเบน มักทำได้ง่ายในเด็กเล็กๆ
โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
ใสๆ ตรงไปตรงมา ถูกฉีดยาเจ็บ ก็ร้องไห้
พาออกไปจากห้องตรวจ หยอกเอิน
ก็กลับมายิ้ม หัวเราะได้เหมือนเดิม
(ยังไม่คิดแค้น หมอและพยาบาล🤣🤣)
หรือ ร้องไห้กลัวหมอ แต่พอหมอชวนเล่น
แจกสติ๊กเกอร์ที่ถูกใจ ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจ
.
แต่หลังจากขวบปี ฉลาดมากขึ้น เข้าใจภาษามากขึ้น
โดยเฉพาะ 2-3 ปี ซึ่งเป็นวัย autonomy
วิธีเบี่ยงเบนเพียงอย่างเดียวมักใช้ไม่ได้ผล
เราก็มักจะ step up ด้วยเทคนิค #เพิกเฉย
.
หมออยากจะขยายความคำนี้สักเล็กน้อย
เพราะยังมีหลายคน เข้าใจคำนี้ ผิดไป
.
การเพิกเฉย ไม่ได้หมายความว่า
เมื่อลูกมีพฤติกรรมใดๆที่เราไม่ต้องการ
#แล้วเราทำเหมือนเค้าไม่มีตัวตน
เดินทิ้งไป ทำเหมือนมองไม่เห็น ไม่พูดด้วย
หรือบางคนหนักกว่านั้น คือ มองด้วยสายตาเชิงลบ
แล้วทิ้งให้เค้าอยู่กับอารมณ์ลบของตัวเอง
ที่ยากจะจัดการ
นี่คือการถูกทำโทษที่รุนแรง คือ
การถูกทอดทิ้งทางอารมณ์
#ถ้าฉันทำในสิ่งที่แม่ไม่ต้องการ_ฉันจะไม่เป็นที่ต้องการ
เด็กที่รู้สึกไม่มั่นคงทางอารมณ์
เค้าจะยิ่งเรียกร้องมากขึ้น
จะเป็นบ่อเกิดของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ตามมา
อีกหลายอย่าง
.
เพราะฉะนั้น รู้ว่าต้องใช้วิธีเพิกเฉย ไม่พอ
แต่ต้องใช้ให้เป็นด้วยนะคะ...สำคัญมาก
.
การเพิกเฉย ใช้ได้ดีมากในเด็กเล็ก
แต่อาจจะได้ผลไม่ดีในเด็กโตและวัยรุ่น
ที่เป็นเช่นนั้น
เพราะปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของเด็กเล็ก
ต้องการความสนใจ ต้องการเป็นที่รัก
ต้องการความใกล้ชิด
ต้องการความเอาใจใส่
(เรียกว่า เป็น อิคิไก ของเด็กเล็กเลยก็ว่าได้😊)
.
สมองเด็กเล็ก เป็นนักทดลองที่ช่ำชอง
โจทย์คือ #พฤติกรรมที่ฉันจะได้รับความสนใจ
หมอพูดว่าความสนใจนะคะ ไม่ได้ระบุว่าสนใจแบบไหน
สมองเด็ก แปลความว่าสนใจ
ไม่ว่าจะมาแนวลบหรือแนวบวก ก็ให้แต้มเท่ากัน
แม่เดินมาหา จะมาดุ หรือ มาชม ก็คือสนใจ
เช่น
👉 ดูดนิ้ว กับเล็บ แล้วแม่เดินมาดึงมือออก (ทำแล้ว แม่เดินมาหาอย่างเร็ว...ทำต่อ)
👉 เวลากินข้าว ร้องไห้ แม่สนใจ+ไม่ต้องกินข้าว+แถมได้กินนมเป็นรางวัล
(ยิงปืนนัดเดียว ได้นก 3 ตัว ทำต่อไปซิ..จะรออะไร)
👉 ขว้างของ แม่รีบเดินมาดุ (เวลาอื่นแม่ยุ่งกับงานบ้านตลอด พอเราขว้างแม่เดินมาหา...ได้ผล)
และอีกมากมาย
นี่คือที่มาของหลักการ เพิกเฉย คือ
เรารู้ว่า #สมองเด็กจะบันทึกพฤติกรรมที่ทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ และเค้าจะทำมันซ้ำๆ ถ้าพฤติกรรมนั้น ไม่ได้รับความสนใจ เค้าจะค่อยๆเลิกพฤติกรรมนั้น
.
การเพิกเฉย มิใช่ เพิกเฉยในตัวลูก
แต่ให้ #เพิกเฉยเฉพาะพฤติกรรม
คือ ไม่ถือสา ไม่เอาความ กับสิ่งที่เด็กทำไป
#เพราะเค้ายังไม่เรียนรู้ว่าที่ถูกและควรคือเช่นไร
(ถ้าจะโกรธลูก ให้ถามก่อนว่า
ใครควรจะเป็นสอนสิ่งที่ถูกต้องล่ะ)
ขณะเราเพิกเฉยในพฤติกรรม เราสบตากับลูกได้
เราพูดกับเค้าได้ เราปลอบโยนได้ (kind)
แต่เรา #ไม่ให้ค่าพฤติกรรมที่เค้าทำเพื่อเรียกร้องสิ่งที่เค้าต้องการ
เพราะประเมินแล้วว่า เราต้องการลดพฤติกรรมนั้น
และต่อให้ลูกมาไม้ไหน
เราก็ยืนยันเหมือนเดิมว่าทำไม่ได้ (firm)
และเมื่อเกิดพฤติกรรมเหมือนเดิมซ้ำอีก
เราจะเพิกเฉยเหมือนกันทุกครั้ง
อย่าถามว่าต้องทำกี่ครั้ง...ไม่มีใครตอบใครได้
รู้แต่ ถ้าเราเข้าใจหลักการ และสม่ำเสมอ
สักวันพฤติกรรมไม่พึงประสงค์จะลดลงแน่นอน
.
ตัวอย่าง
เด็กร้องไห้หนักมากเมื่อถึงเวลาปิดทีวีตามที่ตกลงกันล่วงหน้า
เพิกเฉยคือ ไม่ถือสา ไม่เอามาเป็นอารมณ์
ต่อให้ร้องดังขึ้น ดิ้นกับพื้น เราก็ไม่ถือสา
แต่อยู่ใกล้ๆและอาจจะช่วยเค้าสงบอารมณ์
เด็กเล็ก มีพฤติกรรมสร้างความรำคาญบางอย่าง
ที่ใช้เรียกร้องความสนใจจากแม่
เช่น ขว้างปาของ เคาะโต๊ะ เอาช้อนตีให้เกิดเสียง เล่นน้ำลาย
เราอาจใช้วิธีเพิกเฉย ร่วมเบี่ยงเบนให้ทำพฤติกรรมเชิงบวก
เช่น ในร้านอาหาร ลูกกำลังเคาะโต๊ะ เราก็ทำเป็นมองไม่เห็นการเคาะนั้น (เพิกเฉยการเคาะโต๊ะซะ ไม่ถือสา) แต่ชวนให้ไปหนีบน้ำแข็งลงแก้ว
เมื่อเค้าทำสิ่งที่เราชี้ชวนให้ทำ ให้ชื่นชม
เด็กจะเข้าใจได้ว่า พฤติกรรม A แม่เห็นแล้ว แต่ไม่สนใจ
แต่เมื่อทำ พฤติกรรม B แม่สนใจและชื่นชม เป็นต้น
.
#เราควรจะใช้หรือไม่ใช้การเพิกเฉยเมื่อไหร่
1. ห้ามใช้วิธีเพิกเฉยกับเรื่องที่เป็นอันตราย
►อันตรายต่อตัวเอง เช่น เอาหัวโขกพื้น โขกกำแพง
ไม่พอใจแล้วหงายหลังตึง หัวกระแทกพื้น
เล่นของมีคม เล่นในบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุได้ เป็นต้น
►อันตราย/ทำร้ายผู้อื่น เช่น ตีแม่ หรือ เล่นสบู่ในห้องน้ำแล้วพื้นลื่นมาก
คนที่ใช้ห้องน้ำต่ออาจเกิดอุบัติเหตุได้
แบบนี้ ไม่ใช้การเพิกเฉย....แต่ต้องห้ามอย่างจริงจัง
สบตา บอกสิ่งที่เราต้องการ แบบจริงจังแต่ไม่ต้องใช้อารมณ์
2.ควรใช้ เมื่อเรารู้ว่าพฤติกรรมนั้นไม่อันตราย
และทำไปเพื่อเรียกร้องความสนใจ (ถ้าสังเกตดีๆ แม่จะรู้ดีนะคะว่ามีอะไรบ้าง)
3.สาเหตุหลักที่ทำให้วิธีนี้ ลดพฤติกรรมเด็กไม่ได้ คือ พ่อแม่ ไม่สม่ำเสมอ
บางทีก็ดุ บางทีทำโทษ บางทีเพิกเฉย
เด็กก็จะทดลองไปเรื่อย (อย่าลืมว่า สิ่งที่ต้องการคือ การได้รับความสนใจ
เด็กไม่แปลว่า ดุ หรือ ชม เอาแค่ได้รับความสนใจเท่านั้น) ดังนั้นเค้าก็ยังทำต่อไป
ตราบเท่าที่พฤติกรรมนี้ พ่อแม่ยังให้ค่าอยู่
.
หวังว่าบทความนี้ คงทำให้หลายๆคน เข้าใจคำ
เทคนิคเพิกเฉยมากขึ้นนะคะ
แท้จริงแล้ว...หัวใจสำคัญ ก็คือ
การเข้าใจว่าลูกทำพฤติกรรมเหล่านั้น
เพราะเค้าอยากได้รับความสนใจจากเรา
ให้เรามองลูกอย่างเมตตา และค่อยๆสอนให้เค้าเข้าใจว่า
พฤติกรรมไหนที่ต้องลด พฤติกรรมไหนที่ต้องเพิ่ม
.
ท่องประโยคเหล่านี้ไว้ในใจ
เมื่อต้องการฝึกวินัยเชิงบวกกับลูก
"แม่รู้ว่าลูกยังเล็กนัก
ลูกอาจจะทำอะไรบางอย่าง
ที่ลูกเข้าใจว่าทำแล้ว ลูกจะได้สิ่งที่ต้องการทันที
หรือบางครั้ง ลูกอาจจะควบคุมตัวเองไม่ได้
เพราะความเป็นเด็ก
แต่แม่เข้าใจ
พฤติกรรมนั้น แม่จะไม่ให้ค่า
แม่จะเพิกเฉยเสีย
ลูกอาจทำบางอย่างที่แม่ไม่ถูกใจ
แต่ก็ไม่ได้ทำให้แม่รักลูกน้อยลง
#แม่จะเป็นมาตรวัดที่ถูกต้องให้กับลูก
ว่าพฤติกรรมไหนไม่ควรทำ พฤติกรรมไหนควรทำต่อไป
และสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูก
เป็นที่รักของคนอื่นๆด้วยไม่ใช่แค่พ่อกับแม่
เพราะลูกรักตัวเอง
และเคารพในกติกาการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น"
.
ทิ้งท้าย
ไม่ว่าจะใช้เทคนิคอะไรในการฝึกวินัยแก่ลูก
แต่หัวใจคือ kind but firm
.
หมอแพม
「ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย」的推薦目錄:
- 關於ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
- 關於ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
- 關於ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย 在 หมอแพมชวนอ่าน - #เพิกเฉย_มิใช่_ทอดทิ้ง... | Facebook 的評價
- 關於ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย 在 ศูนย์ความปลอดภัยสำหรับครีเอเตอร์ - YouTube 的評價
ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
#เพิกเฉย_มิใช่_ทอดทิ้ง
#ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย
ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูลูกที่ไหนๆก็เขียนว่า
เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เรามีเทคนิคยอดนิยม คือ เบี่ยงเบน เพิกเฉย
เบี่ยงเบน มักทำได้ง่ายในเด็กเล็กๆ
โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
ใสๆ ตรงไปตรงมา ถูกฉีดยาเจ็บ ก็ร้องไห้
พาออกไปจากห้องตรวจ หยอกเอิน
ก็กลับมายิ้ม หัวเราะได้เหมือนเดิม
(ยังไม่คิดแค้น หมอและพยาบาล🤣🤣)
หรือ ร้องไห้กลัวหมอ แต่พอหมอชวนเล่น
แจกสติ๊กเกอร์ที่ถูกใจ ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจ
.
แต่หลังจากขวบปี ฉลาดมากขึ้น เข้าใจภาษามากขึ้น
โดยเฉพาะ 2-3 ปี ซึ่งเป็นวัย autonomy
วิธีเบี่ยงเบนเพียงอย่างเดียวมักใช้ไม่ได้ผล
เราก็มักจะ step up ด้วยเทคนิค #เพิกเฉย
.
หมออยากจะขยายความคำนี้สักเล็กน้อย
เพราะยังมีหลายคน เข้าใจคำนี้ ผิดไป
.
การเพิกเฉย ไม่ได้หมายความว่า
เมื่อลูกมีพฤติกรรมใดๆที่เราไม่ต้องการ
#แล้วเราทำเหมือนเค้าไม่มีตัวตน
เดินทิ้งไป ทำเหมือนมองไม่เห็น ไม่พูดด้วย
หรือบางคนหนักกว่านั้น คือ มองด้วยสายตาเชิงลบ
แล้วทิ้งให้เค้าอยู่กับอารมณ์ลบของตัวเอง
ที่ยากจะจัดการ
นี่คือการถูกทำโทษที่รุนแรง คือ
การถูกทอดทิ้งทางอารมณ์
#ถ้าฉันทำในสิ่งที่แม่ไม่ต้องการ_ฉันจะไม่เป็นที่ต้องการ
เด็กที่รู้สึกไม่มั่นคงทางอารมณ์
เค้าจะยิ่งเรียกร้องมากขึ้น
จะเป็นบ่อเกิดของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ตามมา
อีกหลายอย่าง
.
เพราะฉะนั้น รู้ว่าต้องใช้วิธีเพิกเฉย ไม่พอ
แต่ต้องใช้ให้เป็นด้วยนะคะ...สำคัญมาก
.
การเพิกเฉย ใช้ได้ดีมากในเด็กเล็ก
แต่อาจจะได้ผลไม่ดีในเด็กโตและวัยรุ่น
ที่เป็นเช่นนั้น
เพราะปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของเด็กเล็ก
ต้องการความสนใจ ต้องการเป็นที่รัก
ต้องการความใกล้ชิด
ต้องการความเอาใจใส่
(เรียกว่า เป็น อิคิไก ของเด็กเล็กเลยก็ว่าได้😊)
.
สมองเด็กเล็ก เป็นนักทดลองที่ช่ำชอง
โจทย์คือ #พฤติกรรมที่ฉันจะได้รับความสนใจ
หมอพูดว่าความสนใจนะคะ ไม่ได้ระบุว่าสนใจแบบไหน
สมองเด็ก แปลความว่าสนใจ
ไม่ว่าจะมาแนวลบหรือแนวบวก ก็ให้แต้มเท่ากัน
แม่เดินมาหา จะมาดุ หรือ มาชม ก็คือสนใจ
เช่น
👉 ดูดนิ้ว กับเล็บ แล้วแม่เดินมาดึงมือออก (ทำแล้ว แม่เดินมาหาอย่างเร็ว...ทำต่อ)
👉 เวลากินข้าว ร้องไห้ แม่สนใจ+ไม่ต้องกินข้าว+แถมได้กินนมเป็นรางวัล
(ยิงปืนนัดเดียว ได้นก 3 ตัว ทำต่อไปซิ..จะรออะไร)
👉 ขว้างของ แม่รีบเดินมาดุ (เวลาอื่นแม่ยุ่งกับงานบ้านตลอด พอเราขว้างแม่เดินมาหา...ได้ผล)
และอีกมากมาย
นี่คือที่มาของหลักการ เพิกเฉย คือ
เรารู้ว่า #สมองเด็กจะบันทึกพฤติกรรมที่ทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ และเค้าจะทำมันซ้ำๆ ถ้าพฤติกรรมนั้น ไม่ได้รับความสนใจ เค้าจะค่อยๆเลิกพฤติกรรมนั้น
.
การเพิกเฉย มิใช่ เพิกเฉยในตัวลูก
แต่ให้ #เพิกเฉยเฉพาะพฤติกรรม
คือ ไม่ถือสา ไม่เอาความ กับสิ่งที่เด็กทำไป
#เพราะเค้ายังไม่เรียนรู้ว่าที่ถูกและควรคือเช่นไร
(ถ้าจะโกรธลูก ให้ถามก่อนว่า
ใครควรจะเป็นสอนสิ่งที่ถูกต้องล่ะ)
ขณะเราเพิกเฉยในพฤติกรรม เราสบตากับลูกได้
เราพูดกับเค้าได้ เราปลอบโยนได้ (kind)
แต่เรา #ไม่ให้ค่าพฤติกรรมที่เค้าทำเพื่อเรียกร้องสิ่งที่เค้าต้องการ
เพราะประเมินแล้วว่า เราต้องการลดพฤติกรรมนั้น
และต่อให้ลูกมาไม้ไหน
เราก็ยืนยันเหมือนเดิมว่าทำไม่ได้ (firm)
และเมื่อเกิดพฤติกรรมเหมือนเดิมซ้ำอีก
เราจะเพิกเฉยเหมือนกันทุกครั้ง
อย่าถามว่าต้องทำกี่ครั้ง...ไม่มีใครตอบใครได้
รู้แต่ ถ้าเราเข้าใจหลักการ และสม่ำเสมอ
สักวันพฤติกรรมไม่พึงประสงค์จะลดลงแน่นอน
.
ตัวอย่าง
เด็กร้องไห้หนักมากเมื่อถึงเวลาปิดทีวีตามที่ตกลงกันล่วงหน้า
เพิกเฉยคือ ไม่ถือสา ไม่เอามาเป็นอารมณ์
ต่อให้ร้องดังขึ้น ดิ้นกับพื้น เราก็ไม่ถือสา
แต่อยู่ใกล้ๆและอาจจะช่วยเค้าสงบอารมณ์
เด็กเล็ก มีพฤติกรรมสร้างความรำคาญบางอย่าง
ที่ใช้เรียกร้องความสนใจจากแม่
เช่น ขว้างปาของ เคาะโต๊ะ เอาช้อนตีให้เกิดเสียง เล่นน้ำลาย
เราอาจใช้วิธีเพิกเฉย ร่วมเบี่ยงเบนให้ทำพฤติกรรมเชิงบวก
เช่น ในร้านอาหาร ลูกกำลังเคาะโต๊ะ เราก็ทำเป็นมองไม่เห็นการเคาะนั้น (เพิกเฉยการเคาะโต๊ะซะ ไม่ถือสา) แต่ชวนให้ไปหนีบน้ำแข็งลงแก้ว
เมื่อเค้าทำสิ่งที่เราชี้ชวนให้ทำ ให้ชื่นชม
เด็กจะเข้าใจได้ว่า พฤติกรรม A แม่เห็นแล้ว แต่ไม่สนใจ
แต่เมื่อทำ พฤติกรรม B แม่สนใจและชื่นชม เป็นต้น
.
#เราควรจะใช้หรือไม่ใช้การเพิกเฉยเมื่อไหร่
1. ห้ามใช้วิธีเพิกเฉยกับเรื่องที่เป็นอันตราย
►อันตรายต่อตัวเอง เช่น เอาหัวโขกพื้น โขกกำแพง
ไม่พอใจแล้วหงายหลังตึง หัวกระแทกพื้น
เล่นของมีคม เล่นในบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุได้ เป็นต้น
►อันตราย/ทำร้ายผู้อื่น เช่น ตีแม่ หรือ เล่นสบู่ในห้องน้ำแล้วพื้นลื่นมาก
คนที่ใช้ห้องน้ำต่ออาจเกิดอุบัติเหตุได้
แบบนี้ ไม่ใช้การเพิกเฉย....แต่ต้องห้ามอย่างจริงจัง
สบตา บอกสิ่งที่เราต้องการ แบบจริงจังแต่ไม่ต้องใช้อารมณ์
2.ควรใช้ เมื่อเรารู้ว่าพฤติกรรมนั้นไม่อันตราย
และทำไปเพื่อเรียกร้องความสนใจ (ถ้าสังเกตดีๆ แม่จะรู้ดีนะคะว่ามีอะไรบ้าง)
3.สาเหตุหลักที่ทำให้วิธีนี้ ลดพฤติกรรมเด็กไม่ได้ คือ พ่อแม่ ไม่สม่ำเสมอ
บางทีก็ดุ บางทีทำโทษ บางทีเพิกเฉย
เด็กก็จะทดลองไปเรื่อย (อย่าลืมว่า สิ่งที่ต้องการคือ การได้รับความสนใจ
เด็กไม่แปลว่า ดุ หรือ ชม เอาแค่ได้รับความสนใจเท่านั้น) ดังนั้นเค้าก็ยังทำต่อไป
ตราบเท่าที่พฤติกรรมนี้ พ่อแม่ยังให้ค่าอยู่
.
หวังว่าบทความนี้ คงทำให้หลายๆคน เข้าใจคำ
เทคนิคเพิกเฉยมากขึ้นนะคะ
แท้จริงแล้ว...หัวใจสำคัญ ก็คือ
การเข้าใจว่าลูกทำพฤติกรรมเหล่านั้น
เพราะเค้าอยากได้รับความสนใจจากเรา
ให้เรามองลูกอย่างเมตตา และค่อยๆสอนให้เค้าเข้าใจว่า
พฤติกรรมไหนที่ต้องลด พฤติกรรมไหนที่ต้องเพิ่ม
.
ท่องประโยคเหล่านี้ไว้ในใจ
เมื่อต้องการฝึกวินัยเชิงบวกกับลูก
"แม่รู้ว่าลูกยังเล็กนัก
ลูกอาจจะทำอะไรบางอย่าง
ที่ลูกเข้าใจว่าทำแล้ว ลูกจะได้สิ่งที่ต้องการทันที
หรือบางครั้ง ลูกอาจจะควบคุมตัวเองไม่ได้
เพราะความเป็นเด็ก
แต่แม่เข้าใจ
พฤติกรรมนั้น แม่จะไม่ให้ค่า
แม่จะเพิกเฉยเสีย
ลูกอาจทำบางอย่างที่แม่ไม่ถูกใจ
แต่ก็ไม่ได้ทำให้แม่รักลูกน้อยลง
#แม่จะเป็นมาตรวัดที่ถูกต้องให้กับลูก
ว่าพฤติกรรมไหนไม่ควรทำ พฤติกรรมไหนควรทำต่อไป
และสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูก
เป็นที่รักของคนอื่นๆด้วยไม่ใช่แค่พ่อกับแม่
เพราะลูกรักตัวเอง
และเคารพในกติกาการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น"
.
ทิ้งท้าย
ไม่ว่าจะใช้เทคนิคอะไรในการฝึกวินัยแก่ลูก
แต่หัวใจคือ kind but firm
.
หมอแพม
ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย 在 ศูนย์ความปลอดภัยสำหรับครีเอเตอร์ - YouTube 的推薦與評價
การ จัดการพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของผู้อื่น. สร้างกลยุทธ์การรับมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้คุณพร้อมรับมือหากพบเจอพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ... ... <看更多>
ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย 在 หมอแพมชวนอ่าน - #เพิกเฉย_มิใช่_ทอดทิ้ง... | Facebook 的推薦與評價
เพิกเฉย_มิใช่_ทอดทิ้ง #ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการเพิกเฉย ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูลูกที่ไหนๆก็เขียนว่า เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ... ... <看更多>