“หลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ในที่นี้ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คือ วิ.ปกครอง
ในการพิจารณาทางปกครองที่จะออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกพหนด (มีวิธีพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนด)
คำสั่งทางปกครองบางกรณีจะมีขั้นตอนสั้น เพราะต้องการความฉับไว แต่คำสั่งทางปกครองบางกรณีจะมีขั้นตอนในรายละเอียดมากโดยขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีพิจารณาที่กำหนดขึ้นเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิของเอกชนให้ได้รับการพิจารณาโดยถี่ถ้วนและ รักษาประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการควบคู่กันไปด้วย คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำหรือออกโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น (competance) หากผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่กระทำก็จะเกิดความไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย (มาตรา 12 วิ.ปกครอง)
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ หมายถึง ผู้มีหน้าที่ (authority) คือ
(1) บุคคลธรรมดา เช่น ข้าราชการ พนักงานของรัฐ
(2)คณะบุคคล คือ คณะกรรมการต่างๆ เช่น กรรมการสภามหาวิทยาลัย
(3) นิติบุคคล คือ หน่วยงานทางปกครอง
โดยทั่วไป เจ้าหน้าที่จะเป็นหน่วยงานปกครอง แต่ในบางกรณีที่รัฐมอบอำนาจให้เอกชนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐ ในกรณีนั้น เอกชนก็จะเป็น “เจ้าหน้าที่” ในการนั้น เช่น รัฐมอบหมายให้เอกชนใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น องค์กรวิชาชีพต่างๆ อาทิเช่น สภาทนาย แพทยสภา สภาการบัญชี เป็นต้น
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้อง มีความเป็นกลาง (impartiality) ต่อทุกฝ่าย เพื่อเป็นหลักในการประกันความเป็นธรรมในกระบวนการ พิจารณาทางปกครอง โดยความไม่เป็นกลางแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1.ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก กรณีตามมาตรา 13 วิ. ปกครอง ประกอบด้วย
1) เจ้าหน้าที่เป็นคู่กรณีเอง คือเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน ซึ่งถือเป็นการร้ายแรงที่สุด เช่น การที่เจ้าหน้าที่ขอทุนวิจัย แต่ในขณะเดียวกันเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาทุนวิจัยนั้นๆ เป็นต้น
2) เจ้าหน้าที่เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี เพราะการร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันหรือจะ ร่วมเป็นครอบครัวเดียวกัน อาจทำให้เกิดความลำเอียงได้ง่าย
3) เจ้าหน้าที่เป็นญาติของคู่กรณี ความเป็นญาติกันก็มักจะทำให้เกิดความลาเอียง โดยให้ จากัดแค่ขอบเขตของ “ญาติสนิท” แต่เพื่อความชัดเจนกฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นประเภทไว้ ดังนี้
(1)บุพการี คือผู้สืบสายโลหิตสายตรงขึ้นไปไม่ว่าจะกี่ชั้น นับตั้งแต่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทวด ซึ่งการนับตามหลักบุพการีนี้ไม่คำถึงการสมรสว่าจะชอบหรือไม่
(2) ผู้สืบสันดาน คือผู้สืบสายโลหิตสายตรงลงมาไม่ว่าจะกี่ชั้น นับแต่ลูกหลาน เหลน ลื่อ ซึ่งการนับตามหลักผู้สืบสันดานจะนับทั้งหมดไม่ว่าจะกาเนิดโดยการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(3)ญาติพี่น้อง นับได้ภายใน 3 ชั้น พี่น้อง คือ ผู้เกิดในครอบครัวจากพ่อแม่เดียวกัน ไม่ว่า พ่อแม่จะสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(4)ลูกพี่ลูกน้องนับได้ภายใน 3 ชั้น คือ ลูกของผู้เป็นพี่หรือเป็นน้องของพ่อหรือแม่ ได้แก่ ลูกของ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งนับตามข้อเท็จจริง
(5)ญาติเกี่ยวพันกันทางแต่งงาน นับได้ภายใน 2 ชั้น
4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้แทน หรือตัวแทนของคู่กรณี ทั้งนี้ เพราะเคยทำงานรักษาผลประโยชน์ให้กันมาก่อน ซึ่งย่อมมีความใกล้ชิดและอาจลำเอียง
5) เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือนายจ้างของคู่กรณี เพราะมีประโยชน์ที่จะเรียกร้องหรือจะต้อง ให้แก่กันอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางใจ อาจไม่ประสงค์จะกระทำการใดเพื่อให้อีกฝ่ายขุ่นเคือง หรือ เพื่อให้ตนได้รับประโยชน์จากมูลหนี้ หรือเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งพอใจเพื่อที่ตนจะได้รับการผ่อนปรนการชำระหนี้
6) กรณีอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อมีกรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก (มาตรา 14 วิ.ปกครอง)
(1)กรณีเจ้าหน้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ว่าโดยฐานะของตนเอง หรือในฐานะที่ตนเอง เป็นผู้กระทำการแทนหน่วยงานทางปกครองก็ตาม ทันทีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นตระหนักเองว่าตนมีลักษณะต้องห้าม ดังกล่าวหรือมีผู้คัดค้านว่าตนเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามเช่นว่านั้น เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องหยุดการพิจารณาในทันที และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีคำสั่งว่ากรณีดังกล่าว เป็นจริงหรือไม่ และสมควรดำเนินการอย่างไร
ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวให้รวมถึงผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มี อำนาจกำกับดูแลสาหรับกรณีของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาโดยตรง และนายกรัฐมนตรีสำหรับ กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นรัฐมนตรี ผู้ใดไม่พอใจผลการพิจารณาคาคัดค้านของผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปมีสิทธิ ที่จะอุทธรณ์ตามมาตรา 44 วิ.ปกครอง ได้อีกชั้นหนึ่ง
ส่วนกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ก็ต้องโต้แย้งต่อองค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง กล่าว ในอดีตก่อนมีศาลปกครอง องค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง คือ กฤษฎีกา แต่ปัจจุบันมีศาลปกครอง ให้โต้แย้งต่อศาลปกครอง
(2) กรณีเจ้าหน้าที่เป็นคณะกรรมการ ในกรณีที่กรรมการคนใดตระหนักว่าตนมี กรณีตามมาตรา 13 วิ.ปกครอง หรือมีผู้กล่าวหาตนเช่นนั้น กรรมการท่านนั้นควรแจ้งเรื่องให้ประธานกรรมการทราบ โดย ประธานกรรมการจะต้องเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคำคัดค้านนั้น ในการประชุมนี้กรรมการ ผู้ถูกคัดค้านจะอยู่ร่วมพิจารณาไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตนโดยแท้ แต่อาจอยู่ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือตอบ ข้อซักถามได้ หลังจากนั้นต้องออกจากห้องประชุมไป (มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วิ.ปกครอง) ในการพิจารณา ออกเสียงกรรมการผู้ถูกคัดค้านต้องออกจากที่ประชุม และให้ถือว่าคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย กรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้านเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่ององค์ประชุม แต่ในกรณีที่ถูกคัดค้านหลายคนโดยเหตุ แยกจากกัน ก็ให้ออกจากห้องประชุมเฉพาะในขณะพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นของตนเท่านั้น
(3)หลายคนโดยมูลกรณีเดียวกัน สมควรต้องพิจารณารวมกัน โดยผู้ถูกคัดค้านร่วมกัน ดังกล่าวทุกคนต้องออกจากห้องประชุม เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย อันอาจทำให้ผลการพิจารณาไม่เป็นกลาง การลงมติให้ทำเป็นการลับ แต่ให้ใช้มติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน มติของคณะกรรมการดังกล่าวให้เป็นที่สุด เพราะไม่มีขั้นตอนตามสายการบังคับบัญชาที่จะพิจารณาเป็นอย่างอื่น
ผู้ใดไม่พอใจมติดังกล่าวก็อาจยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น
2 ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน (มาตรา 16 วิ. ปกครอง)
โดยสภาพ คือ ความไม่เป็นกลางตามความเป็นจริงนั่นเอง ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้ การพิจารณาทางปกครองไม่เป็น กลาง เช่น เคยโกรธแค้นอาฆาตกันมาก่อน หรือเป็นผู้มีทัศนะคติที่เป็นปฏิปักษ์ อย่างแข็งกร้าวกับเรื่องที่จะต้องพิจารณา หรือการมีผลประโยชน์ขัดกัน เป็นต้น
ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมีกรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน จะเป็นทำนองเดียวกับ “ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก” คือ ต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาหรือประธานกรรมการแล้วแต่กรณี
ผลการฝ่าฝืนหลักเรื่องความเป็นกลาง
ในกรณีที่การพิจารณาจัดทำคำสั่งทางปกครองยังไม่เสร็จสิ้น ผลความเป็นกลาง (ถ้าจะมีอยู่ จริง) จึงยังไม่มีผลกระทบต่อผู้ใด และถ้าได้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาออกไปแล้ว และเจ้าหน้าที่คน ใหม่หรือที่เหลืออยู่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นกลางแล้ว ก็สามารถดาเนินการเพื่อให้มีคาสั่งทางปกครองต่อไป ได้โดยไม่ต้องเริ่มกระบวนการพิจารณาใหม่ แต่ถ้าในกรณีที่ความไม่เป็นกลางรุนแรงเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่ จะดำเนินการกระบวนพิจารณาบางส่วนใหม่ก็ได้
อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหลักความเป็นกลางโดยไม่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ และ การพิจารณาได้ดำเนินการไปจนจบ และมีคำสั่งทางปกครองขึ้นแล้ว ผลการฝ่าฝืนหลักความเป็นกลางสามารถ แยกได้เป็น 2 กรณี คือ
1.กรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก (มาตรา 13 วิ.ปกครอง) ต้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น
2.กรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากมีความไม่เป็นกลาง จริง และความไม่เป็นกลางนั้นมีผลโดยตรงให้เกิดคำสั่งทางปกครองในลักษณะที่เป็นการกล่าวหาหรือทางลบ คู่กรณีก็สามารถขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น ข้อยกเว้นบทบังคับเรื่องหลักความไม่เป็นกลาง (มาตรา 18 วิ.ปกครอง) มี 2 กรณีคือ
1) ในกรณีเร่งด่วน จะผัดผ่อนไปไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องมีคพสั่งทางปกครองเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของเอกชน ซึ่งหากปล่อยล่าช้าจะเกิดความเสียหายที่ไม่มีทางแก้ไขได้
2)ไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน
同時也有38部Youtube影片,追蹤數超過25萬的網紅iT24Hrs,也在其Youtube影片中提到,ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย แล้ว ยืมเงินทางไลน์ แจ้งความได้ไหม l DGTH แชทยืมเงินทางไลน์ เป็นสัญญากู้เงินได้ไหม ? แล้วทวงเงินในโซเชียล ทวงยังไงไม่ใ...
「ลูกหนี้」的推薦目錄:
- 關於ลูกหนี้ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ลูกหนี้ 在 Money Coach Facebook 的精選貼文
- 關於ลูกหนี้ 在 ลูกต่างวัย TV Facebook 的最佳貼文
- 關於ลูกหนี้ 在 iT24Hrs Youtube 的精選貼文
- 關於ลูกหนี้ 在 ดอยแม่สลอง สื่อสังคมออนไลน์ Youtube 的精選貼文
- 關於ลูกหนี้ 在 ดอยแม่สลอง สื่อสังคมออนไลน์ Youtube 的最佳解答
- 關於ลูกหนี้ 在 ดัดนิสัย! เจ้าหนี้ลงทุนจ้างทนาย 8 พัน ฟ้องลูกหนี้ปากแจ๋ว เบี้ยวเงิน 2 ... 的評價
- 關於ลูกหนี้ 在 ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรม ... 的評價
ลูกหนี้ 在 Money Coach Facebook 的精選貼文
เมื่อ "ลูกหนี้" ถูกฟ้องร้อง สิทธิและหน้าที่มีอะไรบ้าง รู้ไว้ได้ประโยชน์ครับ
ข้อมูล: www.bot.or.th เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย
คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_13May2021-2.aspx
ลูกหนี้ 在 ลูกต่างวัย TV Facebook 的最佳貼文
ละครสั้น ลูกหนี้ ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย! ทำไงดี!!
ลูกหนี้ 在 iT24Hrs Youtube 的精選貼文
ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย แล้ว ยืมเงินทางไลน์ แจ้งความได้ไหม l DGTH
แชทยืมเงินทางไลน์ เป็นสัญญากู้เงินได้ไหม ?
แล้วทวงเงินในโซเชียล ทวงยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย !!
รายการ Digital Thailand ( DGTH ) By เอิ้น ปานระพี มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง “ ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย แล้ว ยืมเงินทางไลน์ แจ้งความได้ไหม ”
.
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2564
ในรายการ Digital Thailand ทุกวันเสาร์ ทางช่อง 3 กด 33 เวลา 4.40 น.- 5.05 น.
ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/it24hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/it24hrs
IG: panraphee
TikTok : it24hrs
ติดต่อโฆษณา it24hrs@it24hrs.com
#DGTH #Digital Thailand #panraphee #กฎหมาย #ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย #ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย #เรื่องหนี้นอกระบบ #ทวงหนี้
ลูกหนี้ 在 ดอยแม่สลอง สื่อสังคมออนไลน์ Youtube 的精選貼文
มีเพื่อนแบบนี้มันน่าหนักใจ
I feel like my friend is burden to me.
ลูกหนี้ 在 ดอยแม่สลอง สื่อสังคมออนไลน์ Youtube 的最佳解答
เพื่อนไม่ใช้หนี้เลยไม่มีรักษาแม่! Friend won’t pay off his debt, can’t take mom to see doctor.
ลูกหนี้ 在 ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรม ... 的推薦與評價
ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 34523 คน · 23 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 695... ... <看更多>
ลูกหนี้ 在 ดัดนิสัย! เจ้าหนี้ลงทุนจ้างทนาย 8 พัน ฟ้องลูกหนี้ปากแจ๋ว เบี้ยวเงิน 2 ... 的推薦與評價
เจ้าหนี้ใจเด็ด! จ้างทนาย 8 พัน ฟ้อง ลูกหนี้ ปากแจ๋วเบี้ยวเงิน 2 พันบาท ขาดทุนไม่ว่าแต่ขอดัดนิสัยคนเหนียวหนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 ... ... <看更多>