รู้จัก Sequoia เจ้าพ่อ VC ที่สตาร์ตอัปทุกราย อยากเข้าหา /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทจัดการลงทุนที่ประสบความสำเร็จระดับโลก หลายคนคงนึกถึง Berkshire Hathaway ของนักลงทุนระดับตำนานอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์
หรือ Bridgewater Associates ของผู้จัดการกองทุน Hedge Fund อย่าง เรย์ ดาลิโอ
แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกบริษัทที่ประสบความสำเร็จในโลกการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี หรือสตาร์ตอัป คือบริษัทที่ชื่อว่า “Sequoia Capital”
Sequoia Capital เป็นหนึ่งในผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทระดับโลกมากมาย เช่น Google, YouTube, Instagram, Cisco, PayPal และ Airbnb ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของบริษัท จนมีส่วนสำคัญให้บริษัทเหล่านี้ สามารถเติบโตจนยิ่งใหญ่ได้ในแบบทุกวันนี้
และผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้ คือชายที่ชื่อว่า “Donald Thomas Valentine”
เขาคือผู้ก่อตั้ง Sequoia Capital ซึ่งช่วยผลักดันเหล่าบริษัทเทคโนโลยี ให้กลายเป็นยักษ์ตัวใหญ่ จนเขาได้รับฉายาว่าเป็น “หนึ่งในผู้สร้าง Silicon Valley” เลยทีเดียว..
เส้นทางของ Donald Valentine ในโลกการลงทุน เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วการลงทุนที่ประสบความสำเร็จของ Sequoia Capital มีอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Donald Thomas Valentine หรือ Don Valentine เกิดที่รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1932
เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย Fordham ในสาขาวิชาเคมี
ก่อนที่จะย้ายไปแคลิฟอร์เนีย ในช่วงปี ค.ศ. 1950 เพื่อเข้าทำงานที่ Raytheon Company หนึ่งในบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ซึ่งกำลังเติบโตได้ดีในช่วงนั้น
ในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน คุณ Don เริ่มทำงานจากการเป็นวิศวกรฝ่ายขาย
จากนั้นช่วงปี ค.ศ. 1960 เขาได้ย้ายไปทำงานที่ Fairchild Semiconductor ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ ระดับโลกทั้งหลายในปัจจุบัน เช่น Intel, AMD จากการที่ผู้บริหารของบริษัท แยกตัวออกมาก่อตั้งบริษัทเองในภายหลัง
คุณ Don เขาได้สร้างผลงานที่โดดเด่น อย่างตอนที่ทำงานอยู่ที่ Fairchild Semiconductor ก็ได้สร้างทีมขายที่แข็งแกร่งขึ้นมา
ด้วยความที่บริษัท Fairchild Semiconductor มีบุคลากรที่มีความสามารถอยู่แล้ว เช่น Gordon Moore ผู้ก่อตั้งบริษัท Intel บวกกับความสามารถในการขายของคุณ Don ทำให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก ๆ ปี
จนในปี ค.ศ. 1966 บริษัทมียอดขายในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์เป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา เป็นรองเพียง Texas Instruments เท่านั้น
หลังจากทำงานที่ Fairchild Semiconductor ได้ 7 ปี เขาก็ย้ายงานออกมาทำงานที่ National Semiconductor ในตำแหน่งรองประธานฝ่ายขายและการตลาด
แม้จะเชี่ยวชาญในเรื่องการขายและการทำการตลาด
แต่ด้วยความที่ทำงานกับบริษัทเทคโนโลยี ได้คลุกคลีกับวงการธุรกิจนี้มานาน ทำให้เขาเริ่มเข้าใจว่า บริษัทเทคโนโลยีแบบไหนที่คาดว่าจะเติบโตได้ดี และดูมีอนาคต
นั่นทำให้อีกสิ่งหนึ่งที่คุณ Don ชอบและทำควบคู่กันมาตลอด คือการลงทุนในบริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ซึ่งในระหว่างทำงานที่ National Semiconductor เขามีหน้าที่ ในการอธิบายการบริหารธุรกิจในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์ให้กับผู้ลงทุนและบริษัทจัดการการลงทุนต่าง ๆ
นั่นทำให้ความสามารถของเขาในการวิเคราะห์ ความเข้าใจในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ และความเข้าใจในธุรกิจเทคโนโลยี เป็นที่รู้จักของบริษัทและผู้จัดการกองทุนมากมาย
จนวันหนึ่งความสามารถในการขาย วิเคราะห์ และการลงทุนของเขาก็ไปสะดุดตาของ Capital Group หนึ่งในบริษัทด้านการเงิน การลงทุน ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งถือเป็นผู้เบิกทางให้กับคุณ Don เลยก็ว่าได้
Capital Group ได้ยื่นข้อเสนอให้คุณ Don มาร่วมบริหารจัดการเงินลงทุน โดยทาง Capital Group จะเป็นผู้ช่วยจัดการในการก่อตั้ง และระดมทุนให้ในช่วงแรก
นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณ Don สามารถก่อตั้ง Sequoia Capital ขึ้นมาได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1972
โดยมี Capital Group เป็นผู้ให้เงินทุนก้อนแรกกับคุณ Don เป็นมูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1974
คุณ Don เคยบอกไว้ว่า เขาเลือกใช้ชื่อ Sequoia Capital
ตามชื่อของต้น “Sequoia” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ สามารถมีความสูงได้มากถึง 85 เมตร
โดยเขาต้องการให้กองทุนของเขายิ่งใหญ่เปรียบเสมือนต้น Sequoia
การลงทุนครั้งแรกของ Sequoia Capital เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1975 เป็นการลงทุนในบริษัท Atari ซึ่ง Atari เป็นบริษัทแรก ๆ ที่บุกเบิกวิดีโอเกม เครื่องเล่มเกม และเกมคอมพิวเตอร์ ในสหรัฐอเมริกา
ในปี ค.ศ. 1976 Atari ถูกขายให้กับ Warner Communications ดีลนี้มีมูลค่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าทำกำไรให้ Sequoia Capital ได้มาก
และนับว่าเป็นการลงทุนครั้งแรก ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จเลยทีเดียว สำหรับ Sequoia Capital
การลงทุนในครั้งนั้น ยังทำให้เขาได้พบกับ สตีฟ จอบส์ ซึ่งในเวลานั้นทำงานอยู่ที่ Atari เป็นเหตุให้คุณ Don ได้เข้าลงทุนกับ Apple ในปี ค.ศ. 1978 ด้วยเงินจำนวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งในตอนนั้น การลงทุนในบริษัท Apple ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจาก Apple เพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 2 ปี และยังไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากอย่างทุกวันนี้
แต่การลงทุนใน Apple ดูจะเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไรนัก เนื่องจาก Sequoia Capital ได้ถอนการลงทุนจาก Apple ในปี ค.ศ. 1979
แต่หลังจาก Sequoia Capital ถอนเงินลงทุนได้เพียงปีเดียว สตีฟ จอบส์ ก็สามารถพา Apple เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้สำเร็จ..
แม้คุณ Don จะพลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนมหาศาลจาก Apple
แต่หลังจากนั้น เขาก็ยังคงมองหาบริษัทที่มีไอเดียที่ดี เพื่อเข้าลงทุนต่ออย่างต่อเนื่อง
จน Sequoia Capital มีผลงานที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการลงทุนครั้งสำคัญ เช่น
Cisco Systems เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ที่เน้นการขายซอฟต์แวร์ อย่างเช่น โปรแกรมดูแลความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และระบบคลาวด์
โดย Sequoia Capital เข้าลงทุนใน Cisco Systems เป็นเงินมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1987 หลังจากที่ Cisco ก่อตั้งได้เพียง 3 ปี หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา Cisco ก็สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้
จุดเปลี่ยนสำคัญของ Sequoia Capital ส่วนหนึ่งมาจากการเข้ามาของ Michael Moritz ในปี ค.ศ. 1986 และ Douglas Leone ในปี ค.ศ. 1988
ทั้งคู่เข้ามามีบทบาทในการช่วยเลือกบริษัทที่ Sequoia Capital จะเข้าไปลงทุน
ตัวอย่างผลงานที่ทั้งสองคนมีส่วนในการตัดสินใจ เช่น
YouTube ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากครั้งหนึ่งของ Sequoia Capital
ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2005 Sequoia Capital เข้าลงทุนใน YouTube เป็นเงินประมาณ 462 ล้านบาท โดยแลกกับหุ้น 30%
และต่อมาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2006 YouTube ก็ถูกซื้อกิจการทั้งหมดโดย Google ซึ่งดีลนี้มีมูลค่าราว ๆ 54,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าคูณตามสัดส่วน มูลค่าหุ้นที่ Sequoia Capital ขาย ก็น่าจะอยู่ในหลักหมื่นล้านบาท
ทั้ง Michael Moritz และ Douglas Leone ที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น
ทำให้ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1990 คุณ Don จึงได้ส่งไม้ต่อให้ทั้งคู่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและบริหารบริษัทต่อจากเขา
นอกจาก YouTube แล้ว Sequoia Capital ยังเป็นผู้ลงทุนในบริษัทที่เรารู้จักกันดีอีกหลายแห่งตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Instagram, PayPal, Electronic Arts และ LinkedIn
ด้วยความสำเร็จมากมายจากการลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปทั้งหลาย
ปัจจุบัน Sequoia Capital ถือเป็นหนึ่งใน Venture Capital
ที่บรรดาสตาร์ตอัปต่างเข้าหา และต้องการเงินทุนสนับสนุนจากพวกเขามากที่สุด
พูดได้ว่า หากเปิดดูข้อมูลการระดมทุนของบริษัทไหน แล้วเจอชื่อของ Sequoia Capital เข้าไปลงทุน
ก็จะเสมือนเป็นเครื่องหมายการันตีว่า สตาร์ตอัปนั้นมีอนาคตแน่นอน
และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนรายอื่น ๆ ที่จะเข้ามาให้เงินสนับสนุนกับบริษัท ในระยะถัดไป
ตัวอย่างสตาร์ตอัป ที่ Sequoia Capital เข้าลงทุนตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ เช่น
- Airbnb แพลตฟอร์มจองและแชร์ที่พักที่มีเครือข่ายทั่วโลก
- DoorDash แพลตฟอร์มฟูดดิลิเวอรี เจ้าใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
- Snowflake บริษัทให้บริการเกี่ยวกับคลังข้อมูล และบริการ Cloud Computing
- Unity บริษัทเจ้าของเกมเอนจิน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือสำเร็จรูปสำหรับสร้างเกม โดยมีตัวอย่างเกมที่สร้างโดยตัวแพลตฟอร์มนี้ เช่น Among Us, RoV
นอกจากการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาแล้ว
ปัจจุบัน Sequoia Capital ยังมีกองทุนที่เปิดให้บริการนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาด้วย ได้แก่
- Sequoia Capital China เน้นการลงทุนในประเทศจีน
- Sequoia Capital India เน้นการลงทุนในประเทศอินเดีย และโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Sequoia Capital Israel เน้นการลงทุนในประเทศอิสราเอล
ซึ่งปัจจุบัน หากนับรวมมูลค่าบริษัทที่ Sequoia Capital เข้าไปร่วมลงทุนทั้งหมด จะมีมูลค่าบริษัทรวมกันคิดเป็นทั้งหมด 107 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
ถึงแม้คุณ Don Valentine จะเสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2019
แต่ในวันนี้ต้น Sequoia ที่เขาปลูกไว้เมื่อ 49 ปีก่อน
ก็ได้เติบโตเป็นต้น Sequoia ที่ยิ่งใหญ่ ตามที่เขาตั้งใจไว้
และต้นไม้ต้นนี้ ก็ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ
ที่มีส่วนให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ได้แจ้งเกิดและยิ่งใหญ่ขึ้นมา อย่างนับไม่ถ้วน นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.sequoiacap.com/article/remembering-don-valentine/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sequoia_Capital
-https://www.blockdit.com/posts/60218f26a95fa30bb4f78b89
-https://en.wikipedia.org/wiki/Don_Valentine
-https://www.sequoiacap.com/company-story/cisco-story/
-https://www.longtunman.com/30858 -https://www.investopedia.com/articles/markets/113015/if-you-had-invested-right-after-ciscos-ipo.asp
-https://www.nytimes.com/2006/10/10/technology/10payday.html
-https://www.blockdit.com/posts/5eaa58139939070cacce1f93
-https://en.wikipedia.org/wiki/Fairchild_Semiconductor
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sequoia_Capital
-https://www.quora.com/How-much-venture-capital-did-Apple-Computer-initially-raise
-https://golden.com/wiki/Sequoia_Capital_India-VWKKEBE
-https://golden.com/wiki/Sequoia_Capital_China-4NAE99X
-https://www.crunchbase.com/organization/sequoia-capital-israel
-https://www.sequoiacap.com/companies/
-https://pitchbook.com/news/articles/don-valentine-longtime-lion-of-silicon-valley-dies-at-87
-https://digitalassets.lib.berkeley.edu/roho/ucb/text/valentine_donald.pdf
วอร์เรน บัฟเฟตต์ การลงทุน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
การลงทุน แบบกระจาย VS แบบโฟกัส แบบไหนดีกว่ากัน? /โดย ลงทุนแมน
“อย่าเอาไข่ทุกฟองที่มีไปใส่ในตะกร้าใบเดียว”
“Don't put all your eggs in one basket”
เป็นสำนวนที่พูดกันบ่อยในโลกการลงทุน
ในแง่ของการลงทุน สำนวนนี้จะมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า
การลงทุนลงแรงให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ถ้าพลาดขึ้นมาเราอาจได้รับความเสียหายอย่างหนัก
แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางคนบอกว่า
ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนมากกว่าคนอื่น
ก็ควรจะโฟกัสไปที่การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวหรือไม่กี่อย่าง
สรุปแล้วแนวคิดแบบไหน ดีกว่ากัน?
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
อีกครั้งกับกรณีศึกษาธุรกิจมากมายที่จะช่วยเปิดกว้างมุมมองความรู้ของคุณ
ใน ลงทุนแมน 13.0 เล่มล่าสุด สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง (Diversified Investment) คือ การแบ่งเงินเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย
เช่น ถ้าเรามีเงินอยู่หนึ่งก้อน เราอาจนำไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 20%, หุ้นกู้ 30%, หุ้น 40% และอีก 10% ฝากไว้ในธนาคาร
ที่ต้องทำแบบนี้ ก็เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ชนิดเดียว เช่น ถ้าเรานำเงินทั้งก้อนไปลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว ถ้าเกิดปัญหากับบริษัทที่เราลงทุน เราก็อาจจะขาดทุนในปริมาณมากจากการลงทุนในบริษัทนั้นได้
หรือถ้าเราจำกัดให้เหลือเพียงแค่การลงทุนในหุ้น
การกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นที่ง่ายที่สุด
ก็คือการนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมดัชนี (Index Fund)
ยกตัวอย่างในประเทศไทย เช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน SET50 หรือก็คือกองที่ลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ 50 อันดับแรกในตลาดหุ้นไทย
ในต่างประเทศ เช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน S&P 500 ซึ่งเป็นกองที่ลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ 500 อันดับแรกในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ข้อดีของการกระจายการลงทุนในลักษณะนี้ก็คือ
ถ้าเราลงทุนในระยะเวลาที่นานมากพอ
โดยเฉลี่ยแล้วเราจะได้ผลตอบแทนที่ดีในระดับหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับตลาด
และโอกาสที่จะขาดทุนหนักๆ จากการลงทุนจะมีน้อย
ตัวอย่างของเรื่องนี้ เช่น ดัชนี S&P 500 ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยถึงปีละ 10% ในช่วงปี 1965-2019
หมายความว่า ถ้าเราลงทุนด้วยเงิน 1 ล้านบาท ในปี 1965 ในกองทุนรวมที่กระจายการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี S&P 500 ผ่านไป 54 ปี เงินลงทุนของเราจะเติบโตเป็น 172 ล้านบาท
ซึ่งสำหรับหลายคน ผลตอบแทนในระดับนี้ ก็คงจะเป็นที่น่าพอใจมากแล้ว..
แต่ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีมากขึ้นไปอีก
ก็มีอีกทางเลือกที่น่าสนใจ นั่นก็คือ “การลงทุนแบบโฟกัส (Focus Investment)”
ถ้าพูดถึงเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น
การลงทุนแบบโฟกัส จะเป็นการเน้นการลงทุนไปในหุ้นไม่กี่ตัว
และมูลค่าที่ลงทุนไปในบริษัทเพียงไม่กี่บริษัทเหล่านั้น จะมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนทั้งหมด
การลงทุนแบบนี้ จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าแบบกระจายความเสี่ยง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน
การลงทุนแบบโฟกัสที่ว่า จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนเป็นอย่างดี และหนึ่งในนั้นคือนักลงทุนระดับโลกอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟตต์”
ถ้าเราลองมาดูพอร์ตการลงทุนของบริษัท Berkshire Hathaway บริษัทดำเนินธุรกิจโดยการเข้าไปลงทุนด้วยการถือหุ้นในบริษัทอื่น ที่มี CEO คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์
ปัจจุบัน สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ของ Berkshire Hathaway ใน 5 อันดับแรกคือ
1. Apple บริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 44%
2. Bank of America 1 ใน 4 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 11%
3. Coca-Cola ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำอัดลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 9%
4. American Express ผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ของโลก สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 7%
5. Kraft Heinz ผู้ผลิตอาหารแบรนด์ดัง และซอสมะเขือเทศแบรนด์ Heinz สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 5%
จะเห็นว่า มูลค่าเงินลงทุนของ Berkshire Hathaway กว่า 76% ที่มีมูลค่ากว่า 6.3 ล้านล้านบาท ถูกโฟกัสไปที่บริษัทเพียงแค่ 5 บริษัท เท่านั้น
และที่น่าสนใจก็คือ การลงทุนในหุ้นเพียงไม่กี่ตัวแบบนี้ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นสิ่งที่เขาทำมาแล้วอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยที่ตัวเขายังไม่มีชื่อเสียงด้วยซ้ำ
รู้ไหมว่า นับตั้งแต่ปี 1965-2019 หุ้น Berkshire Hathaway ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากถึงปีละประมาณ 20.3% ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีในช่วงเดียวกันของดัชนี S&P 500 ถึงเท่าตัว
ถึงตรงนี้ ถ้าถามว่า การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง กับ แบบโฟกัส แบบไหนดีกว่ากัน และเราควรเลือกลงทุนแบบไหน?
ประเด็นหลักของเรื่องนี้อยู่ที่ว่า แต่ละบุคคลมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุน และความสามารถในการรับความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ถ้าเรามีความรู้และความสามารถในการลงทุนยังไม่มากนัก
การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง ก็อาจเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพื่อป้องกันไม่ให้เงินลงทุนของเราได้รับความเสียหายหนัก
แต่สำหรับนักลงทุนมืออาชีพ อย่างเช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ในด้านการลงทุน และสามารถยอมรับและจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
ก็อาจเลือกใช้การลงทุนอีกแบบ ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
นั่นก็คือ การลงทุนแบบโฟกัส นั่นเอง..
╔═══════════╗
อีกครั้งกับกรณีศึกษาธุรกิจมากมายที่จะช่วยเปิดกว้างมุมมองความรู้ของคุณ
ใน ลงทุนแมน 13.0 เล่มล่าสุด สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.berkshirehathaway.com/2019ar/2019ar.pdf
-http://www.moneychimp.com/features/market_cagr.htm
-https://warrenbuffettstockportfolio.com/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Berkshire_Hathaway
-https://www.simplysafedividends.com/intelligent-income/posts/37-top-10-pieces-of-investment-advice-from-warren-buffett
วอร์เรน บัฟเฟตต์ การลงทุน 在 ทันโลกกับ Trader KP - วอร์เรน บัฟเฟตต์ ยังย้ำที่จะถือเงินสดเรื่อยๆ ถึง ... 的推薦與評價
ทำให้มีนักลงทุนหลายรายเริ่มเทขายหุ้นบริษัท Berkshire Hathaway และนำเงินไปลงทุนในหุ้นอื่นๆที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมานั้น ... <看更多>