"6 ประเด็นที่ควรรู้ "ตายายเก็บเห็ด" ติดคุก
ที่มา : คำพิพากษา 2 พ.ค. 2560, คำชี้แจงโฆษกศาลยุติธรรม ส่วนข้อความในวงเล็บ คือ ความเห็นส่วนตัวของผม
วาทกรรม "ตายายเก็บเห็ดแล้วติดคุก" ถูกนำมาขยายผลหลังจาก นางอุดม และ นางแดง ศิริสอน สองสามีภรรยา บ้านโนนสะอาด อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุมในข้อหาร่วมกันบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าดงระแนง โดยอ้างว่า สองตายายแค่มาเก็บเห็ด แต่ถูกจับกุมข้อหาบุกรุกป่า เพื่อกระทบกระเทียบกับกระบวนการยุติธรรมไทย ความจริงอีกด้านของเรื่องนี้ คือ
1. สองสามีภรรยาคู่นี้ ไม่ใช่ตากับยาย การใช้คำว่า "ตา-ยาย" ของชาวเน็ต สื่อให้เห็นถึงความเป็นผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่แท้ที่จริง คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2553 หรือเมื่อ 7 ปีก่อน เพราะฉะนั้น นายอุดม สามีอายุ 47 ปี ส่วนนางแดง ภรรยา อายุเพียง 44 ปี เพราะฉะนั้นคงเป็นไปได้ยากที่จะเรียกว่า "ตา" กับ "ยาย" (เรียกได้ครับถ้าเขามีลูกหลาน)
2. สองสามีภรรยาคู่นี้ ไม่ได้ถูกจับเพราะเก็บเห็ดแต่ถูกจับเพราะไปตัดไม้ในป่าสงวนแห่งชาติป่าดงระแนง 72 ไร่ พร้อมกับพวก 3-4 คน โดยมีหลักฐานตัดไม้สักและกระยาเลยกว่า 1,000 ต้น มีพยานเห็นสองสามีภรรยาวิ่งหนีออกจากที่เกิดเหตุ ระหว่างเห็นเจ้าหน้าที่จับกุม
(ทั้ง 2 คนตัดไม้ 1,000 เลยหรือ และบอกกับ 3-4 คน ผมว่าเป็นไปไม่ได้ 5-6 คนรวมกันตัดไม้ได้ 1,000 ต้น ผมว่าต้องมีกระบวนการ พวกนายทุน ทำไมตำรวจ ป่าไม้ไม่สาวให้ถึง และ 2 คนที่ถูกจับได้สิทธิหรือเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่สมบูรณ์หรือไม่ มีทนายให้เขาหรือไม่ในเบื้องต้น ในเรื่องนี้ข้อเท็จจริง พยานหลักฐานไปถึงศาล ตรงนี้แหละผมว่ากระบวนการยุติธรรม มีปัญหา คนจะติดคุกหรือไม่ติดคุกอยู่ตรงนี้ )
3. สองสามีภรรยาคู่นี้ อ้างกับศาลคนละเรื่อง ในชั้นอุทธรณ์ สองสามีภรรยาอ้างว่า มีคนบอกให้รับสารภาพเสียค่าปรับแล้วกลับบ้านได้ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงให้การรับสารภาพ.
แต่ในชั้นฎีกา ฝ่ายสามีอ้างว่าเคยถูกรถชนสลบไป 2-3 วัน ก่อนจะถูกดำเนินคดี แล้วลมออกหู ประสาทไม่ดี พูดจาไม่รู้เรื่อง ศาลชั้นต้นถามหลายครั้งก็ก้มหัวเท่านั้น
ขัดแย้งกับใบรับรองแพทย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และ คลีนิคนายแพทย์เปตรง ไม่ปรากฎว่าอุบัติเหตุก่อนจะถูกดำเนินคดีนี้ในปี 2553 แต่เคยถูกรถชนจนสลบไป 2-3 วัน เมื่อปี 2554
ส่อแสดงว่า พยายามปรุงแต่งข้ออ้างของสามีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เรื่องที่อ้างขัดแย้งกันเองทั้งสิ้น
(เพราะปัญหาเหล่านี้ การอ้างของสามี ภรรยาเขาไม่มีความรู้ ในกระบวนการยุติธรรม ที่พยามปรุงแต่งหลักฐานข้อเท็จจริง ได้ดี ดังเช่นมือ อาชีพ ข้อนี้น่าจะเป็นข้องสังเกต ความผิดปกติในกระบวนการยุติธรรมต้นน้ำ ครับ)
4. การตัดไม้ในป่าสงวนทำเป็นขบวนการ มีกลุ่มบุคคลหลายฝ่ายร่วมกันลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อให้กลายเป็นป่าไม้ไม่สมบูรณ์และหวังผลให้ทางราชการนำพื้นที่จัดสรรแบ่งปันให้แก่ชาวบ้าน
(การกระทำกลายฝ่ายร่วมกัน แล้วไม่สืบสาวให้เสร็จสิ้นกระบวนความ มีหลักฐาน เครื่องไม้เครื่องมือ ในการขนถ่ายไม้ ไหม กลับพบโซ่ยนต์ ใช่คือ เครื่องมือ ตัดโค่นไม้ แต่ การชักลากไม้ใหญ่ๆ มันทำได้อย่างไร 2 สามีทำได้หรือ สรุปพิสูจน์ เขากระทำความผิดจริง เสร็จถ้วนแล้ว ด้วยหลักฐาน ตามกระบวนยุติธรรมระบบกล่าวหาในศาล ซึ่ง ผมว่าศาลพิจารณานอกศาลแสวงหาพยานหลักฐานบ้างก็จะได้ ความยุติธรรมกระจ่างชัดตอบสังคมได้ดีกว่านี้นะครับ ด้วยความเคารพ)
5. สองสามีภรรยา ได้รับการลดโทษในชั้นต้น และชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้น ตัดสินจำคุก 11 ปี ฐานบุกรุกป่าสงวน และ 19 ปี ฐานครอบรองไม้หวงห้าม แต่ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 15 ปี
ศาลอุทธรณ์ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง รวมจำคุกคนละ 14 ปี 12 เดือน มาถึงชั้นฎีกา ลดโทษเหลือคนละ 5 ปี แต่ถึงกระนั้นเมื่อยังไม่ถึงอายุ 70 ปี ไม่สามารถพักโทษได้
(ทางออก ของ 2 สามีภรรยานี้ ใช้ ป.วิอญา 259 ได้ ก่อนที่ถูกจำคุกขอพระราชทานอภัยโทษ หรือ ใช้ 260-261 เมื่อถูกจำคุก ให้ราชทัณธ์ทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ)
6. สองสามีภรรยา มีสิทธิ์จะรื้อฟื้นคดี หากมีพยานหลักฐานชิ้นใหม่
(ข้อนี้ยากกว่างงมเข็มในมหาสมุทร ใครจะยอมรับความผิดพลาดของตนเองในกระบวนการยุติธรรมที่ตนเองได้ก่อ ถ้าเกิดขึ้นจริง)
「วาทกรรม คือ」的推薦目錄:
- 關於วาทกรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於วาทกรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於วาทกรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於วาทกรรม คือ 在 สังคมศาสตร์ 4.1 - วาทกรรม (discourse) . คำว่า 'วาทกรรม' เป็นคำที่มี ... 的評價
- 關於วาทกรรม คือ 在 "วาทกรรมทางการเมือง" กับดักความขัดแย้งรอบใหม่ - YouTube 的評價
- 關於วาทกรรม คือ 在 "พิธา" โอนหุ้นแล้ว ปั้นวาทกรรม ฟื้นคืนชีพ ITV สกัด "ก้าวไกล" | TOP ... 的評價
วาทกรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“ตรรกะวิบัติของประชาธิปไตยแบบไทย”
ผมได้อ่านข่าวมติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 พบบทความ เรื่อง “ตรรกะวิบัติของประชาธิปไตยแบบไทย” โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร ซึ่งเป็นบทความที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก และผมได้ลงไปครั้งหนึ่งแล้วขอลงให้อ่านทบทวนอีกครั้ง โดยผมจะมีข้อความขัดหรือหรือไม่เห็นด้วยในบทความนี้จะเขียนข้อความในวงเล็บ () ที่วิพากษ์เห็นแย้งหรือสนับสนุน
คุณยุกติ มุดาวิจิตร เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึง วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ว่าถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล วาทกรรมนี้มักมีข้อสรุปร่วมกันว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง มีระบบคุณค่าพิเศษของตนเอง จึงไม่สามารถนำเอาแนวความคิดประชาธิปไตยซึ่งเป็นแนวคิดแบบตะวันตกเข้ามาใช้ได้ การสร้างคำอธิบายสนับสนุนวาทกรรมนี้มีตั้งแต่การกล่าวว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสงบสุขร่มเย็นอยู่แล้ว มีสถาบันทางการเมืองที่ดีงามอยู่แล้ว ไปจนกระทั่ง สังคมไทยก็เป็นประชาธิปไตยในแบบของตนเองมานานแล้วด้วยการสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อผู้ปกครอง
หากแต่เมื่อพิจารณาให้ชัดเจนขึ้นก็จะพบว่าใครก็ตามที่อ้างแนวคิดประชาธิปไตยแบบไทยก็มักจะเป็นผู้ที่เสวยสุขอยู่ในโครงสร้างอำนาจที่ค้ำจุนความเหลื่อมล้ำเอาไว้ (ในประเด็นนี้ผมเห็นว่าไม่น่าจะถูกต้องมากนักเพราะมีคนอ้างวาทะกรรมนี้ที่ไม่ได้เห็นผลประโยชน์อำนาจ บารมีของตนเองก็มี) และเมื่อใดก็ตามที่มีการรัฐประหารในประเทศไทย วาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทยก็จะเริ่มทำงานทันที ดังที่เราจะเห็นคนที่สนับสนุนการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 จำนวนมากลุกขึ้นมาสาธยายความพิเศษไม่เหมือนใครของสังคมไทย แล้วจึงสรุปว่า ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่สามารถใช้แนวคิดประชาธิปไตยสากลได้
วาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทยฟังดูเหมือนมีเหตุผลน่าเชื่อถือ แต่อันที่จริงแล้ววาทกรรมนี้วางอยู่บนหลักคิดหรือตรรกะที่ผิดพลาดทั้งนี้ก็เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงของสังคมไทยเองและบิดเบือนพัฒนาการทางสังคมในโลก วาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทยวางอยู่บนตรรกะวิบัติสำคัญสองประการคือ "ตรรกะคู่ตรงข้าม"และ "ตรรกะสัมพัทธ์นิยมสามานย์" ดังนี้
ตรรกะคู่ตรงข้าม
"ตรรกะคู่ตรงข้าม" คือการสร้างข้อเสนอจากการสร้างคู่ขัดแย้งตรงข้ามกันขึ้นมา เพื่อทำให้ข้อเสนอตนเองเด่นชัด พร้อมๆ กับเพื่อหักล้างข้อเสนอตรงข้ามลงไป ในการสร้างวาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทย มีการสร้างกรอบความคิดขึ้นมาว่าไทยตรงข้ามกับฝรั่ง ไทยเป็นสังคม "ตะวันออก" และจึงตรงข้ามกับ "ตะวันตก" คู่ตรงข้ามนี้ยังเสนออีกด้วยว่า ประชาธิปไตย = ตะวันตก ซึ่งตรงข้ามกับ ไทย = ไม่ใช่ประชาธิปไตย นอกจากนั้นยังมีนัยแฝงเชิงคุณค่าว่า "ไทย" ดีกว่า เหมาะกว่า "ตะวันตก" และประชาธิปไตยจึงไม่ดี ไม่เหมาะกับไทย แต่ต้องดัดแปลงให้เป็นประชาธิปไตยแบบไทย จึงจะเหมาะกับสังคมไทย ตรรกะคู่ตรงข้ามแบบนี้มีปัญหาอย่างน้อยสามประการคือ
ประการที่ 1. ตรรกะนี้ไม่ได้อธิบายสังคมไทยจากลักษณะภายในเอง แต่อธิบายจากการเปรียบเทียบ
ความเป็นไทยจึงไม่ได้มีเนื้อในที่ได้รับการพิจารณาอย่างเฉพาะเจาะจงจริงๆ แต่เป็นความเป็นไทยที่ถูกเลือกหยิบมาเฉพาะส่วนที่เข้ากับคำอธิบายแบบนี้ หรือแม้แต่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพียงเพื่อให้แตกต่างจากความเป็นตะวันตกในจินตนาการ เช่น การอ้างว่าสังคมไทยเน้นความสามัคคีความเป็นระเบียบ ส่วนสิทธิเสรีภาพเป็นแนวคิดตะวันตกจึงไม่เข้ากับสังคมไทย
(ในประเด็นนี้เราต้องมองถึงบริบทคุณค่าทางวัฒนธรรมของสังคมไทยกับสังคมตะวันตกนั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่ วิถีชีวิตการได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพ ผมคิดว่ามีระดับที่แตกต่างกัน ความรู้ความเข้าใจการต่อสิทธิเสรีภาพที่แตกต่างกัน)
ประการที่2.เหมาว่าตะวันตกเหมือนกันหมด
พร้อมกับเหมาว่าตะวันออกเหมือนกันหมด เช่นคิดว่าสังคมตะวันตกให้สิทธิเลือกตั้งเท่าเทียมกันหมด ทั้งที่จริงๆ แล้วในยุโรปบางประเทศเพิ่งให้สิทธิผู้หญิงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเมื่อ 40 ปีมานี้เองและที่จริงแล้ววิธีเลือกตั้งของประเทศประชาธิปไตยต่างๆ ก็แตกต่างกันออกไป พร้อมกันนั้น ด้วยตรรกะคู่ตรงข้ามจึงเหมาว่าตะวันออกเหมือนกันหมด และเลยเหมาว่าไทยเหมือนกันหมด เช่น เชื่อว่าสังคมไทยเน้นคุณค่าของคนดีที่เหมารวมว่าเหมือนกันหมด การเลือกตั้งด้วยหลักหนึ่งคนหนึ่งเสียงจึงไม่เหมาะสม เพราะขัดกับหลักการคัดสรรคนดีมากเป็นผู้ปกครอง ซึ่งมีเฉพาะคนดีด้วยกันเท่านั้นจึงจะรู้ว่าใครสมควรเป็นผู้ปกครอง ไม่ใช่ทุกคนจะเลือกได้ ตรรกะแบบนี้ละเลยความเป็นตะวันตกในตะวันออกและละเลยความเป็นตะวันออกในตะวันตก หรือพูดง่ายๆ คือ ละเลยรายละเอียดหลากหลายของสังคม (ในประเด็นเราไม่ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบในบริบทของแต่ละสังคมที่แท้จริง อาจเป็นการที่ใช้อำนาจครอบงำหรือการบังคับให้ใช้กฎเกณฑ์ของตะวันตกด้วยการล่าอาณานิคมของตะวันที่กดให้อยู่ใต้อาณัติของตะวันตก จึงเกิด 2 มุมมองที่ไม่ได้การศึกษาอย่างแท้จริง คือ มุมมองที่ 1 ตะวันออกโดนกดจากตะวันตกจึงรีบนำหลักกฎเกณฑ์ของตะวันตกมาใช้ด้วยจำใจ จึงใช้แล้วเกิดปัญหา มุมมองที่ 2 ใช้หลักตะวันตกโดยไม่สนใจหลักกฎเกณฑ์ตะวันออก)
ประการที่3.ตรรกะแบบนี้นำไปสู่การหลงใหลในพวกเดียวกันเอง
การหลงใหลในระบบคุณค่าที่เชื่อว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของตนเอง และพาลเห็นว่าระบบคุณค่าของคนอื่น ของสังคมอื่น เลวร้ายไปด้วยกันไม่ได้กับของเรา ดังเช่นการไม่ยอมรับระบบคุณค่าแบบประชาธิปไตยเพียงเพราะเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นของตะวันตก ไม่เข้ากับระบบคุณค่าของเรา ไม่ยอมรับว่าสิทธิมนุษยชน เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญเหนือความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ เพราะเหมาเอาว่าความเป็นไทยเน้นสถาบันหลักเหนือประชาชน เหมาเอาว่าเสรีภาพประชาชนเป็นวิธีคิดตะวันตกที่เลวร้ายไม่เข้ากับสังคมไทย
คุณยุกติ มุกดาวิจิตร ได้กล่าวสรุปว่า วิธีคิดแบบแบบตรรกะคู่ตรงกันข้ามไม่ได้ต่างอะไรกับที่ชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่งใช้มองเชิงเหยียดชาวตะวันออกเพียงแต่เป็นการกลับตาลปัตรความคิดเท่านั้นเอง การยกย่องตนเองด้วยตรรกะคู่ตรงข้ามแบบนี้ก็เป็นการตกกับดักวิธีคิดที่ตนเองพยายามปฏิเสธนั่นเอง พูดอีกอย่างคือ ยังพายเรือวนเวียนอยู่ในอ่างความคิดแบ่งเขาแบ่งเรา เกลียดเขาบูชาเราอย่างไม่ลืมหูลืมตาอยู่นั่นเอง วิธีคิดนี้นำมาซึ่งปัญหามากมายเนื่องจากไม่ยุติธรรมกับข้อเท็จจริงรายละเอียดและยังวางกรอบความคิดไว้แต่ต้นจนกระทั่งกำหนดกรอบการกระทำที่ตามมา ผลก็คือเราจะติดกับดักความคิดนี้อยู่อย่างนั้น ถอดไม่ออก ไม่สามารถก้าวข้ามกับดักความคิดว่า "ไทยตรงข้ามกับตะวันตก ประชาธิปไตยเป็นของตะวันตก และดังนั้นประชาธิปไตยไม่เข้ากับสังคมไทย" ได้
(ประเด็นนี้ผมเห็นด้วยกับคุณยุกติ มุกดาวิจิตร เป็นอย่างมาก ซึ่งหลักการประชาธิปไตยของตะวันตกผมว่า คือ สิ่งดีมากเพียงแต่ประชาธิปไตยของตะวันตกที่ใช้นั้นคนไทยยังใช้แบบที่ไม่เข้าใจและไม่ถูกหลักการเสียมากกว่า)
ตรรกะสัมพัทธ์นิยมสามานย์
"ตรรกะสัมพัทธ์นิยมสามานย์" โดยทั่วๆ ไปแล้ว สัมพัทธ์นิยมเป็นแนวคิดที่ว่า อะไรก็ตามไม่ได้มีค่าความสมบูรณ์ในตัวเอง หากแต่มีค่าโดยเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นๆ เสมอ คนสูง จึงไม่ได้หมายความว่าสูงที่สุด แต่สูงโดยเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ เท่าที่จะเห็นได้เท่านั้น คนดี ก็ไม่ได้ดีกว่าใครอื่นทั้งหมด แต่ดูดีกว่าคนที่เอามาเทียบกันเท่านั้น ความคิดลักษณะนี้ถูกนำมาใช้กับการวัดทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย เช่น สังคมที่ดูซับซ้อนกว่า ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นสังคมที่มีพัฒนาการที่สูงกว่าสังคมอื่น แต่ที่ดูซับซ้อนกว่าก็เพราะมีปัจจัยจำเป็นภายในสังคมนั้นเองที่ต้องการความซับซ้อนบางด้าน ส่วนสังคมที่ดูเหมือนเรียบง่าย ก็ไม่ใช่ว่าด้อยพัฒนา แต่เพราะมีความต้องการพัฒนาการของสังคมในลักษณะนั้น และอันที่จริง สังคมที่ดูเหมือนเรียบง่ายก็มีความซับซ้อนในระบบสังคมและวัฒนธรรมเองอยู่เหมือนกัน
แต่เมื่อนำมาใช้อธิบายสังคมไทยตามวาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทยตรรกะนี้ถูกนำมาบิดเบือนด้วยการสร้างวาทกรรมว่า สังคมไทยมีลักษณะเฉพาะของตนเอง มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของตนเอง แตกต่างจากสังคมตะวันตกที่ปัจจุบันพัฒนาไปเป็นสังคมประชาธิปไตย การที่สังคมไทยไม่เป็นประชาธิปไตยจึงไม่ได้เสียหายอะไร และไม่ได้ด้อยพัฒนากว่าสังคมประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่จำเป็นและไม่ควรต้องทำให้สังคมไทยพัฒนาไปเหมือนสังคมตะวันตก ประชาธิปไตยจึงไม่จำเป็นกับสังคมไทย และการที่สังคมไทยไม่เป็นประชาธิปไตยก็ไม่ได้ทำให้สังคมไทยล้าหลังสังคมตะวันตก
การใช้วาทกรรมเช่นนี้เป็นการนำหลักการสัมพัทธ์นิยมมาใช้อย่างบิดเบือนหลักการสำคัญของแนวคิดสัมพัทธ์นิยมในการอธิบายสังคม-วัฒนธรรมต่างๆ นั้น อยู่ที่การยอมรับความเสมอภาคกันของสังคมที่แตกต่างกัน หลักนี้ไม่ยกย่องสังคม-วัฒนธรรมใด เหนือสังคม-วัฒนธรรมอื่น และถ้ายอมรับหลักการความเท่าเทียมกัน ก็จะต้องยอมรับไม่ใช่แต่เพียงว่าวัฒนธรรมไทยเท่าเทียมกับวัฒนธรรมตะวันตกแต่จะต้องยอมรับด้วยเช่นกันว่า ค่านิยม วัฒนธรรม และระบบคุณค่าของคนบ้านนอก คนต่างจังหวัด มีค่าเท่าเทียมกันกับของคนกรุงเทพฯ ดังนั้น หลักสัมพัทธ์นิยมจึงไปด้วยกันได้กับหลักคิดแบบประชาธิปไตย ที่โดยหลักการแล้วให้อำนาจประชาชนอย่างเท่าเทียมกันและดังนั้นจึงต้องยอมรับการตัดสินใจทางการเมือง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนต่างจังหวัด กล่าวอีกอย่างคือ หากเห็นว่าสังคมไทยเท่าเทียมกับสังคมตะวันตก ก็จะต้องยอมรับด้วยว่า สังคมกรุงเทพฯ เท่าเทียมกับสังคมต่างจังหวัด คนกรุงเทพฯเท่าเทียมกับคนต่างจังหวัด "คนเท่ากัน" ไม่ว่าจะมีการศึกษามากน้อย หรือมีฐานะแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม
การอ้างว่าสังคมไทยมีลักษณะเฉพาะและจึงต้องมีประชาธิปไตยแบบเฉพาะหรือไม่มีเลยก็ได้เพราะสังคมไทยไม่เคยมีประชาธิปไตยนั้นเป็นวาทกรรมที่สร้างขึ้นจากตรรกะวิบัติดังกล่าว วาทกรรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อค้ำจุนความเหลื่อมล้ำต่ำสูง เพื่อคงความได้เปรียบของคนกลุ่มหนึ่งไว้ มากกว่าที่จะถูกนำมาเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้สังคม วาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทยจึงไม่เคยถูกเอ่ยจากปากผู้คนเบื้องล่างของสังคม วาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทยจึงเป็นความเฉพาะเจาะจงของความเป็นไทย ที่อำพรางความ อยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ และการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนเอาไว้
วาทกรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
"ประชาธิปไตยไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่"
โดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17-23 กรกฎาคม 2558
เคยนิยามความหมายของคำ "ประชาธิปไตย" ไว้ว่า "ประชาธิปไตย คืออำนาจอันชอบธรรมของประชาชนในการบริหารและจัดการเรื่องที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นหลักและเป็นใหญ่"
หากจะแปลตามศัพท์ก็คือ "อำนาจของประชาเป็นใหญ่" จากศัพท์ ประชา คือ ประชาชน หรือคนทั่วไป อธิปไตย คืออำนาจอันเป็นใหญ่ ก็คือ "อำนาจของประชาเป็นใหญ่" นี่แหละคือคำแปลตรงตามตัวของคำว่า "ประชาธิปไตย"
ความหมายทางธรรมยังเน้นถึงการ "ถือเอา" ดังที่เรียกว่า "ปรารภ" เป็นหลักด้วย ในที่นี้จึงหมายถึงการ "ถือเอา" ประชาชนเป็นหลัก
เพราะฉะนั้น จะแปลให้ครบความ ก็ต้องว่า"อำนาจอันเป็นใหญ่ของประชาชนเป็นหลัก"โดยเน้นหรือปรารภเอาประชาชนเป็นหลักว่าเป็นผู้มีอำนาจเป็นใหญ่ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่
"ทางธรรม" ไม่มีคำประชาธิปไตย หากมีจำเพาะเพียงสามคำ คือ อัตตาธิปไตย หมายถึง ปรารภตนเป็นหลัก โลกาธิปไตย หมายถึง ปรารภโลกเป็นหลัก กับ ธัมมาธิปไตย หมายถึง ปรารภธรรมเป็นหลัก คืออำนาจอันเป็นใหญ่ของตน (อัตตาธิปไตย) ของโลก (โลกาธิปไตย) ของธรรม (ธัมมาธิปไตย) นั่นเอง
ศัพท์ "ประชาธิปไตย" เป็นคำนิยามใหม่ โดยถือเอาหรือปรารภเอา "ประชาชน" เป็นหลัก ซึ่งที่จริง ความหมายของคำประชาชนนั้นก็คือ คนทั่วไป เพราะฉะนั้น ประชาชนคนทั่วไปจึงกินความกว้าง ซึ่งหมายถึง อัตตาเฉพาะตนก็ได้ โลกาคือคนทั้งโลกก็ได้ และธัมมาคือคนดีก็ได้ นี่ว่าโดยกินความไปที่ "คน" เป็นหลัก
นี่กระมังคือประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่กำลังพัฒนากันอยู่ในบ้านเราเวลานี้ คือ อำนาจที่ถือของตนและพวกของตนเป็นหลักและเป็นใหญ่ ซึ่งก็คือ "อัตตาธิปไตย"
อำนาจที่ถือเอาตามความเห็นดีเห็นงามอย่างโลกย์ๆ เช่นทุนสามานย์เป็นหลัก ซึ่งก็คือ "โลกาธิปไตย"
สุดท้ายที่ควรเป็นคือ การถือเอาความถูกต้อง เป็นธรรม เป็นหลัก ซึ่งก็คือ "ธัมมาธิปไตย"ประชาธิปไตยไทยๆ แบบบ้านเราวันนี้ดูจะยังวนเวียนต้วมเตี้ยมอยู่แค่หนึ่งกับสอง คือ อัตตาธิปไตยกับโลกาธิปไตย สองขั้วสองค่ายนี่แหละเป็นสำคัญ คือมีลักษณะทั้ง "พวกมากลากไป" กับยอมเป็นเหยื่อ "ทุนต่างชาติ" ซึ่งมักเป็นทุนสามานย์อยู่ร่ำไป ไม่ว่าจะในรูปของการลงทุนหรือแม้ในรูปการช่วยเหลือที่จะเป็น "ธัมมาธิปไตย" แท้จริงนั้นน้อยนัก ถึงแม้หากจะมีก็ที่มักมาในรูป "วาทกรรม" โรจน์รุ่งสูงส่ง
ชนิดพูดอีกก็ถูกอีกก็มันจะผิดไปได้อย่างไรในเมื่อพูดแต่สิ่งที่ถูกอยู่นี่ จะอย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยต้องถือเอาธัมมาธิปไตยเป็นหลัก นั่นคือ ถือเอาความถูกต้องชอบธรรมเป็นหลัก
นิยามความหมายข้างต้น จึงกล่าวเป็นเบื้องต้นว่า"...คืออำนาจอันชอบธรรมของประชาชน..." อํานาจอันชอบธรรมของประชาชนนี้ ประธานาธิบดีลินคอร์น แห่งสหรัฐอเมริกา เคยกล่าววาทะอมตะว่า ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนนี้คืออำนาจอันชอบธรรมว่า ต้องเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน นั่นคือ อำนาจนี้เป็น "ของ" ประชาชนมาแต่เดิม การจะให้ได้มาซึ่งอำนาจต้องเป็นไป "โดย" ประชาชนเป็นผู้มอบให้เท่านั้น และการใช้อำนาจก็ต้องเป็นไป "เพื่อ" ประชาชนเท่านั้น
นี่เป็นความ "ชอบธรรม" โดยหลักการอย่างกว้างสุดท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ได้ขยายความ "ชอบธรรม" ลงไปที่เนื้อหาอีกขั้นหนึ่งโดยมุ่งไปที่ "ประโยชน์ของประชาเป็นใหญ่"
อำนาจโดยชอบธรรมต้องถือเอา "ประโยชน์ของประชาเป็นใหญ่" ไม่ว่าจะ ของประชา โดยประชา เพื่อประชา นี่แหละ จะต้อง "ปรารภ" หรือ "ถือเอา" "ประโยชน์ของประชาเป็นใหญ่" คือ เป็นสำคัญ โดยแท้ อำนาจที่ผิดไปจากนี้ ไม่ถือเป็นอำนาจอันชอบธรรม
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะ "ของ" จะ "โดย" จะ "เพื่อ" ถ้าไม่ถือเอา "ประโยชน์ของประชาเป็นใหญ่" หรือเป็นสำคัญแล้ว ชื่อว่าเป็นอำนาจไม่ชอบธรรมในความหมายของ "ประชาธิปไตย" เชิง "ธัมมาธิปไตย" ทั้งสิ้น
บทนิยามความประชาธิปไตยข้างต้น จึงรวมความหมายของประชาธิปไตยเชิงธัมมาธิปไตย ที่ตัดเอาสองเชิง คือ อัตตาธิปไตย กับ โลกาธิปไตย ออก มุ่งเน้นให้เป็นธัมมาธิปไตย เป็นสำคัญโดยส่วนเดียว อำนาจอันชอบธรรมของประชาชน คือเน้นความเป็น "เจ้าของ" เป็นสำคัญ และเน้นไปที่การได้มาซึ่งอำนาจนี้ในการใช้ว่าต้องเป็นไป "โดย" ชอบธรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมอบให้ด้วยการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งก็ตาม
ความขยายต่อไปคือ การใช้อำนาจนั่นเอง ว่า "...ในการบริหารจัดการเรื่องที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นหลัก..." นี่คือการกำหนดความชอบธรรมของการใช้อำนาจนั้น อำนาจนั้นมีสองขั้นตอน คือ การได้มา กับ การใช้ ลงท้ายต่อจาก "เป็นหลัก" ก็คือ "เป็นใหญ่" ในที่นี้ขยายความถึง อำนาจข้างต้น คือ "อำนาจอันเป็นใหญ่" โดยปรารภ "ประชาชนเป็นหลัก"
ทั้งหมดนี้มี "ประโยชน์ของประชา" เป็นสำคัญนั่นเอง
โปรดฟังอีกครั้ง"ประชาธิปไตย คืออำนาจอันชอบธรรมของประชาชนในการบริหารจัดการเรื่องที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก และเป็นใหญ่" ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่โดยแท้
วาทกรรม คือ 在 "วาทกรรมทางการเมือง" กับดักความขัดแย้งรอบใหม่ - YouTube 的推薦與評價
ถ้าเราจะก้าวข้ามความขัดแย้งทางการเมือง เราจำเป็นต้องมาทบทวนกันใหม่ในเรื่องของ วาทกรรม ในสังคมไทยทุกวันนี้ ที่มีหลายคำ หลายประโยค ... ... <看更多>
วาทกรรม คือ 在 "พิธา" โอนหุ้นแล้ว ปั้นวาทกรรม ฟื้นคืนชีพ ITV สกัด "ก้าวไกล" | TOP ... 的推薦與評價
"พิธา" โอนหุ้นแล้ว ปั้น วาทกรรม ฟื้นคืนชีพ ITV สกัด "ก้าวไกล" | TOP HIGHLIGHT. TOP NEWS LIVE. TOP NEWS LIVE. 767K subscribers. Subscribe. ... <看更多>
วาทกรรม คือ 在 สังคมศาสตร์ 4.1 - วาทกรรม (discourse) . คำว่า 'วาทกรรม' เป็นคำที่มี ... 的推薦與評價
คำว่า 'วาทกรรม' เป็นคำที่มีความหมายแตกต่างหลากหลายในการใช้ การศึกษาวิธีวิทยาที่เรียกว่าการวิเคราะห์วาทกรรม ให้ความหมายของวาทกรรมว่าเป็นการศึกษาการใช้ภาษาและการ ... ... <看更多>