เครื่องมือทางการคลัง ในเรื่องรายจ่ายสาธารณะ
การคลังภาครัฐ นั้น รายจ่ายสาธารณะ จะเป็นตัวกำหนด รายได้สาธารณะ ดังนั้นจึงเริ่มศึกษา ที่รายจ่ายสาธารณะ ก่อน
นิยาม ( Definition = Def-n ) รายจ่าย เมื่อพูดถึง รายจ่ายของบุคคลทั่วไป ก็จะต้องยอมรับว่า ทุกคนมีสิ่งที่จะต้องใช้จ่ายเป็นรายจ่ายของบุคคลทั่วไป ดังนั้น เมื่อพูดถึง รายจ่ายสาธารณะ ในอดีต รายจ่ายจึงหมายถึง รายจ่ายขององค์การสาธารณะเท่านั้น (ปัจจุบัน แนวคิดนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว จะได้ศึกษากันต่อไป )
องค์การสาธารณะ ( Public Organization ) หมายถึง อะไร
องค์การ คือ หน่วยงานที่ถูกกำหนดอำนาจหน้าที่ อาจก่อตั้งขึ้นด้วย กม.คนละประเภทกัน เช่น องค์การเอกชนทั่วไป จะเกิดขึ้นโดย ปพพ. แต่ องค์การสาธารณะ จะถูกจัดตั้งตามกระบวนการของ กม.มหาชน เช่น พรบ.จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม องค์การเหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดย ปพพ. และถือเป็นองค์การสาธารณะ
สำนัก Classic กล่าวว่า รายจ่ายสาธารณะ คือ รายจ่ายที่เกิดจากองค์การสาธารณะ ที่เป็นนิติบุคคล ที่ก่อตั้งตาม กม.เป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเป็น รายจ่ายของ นิติบุคคลที่เป็นองค์การสาธารณะ ก็จะถือว่าเป็น รายจ่ายสาธารณะ ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้จ่ายโดยเอกชน ไม่ว่าจะเพื่อการใดแล้วก็จะไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายสาธารณะ
สำนัก ปัจจุบัน รายจ่ายสาธารณะ จะมองแตกต่างจาก สำนัก Classic ในปัจจุบัน จะพิจารณาว่า เป็นรายจ่ายขององค์การสาธารณะ รวมถึง รายจ่ายของเอกชน ที่ใช้อำนาจของรัฐในการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับรัฐด้วย( ทั้งนี้เพราะ แนวคิดที่ว่า การคลังภาครัฐและเอกชน ต่างเป็นส่วนประกอบของกันและกัน ) สมัยปัจจุบัน จึงไม่ได้มอง รายจ่ายสาธารณะ ตามนัยยะ ของ กม.อย่าง สำนัก Classic แต่อาศัยหลักทางสังคม เศรษฐกิจ เข้ามาพิจารณาด้วย
การคลังในปัจจุบัน คือ เมื่อมีการใช้จ่ายแล้ว จะเกิดผลกระทบ( Impact) ต่อ Social อย่างไร มากน้อยเพียงใด เก็บภาษีเท่าใด เกิดผลกระทบ( Impact) อย่างไร เป็นปัจจัย( Factor) สำคัญในเชิงสังคมวิทยา
เชิงสังคมวิทยา จะแบ่งบุคคลในรัฐ เป็น 2 ฝ่าย
1.ฝ่ายปกครอง จะมีอำนาจพิเศษ ตาม กม. คือ “อำนาจบงการ”
2.ฝ่ายที่ถูกปกครอง จะต้องปฏิบัติตาม อำนาจบงการ ตามข้อ 1
ฝ่ายปกครอง จะใช้อำนาจบงการ ได้แก่การกำหนด ให้เอกชนจ่ายภาษี( Pay tax )โดยออกเป็น กม. ภาษีอากร เช่น ประมวลรัษฎากร ของไทย เป็นต้น
ในเชิงเศรษฐศาสตร์ จะพิจารณาในแง่ที่ว่า การเก็บภาษี( Tax ) นั้น จะเกิดผลกระทบ( Impact) ต่อสังคมอย่างไร ในรูปของคุณภาพชีวิต (Quality of life) ของคนในสังคม
สรุป
1. สำนัก Classic รายจ่ายสาธารณะ คือ รายจ่ายขององค์การสาธารณะที่เป็นนิติบุคคลตาม
กม.
2. สำนักปัจจุบัน รายจ่ายสาธารณะ คือ รายจ่ายขององค์การสาธารณะ และองค์การ
เอกชน ที่มีอำนาจเรียกว่า “อำนาจบงการ” และ มีผลกระทบ( Impact ) ต่อคนในสังคมโดยส่วนรวม
เราจะเห็นได้ว่า องค์การสาธารณะในปัจจุบัน อาจไม่มีอำนาจ หรือ ไม่ได้ใช้อำนาจปกครองเลย ตัวอย่าง คือ องค์การรัฐวิสาหกิจ ( Public Enterprise ) เช่น องค์การแก้ว ของ กห. มีหน้าที่ผลิตแก้วขายอย่างเอกชนทั่วไป แต่มีเอกชนบางประเภท ที่มีอำนาจปกครอง หรืออำนาจบงการ เช่น แพทยสภา , สภาทนายความ ฯลฯ เป็นองค์การเอกชน( Private organization) ที่สามารถใช้อำนาจรัฐ ในการจำกัด และ อำนาจควบคุมการประกอบวิชาชีพของบุคคลได้ แนวคิดในปัจจุบัน จึงพิจารณาดูว่า องค์การนั้น ใช้อำนาจบงการด้วยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นองค์การสาธารณะ หรือ องค์การเอกชน เพราะเราคำนึงถึง Factor ทางเศรษฐกิจ และสังคมมาใช้ในการพิจารณาถึง สถานะของรายจ่ายสาธารณะด้วยนั่นเอง
แนวคิดทางการคลัง Classic – แบบเสรีนิยม
แนวคิดพื้นฐานของ Classic แบบเสรีนิยม
การที่ประชาชาติจะมีความอยู่ดีมีสุขได้ รัฐควรทำกิจกรรม( Activity ) ของรัฐ เฉพาะที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ และการระงับข้อพิพาทของประชาชนในรัฐเท่านั้น ฉะนั้น รัฐจึงไม่ควรแทรกแซงกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับทางเศรษฐกิจและสังคมเลย ควรปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทั้งหมด
สำนักนี้ เชื่อว่า ฝ่ายเอกชน จะมีความสามารถมากกว่าภาครัฐ ใน 2 เรื่อง คือ ประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ ( Productivity Efficiency ) และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ( Creative ) ดังนั้น รัฐจึงควรปล่อยให้เอกชนดำเนินการทั้งสิ้น เพื่อเกิดประสิทธิผล( effective ) สูงสุด เป็นประโยชน์แก่รัฐโดยรวม
แต่อย่างไรก็ตาม มีกิจการบางประเภทที่เอกชน ไม่สามารถดำเนินการเองได้ เช่น กิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ( Public interest) ในด้านการธำรงอยู่ของรัฐ เช่น การรักษามั่นคงและความสงบฯภายใน รวมถึงการระงับข้อพิพาทของเอกชนในรัฐโดยยุติธรรม ( ก็คือ งานด้าน ทหาร ตำรวจ และศาล นั่นเอง )
แนวคิด Classic รัฐจึงมีหน้าที่เพียง 3 ประการ ข้างต้นที่กล่าวเท่านั้น และถือว่าเป็นรายจ่ายสาธารณะที่จำเป็นของรัฐ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ รัฐจึงจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณไว้ให้พอเหมาะ โดยต้องใช้อำนาจในการหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการดังกล่าว
นอกจากนี้ รัฐจะต้องใช้อำนาจในการหารายได้ อย่างมีขอบเขต ไม่ใช่จะพยายามหารายได้ให้ได้มากเหมือนกับเอกชน เนื่องจากเอกชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อหารายได้ให้มากกว่ารายจ่าย(กำไร) รัฐต้องหารายได้อย่าง “พอเหมาะ” เท่านั้น คือ ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป
นักการคลัง Classic จึงได้วางหลักเกณฑ์ที่ว่า
1. รัฐต้องมี Activity ที่เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ( 3 ประการข้างต้น )
2. รัฐต้องเก็บภาษี ให้ได้เท่าที่พอเหมาะเพียงพอแก่รายจ่ายเท่านั้น
การที่ รัฐ สามารถใช้อำนาจบังคับเอกชนให้ จ่ายภาษีให้แก่รัฐ ฉะนั้น ถ้าปล่อยให้รัฐมีบทบาทาก ก็จะต้องเก็บ Tax มาก ประชาชนก็จะยากจนลง เป็นการทำลายกำลังซื้อ( Purchase of power) ของประชาชน นักการคลัง Classic จึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี
การใช้จ่ายภาครัฐ จะต้องกระทำโดยประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงสุด และต้องเก็บภาษีอย่างเป็นธรรมเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ( คำว่า เป็นธรรม นั้นจะได้ศึกษากันต่อไป ว่าเป็นอย่างไร )
¨ คำถาม
รายจ่าย ภาคเอกชน กับ รายจ่าย สาธารณะ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?
* แนวตอบ
ถ้าจะมองโดยพิจารณากันในรูป สัญญาต่างตอบแทน สมัย Classic ถือว่า ทั้งรายจ่าย
ภาคเอกชน กับรายจ่ายสาธารณะ ไม่แตกต่างกันเลย ทั้งนี้เพราะ รัฐ จ่ายเงินให้ จนท.ของรัฐ ดังนั้น จนท.ของรัฐ ก็จะต้อง ให้บริการแก่ประชาชนของรัฐ กลับคืนมา เช่นเดียวกับ รายจ่ายของภาคเอกชน ที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน เป็นการตอบแทนการทำงานของพวกลูกจ้าง
นอกจากนี้ ก็ต้องสร้างที่ทำการให้ฝ่ายรัฐ เช่นเดียวกับ ฝ่ายเอกชน ไม่เห็นมีความแตกต่างกันเลยในทุก ๆ ด้าน
เหตุผลที่ฝ่าย Classic พยายามจำกัด บทบาทของรัฐ ไว้เพียง 3 ประการ ข้างต้น เพราะเห็นว่า กิจการ 3 ประการนั้น เป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการดังกล่าว จึงเป็นรายจ่ายที่จำเป็นมีลักษณะเป็นการสิ้นเปลือง และมองรัฐเป็นเสมือนผู้บริโภค หรือ Consumer เนื่องจาก มองรัฐเป็นนิติบุคคล ต้องใช้จ่าย เป็นผู้บริโภคที่ไม่แตกต่างจากภาคเอกชนเลย
บทบาทของรัฐจะมีมากน้อยเพียงใด นั้นขึ้นอยู่กับแนวคิดของแต่ละสำนัก ถ้าเป็นนักการคลังสมัยปัจจุบัน ก็จะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ Classic ที่จำกัดบทบาทของรัฐไว้แคบแค่ 3 ประการ เพราะเห็นว่า ไม่เป็นการเพียงพออีกต่อไป เนื่องเอกชนต้องการให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการจัดทำ Activity ในด้าน Public Services ให้แก่ประชาชนมากขึ้น เช่น การจัดทำถนนหนทาง การสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ประชาชนโดยเสมอภาค เพราะเอกชนไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ เนื่องจากแนวคิดของเอกชน คือ การจัดทำกิจการใด ๆ เพื่อกำไรสูงสุด( Maximize Profit) เท่านั้น แต่การจัดทำบริการสาธารณะ( Public Services) เหล่านี้ เอกชนหากำไรไม่ได้ จึงไม่ยอมลงทุน แนวคิดนักการคลังปัจจุบัน จึงแตกต่างจากแนวคิดของสำนัก Classic เป็นอย่างมาก
สรุป แนวคิด Classic
1. แยกรายจ่ายภาครัฐ กับ เอกชน อย่างชัดเจน
2. รัฐ ควรทำกิจกรรม อย่างจำกัดขอบเขต และ มองการคลัง แบบ Closed System การเก็บภาษีทำให้เอกชนยากจนลง จึงควรเก็บภาษีอย่างพอเหมาะแก่บทบาทอันจำกัด
3. มองเอกชน มีความสามารถสูงกว่าภาครัฐ ทั้งในด้าน Productivity และ Creative
แนวคิดสมัยปัจจุบัน
โดยหลัก คือ มองตรงข้ามกับ สำนัก Classic กล่าวคือ
1. รายจ่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน เป็นส่วนประกอบของกันและกัน แยกกันไม่ออก
2. ปฏิเสธความคิดที่ว่า รัฐ คือ ผู้บริโภค
3. กิจกรรมบางอย่างเท่านั้น ที่เอกชน สามารถทำได้ดีกว่าภาครัฐ เพราะปรากฏข้อเท็จจริง ในทางเทคโนโลยีทางทหาร รัฐกลับเป็นผู้นำการผลิต และมีความคิดสร้างสรรค์ดีกว่าภาคเอกชน
4.มอง การคลังในลักษณะที่เป็น Dynamic ไม่ตายตัวอยู่ในระบบปิด เหมือน
Classic นโยบายการคลังเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐควรอัดฉีดเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบ ก็จะมีทำให้เอกชนได้รับประโยชน์จากการอัดฉีดเงินของรัฐในที่สุด เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
เกี่ยวกับแนวคิดการเก็บภาษี
สำนัก Classic
สำนักนี้ มองการเก็บภาษี( Tax) ว่า ทำให้รัฐได้เงินมาจากภาคเอกชน เข้ามาเป็นรายได้ของรัฐ ทำให้ประชาชนยากจนลง สำนักนี้ เปรียบเทียบการเก็บภาษีเหมือนตุ่มน้ำ 2 ใบ
ตุ่มน้ำ ใบแรก เป็นของภาคเอกชน ส่วน ตุ่มน้ำ ใบที่สอง เป็นของภาครัฐ ถ้ารัฐเก็บ Tax มาก ก็จะเหมือนการตักน้ำจากตุ่มของเอกชน ไปใส่ตุ่มน้ำของภาครัฐ ทำให้น้ำของเอกชนเหือดแห้งลง มีผลทำให้เอกชนเดือดร้อน
สำนักปัจจุบัน
การเก็บภาษี เปรียบเหมือนการเคลื่อนย้ายทุนจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง เท่านั้น และ รัฐ ก็จะนำเงินเหล่านั้นอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมในลักษณะที่เป็น Dynamic อย่างไม่ขาดสาย ทำให้ Tax เหล่านั้น กลับเข้าสู่ในระบบเศรษฐกิจ เป็นทุนในการพัฒนาประเทศ ไม่ได้ทำให้เงินทุนในตุ่มน้ำภาคเอกชนพร่องลงอย่างที่ฝ่าย Classic มองแต่อย่างใดเลย ไม่ได้ทำให้เอกชนยากจนลง ในทางกลับกัน ยิ่งทำให้ประชาชนมีงานทำ มี Purchase of Power มากขึ้น และส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด
นักการคลัง สมัยใหม่ จึงมองตรงกันข้ามกับฝ่าย Classic คือ ฝ่าย Classic ทำลาย Purchase of Power ในขณะสำนักปัจจุบัน มองว่า เป็นการนำเงินเข้ามาใช้ในระบบ ทำให้ภาคเอกชน มี Purchase of Power มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงที่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน และทำลายความคิดของสำนัก Classic จนหมดสิ้นไป เช่น Economic Crisis ในปี พ.ศ.2472 ทำให้ยุโรป และอเมริกา เดือดร้อน แผ่ขยายวงกว้างอย่างมาก ขยายมาถึงประเทศไทยด้วย
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic Crisis) ที่ว่านั้น เป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญ ท้าทายแนวคิดในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของ ทั้ง 2 สำนัก
1.ฝ่าย Classic จะเสนอแนะนโยบาย “รัดเข็มขัด” รัฐไม่ควรใช้จ่ายเงินเกินกว่ารายได้ที่ได้รับจากภาษีที่ถดถอยตามสภาวะทางเศรษฐกิจ และรอว่า สักวัน ระบบเศรษฐกิจ จะกลับฟื้นขึ้นมาเอง
ผล ทำให้วิกฤตการณ์ ( Crisis ) นั้นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยายตัววงกว้างมากยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้น ตรงกับสมัย ร.7 ประสบปัญหาอย่างรุนแรง จนต้องใช้นโยบาย ดุนยภาพ คือ ลดรายจ่ายภาครัฐโดยการปลดข้าราชการ , เอกชน ก็ปลดคนงานเลิกจ้าง มีผลทำให้คนไม่มีรายได้(income) ประชาชนขาด กำลังซื้อ (Purchase of Power )มีผลทำให้ ความเลวร้ายทางเศรษฐกิจ ยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก เศรษฐกิจยิ่งถดถอย ยิ่งทำให้เก็บ Tax ไม่ได้มากยิ่งขึ้น จึงสรุปได้ว่า แนวคิดของ Classic จึงไม่สามารถใช้แก้ไขปัญหาได้
2.ฝ่ายนักการคลังสมัยปัจจุบัน เชื่อในทฤษฎี “ผลทวีคูณของรายจ่าย” เมื่อมีการใช้จ่ายเงินในระบบ เงินนั้นก็จะมีการใช้จ่ายไปเป็นทอด ๆ 2-5 ทอด เกิดรายได้ภายในระบบเศรษฐกิจโดยรวม สมัยนั้น ประธานาธิบดี รุสเวล ได้นำความคิดนี้มาใช้ คือ แทนที่จะลดรายจ่ายภาครัฐ กลับใช้วิธีการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐมากยิ่งขึ้น คือ ตั้งงบประมาณ( Budget ) มากกว่ารายได้ หรือ งบประมาณเกินดุล โดยเน้นการสร้างสาธารณูปโภค ( Public works ) เช่น สร้างถนนหนทาง เป็นต้น โดยรัฐได้กู้เงินมาจากแหล่งต่าง ๆทั้งภายในและต่างประเทศ ผลทำให้ Policy นี้ เกิดการสร้างงาน รัฐไปจ้าง บริษัทเอกชน และเกิดการจ้างงาน ประชาชนจึงมีรายได้( Income) ทำให้เกิด Purchase of power ที่จะไปซื้อ Product ของเอกชนด้วยกัน ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาเจริญเติบโตขึ้นมาได้ นโยบายนี้ จึงปฏิเสธแนวคิดของสำนัก Classic โดยสิ้นเชิง
สำนักปัจจุบัน สร้าง Model เป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ คือ
รายได้รวม =รายจ่ายรวมของคนในสังคม ณ เวลาหนึ่ง
ดังนั้น รัฐ จึงอาจจำเป็นที่จะต้อง ก่อหนี้สาธารณะ เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต เป็นนโยบายการคลังของรัฐ นอกจากนี้ ยังพบว่า กิจการบางอย่าง เอกชน ไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับภาครัฐ เช่น เทคโนโลยีทางการทหารที่ต้องใช้ต้นทุนสูง และไม่เกิดผลกำไรแก่เอกชน ข้อสรุปของสำนักปัจจุบัน จึงไม่เชื่อแนวคิดของ Classic และ Private sector จะสร้างดำเนินกิจกรรมได้ดีกว่า Public sector หรือ ภาครัฐในบางอย่างเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องมาจาก มี Basic Concept ที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน คือ
1.Private sectorจุดเน้นที่Maximize Profit
2. Public sector ( State ) จุดเน้นที่Public Interests
สำหรับ แนวคิดที่ว่า รัฐควรจะมีบทบาทอย่างไรนั้น แล้วแต่ยุคสมัย ในอดีต เห็นว่า รัฐ
ควรดำเนินกิจการประเภท Public Enterprise (รัฐวิสาหกิจ ) มาก ๆ แต่ ปัจจุบันเน้นนโยบาย การแปรรูปให้เป็น Privatization มากยิ่งขึ้น
แนวคิดเกี่ยวกับ กลไกราคาของตลาด
1. Classic เชื่อว่า กลไกราคาของตลาด จะเป็นตัวกำหนดราคาสินค้า เพราะ กลไกราคา
ตลาด จะก่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง Demand / Supply ใน Market รัฐจึงไม่ควรแทรกแซงใด ๆ
ในความเป็นจริง ปรากฎว่า กลไกราคาตลาด Dis-function เพราะ ภาคเอกชน รวมตัวกันฮั้วราคา ทำให้กลไกราคาตลาดไม่มีทางเป็นจริงได้ ( เพราะยิ่งแข่งขัน ก็ยิ่งเสียหาย จึงรวมตัวกันกำหนดราคาหรือฮั้วดีกว่า )
2. สำนักปัจจุบัน มองการคลังภาครัฐ เป็น Policy ในการกระจายรายได้(Income Distributor ) แก่เอกชนโดยเท่าเทียม ( อาจารย์เรียกว่า พิพากรายได้ให้แก่ประชาชน )
การคลัง ภาคราษฎร์ หรือ ภาคเอกชน จะมี 2 ประเภท คือ
1. ภาคครัวเรือน เช่น การรับจ้างได้เงินเดือน
2. ภาควิสาหกิจ ได้แก่การทำงานหารายได้ของบริษัทเอกชน เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ เป็น
ต้น
à คำถาม การใช้จ่ายภาครัฐ กับภาควิสาหกิจเอกชน มีการกระจายรายได้ แตกต่างหรือ
เหมือนกันอย่างไร
· แนวตอบ การกระจายรายได้ของรัฐ มีทั้งเหมือน และไม่เหมือนกับภาคเอกชน
สำหรับ ภาคเอกชน เช่น ร้านขายอาหาร เมื่อขายสินค้าได้ ก็จะนำเงินเหล่านั้น ไปซื้อ
สินค้าที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ก็ถือว่าเป็นผู้กระจายรายได้ให้แก่บุคคลอื่นเช่นกัน ข้อสำคัญ ก็คือ การกระจายรายได้ภาคเอกชน นั้น เป็นไปตามรูปแบบของสัญญาต่างตอบแทน คือ จะต้องผลิตสินค้า และบริการให้แก่ผู้อื่น เพื่อแลกเปลี่ยนกับรายได้ มี Nature อยู่ที่ Maximize Profit แต่รายจ่ายของภาคเอกชน นั้น ขึ้นอยู่ปริมาณรายได้ มี Scale ไม่ใหญ่โตกว้างมากนัก ถ้าเห็นว่าไม่คุ้มทุน
ในภาครัฐ สินค้าและบริการ ที่รัฐผลิต จะมี 2 ลักษณะ คือ
1. สินค้าและบริการที่รัฐทำกิจการเหมือนเอกชนทำ กล่าวคือ ในบางกรณี Public Organization จำพวก Public Enterprise เช่น องค์การแก้ว ของ กห. จะผลิตแก้ว ขายแก่ภาคเอกชน การกระจายรายได้ของ Public Organization นี้ จะดำเนินกิจการตาม ราคาตลาด โดยต้องคำนวณต้นทุน และกำไร ในการผลิตสินค้า เช่นเดียวกับภาคเอกชน
2. สินค้าและบริการในรูป Public Goods (สินค้าสาธารณะ) Public Organization บางประเภท รัฐเข้ามาทำ Activity เพื่อประโยชน์มหาชน โดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหากำไร เช่น องค์การ ขสมก. คิดราคาค่าโดยสาร เพียง 3.5 บาท ทั้งที่ต้นทุนและราคาตลาดแพงกว่านั้นมาก อาจเป็น 20 บาท จะเห็นว่ามีส่วนต่างของราคาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะรัฐเชื่อว่า การแบกรักภาระนี้ จะทำให้เอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้น คือ เมื่อลดรายจ่ายเหล่านี้ลงได้ เอกชน ก็จะมี Purchase power มากขึ้นนั่นเอง
สรุป สิ่งที่ทำให้ รายจ่ายสาธารณะ ที่มีผลต่อการกระจายรายได้ ระหว่าง Public sector กับ Private sector มีความแตกต่างกัน จะมี 2 ประการ คือ
1. แตกต่างกันที่ Nature ของการผลิต Private sector เน้นที่ Maximize Profit และมีที่มา
จากสัญญาต่างตอบแทน แต่สำหรับ Public sector มีจุดเน้นที่ Activity of State คือ Public Interest โดยไม่คำนึงถึง Profit และไม่ได้เกิดจาก สัญญาต่างตอบแทน ทั้งนี้ เพราะ การที่รัฐมีอำนาจบงการให้ประชาชน Pay tax นั้น ประชาชนจะไม่ได้รับสินค้าและบริการสาธารณะจากรัฐตอบแทนสู่เขาโดยตรงและชัดแจ้ง แต่รัฐจะนำ Tax นั้นไปใช้ ผลิต Public Goods เพื่อ Public Interests ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของผู้เสียภาษีโดยตรงคนใดคนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น รธน. กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ ในการจัดการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับ (Composedly ) แก่ภาคเอาชนฟรี แม้ว่าพ่อแม่ของนักเรียนเหล่านั้นจะจ่ายภาษีให้แก่รัฐก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่า ถ้าประชาชนไม่จ่ายภาษีนั้น รัฐก็ไม่ต้องจัดการศึกษาให้ Public Goods นี้ จึงไม่ได้เกิดจากการจ่าย Tax โดยตรง ทั้งนี้รัฐจะไม่คำนึงถึง Profit แต่ถ้าเป็นการจัดการศึกษาภาคเอกชน ก็จะต้องคำนึง Cost and benefit การผลิตสินค้าก็จะต้องไม่ขาดทุนและมีกำไรสูงสุด
2. แตกต่างกันที่ Scale ในใช้จ่ายภารัฐ เช่น ในทางเศรษฐกิจแล้ว รัฐต้องมีการลงทุน
และใช้จ่ายเงิน ดังนั้น งบประมาณรายจ่ายสาธารณะของภาครัฐ จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นงบประจำ ที่ใช้จ่ายให้แก่ข้าราชการ หรืองบบริโภค ส่วนที่สอง เป็นงบลงทุน ในการลงทุนภาครัฐเพื่อ Public Interests ก็จะต้องจัดให้แก่ ทุกคนโดยเท่าเทียมกันหมด โดยเฉพาะในด้านการธำรงรักษาไว้ซึ่งรัฐ และความมั่นคง จะมีขนาดการลงทุนที่ใหญ่โตกว่าเอกชนมาก
ปัจจุบัน รายจ่ายภาครัฐ เปลี่ยนแปลงจากสำนัก Classic มาก จึงสรุปได้ว่า ในปัจจุบัน นักการคลังมองว่า รัฐควรมีหน้าที่อย่างน้อย 3 ด้าน คือ
1. หน้าที่เช่นเดียวกับ สำนัก Classic คือการักษาความมั่นคง,ความสงบ และการระงับข้อ
พิพาท
3. หน้าที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในภาค Macro เช่น การรักษาดุลยภาพทาง
เงินตรา,ดุลรายจ่าย และรายได้ของประเทศ
4. หน้าที่เป็นผู้กระจายรายได้( Distributor income ) คือ กระจายรายได้แก่ชนในสังคม
อย่างเท่าเทียม ถ้วนหน้า และ เหมาะสมเพียงพอ
ทั้งนี้ เราเชื่อว่า รายจ่ายสาธารณะ มีบทบาท ต่อ Income และ Purchase of Power มาก ในการศึกษา วิชาการคลัง จึงต้องทำความเข้าใจประเภทของรายจ่ายสาธารณะให้ชัดเจน ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับว่า รายได้ของรัฐแต่ละประเภท จะมีผล Impact ต่อประชาชนอย่างหลากหลายกันไป
การสร้าง Model ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดนี้ คือ
รายจ่ายรวม= รายจ่ายภาคราษฎร์ + รายจ่ายภาครัฐ
รายจ่ายภาครัฐ จะแยกได้เป็น 2 ประเภทอย่างหยาบ ๆ คือ
1. งบลงทุน
2. งบประจำ / การบริโภค
รายจ่ายทั้ง 2 ตัวนี้ จะมี Impact ต่อประชาชนแตกต่างกันไป
การจำแนกประเภทของรายจ่ายสาธารณะ
เหตุที่ต้องมีการจำแนกประเภทของรายจ่ายสาธารณะ เพราะ เป็นที่ยอมรับว่า รายจ่ายแต่ละประเภทจะส่งผลกระทบ ( impact ) ต่อ ระบบเศรษฐกิจ และสังคม โดยตรงแตกต่างกัน การจำแนกงบประมาณ เป็นประเภทต่าง ๆ จึงต้องการที่จะประเมินผล ( Evaluation ) ผลกระทบของรายจ่ายที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม
หลักเกณฑ์การจำแนกประเภทรายจ่ายสาธารณะ
แต่ละประเทศ จะมีหลักเกณฑ์ การจำแนกฯ แตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยแล้ว จะใช้หลักเกณฑ์นี้
1. การจำแนกตามลักษณะทางปกครอง
2. การจำแนกตามลักษณะทางเศรษฐกิจ
1. การจำแนกตามลักษณะทางปกครอง
รายจ่ายสาธารณะที่จำแนกแบบนี้ ยังสามารถแบ่งได้ออกเป็น
1) งบประมาณรายจ่ายตามหน่วยงานหรือองค์การสาธารณะใช้จ่าย เช่น งบประมาณ ของ
กระทรวง,ทบวง,กรม หรือส่วนราชการต่าง ๆ
2) งบประมาณรายจ่าย ที่แบ่งตามลักษณะงาน ได้แก่ รายจ่ายฯ ด้านการป้องกันประเทศ
การศึกษา สาธารณสุข สาธารณูปโภคต่าง ๆ การชดใช้หนี้เงินกู้ต่าง ๆ เป็นต้น
2. การจำแนกตามลักษณะทางเศรษฐกิจ
1) งบลงทุน
2) งบประจำ
ลักษณะพิเศษของงบประมาณที่จำแนกตามลักษณะทางเศรษฐกิจ
ผลกระทบของรายจ่ายที่เกี่ยวพันกับ รายได้รวมของประชาชนทุกคน จะมีความแตกต่างกันไปตามงบประมาณแต่ละประเภท เพราะ งบลงทุน จะก่อให้เกิดผลรายได้รวมขั้นต่อ ๆ ไป มากกว่ารายจ่ายหรืองบประจำ ( ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว จะเรียกว่า “ผลทวีคูณด้านลงทุน” ที่เชื่อว่า ถ้ามีการใช้จ่ายลงทุน 100 บาท และได้มีการหมุนเวียนไป 7 ครั้ง จะก่อให้เกิดรายได้รวม เป็น 2 เท่าของรายจ่าย )
นอกจากนี้ ลักษณะรายจ่ายที่จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ ยังสามารถจำแนกได้อีกรูปแบบหนึ่ง คือ
1) งบประมาณรายจ่าย ที่มีผลกระทบต่อปัจจัยการผลิต ได้แก่ การลงทุนด้านการ
จ้างแรงงาน ( men) การใช้จ่ายเงินงบประมาณรูปแบบต่าง ๆ ( money ) ,การลงทุนด้านวัตถุดิบ ( material ) และเครื่องจักรกล ( machine ) : ซึ่งถือเป็นปัจจัยในการผลิต การใช้จ่ายเงินของภาครัฐ ในการจ้างข้าราชการ ก็จะมีผลเหมือนกับการจ้างคนงานในภาคเอกชน ก่อให้เกิดกำลังการซื้อและบริโภค , การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ จะส่งผลต่อการจ้างงาน การใช้วัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบต่าง ๆ เป็นต้น
2) งบประมาณรายจ่าย ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อปัจจัยการผลิต ได้แก่ เงิน
สนับสนุน หรือเงินโอน ( Transfer ) ผู้จ่าย/รัฐ ไม่ได้อะไรตอบแทนกลับมาที่ส่งผลต่อปัจจัยการผลิต ตัวอย่าง การส่งสินค้า (ข้าว) ออกไปยังต่างประเทศ ปรากฎว่าราคาสินค้าไทยสูงกว่าต่างประเทศอยู่ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้การส่งออกสินค้าแข่งขันกับต่างประเทศได้ รัฐไทยจึงสนับสนุนเงินจำนวนนั้น ให้แก่ผู้ส่งออกแล้วให้ผู้ส่งออกขายสินค้าไทยในราคาเท่ากัน หรือ ราคาที่แข่งขันกับต่างประเทศได้
จากการที่ได้ศึกษามาแล้ว จะเห็นว่า รายจ่ายสาธารณะ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมแตกต่างกันไป สมมุติว่า ฝ่ายเอกชนมีการลงทุนก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มากมาย แล้ว ความต้องการใช้แรงงาน วัตถุดิบ ฯลฯ ก็จะสูงด้วย ถ้าฝ่ายรัฐ ยังใช้จ่ายงบทุนต่าง ๆ แข่งกับภาคเอกชนแล้ว ก็จะทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน,วัตถุดิบ เกิดการแก่งแย่ง ราคาสูง ดังนั้น รัฐจึงต้องเป็นผู้ควบคุม การใช้งบประมาณรายจ่ายเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสมดุล ดังนั้น นโยบายในด้านรายจ่ายสาธารณะ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการวางแผนพัฒนาประเทศ ( อย่างไรก็ตาม หลักนโยบายการคลัง ดังกล่าว เป็นเพียงทฤษฎีที่สามารถปฏิบัติได้ยาก)
ประโยชน์ของการจำแนกรายจ่ายสาธารณะ
1. ก่อให้เกิดความเข้าใจว่า การใช้จ่ายงบประมาณ จะสะท้อนให้เห็นถึง นโยบาย การบริหารประเทศของรัฐบาลในคณะต่าง ๆ ถึงกับมีคำกล่าวว่า “งบประมาณรายจ่าย คือ แผนปฏิบัติงานของรัฐบาล ที่แปลงออกมาเป็นตัวเงิน” และ “ไม่มีผลงาน ถ้าไม่มีใช้จ่ายงบประมาณ”
2. ทำให้ทราบว่า ฝ่ายประจำมีบทบาท และอิทธิพลในการกำหนดรายจ่ายสาธารณะ
อย่างไร เพราะจะเป็นฝ่ายให้ข้อมูล พร้อมทั้งนำเสนอยัง รมว.ที่ว่าการกระทรวงฯ นั้น ๆ ให้นำเสนอต่อ รัฐสภาอนุมัติ
3. เป็นการพัฒนาประชาธิปไตยไปในตัว ถ้าคนให้ความสนใจงบประมาณของรัฐ ก็จะ
แสดงว่า ประชาชน ให้ความสนใจการบริหารงานของรัฐบาลด้วย จึงเป็นการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยแสดงความเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายการคลังกับรัฐบาล หรือ ฝ่ายค้าน ที่อภิปรายการใช้งบประมาณแผ่นดินในรัฐสภา และแสดงประชามติได้โดยผ่านกระบวนการทางการเมือง ( เช่น การเลือกตั้ง ฯลฯ )
เมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับรายจ่ายสาธารณะแล้ว ว่ามีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ไม่ว่ารายจ่ายประเภทใด แต่จะมีผลแตกต่างกัน จะมีคำถามคือ รายจ่ายนั้นได้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ถ้ามองเพียงตัวเลขจะเห็นว่า รายจ่ายสาธารณะจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในทางความเป็นจริง จะต้องพิจารณาตัวบ่งชี้ คือ ดัชนีค่าครองชีพ กล่าวคือ สมมติว่า งบประมาณรายจ่ายปีนี้ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3 % แต่ดัชนีค่าครองชีพแพงกว่าปีก่อน 0.5% ก็แสดงว่า งบประมาณเพิ่มขึ้นเพียง 2.5 %
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบเรื่องค่าของเงินที่เปลี่ยนไป เช่น เงินเฟ้อ ( Inflation ) คือต้องใช้เงินจำนวนที่มากขึ้น ในการซื้อสินค้าตัวเดิม ( ซึ่งจะไปศึกษาต่อไปในเรื่องดุลยภาพงบประมาณ )
สาเหตุที่ทำให้รายจ่ายสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
1. ค่าใช้จ่ายด้าน การทหารและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพิ่มมากขึ้น เช่น การสั่ง
สมกำลังอาวุธ ( มีทั้งผลดี-ผลเสีย ผลเสียคือ ถ้าไม่สั่งสมอาวุธ ราคายางพารา,ดีบุก ฯลฯ ก็จะตกลง เป็นต้น )
2. รัฐได้เพิ่มบทบาทต่อสังคมมากขึ้น เช่น ด้านการศึกษา ภาคบังคับเพิ่มขึ้น ฯลฯ
3. Concept หรือ Policy ทางการคลัง ได้เปลี่ยนแปลงไป จากสำนัก Classic มาเป็นสำนัก
สมัยใหม่ ที่มองว่าการคลัง ภาครัฐ และเอกชน เป็นส่วนประกอบกัน การเก็บภาษีมาจากเอกชน ก็นำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ นำมาก่อสร้าง Infrastructure ต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง ฯลฯ ก็จะกระจายรายได้แก่เอกชน ทำให้ระบบเศรษฐกิจเติบโต ไม่ได้ทำให้ ภาคเอกชนยากจนลงแต่อย่างใด
สรุป ประมวลรัษฎากร 在 ความรู้ภาษีอากรสำหรับเตรียมสอบฯ I Ep.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษี ... 的推薦與評價
ติว สรุป ระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 (คลิปเนื้อหา) BY ลูกชาวนา นัก ... แชร์เทคนิคการอ่าน ประมวลรัษฎากร | ติวสอบสรรพากร #นักตรวจสอบภาษี #นักวิชาการสรรพากร. ... <看更多>
สรุป ประมวลรัษฎากร 在 เอกสารประกอบการบรรยายสรุป... - สุเทพ พงษ์พิทักษ์ 的推薦與評價
เอกสารประกอบการบรรยายสรุป ทบทวนบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร เจาะลึกภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อการทดสอบ CPA & TA โดยครูภาษี สุเทพ พงษ์พิทักษ์ https://drive. ... <看更多>