สังคมผู้สูงอายุ ความท้าทายที่รออยู่ หลังโควิด /โดย ลงทุนแมน
ปัญหาโรคระบาดโควิด 19 ทำให้เศรษฐกิจไทยบอบช้ำอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม หลายคนเชื่อว่า
สุดท้ายปัญหานี้น่าจะผ่านพ้นไปเมื่อประชากรในประเทศส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้
แต่ปัญหาระยะยาวที่ท้าทายเศรษฐกิจอีกเรื่องคือ “สังคมผู้สูงอายุ”
จนอาจทำให้แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะผ่านพ้นวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ไปได้
แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจไม่กลับไปเหมือนเดิม
เรื่องนี้จะสร้างความท้าทายให้กับประเทศไทยมากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูจำนวนผู้สูงอายุชาวไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ในช่วงที่ผ่านมาและการคาดการณ์โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปี 2560 จำนวนผู้สูงอายุชาวไทย 11.1 ล้านคน คิดเป็น 16.9% ของจำนวนประชากร
ปี 2564 จำนวนผู้สูงอายุชาวไทย 13.2 ล้านคน คิดเป็น 19.9% ของจำนวนประชากร
ปี 2569 จำนวนผู้สูงอายุชาวไทย 15.9 ล้านคน คิดเป็น 23.4% ของจำนวนประชากร
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ทำให้ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) หรือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2565
จริงๆ แล้ว ต้องบอกว่า การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็สร้างโอกาสให้แก่หลายธุรกิจ เช่น
ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งผู้สูงอายุมักให้ความใส่ใจกับอาหารการกิน เมื่ออายุมากขึ้น
ธุรกิจด้านการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งการดูแลสุขภาพทั่วไป หรือให้บริการประเภทโฮมแคร์ที่มีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลผู้สูงอายุถึงบ้าน
ธุรกิจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบ้านพักอาศัยที่ถูกสร้างมาสำหรับผู้สูงอายุ
ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนมายังจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจดูแลผู้สูงอายุนั้นมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น
ปี 2560 จำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 76 ราย
ปี 2562 จำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 113 ราย
ปี 2563 จำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 117 ราย
จะเห็นว่า ในปี 2563 แม้ประเทศไทยจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ยังคงมีผู้สนใจเข้ามาทำธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอีกด้านหนึ่งก็สร้างความท้าทายต่อประเทศเช่นกัน ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
เรื่องแรกคือ เรื่องของโครงสร้างประชากรไทยที่ดูแล้วจะเป็นที่น่ากังวลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
ลองมาดูอัตราการเกิดของประชากรไทยที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ
ปี 2543-2553 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เฉลี่ยปีละ 845,000 คน
ปี 2554-2563 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เฉลี่ยปีละ 738,900 คน
ที่น่าสนใจคือ ปีสุดท้ายที่ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เกินปีละ 1 ล้านคน คือ ปี 2538 หรือเมื่อ 26 ปีที่แล้ว
เด็กเกิดใหม่ที่ลดลง นั่นหมายถึง กำลังแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานจะค่อย ๆ ลดลง จนก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ในบางอุตสาหกรรม เราจึงเห็นว่าบางองค์กรเริ่มมีการขยายอายุเกษียณให้ยาวขึ้น แต่นั่นอาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น
เด็กเกิดใหม่ที่ลดลงในช่วงก่อนหน้านี้ ยังทำให้ธุรกิจการศึกษาหลายแห่งเริ่มได้รับผลกระทบ เพราะปัญหาเรื่องจำนวนนักเรียนที่น้อยลงเรื่อย ๆ จนทำให้ปัจจุบัน บางคณะในบางมหาวิทยาลัยต้องปิดตัวลง จนบุคลากรทางด้านการศึกษาบางส่วนเริ่มได้รับผลกระทบ
จำนวนแรงงานที่ลดลงขณะที่จำนวนผู้สูงอายุค่อย ๆ เพิ่มขึ้น พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อผู้สูงอายุจะค่อย ๆ ลดลง
ในปี 2560 สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อผู้สูงอายุ อยู่ที่ 3.8 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน
แต่มีการประเมินกันว่า
ในปี 2579 สัดส่วนของคนวัยทำงานต่อผู้สูงอายุ จะอยู่ที่ 1.9 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน
หมายความว่า ผู้สูงอายุจะพึ่งพาคนวัยทำงานได้น้อยลง หรือพูดอีกด้านหนึ่งก็คือ คนที่เกิดมาช่วงหลัง ๆ จะแบกรับภาระในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
อีกปัญหาหนึ่งที่ดูน่าเป็นห่วงไม่น้อยก็คือ ประชากรผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยยังขาดความมั่นคงด้านการเงิน หรือคำพูดที่เรามักได้ยินกันเสมอ ๆ นั่นก็คือ “แก่ก่อนรวย”
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ทำการสำรวจฐานะการเงินของผู้สูงอายุชาวไทยนั้นพบว่า
2% มีเงินใช้เกินพอ
62% มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
36% มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
หมายความว่า ทุก ๆ 100 คนของผู้สูงอายุชาวไทย จะมี 36 คนที่ยังมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ
ขณะที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่บอกว่า มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
รายได้เหล่านั้นส่วนมากก็มาจากลูกหลานของพวกเขา
แต่คำถามคือ
ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลาน และไม่ได้ทำงานแล้วจะสามารถพึ่งพาใครได้ ?
แน่นอนว่า เรื่องนี้ก็ทำให้ภาครัฐอาจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งสร้างความท้าทายต่อฐานะการเงินการคลังของประเทศ
เพราะต้องยอมรับว่า ประเทศเรายังเป็นประเทศฐานะรายได้ปานกลาง ความสามารถในการจัดสวัสดิการให้แก่ทุกคนรวมทั้งผู้สูงอายุด้วย จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2555-2562 ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรวมกันสูงกว่า 500,300 ล้านบาท ซึ่งในแต่ละปีนั้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนี้ การที่สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภคภาคเอกชนมีสัดส่วนต่อ GDP ลดลง เมื่อเทียบกับในอดีต
โดยในปี 2547 สัดส่วนการบริโภคภาคเอกชนต่อ GDP อยู่ที่ประมาณ 58% แต่ปัจจุบันกลับลดลงเหลือเพียง 51%
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การบริโภคภาคเอกชนที่ในอดีตนั้นถือว่า เป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย กำลังมีบทบาทลดลงเรื่อย ๆ
สรุปแล้ว การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทยนั้น กำลังสร้างความท้าทายให้แก่ประเทศไทยหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านสังคมและเศรษฐกิจซึ่งก็เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องต้องคิดหาทางออกที่เหมาะสมให้แก่ประเทศต่อไป
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนผู้สูงอายุสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2562 จำนวน 1 ใน 3 ของประชากรญี่ปุ่นทั้งหมดหรือประมาณ 42 ล้านคน นั้นเป็นผู้สูงอายุ จนนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า นี่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตได้ช้าลงตลอดทศวรรษที่ผ่านมา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2564/T26/T26_032021.pdf
-https://knoema.com/atlas/Thailand/topics/Demographics/Fertility/Number-of-births
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/AgePeriodCohort.pdf
-https://www.youtube.com/watch?v=oXRqHQQkCa0
-https://thediplomat.com/2019/11/how-does-japans-aging-society-affect-its-economy/#:~:text=%E2%80%9CA%20rapidly%20aging%20population%20and,over%20the%20next%20three%20decades.
สังคมผู้สูงอายุ 2565 pdf 在 การเผชิญหน้า 'สังคมผู้สูงอายุ' โจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 的相關結果
ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 มีจำนวนผู้สูงอายุราวร้อยละ 20-30 และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ ... ... <看更多>
สังคมผู้สูงอายุ 2565 pdf 在 สถานการณ์แนวโน้มและการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติด ... 的相關結果
ปีที่2 ฉบับที่2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565 ... ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อรับมือกับสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยมีกระทรวงสาธารณสุขทำ. ... <看更多>
สังคมผู้สูงอายุ 2565 pdf 在 สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 2565 โดยกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ ... 的相關結果
กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 ... ... <看更多>