“กฎหมายเป็นผลหรือผลสะท้อนของโครงสร้างเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ”
นักทฤษฎี มาร์กซิสต์ ได้สรุป ความเกี่ยวกับกฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข
ข้อสรุปนี้เป็นผลของการตีความทฤษฎี สสารธรรมประวัติศาสตร์ของ มาร์ก และ เองเกลส์
สสารธรรมประวัติศาสตร์ ( Historical Materialism ) หมายถึง การปรับใช้หลักสสารธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคมหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่า ความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (รวมถึงกฎหมาย, ศีลธรรม, การเมือง, อุดมการณ์) เป็นเสมือนโครงสร้างส่วนบนของสังคม (Super Structure of Society) ที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือ เศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างส่วนฐานของสังคม (Infra Structure of Society) และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม (สังคมที่ยังเป็นรัฐหรือมีการปรากฏตัวของรัฐบาล) คือ การต่อสู่ของชนชั้นที่เป็นปรปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ
โดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องจิตสำนึกของมนุษย์ในเรื่องการเมือง สังคม , ศาสนา, วัฒนธรรมหรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนดโดยระบบการผลิต หรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจิตสำนึกดังกล่าวเป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจ หรือ “โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม” ขณะเดียวกันก็ถือว่า กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมายจะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญา แบบนัยนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Determinism) หรือ “เศรษฐกิจกำหนด” อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง จากจุดนี้เองทำให้ข้อสรุปของแนวคิดที่มองลักษณะด้านเดียวว่า กฎหมาย (ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน) เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด (ฝ่ายเดียว) โดยเศรษฐกิจ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปราะบางหรือจุดอ่อนของกลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์
จากแนวคิดข้อสรุป ข้อที่ว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ซึ่งอาจสรุปได้ว่า
เป็นการมองว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามากำหนดความเป็นไปหรือตัวธรรมชาติที่เป็นจริงของกฎหมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย กฎหมายในแง่นี้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอิสระ แต่สิ่งที่เป็นเจตจำนงรัฐาธิปัตย์ที่ยังอยู่ภายใต้สิ่งที่เป็นเงื่อนไข
ทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจอีกชั้นหนึ่ง
1. ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาตินั้นไม่ได้กล่าวถึง
เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมหรือรูปธรรมเกี่ยวกับความเป็นจริงของสังคมว่าสัมพันธ์กับธรรมชาติของกฎหมายอย่างไร
2. ส่วนปฏิฐานนิยมนั้นอาจจะมองกฎหมายในแง่ข้อเท็จจริง คือ รัฏฐาธิปัตย์ อำนาจรัฐ
ระบบกฎหมาย แต่ไม่ได้มองว่าเบื้องหลังของรัฏฐาธิปัตย์คืออะไร เบื้องหลังของระบบกฎหมายมีอะไรเป็นตัวอิทธิพล
ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยกับแนวคิดของ มาร์กซิสต์ ที่พยายามชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเศรษฐกิจหรือโครงสร้างของเศรษฐกิจว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อกฎหมาย
สังคม society หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ลักษณะของกฎหมายข้อที่ 1
กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมนั้นต้องเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์
ข้อพิจารณาถึงลักษณะความสมบูรณ์ของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมนั้นต้องเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ ในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน กฎหมายเป็นข้อความที่กำหนดบังคับให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามบุคคลกระทำการบางอย่างกับกฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำบางอย่าง ดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่าง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างก็ดีหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่างก็ดี เรียกว่า “กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ” ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ คือ
1) กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมบังคับให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่กระทำการ” (Duty of Act)
2) กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่งดเว้นกระทำการ” (Duty to Refrain from Acting)
ดังนั้นการที่กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดให้บุคคลกระทำบางอย่างหรือห้ามกระทำบางอย่างถือเป็น “ความผูกพัน” (Relationship) ทำให้บุคคลตกอยู่ในสถานะที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือยอมให้เขากระทำกิจการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นกระทำการซึ่งเป็นหน้าที่ เช่น การกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหน้าที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีหน้าที่รับราชการทหาร มีหน้าที่เสียภาษี เป็นต้น
2. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง ซึ่งกฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง เรียกว่า “กฎหมายให้สิทธิเสรีภาพแก่บุคคล” แยกพิจารณา ดังนี้
1) สิทธิ (Rights) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองคุ้มครองประโยชน์ให้ทั้งในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและสิทธิพล ดังนี้
(1) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หรือ สิทธิของทุกคน สิทธิประเภทนี้ คือ สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคนโดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นเป็นชาติใด เชื้อชาติใดหรือศาสนาใด หากแต่บุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของประเทศนั้นแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นด้วย สิทธิมนุษยชนเป็นคุณลักษณะประจำตัวของมนุษย์ทุกคนเพราะเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และด้วยเหตุผลอย่างเดียวว่า “เพราะเขาเกิดมาเป็นมนุษย์” มนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิเสรีภาพเหล่านี้อยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะมี “รัฐ” (State) เกิดขึ้น โดยมีลักษณะติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด ไม่อาจถูกพรากหรือถ่ายโอนจากมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิได้และเป็นสิทธิที่มีลักษณะสากล คือ เป็น สิทธิของมนุษย์ทุกคนเหมือนกันอย่างเสมอภาค สิทธิประเภทนี้ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เป็นต้น
(2) สิทธิพลเมือง (Civil Rights) เป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐเท่านั้น เป็นสิทธิที่เกิดมาภายหลังที่ได้มีกาจัดตั้งรัฐ สังคม การเมืองและรัฐบาลแล้ว เช่น สิทธิในทางการเมือง สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิเสรีภาพในการศึกษา เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิทธิพลเมือง จะพบว่า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของ “สิทธิที่ติดตัวมาแต่กำเนิด” โดยคุ้มครองทั่วไปไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดในโลก แต่สิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่ได้มาภายหลัง เมื่อทำสัญญาประชาคมจัดตั้งรัฐ สังคม การเมืองและรัฐบาลแล้วจะคุ้มครองกับพลเมืองของรัฐนั้น
2) ส่วนเสรีภาพ (Liberty) หมายถึง สิ่งที่ปราศจากการกักขังหน่วงเหนี่ยวทั้งทางร่างกายและทางความคิด
ดังนั้น เมื่อคุ้มครองสิทธิจะต้องรวมถึงเสรีภาพด้วย เพราะจะมีเสรีภาพได้ต้องได้รับสิทธิมาก่อน จึงเรียกว่า “สิทธิเสรีภาพ” การรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการกระทำการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดอนุญาต คือ สิทธิเสรีภาพในสภาพบุคคลและสิทธิในทรัพย์สิน
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมถือเป็นระเบียบแบบแผนควบคุมความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ กฎหมายเป็นข้อตกลงให้คนในสังคมปฏิบัติโดยอยู่ในรูปแบบของ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งต่างๆนั้นมักจะมาจากวิธีปฏิบัติที่กระทำสืบเนื่องมาจากจารีตประเพณีนิยมที่เป็น “บรรทัดฐานทางปฏิบัติทั้งหลายของสังคม” (Practical Norms of Society) โดยคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับและปฏิบัติตามมาเป็นเวลาช้านานโดยถือเป็น “ปรากฏการณ์ทางสังคม” (Social Phenomenal) ในลักษณะเช่นเดียวกันกับศาสนาและศีลธรรม จนกระทั่งเรียบเรียงขึ้นเป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรเพื่อกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของคนในสังคมให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำ ตามสถานการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละบริบทของแต่สังคมแต่ละประเทศ
สังคม society หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์
ทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (The Marxist Theory of Law) นับว่าเป็นทฤษฎีที่แสดงออกถึงแนวคิดของคนที่ออกกฎหมายมาเพื่อผลประโยชน์และปกป้องผลประโยชน์ของพวกที่มีอำนาจปกครอง หรือ เป็นแนวคิดที่ว่า “กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นสูงที่มีอำนาจออกกฎหมาย” ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจแนวคิดนี้มากขึ้น จำต้องเข้าใจถึงพื้นฐานชีวิตของผู้ก่อตั้งสำนักนี้และแนวคิดนี้พัฒนาขยายความต่อมาอย่างไร ดังนี้
1.1 แนวคิดผู้ก่อตั้งทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (คาร์ลมาร์ก (Karl Marx): 1818 – 1883)
คาร์ล มาร์ก เกิดเมื่อ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1818 ที่ปรัสเซีย พ่อเป็นทนายความเชื้อสายยิวที่มีฐานะดี มาร์ก จบปริญญาเอกด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยเจนาในช่วงวัยหนุ่มนั้น มาร์ก จะมีแนวความคิดอิทธิพลของกฎหมายธรรมชาติในตัว มาร์ก แต่เมื่องานหนังสือพิมพ์ของ มาร์ก โดนเซ็นเซอร์ทำให้แนวความคิดของเขาต่อต้านการกระทำของรัฐบาลปรัสเซีย
งานเขียนของมาร์ก ในช่วงวัยหนุ่มสัมผัสกับความเชื่อถือศรัทธาใน “แนวคิดมนุษย์นิยม” (Humanism) และ “ธรรมชาตินิยม” (Naturalism) อันทำให้เรามีท่าทีต่อต้านความคิดแบบกฎหมายบ้านเมืองหรือปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย (Legal Positivism) และสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ของ ซาวิญยี่ (Savingy) ซึ่งเขาเห็นว่ากรณี ปฏิฐานนิยมทางกฎหมายเป็นความคิดที่มุ่งเน้นแต่เรื่องประสิทธิภาพการทำงานของกฎหมาย โดยมาร์กให้ความสำคัญของกฎหมายในแง่เป็น “บรรทัดฐานเชิงคุณค่า” (Normative Approach to law) ซึ่งเป็นลักษณะของการยอมรับความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่า “กฎหมายอันแท้จริง” (True Law) จะต้องมีลักษณะสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายใน “ชีวิตทางสังคมของมนุษย์” (Man’s social being) และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่ง “ความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง” (Truly human activities)
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ชีวิตและพัฒนาการทางปัญญาที่เพิ่มมากขึ้นตามวัยของ มาร์ก ประกอบกับการหันมาทุ่มเทความสนใจศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ตลอดจนได้เข้าร่วมในปฏิบัติการที่เป็นจริงต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม แนวคิดทางปรัชญาและการเมืองของมาร์กในระยะหลังเปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ลักษณะความคิดแบบ “สสารธรรม” (Materialism) โดยเน้นการเข้าสู่ปัญหาในแง่ “รูปธรรมทางเศรษฐกิจ” มากกว่า “การวิจารณ์หรือเข้าสู่ปัญหาในเชิงปรัชญา” แบบเดิม
1.2 วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์
จากข้อเขียนงานเขียนต่าง ๆ ของมาร์กซิสต์ ต่อมาได้ทำให้นักทฤษฎีมาร์กซิสต์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งได้วิเคราะห์สรุปความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติหรือบทบาทของกฎหมายออกอยู่ 3 ประการ คือ กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตนและในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด ดังนี้
1.2.1 กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข
ข้อสรุปนี้เป็นผลของการตีความ “ทฤษฎีสสารธรรมประวัติศาสตร์” ของ มาร์ก ซึ่ง สสารธรรมประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) หมายถึง การปรับใช้หลักสสารธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคมหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่า ความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (รวมถึงกฎหมาย,ศีลธรรม,การเมือง,อุดมการณ์) เป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” (Super Structure of Society) ที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือ เศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตเป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนฐาน (ส่วนล่าง) ของสังคม” (Infrastructure of Society) และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม (สังคมที่ยังเป็นรัฐหรือมีการปรากฏตัวของรัฐบาล) คือ การต่อสู้ของชนชั้นที่เป็นปรปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ โดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องจิตสำนึกของมนุษย์ในเรื่องการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม หรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนดโดยระบบการผลิตหรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจิตสำนึกดังกล่าว เป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจหรือ “โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม” ขณะเดียวกันก็ถือว่า กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมายจะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
จากแนวคิดที่ว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ผู้เขียนมองว่า “เงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามากำหนดความเป็นไปหรือตัวธรรมชาติที่เป็นจริงของกฎหมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย” กฎหมายในแง่นี้จึง “ไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ” ซึ่งโต้แย้งกฎหมายธรรมชาติ “ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอิสระ” โต้แย้งแนวคิดปฏิฐานนิยมของ จอห์น ออสติน ในฐานะผู้มีอำนาจออกกฎหมาย แต่ “เป็นเจตจำนงรัฐาธิปัตย์ที่ยังอยู่ภายใต้สิ่งที่เป็นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ” อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งมีข้อพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบกับความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาตินั้นไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมหรือรูปธรรมเกี่ยวกับความเป็นจริงของสังคมว่าสัมพันธ์กับธรรมชาติของกฎหมายอย่างไร ส่วนความคิดปฏิฐานนิยม นั้นอาจจะมองกฎหมายในแง่ข้อเท็จจริง คือ รัฐาธิปัตย์, อำนาจรัฐ, ระบบกฎหมาย แต่ไม่ได้มองว่าเบื้องหลังของรัฐาธิปัตย์ คืออะไร เบื้องหลังของระบบกฎหมายมีอะไรเป็นตัวอิทธิพล แต่ของ มาร์กซิสต์ นั้นจะพยายามชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเศรษฐกิจหรือโครงสร้างของเศรษฐกิจว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญา “แบบนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ” (Economic Determinism) หรือ “เศรษฐกิจกำหนด” อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่า “เงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง” จากจุดนี้เองทำให้ข้อสรุปของแนวคิดที่มองลักษณะด้านเดียวว่า “กฎหมาย (ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน) เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด (ฝ่ายเดียว) โดยเศรษฐกิจ” ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปราะบางหรือจุดอ่อนของกลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์
1.2.2 กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตนหรือกฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง
ความคิดนี้เป็นที่เชื่อยอมรับในหมู่ของพวกที่มีความคิดแบบสังคมนิยม (ซึ่งเป็นข้อสรุปค่อนข้างแข็งกร้าว) บทกวีสำคัญของนาย “ภูติ” ที่ว่า “…ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร้เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น…” ซึ่งเป็นบทกวีที่คุ้นหูต่อบุคคลหรือนักกฎหมายที่สนใจแนวคิดแบบสังคมนิยม และน่าเชื่อถือว่ามีบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ยึดมั่นอย่างจริงจัง ในข้อสรุปหรือบทกวีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามมิได้มีการสืบค้นหาความหมาย หรือพิสูจน์ความชอบธรรมของข้อสรุปนี้อย่างจริงจัง
การที่กลุ่มมาร์กซิสต์ ได้สรุปจากถ้อยคำของ มาร์ก ที่กล่าวสั้นๆ ในเชิงข้อสังเกตหรือวิจารณ์กฎหมายของฝ่ายนายทุน ทำให้เกิดข้อสรุปทางทฤษฎีกฎหมายจากนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ทั่วไปว่า “กฎหมาย คือ เครื่องมือกดขี่ทางชนชั้นหรือกฎหมายเป็นเพียงการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของชนชั้นปกครองมิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงร่วม หรือเจตจำนงทั่วไปของประชาชน” กฎหมายในลักษณะเช่นนี้ คือ ผลผลิตหรือเครื่องมือของฝ่ายปกครอง ซึ่งล้วนถูกประทับตราแห่งชนชั้นผู้ปกครองสังคมทั้งสิ้น อุดมการณ์เช่นนี้จึงมีปัญหาว่ากฎหมายจะมีบทบาทรับใช้ใครหรือมีเนื้อหาอย่างไร ในทรรศนะคติของ มาร์ก จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ
1. ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฎหมายก็ออกกฎหมายเพื่อชนชั้นนั้น
2. เงื่อนไขทางเศรษฐกิจนั้นเป็นเช่นใดหรืออีกนัยหนึ่งระบบเศรษฐกิจในขณะนั้นเป็นระบบอะไร
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตนักทฤษฎีกฎหมายของรัสเซีย อาทิ P.I. Stucka, Eugene Pashukanis กล่าวยืนยันบทบาทของกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือปกป้องผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือเป็นกลไกเพื่อการข่มขู่บังคับและสร้างความแปลกแยกต่อชีวิตในสังคม ท่าทีและข้อสรุปเช่นนี้ต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงพลิกผันไปในยุคสตาลิน (Stalin) ที่หันมาเน้นบทบาทของกฎหมายอย่างเข้มข้นอีกครั้งในทางการเมือง “ในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อการลงโทษหรือถอนรากถอนโคนผู้เป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติกฎหมาย”
แนวคิดของ มาร์ก ในช่วงแรก ๆ ของการก่อตัว (ค.ศ.1956) กลับถูกต่อต้านคัดค้านอย่างมากจากรัฐสังคมนิยมอีกแห่งหนึ่ง คือ ประเทศจีน ซึ่งยืนยันว่านโยบายของพรรค (มิใช่เจตจำนงของคนทั่วไป) คือ “วิญญาณของกฎหมาย” (Policy is the soul of Law) แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายของจีนยังคงยึดติดกับข้อสรุปเดิม ๆ ของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ที่มองกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ไร้คุณค่าศักดิ์ศรีใด ๆ โดยมีการสรรเสริญแซ่ซ้องภาวะการไม่มีกฎหมาย (Law lessness) กันอย่างมาก หลังจาก เหมา เจ๋อ ตุง (ค.ศ.1893 – 1976) ได้เสียชีวิตและการหมดอำนาจของกลุ่มผู้นำ บทบาทของกฎหมายได้รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศจีน ในยุคสมัย เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้าง “ระบบกฎหมายสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีน” โดยเริ่มมีความเชื่อว่าระบบกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอาจช่วยปกป้องมิให้เกิดเหตุอันสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมได้ ตามแนวคิดของมาร์กซิสต์
พัฒนาการทางกฎหมายหรือความผันผวนของการตีความบทบาทของกฎหมายในค่ายสังคมนิยม ที่เริ่มจากภาพลักษณ์ของกฎหมายในเชิงลบและเปลี่ยนมาในเชิงบวกมากขึ้น คือ การยอมรับคุณค่าทางกฎหมายหรือเน้นการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้ในทางทฤษฎีจะได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับคุณค่าหรือบทบาทของกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติกลไกบริหารของรัฐสังคมนิยมจะผูกมัดตัวเองกับแนวคิดใน “เชิงหลักนิติธรรมแบบสังคมนิยม” (Socialist Legality) เพียงใด เนื่องจากปัญหาเรื่องความเป็นเผด็จการหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสังคมนิยม เช่น ประเทศจีน พม่า เป็นต้น ดังมีรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐสังคมนิยม จากองค์การนิรโทษกรรมสากล ที่มีการเรียกร้องให้ใช้หลัก “การปกครองแบบนิติรัฐ” (Legal State) กับ “การปกครองแบบนิติธรรม” (The Rule of Law) อยู่ทุกปี
1.2.3 ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย (Withering away) และสูญสิ้นไป
ประเด็นข้อสรุปนี้ ความจริงเป็นเรื่องของการคาดการณ์ในอนาคตที่มี “แนวความคิดแบบอภิปรัชญาในเชิงศาสนา” อยู่มาก ในแง่ที่คล้ายกับการให้คำมั่นสัญญาหรือการยืนยันต่อภาวะที่คล้ายสมบูรณภาพของสังคมอุดมคติของ มาร์ก ในอนาคต ที่โลกจะอยู่กันอย่างสันติสุข มีแต่ความเป็นภารดรภาพระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง มีแต่ความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง จนไม่ต้องมีการปกครองแบ่งแยกระหว่างการเป็นผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง ไม่ต้องมีรัฐในลักษณะกลไกของการข่มขู่บังคับให้คนต้องอยู่ในระเบียบและไม่มีกฎหมายที่ออกมาควบคุมสังคม จะทำให้สังคมคอมมิวนิสต์มีความสมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย (Withering away) และสูญสิ้นไป
สังคม society หมายถึง 在 บทที่ 11 สังคมมนุษย (Human Society) 的相關結果
สุดา ภิรมย แก ว (2544 : 67) กล าวว า สังคม หมายถึง กลุ มคนมากกว าสองคน. ขึ้นไปมาอยู รวมกันเป นระยะเวลานานในขอบเขต สมาชิกประกอบด วยคนทุกเพศ ทุกวัย ซึ่ง ... ... <看更多>
สังคม society หมายถึง 在 society แปลว่าอะไร ดูความหมาย ตัวอย่างประโยค หมายความว่า ... 的相關結果
society, (โซไซ'อิที) n. สมาคม, มิตรไม่ตรีจิต, ความเป็นมิตร. adj. เกี่ยวกับสังคมชั้นสูง, Syn. group · high society, สังคมชั้นสูง ... ... <看更多>
สังคม society หมายถึง 在 สังคม - วิกิพีเดีย 的相關結果
สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ... ... <看更多>