Ep.60 - " มรรค 8 ภาษาคน"
.
ถ้าคนพูดเรื่องมรรคนะ
แค่พูดก็หลับแล้ว
ได้ยินมรรคปุ๊บ
“มาแล้ว”
“มาอีก 8 ตัว”
.
จริง ๆ
ไม่ได้ยากเย็น
อะไรขนาดนั้นเลย
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
.
ทุกข์คือมันทนไม่ได้
ต้องเปลี่ยนแปลงสภาพไป
มันต้องเปลี่ยนแปลง
อะไรบางอย่างแล้ว
.
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
มี ’ทุกข์’ ปุ๊บ
ไปหาเหตุของมัน
“คุณไปทำอะไรมาล่ะ?”
“คุณถึงทุกข์แบบนี้”
นี่คือ ‘สมุทัย’
พอรู้สาเหตุแล้ว
โอเค..
“แล้วคุณต้องการยังไงล่ะ”
.
นี่คือ ‘นิโรธ’
นิโรธไม่ได้หมายความว่านิพพาน
ต้องแบบบรรลุเท่านั้น
พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า
ทุกข์ สมุทัย นิพพาน มรรค
ท่านบอก
“ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”
.
นิโรธก็คือ
คุณมีทุกข์อะไร
คุณอยากดับในสิ่งนั้น
นั่นคือนิโรธ
นั่นคือการตั้งเป้าหมาย
นั่นคือ goal
.
มรรค คือ วิธี
ซึ่งวิธีในการดับทุกข์
พระพุทธเจ้าให้ไว้
8 step
8 step แบบหยาบ ๆ นะ
ไม่ใช่ละเอียดนะ
ละเอียดนี่ต้องลงลึกกันอีก
.
อย่างแรกเลย
‘สัมมาทิฏฐิ’
สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ
ความเห็นชอบก็คือ
เรารู้แล้ว
เราจะเอาสิ่งนี้
เราจะหมดทุกข์กับเรื่องนี้
.
เราจะเลิกทุกข์
กับเรื่องความจน
ความเจ็บป่วย
ถ้าสมมุติว่าเป็นความเจ็บป่วย
.
เรารู้เลยว่า
ทำไงไม่ให้เจ็บป่วย?
ออกกำลังกาย
กินของดีมีประโยชน์
.
เราต้องเห็นก่อน
ทิฎฐิ คือ ความเห็น
vision ต้องชัดเจนก่อนว่า
.
“เฮ้ย…”
“ฉันจะเอาสิ่งนี้แน่ ๆ”
แล้วหลังจากนั้น
ก็ไปหา step ที่สอง
‘สัมมาสังกัปปะ’
อันนี้สำคัญมาก
สัมมาสังกัปปะ
คือไปหาความคิดดี ๆ
มันคือไปหา mindset ที่ถูกต้องมา
.
เหมือนคนจะ live อย่างงี้
บอก “โห…
ฉันต้อง live
ฉันต้องทำคลิปวิดิโอ
แต่เรามี mindset ที่ไม่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการทำ live
การทำวิดิโอ
.
คุณกลัวว่าคนจะด่าคนจะว่า
คุณต้องไปหา mindset
ที่ถูกต้องว่า
การออกมาทำออนไลน์
การออกมาทำอย่างนี้อย่างนั้น
มันไม่น่าอาย
จริง ๆ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
.
ต่อไป step ต่อมา
มันก็คือ
‘สัมมาวาจา’
มันก็คือต้องสื่อสารกับตัวเอง
สื่อสารว่าเราเอาแน่
สิ่งนี้เราเอาแน่
สื่อสารกับตัวเองว่า
ยังไงเราก็จะไปทางนี้แน่นอน
เราจะ live แน่นอน
เราจะออกกำลังกายแน่นอน
เราจะกินของดีมีประโยชน์แน่นอน
.
แล้วสื่อสารกับคนอื่นด้วย
นี่คือสัมมาวาจา
นี่คือ communication
สื่อสารกับคนอื่นคือยังไง
คนที่หยิบยื่นบางอย่าง
ที่คุ้นเคยมาให้เรา
เช่น
เราบอกว่าตอนนี้
เราอยากที่จะมี
สุขภาพที่ดี
แต่เพื่อนคนนึง
มันชอบชวนกินไอติม
ตลอดเวลา
.
เราก็ต้องกล้าบอกว่า
“เฮ้ย...ไม่กินละ”
“เราอยากมีสุขภาพร่างกายที่ดี”
นี่คือสัมมาวาจา
ต้องสื่อสาร
.
แล้วมันจะไป step ที่ 4
คือ ‘สัมมากัมมันตะ’
คุณจะต้องลงมือทำ
ในสิ่งที่คุณตั้งใจปรารถนาด้วย
กัมมันตะอย่างเดียวไม่พอ
.
ตั้งใจจริง ๆ นะ
คุณจะต้องมี
‘สัมมาอาชีวะ’
ทำอะไร
คุณจะต้องแลกเปลี่ยนชอบ
ไม่กระทบ
ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
ไม่โกงเขา
ไม่หลอกลวงเขา
สัมมาอาชีวะคือ
เลี้ยงชีพชอบ
เลี้ยงชีพคือการแลกเปลี่ยนไง
คุณต้องไม่โกงอะ
ชั่งตวงวัด
มันต้องชัดเจน
ถูกปะ?
.
มันมิจฉาตัวนึงปุ๊บ
มันพังหมด
พอสัมมาอาชีวะเสร็จปุ๊บ
อยู่ใน way นั้น
.
นั่นคือ
‘สัมมาวายามะ’
คือเพียรพยายาม
ทำ ไม่เลิก
ไม่สำเร็จไม่เลิก
แล้วก็สัมมาสติ
วัดผลด้วยว่าสิ่งที่เรา
ตั้งแต่เราตั้ง vision
ตั้งแต่เรามี mindset ที่ถูกต้อง
ตั้งแต่เราสื่อสาร
ตั้งแต่เราลงมือทำ
.
ตั้งแต่เราแลกเปลี่ยนมาเนี่ย
ทำมาขนาดนี้แล้วเนี่ย
กี่วันกี่เดือนแล้วเนี่ย
มันเกิดผลยังไงบ้าง
นั่นคือสัมมาสติ
.
สุดท้าย
ไอ้ 7 อย่างที่ว่ามา
‘สัมมาสมาธิ’
ตั้งมั่นนะ
ไม่สำเร็จไม่เลิกนะ
โฟกัสนะ
อย่าวอกแวกนะ
เนี่ย…
คือมรรค 8
กับทุกเรื่อง ใช้ได้หมด
.
มันคือเรื่องธรรมดา
ที่กูรูที่ไหนเขาก็พูดกัน
พระพุทธเจ้าท่านพูดไว้หมดแล้ว
เราตั้งเป้าหมาย
เราก็ไปให้สุด ก็แค่นั้น
.
มรรค 8 เนี่ย
ข้อสำคัญเนี่ย
อยู่ 2 ข้อ
ข้อแรก กับข้อสุดท้าย
ถ้าคุณเป้าหมายชัดเจน
แล้วคุณตั้งมั่นไม่เลิก
ที่เหลือมันเกิดเองนะ
.
ธรรมะเนี่ย
เป็นสิ่งที่เรียบง่ายสุด ๆ
แต่ถูกภาษาบาลี ถูกอะไรก็ไม่รู้
ทำให้มันดูยาก ดูไกล
พูดเรื่องมรรคเป็นไง?
โอ้โห…
หาวใส่หน้าผมเลยอะ
.
แต่ความจริงแล้ว
มันอยู่ในทุกสภาวะของจิตนะ
จะเดินทางไปไหน
นู่นนี่นั่น
.
มรรค 8 เกิดตลอดนะจ๊ะ
เนี่ยอย่างจะกินกาแฟ
เข้ามาเดินในร้านเนี่ย
ผมคิดมาตั้งแต่บ้านละ
ผมจะกินกาแฟ
ใช่ปะ?
.
mindset ที่ถูกต้องคือ
ผมจะกินกาแฟ
ให้อร่อย
กาแฟมีประโยชน์
นี่ mindset
หลอก ๆ ตัวเองนะ
กาแฟมีประโยชน์
.
มาสื่อสาร
มาบอกบาริสต้าไง
มาบอกว่า
“เฮ้ย...ฉันจะกินกาแฟ”
.
การที่เดินมา
นี่คือสัมมากัมมันตะ
ต้องอุตส่าห์เดินทางมาร้านกาแฟ
นี่คือได้ลงมือทำแล้ว
ใช่ปะ?
.
‘แลกเปลี่ยนชอบ’
เขายื่นกาแฟให้เรา
เท่าไหร่
เราก็ยื่นตังค์ให้เขาไป
ถูกปะ?
.
นี่คือแลกเปลี่ยนชอบ
สัมมาอาชีวะ
ความเพียรพยายาม
ก็เดินทางมา
พยายามมั้ยล่ะ?
.
‘สัมมาสติ’
เราก็ต้องวัดผลดู
เป้าหมายที่เราตั้ง
การกินกาแฟเนี่ย
มันคุ้มมั้ย
กับการที่เราออกจากบ้านมา
แล้วมาได้กินกาแฟมีความสุข
พอมั้ย?
.
ถ้าพอ ก็ถูกต้อง
ตัวสุดท้าย
‘สัมมาสมาธิ’
ตั้งมั่นกับกาแฟแก้วนี้ไว้
กินไปอย่าให้หก
………………………………………
คือทุกอย่าง
มันอยู่ในชีวิตประจำวันหมด
ธรรมะคืออะไร?
.
บางคนบอก
ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
โอเค..
ถูกต้องส่วนนึง
แต่ธรรมะมี 2 ส่วนนะ
ธรรมชาติ
กับธรรมคุณ
.
ธรรมชาติ
ติคือสิ่งที่เกิดเอง
ต้นไม้ใบหญ้า
ภูเขา คน
นี่เกิดเอง
.
แต่ธรรมคุณคือสิ่งที่ต้องปฏิบัติ
มันคือธรรมะในส่วน value
.
ธรรมะมัน 2 ความหมายนะ
ถ้าเกิดว่าคุณมีธรรมชาติ
แต่คุณไม่มีธรรมคุณ
นี่คุณไม่เต็มคนนะ
#ผู้กองเบนซ์
ปล. ถ้าเกิดว่ามีธรรมชาติ แต่ไม่มีธรรมคุณ นี่คุณไม่เต็มคน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
*ติดต่องานวิทยากร,อบรมสัมมนา,สนับสนุนช่อง โทร 094-449-9464 (คุณจี้)
ช่องยูทูป : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
blockdit : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
IG : capt.benz
Line OA : @ captbenz
twitter : @ captbenz
「สัมมาวายามะ 4」的推薦目錄:
- 關於สัมมาวายามะ 4 在 Capt.Benz Facebook 的最讚貼文
- 關於สัมมาวายามะ 4 在 Capt.Benz Facebook 的最佳貼文
- 關於สัมมาวายามะ 4 在 พี่แชมป์ น้องปาน Facebook 的精選貼文
- 關於สัมมาวายามะ 4 在 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ (1) : อริยมรรคมีองค์ 8 ตอน ... - YouTube 的評價
- 關於สัมมาวายามะ 4 在 ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)... - ห้องเรียนภาษาไทยออนไลน์ 的評價
- 關於สัมมาวายามะ 4 在 หวยย้อนหลังปี 66 - V2.2.7 的評價
- 關於สัมมาวายามะ 4 在 Pin on Buddhawajana - Pinterest 的評價
สัมมาวายามะ 4 在 Capt.Benz Facebook 的最佳貼文
:: "หัวใจเศรษฐี" กับความจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตผม ::
.
.
ในหัวใจเศรษฐีหรือที่เรียกแบบเต็มยศว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ทั้ง 4 ข้อ
คือ อุ อา กะ สะ
อุฏฐานะสัมปะทา - หาเงินได้
อารักขะสัมปะทา - ใช้เงินฉลาด
กัลยาณะมิตตะตา - สามารถเรื่องคน
สะมะชีวิตา - ดำรงตนสมฐานะ
ผมมีข้อเดียวคือ “อุ”
.
ว่าด้วยรากศัพท์
ทิฏฐ เป็นคำเดียวกันกับคำว่า ทิฏฐิ หรือ ความเห็น
ในที่นี้หมายถึง ความเห็นแจ้ง เห็นจริง ทัศนคติ
ไม่ได้หมายถึงความสามารถในการมองเห็นด้วยลูกตา
และไม่ได้หมายถึงความเห็น ในความหมายของการแสดงความคิดเห็นหรือ comment
มันคือการเห็นในลักษณะของวิสัยทัศน์ หรือ vision
ธัมมิก คือ ธรรมะ แปลว่า สิ่งที่…
อัตถะ แปลว่า ประโยชน์
จริงๆ แล้ว เราจะเรียก ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ เฉยๆ ก็ได้
เพราะคำว่าอัตถะ แปลว่า ประโยชน์ อยู่แล้ว ไม่ต้องเขียนซ้อน
แต่ก็ช่างมันเถอะ จะเรียกยังไงก็ได้ ขอแค่รู้ว่ามันคืออะไรก็ใช้ได้
รวมความแล้ว ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง สิ่งที่ต้องมีความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับมัน ชีวิตถึงจะดีขึ้น
มันคือ standard ที่คุณต้องมีให้ครบทั้ง 4 ข้อ
ขาดข้อใดข้อหนึ่งไป ไม่สามารถทำให้คุณหลุดพ้นจากความตกต่ำได้
.
ทำไมผมถึงบอกว่าผมมี “อุ” ข้อเดียว
นั่นก็เพราะว่าผมหาเงินเก่งอย่างเดียวจริงๆ
แต่อีก 3 ข้อที่เหลือนี่แทบจะไม่มีเลย
และนั่นทำให้ผมไม่ได้เป็นคนที่มีอิสรภาพเรื่องเงินจริงๆ สักที
แม้ว่าจะตั้งใจทำธุรกิจ ทำได้ดี และสร้างเงินจากมันได้มาก
แต่วิกฤตเรื่องเงินก็วนเวียนเข้ามาเกิดกับผมอยู่เสมอ
.
ถ้าคุณเป็นคนที่หาเงินเก่ง แต่ไม่รวยซักที
ไม่ต้องห่วง คุณมีผมเป็นเพื่อน
.
.
ผมเริ่มมีเงินมากขึ้นจากการทำสติ๊กเกอร์ไลน์ขาย
ทุกครั้งที่มีรายได้มากขึ้น
ผมจะมีความสามารถพิเศษในการมีรายจ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
ย้ำว่า ทุกครั้ง
พูดอย่างไม่อาย
รายจ่ายพวกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นรายจ่ายที่ผมพยายามหาเหตุผลดีๆ มาอธิบายให้ตัวเองเชื่อว่ามันคือสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมี
มือถือใหม่ … จำเป็นเพราะมือถือเก่ามันตกรุ่น แม้ทุกอย่างยังใช้ได้ดีไม่มีอะไรพัง
แต่ … คือมันตกรุ่น ไม่ดีหรอก มันต้องเปลี่ยน
โนตบุคใหม่ … จำเป็นเพราะผมต้องวาดสติ๊กเกอร์ไลน์
มันไม่ได้วาดบนกระดาษ มันต้องวาดบนคอม มันต้องใช้คอมใหม่ที่แรงกว่า
คอมเครื่องเก่าที่เคยช่วยผมสร้างชีวิตนั้นแก่เกินไปแล้ว ถึงเวลาต้องพัก
ถามว่าความไม่แรงของมันรบกวนหรือเป็นอุปสรรคกับการทำงานเหรอ ก็ไม่
แต่ … คือมันตกรุ่น มันไม่ดีหรอก ต้องเปลี่ยน
รถคันใหม่ … จำเป็นมากๆ เพราะผมเป็นนายตำรวจ จะให้นั่งแต่รถบัสสวัสดิการของหน่วยมันไม่งาม
ไม่สมเกียรติ ไม่สมศักดิ์ศรีนายตำรวจจบจากโรงเรียนนายร้อย
ดาวเต็มบ่าแล้ว ต้องมีรถขับ
ซึ่งสิ่งที่บัดซบไปมากกว่านั้น ...
ความฉลาดมากทางการเงินของผมทำให้ผมซื้อทุกอย่างที่พูดถึงไป แบบ “ผ่อน” ทั้งหมด
อันไหน 0% 10 เดือนได้ ก็จัด
อันไหนที่มันต้องดาวน์ ก็เน้นดาวน์น้อยผ่อนนาน
ฉลาดจะตาย … แทนที่จะเสียเงินเป็นก้อนๆ
ค่อยๆ ผ่อนดีกว่า ยังไงก็มีรายได้จากสติ๊กเกอร์ไลน์เข้ามาทุกเดือนอยู่แล้ว
แถมมีเงินก้อนเอาไปใช้ทำ “สิ่งที่อยากทำ” อื่นๆ อีกด้วย
.
แน่นอนครับ สิ่งที่อยากทำอื่นๆ นั้นย่อมหนีไม่พ้นกิน ดื่ม เที่ยว เล่น
ช่วงที่ผมทำสติ๊กเกอร์ไลน์นั้นเป็นช่วงที่ผมปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่ค่อยได้ออกไปไหนไกลจากฐานมาก
ตู้เย็นของฐานจึงไม่เคยขาดเบียร์
นอกตู้เย็นก็มีรอแช่อยู่อีกหลายสิบถาด
ทำงานครบ 30 วัน ได้กลับบ้าน 10 วัน
ก็นั่งเครื่องแทนนั่งรถบัสหลวง
ช่วงพัก 10 วัน อยู่บ้านไม่ได้ทำอะไรนอกจากเล่นเกม
ในเมื่อมีเงินแล้ว ก็ซื้อไอเท็มพิเศษเติมสิ จะมัวเก็บเลเวลอยู่ทำไม
.
หายนะมันมาเกิด
ก็ตอนที่รายได้จากสติ๊กเกอร์ไลน์ที่ผมคาดการณ์ไว้ มันไม่เป็นไปตามคาดนี่แหล่ะครับ
จะด้วยเพราะมีคนวาดสติ๊กเกอร์ไลน์ขายเยอะขึ้น คู่แข่งเยอะขึ้น ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น
หรือด้วยเพราะความลดลงของกระแส ก็ไม่อาจทราบได้
รายได้ของสติ๊กเกอร์ไลน์ที่ผมเคยทำได้เดือนละแสน มันค่อยๆลดลงมาเหลือแค่หลักหมื่น
และตกมาอยู่ในระดับเดือนละไม่กี่พันบาทราวๆ เดือนที่ 5-6 หน้าตาเฉย
ของที่ผ่อนไว้เป็นไงครับ?
ของกระจิ๊บยิบย่อยไม่เท่าไหร่
แต่รถนี่ ถึงขนาดต้องปล่อยให้ไฟแนนซ์มาเอาคืนไป
ดีที่ผมไม่ใช่คนขี้อวด
ไม่เคยโพสต์รูปรถลง Facebook
คนถึงไม่ค่อยรู้เรื่องนี้
.
จาก “อุ อา กะ สะ” ในย่อหน้าแรก
ที่ผมบอกไปว่ามีอย่างเดียวคือ “อุ” คุณคงจะเห็นภาพแล้ว
หาเงินได้ครับ
แต่ใช้เงินโง่บัดซบ
คนรอบตัวก็มีแต่นักรบ จน เครียด กินเหล้า
ของเก่าๆ ผมก็หาเรื่องซื้อใหม่เกือบทุกอย่าง
“อา กะ สะ” ที่ควรมาพร้อม “อุ” นี่ไม่มีเลย
.
.
มนุษย์ทุกคนปรารถนาจะพ้นทุกข์
และ “ทุกข์” คือจุดเริ่มต้นของทุกการพัฒนาตัวเอง
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบอริยสัจ 4
และสิ่งแรกที่ทรงค้นพบก่อนก็คือ ทุกข์
โดยศัพท์แล้ว
"ทุกข์" แปลว่า ทนอยู่ไม่ได้
การที่เรารู้สึกว่าเราอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
นั่นเป็นเพราะเรากำลังทนไม่ได้กับบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นทั้งกับตัวเราและสิ่งรอบข้าง
พระพุทธองค์ทรงพ้นจากทุกข์
ด้วยการค้นหาสาเหตุของมัน บาลีเรียกการค้นหานี่ว่า สมุทัย
เมื่อค้นหาเจอแล้ว หากหยุดอยู่แค่นั้นจะหาประโยชน์อะไรไม่ได้
พระองค์จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ต่อไปให้ได้ว่า คู่ตรงข้ามกับทุกข์ที่ควรจะไปให้ถึงคืออะไร ความพ้นจากทุกข์ (นิโรธ) ที่ว่านั้นคืออะไร
และที่สำคัญที่สุด …
How to (มรรค) หรือวิธีการที่จะทำให้ไปถึงจุดที่เรียกว่าการพ้นทุกข์ได้จริงๆ นั้น
มี step ขั้นตอนแบบไหน ต้องเริ่มจากไหนและไปสิ้นสุดที่ตรงไหน
.
การค้นพบหลักธรรมที่เรียบง่ายแต่ยิ่งใหญ่นี้
ไม่ใช่แค่การค้นพบแล้วจบ
แต่พระองค์ได้แตกแยกจำแนกวิธีการหรือ How to ออกไปอีกเป็นจำนวนมาก
ไม่ใช่เพียงเพื่อให้คนพ้นทุกข์ในวิถีแห่งทางธรรม
แต่ยังช่วยให้ผู้คนพ้นทุกข์ในวิถีแห่งทางโลกด้วย
มรรค 8 คือ How to 8 ขั้นตอน
ที่ทรงแนะนำให้ทุกคนเริ่มแก้ปัญหาทุกอย่างจากความเห็นที่ถูกตรง (สัมมาทิฏฐิ)
ไปจนถึง Mindset ที่ถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ) และสิ้นสุดที่ความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหา (สัมมาสมาธิ)
.
ผมเชื่อว่าท่านที่อ่านหนังสือเล่มนี้ ล้วนแล้วแต่อยากประสบความสำเร็จ
ฉะนั้น หากทุกข์ของท่านคือความไม่สำเร็จ
หน้าที่แรกของท่านคือการยอมรับสาเหตุของความไม่สำเร็จนั้น ณ ตั้งแต่ตอนนี้
ยอมรับว่าท่านเคยโทษ บ่น อ้าง แต่ และรับผิดชอบบางสิ่งบางอย่างไม่เต็มที่มาก่อน
ยอมรับว่าท่านเคยยึดติด คิดลบ กล่าวโทษ ขี้เกียจ เจ้าไอเดีย ลังเลและกลัวมาก่อน
ยอมรับความกระจอกที่เคยมีมาก่อนหน้า
แล้วรีบปล่อยวาง ให้อภัยตัวเองที่เคยผิดพลาดมาก่อนหน้านี้ซะ
อย่าไปจมกับสมุทัยของท่านนานเกิน มันไม่เกิดประโยชน์
.
ประโยชน์จะเริ่มเกิด เมื่อท่านเริ่มมองไปที่นิโรธ
ตั้งเป้าหมายที่จะถึงมัน
แล้วหามรรคที่เหมาะสมกับเรื่องนั้นๆ มาปฏิบัติตาม
.
หากผมจะเรียกการประสบความสำเร็จในทางโลกของท่านแบบง่ายๆ ว่า ความเป็นเศรษฐี
หัวใจเศรษฐี ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์" ก็เปรียบเสมือน "สัมมาทิฏฐิฝ่ายโลก"
เป็นจุดเริ่มต้นของมรรค หนทาง How to ที่จะพาท่านมายืนอยู่ ณ จุดปล่อยตัวที่ถูกต้อง
โปรดอย่าลืมว่า คำว่า ทิฏฐ มีความหมายเดียวกันกับคำว่า ทิฏฐิ
หัวใจเศรษฐีจึงคือความเห็นถูกเห็นตรง 4 ข้อแรก ที่ท่านจะต้องเริ่มน้อมนำเข้ามาใส่ตัวเสียตั้งแต่วันนี้
ปลูกฝังลงไปในตัวท่านเองให้ได้ตั้งแต่ตอนนี้
เพื่อความเป็นเศรษฐี เพื่อความเป็นสุข เพื่อความอยู่ในสถานะที่พ้นทุกข์ตามวามหมายของชาวโลก
และที่สำคัญ … มันยั่งยืน
.
อย่าตั้งหน้าตั้งตาที่จะหาเงินให้มากๆ เพียงอย่างเดียว
เหมือนกับที่ผมเคยพลาดมาแล้ว
จงเรียนรู้ที่จะใช้เงินให้ฉลาดขึ้น
ตั้งสติในการคบคนให้มากขึ้น
และที่สำคัญ ใช้ชีวิตให้สมเหตุสมผลมากขึ้น
อ่านต่อ ได้ที่ https://2read.digital/book.php?id=172
.
#ผู้กองเบนซ์
ปล. มรรค 8 ประกอบด้วย
- สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก (Right Vision)
- สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดที่ถูก (Right Mindset)
- สัมมาวาจา คือ การสื่อสารที่ชัดเจน (Right Communication)
- สัมมากัมมันตะ คือ การลงมือทำ (Right Action)
- สัมมาอาชีวะ คือ การแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม (Right Exchange)
- สัมมาวายามะ คือ ความเพียร (Right Effort)
- สัมมาสติ คือ การสำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์ วัดผล (Right Analysis)
- สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งมั่น (Right Concentration)
สัมมาวายามะ 4 在 พี่แชมป์ น้องปาน Facebook 的精選貼文
วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตร หมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นในวันนี้
สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีกว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2557 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8)
ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ
สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น
กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด
cr.www.dmc.tv
สัมมาวายามะ 4 在 ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)... - ห้องเรียนภาษาไทยออนไลน์ 的推薦與評價
ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ในมรรคมีองค์ ๘ เรียกว่า ปธาน ๔ ประกอบด้วย ๑. สังวรปธาน หมายถึง เพียรระวังหรือเพียรป้องกัน คือ ... <看更多>
สัมมาวายามะ 4 在 หวยย้อนหลังปี 66 - V2.2.7 的推薦與評價
-คู่หูดาวรุ่งไทยยามาฮ่าคว้าท็อปไฟว์ศึกดาวรุ่งชิงแชมป์ยุโรปสนาม4 ... จุดความร้อนไทย623จุด;. หวยย้อนหลังปี 66 สัมมาวายามะพยายามชอบคือเพียรละชั่วบำเพ็ญดี 。 ... <看更多>
สัมมาวายามะ 4 在 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ (1) : อริยมรรคมีองค์ 8 ตอน ... - YouTube 的推薦與評價
"""..โลกนี้ขับเคลื่อนด้วยตัณหา ขับเคลื่อนด้วยความอยาก แต่การปฏิบัติธรรม การศึกษาปฏิบัติธรรมขับเคลื่อนด้วยฉันทะ ความพึงพอใจ ... ... <看更多>