สรุปเรื่อง จักรวรรดิอังกฤษ เครือจักรภพ ฉบับสมบูรณ์ /โดย ลงทุนแมน
ภาษาอังกฤษก้าวขึ้นมาเป็นภาษาสากลของโลก
ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่มากที่สุด
โดยหนึ่งในเบื้องหลังที่สำคัญที่สุด ก็คือ “จักรวรรดิอังกฤษ”
จากประเทศเกาะเล็ก ๆ สุดขอบทวีปยุโรป เติบโตขึ้นจนสามารถครอบครองดินแดน
และสร้างอาณานิคมไว้ทั่วทุกมุมโลก จนได้ฉายาว่า จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน
ในยุครุ่งเรืองที่สุด จักรวรรดิอังกฤษครอบครองพื้นที่มหาศาลถึง 1 ใน 4 ของโลก
ซึ่งนับเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ..
แล้วถ้าอำนาจของจักรวรรดิอังกฤษยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ตอนนี้จะใหญ่ขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่น มาฟังความเป็นมาของจักรวรรดิแห่งนี้กันสักนิด..
ดินแดนอังกฤษตั้งอยู่ในหมู่เกาะที่อยู่ริมสุดด้านตะวันตกของทวีปยุโรป
โดยมีช่องแคบกั้นระหว่างหมู่เกาะแห่งนี้กับผืนแผ่นดินใหญ่
การเป็นเกาะโดดเดี่ยวที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับใคร ถึงแม้จะมีข้อเสียในเรื่องการเดินทางค้าขาย
แต่กลับมีข้อดีอย่างมาก เพราะในระหว่างที่ดินแดนอื่น ๆ ในยุโรปที่มีพรมแดนติดต่อกัน
เกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นสงครามนับครั้งไม่ถ้วน
ความเป็นเกาะ ที่เป็นเหมือนป้อมปราการตามธรรมชาติ ทำให้อังกฤษมีความได้เปรียบในการตั้งรับเมื่อมีศึกสงคราม และเมื่อมีความสูญเสียน้อย ก็มีทรัพยากรที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ “การเดินเรือ”
ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางทะเลเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติกที่มีลมแรง ทำให้ชาวอังกฤษค่อย ๆ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินเรือ ทั้งเพื่อการประมง การติดต่อค้าขายกับประเทศต่าง ๆ และเพื่อการป้องกันประเทศ
สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้อังกฤษสามารถพัฒนากองเรือรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจทางกองทัพเรือของยุโรป
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 สเปนกับโปรตุเกสได้นำหน้าอังกฤษในเรื่องของการสำรวจดินแดนนอกทวีปยุโรป เป็นช่วงที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือรับจ้างของจักรวรรดิสเปน
ได้เดินทางมาถึงทวีปใหม่ แต่คิดว่าดินแดนตรงนี้คือทวีปเอเชีย
พอเรื่องเป็นแบบนี้จึงทำให้พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ ได้แต่งตั้ง จอห์น แคบอต
นักสำรวจชาวอิตาลี ให้เดินทางออกสำรวจเส้นทางไปยังเอเชียเช่นเดียวกันกับสเปน
โดยเดินเรือไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก
จอห์น แคบอต ได้เดินทางถึงทวีปใหม่ ซึ่งก็คือแคนาดาในปัจจุบัน
แต่เขาเข้าใจผิดว่าดินแดนแคนาดานี้คือทวีปเอเชียเช่นเดียวกันกับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
แต่พออเมริโก เวสปุชชี นักสำรวจชาวอิตาลี ได้เดินทางตามเส้นทางเดินเรือของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส มายังทวีปเอเชียอีกครั้ง เขาก็ได้พบกับความจริงว่า แผ่นดินตรงนี้ไม่ใช่ทวีปเอเชียแต่อย่างใด แต่เป็นดินแดนแห่งใหม่ จึงทำให้เขาตั้งชื่อทวีปนี้ว่า “อเมริกา” ตามชื่อของเขา..
หลังจากนั้น ชาติมหาอำนาจจากตะวันตกต่างก็ยกกองเรือมายังทวีปอเมริกา
และเริ่มที่จะตั้งอาณานิคมของตัวเองในทวีปใหม่แห่งนี้
จักรวรรดิอังกฤษภายใต้การปกครองของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ก็ได้ตั้งอาณานิคมของตน
ในฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาตอนเหนือ ตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17
ด้วยความที่ดินแดนใหม่ในทวีปอเมริกา มีหลายประเทศในยุโรปพยายามจะเข้าไปยึดครอง
จึงทำให้เกิดการสู้รบกันบ่อยครั้งเพื่อที่จะแย่งชิงดินแดนและทรัพยากรธรรมชาติ
แต่เหตุการณ์ครั้งสำคัญที่สุด กลับกลายเป็นการสู้รบระหว่างประชาชนในอาณานิคม กับเจ้าอาณานิคมเอง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 ระหว่างจักรวรรดิอังกฤษ กับดินแดนในอาณานิคมบริติชอเมริกาที่ต้องการประกาศเอกราช
ผลของสงครามทำให้จักรวรรดิอังกฤษเป็นฝ่ายแพ้ และทำให้บริติชอเมริกาได้รับเอกราชในปี 1776 เกิดเป็นประเทศใหม่ที่ชื่อว่า “สหรัฐอเมริกา”
ถ้าเราคิดว่าจักรวรรดิอังกฤษต้องอ่อนแอลงเพราะสูญเสียดินแดนในอเมริกา เรื่องราวทั้งหมดจะไม่ใช่แบบนั้น
จากการที่ต้องสูญเสียบริติชอเมริกา จุดนี้เองได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมในดินแดนอื่นของจักรวรรดิอังกฤษอย่างเต็มตัว
ด้วยความที่จักรวรรดิอังกฤษมีกองเรือที่สามารถเดินทางรอบโลกได้แล้ว จึงทำให้พวกเขาออกเดินทางเพื่อล่าอาณานิคมแห่งใหม่เรื่อยมา
ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จนถึงในช่วงปี 1920 ซึ่งเป็นช่วงที่จักรวรรดิอังกฤษมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด
มากถึงขนาดที่ในสมัยนั้นจักรวรรดิอังกฤษสามารถครอบครองพื้นที่ได้มากกว่า 30 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นพื้นที่เกือบ 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั่วโลก
มากกว่าพื้นที่ของสหภาพโซเวียตที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1917 ที่มีพื้นที่ประมาณ 22 ล้านตารางกิโลเมตร จึงทำให้จักรวรรดิอังกฤษในช่วงนั้นมีพื้นที่ในการปกครองมากที่สุดในโลก..
ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงปี 1920 ดินแดนที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษทั้งหมดรวมกันแล้ว
จะมีจำนวนประชากรมากถึง 440 ล้านคน ซึ่งมากกว่าสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น
ที่มีประชากร 110 ล้านคน ถึง 4 เท่า
อังกฤษในฐานะประเทศเจ้าอาณานิคมจะเข้าไปวางรากฐานให้ประเทศอาณานิคมมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการเมือง, การศึกษา, โครงสร้างพื้นฐาน, ศาสนา และเศรษฐกิจ
จึงทำให้ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษบางส่วนสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาต่อยอด จนพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเองจนเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, แคนาดา หรือสิงคโปร์
เรื่องราวก็ดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
ที่แต่ละประเทศต่างได้รับความเสียหายมากมายในช่วงสงคราม
ด้วยความที่อังกฤษเป็นคู่ขัดแย้งหลักในมหาสงครามทั้ง 2 ครั้ง
จึงทำให้ประเทศในอาณานิคมต้องมีความเกี่ยวข้องกับสงครามในที่สุด
โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศในอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษในภูมิภาคเอเชีย ได้ถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้าครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นอาณานิคมช่องแคบ, บริติชมาลายา, ฮ่องกง หรือพม่า ส่งผลให้จักรวรรดิอังกฤษเริ่มเสียอำนาจในการปกครองประเทศอาณานิคมดังกล่าว
ถึงแม้ว่าผลสรุปจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 จักรวรรดิอังกฤษจะเป็นผู้ชนะสงคราม
แต่มหาสงครามทั้ง 2 ครั้ง ก็ทำให้จักรวรรดิอังกฤษได้รับความเสียหายมากมายนับไม่ถ้วน
จุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง ที่ทำให้ศูนย์กลางของชาติมหาอำนาจได้ถูกเปลี่ยนมือจากจักรวรรดิอังกฤษไปสู่สหรัฐอเมริกา
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ได้มีการเคลื่อนไหวของประชาชนในชาติอาณานิคมมากมายทั่วโลกเพื่อที่จะเรียกร้องเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, สเปน, โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้จักรวรรดิอังกฤษเริ่มกระบวนการการปลดปล่อยอาณานิคมและได้ก่อตั้ง The Commonwealth of Nations หรือ เครือจักรภพแห่งประชาชาติ โดยไม่ได้บังคับอดีตประเทศในอาณานิคมว่าต้องเข้าเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติแต่อย่างใด
ประเทศที่เป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติจะไม่มีข้อผูกพันใด ๆ กับสหราชอาณาจักร
โดยจุดมุ่งหมายของการก่อตั้งเครือจักรภพแห่งประชาชาตินี้คือ การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ, หลักประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ, ความเท่าเทียมทางเพศ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเครือจักรภพแห่งประชาชาติอยู่ 54 ประเทศทั่วโลกในทุกทวีป
เช่น มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินเดีย, ปากีสถาน, แอฟริกาใต้ และอีก 49 ประเทศทั่วโลก
และในประเทศสมาชิก 54 ประเทศนี้ มี 16 ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกันกับสหราชอาณาจักร ซึ่งก็คือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้แก่ ออสเตรเลีย, แคนาดา, นิวซีแลนด์, ปาปัวนิวกินี, จาเมกา และอีก 10 ประเทศ ซึ่งไม่รวมสหราชอาณาจักร
คำถามที่น่าสนใจก็คือ
สมมติถ้าเครือจักรภพแห่งประชาชาติเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งทุกรัฐและทุกดินแดนจะถูกปกครองโดยอังกฤษ ประเทศนี้มันจะใหญ่แค่ไหน ?
คำตอบก็คือ ประเทศ เครือจักรภพแห่งประชาชาติ จะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
โดยจะมีพื้นที่รวมกันกว่า 29 ล้านตารางกิโลเมตร
มากกว่ารัสเซียที่มีพื้นที่ 17 ล้านตารางกิโลเมตร เกือบ 2 เท่า
ขนาดพื้นที่ของเครือจักรภพแห่งประชาชาติน้อยกว่าในช่วงที่เป็นจักรวรรดิอังกฤษ
ก็เพราะว่ามีบางประเทศที่เคยเป็นดินแดนในอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ แต่พอได้เอกราชแล้วก็ไม่ได้เข้าไปเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติ เช่น เมียนมาและอียิปต์
นอกเหนือจากขนาดพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล มีดินแดนตั้งอยู่ในทุกทวีปแล้ว
ประเทศนี้จะมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
ด้วยประชากรกว่า 2,400 ล้านคน จะทำให้มีประชากรมากที่สุดในโลก มากกว่าประเทศจีนที่มีประชากร 1,400 ล้านคน และยังมีวัยแรงงานที่พร้อมจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศอย่างมหาศาล
นอกเหนือจากแรงงานแล้ว ประเทศแห่งนี้จะกลายเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรน้ำมันที่มีในแคนาดา ไนจีเรีย และมาเลเซีย
ที่จะทำให้ประเทศนี้มีปริมาณน้ำมันดิบสำรองมากกว่า 200 ล้านบาร์เรล
ซึ่งจะทำให้ประเทศนี้มีน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเวเนซุเอลาและซาอุดีอาระเบีย
แต่ถ้าใครคิดว่าประเทศนี้จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก คำตอบจะไม่เป็นอย่างนั้น
เพราะเครือจักรภพแห่งประชาชาติจะมีขนาด GDP โดยประมาณอยู่ที่ 351 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาที่ 668 ล้านล้านบาท และจีนที่ 447 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแค่การสมมติเท่านั้น
เนื่องจากยุคล่าอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษได้สิ้นสุดลงแล้ว
ถ้าจะให้ถือว่าเป็นอย่างทางการจริง ๆ
ก็สิ้นสุดนับตั้งแต่อังกฤษได้คืนเกาะฮ่องกงให้แก่จีนในปี 1997
การสิ้นสุดลงของจักรวรรดิอังกฤษ ส่งผลให้ประเทศในอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ มีความเป็นประเทศเท่าเทียมกัน กับเจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักรทุกประการ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.historic-uk.com/HistoryUK/HistoryofBritain/Timeline-Of-The-British-Empire/
-https://praenapa.wordpress.com
-https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
-https://www.bbc.com/thai/international-43796090
-https://thecommonwealth.org/about-us/charter
-https://www.eia.gov/international/data/world/petroleum-and-other-liquids/
สิงคโปร์ ศาสนา 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน กำลังมีสัดส่วนลดลงเรื่อย ๆ /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า จากการจัดอันดับ 10 มหาเศรษฐีชาวมาเลเซียที่มีทรัพย์สินมากที่สุดโดยนิตยสาร Forbes
จะเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนถึง 9 คน
ปี 2020 ประเทศมาเลเซียมีจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 29.7 ล้านคน
- 69.6% คือจำนวนประชากรภูมิบุตร หรือชาวมาเลเซียเชื้อสายมาเลย์ที่นับถือศาสนาอิสลาม
- 22.6% คือจำนวนชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน
- 7.8% คือจำนวนชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียและอื่น ๆ
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของประเทศ
สร้างผลประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของมาเลเซียมากมาย
แต่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ก็ยังคงมีจำนวนประชากรที่เป็นส่วนน้อยของประเทศ
และสัดส่วนนี้ก็กำลังจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ..
เรื่องราวนี้น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนกับมาเลเซีย ต้องย้อนกลับไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 15
ซึ่งเป็นช่วงแรกของการเดินทางมายังดินแดนแห่งนี้ของชาวจีน
จากการที่ราชวงศ์หมิงจากจีนและอาณาจักรมะละกามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
จึงทำให้มีชาวจีนมากมายเดินทางมาค้าขายที่ดินแดนแห่งนี้เรื่อยมา
ความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พ่อค้าชาวจีนบางกลุ่มได้ตัดสินใจตั้งรกรากที่นี่
และได้มีการแต่งงานข้ามเชื้อชาติกับชาวมาเลย์
โดยลูกหลานของชาวจีนที่แต่งงานกับชาวมาเลย์จะถูกเรียกว่า “เปอรานากัน”
ซึ่งในภาษามาเลย์แปลว่า “เกิดที่นี่”
ชาวเปอรานากันคือกลุ่มลูกครึ่งมาเลย์-จีนกลุ่มแรก ที่สร้างวัฒนธรรมแบบผสมผสาน
และเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายของมาเลเซีย
การเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือช่วงศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
ซึ่งตรงกับช่วงประเทศจีนเกิดความวุ่นวายมากมาย ทั้งการปฏิวัติซินไฮ่ สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์
ด้วยปัญหามากมายของประเทศจีน จึงทำให้ชาวจีนจำนวนมากอพยพไปยังต่างประเทศ
ด้วยความต้องการชีวิตที่ดีกว่า โดยจุดหมายยอดนิยมในสมัยนั้นก็คือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ซึ่งในขณะนั้น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ยังถูกปกครองโดยเจ้าอาณานิคมชาวตะวันตก โดยประเทศที่ถูกปกครองโดยจักรวรรดิอังกฤษในสมัยนั้นจะถูกวางรากฐานทางด้านการเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างดี
ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษต้องการแรงงานจำนวนมากเพื่อที่จะทำงานในเหมืองแร่และการเกษตร
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้บริติชมาลายา หรือมาเลเซียในปัจจุบัน
กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายที่ชาวจีนนิยมย้ายมาตั้งถิ่นฐาน
ชาวจีนในมาเลเซียและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค มีความเหมือนกันตรงที่พวกเขาอพยพมาแค่เสื่อผืนหมอนใบ ไม่มีอะไรติดตัวมาเลย นอกจากความหวังในการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ จึงทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลมีความขยันขันแข็งและหนักเอาเบาสู้
ด้วยความที่ไม่เกี่ยงงาน จึงทำให้คนจีนได้เป็นลูกจ้างในงานที่คนมาเลเซียเดิมไม่อยากทำ
ไม่ว่าจะเป็นงานในหมืองแร่ สวนยางพารา สวนปาล์ม หรือตำแหน่งที่อยู่หน้างานเป็นหลัก
เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้คนจีนสามารถขยับตัวมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าหรือนักธุรกิจ
ที่ทำมาค้าขายจนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนกลายเป็นเชื้อชาติที่มีฐานะมากที่สุดในมาเลเซีย
ข้อมูลจาก MIROnline ระบุว่าชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนจะมีรายได้เฉลี่ยมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ ในมาเลเซีย
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมีความแตกต่างกับชาวไทยเชื้อสายจีนตรงที่ ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนยังคงตั้งชื่อลูกหลานของตัวเองเป็นชื่อภาษาจีน และจะใช้ภาษาจีนในการสื่อสารกับชาวจีนด้วยกันเอง
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนมีความได้เปรียบทางด้านภาษาที่สามารถสื่อสารทั้งภาษาจีน, ภาษามาเลย์ และภาษาอังกฤษ จึงทำให้สามารถได้รับโอกาสจากบริษัทข้ามชาติและการค้าขายระหว่างประเทศมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
ซึ่งไม่เหมือนกับชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะมีชื่อเป็นภาษาไทยและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
จากเชื้อชาติที่เริ่มต้นจากศูนย์ กลับกลายมาเป็นเชื้อชาติที่สามารถวางรากฐาน
ให้กับเศรษฐกิจของมาเลเซียมากมาย..
ไม่ว่าจะเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดและมีมูลค่ามากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียอย่าง Maybank ก็ถูกก็ตั้งโดยชาวจีนชื่อว่าคุณ Khoo Teck Puat
แอปพลิเคชันที่คนไทยใช้สั่งอาหารออนไลน์อย่าง Grab ก็ถูกก่อตั้งโดยคุณ Anthony Tan
ซึ่งเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เช่นกัน
จากข้อมูลของ Department of Statistics Malaysia ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลมาเลเซีย
ในปี 2010 จากจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 26.0 ล้านคน
มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 6.4 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 24.6%
ปี 2020 จากจำนวนประชากรที่ถือสัญชาติมาเลย์ทั้งหมด 29.7 ล้านคน
มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 6.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 22.6%
ถึงแม้ว่าประชากรเชื้อสายจีนจะเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากรมาเลเซียทั้งหมดแล้ว ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนกำลังมีสัดส่วนลดน้อยลงเรื่อย ๆ
ภายในปี 2030 สัดส่วนของคนเชื้อสายจีน ถูกคาดว่าจะเหลือเพียง 19.6%
สาเหตุหนึ่งมาจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง แต่สาเหตุสำคัญมาจากการอพยพออกนอกประเทศของคนเชื้อสายจีน โดยรัฐบาลมาเลเซียคาดการณ์ว่า
มีคนเชื้อสายจีนอพยพออกนอกประเทศไม่ต่ำกว่า 300,000 คน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
สาเหตุหลักของการอพยพออกนอกประเทศมากขนาดนี้ เกิดจากความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติในมาเลเซียที่มีมาเป็นเวลานาน
จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง คือเหตุการณ์ในปี 1969 ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนและมาเลย์
เหตุการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการที่พรรคพันธมิตรฝ่ายค้าน ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน และมีนโยบายเน้นความเสมอภาคของทุกเชื้อชาติในประเทศ สามารถคว้าที่นั่งในสภาได้ถึง 38 ที่นั่ง ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ส่งผลให้สมาชิกพรรคพันธมิตรฝ่ายค้านและชาวจีนออกมาเดินขบวนแสดงความดีใจเป็นจำนวนมาก
การเดินขบวนของชาวจีนในครั้งนั้น สร้างความไม่พอใจให้กับชาวมาเลย์จำนวนมาก จึงทำให้พรรค UMNO ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียได้มีการตอบโต้โดยการรวบรวมชาวมาเลย์มาเดินขบวนเช่นกัน
กระแสความเกลียดชังต่อชาวจีนที่ได้ถูกจุดมาสักระยะหนึ่งแล้วจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และที่สำคัญที่สุดก็คือความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างชาวจีนและมาเลย์
สุดท้ายปัญหานี้ก็ได้ระเบิดขึ้น ส่งผลให้ชาวมาเลย์มากมายออกมาเดินขบวน จนกลายเป็นการปะทะกันระหว่างชาวมาเลย์และชาวจีน
เหตุการณ์ดังกล่าวกินเวลานานถึง 2 เดือน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน
และมีผู้บาดเจ็บนับไม่ถ้วน ยังไม่รวมความเสียหายในด้านทรัพย์สินอีกมากมาย
หลังจากการปะทะที่นองเลือดได้สิ้นสุดลง รัฐบาลมาเลเซียที่นำโดยพรรค UMNO ได้ประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่หรือ “นโยบายภูมิบุตร” เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจในประเทศ
ลดฐานะความยากจนของคนเชื้อสายมาเลย์ และเพิ่มความสามัคคีของคนในชาติ
นโยบายดังกล่าวจะสนับสนุนเฉพาะชาวมาเลเซียที่สืบเชื้อสายมาเลย์ และนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น โดยจะได้สิทธิพิเศษทั้งด้านการศึกษา การสงวนที่ดินบางส่วน ตำแหน่งข้าราชการบางตำแหน่ง และสิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย
นโยบายดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนและอินเดียจำนวนมาก
โดยถูกมองว่าเป็นนโยบายที่เอาเปรียบคนเชื้อชาติอื่น ๆ มีความเป็นสองมาตรฐาน
ทำให้ชาวจีนและอินเดีย กลายเป็นประชากรชนชั้นสองของประเทศไปในที่สุด
แม้ปัจจุบันนี้ฐานะของคนมาเลย์จะดีขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งเป็นผลสำเร็จของนโยบายภูมิบุตร
แต่นโยบายดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไป โดยไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลง..
ด้วยความเหลื่อมล้ำนี้เอง ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนจึงเริ่มอพยพไปยังประเทศอื่น ๆ
เพื่อมองหาความเสมอภาคทางเชื้อชาติ และโอกาสทางธุรกิจที่ดีกว่า
ชาวจีนที่มีความสามารถ ส่วนหนึ่งเลือกที่จะไปทำงานที่สิงคโปร์เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของวัฒนธรรมของชาวจีนทั้งในมาเลเซียและสิงคโปร์ รองลงมาก็จะเป็นออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
ตัวอย่างที่เราพอจะเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น บริษัท Grab Holdings Inc. หรือ Grab ที่ได้ย้ายสำนักงานจากมาเลเซียไปตั้งที่สิงคโปร์ หรือ คุณ James Wan ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง The Conjuring ที่ได้อพยพไปยังออสเตรเลีย และถือสัญชาติออสเตรเลียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
การอพยพไปยังประเทศอื่นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาวะสมองไหล ที่จะทำให้สูญเสียแรงงานที่มีทักษะสูง และมีประสิทธิภาพที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐบาลมาเลเซียพยายามแก้ปัญหานี้โดยจัดตั้งโครงการ TalentCorp เพื่อที่จะดึงดูดชาวมาเลเซียที่เป็นแรงงานทักษะสูงในต่างประเทศให้กลับมาทำงานที่บ้านเกิด
เว็บไซต์ Malay Mail ระบุว่าโครงการดังกล่าวสามารถดึงดูดชาวมาเลเซียได้เพียง 3,000 คน เท่านั้น
จากจำนวนแรงงานมาเลเซียที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก
ตราบใดที่นโยบายภูมิบุตรยังคงมีอยู่ต่อไป ก็เป็นไปได้ว่า
มาเลเซียกำลังสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศไปเรื่อย ๆ
ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียจะเป็นอย่างไร เมื่อกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจกำลังลดน้อยลงทุกที..
นโยบายภูมิบุตรของมาเลเซียจึงนับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะนโยบายนี้เกิดขึ้นมา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น สร้างความเหลื่อมล้ำครั้งใหม่ ขึ้นมาเสียเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/ctheme&menu_id=L0pheU43NWJwRWVSZklWdzQ4TlhUUT09&bul_id=MDMxdHZjWTk1SjFzTzNkRXYzcVZjdz09
-https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/cthemeByCat&cat=155&bul_id=OVByWjg5YkQ3MWFZRTN5bDJiaEVhZz09&menu_id=L0pheU43NWJwRWVSZklWdzQ4TlhUUT09
-https://www.forbes.com/real-time-billionaires/#7f178efb3d78
-https://www.mironline.ca/malaysias-chinese-population-leaving-droves/
-http://km-ir.arts.tu.ac.th/files/original/d110118c633ff3969f6916f77579af60f4db8275.pdf
-http://factsanddetails.com/southeast-asia/Malaysia/sub5_4c/entry-3645.html
-https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/falling-malaysian-chinese-population-worrying-analysts
-http://www.aseanthai.net/sub_convert.php?nid=4300
-http://aseancities.net/?p=800&lang=th
-https://www.bbc.com/news/world-asia-22610210
-https://www.malaysianbar.org.my/article/news/legal-and-general-news/general-news/the-tragedy-of-may-13-1969
-https://www.malaymail.com/news/what-you-think/2020/07/06/brain-drain-in-malaysia-why-malaysians-dont-want-to-come-back-home-rueben-a/1881901
สิงคโปร์ ศาสนา 在 Brand Inside - คนสิงคโปร์ 20% ไม่นับถือศาสนา... - Facebook 的推薦與評價
คนสิงคโปร์ 20% ไม่นับถือศาสนา ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ อายุ 15-24 ปี . สิงคโปร์ มีการทำสำรวจสำมะโนประชากรทุกๆ 10 ปี ครั้งล่าสุดคือปี 2020... ... <看更多>
สิงคโปร์ ศาสนา 在 พุทธศาสนาในสิงคโปร์ - YouTube 的推薦與評價
แม้ในเมืองไทยขณะนี้จะมีข่าวไม่ดีที่ส่งผลกระทบต่อวงการสงฆ์ แต่หากพูดถึงแก่นแท้ของพุทธ ศาสนา อย่างคำสอนต่าง ๆ ก็ยังถือเป็นหลักให้เกิดความศรัทธา ... ... <看更多>