รู้จัก G7 ขั้วมหาอำนาจโลก ที่กำลัง แลกหมัดกับจีน /โดย ลงทุนแมน
1,228 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของ 7 ประเทศ ในกลุ่ม G7 รวมกัน
2,620 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของทุกประเทศในโลกรวมกัน
เท่ากับว่าขนาดเศรษฐกิจของเพียงแค่ 7 ประเทศในกลุ่มนี้
คิดเป็น “เกือบครึ่ง” ของขนาดเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา
ทั้ง ๆ ที่มีประชากรรวมกันแค่ประมาณ 773 ล้านคน หรือประมาณ 10% ของประชากรโลกเท่านั้น
กลุ่ม G7 มีประเทศอะไรบ้าง เกิดขึ้นมาอย่างไร
แล้วทำไมถึงบอกว่ากำลังแลกหมัดกับจีน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
แคนาดา
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
ญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
นี่คือรายชื่อ 7 ประเทศ ที่รวมตัวกันเป็น “Group of Seven” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า กลุ่ม G7
ซึ่งถ้าเราลองไปเปิดดูตัวเลข GDP ของแต่ละประเทศ ทั้ง 7 รายชื่อนี้ จะอยู่ใน Top 10 ของประเทศที่ GDP มากสุดในโลก
และถ้าเอา GDP ของ 7 ประเทศมาบวกรวมกัน
ก็จะคิดเป็น 47% ของขนาดเศรษฐกิจโลก
นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กันทุกประเทศแล้ว
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในประเทศเหล่านี้
ก็ล้วนแล้วแต่อยู่แนวหน้าของโลกทั้งสิ้น
พูดง่าย ๆ ว่า นี่คือสมาคมประเทศร่ำรวย อย่างแท้จริง..
แล้วประเทศเหล่านี้ มารวมตัวกันได้อย่างไร ?
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1973
ช่วงนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นคือ วิกฤติการณ์น้ำมัน หรือ “Oil Shock”
สรุปเหตุการณ์แบบคร่าว ๆ ก็คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ไปมีปัญหากับกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ปัญหาที่ว่าก็คือ 4 ประเทศนี้ ไปสนับสนุนอิสราเอล ที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มชาติอาหรับ ที่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่ม OPEC จึงระงับการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอล ทำให้ประเทศเหล่านี้เจอวิกฤติขาดแคลนน้ำมัน และราคาน้ำมันพุ่งสูงหลายเท่าตัวในช่วงเวลาไม่นาน ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ ไปจนถึงระดับทวีป และระดับโลก เป็นปัญหาลูกโซ่ตามมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เริ่มลุกลามเป็นวงกว้างไปในระดับโลก
ทำให้ 6 ประเทศมหาอำนาจในตอนนั้น
ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี (สมัยนั้นยังเป็น เยอรมนีตะวันตก), ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอิตาลี
จัดการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1975
เพื่อหาทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปข้างหน้า
และตกลงกันว่า “เราจะมาร่วมหารือกันแบบนี้ทุก ๆ ปีต่อจากนี้”
อีกหนึ่งปีต่อมา มีอีกชาติมหาอำนาจเข้าร่วมกลุ่ม นั่นก็คือ แคนาดา
เป็นอันสรุปว่า Group of Seven หรือ G7 ครบองค์ประชุมตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา..
ในช่วงแรก ตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม ยังเป็นเพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แต่หลัง ๆ มาเรื่องที่ประชุมกันแต่ละปี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น
ยังรวมไปถึงเรื่องความมั่นคงทางการทหาร, โรคระบาด, สุขอนามัย, การศึกษา ไปจนถึงปัญหาความยากจน และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นระดับโลกในแต่ละปี
ทำให้ต่อมา ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศ จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม
โดยในแต่ละปี กลุ่ม G7 ก็มักจะเชิญหลายประเทศนอกกลุ่ม และตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศอย่าง EU, World Bank และ IMF ให้มาเข้าร่วมการประชุม ตามวาระที่สำคัญของช่วงเวลานั้น
เช่น ในปี 2008 มีการเชิญตัวแทนประเทศในเอเชียอย่าง เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ให้เข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์เศรษฐกิจในเอเชีย
หรือในปี 2011 ที่มีการเชิญหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง กินี, ไนเจอร์, โกตดิวัวร์ และตูนิเซีย ให้มาร่วมพูดคุยเรื่องปัญหาความยากจนในแอฟริกา
และล่าสุด การประชุม G7 ในปีนี้ ก็เพิ่งจัดขึ้นเมื่อ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมาที่สหราชอาณาจักร
โดยสมาชิกในกลุ่มก็มีข้อตกลงร่วมกันในหลายเรื่อง อย่างเช่น
- ตกลงจะร่วมกันมอบวัคซีนอย่างน้อย 1,000 ล้านโดส ให้ประเทศรายได้ต่ำที่ต้องการวัคซีนเร่งด่วน
- เริ่มต้นผลักดันประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่ม ให้มีการเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อยุติปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีผ่านการนำบริษัทไปจดทะเบียนในประเทศที่เก็บภาษีอัตราต่ำ
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลต์สุดของการประชุมครั้งนี้
คือการเปิดตัวโครงการ “Build Back Better World” หรือ B3W
โครงการที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในกลุ่ม G7 ใช้เป็นคำประกาศกร้าวว่า
จะไม่ยอมให้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง “จีน”
ก้าวขึ้นมามีอิทธิพล หรือก้าวมาเป็นอีกขั้วมหาอำนาจโลกได้ง่าย ๆ
ก่อนหน้านี้เราได้ยินกันมาตลอด ว่าจีนมีโครงการ “Belt and Road Initiative” หรือ BRI
ซึ่งเป็นเหมือนการขยายอิทธิพลและสร้างพันธมิตรผ่านการไปร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมที่เคยรุ่งเรืองในอดีต จากตะวันออกของโลกคือจีน ไปสู่ฟากโลกตะวันตก
ส่วนโครงการ B3W ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร G7 ก็จะเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ตะวันตก ลากยาวไปตะวันออก
และ G7 เคลมว่า B3W ของพวกเขา พิเศษกว่า BRI ของจีน
เพราะของที่สร้างโดยการสนับสนุนของ G7 จะมีคุณภาพกว่า
มีกระบวนการสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า
ไม่มีทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วม
ไม่มีเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนความเท่าเทียม และที่สำคัญคือสนับสนุนโดยกลุ่มนิยมประชาธิปไตย อย่าง G7..
ขณะที่โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน
ก็โต้กลับมติประชุมของกลุ่ม G7 ทันทีว่า
ให้เลิกกล่าวอ้าง กล่าวหาจีนในเรื่องต่าง ๆ เสียที
และยังโต้กลับในทำนองที่ว่า “มันหมดยุคที่โลกถูกนำโดยบางกลุ่มประเทศไปแล้ว”
จะเห็นว่า 2 ขั้วอำนาจโลกในตอนนี้ กำลังปล่อยหมัดหนักแลกใส่กันไปมา อย่างไม่มีใครยอมใคร
เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายครองอำนาจโลกแต่เพียงผู้เดียวได้โดยง่าย
ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มมหาอำนาจโลกเดิมอย่าง G7
ที่ยังคงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และขนบธรรมเนียมโลกแบบเดิมที่ทั่วโลกคุ้นชินมาหลายทศวรรษ
ส่วนอีกฝ่ายคือจีน ที่เป็นประเทศคู่ค้าของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในกลุ่ม G7 เอง และขนาดเศรษฐกิจของจีนกำลังจะขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในเร็ว ๆ นี้
ในขณะเดียวกันจีนก็กำลังเดินหน้าท้าชิงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม
และเดินหน้าสร้างพันธมิตร สร้างอิทธิพลตามแผนที่วางไว้
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ในอดีต G7 เคยขยายเป็น G8 โดยอีกประเทศที่เพิ่มเข้ามาคือ รัสเซีย ที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 1997
แต่หลังจากที่รัสเซียทำการผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในปี 2014
ก็ทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือไม่พอใจ และไม่เชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมอีกเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
-https://www.g7uk.org/what-is-the-g7/
-https://en.wikipedia.org/wiki/1973_oil_crisis
-https://www.blockdit.com/posts/60c89d166ea44e0c5adf9455
-https://thestandard.co/g7-summit-summary/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Group_of_Seven
-https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2021/06/12/fact-sheet-president-biden-and-g7-leaders-launch-build-back-better-world-b3w-partnership/
-https://www.ndtv.com/world-news/small-groups-dont-rule-the-world-china-cautions-g7-2462751
สุขอนามัย คือ 在 อ้ายจง Facebook 的最佳貼文
สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ระบุ "สุขภาพและระบบสาธารณสุข คือ สิ่งชี้วัดความสุขประชาชนในประเทศ" ตอกย้ำหนึ่งในนโยบายสำคัญของจีนในเรื่องของสาธารณสุข สุขอนามัย การยกระดับคุณภาพชีวิตในจีน
.
โดยสีจิ้นผิงได้กล่าวถึงเรื่องนี้ระหว่างการลงพื้นที่มณฑลฝูเจี้ยน ตะวันออกของจีน เมื่อวันอังคาร 23 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ตามการรายงานข่าวจาก China Daily สื่อจีน
.
ต้องบอกว่า ระบบสาธารณสุขจีนกำลังได้รับการพัฒนาอย่างมาก เช่น
- การเพิ่มบุคลากร เพิ่มจำนวนสถานพยาบาล เครื่องมือทางการแพทย์
- ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองกับเขตชนบท อันรวมไปถึงเรื่องสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำ โดยเห็นได้จากหลายปีมานี้ จีนมีการปฏิรูปห้องน้ำให้มีอย่างเพียงพอและสะอาดถูกสุขลักษณะ หลังจากที่าจิ้นผิงเคยลงพื้นที่เขตชนบทจีนและพบเห็นหลายหมู่บ้านไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะเพียงพอ
- ปัญหาความปลอดภัยอาหารและปัญหาด้านโภชนาการ
- ปัญหาสุขภาพประชาชน อย่างยิ่งเรื่องจำนวนประชากรผู้มีภาวะอ้วนที่มีจำนวนมากในเด็กจีน และสภาวะมลพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ อย่างมลพิษทางอากาศ
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จีนและทั่วโลกประสบปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID19 จีนจึงยิ่งเดินหน้าพัฒนาสาธารณสุขและเทคโนโลยีการแพทย์อย่างหนัก
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
สุขอนามัย คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
“เวียนนา” ทำอย่างไร? ให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก 10 ปีซ้อน / โดย ลงทุนแมน
จากการจัดอันดับเมืองน่าอยู่ของบริษัทที่ปรึกษา Mercer จากทั้งหมด 231 เมืองทั่วโลก
กรุงเวียนนา เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย ครองตำแหน่งเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก
ในปี 2019 และครองตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2010
เท่ากับว่า เมืองที่มีประชากร 2 ล้านคนแห่งนี้ เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกมาเป็นเวลา 10 ปีซ้อน..
นอกจากบริษัทที่ปรึกษาด้านบริหารทรัพยากรบุคคลอย่าง Mercer แล้ว
สถาบันอย่าง The Economist ก็ได้มอบตำแหน่งเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกให้กับเวียนนาในปี 2019 ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่ทำให้เวียนนาเป็นเมือง “น่าอยู่” คืออะไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ก่อนอื่นมารู้จักประวัติของเวียนนากันสักนิด
กรุงเวียนนา หรือชื่อภาษาเยอรมันว่า “Wien” ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศออสเตรีย
มีแม่น้ำดานูบไหลผ่านกลางเมือง
กรุงเวียนนาเป็นศูนย์กลางของราชวงศ์ฮับส์บวร์กมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
ในศตวรรษที่ 18 ก็ขึ้นแท่นเป็นศูนย์กลางการปกครองที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของยุโรป
มีพระราชวังเชินบรุนน์ที่งามสง่า มีถนนหนทางโอ่อ่า อาคารประดับประดาสวยงาม
เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมโดยเฉพาะดนตรีคลาสสิก ได้รับฉายาว่า “นครหลวงแห่งการดนตรี”
คีตกวีชื่อดังระดับโลกทั้ง โยฮันน์ ชเตราสส์, โมซาร์ท, เบทโฮเฟิน
ล้วนมีช่วงชีวิตรุ่งโรจน์อยู่ในเมืองแห่งนี้
เวียนนายังคงเป็นศูนย์กลางต่อเนื่องถึงจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เวลานั้นตรงกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของยุโรป
เวียนนาก็ไม่ต่างกับเมืองใหญ่ๆ หลายแห่งของยุโรป มีการสร้างโรงงานมากมาย ดึงดูดแรงงานจากชนบทให้เข้ามาอยู่ในเมือง ประชากรของเวียนนาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมากกว่า 1 ล้านคน
ในช่วงทศวรรษ 1880s
ท้ายที่สุดก็นำมาสู่ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย..
นอกถนนวงแหวนที่ล้อมเขตเมืองเก่าที่สวยงาม เต็มไปด้วยอาคารที่อยู่อาศัยที่เสื่อมโทรม
ผู้คนแออัดยัดเยียด หลายแห่งไม่มีห้องน้ำ ยังไม่นับรวมผู้คนอีกมากมายที่อาศัยอยู่ในบ้านทั้งหมดส่งผลให้สุขอนามัยของชาวเวียนนาอยู่ในขั้นวิกฤติ เกิดการระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะ “วัณโรค”
ปัญหาดูจะย่ำแย่ลงไปอีก เมื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1918 พร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ผู้อพยพจากดินแดนอื่นๆ ของจักรวรรดิต่างหลั่งไหลมาอยู่กรุงเวียนนา และเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หรือ Great Depression ที่ทำให้ผู้คนว่างงาน
แต่ช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุด ก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ทำให้วิถีชีวิตผู้คนดีขึ้น
หลังจักรวรรดิล่มสลาย ออสเตรียกลายเป็นสาธารณรัฐ มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
โดยเริ่มให้สิทธิเลือกตั้งกับทุกคนรวมถึงผู้หญิง ไม่จำกัดเฉพาะชนชั้นสูงผู้ชายอีกต่อไป
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยได้ขึ้นมาเป็นเทศมนตรีแห่งกรุงเวียนนาในช่วงปี ค.ศ. 1918 - ค.ศ. 1934 และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองก็เริ่มได้รับการพัฒนาขึ้นทีละน้อย
อย่างแรกก็คือ การแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย..
คุณ Karl Seitz นายกเทศมนตรีแห่งกรุงเวียนนาระหว่างปี ค.ศ. 1923 - ค.ศ. 1934
เป็นผู้ผลักดันโครงการที่อยู่อาศัยที่เมืองเป็นผู้สนับสนุนค่าเช่า
โดยเมืองจะทำหน้าที่เป็นผู้สร้าง และเก็บค่าเช่าจากผู้คนในราคาถูก
คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 4% ของค่าครองชีพ
แต่เนื่องจากเมืองก็ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย จึงจำเป็นต้องหารายได้ด้วยการปฏิรูปภาษี
โดยเริ่มการปฏิรูปในปี ค.ศ. 1922 ด้วยการปรับขึ้นภาษีต่างๆ โดยเฉพาะภาษีที่ดิน และภาษีที่อยู่อาศัยสำหรับเอกชน
เมื่อเมืองมีรายได้มากขึ้น สวนทางกับภาคเอกชน ที่ไม่มีใครอยากซื้อที่ดินมาทำโครงการบ้าน เพราะทำไปก็ไม่คุ้ม ผลที่ได้ เมืองสามารถซื้อที่ดินว่างเปล่ามาเพื่อสร้างอะพาร์ตเมนต์สำหรับประชาชน ซึ่งถูกเรียกว่า “Gemeindebau”
แต่ Gemeindebau ก็ไม่ใช่อะพาร์ตเมนต์ที่สร้างแบบหยาบๆ มีการออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียวควบคู่ไปด้วย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้งศูนย์ดูแลเด็ก ห้องสมุด โรงยิม ร้านค้าสหกรณ์ สนามเด็กเล่น ซึ่งกลายเป็นชุมชนให้ผู้คนได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ท้ายที่สุด เมืองก็กลายมาเป็นผู้ครอบครองที่ดินมากที่สุดในเวียนนา โดยมีการสร้างอะพาร์ตเมนต์แบบ Gemeindebau กว่า 60,000 แห่งทั่วเมือง โดยอะพาร์ตเมนต์ที่ใหญ่ที่สุด คือ Karl Marx-Hof ซึ่งมีความยาวถึง 1.1 กิโลเมตร
เมื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของเมืองได้รับการแก้ไข ผู้คนมากมายสามารถมีที่อยู่โดยใช้เงินเพียงเล็กน้อย ปัญหาต่างๆ จึงเริ่มบรรเทาลง ทั้งปัญหาสุขอนามัย และอาชญากรรม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรียได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหรัฐอเมริกาในแผนการ Marshall ทำให้รัฐบาลมีเงินมาซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนที่เสียหายจากสงคราม และปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน โดยสร้างอะพาร์ตเมนต์แบบใหม่ที่สะดวกสบายมากขึ้นอีก และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ
เมื่อระบบรถราง (Tram) และรถไฟใต้ดินของเวียนนาที่สร้างมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19
เริ่มเก่าและเสื่อมสภาพลง จึงมีการปรับปรุงและขยายเส้นทางให้ครอบคลุมทั่วเมือง ในช่วงทศวรรษ 1970s เกิดเป็น Vienna U-Bahn ระบบรถไฟในเมือง
และ Vienna S-Bahn ระบบรถไฟชานเมือง เชื่อมระหว่างใจกลางเมือง กับเขตเมืองรอบๆ
ในปัจจุบัน เวียนนาและเขตปริมณฑล มีระบบรถไฟทั้ง U-Bahn และ S-Bahn
รวมกันเป็นระยะทางมากกว่า 700 กิโลเมตร และระบบรถรางเป็นระยะทางกว่า 170 กิโลเมตร
โดยค่าตั๋วเดินทางแบบรายปี มีราคาเพียง 365 ยูโร สามารถใช้กับระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองได้ทุกประเภททั้งรถไฟ รถราง และรถเมล์ ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะเป็นค่าใช้จ่ายวันละ 1 ยูโร หรือ 40 บาทต่อวัน
เมื่อเทียบกับ GDP ต่อหัวของชาวเวียนนาในปี 2019 ที่ 44,000 ยูโร
ค่าเดินทางจะมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของรายได้ด้วยซ้ำ..
ปัจจุบันเวียนนาจึงมีระบบขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมในราคาที่เอื้อมถึง มีพื้นที่สีเขียว มีพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และที่สำคัญ ประชาชนมี “บ้าน” ที่ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และมีค่าเช่าที่ไม่แพง
ปัจจุบันมีชาวเวียนนากว่า 60% อาศัยอยู่ในอะพาร์ตเมนต์ Gemeindebau ที่มีการออกแบบทันสมัยมากขึ้น มีการนำนวัตกรรมด้านประหยัดพลังงานมาใช้พัฒนาให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นไปอีก
โดยตัวแปรในการจัดอันดับเมืองน่าอยู่ของ Mercer ประกอบไปด้วย
ความมั่นคงทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงออก สุขอนามัย อาชญากรรม การศึกษา
ระบบขนส่งมวลชน พื้นที่สาธารณะ และที่อยู่อาศัย
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ คงได้คำตอบแล้วว่า
อะไรที่ทำให้เวียนนา “น่าอยู่” จนได้รับตำแหน่งอันดับ 1 ของโลกมาครอบครอง..
สำหรับกรุงเทพมหานคร จากการจัดอันดับเมืองน่าอยู่ของ Mercer อยู่ในอันดับที่ 133 จากทั้งหมด 231 เมืองทั่วโลก
ทุกคนรู้ว่ากรุงเทพฯ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนเป็นอันดับ 1 ของโลก
เป็นเมือง “น่าเที่ยว” ที่มีสถานที่สวยงามมากมาย มีอาหารอร่อย มีบริการที่ครบครันในราคาไม่แพง
แต่สำหรับความ “น่าอยู่” แล้ว
สิ่งรอบตัวคนกรุงเทพฯ เช่น ระบบขนส่งมวลชน การจราจร พื้นที่สีเขียว และทางเท้า คงจะเป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ ว่าทำไม กรุงเทพฯ ถึงเป็นเมืองน่าอยู่อันดับที่ 133 ของโลก..
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.mercer.com/newsroom/2019-quality-of-living-survey.html
-https://www.independent.co.uk/travel/news-and-advice/vienna-best-city-live-quality-life-ranking-mercer-australia-europe-a8820396.html
-https://www.wien.info/en/sightseeing/red-vienna/100-years-of-red-vienna
-https://ec.europa.eu/growth/tools-databases/regional-innovation-monitor/base-profile/vienna
-https://www.theguardian.com/world/2019/jul/09/vienna-euro-a-day-public-transport-berlin-365-annual-ticket
-เมืองน่าอยู่ที่รู้สึก, Little Thoughts
สุขอนามัย คือ 在 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 - อนามัยโพลเผย !! โควิดทำคนไทยกว่าร้อยละ ... 的推薦與評價
... วันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันล้างมือโลก (Global Hand Washing Day) โดยในปี 2565 คำขวัญวันล้างมือโลก คือ “รวมกันเป็นหนึ่งเพื่อสุขอนามัยของมือ : Unite ... ... <看更多>
สุขอนามัย คือ 在 Personal Hygiene สุขอนามัยส่วนตัว - YouTube 的推薦與評價
Personal Hygiene สุขอนามัย ส่วนตัว ... 1.4K views · 3 years ago ...more. CRA CHULABHORN Channel. ... <看更多>