เกมส์การเมืองกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อฐานอำนาจตนเอง
พรุ่งนี้วันที่ 10 กันยายน 2564 จะมีการลงมติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พุทธศักราช …. ในวาระที่ 3 ผมขออธิบายถึงเงื่อนไขการลงมติและเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
เงื่อนไขกระบวนการลงมติในวาระที่ 3
กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 256 ให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาและลงมติยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1. การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 “ขั้นรับหลักการ” ให้ใช้วิธีการเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภาซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
2. การพิจารณาในวาระที่ 2 “ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา” ซึ่งการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย
3. การพิจารณาวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ 15 วัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาวาระที่ 3 ต่อไป
4. การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 3 “ขั้นลงมติ” ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะออกให้ใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา โดยในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกันและมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
5. เมื่อลงมติในวาระที่ 3 ให้ผ่านไปแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธยเป็นไปตามมาตรา 81 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
6. ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระหรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการตามทูลเกล้าฯ ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการทูลเกล้าฯ ต่อไป
7. ก่อนนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยในการทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกทั้ง 2 สภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือสมาชิกทั้ง 2 สภารวมกัน แล้วแต่กรณีมีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานที่ตนเป็นสมาชิกหรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณีว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ส่งทูลเกล้าฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 255 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 256 (8) และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับเรื่องดังกล่าวส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญและให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันแต่วันที่ได้รับเรื่อง ในระหว่างพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนายกรัฐมนตรีจำนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยมิได้
ดังนั้นเงื่อนไขการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 3 “ขั้นลงมติ” คือ
1.ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย
2. ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะออกให้ใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา โดย
1) ในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และ
2) มีสมาชิกวุฒิสภาเห็นด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
สาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้เพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พุทธศักราช …. ที่จะลงมติในวาระที่ 3
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ 1 ใบ
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้ง หรือประกาศชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่
ในกรณีมีเหตุใด ๆ ที่ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่ถึง 100 คน ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่”
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 86 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 86 การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดำเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน จำนวนที่ได้รับให้ถือว่าเป็นจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน
(2) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนตาม (๑) ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้ 1 คน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
(3) จังหวัดใดมีราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน
(4) เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตาม (2) และ (3) แล้ว ถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตาม (3) มากที่สุดให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คน และให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณนั้นในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวน 400 คน
(5) จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีโดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน”
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 91 การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศแล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”
มาตรา 6 ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 83 มาตรา 86 และมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้มาใช้บังคับจนกว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ในระหว่างที่ยังมิให้นำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้มาใช้บังคับตามวรรค 1 ให้บทบัญญัติของมาตราดังกล่าวก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ตราขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัตินั้นยังคงนำมาใช้บังคับต่อไป
สรุปเนื้อหาสาระสำคัญที่แก้ไข คือ
1. จำนวน ส.ส. เดิม เขต 350 กับบัญชีรายชื่อ 150 แก้ไขเป็น เขต 400 กับบัญชีรายชื่อ 100
2.ใช้บัตรเลือกตั้งเดิม มี 1 ใบ แก้ไขเป็น 2 ใบ บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตกับบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
3.จากเดิมเมื่อได้ ส.ส.เขตเกินโควต้าจะไม่ได้รับการจัดสรร ส.ส.ในบัญชีรายชื่อ แก้ไข ได้ ส.ส. เขตเท่าใด ก็ยังได้รับการจัดสรรบัญชีรายชื่อตามคะแนนเสียง
ดังนั้นสรุปได้ว่า ลงมติผ่านหรือไม่ผ่าน ขึ้นอยู่กับ 3 ป. คือ ป.ประยุทธ์ ป. ประวิตร และ ป.ป๊อก (อนุพงษ์) ที่สั่งให้ สว. 250 คน หันซ้าย หันขวาได้ ว่าจะลงมติหรือไม่
ส ส เขต คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
“ข้อสังเกต เกี่ยวกับการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 13 ฉบับ”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
หลังจากที่สมาชิกรัฐสภาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ร่างเสร็จสิ้นในเวลา 23.25 น. วันที่ 24 มิถุนายน โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้นเป็นการนับคะแนน
โดยหลังจากใช้ระยะเวลาในการนับคะแนนนานกว่า 2 ชั่วโมง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้ประกาศต่อที่ประชุม ว่า กฎหมายกำหนดไว้ว่าการลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมดของสภา
ในปัจจุบัน รัฐสภามีสมาชิกที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่ 733 คน ดังนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ 367 เสียง วุฒิสมาชิก 1 ใน 3 คือ 84 คน
ร่างที่ 1 : พรรคพลังประชารัฐ 5 ประเด็น 13 มาตรา มติรับหลักการ 334 คะแนน เป็น ส.ส. 334 คะแนน ส.ว. 0 คะแนน ไม่รับหลักการ 199 คะแนน เป็น ส.ส. 71 คะแนน วุฒิสมาชิก 128 คะแนน งดออกเสียง 173 คะแนน เป็น ส.ส. 75 คะแนน วุฒิสมาชิก 98 คะแนน เท่ากับร่างนี้ไม่ผ่านกระบวนการ
ร่างที่ 2 : พรรคเพื่อไทย-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐาน มีมติรับหลักการ 399 คะแนน เป็น ส.ส. 393 คะแนน วุฒิสมาชิก 6 คะแนน ไม่รับหลักการ 136 คะแนน เป็น ส.ส. 8 คะแนน วุฒิสมาชิก 128 คะแนน งดออกเสียง 171 คะแนน เป็นส.ส. 79 คะแนน วุฒิสมาชิก 92 คะแนน เท่ากับร่างที่ 2 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 3 : พรรคเพื่อไทย-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ มีมติรับหลักการ 376 คะแนน เป็น ส.ส. 340 คะแนน วุฒิสมาชิก 36 คะแนน ไม่รับหลักการ 89 คะแนน งดออกเสียง 241 คะแนน เท่ากับร่างที่ 3 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 4 : พรรคเพื่อไทย-ที่มานายกรัฐมนตรี มีมติรับหลักการ 455 คะแนน เป็น ส.ส. 440 คะแนน วุฒิสมาชิก 15 คะแนน ไม่รับหลักการ 101 คะแนน งดออกเสียง 150 คะแนน เท่ากับร่างที่ 4 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 5 : พรรคเพื่อไทย-รื้อมรดกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีมติรับหลักการ 327 คะแนน เป็น ส.ส. 326 คะแนน วุฒิสมาชิก 1 คะแนน ไม่รับหลักการ 150 คะแนน งดออกเสียง 229 คะแนน เท่ากับร่างที่ 5 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 6 : พรรคภูมิใจไทย-ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 454 คะแนน เป็น ส.ส. 419 คะแนน วุฒิสมาชิก 35 คะแนน ไม่รับหลักการ 86 คะแนน งดออกเสียง 166 คะแนน เท่ากับ ไม่รับหลักการ
ร่างที่ 7 : พรรคภูมิใจไทย-รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 476 คะแนน เป็น ส.ส. 421 คะแนน วุฒิสมาชิก 55 คะแนน ไม่รับหลักการ 78 คะแนน งดออกเสียง 152 คะแนน เท่ากับร่างที่ 7 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 8 : พรรคประชาธิปัตย์-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 469 คะแนน เป็น ส.ส. 421 คะแนน วุฒิสมาชิก 48 คะแนน ไม่รับหลักการ 75 คะแนน งดออกเสียง 162 คะแนน เท่ากับร่างที่ 6 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 9 : พรรคประชาธิปัตย์-ตัดอำนาจ ส.ว.แก้รัฐธรรมนูญ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 415 คะแนน เป็น ส.ส. 400 คะแนน วุฒิสมาชิก 15 คะแนน ไม่รับหลักการ 102 คะแนน งดออกเสียง 189 คะแนน เท่ากับร่างที่ 9 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 10 : พรรคประชาธิปัตย์-แก้การตรวจสอบ ป.ป.ช. ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 431 คะแนน เป็น ส.ส. 398 คะแนน วุฒิสมาชิก 33 คะแนน ไม่รับหลักการ 97 คะแนน งดออกเสียง 178 คะแนน เท่ากับร่างที่ 10 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 11 : พรรคประขาธิปัตย์-ที่มานายกรัฐมนตรี ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 461 คะแนน เป็น ส.ส. 440 คะแนน วุฒิสมาชิก 21 คะแนน ไม่รับหลักการ 96 คะแนน งดออกเสียง 149 คะแนน เท่ากับร่างที่ 11 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 12 : พรรคประชาธิปัตย์-กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 457 คะแนน เป็นส.ส. 407 คะแนน วุฒิสมาชิก 50 คะแนน ไม่รับหลักการ 82 คะแนน งดออกเสียง 167 คะแนน เท่ากับร่างที่ 12 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ
ร่างที่ 13 : พรรคประชาธิปัตย์-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 552 คะแนน เป็น ส.ส. 342 คะแนน วุฒิสมาชิก 210 คะแนน ไม่รับหลักการ 24 คะแนน งดออกเสียง 130 คะแนน เท่ากับร่างที่ 13 คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง และได้เสียงจากวุฒิสมาชิกเกิน 1 ใน 3 ดังนั้น ร่างนี้จึงผ่านขั้นรับหลักการ
จากนั้นได้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่ … พ.ศ. … จำนวน 45 คน แบ่งเป็น ส.ว. 15 คน และ ส.ส. 30 คน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 8 คน พรรคพลังประชารัฐ 8 คน พรรคภูมิใจไทย 4 คน พรรคก้าวไกล 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คน พรรคประชาชาติ 1 คน และพรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน และจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ กมธ. หากผู้ใดมีความประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นใดก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อ กมธ.ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สภารับหลักการ
เมื่อพิจารณาสรุปการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เท่ากับร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอมา 13 ฉบับนั้น มีข้อพิจารณา ดังนี้
1. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่รับหลักการ เงื่อนไขจำนวนเกินกึ่งหนึ่ง แต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข การรับหลักการนั้น ไม่เสียงมีจำนวน ส.ว. เห็นด้วย 1 ใน 3
2. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ไม่รับหลักการ คือ เสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งและส.ว.ไม่ถึง 1 ใน 3
3. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมีการรับหลักการและเป็นไปตามเงื่อนไขเสียง ส.ว. มีเสียง ส.ว. เห็น 1 ใน 3
สรุปได้ว่า มีฉบับที่ 13 ผ่านเพียงฉบับเดียว
ข้อสังเกตเกี่ยวการผ่านพิจารณรารับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 13
กล่าวคือ ร่างที่ 13 : พรรคประชาธิปัตย์-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนี้
1. ร่างนี้ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
2.ร่างนี้พรรคการเมืองพรรคใหญ่ และพรรคการเมืองที่มีฐานคะแนนเสียงย่อมได้เปรียบ
3.ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับ 13 ที่เสนอ โดย ปชป.และพรรคร่วม คือ ภูมิใจไทยและขาติไทยพัฒนาสนับสนุนก็จริง แต่ก็เป็นการเสนอเข้าทางหรือเกมส์พรรคประชารัฐ ที่ต้องการให้ ส.ว. อยู่ที่เลือกนายกรัฐมนตรีได้ เมื่อยุบสภา คนของพรรคประขารัฐก็จะได้ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็คือ ประยุทธ์ ได้กลับมาอีก
4. เกมส์นี้เป็นการซื้อเวลาลดกระแส ทางการเมืองกับการรักษาคำพูด ว่าต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
5.เกมส์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามร่างฉบับที่ 13 พรรคที่เสียเปรียบ คือ พรรคเล็กและพรรคก้าวไกล เนื่องจากดูจากเขต แล้วไม่ค่อยได้ เมื่อแยกบัญชีรายชื่อกับ เขต เป็น 2 ใบ ทำให้ชัดเจนว่า จำนวน ส.ส. ลดแน่นอน เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ เกินโควต้า ถ้ายกเลิกโควต้า คือ ใช้บัตร 2 ใบ ส.ส.เขตก็ได้ บัญชีรายชื่อก็ได้
6. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ จะมีปัญหาในวาระ ที่ 3 ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ กล่าวคือ วาระที่ 2 เป็นขั้นพิจารณาเรียงรายมาตรา ให้ถือเสียงข้างมาก คือ ส.ส. หรือ ส.ว.ก็ได้รวมกันให้ได้ 375 เสียงขึ้นไป แต่หากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนเสนอความคิดเห็นด้วย จากนั้นรอ 15 วัน จึงเข้าวาระที่ 3 ไม่น่าจะมีปัญหา แต่จะมีปัญหา ในวาระที่ 3 เป็นขั้นสุดท้าย ตรงเงื่อไขพิเศษ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา คือ ส.ส.+ส.ว. ต้องได้เสียง 376 ขึ้นแต่มีเงื่อนไขพิเศษกำหนด ดังนี้
1) ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน
2)สมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ในวาระที่ 3 ปัญหาตรงเงื่อนไขพิเศษ 1) ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน ประเด็นนี้น่าจะมีปัญหาถ้าพรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก่ไขเพิ่มเติม
ส ส เขต คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
การเมืองท้องถิ่น อบจ. สามารถบ่งบอกการเมืองระดับชาติ
จากสรุปผลการเลือกตั้ง นายก อบจ. 2563 และข้อสังเกตุที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ซึ่งบุคคลที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับผู้สมัคร อบจ. และได้นายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
ภาคเหนือ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้
กำแพงเพชร = พปชร. เชียงใหม่ = พท.
เชียงราย = พท. น่าน = พท. นครสวรรค์ = พท. พะเยา = พปชร. พิจิตร = พท. พิษณุโลก = พปชร. แพร่ = พท. เพชรบูรณ์ = พปชร. แม่ฮ่องสอน = อิสระ ลำพูน = พท. ลำปาง = พท. สุโขทัย =ภจท. อุตรดิตถ์ = พท. อุทัยธานี = อิสระ
ภาคตะวันตก ได้นายก อบจ. ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. แบะเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้กาญจนบุรี = พท. ตาก =พปชร. ประจวบคีรีขันธ์ = ปชป. เพชรบุรี =พปชร. ราชบุรี = พปชร.
ภาคกลาง ได้ นายก อบจ.ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุนดังนี้ ชัยนาท = พปชร. นครนายก = อิสระ นครปฐม = ชท. นนทบุรี =พท. ปทุมธานี = พท. พระนครศรีอยุธยา =ภจท. ลพบุรี = ภจท. สมุทรสาคร = พท. สมุทรสงคราม = พปชร. สมุทรปราการ =พปชร. สระบุรี = พปชร. สิงห์บุรี =พท. อ่างทอง = ชท. สุพรรณบุรี =ชท.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้ อุบลราชธานี =พท. อุดรธานี =พท. หนองคาย =พท. อำนาจเจริญ =ภจท. สุรินทร์ =ภจท. กาฬสินธุ์ =พปชร. ขอนแก่น พท. ชัยภูมิ =ปชป. นครพนม = ภจท. นครราชสีมา =ภจท. บุรีรัมย์ =ภจท. มหาสารคาม =ภจท. ร้อยเอ็ด = พปชร. ยโสธร =พท. มุกดาหาร =พท. ศรีสะเกษ พปชร. เลย = ภจท. สกลนคร = พท. หนองบัวลำภู =ภจท. บึงกาฬ =ภจท.
ภาคตะวันออก ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้ ชลบุรี =พปชร. จันทบุรี =อิสระ ฉะเชิงเทรา =พปชร. ตราด =อิสระปราจีนบุรี =ภจท. ระยอง =ปชป. สระแก้ว =พปชร.
ภาคใต้ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุนดังนี้ กระบี่ =ภจท. ชุมพร =อิสระ ตรัง =ปชป. นครศรีธรรมราช= ปชป. นราธิวาส =ปชช. ปัตตานี =ปชช. พังงา =ปชป. พัทลุง= ปชป. ภูเก็ต =ปชป. ระนอง =อิสระ ยะลา =ปชช. สงขลา =ปชป. สตูล =ภจท. สุราษฎร์ธานี = ปชป.
วิเคราะห์การเมืองท้องถิ่น อบจ. สามารถบ่งบอกการเมืองระดับชาติ อยู่ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 บุคคลที่พรรคการเมืองสนับผู้สมัครนายก อบจ.
ส่วนใหญ่สนับสนุน จาก ส.ส. และเครือข่ายที่พรรคการเมืองรับรู้รับทราบ ในการสนับสนุน
1. พรรคเพื่อไทย หรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคเพื่อไทย (พท.)สนับสนุนผู้สมัคร นายกฯ อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 21 จังหวัด แต่อย่างไรก็ตามที่ผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไทย ได้นายก อบจ. แค่ 9 จังหวัดเท่านั้น นอกนั้น ส.ส. และเครื่อข่ายพรรคเพื่อไทยสนับสนุน เป็นส่วนใหญ่
2. พรรคพลังประชารัฐ หรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 17 จังหวัด
3. พรรคภูมิใจไทย หรือ กลุ่มส.ส. และเครือข่ายพรรคภูมิใจไทย (ภจท.)สนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ.ได้นายก อบจ. จำนวน 15 จังหวัด
4. พรรคประชาธิปัตย์หรือ กลุ่มส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 10 จังหวัด ส่วนใหญ่สนับสนุน จาก ส.ส. ที่พรรคการเมืองรับรู้รับทราบ
5. พรรรคชาติไทยพัฒนา หรือ กลุ่ม ส.ส.และเครื่อข่ายพรรคชาติไทยพัฒนา (ชท.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ.จำนวน 3 จังหวัด
6. พรรรคประชาชาติไทย หรือกลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาติไทย (ปชช.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. และได้ นายก อบจ. จำนวน 3 จังหวัด
7. ผู้สมัคร อิสระ (ส.ส.และเครือข่ายพรรคการเมือง อื่นๆ) กระจายสนับสนุนในฐานะส่วนตัว สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้ นายก อบจ. จำนวน 7 คน
ประเด็นที่ 2 ฐานเสียงของพรรคการเมือง
แสดงให้เห็นว่าฐานเสียงการเลือกนายก อบจ. กับฐานเสียงพรรคการเมือง เปลี่ยนแปลงหรือไม่เมื่อเทียบกับการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา
1. ฐานพรรคเพื่อไทย ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก เมื่อเทียบกับฐานเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งพรรคการเมืองได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด
2.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคการเมืองผู้นำรัฐบาล มีปัญหาในการบริหารประเทศทางเศรษฐกิจ แต่โควิดและการปกป้องสถาบัน และล่าสุดนโยบายคนละครึ่งตีโจทย์รากหญ้า ทำให้แรงหนุนจากประชาชน มีฐานเสียงคะแนนเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้สมัคร นายก อบจ. ได้เป็นนายก อบจ. ถึง 17 จังหวัด
3. พรรคก้าวไกล ที่ถูกยุบพรรคเปลี่ยนเป็น พรรคก้าวหน้า ที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยต้องการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปสถาบัน เกิดแรงต้านจากประชาชนฐานเสียงจึงลดไป รวมทั้งไม่มีแรงสนับสนุนจากพรรคการเมือง อื่นเช่น พรรคไทยรักษาชาติที่ถูกยุบ เทไปให้พรรคก้าวหน้า จึงได้คะแนน ปาร์ตี้ลิสต์ สูงและได้ ส.ส.เขต แต่เมื่อเกิดปัญหาแรวต้านเกี่ยวการล้มล้างสถาบัน ทำให้ฐานเสียงของพรรค หดหายไป ทุกจังหวัด
4. พรรคภูมิใจไทย ถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุน นายก อบจ. ที่มีฐานเสียงคะแนนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับฐานเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ได้นายก อบจ. จำนวน 15 จังหวัด
5.พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเทียบกับคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส. กับ การเลือกตั้ง นายก อบจ. กับสัดส่วนการได้รับเลือกนายก อบจ. จำนวน 10 จังหวัด ซึ่งมีฐานเสียงส่วนใหญ่ภาคใต้
ข้อสังเกต ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายก อบจ. ก็ไม่ได้มาจากคนของพรรคประชาธิปัยต์ แต่ ส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ บางส่วนสนับสนุนเท่านั้น ส่วนคนของพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนและพรรคประชาธิปัตย์รับทราบ กลับไม่ได้นายก อบจ.
อนึ่งซึ่งในจังหวัดนี้ เป็นจังหวัดเดียวที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ยกจังหวัด จำนวน 6 คน และที่สำคัญฐานเสียงพรรคภูมิใจไทย พรรคก้าวหน้า กลับหายไป และอีกส่วนหนึ่งคะแนนของพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่ไม่ส่งคนลงสมัคร เทเสียงไปให้กับคนที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนให้คะแนนของคนที่ ได้ นายก อบจ สูงมาก
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี