การเมืองท้องถิ่น อบจ. สามารถบ่งบอกการเมืองระดับชาติ
จากสรุปผลการเลือกตั้ง นายก อบจ. 2563 และข้อสังเกตุที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ซึ่งบุคคลที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับผู้สมัคร อบจ. และได้นายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
ภาคเหนือ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้
กำแพงเพชร = พปชร. เชียงใหม่ = พท.
เชียงราย = พท. น่าน = พท. นครสวรรค์ = พท. พะเยา = พปชร. พิจิตร = พท. พิษณุโลก = พปชร. แพร่ = พท. เพชรบูรณ์ = พปชร. แม่ฮ่องสอน = อิสระ ลำพูน = พท. ลำปาง = พท. สุโขทัย =ภจท. อุตรดิตถ์ = พท. อุทัยธานี = อิสระ
ภาคตะวันตก ได้นายก อบจ. ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. แบะเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้กาญจนบุรี = พท. ตาก =พปชร. ประจวบคีรีขันธ์ = ปชป. เพชรบุรี =พปชร. ราชบุรี = พปชร.
ภาคกลาง ได้ นายก อบจ.ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุนดังนี้ ชัยนาท = พปชร. นครนายก = อิสระ นครปฐม = ชท. นนทบุรี =พท. ปทุมธานี = พท. พระนครศรีอยุธยา =ภจท. ลพบุรี = ภจท. สมุทรสาคร = พท. สมุทรสงคราม = พปชร. สมุทรปราการ =พปชร. สระบุรี = พปชร. สิงห์บุรี =พท. อ่างทอง = ชท. สุพรรณบุรี =ชท.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้ อุบลราชธานี =พท. อุดรธานี =พท. หนองคาย =พท. อำนาจเจริญ =ภจท. สุรินทร์ =ภจท. กาฬสินธุ์ =พปชร. ขอนแก่น พท. ชัยภูมิ =ปชป. นครพนม = ภจท. นครราชสีมา =ภจท. บุรีรัมย์ =ภจท. มหาสารคาม =ภจท. ร้อยเอ็ด = พปชร. ยโสธร =พท. มุกดาหาร =พท. ศรีสะเกษ พปชร. เลย = ภจท. สกลนคร = พท. หนองบัวลำภู =ภจท. บึงกาฬ =ภจท.
ภาคตะวันออก ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุน ดังนี้ ชลบุรี =พปชร. จันทบุรี =อิสระ ฉะเชิงเทรา =พปชร. ตราด =อิสระปราจีนบุรี =ภจท. ระยอง =ปชป. สระแก้ว =พปชร.
ภาคใต้ ได้นายก อบจ ที่พรรคการเมืองหรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคการเมือง สนับสนุนดังนี้ กระบี่ =ภจท. ชุมพร =อิสระ ตรัง =ปชป. นครศรีธรรมราช= ปชป. นราธิวาส =ปชช. ปัตตานี =ปชช. พังงา =ปชป. พัทลุง= ปชป. ภูเก็ต =ปชป. ระนอง =อิสระ ยะลา =ปชช. สงขลา =ปชป. สตูล =ภจท. สุราษฎร์ธานี = ปชป.
วิเคราะห์การเมืองท้องถิ่น อบจ. สามารถบ่งบอกการเมืองระดับชาติ อยู่ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 บุคคลที่พรรคการเมืองสนับผู้สมัครนายก อบจ.
ส่วนใหญ่สนับสนุน จาก ส.ส. และเครือข่ายที่พรรคการเมืองรับรู้รับทราบ ในการสนับสนุน
1. พรรคเพื่อไทย หรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคเพื่อไทย (พท.)สนับสนุนผู้สมัคร นายกฯ อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 21 จังหวัด แต่อย่างไรก็ตามที่ผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไทย ได้นายก อบจ. แค่ 9 จังหวัดเท่านั้น นอกนั้น ส.ส. และเครื่อข่ายพรรคเพื่อไทยสนับสนุน เป็นส่วนใหญ่
2. พรรคพลังประชารัฐ หรือ กลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 17 จังหวัด
3. พรรคภูมิใจไทย หรือ กลุ่มส.ส. และเครือข่ายพรรคภูมิใจไทย (ภจท.)สนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ.ได้นายก อบจ. จำนวน 15 จังหวัด
4. พรรคประชาธิปัตย์หรือ กลุ่มส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ. จำนวน 10 จังหวัด ส่วนใหญ่สนับสนุน จาก ส.ส. ที่พรรคการเมืองรับรู้รับทราบ
5. พรรรคชาติไทยพัฒนา หรือ กลุ่ม ส.ส.และเครื่อข่ายพรรคชาติไทยพัฒนา (ชท.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้นายก อบจ.จำนวน 3 จังหวัด
6. พรรรคประชาชาติไทย หรือกลุ่ม ส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาติไทย (ปชช.) สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. และได้ นายก อบจ. จำนวน 3 จังหวัด
7. ผู้สมัคร อิสระ (ส.ส.และเครือข่ายพรรคการเมือง อื่นๆ) กระจายสนับสนุนในฐานะส่วนตัว สนับสนุนผู้สมัคร นายก อบจ. ได้ นายก อบจ. จำนวน 7 คน
ประเด็นที่ 2 ฐานเสียงของพรรคการเมือง
แสดงให้เห็นว่าฐานเสียงการเลือกนายก อบจ. กับฐานเสียงพรรคการเมือง เปลี่ยนแปลงหรือไม่เมื่อเทียบกับการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา
1. ฐานพรรคเพื่อไทย ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก เมื่อเทียบกับฐานเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งพรรคการเมืองได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด
2.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคการเมืองผู้นำรัฐบาล มีปัญหาในการบริหารประเทศทางเศรษฐกิจ แต่โควิดและการปกป้องสถาบัน และล่าสุดนโยบายคนละครึ่งตีโจทย์รากหญ้า ทำให้แรงหนุนจากประชาชน มีฐานเสียงคะแนนเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้สมัคร นายก อบจ. ได้เป็นนายก อบจ. ถึง 17 จังหวัด
3. พรรคก้าวไกล ที่ถูกยุบพรรคเปลี่ยนเป็น พรรคก้าวหน้า ที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยต้องการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปสถาบัน เกิดแรงต้านจากประชาชนฐานเสียงจึงลดไป รวมทั้งไม่มีแรงสนับสนุนจากพรรคการเมือง อื่นเช่น พรรคไทยรักษาชาติที่ถูกยุบ เทไปให้พรรคก้าวหน้า จึงได้คะแนน ปาร์ตี้ลิสต์ สูงและได้ ส.ส.เขต แต่เมื่อเกิดปัญหาแรวต้านเกี่ยวการล้มล้างสถาบัน ทำให้ฐานเสียงของพรรค หดหายไป ทุกจังหวัด
4. พรรคภูมิใจไทย ถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุน นายก อบจ. ที่มีฐานเสียงคะแนนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับฐานเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ได้นายก อบจ. จำนวน 15 จังหวัด
5.พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเทียบกับคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส. กับ การเลือกตั้ง นายก อบจ. กับสัดส่วนการได้รับเลือกนายก อบจ. จำนวน 10 จังหวัด ซึ่งมีฐานเสียงส่วนใหญ่ภาคใต้
ข้อสังเกต ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายก อบจ. ก็ไม่ได้มาจากคนของพรรคประชาธิปัยต์ แต่ ส.ส. และเครือข่ายพรรคประชาธิปัตย์ บางส่วนสนับสนุนเท่านั้น ส่วนคนของพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนและพรรคประชาธิปัตย์รับทราบ กลับไม่ได้นายก อบจ.
อนึ่งซึ่งในจังหวัดนี้ เป็นจังหวัดเดียวที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ยกจังหวัด จำนวน 6 คน และที่สำคัญฐานเสียงพรรคภูมิใจไทย พรรคก้าวหน้า กลับหายไป และอีกส่วนหนึ่งคะแนนของพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่ไม่ส่งคนลงสมัคร เทเสียงไปให้กับคนที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนให้คะแนนของคนที่ ได้ นายก อบจ สูงมาก
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
「ส ส เชียงราย เขต 3」的推薦目錄:
ส ส เชียงราย เขต 3 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
"โมเดลที่มาของ ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญใหม่"
เปิดโมเดลเลือกตั้งระบบใหม่แบ่งประเทศเป็น 6 กลุ่มจว. ภาคกลางตอนบน 17 จว. จะมีส.ส.ในสองระบบมากสุด 92 คน ขณะที่ระบบเขตเลือกตั้งเก้าอี้ลดทุกจังหวัด กทม. เหลือ 22 โคราช 10
จากกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดรูปแบบที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือส.ส. ซึ่งจะใช้การเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบผสม โดยจะมีจำนวนส.ส.ทั้งหมดไม่น้อยกว่า 450 คน แต่ไม่เกิน 470 คน แบ่งเป็นส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้ง 250 คน และส.ส.ที่มาจากระบบบัญชีรายชื่อไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่เกิน 220 คนนั้น ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติได้มีการเตรียมข้อมูลรองรับ
1.การแบ่งกลุ่มจังหวัดของประเทศ ออกเป็น 6 กลุ่มจังหวัดตามที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้พิจารณาจากพื้นที่จังหวัดที่ติดกัน และแต่ละกลุ่มจังหวัดไม่จำเป็นต้องมีจำนวนประชากรที่เท่ากัน เสร็จสิ้นแล้ว พร้อมกับได้มีการคำนวณจำนวนส.ส.เขตในแต่ละจังหวัดที่พึงมี ไว้เป็นเบื้องต้นและได้มีการนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างไปบางส่วนแล้วเช่นกัน
ทั้งนี้ 6 กลุ่มจังหวัดที่มีการแบ่งประกอบด้วย
1.1ภาคเหนือ 15 จังหวัด แบ่งเป็นส.ส. แบบแบ่งเขต 41 คน แบบบัญชีรายชื่อ 18 คน รวมมีส.ส 59 คน ประกอบด้วยจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 12 จังหวัด แบ่งเป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 42 คน แบบบัญชีรายชื่อ 28 คน รวมมีส.ส. 70 คน ประกอบด้วยจังหวัด เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
1.3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 8จังหวัด แบ่งเป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 41 คน แบบบัญชีรายชื่อ 46 คน รวมมีส.ส. 87 คน ประกอบด้วยจังหวัด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร
1.4 ภาคกลางตอนบน 17 จังหวัด แบ่งเป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 42 คน แบบบัญชีรายชื่อ 50 คน รวมมีส.ส. 92 คน ประกอบด้วย กาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ลพบุรี ชัยนาท สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ปทุมธานี นนทบรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว
1.5 ภาคกลางตอนล่าง 9 จังหวัด แบ่งเป็นส.ส. แบบแบ่งเขต 44 คน แบบบัญชีรายชื่อ 30 คน รวมมีส.ส. 74 คน ประกอบด้วย สุมทรสงคราม สุมทรสาคร สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบรี ตราด
1.6 ภาคใต้ 16 จังหวัด แบ่งเป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 40 คน บัญชีรายชื่อ 33 คน รวมมีส.ส. 73 คน ประกอบด้วย เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
2. การคำนวน ส.ส.แบ่งเขต 250 คน ดังนี้
ส.ส.เขต 250 คนที่กกต.ได้คำนวณจำนวนส.ส.ที่พึงมีในแต่ละจังหวัด โดยใช้ฐานข้อมูลจำนวนประชากรล่าสุดเมื่อ 31 ธ.ค. 57 จำนวน 65,124,716 คน และใช้อัตราส่วนราษฎร 260,499 คน ต่อส.ส.หนึ่งคนโดยมีการปัดเศษแล้วนั้น ก็ทำให้ส.ส.ลดลงทุกจังหวัด ดังนี้
2.1 จังหวัดที่มีส.ส.เพียงคนเดียว 14 จังหวัด
คือ แม่ฮ่องสอน มุกดาหาร อำนาจเจริญ อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครนายก สมุทรสงคราม ตราด พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล
2.2 จังหวัดที่มีส.ส. 2 คน มี 25 จังหวัด
คือ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร แพร่ ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ เลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ ยโสธร สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรสาคร จันทบุรี กระบี่ ชุมพร ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง ยะลา เพชรบุรี
2.3 จังหวัดที่มีส.ส. 3 คน มี 14 จังหวัด
คือ กำแพงเพชร พิษณุโลก ลำปาง นครพนม นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง นราธิวาส ปัตตานี
2.4 จังหวัดที่มีส.ส. 4 คน มี 8 จังหวัด
คือ เพชรบูรณ์ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร ชัยภูมิ ปทุมธานี นครสวรรค์ สุราษฏร์ธานี
2.5 จังหวัดที่มีส.ส. 5 คน มี6 จังหวัด
คือ เชียงราย ร้อยเอ็ด สุรินทร์ นนทบุรี สงขลา สมุทรปราการ
2.6 จังหวัดที่มีส.ส. 6 คน มี 6 จังหวัด
คือ เชียงใหม่ อุดรธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ชลบุรี นครศรีธรรมราช
2.7จังหวัดที่มีส.ส. 7 คน มี 2 จังหวัด
คือ ขอนแก่น อุบลราชธานี ส่วนจังหวัดที่มีส.ส. 10 คน คือ นครราชสีมา และกรุงเทพมหานครมีส.ส.มากสุดคือ 22 คน
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจำนวนส.ส.เขตเดิมที่แต่ละจังหวัดมีตามรัฐธรรมนูญ 50 ที่มีส.ส.เขต 375 คน แล้วในระบบใหม่ที่กำหนดให้มีส.ส.เขตเพียง 250 คน จะพบว่าจังหวัดใหญ่ ๆ มีการลดลงของจำนวนส.ส.ค่อนข้างมาก เช่น กรุงเทพมหานคร เดิมมี 33 คน ก็ลดลงเหลือเพียง 22 คน นครราชสีมา จากเดิมที่มี 15 คนก็ลดลงเหลือ 10 คน อุบลราชธานี จากเดิมมีส.ส. 11 คน ก็เหลือ 7 คน ขอนแก่นจากเดิม 10 คนก็จะลดลงเหลือ 7 คน เชียงใหม่ จากเดิมมีส.ส. 10 คน ก็จะลดลงเหลือเพียง 6 คน นครศรีธรรมราช จากเดิม 9 คน ก็ลดลงเหลือ 6 คน เป็นต้น