ผ่านไปแต่ละปี เรารวยขึ้น หรือจนลง
.
ทำงานกันมา 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี เคยตั้งคำถามแบบนี้กับตัวเองหรือเปล่าครับ ถ้ายังไม่เคย วันนี้ผมชวนคิดชวนคุยเรื่องนี้กัน
.
จะว่าไปแล้วมันเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำปีของผมเลยก็ว่าได้ ที่เมื่อผ่านพ้นไปในแต่ละปี ผมจะกลับมานั่งทบทวนถึงจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินที่ตัวเองมี เช็คเป็นสถานะปัจจุบัน แล้วก็เทียบกันกับปีก่อน
.
วิธีทำก็ง่ายๆ ครับ หยิบกระดาษ A4 มาหนึ่งแผ่น ขีดเส้นแบ่งครึ่งตรงกลาง ด้านซ้ายเขียนรายการทรัพย์สินทั้งหมดที่เรามี ไม่ว่าจะเป็น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมต่างๆ (อะไรขึ้นชื่อว่ากองทุนนับให้หมด) หุ้นสหกรณ์ หุ้นสามัญ บ้าน รถยนต์ ทองคำ ทั้งหมดที่เราเป็นเจ้าของและมีมูลค่า ระบุใส่ช่องทางซ้ายมือนี้ให้หมด
.
ส่วนด้านขวามือ ให้เขียนรายการหนี้สินทั้งหมดที่มี ไม่ว่าจะหนี้บริโภค อาทิ หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล ผ่อนของ นอกระบบ จัดกันมาให้ครบ รวมถึงหนี้กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ กู้เรียน รวมทั้งหมดไว้ทางฝั่งขวา
.
สุดท้ายให้เอา มูลค่าทรัพย์สินรวม (ทางฝั่งซ้าย) ตั้งแล้วลบด้วยมูลค่าหนี้รวมทั้งหมด (ทางฝั่งขวา) ได้ผลลัพธ์เป็นเท่าไหร่ เราเรียกเจ้าค่าที่ได้นี้ว่า “ความมั่งคั่งสุทธิ” หรือ NET WORTH (บางตำราเรียก “ทรัพย์สินสุทธิ”)
.
ตัวอย่างเช่น ถ้า ณ วันที่ 1 มกราคม 2564 เรามีมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 2,000,000 บาท และมีหนี้สินรวมคงค้างอยู่ 1,500,000 บาท แบบนี้ก็จะเท่ากับว่า เรามี “ความมั่งคั่งสุทธิ” เท่ากับ 2,000,000 - 1,500,000 หรือ +500,000 บาท นั่นเอง
.
โดยหลักการแล้ว ถ้าเรามีความมั่งคั่งสุทธิเป็น “บวก” ก็จะถือว่า “ดี” และยิ่งถ้าทุกปีเราทำตัวเลขนี้เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า แล้วพบว่า เป็นบวกมากขึ้นทุกปี แบบนี้ก็แสดงว่า “เรารวยขึ้น”
.
ในทางตรงกันข้าม หากความมั่งคั่งสุทธิปีนี้ลดลงจากปีที่แล้ว อันนี้ก็แสดงว่า “เราจนลง” ซึ่งก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการมีหนี้บริโภคเพิ่มมากขึ้น (ก่อหนี้ที่ไม่ได้ใช้ซื้อทรัพย์สิน) หรือไม่ทรัพย์สินบางกลุ่มของเราก็อาจมีมูลค่าลดลง อย่างเช่น กรณีหุ้นตก มูลค่ากองทุนรวมลดลง ก็จะเข้าข่ายในลักษณะนี้
.
จากที่สอนเรื่องการเงินมาหลายปี ผมพบว่าถ้าเราหมั่นตรวจสอบความมั่งคั่งของเราอยู่เสมอ และทุกปีเรามีความมั่งคั่งสุทธิเพิ่มขึ้น หรือทรัพย์สินเพิ่ม (สะสมเพิ่ม) หนี้สินลดลงทุกปี (ทยอยใช้หนี้ตามกำหนด) แบบนี้รับประกันได้เลยว่าเกษียณสบายครับ เพราะถ้าทรัพย์สินสะสมเพิ่มเรื่อยๆ แถมหนี้สินยังลดลงเรื่อยๆ และเคลียร์หมดได้ก่อนเกษียณ แบบนี้รับประกันเลยว่า “Happy Retirement” แน่นอน
.
ครั้งหนึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน ผมเล่าเรื่องนี้ในการบรรยายให้กับองค์กรแห่งหนึ่ง พี่ท่านหนึ่งที่เข้าฟังบรรยายบอกผมว่า เขาทำอย่างที่ผมบอกทุกปี และไม่เพียงแต่นั่งคำนวณตัวเลขทรัพย์สินหนี้สินเท่านั้น พี่เขายังจดรายละเอียดทุกรายการของทรัพย์สิน เช่น กองทุนซื้อกับที่ไหน หุ้นเปิดพอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์อะไร ประกันชีวิตซื้อกับที่ไหน และระบุข้อมูลเบอร์ติดต่อของผู้เกี่ยวข้องไว้ทั้งหมด ทำแบบนี้เป็นประจำทุกปี
.
พี่แกเล่าให้ฟังว่า การสรุปข้อมูลรายการทรัพย์สินหนี้สินในแต่ละปี สำหรับแกแล้วเหมือนการ “เตรียมตัวตาย” เพราะคนเราเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ เกิดเราลงทุน ซื้อประกัน สะสมทรัพย์สินอะไรไม่รู้จิปาถะ แต่ไม่ได้บอกคนข้างตัวไว้ เกิดตายวันตายพรุ่งไป คนข้างตัวก็ไม่รู้ว่าเรามีอะไรสะสมอยู่บ้าง หนี้สินแกก็คิดอย่างเดียวกัน ว่าต้องให้รู้ไว้บ้าง จะได้ไม่ตกใจ
.
“ถ้าเตรียมตัวตายดีๆ รับรองเลยว่าอาจารย์จะไม่ตาย อาจารย์จะอายุยืน ฮา ๆๆ” พี่แกบอกผมอย่างนั้นในวันที่เจอกันครั้งแรก
.
หลายปีต่อมา ผมยังไปบรรยายที่องค์กรของพี่เขาอยู่บ่อยๆ แม้จะไม่ได้เป็นคนเข้าฟังบรรยายในคลาส แต่แกก็จะแวะมาทักทายตอนพักอาหารว่าง หรือมาแวะส่งตอนกลับ เหมือนเจอน้องเจอที่รู้จักคุ้นเคย แล้วก็ต้องแวะมาเจอกันสักหน่อย แม้จะได้พูดคุยไม่กี่นาทีก็ตาม
.
เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก เมื่อสิ้นปี 2563 ผมมีโอกาสไปบรรยายที่องค์กรของพี่ท่านนี้อีกครั้ง แล้วก็เจอแก คราวนี้ผมไปบรรยายเรื่องการจัดการเงินหลังเกษียณ พี่แกเข้ามาเป็นนักเรียนในคลาส เพราะสิ้นปีแกจะเกษียณแล้ว ตลอดการพูดคุยกันในคลาส สิ่งที่ผมรู้สึกได้เลยก็คือ แกไม่ได้เดือดร้อนที่จะต้องเกษียณ เพราะเตรียมตัวมาดีมาก (ดีมากจริงๆ)
.
หลังจบการบรรยาย แกเดินเข้ามาทัก แล้วก็บอกผมว่า “ยังทำรายการทรัพย์สินหนี้สินอยู่ทุกปีนะอาจารย์ เสียอย่างเดียว คนที่เราเป็นห่วง กลัวว่าเขาจะลำบากถ้าเราไม่อยู่ เขาไปก่อนเราเสียแล้ว ฮาๆๆๆ” คนพูดแม้จะมีเสียงหัวเราะ แต่แววตาดูเศร้าชนิดสังเกตได้
.
“แต่อย่างน้อยที่ทำมาตลอด ก็ดีกับพี่เองต่อจากนี้นะครับ” ผมอยากจะปลอบใจแก แต่ไม่รู้จะพูดว่าอะไรดี
.
เราสนทนากันเป็นครั้งสุดท้าย เพราะรู้ดีว่าครั้งหน้าที่ผมมาสอนที่นี่ ก็คงไม่เจอพี่เขาอีกแล้ว ได้ยินว่าพี่เขาปลูกบ้านไว้ที่ภูมิลำเนาเดิมในจังหวัดใกล้กรุงเทพ เตรียมทุกอย่างไว้พร้อม พร้อมที่จะเป็นคนเกษียณที่มีความสุขมากที่สุดคนหนึ่ง
.
ทั้งหมดเริ่มต้นง่ายๆ จากการวัดผลเล็กๆ ที่ว่า ในแต่ละปีเรารวยขึ้นหรือจนลง และใส่ใจกับผลของการวัดอย่างจริงจัง
.
ลองคิดดูง่ายๆ ว่า ถ้าเราทำงานมาเป็น 10 ปี แต่ความมั่งคั่งสุทธิยังติดลบ มันบอกอะไรกับชีวิตเรา แน่นอนว่ามันไม่ได้เลวร้ายถึงขั้นจะกลับตัวหรือแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เคยเห็นตัวเลขสำคัญทางการเงินของตัวเองตัวนี้เลย
.
หรือถ้าเห็นว่าตัวเลขไม่สวย แต่ละปีความมั่งคั่งสุทธิไม่เพิ่มขึ้น แถมยังลดลง แล้วยังอยู่เฉยได้ คนแบบนี้ก็ยากที่เราจะไปช่วยอะไรเขาได้ ทั้งนี้เพราะหัวใจของการสร้างสำเร็จทางการเงิน สิ่งแรก คือ ความรับผิดชอบทางการเงิน ที่คนแต่ละคนต้องเชื่อก่อนว่า “อนาคตทางการเงินของเรา เปลี่ยนแปลงได้ ทำให้ดีขึ้นได้ และทั้งหมดขึ้นอยู่หนึ่งสมองและสองมือของเราเท่านั้น ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงอนาคตการเงินเราได้”
.
ใครยังไม่เคยลองทำ ผมเชิญชวนทุกท่านลองหยิบกระดาษ A4 ขึ้นมา แบ่งครึ่งซ้ายขวา ลิสต์รายการทรัพย์สิน หนี้สิน และมูลค่าทั้งหมด จากนั้นลองคำนวณ “ความมั่งคั่งสุทธิ” ณ วันปัจจุบัน ของตัวเองออกมาดูครับ
.
ใครทำเป็นปีแรก ลองดูสิว่า ความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวกมั้ย ถ้าบวก ก็ถือว่า “โอเค”
.
ส่วนใครทำมาแล้วมากกว่า 1 ปี ลองดูสิว่า เทียบกับปีก่อน ความมั่งคั่งสุทธิของเรา เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ถ้าเพิ่มขึ้นแปลว่า เรารวยขึ้น และถ้าแต่ละปีเรารวยขึ้นเรื่อยๆ ด้วยทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หนี้สินที่ทยอยลดลงเรื่อยๆ จากการผ่อนจ่ายของเรา เมื่อถึงวันหนึ่งที่เกษียณ เราจะเป็นคนไทยอีกคนหนึ่งที่มีชีวิตเกษียณที่มีความสุขอย่างแน่นอนครับ ฟันธง!
.
ขอให้ทุกท่านรวยขึ้นทุกปีนะครับ
#โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH
「หุ้นสามัญ คือ」的推薦目錄:
- 關於หุ้นสามัญ คือ 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
- 關於หุ้นสามัญ คือ 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
- 關於หุ้นสามัญ คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於หุ้นสามัญ คือ 在 หุ้นสามัญ... คืออะไร - Common Stock? - YouTube 的評價
- 關於หุ้นสามัญ คือ 在 ลงทุนแมน - สรุป หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ คืออะไร ? แบบเข้าใจง่าย ... 的評價
- 關於หุ้นสามัญ คือ 在 โครงสร้างผู้ถือหุ้น | PTT Public Company Limited (PTT) 的評價
หุ้นสามัญ คือ 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
3 ตะกร้าตัวช่วยเก็บออมเงิน 🧺💰
มีคำถามเข้ามาว่า “ควรจัดแบ่งเงินออมยังไงดี?” เพราะหลายคนเอาเงินออมไปกองไว้ในที่เดียวกัน แล้วก็หยิบใช้ และออมเพิ่มในที่เดียวกัน สุดท้ายเงินออมเลยไม่เติบโตสักที
.
วันนี้เลยอยากพูดถึงการ “แบ่ง” หรือ “จัดสรร” เงินออม สำหรับผู้ที่เริ่มออมเงินได้และมีเงินกับกันครับ
.
ที่จริงก่อนจะไปถึงเรื่องการจัดสรรเงินออม ก็ต้องชื่นชมก่อนครับ เพราะเอาเข้าจริงคนที่จะเก็บออมเงินได้ มีเงินออมให้บริหาร ในบ้านเราก็อาจเรียกได้ว่า “ครึ่งต่อครึ่ง” เลย
.
คือ ไม่มีเงินออมครึ่งนึง (รีบทำให้มีนะ) และอีกครึ่งคือมีเงินออม แต่ก็บริหารจัดการไม่ถูกต้อง เอาเงินออมทั้งหมดที่มีไปออมไว้ในที่เดียวกัน พอจะลงทุน ก็ยกโขยงไปลงทุนพร้อมกันทั้งหมด ที่ถูกต้องเราควรจัดสรรเงินออมที่มีออกจากกัน โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจจะใช้เงินก้อนนั้นในอนาคต
.
โดยส่วนตัวผมมักจะแนะนำคนที่มาเรียนด้วย ให้แบ่งเงินออมเบื้องต้น ออกเป็นสามตะกร้า ดังนี้ (มีมากกว่านี้ได้นะ ถ้ามีวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น เก็บเงินซื้อของ เก็บเงินเรียนต่อ ฯลฯ อันนี้แล้วแต่ละบุคคลเลยครับ)
.
1. ตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน (Emergency Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเก็บเงินสำรองเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ที่อาจจะส่งผลกระทบกับการเงินของเรา เช่น ตกงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ฯลฯ เป็นตะกร้าเงินที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงปกป้องสภาพคล่องของการเงินเรา
.
ขนาดที่เหมาะสมของตะกร้านี้ คือ 6-12 เท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน โดยควรเก็บออมในทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องดี รักษามูลค่าได้ไม่ผันผวนมาก เช่นเงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือทองคำ
.
2. ตะกร้าเงินเกษียณรวย (Retirement Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเก็บสะสมเงินไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณจากการทำงาน เน้นทยอยสะสมและลงทุนในเครื่องมือกลุ่มตราสารการเงิน ใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อน ลงทุนแบบระยะยาว เป้าหมายคือ มีกินใช้หลังเกษียณสบายๆ 20-25 ปี
.
เครื่องมือที่ช่วยเก็บเงินสำหรับตะกร้านี้ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) , กองทุนรวมต่างๆ (ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น), กองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี (RMF และ SSF), ประกันชีวิต ประกันบำนาญ หุ้นสหกรณ์ หุ้นสามัญ เป็นต้น
.
ที่ดีควรเริ่มต้นวางแผนเงินเกษียณนี้ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นทำงาน ควบคู่ไปกับการวางแผนชำระหนี้ให้หมดก่อนเกษียณ เริ่มต้นลงทุนทีละน้อยสร้างประสบการณ์ ที่สำคัญ! เงินก้อนนี้ห้ามแบ่งให้ใครเด็ดขาด เพราะมันคือเงินที่เราต้องเก็บไว้กินใช้ในวันที่รายได้ลดลง
.
3. ตะกร้าเงินเกษียณเร็ว (Money Freedom Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเงินสะมที่จะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด (Passive Income) เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว ทำให้หมดกังวลเรื่องการเงินได้ก่อนเกษียณอายุจากการทำงาน
.
เป้าหมายของตะกร้านี้คือ รายได้จากทรัพย์สิน (Passive Income) มากกว่ารายจ่ายรวมต่อเดือน (Total Expenses) เครื่องมือที่ช่วยของตะกร้าเกษียณเร็วก็คือ ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางปัญญา ที่ให้รายได้เราในรูปแบบ ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า และค่าลิขสิทธิ์ (หรือปัจจุบันจะมาในรูปแบบค่าโฆษณาก็ได้)
.
ทั้งหมดนี้คือ ตะกร้าเงินพื้นฐานที่ควรจะจัดแบ่งเงินออมไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ดี แต่ละคนมีความต้องการแต่ปัจเจก แตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นหากจะมีตะกร้าเงินอื่นๆ เพิ่มเติมจากนี้ หรือแบ่งเงินแตกต่างไปจากนี้ ก็ไม่ถือว่าผิดกติกา
.
ยังไงลองวางแผนจัดการเงินออมของตัวเองดูนะครับ หวังว่าแนวทางข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ
#TheMoneyCoachTH
หุ้นสามัญ คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุป Risk Premium คืออะไร ? ทำไมนักลงทุนควรรู้จัก /โดย ลงทุนแมน
“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน”
คนที่เป็นนักลงทุนคงคุ้นเคยกับประโยคเตือนนี้ดี
ความเสี่ยง ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือ โอกาสที่เราจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่เราคาดหวังไว้ รวมไปถึงโอกาสในการสูญเสียเงินต้นจากการลงทุนนั้น ๆ
แต่ถ้าในเชิงวิชาการเงิน ความเสี่ยงก็อาจวัดได้จากความผันผวนของผลตอบแทน ยิ่งผันผวนมาก ในวิชาการเงินจะถือว่ามีความเสี่ยงสูง
แน่นอนว่า เมื่อเราไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยง เราก็มีโอกาสที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนที่คาดไว้ รวมถึงโอกาสในการสูญเสียเงินต้น
ดังนั้น เมื่อตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงแล้ว นักลงทุนจึงต้องการผลตอบแทนเพิ่มเติม ที่เรียกว่า “ส่วนชดเชยความเสี่ยง” หรือ “Risk Premium”
แล้ว Risk Premium คืออะไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ลองนึกภาพเล่น ๆ กันก่อนว่า ถ้าเรานำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น
- เงินฝากธนาคาร เสี่ยงต่ำมาก ต้องการผลตอบแทน 1%
- หุ้นกู้บริษัทเอกชน เสี่ยงปานกลาง ต้องการผลตอบแทน 5%
- หุ้นสามัญ เสี่ยงสูง ต้องการผลตอบแทน 10%
เราจะพบว่า แต่ละสินทรัพย์นั้นมีความคาดหวังของอัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป
สินทรัพย์ยิ่งเสี่ยงมาก เราก็ยิ่งคาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากตามไปด้วย
ซึ่งก็เข้ากับประโยคคลาสสิกในโลกของการลงทุนที่ว่า “High Risk High Return” นั่นเอง
ตัวอย่างหนึ่งที่ช่วยให้หลายคนเห็นภาพมากขึ้น
คือ ความแตกต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ก็สามารถใช้คำว่า Risk Premium มาอธิบายความแตกต่างนี้ได้เช่นกัน
คำถามที่หลายคนมักคาใจกันมานานคือ ทำไมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากถึงต่ำมาก เช่น อยู่ในช่วงระหว่าง 0.5% - 1.5% แต่ทำไมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นจึงสูงมาก เช่น 5.0% - 8.0%
เรื่องนี้อธิบายตามหลัก Risk Premium ก็คือ
เมื่อธนาคารรับเงินฝากจากเราไป ธนาคารก็จะมีภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับเราหรือคนที่เอาเงินไปฝากตามตกลงกัน
แต่ประเด็นคือ ธนาคารไม่ได้เอาเงินฝากของเรากองไว้เฉย ๆ แต่ธนาคารเอาเงินไปปล่อยสินเชื่อต่อ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระดอกเบี้ย หรือไม่ได้เงินต้นคืนจากผู้ขอสินเชื่อ
เช่น ถ้าผู้กู้เป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงด้านการเงิน มีหนี้สูง หรือแม้แต่คนธรรมดาที่ไปขอกู้และมีเครดิตไม่ดีในการผ่อนชำระเงิน มีรายได้ไม่แน่นอน หรือไม่มีหลักประกัน
ความเสี่ยงตรงนี้ เป็นส่วนที่ธนาคารต้องแบกรับ ทำให้ธนาคารต้องคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับสูงขึ้น มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ซึ่งความแตกต่างนั้น ส่วนหนึ่งก็สะท้อนคำว่า Risk Premium หรือ ส่วนชดเชยความเสี่ยง นั่นเอง
อีกกรณีหนึ่งที่อธิบายเรื่องนี้ได้คือ การจัดอันดับเครดิตเรตติงของ หุ้นกู้
โดยบริษัทที่ทำการจัดอันดับเครดิตเรตติง จะประเมินระดับเรตติงจาก ลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัท ผลประกอบการ หลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่าบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น มีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้มากแค่ไหน
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงมีการจัดอันดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ ซึ่งแบ่งออกมาเป็น Investment Grade หรือกลุ่มที่มีเครดิตดีน่าลงทุน ที่มีเรตติงตั้งแต่ BBB ขึ้นไปถึง AAA
และ Non-Investment Grade หรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะผิดนัดชำระหนี้สูง มีเรตติงต่ำกว่า BBB ลงมา
โดยในกลุ่ม Non-Investment Grade บริษัทที่ออกหุ้นกู้ ก็จะต้องเสนอดอกเบี้ยสูง ๆ เพื่อจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนบนความเสี่ยงที่สูงนั้น
แตกต่างกับกลุ่ม Investment Grade ที่เครดิตดีอยู่แล้ว ผู้ลงทุนจึงรู้สึกปลอดภัยในการมาลงทุน และไม่ต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยงเยอะ ผู้ออกจึงไม่จำเป็นต้องเสนอดอกเบี้ยสูง ๆ นั่นเอง
ส่วนคนที่ลงทุนในตลาดหุ้น ก็จะมีผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยง ที่เรียกว่า “Equity Risk Premium”
ซึ่ง Equity Risk Premium ถ้าอธิบายตามหลักการ ก็เกิดมาจาก อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในตลาดหุ้น หักลบด้วย ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง
ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว สินทรัพย์ที่มักถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง ก็คือ พันธบัตรรัฐบาล
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น
ถ้าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในตลาดหุ้นเท่ากับ 10% อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเท่ากับ 2% ในกรณีนี้ Equity Risk Premium จะเท่ากับ 8%
และด้วยความที่ตัวแปรทั้ง 2 ตัวนั้นเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพราะฉะนั้น Equity Risk Premium จะมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
โดยปกติแล้วเมื่อตลาดอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
เช่น การตกต่ำของภาวะเศรษฐกิจ การเกิดสงคราม ก็จะทำให้ Equity Risk Premium มีการปรับตัวสูงขึ้น เพราะนักลงทุนคาดหวังผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงใน Equity Risk Premium ยังสามารถบอกการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนระหว่างตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรได้อีกด้วย
โดยปกติแล้วถ้ามีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรเข้าตลาดหุ้น Equity Risk Premium จะลดลง และกลับกัน เมื่อมีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเข้าสู่ตลาดพันธบัตร Equity Risk Premium จะเพิ่มขึ้น
อ่านมาถึงตรงนี้เราน่าจะพอได้ไอเดียเกี่ยวกับ Risk Premium หรือ ผลตอบแทนที่ชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ มาพอสมควร
ซึ่งการที่เรารู้และเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ก่อนที่จะลงทุน
ก็น่าจะช่วยให้เรา เข้าใจกลไก ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโลกการลงทุน ได้ดีมากขึ้น
ดังนั้น ต่อไปนี้ ก่อนที่ใครจะชวนลงทุนอะไร ที่มันดูเสี่ยง
เราอาจต้องถามตัวเองว่า เราต้องการ Risk Premium ที่เท่าไร..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/Risk_premium
-https://en.wikipedia.org/wiki/Credit_rating
-https://www.investopedia.com/terms/e/equityriskpremium.asp
หุ้นสามัญ คือ 在 ลงทุนแมน - สรุป หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ คืออะไร ? แบบเข้าใจง่าย ... 的推薦與評價
ซึ่งเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับนั้น อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ - กรณีที่บริษัทต้องขายสินทรัพย์เพื่อมาชำระหนี้ ลำดับการรับชำระ ... ... <看更多>
หุ้นสามัญ คือ 在 โครงสร้างผู้ถือหุ้น | PTT Public Company Limited (PTT) 的推薦與評價
หน้าหลัก; นักลงทุนสัมพันธ์; ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้นสามัญ; โครงสร้างผู้ถือหุ้น. นักลงทุนสัมพันธ์. กระทรวงการคลัง. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ. ... <看更多>
หุ้นสามัญ คือ 在 หุ้นสามัญ... คืออะไร - Common Stock? - YouTube 的推薦與評價
หุ้นสามัญ Common Stock คือ หุ้นที่นักลงทุนในตลาดซื้อขายกันอยู่ วัตถุประสงค์ คือ เพื่อระดมเงินทุนจากประชาชน เรามักจะเรียกกันว่าหุ้นทุน คือ ... ... <看更多>
相關內容