ความแตกต่างระหว่างอำนาจบังคับบัญชากับอำนาจกำกับดูแล
1)ในแง่นิติบุคคล
อำนาจบังคับบัญชา เป็นความสัมพันธ์ภายในนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนเดียวกัน เช่น ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
อำนาจกำกับดูแล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน กับนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
2) ในแง่ที่มาของการใช้อำนาจ
อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจทั่วไปที่เกิดจากการจัดระเบียบภายในของรัฐ ภายในหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่ง ความสัมพันธ์ของบุคลากรจะเป็นความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นในรูปปิรามิด เจ้าหน้าที่แต่ละคนซึ่งอยู่ที่ฐานปิรามิด จะขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่คนหนึ่งและต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหรือคำบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้นี้โดยเคร่งครัด และเจ้าหน้าที่ผู้นี้เองก็จะขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่เหนือตนขึ้นไป และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามคำสั่ง คำบัญชาของเจ้าหน้าที่เหนือตนขึ้นไป เป็นเช่นนี้ตลอดสาย จนถึงหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นซึ่งอยู่ที่ยอดปิรามิด และจะเป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดของหน่วยงาน ด้วยเหตุนี้เองการการควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับบัญชาจึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และผู้บังคับบัญชาจะปฏิเสธไม่ตรวจสอบคำวินิจฉัยสั่งการของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้- อำนาจบังคับบัญชา เป็น “อำนาจตามกฎหมายทั่วไป” ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะ
อำนาจกำกับดูแล เป็นอำนาจที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย กล่าวคือ รัฐ องค์กรส่วนกลางจะกำกับดูแลหรือมอบให้ส่วนภูมิภาค กำกับดูแล หน่วยงานเหล่านี้
-การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ
-รัฐวิสาหกิจหรือ
-องค์การมหาชนหรือ
-หน่วยอื่นของรัฐที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือ
-หน่วยงานทึ่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
และกำกับดูแลได้ต่อเมื่อ “กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และเพียงเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้” เท่านั้น “ไม่มีการกำกับดูแลโดยปราศจากอำนาจตามกฎหมาย และไม่มีการกำกับดูแลเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้”
3) ในแง่ขอบเขตอำนาจการตรวจสอบการกระทำ
อำนาจบังคับบัญชา เป็นอำนาจที่เปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้อย่างสิ้นเชิง คือ สามารถตรวจสอบการกระทำต่างๆของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้ทั้งในแง่ “ความชอบด้วยกฎหมาย” และ “ความเหมาะสม” ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงไม่มีอิสระโดยปราศจากการควบคุมของผู้บังคับบัญชาได้
อำนาจกำกับดูแล โดยปกติกฎหมายจะให้อำนาจรัฐหรือองค์การปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาคกำกับดูแล ตรวจสอบ
-องค์การปกครองท้องถิ่นหรือ
-รัฐวิสาหกิจ หรือ
-องค์การมหาชน หรือ
-หน่วยอื่นของรัฐที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือ
-หน่วยงานทึ่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
ในจัดทำบริการสาธารณะมิให้กระทำนอกวัตถุประสงค์และขัดแย้งกฎหมาย คือ “การตรวจสอบความชอบด้วยฎหมาย” ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นอิสระของหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแล อันเป็นหลักการกระจายอำนาจไว้ ทั้งที่เป็นการกระจายอำนาจทางอาณาเขตกับการกระจายอำนาจทาวเทคนิค/กิจการและบริการ
4) ในแง่ลักษณะผลของออกคำสั่งการในการใช้อำนาจ
อำนาจบังคับบัญชา โดยหลักการมีคำสั่งใดๆ ตามอำนาจบังคับบัญชาไม่ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ยกเว้นกรณีแต่งตั้งโยกย้าย
อำนาจกำกับดูแลของผู้กระทำดูแลที่สั่งการไปยังองค์กรหรือบุคคลที่ถูกกำกับดูแลจะเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ทุกกรณี
「องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ」的推薦目錄:
- 關於องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 สถาบันพระปกเกล้า - 👉👉เปิดรับสมัครหลักสูตร “การกำกับดูแล ... 的評價
- 關於องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 องค์การมหาชน คืออะไร ยังไง ไปฟังกันครับ - YouTube 的評價
องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ที่มาของกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงที่มาของกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พบว่า ไม่มีกฎหมายใดได้กำหนดให้องค์กรใดออกกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ชัดเจนดังเช่น การตราพระราชกำหนดที่กำหนดให้ฝ่ายบริหารตราขึ้น หรือพระราชบัญญัติที่กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ตรา เป็นต้น ทำให้ที่มาของกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” จึงออกได้หลายองค์กร ได้แก่ พระมหากษัตริย์ คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คณะกรรมการต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐ ดังนั้นเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นในเรื่องใดที่เป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” มีข้อพิจารณาดังนี้
1. ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดหากพิจารณาแต่ศาลจะอาศัยเกณฑ์ใดว่ามีผลเป็นการทั่วไป มาเป็นเกณฑ์พิจารณาว่าเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” หรือไม่ แต่หลักเกณฑ์ที่เป็นการยอมรับทั่วไปว่า ถ้าจะถือว่าเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” นั้น “ต้องมีผลโดยตรงไปยังภายนอก”
2. ต้องเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ศาลเข้ามาตรวจสอบได้ จะต้องไม่เป็นระเบียบภายในฝ่ายปกครองที่ถือเป็นเรื่องดุลพินิจฝ่ายปกครองที่ศาลไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบได้
ดังนั้นที่มาของกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พบว่า มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ที่มากฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยฝ่ายบริหารและองค์กรที่อยู่ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหาร กับกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรที่มิได้อยู่ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหาร ดังนี้
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยฝ่ายบริหารและองค์กรที่อยู่ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหาร
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยฝ่ายบริหารและองค์กรที่อยู่ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหาร สามารถวิเคราะห์การออกกฎของแต่ละองค์กร ดังนี้
1.1 ที่มาของกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรฝ่ายบริหาร
ที่มากฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรภายในฝ่ายบริหาร ของประเทศไทยมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ดังนี้
1. พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree) คือ บรรดากฎเกณฑ์ทากฎหมาย ซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขขอรัฐอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยตรงกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยรัฐธรรมนูญประกอบกฎหมายระดับบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งตราขึ้นใช้บังคับ สำหรับพระราชกฤษฎีกาผู้เขียนจะอธิบายรายละเอียดในหัวที่ 2. การศึกษาขอบเขตของกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” กรณีศึกษาพระราชกฤษฎีกาภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
2. กฎกระทรวง (Ministerial Regulations) คือ กฎหมายลำดับรองที่เป็นบรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งตราออกมาใช้บังคับ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีโดยได้ถือปฏิบัติเช่นนี้ตลอดมา จึงถือได้ว่ามีกฎหมายจารีตประเพณีกำหนดให้กฎกระทรวงจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี การฟ้องขอให้แก้ไขหรือเพิกถอนกฎกระทรวง จึงเป้นการฟ้องคดีตามมาตรา 11 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
3. ประกาศกระทรวง (Ministerial Announce) คือ กฎหมายลำดับรองเป็นบรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง อาศัยอำนาจตามกฎหมาย กำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาใช้บังคับเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจบรรลุตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งการออกประกาศกระทรวงจะพบว่าออกโดยโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้
1) ประกาศกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ
2) ประกาศกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกา
3) ประกาศกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง
4) ประกาศกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบ
เมื่อพิจารณาศึกษาข้อพิจารณาเกี่ยวกับกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงนั้นต่างก็เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งนั้นเช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันตรงที่กฎกระทรวงจะประกาศใช้ได้นั้นจำเป็นต้องผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี แต่ประกาศกระทรวงไม่ต้องผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี สามารถประกาศใช้ได้เลย
4. มติคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ที่มีสถานะเป็นกฎ มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการและข้าราชการถือปฏิบัติเป็นการทั่วไป แม้ไม่มีผลโดยตรง แต่ส่วนราชการต่าง ๆสามารถนำมติคณะรัฐมนตรีไปใช้บังคับกับข้อเท็จจริงกรณีต่าง ๆ ให้เกิดผลทางกฎหมายได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “กฎ” เช่น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ที่เห็นชอบตามมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยด้วยการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐพิจารณาการขอเลขหมายโทรศัพท์ใหม่ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
5. ระเบียบเป็นกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแม่บท กฎหมายลำดับรองอื่น ๆ โดยมีเนื้อหาเป็นรายละเอียดที่เป็นงานประจำขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง แยกพิจารณได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บท เช่น ระเบียบที่เป็นกฎที่ออกโดยรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2502 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถออกระเบียบว่าด้วยเงินทดรองราชการได้ เป็นต้น หรือกฎหมายลำดับรองอื่น ๆ เช่น ระเบียบกรมขนส่งทางบก ว่าด้วยการอนุญาตเป็นผู้ฝึกสอนขับรถ พ.ศ. 2547 ออกตามข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองโรงเรียนสอนขับรถ พ.ศ. 2546 เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามหลักการบังคับบัญชา ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 ระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามหลักการบังคับบัญชาและมิได้อ้างอำนาจจากกฎหมายใด เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 เป็นต้น ลักษณะที่ 2 ระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามหลักการบังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เช่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยให้ดูดทราย พ.ศ. 2546 เป็นต้น
6. หนังสือเวียน เป็นหนังสือสั่งการภายในฝ่ายปกคครอแต่อย่างไรก็ตาม หนังสือเวียนบางเรื่องก็เป็น “กฎ” ได้เช่นกัน ได้แก่ หนังสือกระทรวงการคลังซึ่งแจ้งให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องและส่วนราชการทราบเพื่อถือเป็นแนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯมีลักษณะเป็น “กฎ” หนังสือกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2521 เรื่อง หลักการพิจารณาออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปเพื่อให้นายทะเบียนอาวุธปืนทุกจังหวัดถือเป็นแนวทางในการพิจารณาออกใบอนุญาตโดยการวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณอนุญาตให้มีอาวุธปืนมากน้อยเพียงใดแล้วแต่หลักฐานความจำเป็นของแต่ละบุคคล เป็นต้น
7. กฎที่ออกโดยคณะกรรมการ แยกพิจารณา ได้ดังนี้
1) กฎที่ออกโดยคณะกรรมการต่าง ๆ คือ คณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งตามกฎหมาย เช่น คณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจออกกฎ ก.ตร. ตามมาตรา 31 วรรค 1 (2) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 เป็นต้น
2) ประกาศที่ออกคณะกรรมการต่าง ๆ ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมาย เช่น ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินทำกิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2453
3) ข้อกำหนดคณะกรรมการต่าง ๆ ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมาย เช่น ข้อกำหนดคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยื่นคำขอและการรับรองเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2548 เป็นต้น
4) มติของคณะกรรมการ ได้แก่ มติ ก.พ. ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่ได้รับปริญญาตรีเกรียตินิยมทุกสาขาวิชาเป็นวุฒิที่สมัครเข้ารับราชการได้โดยวิธีคัดเลือกได้ เป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษที่อาจคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการได้ โดยให้มีผลใช้บังคับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544-2549 เป็นหลักเกณฑ์ใช้บังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่ได้มุงหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดเป็นการเฉพาะ มีลักษณะของกฎหมายลำดับรองทีมีฐานะเป็น “กฎ” เป็นต้น
8. บันทึกข้อความของหน่วยงานทางปกครอง เช่น บันทึกข้อความของกรมขนส่งทางบก เรื่องการออกใบอนุญาตขับนถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้กับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง เป็นนโยบายสำคัญของรัฐเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดยไม่ได้มุงหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดเป็นการเฉพาะ มีลักษณะของกฎหมายลำดับรองทีมีฐานะเป็น “กฎ”
9. หนังสือของของหน่วยงานทางปกครอง เช่น หนังสือของสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วางหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหาร ที่ ศธ.0306.4/1024 ลงวันที่ 10 มกราคม 2556 เป็นการทั่วไปโดยไม่ได้มุงหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดเป็นการเฉพาะ มีลักษณะของกฎหมายลำดับรองทีมีฐานะเป็น “กฎ”
1.2 กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรที่สังกัดฝ่ายบริหาร
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรที่สังกัดฝ่ายบริหารกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรที่สังกัดฝ่ายบริหาร คือ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรวิชาชีพ ดังนี้
1. กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดย “รัฐวิสาหกิจ” (Public Enterprise) กฎหมายที่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจโดยพระราชบัญญัติ หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกา ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจสามารถออกกฎระเบียบข้อบังคับภายในองค์กรรัฐวิสาหกิจแต่ละรัฐวิสาหกิจกับประชาชนที่ไปใช้บริการสาธารณะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนได้ ซึ่งเป็นระเบียบข้อบังคับเป็นการทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ประกาศธนาคารอาคารสงเคราะห์เรื่อง การรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เป็นต้น
2. กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดย “องค์การมหาชน” (Public Organization) ซึ่งองค์การมหาชน คือ องค์กรที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นมาให้อำนาจองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น หรือการจัดตั้งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ออกระเบียบข้อบังคับกับประชาชนที่ไปใช้บริการสาธารณะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนได้ ซึ่งกฎระเบียบข้อบังคับขององค์การมหาชนถือเป็นกฎ ดังนั้นในการพิจารณาคดีสามารถอ้างอิงได้ เป็นต้น
3. กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดย “หน่วยงานอื่นของรัฐ” ซึ่งได้แก่ องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ (State agencies) เช่น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช). ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ของรัฐ เป็นต้น หรือ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ เรียกว่า “มหาวิทยาลัยนอกระบบ” เช่น ระเบียบกำหนดกฎเกณฑ์การประเมินผลกลางของนักศึกษาแพทย์ของภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มติของสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยหรือมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลที่เห็นชอบให้ปรับฐานเงินเดือนบุคลากรประจำมหาวิทยาลัย เป็นต้น
4. กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดย “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (Local Government) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่ 5 รูปแบบ ดังนี้ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล กรุงเทศมหานคร และเมืองพัทยาซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีกฎหมายที่จัดตั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 5 รูปแบบ จะบัญญัติมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกกฎหมายขึ้นบังคับกับราษฎรในเขตท้องถิ่นของตนได้ ซึ่งมีชื่อแตกต่างกันออกไปตามชื่อองค์กรที่ตราขึ้น คือ ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ตราขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติตำบล เป็นกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ตราขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบัญญัติ เป็นกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ตราขึ้นโดยเทศบาล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ตราขึ้นโดยกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ตราขึ้นโดยเมืองพัทยา
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงที่กระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ”ตราขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างกับกฎที่ตราขึ้นโดยองค์กรบริหาร คือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง คือ กระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ตราขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้บังคับเฉพาะท้องถิ่นของตน ไม่ได้บังคับทั่วราชอาณาจักรเหมือนกันพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวง เป็นต้น
5. กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่เรียกว่า “ข้อบังคับ” ออกโดยหน่วยงานที่รับมอบหมายให้ใช้อำนาจปกครอง ได้แก่ “องค์กรวิชาชีพ” (Professional Organization) ต่าง ๆ อาทิเช่น สภาทนายความ ออกข้อบังคับมทนายความว่าด้วยการฝึกอบรมวิชาว่าความ พ.ศ. 2529 และประกาศสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความฉบับที่ 9/2549 เป็นต้น กับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการศึกษาในสถาบันแห่งนั้น เป็นต้น
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรที่มิได้สังกัดฝ่ายบริหาร
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรที่มิได้สังกัดฝ่ายบริหาร ซึ่งกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรที่มิได้สังกัดฝ่ายบริหาร มีอยู่หลายองค์กรด้วยกันสามารถวิเคราะห์กฎที่ออกโดยองค์กรมิใช่ฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นระเบียบข้อบังคับเป็นการทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง ในกรณีของประเทศไทย ได้กล่าวถึงกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กร ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรสังกัดรัฐสภา ดังนี้
1.1 กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรศาล
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรศาล (Court) เช่น ในกรณีกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยศาลยุติธรรม (Court of Justice) เช่น ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2550 เป็นต้น หรือในกรณีกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยศาลปกครอง (Administrative Court) คือ กฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติมอบอำนาจให้ศาลปกครองเป็นผู้ออกกฎ ได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุดอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีศาลปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ออกระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 เป็นต้น
1.2 กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรอิสระ
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรอิสระ (Independent Organ) เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 และมาตรา16 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตและคณะกรรมการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง เป็นต้น
1.3 กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรสังกัดรัฐสภา
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรสังกัดรัฐสภา เช่น กฎระเบียบที่ออกโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กฎระเบียบที่ออกโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นต้น
1.4 กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรอัยการ
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่ออกโดยองค์กรอัยการ ที่เรียกว่า “ข้อกำหนด” เช่น ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการ เป็นต้น
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่มาจากการรัฐประหาร
กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ที่มาจากการรัฐประหาร ประกาศคณะปฏิวัติที่มีฐานะเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” เมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายระดับกฎหมายลำดับรองที่ออกโดย “คณะปฏิวัติ” บางฉบับ ที่มีฐานะบังคับเป็น “กฎ” (Rule) คือ เช่น ประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 33 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 มีผลบังคับใช้เป็นระเบียบกระทรวง เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่แก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกแลtเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฏไทย พ.ศ. 2536 เป็นต้น หรือในกรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 279 รับความชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ คำสั่งหัวหน้าคระรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีฐานะเป็นประกาศหรือคำสั่งทางบริหาร (กฎ) เช่น ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 98/2557 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ประกอบกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 96/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เนื่องจากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามประกาศฉบับนี้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และไม่มีอำนาจหน้าที่ใดกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นคำสั่งทางบริหาร นั้นหากประกาศหรือคำสั่งใดมีฐานะเป็นคำสั่งทางบริหาร การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกย่อมต้องทำโดยคำสั่งทางบริหารหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นต้น
องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
“ความแตกต่างระหว่างอำนาจบังคับบัญชากับอำนาจกำกับดูแล”
วันนี้ผมขอนำข้อมูลเรื่องการบังคับบัญชากับการกำกับดูแลว่า มันแตกต่างกันอย่างไร เพราะบางคนยังไม่เข้าใจเรื่องนึ้ ได้สอบถามผม ผมเลยต้องนำมาโพสต์อธิบายอีกครั้ง
ความแตกต่างระหว่างอำนาจบังคับบัญชากับอำนาจกำกับดูแล จะพิจารณาข้อแตกต่าง อยู่ 4 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ความแตกต่างในแง่นิติบุคคล
อำนาจบังคับบัญชา เป็นความสัมพันธ์ภายในนิติบุคคลมหาชนเดียวกัน (หน่วยงานทางปกครองเดียวกัน) เช่น ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
อำนาจกำกับดูแล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างนิติบุคคลมหาชน (หน่วยงานทางปกครองกับหน่วยงานทางปกครอง) เช่น จังหวัดกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
ประเด็นที่ 2 ความแตกต่างในแง่ที่มาของการใช้อำนาจ
อำนาจบังคับบัญชา เป็นอำนาจทั่วไปที่เกิดจากการจัดระเบียบภายในของรัฐ ภายในหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่ง ความสัมพันธ์ของบุคลากรจะเป็นความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นในรูปปิรามิด เจ้าหน้าที่แต่ละคนซึ่งอยู่ที่ฐานปิรามิด จะขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่คนหนึ่งและต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหรือคำบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้นี้โดยเคร่งครัด และเจ้าหน้าที่ผู้นี้เองก็จะขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่เหนือตนขึ้นไป และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามคำสั่ง คำบัญชาของเจ้าหน้าที่เหนือตนขึ้นไป เป็นเช่นนี้ตลอดสาย จนถึงหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นซึ่งอยู่ที่ยอดปิรามิด และจะเป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดของหน่วยงาน ด้วยเหตุนี้เองการการควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับบัญชาจึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และผู้บังคับบัญชาจะปฏิเสธไม่ตรวจสอบคำวินิจฉัยสั่งการของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้- อำนาจบังคับบัญชา เป็น “อำนาจตามกฎหมายทั่วไป” ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะ
อำนาจกำกับดูแล เป็นอำนาจที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย กล่าวคือ รัฐ องค์กรส่วนกลางจะกำกับดูแลหรือมอบให้ส่วนภูมิภาค กำกับดูแล หน่วยงานเหล่านี้
-การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ
-รัฐวิสาหกิจหรือ
-องค์การมหาชนหรือ
-หน่วยอื่นของรัฐที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือ
-หน่วยงานทึ่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
และกำกับดูแลได้ต่อเมื่อ “กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และเพียงเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้” เท่านั้น “ไม่มีการกำกับดูแลโดยปราศจากอำนาจตามกฎหมาย และไม่มีการกำกับดูแลเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้”
ประเด็นที่ 3 ความแตกต่างในแง่ขอบเขตอำนาจการตรวจสอบการกระทำ
อำนาจบังคับบัญชา เป็นอำนาจที่เปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้อย่างสิ้นเชิง คือ สามารถตรวจสอบการกระทำต่างๆของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้ทั้งในแง่ “ความชอบด้วยกฎหมาย” และ “ความเหมาะสม” ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงไม่มีอิสระโดยปราศจากการควบคุมของผู้บังคับบัญชาได้
อำนาจกำกับดูแล โดยปกติกฎหมายจะให้อำนาจรัฐหรือองค์การปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาคกำกับดูแล ตรวจสอบ
-องค์การปกครองท้องถิ่นหรือ
-รัฐวิสาหกิจ หรือ
-องค์การมหาชน หรือ
-หน่วยอื่นของรัฐที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือ
-หน่วยงานทึ่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
ในจัดทำบริการสาธารณะมิให้กระทำนอกวัตถุประสงค์และขัดแย้งกฎหมาย คือ “การตรวจสอบความชอบด้วยฎหมาย” ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นอิสระของหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแล อันเป็นหลักการกระจายอำนาจไว้
ประเด็นที่ 4 ความแตกต่างในแง่ลักษณะผลของออกคำสั่งการในการใช้อำนาจ
อำนาจบังคับบัญชา โดยหลักการมีคำสั่งใดๆ ตามอำนาจบังคับบัญชาไม่ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง อาจเรียกว่า “คำสั่งภายในฝ่ายปกครอง” ยกเว้นกรณีแต่งตั้งโยกย้าย
อำนาจกำกับดูแลของผู้กระทำดูแลที่สั่งการไปยังองค์กรหรือบุคคลที่ถูกกำกับดูแลจะเป็นคำสั่งทางปกครองทุกกรณี
องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 องค์การมหาชน คืออะไร ยังไง ไปฟังกันครับ - YouTube 的推薦與評價
... (Bureaucratic model) องค์การมหาชน มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล ... เหมาะสมที่จะจัดตั้งหน่วยงานบริหารขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากส่วนราชการและ รัฐวิสาหกิจ 3. ... <看更多>
องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ 在 สถาบันพระปกเกล้า - 👉👉เปิดรับสมัครหลักสูตร “การกำกับดูแล ... 的推薦與評價
ขององค์กรกำกับดูแล (Regulator) รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน” รุ่นที่ 22 และ 23 สำนักบริการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สถาบันพัฒนากรรมการและผู้ ... ... <看更多>