ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有19部Youtube影片,追蹤數超過63萬的網紅Skyline channel,也在其Youtube影片中提到,แลกเงินกีบ(ลาว) เงินเรียล(กัมพูชา) เงินด่อง(เวียดนาม) ไว้เมื่อ 2 ปีก่อน เปิดกระป๋องนับ ขาดทุนหรือกำไร?...
「อัตราแลกเปลี่ยน」的推薦目錄:
- 關於อัตราแลกเปลี่ยน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於อัตราแลกเปลี่ยน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於อัตราแลกเปลี่ยน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於อัตราแลกเปลี่ยน 在 Skyline channel Youtube 的最讚貼文
- 關於อัตราแลกเปลี่ยน 在 prasertcbs Youtube 的精選貼文
- 關於อัตราแลกเปลี่ยน 在 Skyline channel Youtube 的精選貼文
- 關於อัตราแลกเปลี่ยน 在 อัตราแลกเปลี่ยนกรมศุลกากรประจําเดือนพฤศจิก 的評價
- 關於อัตราแลกเปลี่ยน 在 เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน | ศูนย์ช่วยเหลือ Facebook Business 的評價
อัตราแลกเปลี่ยน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
Billionaire อายุน้อยที่สุด ในอินเดีย ทำธุรกิจอะไร? /โดย ลงทุนแมน
Zerodha หนึ่งในสตาร์ตอัป จากประเทศอินเดีย
มีผู้ก่อตั้งเป็น Billionaire ที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศ
คำว่า Billionaire คือบุคคลที่มีทรัพย์สินมากกว่า 30,000 ล้านบาทขึ้นไป
แล้ว Zerodha ทำธุรกิจอะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Zerodha เป็นสตาร์ตอัปโบรกเกอร์ หรือนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์
ปัจจุบัน Zerodha เป็นโบรกเกอร์ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในประเทศอินเดีย
โดยผู้ก่อตั้งได้เงินทุนในการก่อตั้งบริษัทมาจากเงินลงทุนส่วนตัว
และก็ได้ชักชวนพี่ชายมาสร้างแพลตฟอร์มนี้กันสองคน
แล้วทำไมถึงต้องเป็นธุรกิจโบรกเกอร์ออนไลน์ ?
ตลาดหุ้นอินเดีย มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 4 ในเอเชีย
แต่ขณะเดียวกัน มีคนอินเดียที่ลงทุนในหุ้นน้อยมาก
หรือคิดเป็นประมาณ 2% ของประชากรเท่านั้น
เมื่อเทียบกับ 7% ของประเทศจีน
ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่า ประเทศอินเดีย
ขึ้นชื่อเรื่องค่าธรรมเนียมการซื้อขายสินค้าทางการเงินที่แพงมาก
ไม่ว่าจะลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือนายหน้าซื้อขายหุ้น
นอกจากนั้นยังรวมไปถึงวิธีการซื้อขาย ยังทำได้ยุ่งยากอีกด้วย
ซึ่งเรื่องนี้ ก็เป็นสิ่งที่คุณ Nikhil Kamath ผู้ร่วมก่อตั้ง Zerodha เจอกับตัวเอง
ย้อนกลับไป คุณ Nikhil Kamath ลาออกจากโรงเรียนเพื่อมาเป็นนักหมากรุกตอนอายุ 14 ปี
และ 3 ปีหลังจากนั้น เขาก็ได้เริ่มเทรดหุ้น ซึ่งในเวลานั้น (20 ปีที่แล้ว) ค่าคอมมิชชันของโบรกเกอร์ในอินเดียแพงมาก
หลังจากเทรดหุ้นจนเริ่มสร้างตัวได้
คุณ Nikhil Kamath เลยตั้งใจจะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการลงทุน
ที่ช่วยขจัดปัญหาและอุปสรรคที่ต้องเจอมาตลอด
เขาจึงนำเงินเก็บมาสร้างแพลตฟอร์มโบรกเกอร์ออนไลน์ร่วมกับพี่ชาย
และ “Zerodha” ก็ได้เกิดขึ้นในปี 2010
Nikhil Kamath ตั้งใจให้แพลตฟอร์มแห่งนี้
เป็นช่องทางให้นักลงทุนรายย่อย เข้าถึงการลงทุนได้มากขึ้น
เหมือนกับชื่อบริษัท Zerodha ที่แปลว่าไม่มีสิ่งกีดขวาง
นั่นจึงทำให้ Zerodha เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ ที่คิดค่าคอมมิชชันในราคาย่อมเยา
หรือที่เรียกว่า “Discount Broker” เจ้าแรกในอินเดีย
แม้ Zerodha ยังซื้อขายหลักทรัพย์ได้เฉพาะในตลาดอินเดีย
แต่ทางบริษัทก็ได้รวมผลิตภัณฑ์ทางการเงินไว้หลากหลาย ซึ่งก็ได้แก่
หุ้น, ฟิวเจอร์ส, อ็อปชัน, อัตราแลกเปลี่ยน, ตราสารหนี้ และกองทุนรวม
ในช่วงแรก Zerodha คิดค่าคอมมิชชันในราคาต่ำ แต่ด้วยการแข่งขันที่เข้มข้นในอินเดีย ทำให้ในปัจจุบัน Zerodha ได้ยกเลิกค่าคอมมิชชันไปแล้ว
มีเพียงการซื้อขายฟิวเจอร์สและอ็อปชัน
รวมถึงการซื้อขายหุ้นภายในวันเดียวกัน
ที่ยังคงคิดค่าคอมมิชชันต่อวันที่ประมาณ 9 บาท
โดยค่าคอมมิชชันเล็กน้อย กับค่าเปิดบัญชีซื้อขายที่ 130 บาท ถือเป็นรายได้หลักของ Zerodha ในปัจจุบัน
ดูเหมือนว่าค่าคอมมิชชันราคาถูกอย่างเดียว คงไม่ใช่จุดขายที่ยั่งยืนของ Zerodha อีกต่อไป
เพราะแม้ว่าจะได้ผลดีในการดึงดูดลูกค้าในช่วงแรก
แต่สุดท้ายแล้วเหล่าโบรกเกอร์ก็ต้องแข่งกันลดค่าคอมมิชชัน
เพื่อแย่งชิงลูกค้า จนลงเอยที่การไม่คิดค่าคอมมิชชันในที่สุด
ดังนั้นการแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้าของ Discount Broker
จึงอยู่ที่การพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขาย ทั้งต้องให้ใช้งานได้ง่าย
และมีบริการเสริมอื่น ๆ เช่น กราฟ และบทวิเคราะห์
รวมไปถึงตัวเลือกในการตั้งคำสั่งซื้อขายที่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด
ซึ่ง Zerodha ก็ได้ทำให้ปัจจัยที่ว่ามานี้ กลายเป็นจุดแข็งของตัวเองได้หมด
ตั้งแต่แพลตฟอร์มซื้อขาย ซึ่งเน้นแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
ที่ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว มีฟังก์ชันการใช้งานมากมาย
อย่างการตั้งคำสั่งซื้อขายแบบมีเงื่อนไข ก็ให้ครบแบบที่โบรกเกอร์ชั้นนำทั่วโลกมี
และยังมีคำสั่งพิเศษ อย่างเช่น Margin Intraday Square-Off
ที่ให้ลูกค้าสามารถใช้เงินจำนวนเท่าเดิม แต่ซื้อขายหุ้นในมูลค่าที่มากขึ้น
แต่มีข้อแม้ว่าต้องซื้อขายกลับคืนให้จบในวันเดียวกันเท่านั้น
และสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าได้เป็นวงกว้างก็คือ
เป็นศูนย์รวมการซื้อขายกองทุนรวม และให้บริการบทวิเคราะห์เชิงลึก
นั่นจึงทำให้ Zerodha ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้เหนือกว่าคู่แข่ง
ซึ่งก็วัดผลได้จากการที่ Zerodha มีจำนวนลูกค้าที่บัญชีมีการเคลื่อนไหวอยู่มากที่สุดในประเทศ
และยังเป็นโบรกเกอร์ที่มีปริมาณซื้อขายรายวันสูงที่สุดในอินเดีย
หรือคิดเป็น 15% ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมด
เอาชนะโบรกเกอร์เก่าแก่อย่าง ICICI และ HDFC ได้
ซึ่งลูกค้าที่เพิ่มขึ้นนั้น มาจากการบอกต่อกันปากต่อปาก
โดยที่ Zerodha ไม่เคยทำการตลาดเลย
และนอกจากจำนวนลูกค้าและปริมาณการซื้อขาย
จะทิ้งห่างคู่แข่งอย่าง Upstox ที่ตามมาเป็นอันดับสองอยู่เกือบเท่าตัวแล้ว
นอกจากนี้ Zerodha ยังมีกำไรสุทธิมากกว่า Upstox เกือบ 3 เท่า
เราลองมาดูผลการดำเนินงานของ Zerodha จากข้อมูลที่ตัวแทนบริษัทเปิดเผย
ปี 2019 รายได้ 4,080 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,503 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 4,697 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,812 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า Zerodha มีความสามารถในการทำกำไรอยู่ในระดับสูง เพราะมีต้นทุนการดำเนินงานต่ำ
ในขณะเดียวกัน Zerodha ก็ยังมีแผนการอีกมากมายในอนาคต
อย่างการให้ลูกค้ากู้เงิน โดยใช้มูลค่าหุ้นหรือกองทุนรวมค้ำประกัน
รวมถึงการขอใบอนุญาตเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม
เพื่อเพิ่มช่องทางให้นักลงทุนในอินเดีย ได้ลงทุนในต่างประเทศสะดวกขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Zerodha จะมีอายุได้ร่วม 10 ปีแล้ว
แถมมีผลประกอบการที่สวยหรู แต่ที่ผ่านมาบริษัทแห่งนี้
ก็ไม่เคยระดมทุนและรับเงินลงทุนจากคนภายนอก หรือกู้เงินเลย
แต่ที่น่าสนใจคือ
ทางผู้บริหารได้ประเมินมูลค่าบริษัทตัวเองว่ามีมูลค่า อยู่ที่ระดับยูนิคอร์น หรือประมาณ 30,000 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย
และเมื่อเราไปดูกำไรที่บริษัททำได้ 1,812 ล้านบาท
หมายความว่าที่มูลค่ายูนิคอร์น บริษัทแห่งนี้ก็จะมีอัตราส่วน P/E ราว 16 เท่า
เมื่อเทียบกับ P/E ทั้งตลาดหุ้นอินเดียที่ 30 เท่า
ก็ถือว่าทางผู้บริหารให้มูลค่ากับบริษัทตัวเองน่าจะสมเหตุสมผลอยู่ไม่น้อย
ส่วน Forbes ก็ได้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของพี่น้องตระกูล Kamath ว่ามีทรัพย์สินประมาณ 48,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็น Billionaire ที่มีอายุน้อยที่สุดในอินเดีย ไปเรียบร้อยแล้ว..
ถึงตอนนี้ทุกคนคงอยากรู้แล้วว่า พี่น้องคู่นี้อายุเท่าไร
ปัจจุบันคุณ Nikhil Kamath อายุ 34 ปี
และพี่ชาย Nithin Kamath อายุ 41 ปี
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.in/business/startups/news/zerodha-valued-itself-at-1-billion-hurun-unicorn-startups-list-bumps-it-up-to-3-billion-but-founder-says-valuation-doesnt-matter/articleshow/77347721.cms
-https://www.cnbc.com/2021/01/12/zerodhas-nikhil-kamath-is-indias-youngest-new-billionaire.html
-https://www.cnbc.com/2021/01/13/investing-advice-from-zerodhas-billionaire-co-founder-nikhil-kamath.html
-https://www.forbesindia.com/lists/india-rich-list-2020/1877/all
-https://www.forbesindia.com/article/india-rich-list-2020/how-zerodhas-young-founders-nithin-and-nikhil-kamath-made-their-way-to-the-rich-list/64085/1
-https://startuptalky.com/zerodha-trading-services/
-https://economictimes.indiatimes.com/markets/stocks/news/indias-biggest-brokerage-projecting-sharp-drop-in-trading-volumes-revenue-this-year/articleshow/81909631.cms?from=mdr
-https://economictimes.indiatimes.com/markets/stocks/news/burned-out-broker-got-rich-aiding-millennials-trade-for-free/articleshow/69248060.cms?from=mdr
-https://entrackr.com/2021/02/zerodhas-revenue-grows-to-rs-1094-cr-in-fy20-with-rs-442-36-cr-profit/
-https://www.livemint.com/companies/people/zerodha-founders-nithin-kamath-and-nikhil-kamath-top-list-of-richest-self-made-indians-under-40-11602579116861.html
อัตราแลกเปลี่ยน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
TradingView ธุรกิจกราฟ ที่อยู่ในแอปซื้อขายหุ้นและคริปโททั่วโลก /โดย ลงทุนแมน
การลงทุนในทุกสินทรัพย์ทางการเงิน นอกจากเรื่องของปัจจัยพื้นฐานแล้ว
สิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้ประกอบการตัดสินใจ ก็คือกราฟเชิงเทคนิค
และในช่วงหลังมานี้ ก็มีแพลตฟอร์มที่ให้บริการกราฟราคาสินทรัพย์
ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นและถูกใช้กันเป็นวงกว้างมากขึ้น
ในกลุ่มนักลงทุน นั่นคือแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า “TradingView”
ซึ่งนอกจากช่องทางของบริษัทเองแล้ว
รู้หรือไม่ว่า TradingView ก็ยังให้บริการกราฟอยู่บน
Streaming, Investing.com, Seeking Alpha หรือแม้แต่ Bitkub อีกด้วย
แล้ว TradingView มีความเป็นมาอย่างไร
ใครเป็นคนสร้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ร่วมติดตามข่าวสารคริปโทเคอร์เรนซี จากมุมมองหลายเพจ ได้ในแพลตฟอร์ม Blockdit ลองอ่านตัวอย่างได้ที่ www.blockdit.com/explore/cryptocurrency
╚═══════════╝
TradingView เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการฐานข้อมูลของการลงทุน
ซึ่งเน้นไปที่ปัจจัยเชิงเทคนิเกิล หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอาไว้ดูกราฟนั่นเอง
และนอกจากความนิยมของ TradingView ในกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศแล้ว
ในช่วงปีที่ผ่านมา จะสังเกตได้ว่าในประเทศไทย
TradingView ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
แล้วอะไรที่ทำให้ TradingView เป็นที่นิยม ?
จุดเด่นอย่างแรกก็คือ TradingView เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุมมากที่สุด
ซึ่งนอกจากราคาหุ้นแล้ว ก็ยังมี Futures, ETFs, พันธบัตรรัฐบาล, อัตราแลกเปลี่ยน, สินค้าโภคภัณฑ์นานาชนิด ไปจนถึงคริปโทเคอร์เรนซี
และก็ไม่ได้มีแต่ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศในแถบยุโรปเท่านั้น
แต่ยังครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงของประเทศไทยด้วย
หรือเรียกได้ว่า ทุกอย่างที่มีกราฟราคา สามารถหาข้อมูลได้ใน TradingView
จุดเด่นอย่างที่สองก็คือ เรื่องการใช้งาน
ทั้งเรื่องที่ออกแบบมาให้ใช้งานสะดวก
อย่างเช่นการปรับมุมมองกราฟได้ตามใจชอบ หรือสำหรับสินทรัพย์ตัวที่ดูบ่อย
ก็สามารถจับใส่ Watchlist ไว้ หรือจะจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ตามที่ต้องการก็ได้
และยังสามารถตั้งเตือน เมื่อเกิดสัญญาณทางเทคนิคตามที่เราวางแผนไว้ได้ด้วย
ที่สำคัญก็คือ ได้รวบรวมเครื่องมือทางเทคนิเกิลไว้ให้ใช้แบบนับไม่ถ้วน
อย่างเช่น Price Pattern หรือ Fibonacci ที่มีให้เลือกใช้ไปถึงรูปแบบขั้นสูง
นอกจากนี้ ยังมีอินดิเคเตอร์ที่เป็นข้อมูลในเชิงลึก และมีเฉพาะใน TradingView
อย่างที่นิยมใช้กันก็เช่น VPVR ที่เอาไว้ดูโวลุมสะสมย้อนหลังในแต่ละช่วงราคา
หรือ MCDX SmartMoney ที่ใช้ดูว่าการเคลื่อนไหวของราคา
มาจากเม็ดเงินของนักลงทุนสถาบัน หรือมาจากนักลงทุนรายย่อย
จุดเด่นอย่างที่สามก็คือ TradingView ไม่ได้ใช้เพื่อดูกราฟเท่านั้น
แต่ถูกสร้างให้เป็นสังคมออนไลน์ของเหล่านักลงทุนทั่วโลก
ซึ่งผู้ใช้งานสามารถโพสต์มุมมองกราฟของตัวเอง เพื่อแชร์ไอเดียการลงทุน
และยังให้คนอื่นมาแสดงความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนไอเดียกันได้
หรือจะเลือกกดติดตามคนที่ชื่นชอบก็ยังได้ คล้ายกับ Twitter นั่นเอง
แล้วใครเป็นคนสร้าง TradingView ?
TradingView ก่อตั้งโดยคุณ Stan Bokov, Denis Globa และ Constantine Ivanov
โดยแต่เดิม ทั้ง 3 คนนี้ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า MultiCharts มาก่อน
ซึ่งให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการลงทุน ทั้งระบบการซื้อขาย กราฟเทคนิค และฐานข้อมูล
ให้กับโบรกเกอร์และฟินเทคชื่อดัง อย่างเช่น Interactive Brokers รวมถึง Binance
จนกระทั่งในปี 2011 หรือราว 10 ปีก่อน
ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คน ก็ได้ร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า TradingView
โดยตั้งใจจะให้เป็นทั้งสังคมออนไลน์และแหล่งรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือทางเทคนิคเชิงลึก
สำหรับใครก็ตามที่สนใจการลงทุน ไม่จำกัดว่าต้องเป็นระดับมืออาชีพ
ซึ่งก็ถือได้ว่าสังคมออนไลน์แห่งนี้
กลายเป็นชุมชนที่เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด
จากปีแรก มีผู้ใช้งานประมาณ 6 หมื่นบัญชีต่อเดือน
จนปัจจุบัน ได้ขยายมาเป็น 10 ล้านบัญชีต่อเดือน จาก 150 ประเทศทั่วโลก
สำหรับผู้ใช้งาน TradingView ก็จะมีตั้งแต่ใช้บริการได้ฟรี
หรือแบบเสียค่าบริการเป็นรายเดือนหรือรายปี
ซึ่งก็มีราคาตามแต่ละแพ็กเกจ 3 ระดับ
โดยราคาที่เพิ่มขึ้น ก็จะครอบคลุมอินดิเคเตอร์ที่หลากหลายและมีความซับซ้อนมากขึ้นนั่นเอง
นอกจากกลุ่มลูกค้ารายบุคคลแล้ว
TradingView ยังให้บริการลูกค้าที่เป็นองค์กร
ด้วยการเป็นฐานข้อมูลกราฟตามเว็บไซต์และแพลตฟอร์มต่าง ๆ
อย่างเช่นใน investing.com, Investopedia และ Seeking Alpha
และที่ใกล้ตัวที่สุด ก็คือกราฟเทคนิคใน Streaming
หรือแม้แต่ Bitkub แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีในบ้านเราก็ใช้บริการบริษัทแห่งนี้
วิธีสังเกตว่ากราฟที่เราเห็นมาจาก TradingView หรือไม่
ก็คือในหน้ากราฟราคาสินทรัพย์จะมีโลโกของทางบริษัทวางอยู่
บริเวณมุมซ้ายล่าง นั่นเอง
ปัจจุบัน TradingView ระดมทุนถึง Series B ด้วยเงินลงทุนรวม 1,300 ล้านบาท
และยังคงมีแผนจะระดมทุนไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มและขยายฐานลูกค้า
ซึ่งการเติบโตของ TradingView ในอนาคต ก็นับว่าน่าจับตามอง
เพราะปัจจุบัน นักลงทุนทั่วโลกต่างมีช่องทางในการลงทุนที่สะดวก
และเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น รวมถึงค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก
ซึ่งก็เป็นผลมาจากการพัฒนาและเติบโตของฟินเทค
นอกจากนี้ กระแสของคริปโทเคอร์เรนซี ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยดึงดูด
ให้นักลงทุนและนักเก็งกำไร หันมาสนใจการดูกราฟ
การดูความเห็นก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุนจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วยตัวเองกันมากขึ้น
สรุปได้ว่ายิ่งมีนักลงทุนหันมาสนใจลงทุนด้วยตัวเองมากเท่าไร
ก็ยิ่งจะทำให้ TradingView เติบโต มากขึ้นเท่านั้น..
╔═══════════╗
ร่วมติดตามข่าวสารคริปโทเคอร์เรนซี จากมุมมองหลายเพจ ได้ในแพลตฟอร์ม Blockdit ลองอ่านตัวอย่างได้ที่ www.blockdit.com/explore/cryptocurrency
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://techcrunch.com/2012/02/24/tradingview-european-watch-list/?_ga=2.78930324.1088731433.1620667082-1510083956.1620667082
-https://techcrunch.com/2016/07/28/tradingview-a-community-for-chart-obsessed-investors-moves-into-new-markets/
-https://techcrunch.com/2018/05/21/cryptocurrency-and-a-stock-market-boom-pushes-tradingview-to-37-million-in-new-funding/
-https://techcrunch.com/2019/04/02/tradingview-acquires-tradeit-to-add-instant-trading-apis-to-its-investor-toolkit/
-https://www.crunchbase.com/organization/tradingview
-https://techtycoons.com/stan-bokov/
-https://www.multicharts.com
-https://www.tradingview.com
อัตราแลกเปลี่ยน 在 Skyline channel Youtube 的最讚貼文
แลกเงินกีบ(ลาว) เงินเรียล(กัมพูชา) เงินด่อง(เวียดนาม) ไว้เมื่อ 2 ปีก่อน เปิดกระป๋องนับ ขาดทุนหรือกำไร?
อัตราแลกเปลี่ยน 在 prasertcbs Youtube 的精選貼文
ดาวน์โหลด Jupyter Notebook ที่ใช้ในคลิปได้ที่ ► http://bit.ly/364wyzR
เชิญสมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้ได้ที่ ► https://www.youtube.com/subscription_center?add_user=prasertcbs
สอน Pandas ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GGsOHPCeufxCLt-uGU5Rsuj
สอน Jupyter Notebook ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GErrygsfQtDtBT4CloRkiDx
สอน Machine learning ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GH_3VrwwnQafwWQ6ibKnEtU
สอน Python สำหรับ data science ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GFVfRk_MmZt0vQXNIi36LUz
สอน Numpy ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GFNEpzsCBEnkUwgAwOu_PWw
สอน matplotlib ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GGRvUsTmO8MQUkIuM1thTCf
สอน seaborn ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GGC9QvLlrQGvMYatTjnOUwR
สอนภาษาไพธอน Python เบื้องต้น ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GH4YQs9t4tf2RIYolHt_YwW
สอนภาษาไพธอน Python OOP ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GEIZzlTKPUiOqkewkWmwadW
สอน Python 3 GUI ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GFB1Y3cCmb9aPD5xRB1T11y
สอนการใช้งานโปรแกรม R: https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GGSiUGzdWbjxIkZqEO-O6qZ
สอนภาษา R เบื้องต้น ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GF6qjrRuZFSHdnBXD2KVIC
#prasertcbs_datascience #prasertcbs #prasertcbs_pandas
อัตราแลกเปลี่ยน 在 Skyline channel Youtube 的精選貼文
เงินตราที่เคยใช้ในอีสาน อัตราแลกเปลี่ยน การซื้อขายในอีสานเมื่อ 130 ปีก่อน
อัตราแลกเปลี่ยน 在 เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน | ศูนย์ช่วยเหลือ Facebook Business 的推薦與評價
ธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงินของคุณอาจใช้อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินกับการซื้อโฆษณาบน Facebook ของคุณ. ... <看更多>
อัตราแลกเปลี่ยน 在 อัตราแลกเปลี่ยนกรมศุลกากรประจําเดือนพฤศจิก 的推薦與評價
ประเทศ. สกุลเงิน. รหัสสกุลเงิน. การส งของออก. การนําเข า. สหรัฐอเมริกา. ดอลลาร สหรัฐ. USD. 33.1287. 33.5707. สหราชอาณาจักร. ปอนด สเตอร ลิง. ... <看更多>