"เศรษฐกิจพอเพียง: ทางสายกลางภายใต้หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข"
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้แนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ซึ่งองค์การสหประชาชาติทูลเกล้าฯถวายรางวัล "ความสำเร็จด้านการพัฒนามนุษย์" (The UNDP Human Development Lifetime Achivement Award)
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ "ยึดหลักทางสายกลาง" ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทาง สายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
บทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือ สรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้
3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
3 ห่วง ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
2 เงื่อนไขตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ดังนั้น “เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม”� หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
เงื่อนไขความรู้ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นคุณูปการต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผมจึงเรียบเรียงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาให้อ่านกันนะครับ
"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
ภายใต้ปรัชญากฎหมายแบบปฏิฐานนิยมที่มีอิทธิพลอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีอิทธิพลปรัชญากฎหมายสำนักอื่นอยู่บ้าง เช่น ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาหรือแม้กระทั่งอรรถประโยชน์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 9) ใน “มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดอันทรงคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) อันเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตให้แก่เหล่าพสกนิกรทั้งหลายมานานกว่า 30 ปี และทรงเน้นย้ำแนวทางดังกล่าว ดังเช่นข้อความตอนหนึ่งในพระราชดำรัช พระราชทานแด่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“...แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า Self-sufficiency ซึ่ง Self-sufficiency นี้ หมายความว่าผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง ที่อื่นเขาแปลจากภาษาฝรั่งกันว่าให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี้ มีคนบางคนเขาพูดว่า ชอบกล ใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธแต่ตัวเอง ยืนบนขาตัวเองก็หกล้ม อันนี้ก็เป็นความคิดที่มันอาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง หมายความว่า 2 ขาของเรานี่ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปยืมขาคนอื่นมาใช้เพื่อที่จะยืนอยู่ แต่ว่าพอเพียงนี้มีความกว้างกว่า ยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่า พอก็เพียง พอเพียงนี่ก็พอ คนเราถ้าพอในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทะอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยสรุปสาระสำคัญเป็นแผนภาพได้ดังนี้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) : ทางสายกลาง
พอประมาณ
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม
(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน แบ่งปัน)
นำไปสู่
ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน
การเรียนรู้ด้วยหลักการ “พอเพียงและพึ่งพาตนเอง” ประชาชนสามารถรับปฏิบัติในการดำรงชีวิตอย่างพออยู่ พอกิน ตามควรแก่อัตภาพของตน เศรษฐกิจพอเพียงยังมีวิถีการดำเนินชีวิตที่มีความคุ้มครองกันตัวเอง ยามที่เกิดวิกฤตการณ์ใดๆก็จะสามารถที่จะเอาตัวรอดได้เสมอเพราะพึ่งพาตนเองได้ แตกต่างกับระบบวิธีอื่นๆที่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆในการแก้ปัญหาและไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง
องค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าของปรัชญาในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี้และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ด้วยการทูลเกล้าฯถวายรางวัล ”ความสำเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์” (The UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) ซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรกที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวสดุดีในการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้ว่า
“ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จักทำให้วิถีของคนไทยดีขึ้นเป็นที่แจ้งประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงต่างพากันกล่าวขานพระนามพระองค์ว่า เป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาและเรียกร้องให้นานาประเทศหันมาตื่นตัว เรียนรู้ปรัชญานี้ เพื่อนำไปปรับปรุงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละประเทศ”
แนวคิดเร่งเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน มิได้เป็นเพียงแต่ปรัชญาที่พระองค์ได้ทรงชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตที่พอเหมาะพอดีให้แก่ปวงพสกนิกรในพระองค์เท่านั้น แต่ทรงยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในพระราชจริยวัตรของพระองค์เองมาโดยตลอด นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เรื่องนี้ย่อมเป็นบทเรียนที่ดีให้แก่เราทั้งหลายว่า การเสนอแนะให้ผู้อื่นทำสิ่งใด ผู้เสนอแนะควรจะต้องลงมือทำเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นด้วย
เงื่อนไขความรู้ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภายใต้ปรัชญากฎหมายแบบปฏิฐานนิยมที่มีอิทธิพลอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีอิทธิพลปรัชญากฎหมายสำนักอื่นอยู่บ้าง เช่น ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาหรือแม้กระทั่งอรรถประโยชน์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชการที่ 9) ใน “มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดอันทรงคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) อันเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตให้แก่เหล่าพสกนิกรทั้งหลายมานานกว่า 30 ปี และทรงเน้นย้ำแนวทางดังกล่าว ดังเช่นข้อความตอนหนึ่งในพระราชดำรัช พระราชทานแด่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541
“...แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า Self-sufficiency ซึ่ง Self-sufficiency นี้ หมายความว่าผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง ที่อื่นเขาแปลจากภาษาฝรั่งกันว่าให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี้ มีคนบางคนเขาพูดว่า ชอบกล ใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธแต่ตัวเอง ยืนบนขาตัวเองก็หกล้ม อันนี้ก็เป็นความคิดที่มันอาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง หมายความว่า 2 ขาของเรานี่ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปยืมขาคนอื่นมาใช้เพื่อที่จะยืนอยู่
แต่ว่าพอเพียงนี้มีความกว้างกว่า ยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่า พอก็เพียง พอเพียงนี่ก็พอ คนเราถ้าพอในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทะอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยสรุปสาระสำคัญเป็นแผนภาพได้ดังนี้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) : ทางสายกลาง
พอประมาณ
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม
(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน แบ่งปัน)
นำไปสู่
ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน
การเรียนรู้ด้วยหลักการ “พอเพียงและพึ่งพาตนเอง” ประชาชนสามารถรับปฏิบัติในการดำรงชีวิตอย่างพออยู่ พอกิน ตามควรแก่อัตภาพของตน เศรษฐกิจพอเพียงยังมีวิถีการดำเนินชีวิตที่มีความคุ้มครองกันตัวเอง ยามที่เกิดวิกฤตการณ์ใดๆก็จะสามารถที่จะเอาตัวรอดได้เสมอเพราะพึ่งพาตนเองได้ แตกต่างกับระบบวิธีอื่นๆที่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆในการแก้ปัญหาและไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง
องค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าของปรัชญาในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี้และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ด้วยการทูลเกล้าฯถวายรางวัล ”ความสำเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์” (The UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) ซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรกที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวสดุดีในการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้ว่า
“ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จักทำให้วิถีของคนไทยดีขึ้นเป็นที่แจ้งประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงต่างพากันกล่าวขานพระนามพระองค์ว่า เป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาและเรียกร้องให้นานาประเทศหันมาตื่นตัว เรียนรู้ปรัชญานี้ เพื่อนำไปปรับปรุงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละประเทศ”
แนวคิดเร่งเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน มิได้เป็นเพียงแต่ปรัชญาที่พระองค์ได้ทรงชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตที่พอเหมาะพอดีให้แก่ปวงพสกนิกรในพระองค์เท่านั้น แต่ทรงยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในพระราชจริยวัตรของพระองค์เองมาโดยตลอด นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เรื่องนี้ย่อมเป็นบทเรียนที่ดีให้แก่เราทั้งหลายว่า การเสนอแนะให้ผู้อื่นทำสิ่งใด ผู้เสนอแนะควรจะต้องลงมือทำเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นด้วย
เงื่อนไขความรู้ 在 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน - YouTube 的推薦與評價
... 01:29 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 01:44 ความพอประมาณ 02:22 ความมีเหตุผล 03:13 มีภูมิคุ้มกัน 04:43 เงื่อนไขความรู้ 05:19 เงื่อนไขคุณธรรม ... ... <看更多>