มีเป้าหมายเก็บเงินหลักแสนหลักล้าน ทำไมถึงทำไม่ได้สักที 💸😢
.
.
เชื่อว่ามีหลายคนที่ตั้งเป้าหมายการเงิน แล้วทำไม่ได้ หรือทำแล้วไปได้สักพัก ก็หลุดเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายเกี่ยวกับ “การออม”
.
หลายคนคิดว่าเป็นปัญหาเรื่องของ “วินัย” แต่เอาเข้าจริงแล้ว เป็นเรื่องของ “เป้าหมาย” ครับ
.
เรื่องของการออม (หรือการลงทุน) นั้น ถ้าเราตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลขการเงิน เช่น เก็บเงินให้ได้ 100,000 ภายในสิ้นปีนี้ หรือเก็บเงิน 1,000,000 ในอีก 3 ปีข้างหน้า หลายครั้งที่เราอาจรู้สึกตื่นเต้นกับเป้าหมาย แล้วก็ขยันตั้งใจอยู่ได้สักพัก (อาจมีโหมในช่วงแรกๆด้วย เก็บซะเยอะเชียว) แล้วสุดท้ายก็เหนื่อย หยุด และเลิกไปในที่สุด
.
ปัญหาแบบนี้มาจากเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนครับ และเป้าหมายที่ว่านี้ ไม่ใช่เป้าหมายการเงินด้วย แต่เป็น “เป้าหมายชีวิต” (Life Goal)
.
ทำไม? ต้องเก็บเงินให้ได้ 100,000 ภายใน 1 ปี
ทำไม? อีก 3 ปี ต้องมีเงิน 1 ล้านบาท
.
มีเป้าหมายเรียนต่อในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อโอกาสในหน้าที่การงาน และการออกไปสร้างธุรกิจของตัวเอง หรือมีเป้าหมายซื้อบ้านในอีก 3 ปีข้างหน้า ต้องการเงินดาวน์ 10% เพื่อบ้านหลังแรกของครอบครัว ฯลฯ
.
เป้าหมายเหล่านี้ต่างหาก คือ จุดเริ่มต้นของเป้าหมายทางการเงินที่มีโอกาสเป็นไปได้ และประสบความสำเร็จ และที่สำคัญ ต้องเป็นเป้าหมาย “ของเรา” จริงๆ คิดเอง เลือกเอง และเป็นสิ่งที่เราต้องการจริงๆ ไม่ได้คิดตามหรือหยิบยืมใครมา
.
แนวคิดการตั้งเป้าหมายแบบนี้ ฝรั่งเค้าเรียกกันว่า “Strong Why?” หรือ “เป้าหมายที่มีเหตุผลสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง” มันคือ เป้าหมายที่คุณต้องการจริงๆ มีเหตุผลที่ทำไมต้องทำให้ได้ ไม่ได้ไม่ได้ และถ้าได้มันทำให้รู้สึกภูมิใจในตัวเอง และสร้างความสุข “แท้” ให้กับชีวิต
.
สุขแท้แค่ไหน วัดยังไง เอาว่าแค่คิดถึงวันที่ทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ก็ทำให้น้ำตารื้น หรือรู้สึกมีความสุขได้ อันนี้ก็ถือว่าโอเคครับ
.
เท่าที่ผมสังเกต เป้าหมายที่มี Strong Why? มักเป็นเป้าหมายที่เราทำเพื่อ “คนที่เรารัก” ครับ
.
ตั้งใจจะกู้ซื้อบ้านเป็นของตัวเอง เพราะอยากให้พ่อแม่ภูมิใจ (บางครอบครัวอยู่บ้านเช่ามาทั้งชีวิต ก็อยากมีเป็นของตัวเองบ้าง) อยากเห็นวันที่แม่นั่งจัดข้าวของภายในบ้าน แต่บ้าน พ่อยืนออกกำลังอยู่หน้าบ้านของเราเอง
.
หรืออยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เริ่มต้นทดลองทำมาสักระยะคิดว่าไปได้ ก็เลยตั้งเป้าหมายสะสมเงิน 100,000 บาท สำหรับกิจการแรกของตัวเอง เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของภรรยา (หรือสามี) และลูก
.
หรืออยากเก็บเงินสำรองให้ได้ เพราะเคยพลาดมาแล้วในช่วงล๊อคดาวน์ ไม่อยากให้ชีวิตถอยหลังแบบนั้นอีก จึงตั้งเป้าหมายเก็บเงินสำรองให้ได้ 6 เดือน ภายใน 2 ปีนี้
.
ดูเข้มข้นกว่าตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลขเงินออมแบบลอยๆ เยอะเลยจริงมั้ยครับ !!
.
โดยสรุป “คนเราควรจะตั้งเป้าหมายชีวิตให้ชัด ก่อนตั้งเป้าหมายทางการเงิน”
.
เริ่มจากการที่กำหนดรูปแบบชีวิตที่ต้องการให้ชัดเจน ด้วยการลองตั้งคำถามกับตัวเองดูว่า “เราต้องการจะใช้ชีวิตแบบไหนอย่างไร” แล้วค่อยมาดูว่า รูปแบบชีวิตที่อยากได้ จำเป็นต้องใช้เงินสนับสนุนมากน้อยขนาดไหน
.
ไม่ใช่อยู่ดีๆจะตั้งเป้าหมายว่าอยากมีเงินล้าน แต่กลับตอบไม่ได้ว่าต้องการเงินสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร มันจะทำให้เป้าหมายของเรานั้นไม่มีพลัง และกำลังใจของเราก็จะลดลงเรื่อยๆ และทำให้สิ่งที่เราอยากได้นั้นมันเป็นไปได้ยาก
เมื่อเป้าหมายชีวิตชัด เป้าหมายการเงินก็ชัดตามการเรียนรู้และลงมือทำก็ย่อมง่ายไปด้วย
.
ลำดับของเป้าหมาย: เป้าหมายชีวิต → เป้าหมายการเงิน → เป้าหมายการเรียนรู้
.
ลำดับการตั้งคำถาม: ชีวิตเราต้องการอะไร → สิ่งที่ต้องการสำหรับสนับสนุนชีวิตในแบบที่ต้องการ → เราต้องเรียนรู้และเริ่มต้นลงมือทำอะไรบ้าง
.
ทีนี้ถ้าเราลงมือทำอย่างตั้งใจ ลำดับความสำเร็จก็จะย้อนกลับแบบนี้ครับ เป้าหมายการเรียนรู้สำเร็จ ทำในสิ่งที่ต้องทำได้ เรียนรู้และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ก็จะช่วยให้เป้าหมายการเงินเดินหน้าไปสู่จุดที่หวังไว้ และเมื่อเป้าหมายการเงินสำเร็จ เราก็จะได้ชีวิตในแบบที่ต้องการ
.
แต่แน่นอนครับว่า ชีวิตไม่ได้มีแต่สิ่งที่เราสมหวังเสมอไป แต่ก็ใช่ว่าผิดหวังแล้วจะ “ล้มเหลว” สิ่งที่ต้องทำเมื่อตั้งเป้าหมายแล้วไปไม่ถึง ก็คือ “ทบทวน-เปลี่ยนวิธีการ-เดินหน้าต่อไป”
.
ยังไงลองหยิบไอเดียนี้ไปตั้งเป้าหมายการเงินกันใหม่ดูนะครับ ปัญหาตั้งเป้าหมายแล้วล้มเลิก อาจดีขึ้นด้วย หากเราตั้งเป้าหมายการเงินสอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตครับ เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับพ้มม
#TheMoneyCoachTH
同時也有513部Youtube影片,追蹤數超過23萬的網紅Kru-Ngor ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ,也在其Youtube影片中提到,#ไลฟ์ครูเงาะ ? EP.105 : จะรู้ได้ไงว่าเราไม่ได้รักคนผิด ⠀ ⠀ ? มาติดตามและแชร์เกร็ดความรู้ดี ๆ กันได้ที่ไลน์ @kru-ngor (มี@นำหน้านะคะ)⠀ ? คลิก https:...
「เป้าหมาย goal」的推薦目錄:
- 關於เป้าหมาย goal 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
- 關於เป้าหมาย goal 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
- 關於เป้าหมาย goal 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於เป้าหมาย goal 在 Kru-Ngor ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ Youtube 的最佳解答
- 關於เป้าหมาย goal 在 Kru-Ngor ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ Youtube 的最讚貼文
- 關於เป้าหมาย goal 在 Kru-Ngor ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ Youtube 的最佳解答
- 關於เป้าหมาย goal 在 SETTING GOAL TO COPE WITH UNCERTAINTY . แม้จะผ่านมา ... 的評價
- 關於เป้าหมาย goal 在 เป้าหมายสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร? (GOAL) PODCAST - YouTube 的評價
- 關於เป้าหมาย goal 在 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) | PTT Global Chemical 的評價
เป้าหมาย goal 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
อยากลงทุน เริ่มต้นยังไงดี?
.
“โค้ชหนุ่มคะ อยากเริ่มลงทุนควรจะเริ่มจากตรงไหนดีคะ” นี่เป็นคำถามยอดฮิต ติดชาร์ทอมตะนิรันดร์กาล และอยู่คู่บ้านคู่เมืองมาหลายยุคหลายสมัย
.
ไม่ผิดอะไรที่ไม่รู้ เพราะเรื่องหลักและวิธีการลงทุนนั้น ไม่ได้มีสอนกันในโรงเรียนจริงๆ คนที่มีเงินเก็บเงินออม พอจะเริ่มลงทุนจึงไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร
.
ตอบเร็วๆ สั้นๆ
.
1. กำหนดเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจน
2. รู้ความสามารถในการรับความเสี่ยงของตัวเอง
3. รู้จักและเข้าใจสินทรัพย์ที่จะลงทุน
4. มีแผนการลงทุน และรักษาวินัย
.
ครบ 4 ข้อ ก็พอเริ่มต้นลงทุนได้แล้วครับ
.
ทีนี้ตอบยาวๆ บ้าง 555
.
1.
อันดับแรกต้องทราบก่อนว่า เราจะลงทุนไป “เพื่ออะไร” หรือพูดอีกอย่างก็คือ ต้องรู้ “เป้าหมาย” (Goal) ของการลงทุนให้ชัดเจน คนเรามีเป้าหมายในชีวิตแตกต่างกัน และในเวลาเดียวกันเราก็มีหลายเป้าหมายได้ ไม่ผิดกติกา
.
เช่น บางคนอาจอยากลงทุนเพื่อเก็บเงินเรียนต่อ บ้างอาจเก็บเงินท่องเที่ยว บางคนอยากมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมีเงิน 5 ล้าน 10 ล้าน ภายใน 10 ปี หรือบางคนอาจอยากเกษียณทางการเงินเร็ว ตั้งแต่อายุ 40 ปี แบบนี้เครื่องมือและวิธีการลงทุนก็จะแตกต่างกันไป
.
การรู้เป้าหมายของตัวเองและมี “กรอบเวลา” (time frame) ที่จะบรรลุเป้าหมายอย่างชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถจัดสรรเงินและจัดสรรการลงทุนที่เหมาะกับเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง และอาจทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้พร้อมๆ กัน หรือหากมีข้อจำกัดในการการลงทุน ก็จะจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของแต่ละเป้าหมายได้ดี
.
2.
ถัดมาเป็นเรื่องของการรู้จักและเข้าใจตัวเองครับ เพราะการลงทุนให้ “ผลตอบแทน” (Return) สูงกว่าการออมก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน ก็มี “ความเสี่ยง” (Risk) อยู่ด้วย เป็นเสมือนอีกฝั่งหนึ่งของเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ
.
เรารับความเสี่ยงได้มากหรือน้อยแค่ไหน ผู้ลงทุนต้องทำความรู้จักและเข้าใจตัวเองให้ดี ถ้าหากรับความเสี่ยงได้มาก (เช่น เห็นความผันผวนขึ้นลงของราคาสินทรัพย์สัก 30% แล้วยังทนไหว) ประกอบกับระยะเวลาถึงเป้าหมายยังอีกไกล (เกิน 10 ปี) แบบนี้ก็อาจเลือก “สินทรัพย์” ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้ อย่างเช่น หุ้น กองทุนหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ เพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น
.
แต่ถ้าตัวเราเห็นราคาสินทรัพย์ขึ้นลงผันผวนหนักๆ แล้วหัวใจจะวาย อยู่ไม่เป็นสุข ประกอบกับระยะเวลาของเป้าหมายสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) แบบนี้ก็อาจเลือกเก็บสะสมเงินเยอะหน่อย แล้วลงทุนสินทรัพย์มั่นคง อย่าง เงินฝากดอกเบี้ยสูง ตราสารหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนตราสารหนี้ เพิ่มขึ้น (แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีความเสี่ยงเลยนะ) เพื่อลดความเสี่ยงลง ก็เป็นได้
.
3.
เราจะเอาเงินไปวางไว้ในทรัพย์สินอะไร ความเข้าใจในทรัพย์สินนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ทีนี้ “ความเข้าใจ” ระดับไหน แค่ไหนกันหละ ที่ต้องรู้ต้องมี ลองตอบคำถามต่อไปนี้ดู
.
👉 สินทรัพย์ที่เราลงทุน มีรูปแบบการสร้างผลตอบแทนอย่างไร? (มูลค่าเพิ่ม/เงินปันผล/??)
👉 กลไกอะไรบ้าง? ที่ทำให้มูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ปันผลเพิ่มขึ้น (หรือลดลง)
👉 สิ่งที่ผลกระทบต่อมูลค่า หรือการปันผลของสินทรัพย์มีอะไรบ้าง? (ความเสี่ยง)
👉 แนวทางป้องกันความเสี่ยง เพื่ออัตราผลตอบแทนการลงทุนที่ต้องการ
👉 ผลตอบแทนคาดหวังที่น่าจะเป็นไปได้ของสินทรัพย์เป็นเท่าไหร่?
👉 ความผันผวนของสินทรัพย์มีมากน้อยแค่ไหน
👉 หลักการลงทุนให้ประสบความสำเร็จในทรัพย์สินนั้น
👉 ฯลฯ
.
ถ้ายังตอบไม่ได้ ลองศึกษาหาคำตอบ เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นนะครับ จำไว้ว่า ไม่ใช่แค่ High Risk, High Return หรอก / High Understanding ก็ High Return เหมือนกัน
.
4.
เมื่อรู้จักเป้าหมาย รู้จักตัวเอง รู้จักเครื่องมือลงทุน ก็ถึงเวลาที่เราจะมากำหนดแผนการลงทุนของเรา ซึ่งแผนการลงทุนอย่างง่าย มีสิ่งที่เราต้องพิจารณา ดังนี้
.
👉 เราสามารถจัดสรรเงินมาลงทุนได้เดือนละเท่าไหร่?
👉 เงินลงทุนจะจัดสรรอย่างไร? ลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้าง (กระจายความเสี่ยง)
👉ผลตอบแทนคาดหวังของพอร์ตเป็นเท่าไหร่?
👉 การติดตามผลการลงทุน จะทำทุกๆ เมื่อไหร่ (รายปี/ราย 6 เดือน)
👉 กรณีกำไรเติบโตมาก ทำอย่างไร? / กรณีขาดทุนเสียหายหนัก ทำอย่างไร
👉 ฯลฯ
.
กำหนดให้ชัด แล้วก็ปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อย่างมีวินัย
.
ในความเป็นจริงตอนเริ่มต้น ในขณะที่เงินลงทุนยังน้อย คุณอาจลองซื้อลองขาย ลองลงทุน แบบไม่ต้องคิดมากได้ เพราะเงินลงทุนนิดหน่อย ต่อให้โชคร้ายขาดทุนบ้าง ก็จะไม่เจ็บหนักเท่าไหร่ (เพราะจำกัดความเสี่ยงด้วยปริมาณเงินลงทุนไปแล้ว)
.
แต่หากมีการใส่เงินเข้าไปในการลงทุนของคุณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เงินลงทุนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็อย่าลืมปรับการลงทุนของคุณ ตามแนวทาง 4 ข้อนี้นะครับ
.
การลงทุนเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต เพราะโลกการเงินก็เปลี่ยนไปตลอด ดังนั้นอย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเองเป็น “นักลงทุนที่ดี” นะครับ
.
ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการลงทุน เงินเติบโตบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ครับ
#TheMoneyCoachTH
เป้าหมาย goal 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
“ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb” การรวมกิจการ ที่กำลังเกี่ยวข้องกับคนทั้งประเทศ
ttb X ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ข่าวใหญ่ในแวดวงสถาบันการเงิน
คือการประกาศรวมกิจการของ ทีเอ็มบี และ ธนชาต
จาก 2 ธนาคารมาเป็นธนาคารเดียวกัน
เป็นเหตุการณ์ที่คนทั้งประเทศเฝ้าจับตามองว่าสุดท้ายแล้วการรวมกิจการครั้งนี้
รูปแบบการบริหารธุรกิจของธนาคาร จะเป็นอย่างไร
ล่าสุดข้อสงสัยเหล่านี้ ได้สิ้นสุดลง เมื่อทีมผู้บริหารออกมาเปิดเผยนโยบาย
หลังการรวมทีมของสองธนาคารได้เสร็จสมบูรณ์ 100%
พร้อมประกาศใช้ชื่อหลังรวมกิจการว่า “ทีเอ็มบีธนชาต” หรือชื่อย่อว่า ttb
t ตัวแรกย่อมาจาก TMB
t ตัวที่สองย่อมาจาก Thanachart
b ย่อมาจาก Bank หรือ ธนาคาร
โดยไอเดียมาจากอักษรตัว t สองตัวแทนตัวย่อของ 2 ธนาคารคือ ทีเอ็มบี และ ธนชาต
ส่วนอักษร b ตัวเดียวคือ การรวมกันเป็นหนึ่งธนาคาร นั่นเอง
คำถามก็คือต่อจากนี้ไป “ทีเอ็มบีธนชาต” หรือ ttb จะมีกลยุทธ์การบริหารอย่างไร
แล้วจะเปลี่ยนแปลงชีวิตทางการเงินของลูกค้าตัวเอง ด้วยวิธีไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า การรวมของ 2 ธนาคารพร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็น ttb
ได้ทำให้โครงสร้างธนาคารแห่งนี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทยเลยทีเดียว
โดยมีสินทรัพย์รวมกว่า 2 ล้านล้านบาท มีลูกค้าราว 10 ล้านราย
และมีพนักงานรวมมากกว่า 15,000 คน
ที่น่าสนใจก็คือพนักงานทั้งหมดจะขับเคลื่อนด้วยนโยบายบริหารเดียว
ONE DREAM, ONE TEAM, ONE GOAL หรือ 1 ความฝัน 1 ทีมขนาดใหญ่ เพื่อไปถึง 1 เป้าหมาย
คำถามก็คือแล้วเป้าหมายที่ “ทีเอ็มบีธนชาต” จะขับเคลื่อนให้เกิดเป็นภาพความจริงขึ้นมาคืออะไร
คำตอบก็คือ “การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีทั้งในวันนี้ และในอนาคต เพื่อคนไทย”
หลายคนคงสงสัยต่อว่า แล้วนิยามของคำว่า “สร้างชีวิตการเงินที่ดี” คืออะไร
…
..
ช่วงการระบาดของโควิด 19 ทางธนาคารแห่งนี้มีนโยบายช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้ารายย่อย
SMEs รวมถึงลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ โดยที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือไปแล้วกว่า 750,000 ราย
ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนปรนชำระหนี้ จนถึงการมอบดอกเบี้ยสินเชื่อในอัตราพิเศษ
ซึ่งทาง ttb ก็เชื่อว่าหากลูกค้าทุกกลุ่ม สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้
นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งแล้วนั้น ยังจะสามารถเติบโตไปอย่างยั่งยืนพร้อม ๆ กับธนาคารได้
ส่วนเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ก็คือการบริการลูกค้ารายย่อยกว่า 10 ล้านราย
ทำให้โจทย์ที่ธนาคารต้องคิดคือ ในชีวิตการเงินของคนหนึ่งคน เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
โดยแบ่งเป็น 4 เรื่องหลัก ๆ
1. ฉลาดออม ฉลาดใช้ : ผ่านผลิตภัณฑ์การออมทรัพย์ที่หลากหลาย
ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นจุดแข็งของทีเอ็มบีที่มีผลิตภัณฑ์การออมเงิน
ที่สร้างชื่อตอบโจทย์ลูกค้าด้วยความคุ้มค่า เช่น บัญชี ALL FREE และบัญชี NO FIXED
ซึ่งเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่กำลังก่อร่างสร้างตัว เพื่อล้านแรกในชีวิต
2. รอบรู้เรื่องกู้ยืม : ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อหลากหลายทั้งสินเชื่อบ้าน โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์
ที่ธนชาต คือเบอร์หนึ่งในธุรกิจนี้มายาวนาน พร้อมกับมีพนักงานให้คำปรึกษา
เพื่อให้การกู้ยืมเกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่เริ่มต้นสร้างครอบครัว
3. ลงทุนเพื่ออนาคต : ผ่านผลิตภัณฑ์การเงินหลากหลายที่ตอบโจทย์การลงทุนครบวงจร
โดยจะมีทีมที่ปรึกษาระดับมืออาชีพคอยแนะนำ จับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการชีวิตมั่นคงหลังเกษียณ
4. ความคุ้มครองที่อุ่นใจ : ผ่านผลิตภัณฑ์หลากหลายทั้งประกันชีวิต, สุขภาพ, การวางแผนมรดก
เหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่เข้าสู่วัยเกษียณ
จะเห็นว่า “การรวมกิจการ” จาก 2 ธนาคารรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
คือการนำจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาผสานกันอย่างลงตัว
และในอนาคตต่อจากนี้ สิ่งที่น่าจะได้เห็นก็คือผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ ๆ ที่มอบข้อเสนอดี ๆ
เพื่อมาตอบโจทย์ชีวิตการเงินของคนในประเทศ
แล้วก็น่าจะทำให้ ttb มีจำนวนลูกค้าเติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่า 10 ล้านราย
ในเวลาอันรวดเร็ว
ต้องบอกว่าเป็นหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับเราทุกคน
คนที่เป็นลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคารนี้อยู่แล้ว ก็จะได้รับบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
ที่พัฒนาดีขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่มากขึ้นกว่าเดิม
ส่วนคนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของ ttb ก็จะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เลือกที่ดีขึ้นกว่าเดิม
เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับธนาคารอื่น ๆ
สุดท้ายแล้ว แม้โลกการเงินจากอดีตจนถึงวันนี้จะเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน
นับตั้งแต่ยุคธนาคารแอนะล็อกที่ “ทุกอย่าง” อยู่ที่สาขา
มาสู่ยุคดิจิทัลที่เกือบจะ “ทุกอย่าง” มาอยู่บนมือถือของเรา
แต่คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปไหนเลย นั่นก็คือ “ผู้บริโภค” นั่นเอง..
#ทีเอ็มบีและธนชาตเปลี่ยนเป็นทีทีบี #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #TMBThanachart #ttb #MakeREALChange
เป้าหมาย goal 在 Kru-Ngor ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ Youtube 的最佳解答
#ไลฟ์ครูเงาะ ? EP.105 : จะรู้ได้ไงว่าเราไม่ได้รักคนผิด ⠀
⠀
? มาติดตามและแชร์เกร็ดความรู้ดี ๆ กันได้ที่ไลน์ @kru-ngor (มี@นำหน้านะคะ)⠀
? คลิก https://line.me/R/ti/p/@kru-ngor ⠀
⠀
เป้าหมาย goal 在 Kru-Ngor ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ Youtube 的最讚貼文
#ไลฟ์ครูเงาะ ? EP.103 : รู้มั้ยถ้าไม่ตั้งเป้าเรื่องความรัก ชีวิตรักจะออกมาเป็นแบบไหน⠀
⠀
? มาติดตามและแชร์เกร็ดความรู้ดี ๆ กันได้ที่ไลน์ @kru-ngor (มี@นำหน้านะคะ)⠀
? คลิก https://line.me/R/ti/p/@kru-ngor ⠀
⠀
เป้าหมาย goal 在 Kru-Ngor ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ Youtube 的最佳解答
? ขอแนะนำ คลาสใหม่!!!
ให้คนในครอบครัวเข้าใจกันมากกว่าเดิม!!!
.
กับคลาส
????Communication for Family
โดย ครูเงาะ รสสุคนธ์
.
คลาสที่คุณจะมาเดี่ยว หรือจับมือมาคู่กับคนในครอบครัวก็ได้ เพื่อมาเรียนรู้วิธีการสื่อสารเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ลดความขัดแย้ง เพิ่มความเข้าใจกันในครอบครัว
.
เรียนสดผ่าน Zoom
แถมมี workshop พร้อมครูพี่เลี้ยง ที่จะคอยดูแลคุณอย่างทั่วถึง
.
ราคาพิเศษ ภายใน 14 มิ.ย.นี้เท่านั้น!!
.
? มาเดี่ยวจาก 4,900 บาท
เหลือ 2,500 บาท
.
?? มาคู่จาก 9,800 บาท
เหลือ 3,290 บาท
.
ทักเลยที่ไลน์ @ thedrama
โทร. 092-449-1493
เป้าหมาย goal 在 เป้าหมายสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร? (GOAL) PODCAST - YouTube 的推薦與評價
เป้าหมาย GOAL คือสิ่งที่เราต้องการจะเป็น หรือต้องการที่จะได้มา มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ... ... <看更多>
เป้าหมาย goal 在 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) | PTT Global Chemical 的推薦與評價
เลื่อนลง. GC มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) โดยประเมินความเชื่อมโยง ... ... <看更多>
เป้าหมาย goal 在 SETTING GOAL TO COPE WITH UNCERTAINTY . แม้จะผ่านมา ... 的推薦與評價
แม้จะผ่านมาแล้วสองเดือน แต่หลายองค์กรยังหัวหมุนกับการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) กันอยู่ไม่ว่าจะเป็นการตั้งแบบ KPI หรือ OKR ซึ่งจากที่ได้ฟังเสียงเพื่อนๆ ... ... <看更多>