#infoAIDช่วยหมอ#เทใจสู้โควิด
เท่านี้ยังไม่พอ เร่งช่วยหมอกันต่อเถอะ !!
เพราะน้ำใจแห่งการแบ่งปัน คือ กำลังใจสำคัญสำหรับ “บุคลากรทางการแพทย์” ผู้เป็น “ทัพหน้า” ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส COVID-19 ที่กำลังวิกฤตนี้
“infoAID” พื้นที่กลางของการรวบรวม “ความต้องการ” ของโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศที่เชื่อถือได้ และเป็นจุดเชื่อมต่อ “การให้” ของประชาชน ขอเชิญชวนคนไทยลุกขึ้นมาช่วยกันจัดหาและส่งมอบ เวชภัณฑ์ ยา อาหาร สถานที่ และอื่นๆ สำหรับหมอและบุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยตัวเอง โดยใช้ข้อมูลเรียลไทม์http://xn--www-dkl8ayt.infoaid.org/ ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ ข้อมูลบ่งชี้ว่ายังมีความต้องการอีกมาก !!
กับอีกวิธีการช่วย สามารถสมทบทุนในโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์เพราะยังมีความต้องการต่อเนื่อง ผ่าน “เทใจ” เช่นเคย.. ดังนี้ !!
(1) โครงการกองทุนเทใจให้โควิด 19
https://taejai.com/th/d/no_covid/
เป้าหมายระดมทุน 3,500,000 บาทเพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่จำเป็น เช่นหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ชุด PPE ฯลฯ ที่ได้มาตรฐาน โดยได้ทะยอยจัดมอบไปแล้วหลายแห่งแต่ยังมีอีกหลายโรงพยาบาลมีความต้องการต่อเนื่อง
(2) โครงการกองทุนเพื่อวิจัยและสร้างชุดตรวจและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสู้กับโควิด-19
https://taejai.com/th/d/innovationfund_covid19/
เป้าหมายระดมทุน 2,428,900 บาทใช้ในการวิจัยและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยเฉพาะชุดตรวจ Covid-19 SCAN เพื่อใช้วินิจฉัย ณ จุดดูแลผู้ป่วยทั่วไป
(3) โครงการ Food for Heroes หนึ่งกล่องหนึ่งกำลังใจช่วยแพทย์ พยาบาลไทยสู้ภัย Covid-19 https://taejai.com/th/d/foodforheroes/
เป้าหมายระดมทุน 495,000 บาท เพื่อผลิตและจัดส่งอาหารกล่องที่ดีมีคุณภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ใน 7 โรงพยาบาลนำร่องทั่วกรุงเทพฯ โดยเครือข่ายร้านอาหารในระบบ Event Banana กว่า 250 ร้าน
และที่สำคัญ ...พวกเราทุกคนยังคงต้องร่วมกันทำสิ่งเหล่านี้ - - ต้องป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นผู้ติดเชื้อ – ต้องปฏิบัติตนไม่ให้เป็นผู้แพร่เชื้อไม่ว่าจะทราบว่าตัวเองติดเชื้อแล้วหรือไม่ – ต้องไม่เป็นผู้สร้างข่าวและเผยแพร่ข่าวด้วยการแชร์ข้อมูลซึ่งไม่เป็นความจริงหรือไม่เป็นทางการ
#infoAIDช่วยหมอ #เทใจสู้โควิด #ไม่ติดไม่แพร่ไม่แชร์มั่ว
เวชภัณฑ์ 1 2 3 คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"เดียวดายอยู่ปลายโลกร้าง"
โดย เปลว สีเงิน Thursday, 20 February, 2014 - 00:00 ไทยโพสต์
เอาข้อความตอนหนึ่งที่เขียนโดย เปลวสีเงิน ในไทยโพสต์มาให้อ่านวอเคราะห์ในแง่ข้อกฎหมาย กับการสลายชุมนุมภายใต้ พรก. ว่าด้วยการบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้
"ระบอบทักษิณ เป็นศูนย์รวมนักกฎหมายฟอกโจรใช่มั้ย ก็คงมีคนเสี้ยมสอนให้เถียงหรอกว่า...จ้างก็ไม่ผิด เพราะกระทำภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ๒๕๔๘ มาตรา ๑๗ คุ้มครอง
เอ้า...งั้นมาดู มาตรา ๑๗ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกันหน่อย ม.๑๗ บอกว่า...
"พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่"
แต่จำกันได้มั้ย เมื่อ ๓๑ ม.ค.๕๗ ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครอง โดยห้ามชั่วคราวไว้แล้วตามคำร้องนายถาวร เสนเนียม ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยศาลสั่งขั้นต้นว่า
"ก่อนมีคำพิพากษา มิให้จำเลยทั้ง ๓ คือ ยิ่งลักษณ์-เฉลิม-อดุลย์ กระทำการให้ประชาชนได้รับความเสียหาย"
แล้ววานซืน ๑๘ ก.พ. ทั้ง ๓ ก็ฝ่าฝืนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลแพ่ง โดย ศรส.สั่งให้ตำรวจฆ่าประชาชนเป็นผักปลา
ไม่รู้จะยับยั้งการฆ่าผู้ชุมนุมได้ทางไหน ตอนบ่าย ๑๘ ก.พ.นั้น นายถาวรจำต้องไปร้องขอให้ศาลแพ่งไต่สวนและเรียกจำเลยมาสั่งห้ามมิให้กระทำอีก
ทั้งขอให้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันนั้นเลย แทนที่จะเป็นวันที่ ๑๙ ก.พ.ตามนัดหมายเดิม
แล้ว ๑๘ ก.พ.ศาลก็มีคำสั่งว่า...ก็ได้สั่งห้ามชั่วคราวไว้แล้ว ตั้งแต่ ๓๑ ม.ค.!
นั่นก็หมายความว่า การสลายชุมนุม ๑๘ ก.พ.จำเลยทั้ง ๓ ละเมิดคำสั่งศาล เลือกปฏิบัติ แถมไม่สุจริต เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ-เกินกว่าความจำเป็น
ต้องรับผิดตามมาตรา ๑๗ ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งอาญาและแพ่ง โทษคุก ๑-๑๐ ปี สูงสุดประหารชีวิต ไม่เพียง ๓ จำเลย รวมถึงนายตำรวจที่สั่งการ และตำรวจที่ลงมือวันนั้นด้วย
กฎหมายไม่คุ้มครอง เพราะละเมิดคำสั่งศาล เตรียมตัว "ร้อยพวง" ขึ้นศาลในฐานะจำเลยกันไว้เหอะ!
สำหรับคำพิพากษาศาลแพ่งกรณี พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อวาน (๑๙ ก.พ.) สรุปชัดๆ ศาลไม่เพิกถอนประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่เพิกถอนประกาศมาตรการและข้อกำหนดต่างๆ รวมทั้งห้ามสลายชุมนุม
พูดง่ายๆ ศาลไม่ห้ามรัฐบาลมีปืน แต่ริบลูกปืน และห้ามมี!
เรื่องกฎหมาย จะให้ชัดเจนต้องฟังนักกฎหมายพูด ดังนั้น วันนี้ขออนุญาตนำที่ท่านชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา เขียนใน fb มาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน
"Chuchart Srisaeng"
คำพิพากษาของศาลแพ่งคดีที่นายถาวร เสนเนียม เป็นโจทก์ฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับพวก เป็นจำเลย นั้น บอกให้ทราบเพื่อความเข้าใจกันว่า โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ไม่ได้ขอให้เพิกถอน พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
-ตามรัฐธรรมนูญ ศาลไม่มีอำนาจเพิกถอนพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติ
-การเพิกถอนหรือยกเลิกพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติเป็นอำนาจของรัฐสภา
-คำพิพากษาของศาลแพ่งระบุว่า นอกจากมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยแล้ว ให้มีผลผูกพันถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีหน้าที่ในการปฏิบัติและประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมกับโจทก์ด้วย
โดยศาลแพ่งห้ามให้จำเลยทั้งสามคือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ 1 ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ที่ 2 พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ 3 ดังต่อไปนี้
ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม นำประกาศตามเอกสารหมาย จ.1 มาใช้บังคับเพื่อการออกประกาศ และข้อกำหนดตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.6
และให้ข้อบังคับตามประกาศและข้อกำหนดดังกล่าว ไม่มีผลบังคับต่อโจทก์และประชาชน นับแต่วันลงในประกาศและข้อกำหนด รวมทั้งห้ามมิให้จำเลยทั้งสามกระทำการดังต่อไปนี้
1.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ใช้หรือสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ใช้กำลังหรืออาวุธเข้าสลายการชุมนุมของโจทก์ และประชาชนที่ได้ชุมนุมกันโดยสงบ และปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 63 วรรคหนึ่ง
2.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม มีคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์หรือวัตถุอื่นใดที่ได้ใช้ หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำการ หรือสนับสนุนการชุมนุมของโจทก์และประชาชน
3.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ออกคำสั่งตรวจค้นหรือถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวางของโจทก์และประชาชน
4.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม สั่งการห้ามการซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์ อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการชุมนุมของโจทก์และประชาชน
5.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม สั่งการห้ามกระทำการอย่างใดๆ ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคม หรือกระทำการอื่นใด ที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติ ในทุกเขตพื้นที่ที่โจทก์และประชาชนใช้ในการชุมนุม
6.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ประกาศกำหนดพื้นที่ที่ห้ามมีการชุมนุมของโจทก์และประชาชน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
7.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม สั่งการห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะของโจทก์และประชาชนในการชุมนุม
8.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ห้ามโจทก์และประชาชนใช้อาคารหรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดๆ
9.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม สั่งให้อพยพโจทก์และประชาชนออกจากพื้นที่การชุมนุม และห้ามมิให้ออกคำสั่งห้ามโจทก์และประชาชนเข้าไปในพื้นที่ชุมนุม
-ถ้ากล่าวโดยสรุปก็คือ ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง จำเลยทั้งสามไม่อาจใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมาใช้ เพื่อห้ามมิให้โจทก์และประชาชนทำการชุมนุมกันต่อไป
-ผู้เข้าร่วมชุมนุมทุกคนไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฯ อีกต่อไป
-ผู้ที่ถูกศาลอาญาออกหมายจับในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฯ ก็ไปขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับได้
จบที่ท่านชูชาติเขียนไว้ ต้องบอกว่า คำพิพากษาศาลแพ่งคดีนี้ "คมกริบ" แยกแยะเขตแดนอำนาจ "ศาล-บริหาร-รัฐสภา" ไว้เป็นมาตรฐานปฏิบัติได้เลย
ป.ล. ...คนอ่านกฎหมายรู้-ดูกฎหมายเป็นอย่างเหลิม รีบบอกยิ่งลักษณ์ "เก็บหีบ" หนีด่วน ตัวเองก็...ด้วย
ทิ้งไอ้ริตไว้ให้มันแดกแบล็กเมาบ้าไปคนเดียวเหอะ!"
เวชภัณฑ์ 1 2 3 คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว “ถาวร เสนเนียม” แกนนำ กปปส.ร้องขอห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุม ชี้ยังไม่มีเหตุสลายม็อบ จึงยังไม่จำเป็นต้องคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
วันนี้ (31 ม.ค.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งในคดีที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. เวทีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะ ผอ.ศรส. และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในฐานะรองผอ.ศรส. จำเลยที่ 1-3 ในข้อหาละเมิด เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุม พร้อมขอศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว
เมื่อถึงเวลานัดนายถาวร พร้อมด้วยทนายความมาศาล ส่วนจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้ตัวแทนยื่นคำร้องคัดค้านอำนาจศาลแพ่งว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ศาลแพ่งไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ซึ่งศาลได้รับไว้พิจารณาและนัดฟังคำสั่งในวันที่ 6 ก.พ.นี้
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำร้องโจทก์ที่อ้างเหตุในการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยขอให้ศาลมีคำสั่งอ้างมิให้มีการดำเนินการตามประกาศหรือข้อกำหนด 12 ข้อ ประกอบด้วย 1. ห้ามจำเลยทั้งสาม ใช้หรือสั่งเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้กำลังหรืออาวุธเข้าสลายการชุมนุมของโจทก์และประชาชน 2. ห้ามจำเลยทั้งสามมีคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์หรือวัตถุอื่นใดที่ใช้ในการชุมนุมของโจทก์ 3. ห้ามจำเลยทั้งสามออกคำสั่งตรวจค้น รื้อถอน หรือทำลายอาคารสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งกีดขวางของโจทก์ 4. ห้ามจำเลยทั้งสามสั่งการให้การซื้อขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภคฯ ที่อาจใช้ในการชุมนุมของโจทก์ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน 5.ห้ามจำเลยทั้งสาม สั่งการห้ามกระทำการที่เป็นการปิดการจราจร เส้นทางคมนาคม หรือกระทำการที่ไม่อาจใช้เส้นทางได้ตามปกติ ในทุกเขตพื้นที่ ที่โจทก์ใช้ในการชุมนุม 6.ห้ามจำเลยทั้งสามประกาศ กำหนดพื้นที่ที่ห้ามการชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป 7.ห้ามจำเลยทั้งสามสั่งการห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะหรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม ที่ใช้ในการชุมนุม 8.ห้ามสั่งโจทก์ใช้อาคารหรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดๆ 9.ห้ามจำเลยทั้งสามสั่งให้โจทก์และประชาชนที่ร่วมกันชุมนุมออกจากพื้นที่การชุมนุม หรือออกคำสั่งห้ามไม่ให้เข้าไปในพื้นที่การชุมนุม 10. ห้ามจำเลยทั้งสามใช้หรือสั่งเจ้าหน้าที่ให้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ของโจทก์ 11.อนุญาตให้โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการประกาศกำหนดได้ และ 12. อนุญาตให้โจทก์ใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะ หรือจอดยานพาหนะในพื้นที่ที่มีการประกาศกำหนดได้
เห็นว่าคำขอของโจทก์ตามข้อ 1,3 และ 5-12 นั้นพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจพิเศษบางประการสำหรับบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินรวมถึงการออกประกาศและข้อกำหนดต่างๆ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใดที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงนั้น แต่การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารไม่ได้ตัดสิทธิ์ผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องความเสียหายจากทางราชการ หากการใช้อำนาจของรัฐเป็นการใช้อำนาจโดยไม่สุจริต เลือกปฏิบัติและเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีจำเป็น ตามมาตรา 17 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีกทั้งการดำเนินตามกฎหมายฉบับนี้จะต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม โดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แม้โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกประกาศและมีข้อกำหนดรวมถึงมีการประชุมวางแผนจัดเตรียมกำลัง เจ้าพนักงานตำรวจชุดกองร้อยปราบจลาจล จำนวน 16,000 นาย เพื่อใช้ในการสลายการชุมนุมของโจทก์และประชาชนก็ตาม แต่เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ขณะที่โจทก์กับพวกได้ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิ์จำเลยทั้งสาม ได้สั่งการหรือดำเนินการใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะมีการใช้กำลังเข้าสลายโจทก์และประชาชนที่มาร่วมชุมนุม ข้อเท็จจริงที่ได้ฟังจากการไต่สวนจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอ ที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์มาใช้
ส่วนคำขอของโจทก์ตามข้อ 2 และ 4 นั้น เมื่อได้ฟังจากการไต่สวน โจทก์และประชาชนใช้สิทธิ์และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยมีเหตุผลมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ถือเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับความคุ้มครอง การที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใดๆ ที่จะกระทบหรือขัดขวางการชุมนุมโดยสงบแล้ว ย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ การออกประกาศตามมาตรา 11 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในส่วนที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าจะใช้สิ่งนั้น เพื่อสนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน และสั่งการให้ซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้าย ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ซึ่งมีผลบังคับรวมถึงโจทก์และผู้ชุมนุมนั้นด้วย ส่วนดังกล่าวจึงกระทบต่อการดำรงชีวิตของโจทก์และประชาชนโดยปกติสุข ซึ่งโจทก์มีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาฯ สมช. เบิกความว่า การออกประกาศของจำเลยทั้งสาม เพื่อที่จะจำกัดหรือควบคุม โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ชุมนุมเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่าการดำเนินการของจำเลยทั้งสาม เป็นการมุ่งเน้นที่จะจำกัด หรือควบคุมการใช้สิทธิของโจทก์และผู้ชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ ฉะนั้นจึงมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ดำเนินการดังกล่าว ตามที่ปรากฏในประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 11 จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ส่วนประกาศและข้อกำหนดอื่นๆ ให้จำเลยทั้งสามกระทำการไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งต้องปฏิบัติตามประกาศและข้อกำหนดนั้น
แสดงว่า นายถาวร เสนเนียม ได้ยื่นให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจำนวน 12 ข้อ ศาลได้อนุญาตจำนวน 2 ข้อ คือ
ข้อ 2 ห้ามไม่ให้จำเลยทั้ง 3 สั่งยึดหรืออายัด สินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใดเพื่อใช้ในการชุมนุม และ
ข้อ 4 ห้ามจำเลยทั้งสาม สั่งการให้การซื้อ ขาย ใช้วัตถุดังกล่าว ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมากกว่าคำสั่งคุ้มครอง 2 ข้อที่กล่าวมานั้น คือศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม กระทำการไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฎิบัติ ไม่สมควรแก่เหตุ หรือกระทำการไม่เกินกว่าเหตุจำเป็น ทั้งนี้ศาลยังได้มีการกล่าวถึงคำวินิจฉัยครั้งนี้ว่า การชุมนุมของมวลมหาประชาชนครั้งนี้เป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ เมื่อเป็นเช่นนี้ศาลจึงรับคำร้องไว้พิจารณา