เบอร์ลิน เมืองเศรษฐกิจซบเซา ที่ก้าวขึ้นมาเป็น ศูนย์กลางสตาร์ตอัป /โดย ลงทุนแมน
เราอาจคุ้นเคยกับความคิดที่ว่า เมืองหลวงของประเทศ
จะเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ
แต่นั่นอาจไม่ใช่สำหรับประเทศเยอรมนี
ศูนย์กลางการเงินและการบินของประเทศนี้ อยู่ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต
ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ อยู่ที่เมืองมิวนิก ชตุทท์การ์ท และโวล์ฟสบวร์ก
ส่วนเมืองฮัมบวร์กทางตอนเหนือ เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุด และศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ
แต่กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของเยอรมนี
กลับไม่โดดเด่นมากนักในแง่เศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของประเทศ
และยังพ่วงด้วยอัตราว่างงานที่เคยสูงถึงเกือบ 15%
แต่นั่นกำลังจะกลายเป็นอดีต
เพราะในวันนี้ เบอร์ลินคือเมืองที่กำลังคึกคักไปด้วยบริษัทสตาร์ตอัป
เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทระดับโลกอย่าง Delivery Hero เจ้าของแอปดิลิเวอรี Foodpanda และ Zalando สตาร์ตอัปยูนิคอร์นตัวแรก ของเยอรมนี
อะไรที่ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ พลิกฟื้นจากเมืองที่เศรษฐกิจซบเซา
จนก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางสตาร์ตอัปของยุโรป ได้สำเร็จ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
กรุงเบอร์ลิน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี
เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วยจำนวนประชากรราว 3.7 ล้านคน
และจัดเป็นรัฐหนึ่งในจำนวน 16 รัฐ ของประเทศเยอรมนี
ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามเย็น เบอร์ลินเคยถูกแบ่งออกเป็น 2 เมือง ใน 2 ประเทศ
และถูกแบ่งแยกจากกันด้วยกำแพงเบอร์ลิน
เบอร์ลินตะวันตก อยู่ในเยอรมนีตะวันตก มีเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี
และเบอร์ลินตะวันออก อยู่ในเยอรมนีตะวันออก มีเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
เมื่อเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออกรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีหนึ่งเดียวในปี 1990 เบอร์ลินก็กลับมารวมกันอีกครั้ง และได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของเยอรมนี
ในช่วงแรกของการรวมเมือง ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูเบอร์ลินฝั่งตะวันออกที่เคยเป็นเขตคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ประชาชนในฝั่งตะวันออก ต่างก็อพยพไปทำงานที่เมืองอื่นๆ ในเยอรมนีฝั่งตะวันตก ที่มีเศรษฐกิจดีกว่า เช่น แฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และชตุทท์การ์ท
เนื่องจากเบอร์ลินไม่มีอุตสาหกรรมที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของเยอรมนี
ประชากรวัยแรงงานของเบอร์ลินจึงอพยพออกจากเมืองไปหาชีวิตที่ดีกว่า
คนที่ยังอยู่ก็ประสบปัญหาว่างงาน เมืองเต็มไปด้วยภาพของความซบเซา
อัตราว่างงานของเบอร์ลินพุ่งสูงเกือบ 15%
ท่ามกลางความสิ้นหวัง สิ่งเดียวที่ฝ่ายบริหารของรัฐเบอร์ลินมองเห็นก็คือ “ศิลปะ”
เบอร์ลินเป็นเมืองเก่าแก่ ก่อตั้งมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 13
ถึงแม้จะผ่านมรสุมมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็มีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ โรงละคร
และแกลเลอรีศิลปะมากมาย ศิลปะจึงกลายเป็นนโยบายหลักที่ใช้ส่งเสริมเศรษฐกิจในช่วงแรกของการรวมเมือง
โดยมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปะหลากแขนง
และที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ก็อย่างเช่น
- Berlin International Film Festival งานนิทรรศการภาพยนตร์ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1951
ที่นำเสนอภาพยนตร์จากทุกภูมิภาคทั่วโลก จนกลายเป็น 1 ใน 3 งานเทศกาลภาพยนตร์ชั้นนำของโลก
- 48 Stunden Neukölln งานศิลปะที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1999 โดยการเนรมิตย่าน Neukölln ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของผู้อพยพ ให้กลายเป็นพื้นที่ทดลองสำหรับงานศิลปะประเภทต่างๆ ภายในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง
งานเทศกาลศิลปะที่จัดขึ้น กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดศิลปินจากทั่วเยอรมนีและทั่วโลก
จนเบอร์ลินกลายเป็นสวรรค์ของศิลปะแทบทุกแขนง จนเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางความฮิปสเตอร์ของยุโรป
Klaus Wowereit อดีตผู้ว่าการแห่งรัฐเบอร์ลินในช่วงทศวรรษ 2000s
เคยกล่าวคำขวัญเล่นๆ ให้กับกรุงเบอร์ลินว่า “Poor But Sexy”..
เมื่อศิลปะเริ่มเบ่งบาน สิ่งที่ฝ่ายบริหารเริ่มมองหาก็คือ
จะต่อยอดอย่างไรจากการเป็นเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์
โดยเริ่มต้นคือการมองหาจากสิ่งที่โดดเด่นของเบอร์ลิน แล้วก็พบว่ามีจุดเด่นอยู่ 3 ประการ
ประการที่ 1 ค่าครองชีพถูก
ด้วยความที่เศรษฐกิจซบเซา เมืองแห่งนี้จึงมีแต่ผู้อพยพออก อาคารบ้านเรือน สำนักงานหลายแห่งจึงถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนไม่น้อย กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เบอร์ลินมีค่าเช่าถูกกว่าที่อื่น ค่าใช้จ่ายในหลายๆ ด้านของเบอร์ลิน ไปจนถึงค่าครองชีพจึงถูกกว่าเมืองอื่นๆ ในเยอรมนีฝั่งตะวันตกมาก
ประการที่ 2 ทำเลที่ตั้งที่อยู่ใจกลางทวีปยุโรป
เบอร์ลินมีเส้นทางขนส่งเชื่อมโยงกับหลายประเทศ และเชื่อมระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะเมื่อประเทศในยุโรปตะวันออกเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี 2004 เบอร์ลินซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของสหภาพยุโรป จึงดึงดูดแรงงานผู้อพยพจากยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ เช็ก และ ฮังการี
ประการที่ 3 ผู้คนเปิดกว้าง และเปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆ
เมื่อเบอร์ลินก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางศิลปะทุกแขนง ก็ยิ่งดึงดูดศิลปิน นักคิด ไปจนถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้มาใช้ชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับเมืองแห่งนี้
เมื่อมองเห็นจุดเด่น สิ่งที่ฝ่ายบริหารทำเป็นประการแรก คือ การดึงดูดผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้ามาเริ่มต้นธุรกิจในเมือง
โดยเริ่มจากการดำเนินนโยบายแก้ไขทางกฎหมาย เพื่อดึงดูดผู้อพยพที่มีความสามารถ เช่น การผ่อนปรนข้อจำกัดของวีซ่าให้มีขั้นตอนที่สะดวกมากขึ้น ทั้งอายุของวีซ่า ไปจนถึงการขอวีซ่าระยะยาว
การให้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยใช้ภาษาอังกฤษได้
เพื่อเพิ่มความเป็นนานาชาติ และดึงดูดผู้ประกอบการจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาเยอรมัน
ในขณะที่องค์กรภายในเมืองก็ได้ร่วมมือกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่อย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้าน
ทั้ง Investitionsbank Berlin ธนาคารเพื่อการพัฒนา ที่ก่อตั้งโดยรัฐเบอร์ลิน ที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และมอบเงินทุนให้กับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีแผนธุรกิจน่าสนใจ
Berlin Partner องค์กรเอกชนที่ภาครัฐก่อตั้งขึ้นมา
เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา และการตลาดแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่
กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน คอยให้ความช่วยเหลือด้านการทำตลาดกับต่างประเทศ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีให้พร้อมสำหรับธุรกิจยุคใหม่
นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกันระหว่าง ฝ่ายบริหาร สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชนชั้นนำ เช่น
Technische Universität Berlin, บริษัท Siemens, Deutsche Telekom
เพื่อพัฒนาพื้นที่อาคาร และสำนักงานที่ว่างเปล่าหลายแห่งในเมืองให้เป็น Co-Working Space และ Startup Incubator หรือศูนย์บ่มเพาะบริษัทสตาร์ตอัปในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ
เมื่อปัจจัยทุกอย่างเอื้อให้เกิดการพัฒนา เบอร์ลินจึงค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นเมืองแห่งบริษัทสตาร์ตอัป และเริ่มมีบริษัทหน้าใหม่เกิดขึ้น ณ เมืองแห่งนี้ ในช่วงทศวรรษ 2000s-2010s
ยกตัวอย่างเช่น
- Rocket Internet ก่อตั้งในปี 2007
บริษัทให้บริการด้านต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น บริการช่วยเหลือด้าน IT, บริการด้านการตลาดออนไลน์ และเป็น Venture Capital ที่คอยให้เงินทุนกับบริษัทสตาร์ตอัปเล็กๆ รายอื่น
- Zalando ก่อตั้งในปี 2008
สตาร์ตอัปที่ให้บริการด้าน E-Commerce ที่มีผู้ใช้บริการทั่วสหภาพยุโรป
เป็นสตาร์ตอัปที่มีมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปีหลังก่อตั้ง
ซึ่งนับเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์นตัวแรกของเยอรมนี
โดยปัจจุบัน Zalando จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ต
- Delivery Hero ก่อตั้งในปี 2011 และ Foodpanda ก่อตั้งในปี 2012
แพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ที่ขยายจากในประเทศเยอรมนีไปทั่วโลก
ซึ่งต่อมาในปี 2016 Foodpanda ก็กลายมาเป็นแพลตฟอร์มภายใต้บริษัท Delivery Hero
เมื่อมีกิจการใหม่ๆ มากมาย GDP ต่อหัวของคนในเบอร์ลินก็ค่อยๆ สูงขึ้น
จนตอนนี้ GDP ต่อหัวของผู้คนในรัฐเบอร์ลินอยู่ที่ปีละ 1.5 ล้านบาท
สูงกว่าผู้คนในรัฐนอร์ทไรน์ เวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเหล็ก และเคมีที่สำคัญของเยอรมนีฝั่งตะวันตกแล้ว
ในขณะที่อัตราว่างงานของผู้คนในเบอร์ลินก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ
จากราว 15% ในช่วงปลายทศวรรษ 1990s หลังจากรวมประเทศ
ค่อยๆ ลดลงจนเหลือ 8% เมื่อต้นปี 2020
ทุกวันนี้ เบอร์ลินยังคงเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้ามาริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ
และกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสตาร์ตอัปที่สำคัญทั้งของเยอรมนีและสหภาพยุโรป
จนเคยมีคำกล่าวว่า ในทุกๆ 20 นาที เบอร์ลินจะมีบริษัทสตาร์ตอัปก่อตั้งขึ้นอย่างน้อย 1 แห่ง
เรื่องราวของเบอร์ลินจึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ฝ่ายบริหารของเมืองสามารถพัฒนาจากเมืองที่เงียบเหงา
ให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งบริษัทสตาร์ตอัปที่คึกคัก
โดยหัวใจสำคัญที่สุดบนเส้นทางพัฒนาของเมืองหลวงแห่งนี้
คือการมองเห็นข้อดีของตัวเอง และร่วมมือกันเพื่อพัฒนาต่อยอดจากข้อดีเหล่านั้น
แต่หากสังเกตให้ดีๆ แล้ว ข้อได้เปรียบของเบอร์ลินทั้ง 3 ประการ
คือ ค่าครองชีพต่ำ ทำเลที่ดี และผู้คนที่เปิดกว้าง
ก็ล้วนเป็นข้อได้เปรียบ ที่คล้ายคลึงกับเมืองหลวงของประเทศไทย ไม่น้อยเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.uktech.news/news/berlin-becoming-europes-number-one-tech-hub-20180905
-https://www.entrepreneur.com/article/317079
-https://hexgn.com/moving-to-berlin-a-guide-for-entrepreneurs-and-startups/
-https://www.berlin-partner.de/en/about-us/
-https://www.ceicdata.com/en/germany/registered-unemployment-rate/registered-unemployment-rate-east-germany-berlin
2011 berlin film festival 在 SHU QI Facebook 的最讚貼文
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150564682399791&set=a.10150531264474791.393828.158509999790&type=1&theater
"All the Men will be sailors then, untill the sea shall free them."
- Leonard Cohen
*****************************************************************
Simon Chang x LOVE (Directed by Niu Chen-Zer)
Shu Qi, Ethan Ruan
Shu Qi is one of Asia's prettiest, most talented, and most versatile actress of the new millennium. Her career story is comparable to no other. She has been introduced to the international audience through various film release - "So Close" "Millennium Mambo" " Transporter" "Three Times" and also through several product endorsements. In November 2005, ShuQi won the prestigious 42nd Gold Horse Best Actress Award in Taiwan for her acting in "Three Times". In 2008, she was member of the jury at the Berlin International Film Festival. In 2009, she was member of the jury at the Cannes Film Festival.
Release Date: Feb.2012
HONTO PRODUCTION (Taiwan)
www.2012allinlove.com/
www.locuspublishing.com/events/1111TN024/
很珍惜這次難得的機會 第一次在台灣替電影拍攝平面劇照
一直在思考另一種劇照拍攝的可能
演員們有各自的本質 角色卻有另外一種身世
鏡頭裡看出去 那醞釀的情緒 像是漲潮的海水
浪花拍打海岸的聲響 是劇本裡的台詞
我總喜歡在漲潮/退潮之際輕按快門
卡擦的聲響 像是劇本後邊那些空白頁的延伸
那是近距離見識到會讓你心頭緊緊揪一下的戲夢人生...
謝謝豆導 祥哥 以及幕後那一群 對於會發光的布幕充滿熱忱的電影人
確實是一個 lovely 的夏天 台北的大安區 北京的老胡同
近距離的紀錄 LOVE
回頭看這批照片時 我總是聽到遠方傳來的海浪聲...
2 月全台上映
我想你一定會在電影裡面找到記憶中那個既熟悉卻也陌生的什麼東西
那個關於自己曾在某盞街燈下 所留下的影子與腳印...
with love,
張雍
Photography by Simon Chang
12/07/2011 Taipei, Taiwan.
Shot with Leica M9
http://www.schmidtshop.com.tw/f_main.php?f=18
2011 berlin film festival 在 เจาะข่าวตื้น Facebook 的最佳貼文
ฝากแฟนเจาะข่าวตื้นฯจ้ะ จอห์นจับนมพ่อหมอ ซี้ดดดเรยยย
@Asian Film Festival Berlin (AFFB) 2011