การทำ QE คืออะไร ? ทำไมประเทศไทย ไม่ใช้มาตรการนี้ /โดย ลงทุนแมน
“775 ล้านล้านบาท” คือ มูลค่าการอัดฉีดเงินเข้าระบบการเงิน ผ่านมาตรการ QE ทั้งหมดของธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลก 4 แห่ง คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ณ สิ้นปี 2020
ถามว่าตัวเลขนี้มากขนาดไหน ? ถ้าลองเทียบกับ GDP รวมทุกประเทศในโลกปี 2020 ที่ประมาณ 2,824 ล้านล้านบาท มูลค่าอัดฉีดดังกล่าว จะคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP โลก
มาตรการ QE นี้ มันมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง
และทำไมประเทศไทย ถึงยังไม่ใช้มาตรการนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ แต่ละประเทศจะดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นมา
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะแบ่งนโยบายต่าง ๆ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ นโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน
ซึ่งในส่วนของนโยบายการคลังจะถูกดำเนินการโดยรัฐบาล
โดยรัฐบาลจะใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ในกรณีนี้จะเรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” ซึ่งเกิดจากก่อหนี้สาธารณะผ่านการกู้ยืมเพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล
นอกจากนี้ นโยบายการคลังยังรวมไปถึงการลดอัตราภาษีต่าง ๆ เพื่อให้คนมีเงินเหลือมากขึ้น จนนำเงินออกมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ปัจจุบัน หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต่างก็ต้องใช้นโยบายการคลัง อัดฉีดเงินช่วยเหลือให้ประชาชนผ่านนโยบายต่าง ๆ เพื่อพยุงและเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา
นอกจากรัฐบาลที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ในอีกขาหนึ่ง ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ก็จะดำเนินนโยบายการเงิน ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือซบเซา ธนาคารกลางจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จูงใจให้คนนำเงินออกมาใช้จ่าย แทนที่จะฝากไว้ในธนาคาร
ซึ่งกรณีนี้ถูกเรียกว่า “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย” ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้นำมาใช้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เราจะเห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพียงอย่างเดียว กลับไม่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเหมือนอย่างเคย
หลักฐานก็คือ เราเห็นธนาคารกลางหลายประเทศทำการปรับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว จนบางประเทศอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเท่าไร
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่ง จึงมีการนำมาตรการที่มีชื่อว่า Quantitative Easing (QE) ซึ่งเป็นนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย อีกรูปแบบหนึ่งออกมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ
หรือพูดง่าย ๆ ว่ามาตรการ QE เป็นเครื่องมือพิเศษที่มาช่วยสนับสนุนและช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นเอง
อธิบายวิธีการดำเนินมาตรการ QE แบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ธนาคารกลางจะพิมพ์เงินเพิ่ม และนำเงินดังกล่าวไปซื้อตราสารทางการเงินระยะกลาง-ยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน
คำถามที่สำคัญต่อมาก็คือ แล้วข้อดี ข้อเสียของการทำ QE คืออะไร ?
เรามาเริ่มที่ข้อดีกันก่อน
- สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
กรณีของธนาคารนั้น เมื่อมีสภาพคล่องมากขึ้น ก็สามารถนำไปปล่อยสินเชื่อได้สูงขึ้น ส่วนภาคธุรกิจที่มีเงินไหลเข้ามาซื้อหุ้นกู้ บริษัทก็จะมีเงินนำไปใช้จ่าย ลงทุน และขยายงาน ได้ด้วยเช่นกัน
- ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง
การเข้าซื้อตราสารทางการเงินเหล่านั้นยังส่งผลกดดันให้อัตราผลตอบแทนของตราสารทางการเงินเหล่านั้นลดลงมา ทำให้ต้นทุนในการระดมทุนผ่านการออกตราสารเหล่านี้ของรัฐบาลและเอกชนลดลง
จนมีแนวโน้มที่ทำให้สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้กู้ในการนำเงินไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอย จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจกลับมาเติบโต
- เพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ผู้บริโภค
การใช้มาตรการ QE ยังส่งผลให้ราคาสินทรัพย์หลายอย่างปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ทำให้นักลงทุนที่ถือสินทรัพย์ดังกล่าวรู้สึกมั่งคั่งขึ้น (Wealth Effect) ทำให้รู้สึกอยากนำเอาส่วนหนึ่งของทรัพย์สินออกมาใช้จ่าย จนส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้มาตรการ QE ในปริมาณมากและนานเกินไป ก็อาจส่งผลเสียด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- มูลค่าของเงินลดลง
ถึงแม้ว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน ผ่านการซื้อตราสารทางการเงินต่าง ๆ จะไม่ได้อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจริง และมันอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อโดยตรง แต่การอัดฉีดนี้ถ้าทำมากเกินไป ก็อาจทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้นในทางอ้อม และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จนทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลง และอำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย
- ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์
การอัดฉีด QE จะทำให้ภาวะอัตราดอกเบี้ยถูกกดให้ต่ำ และทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นลดลง ซึ่งเรื่องนี้ยิ่งทำให้นักลงทุนต้องการนำเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
จนอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ
- กระทบต่อการออมในภาพรวมของประเทศ
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ส่งผลให้ประชาชนขาดแรงจูงใจในการออมเงิน ซึ่งอาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยมีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณ
หรือแม้แต่ผู้ที่เกษียณอายุไปแล้ว และต้องการรายได้ที่สม่ำเสมอจากการลงทุนในการฝากเงินหรือตราสารหนี้ ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภาพรวมในระบบที่ลดลง
สำหรับประเทศไทยเรา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ยังไม่ได้มีการหยิบเอามาตรการ QE ออกมาใช้ในวิกฤติครั้งนี้
แต่รู้ไหมว่า ที่ผ่านมาก็มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้เสนอให้ ธปท. นำมาตรการ QE ออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
เพราะมองว่า นโยบายการเงินของไทยมีข้อจำกัดมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% แล้ว
อย่างไรก็ตาม ธปท. มองว่า การนำมาตรการ QE มาใช้ในประเทศไทย อาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในตอนนี้
เพราะว่า ปัจจุบัน สภาพคล่องในระบบ ที่สะท้อนออกมาในรูปของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยนั้นอยู่สูงกว่า 14.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
นอกจากนี้ ภาคเอกชนของไทยยังมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ ๆ ที่มีการนำมาตรการ QE มาใช้ ขณะที่ต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ขณะนี้อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ที่ตลาดตราสารหนี้มีขนาดใหญ่สุดในโลก ที่พออัดฉีดเงินเข้าไปในตลาดตราสารหนี้แล้ว จะเห็นผลกระทบกับเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น การใช้มาตรการ QE ในประเทศไทย จึงอาจไม่ได้ส่งผลบวกในวงกว้างเหมือนกับประเทศที่มีตลาดตราสารหนี้ขนาดใหญ่มากนัก
และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเลือกที่จะนำมาตรการการเงินอื่น ๆ เช่น การพักชำระหนี้ การให้สินเชื่อพิเศษ การปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แต่ยังไม่หยิบเอามาตรการอย่าง QE มาใช้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD
-https://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/MonetaryPolicy_StoryTelling_AcademicAndFI.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/q/quantitative-easing.asp
- https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Oct2020.aspx
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/thailand-economic-qe-covid-040864?fbclid=IwAR3R788vgTs8-J9kaX730qOWpxnGIrHLDOWRdqpHDQfJphSbElF9xh9W2cY
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=31&language=TH
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.icmagroup.org/Regulatory-Policy-and-Market-Practice/Secondary-Markets/bond-market-size/
同時也有19部Youtube影片,追蹤數超過15萬的網紅豐富,也在其Youtube影片中提到,主持人:楊應超 第一季-第3集:風險管理的重要性-談債券 節目直播時間:週五 14點 本集播出日期:2020.09.25 ⏭ 章節: 00:00 頻道片頭 00:07 開場 00:39 節目片頭 00:57 風險管理的重要性–談債券 07:49 不是不要風險,是要管理風險 10:55 買債券ETF...
「bond market」的推薦目錄:
- 關於bond market 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於bond market 在 呂漢威理財實戰室 Facebook 的最佳解答
- 關於bond market 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於bond market 在 豐富 Youtube 的最佳解答
- 關於bond market 在 Amijan Light Travel 亞美將輕旅行 Youtube 的最佳貼文
- 關於bond market 在 ah Veee Youtube 的最讚貼文
- 關於bond market 在 The Bond Market in 2020: What Investors Need to Know 的評價
bond market 在 呂漢威理財實戰室 Facebook 的最佳解答
bond market 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
พันธบัตรรัฐบาล สินทรัพย์ที่หลายคน คิดว่าไม่เสี่ยง /โดย ลงทุนแมน
พันธบัตรรัฐบาล เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมาก
เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน หรือการลงในตลาดหุ้น ที่มีความผันผวนสูงกว่า
ในบางครั้งหลายคนจึงมักเรียกพันธบัตรว่า
“สินทรัพย์ปลอดความเสี่ยง” เลยด้วยซ้ำ
แต่ความจริงแล้ว ในโลกนี้ไม่มีสินทรัพย์อะไรที่ไม่มีความเสี่ยง
ความเสี่ยงของพันธบัตรรัฐบาลที่น่ากังวลคืออะไร และในอดีตเคยมีรัฐบาลไหน ที่ออกพันธบัตรรัฐบาลแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
พันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐบาล
ซึ่งเงินที่ได้จากการออกพันธบัตร จะถูกนำไปใช้ตามแผนของรัฐบาล เช่น
- ชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายของประเทศสูงกว่ารายได้ของประเทศ
- พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
นักลงทุนที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลมีฐานะเป็นเจ้าหนี้
ขณะที่รัฐบาลมีฐานะเป็นลูกหนี้ โดยผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาล จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และจะได้เงินต้นคืนเมื่อถือพันธบัตรครบกำหนดอายุ
ในทางทฤษฎี ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรนั้นจะสูงกว่าเงินฝากระยะสั้นในธนาคารพาณิชย์ เมื่อรวมกับการที่รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ออกพันธบัตร ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในประเทศ
จึงทำให้พันธบัตรรัฐบาล ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้รับความนิยมในการลงทุนอย่างมาก
ข้อมูลจาก Securities Industry and Financial Markets Association ระบุว่า ปัจจุบันมูลค่าตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก มีมูลค่ารวมกันกว่า 3,700 ล้านล้านบาท
โดยเป็นตราสารหนี้ที่มาจากภาครัฐและหน่วยงานของรัฐ (พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ) ประมาณ 70% และภาคเอกชนประมาณ 30%
และมูลค่าตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกนั้นใหญ่กว่ามูลค่า GDP ของทั้งโลกที่ประมาณ 2,900 ล้านล้านบาท เสียอีก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลจะเหมาะกับคนที่ต้องการความแน่นอนในเรื่องผลตอบแทน และไม่ชอบความเสี่ยง แต่ในโลกของการลงทุนนั้น ไม่มีการลงทุนใดที่ปราศจากความเสี่ยงอย่างแท้จริง ซึ่งรวมถึงการลงทุนในพันธบัตรด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงที่ติดตัวกับพันธบัตรรัฐบาลเสมอมา ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน และเป็นความเสี่ยงที่เราไม่อาจมองข้ามได้นั่นคือ “ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย” (Interest Rate Risk) โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยกำลังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นแบบในปัจจุบัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวันนี้เรานำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ที่ให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี หมายความว่า เงินก้อนนี้จะถูกผูกอยู่ที่อัตราผลตอบแทน 3% ตลอดระยะเวลา 5 ปี
แต่ในระหว่างนี้ ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินมีการปรับขึ้น นั่นหมายความว่า เรากำลังเสียโอกาสที่จะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น หรือแม้แต่ไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่ ที่ได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า 3% ต่อปี
แม้บางคนอาจบอกว่า เราก็สามารถขายพันธบัตรรัฐบาลที่ถืออยู่ได้ในตลาดรองตราสารหนี้ เพื่อไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่เพื่อรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเดิม
แต่ถ้าทุกคนที่ถือตราสารรุ่นเก่านี้คิดเหมือน ๆ กัน แล้วเทขายพันธบัตรที่ได้ดอกเบี้ยน้อย เพื่อไปซื้อพันธบัตรรุ่นใหม่ที่ได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า สุดท้ายราคาตราสารหนี้นั้นจะลดลง จนสุทธิแล้ว เราอาจขาดทุนจากการขายพันธบัตรรัฐบาลได้
ความเสี่ยงอีกประเภทก็คือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยทั่วไปแล้ว พันธบัตรรัฐบาลจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำมาก เพราะขึ้นชื่อว่าออกโดยรัฐบาล ก็คงการันตีว่าเป็นองค์กรที่มั่นคง ที่จะหาเงินมาคืนผู้ถือได้ค่อนข้างแน่นอนอยู่แล้ว
แต่ก็ไม่ได้เสมอไป..
ที่ผ่านมาก็เคยมีเหตุการณ์ที่รัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้ผู้ถือพันธบัตรของรัฐบาลมาแล้ว
อย่างวิกฤติหนี้ที่อาร์เจนตินาที่ลงทุนแมนเคยเขียนถึง
จนทำให้รัฐบาลอาร์เจนตินาผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาล
รู้ไหมว่า นับตั้งแต่ที่ประเทศได้รับเอกราชจากสเปนในปี 1816 อาร์เจนตินาเคยผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศมาแล้วถึง 9 ครั้ง
ทั้งที่ครั้งหนึ่งในอดีต กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถึงขนาดเคยยกให้ อาร์เจนตินาเป็นตัวอย่างของประเทศที่เป็นลูกหนี้ที่ดีและเป็นแบบอย่างที่ประเทศอื่น ๆ ควรดำเนินนโยบายตาม
แต่ปัญหาที่สะสมมานานของอาร์เจนตินา การคอร์รัปชันของนักการเมือง การใช้นโยบายประชานิยม การขาดดุลงบประมาณที่เรื้อรังและยาวนาน
ทำให้รัฐบาลจึงเลือกวิธีพิมพ์เงินมาแก้ปัญหา จนนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ทำให้ค่าเงินเปโซอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งวงจรเหล่านี้จึงทำให้อาร์เจนตินาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและไม่สามารถชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้
เวเนซุเอลา ก็เป็นอีกประเทศ ที่สร้างความช้ำใจ
ให้กับนักลงทุนที่เข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ
ในปี 2017 รัฐบาลเวเนซุเอลาและบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศที่ชื่อว่า PDVSA ผิดนัดชำระหนี้ ที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 2.1 ล้านล้านบาท
ปัญหาใหญ่ของเวเนซุเอลาคือ
การใช้งบประมาณขาดดุลผ่านการกู้ยืมจำนวนมหาศาล ทั้งยังนำรายได้จากการขายน้ำมัน เพื่อมาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยผ่านการใช้นโยบายประชานิยมหลายอย่าง
ทั้งการอุดหนุนราคาพลังงาน การแจกเงินอย่างไร้ประสิทธิภาพ เพื่อหวังคะแนนเสียงของประชาชน รวมไปถึงการยึดธุรกิจพลังงานของเอกชนกลับมาเป็นของรัฐ แต่กลับไม่ได้พัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ
จนเมื่อถึงคราวที่ราคาน้ำมันโลกลดต่ำลง
ก็ทำให้รายได้จากการส่งออกน้ำมัน ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 90% ของรายได้การส่งออกทั้งหมดของเวเนซุเอลาลดลงไปมาก ทำให้แหล่งรายได้หลักของรัฐบาลหายไป จนก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ถือพันธบัตรในที่สุด
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะสรุปได้ว่า
ในโลกนี้ไม่มีการลงทุนไหนที่ปราศจากความเสี่ยงอย่างแท้จริง
แม้แต่การลงทุนในสินทรัพย์ที่ดูจะปลอดภัยที่สุดในโลกแล้ว อย่างพันธบัตรรัฐบาล
มันก็อาจมีความเสี่ยงเมื่ออัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น หรือรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ได้ เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.thaibma.or.th/pdf/publication/ibook/Manual/manual.pdf
-https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities/IntroToGovtDebtSecurities/Pages/Type.aspx
-https://www.icmagroup.org/Regulatory-Policy-and-Market-Practice/Secondary-Markets/bond-market-size/
-https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/25052017.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/g/government-bond.asp
-https://fas.org/sgp/crs/row/IF10991.pdf
-https://www.statista.com/statistics/316916/argentinas-budget-balance-in-relation-to-gdp/
-https://www.dlacalle.com/en/five-reasons-for-the-weakness-of-the-argentine-economy/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-24/argentina-can-t-pay-45-billion-imf-loan-vice-president-says
-https://www.batimes.com.ar/news/latin-america/trust-for-us-bondholders-sues-venezuela-over-defaulted-debt.phtml
-https://www.statista.com/statistics/372075/national-debt-of-venezuela-in-relation-to-gross-domestic-product-gdp/
-https://tradingeconomics.com/country-list/government-debt-to-gdp
-https://www.worldstopexports.com/venezuelas-top-10-exports/
-https://energypolicy.columbia.edu/sites/default/files/Impact%20of%20the%20Decline%20in%20Oil%20Prices%20on%20Venezuela_September%202015.pdf
bond market 在 豐富 Youtube 的最佳解答
主持人:楊應超
第一季-第3集:風險管理的重要性-談債券
節目直播時間:週五 14點
本集播出日期:2020.09.25
⏭ 章節:
00:00 頻道片頭
00:07 開場
00:39 節目片頭
00:57 風險管理的重要性–談債券
07:49 不是不要風險,是要管理風險
10:55 買債券ETF 還是債券梯好?
20:55 債券梯如何買?
27:45 請繼續提問,謝謝大家寶貴的意見,這節目是為你們服務的
35:25 節目片尾
名詞暨資訊補充:
1. Efficient Frontier 效率前緣,有效邊界
2. High risk high reward 高風險高回報
3. There is no free lunch 沒有免費的午餐
4. Too good to be true 好得難以置信
5. Mark to Market 按市值計價
6. Inverse Yield Curve 反轉的殖利率曲線
7. 「9 of the Best Bond ETFs to Buy Now」:https://pse.is/tx8hz
參考書訊:《財務自由的人生:跟著首席分析師楊應超學華爾街的投資技巧和工作效率,40歲就過FIRE的優質生活》 https://eslite.me/w24ad
#楊應超 #財務自由 #債券
-----
訂閱【豐富】YouTube頻道:https://www.youtube.com/c/豐富
按讚【豐富】FB:https://www.facebook.com/RicherChannel
bond market 在 Amijan Light Travel 亞美將輕旅行 Youtube 的最佳貼文
只能說這一集內容真的太豐富了,拍這一集的這一天我是海上行程外加陸地都玩透透了,真是累死我跟攝影師兩人了,為的就是呈現給大家看泰國更多有趣的景點行程,希望你們以後到泰國旅遊的時候,別忘了也把影片中的景點給走過一遍吧,把攀牙玩好玩滿!
攀牙海上行程看這裡:
🎈和一群國外部落客到泰國奢華包船遊攀牙灣|泰國南部Phanga bay Koh Tapu James Bond Island|007島 釘子島 考平甘島
https://youtu.be/okDp8Ykuz7E
🎈秘境美到捨不得閉上眼!不用划船坐獨木舟帶你暢遊泰國攀牙灣美麗秘境|Kayak Tour|Phanga bay(中文字幕)
https://youtu.be/BhlF1wk7jv8
影片出現的地點依序為:
Khrua nong restaurant phang nga
Takuapa Old Town
Song Thaew Tour
Tham Sam Rock Art
Klong nga riverside market
🎈請見諒_1
因為有點地名沒有官方介紹以及太多人介紹過,所以地點名稱在搜尋上會有些小困難請多見諒。
🎈請見諒_2
最後攀牙觀光車子聯絡資訊如下,想要去攀牙晃晃的話可以存下來喔,日後碰碰運氣聯絡看看囉!
Viriyah NongKhao
081-7877273
Viriyah19@gmail.com
🎈請見諒_3
影片在當時收音有問題請見諒,建議可打開字幕功能觀看喔!
🎈「亞美將(鄧莉穎)」臉書FB
https://www.facebook.com/Im.amijan/
🎈「宅男不在家」臉書FB
https://bit.ly/2NkQYwd
🎈「亞美將(鄧莉穎)」部落格Blog
http://amijan.pixnet.net/blog
🎈IG追蹤👉🏻amijan
https://www.instagram.com/amijan/
bond market 在 ah Veee Youtube 的最讚貼文
BNO移民最近熱話,有人話移居英國有心理準備生活苦悶。其實無論係以前在英國讀書,抑或畢業後每年回去,每次都可以發掘到新鮮玩意!
講開市集,大部分人首先會想到波羅市場(Borough Market),其實除左波羅市場外,倫敦還有大大少少很多市集或Weekend Market,今次就選了近來幾個當地人熱話的四個市場,其中最特別係由聖堂改建而成的Food Hall,可惜開業唔夠一年就迎來了肺炎封城 ,最近才重開。要留意返英國剛剛才慢慢解封(甚至因為確診數字復升,可能準備再度封城),所以前往之前請先了解營業時間有否受影響。希望身在何處,大家都百毒不侵!
另外大家對於英國有任何想更進一步了解的問題,歡迎留言或到我Instagram 私訊我。
*影片攝於2019年尾
#英國移民 #英國生活 #英國旅遊 #移民 #倫敦 #MercatoMayfair #travelvlog
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
Subscribe 訂閱我的頻道? :https://bit.ly/2RX2hhi
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
♡INSTAGRAM : @dj_veee
♡JOB INQUIRES : missdjveee@gmail.com
影片入面到過的地方:
??Oli Baba's @ Camden Market West Yard ( 必食:Halloumi Fries )
Address:192-200 Camden High St, Camden Town, London NW1 7BT, United Kingdom
最近Tube Station: Camden
??MercatoMayfair
Address : St. Mark's Church, N Audley St, Mayfair, London W1K 6ZA, United Kingdom
最近Tube Station: Bond Street
??Alfies Antique Market
Address : 13 - 25 Church St, Marylebone, London NW8 8DT, United Kingdom
最近Tube Station: Marylebone
??Leadenhall Market
Address : Gracechurch St, Langbourn, London EC3V 1LT, United Kingdom
最近Tube Station: Monument 或 Bank
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
?其他影片 My other videos ?
▶??一起行英國超市 | British Supermarket Tour |
https://youtu.be/_eGexnId0RM
▶??倫敦空中花園食早餐 | Breakfast at SkyGarden London |
https://youtu.be/eHkGDRiUij0
▶兩日一夜試住澳門精品酒店
https://youtu.be/Z_nyYBXSf-4
▶??快閃澳洲布里斯本|Brisbane Australia Vlog
https://youtu.be/84NN90gJeDU
bond market 在 The Bond Market in 2020: What Investors Need to Know 的推薦與評價
... <看更多>