บริษัทเทคโนโลยี กำลังเจอศึกรอบด้าน /โดย ลงทุนแมน
หลายปีที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นการดิสรัปต์ของบริษัทเทคโนโลยีรุ่นใหม่
ที่ได้ส่งผลกระทบรุนแรง จนบริษัทยักษ์ใหญ่ดั้งเดิมบางแห่งปรับตัวไม่ทัน
เช่น Netflix บริการดูหนังสตรีมมิง ที่เข้ามาทดแทนการเช่าแผ่นซีดีจากร้าน Blockbuster
หรือ Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์
ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งเม็ดเงินค่าโฆษณามหาศาล
และสามารถทำรายได้จากค่าโฆษณาระดับ 8 แสนล้านบาทต่อปี
ธุรกิจเหล่านี้ ทำให้หลายบริษัทในอุตสาหกรรมดั้งเดิมอย่างหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์
ได้รับผลกระทบโดยตรง และหลายรายก็ต้องล้มหายตายจากไป
แม้ว่าเมื่อก่อน บริษัทเหล่านี้จะดิสรัปต์ธุรกิจเดิมจนก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ในปัจจุบัน
แต่สถานการณ์ตอนนี้ ดูเหมือนกับว่าบริษัทที่กล่าวมาทั้งหมด
มีขนาดใหญ่จนหลายธุรกิจทับซ้อนกันและกำลังแข่งขันกันเอง
แล้วความท้าทายที่บริษัทเทคโนโลยีต้องเจอ มีอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ช่วงแรกสำหรับการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยี
ส่วนใหญ่จะเป็นการเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดภายในอุตสาหกรรมเดิม
ด้วยการหาสินค้าและบริการที่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคในส่วนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
และด้วยความที่เป็นบริษัทเทคโนโลยี การขยายธุรกิจจึงทำได้อย่างรวดเร็ว
พอถึงจุดหนึ่ง พบว่าตัวเองได้กลายเป็นบริษัทขนาดยักษ์ในอุตสาหกรรมเสียแล้ว
สะท้อนมาจากบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุด 5 อันดับแรกของโลก
อันดับที่ 1 Apple
อันดับที่ 2 Microsoft
อันดับที่ 3 Saudi Aramco
อันดับที่ 4 Amazon
อันดับที่ 5 Alphabet เจ้าของ Google และ YouTube
จะเห็นได้ว่าจาก 4 ใน 5 บริษัทเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งสิ้น
และหากเราไปดูอัตราการเติบโตของบริษัทเหล่านี้ ก็จะเรียกได้ว่าเติบโตแบบก้าวกระโดด
คำถามต่อมาคือ บริษัทควรจะทำอย่างไรต่อ
ในเมื่อธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น แต่มีทรัพยากรให้ใช้อีกมากมาย
คำตอบที่ได้ จึงเป็นการข้ามไปแข่งขันในอุตสาหกรรมอื่น
โดยการใช้ Ecosystem ของตัวเองให้เป็นประโยชน์ นั่นจึงกลายเป็นที่มาว่า
ทำไมเหล่าบริษัทเทคโนโลยีหลังจากสำเร็จแล้ว ก็จะเริ่มเข้าไปแข่งขันกันเอง
เช่น Facebook ที่เริ่มต้นจากการเป็นแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์
ซึ่งเมื่อก่อนนั้นมีรายได้จากค่าโฆษณาที่เป็นรูปภาพและตัวอักษรเท่านั้น
แต่บริษัทเองเห็นว่าโฆษณาแบบเดิมใหญ่มากแล้ว
จึงต้องหาช่องทางรายได้เพิ่มเติม
และพบว่าโฆษณาวิดีโอสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกเยอะ
Facebook ขยับมาสู่การสร้าง Ecosystem ให้กับเหล่าผู้ผลิตคอนเทนต์วิดีโอ
โดยมีฐานผู้ใช้งานในมือหลายพันล้านบัญชีอยู่แล้ว
การที่ Facebook เข้ามาทำแบบนี้ ก็ถือเป็นการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งและเป็นการแข่งขันกับ YouTube ทันที
และในช่วงไม่กี่ปีมานี้ Facebook ได้เพิ่มฟังก์ชันใหม่ขึ้นมาคือ Marketplace รวมถึง Dating
แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทกำลังขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมอื่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยที่ว่าทำไมสุดท้ายบริษัทเทคโนโลยีต่างต้องแข่งขันกัน
หรืออย่างบริษัท SEA เองที่เริ่มต้นจากการทำธุรกิจ Garena ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเกม
แต่ต่อมาก็ได้รุกเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ ด้วยแพลตฟอร์ม Shopee
และขณะนี้บริษัทก็เริ่มจริงจังกับธุรกิจการเงินอย่าง AirPay ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็น ShopeePay
Alibaba และ Tencent ในประเทศจีนก็ไม่ต่างกัน
แม้ว่าเริ่มแรกทั้งคู่จะทำธุรกิจไม่เหมือนกัน
Alibaba เริ่มจากการเป็นอีคอมเมิร์ซ
Tencent เน้นเกมออนไลน์และแอปพลิเคชัน WeChat
แต่ภายหลัง Alibaba และ Tencent กำลังเข้ามาแข่งธุรกิจในพื้นที่เดียวกันทั้งทางอ้อมและทางตรง
ในปี 2013 Alibaba มีส่วนแบ่งธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ 62%
แต่ปีที่แล้วกลับลดลงเหลือเพียง 51%
เหตุผลสำคัญก็เพราะว่าการเติบโตของ Pinduoduo และ JD.com
อีคอมเมิร์ซที่ได้รับเงินระดมทุนจาก Tencent กำลังเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะ Pinduoduo ที่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
หากย้อนกลับไปในปี 2018 Pinduoduo มียอดขายคิดเป็นราว 4% ของ Alibaba เท่านั้น
แต่ในปีที่ผ่านมา ยอดขายของ Pinduoduo ขยับมาเป็น 10% ของ Alibaba เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ Alipay กับ WeChat Pay ของ Tencent
ก็ยังแข่งขันกันในธุรกิจกระเป๋าเงินดิจิทัลโดยตรง อีกด้วย
ซึ่งนอกจากการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจแล้ว
กฎเกณฑ์ข้อบังคับระหว่างบริษัทก็เริ่มมีการควบคุมที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันข้อมูลบัญชีผู้ใช้งาน
ในกรณีของ Apple ก็ได้ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะทำการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลของตนจากแพลตฟอร์มโซเชียลอย่าง Facebook หรือไม่
จุดนี้จะทำให้ประสิทธิภาพของโฆษณาบน Facebook ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อีกความท้าทายที่เห็นได้ชัดก็ยังมีเรื่องของ การกลับมาของบริษัทยักษ์ใหญ่เดิม
หลังจากที่เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ดั้งเดิม
โดนบริษัทเทคโนโลยีน้องใหม่เข้ามาดิสรัปต์เป็นเวลานาน
บางบริษัทที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้
ก็เหมือนจะกำลังรุกกลับและปรับตัวให้เข้าแข่งขันได้อีกครั้ง
อย่าง Disney เองหลังจากปล่อยให้ Netflix
นำคอนเทนต์ของทางบริษัทไปให้บริการอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง
ปัจจุบัน Disney ก็ได้ลุกขึ้นมาพัฒนาธุรกิจสตรีมมิงเป็นของตัวเอง
จนกลายมาเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่เรียกว่า “Disney+”
ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จนตอนนี้มีผู้สมัครใช้บริการ 100 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับจุดแข็งของบริษัทเก่าแก่ขนาดใหญ่ ก็คือ ความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนและฐานะทางการเงินที่มั่นคง
ในกรณีของ Disney ที่มีหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเพียง 0.5 เท่า
ในขณะที่ Netflix มีหนี้ระยะยาวต่อทุนสูงถึง 1.4 เท่า
สะท้อนให้เห็นว่า Disney ยังมีความสามารถในการจัดหาเงินทุนเพื่อขยายกิจการได้อีกมากในอนาคต
นอกจากนี้ Disney ยังมี Ecosystem ที่ครบวงจรอีกด้วย
เช่น สวนสนุก โรงแรม สื่อต่าง ๆ อย่าง ABC ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ช่องฟรีทีวีใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ
รวมถึงลิขสิทธิ์ต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้ง Marvel, Star Wars และ Pixar
และสิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจยิ่งแข็งแกร่งขึ้นไปอีก
จากตรงนี้ ก็ดูเหมือนว่าตอนนี้ Netflix อาจจะเจอกับการตีกลับครั้งใหญ่เข้าให้แล้ว
นอกจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์แล้ว
อุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่งก็เป็นเช่นเดียวกัน
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เหล่าค้าปลีกแบบดั้งเดิม
อย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ Walmart สามารถเข้ามาตีตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายขึ้น
ถือเป็นเรื่องน่ากังวลที่เหล่าบริษัทเทคโนโลยีต้องรับมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ดั้งเดิม
ที่มีความได้เปรียบทั้งด้านฐานะการเงินของบริษัทและ Ecosystem เดิมของตน
ศึกรอบด้านของบริษัทเทคโนโลยียังไม่ได้หมดเพียงแค่นี้
เพราะ “กฎหมายของแต่ละประเทศ” ก็เป็นอีกประเด็นที่เริ่มถูกพูดถึงกันมากขึ้น
นั่นก็เพราะว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งใหญ่จนเรียกได้ว่าผูกขาด
อุตสาหกรรมนั้นไปโดยปริยาย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลก
ก็เริ่มเข้ามาออกเกณฑ์การควบคุมเพื่อลดปัญหาดังกล่าว
เช่น สหภาพยุโรปกำลังตรวจสอบอำนาจการผูกขาดของเหล่าบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่
ประเทศออสเตรเลียเองก็เพิ่งออกกฎหมายบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีต้องจ่ายเงิน
สำหรับการแชร์เนื้อหาข่าวสารต่าง ๆ
ทางฝั่งประเทศจีน รัฐบาลกำลังเข้ามาควบคุมการผูกขาดของบริษัทเทคขนาดใหญ่เช่นกัน
เช่น Alibaba ที่เพิ่งถูกรัฐบาลสั่งปรับเงินครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน
คิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 8.8 หมื่นล้านบาท
จากการที่ Alibaba บังคับให้เหล่าร้านค้าในแพลตฟอร์มของตน ไม่สามารถไปขายกับแพลตฟอร์มอื่นได้
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ก็ยังมีเรื่องของ Ant Group บริษัท Fintech ในเครือ Alibaba
ที่ถูกรัฐบาลสั่งระงับการ IPO จากการที่รัฐกลัวเสียอำนาจในการควบคุมธุรกิจการเงินในประเทศ
นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังโดนรัฐบาลไล่ตรวจสอบเรื่องการผูกขาด
ก็ยังมี Tencent, ByteDance, JD.com และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมแล้วถึง 34 บริษัทเลยทีเดียว
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าบริษัทเทคโนโลยีในตอนนี้
นอกจากจะต้องแข่งขันกันเองแล้ว ก็ยังต้องมาเผชิญกับธุรกิจดั้งเดิม
ที่สามารถปรับตัวและกลับเข้ามาร่วมแข่งขัน
รวมถึงกฎเกณฑ์จากทางภาครัฐในแต่ละประเทศ เช่นกัน
ก็ดูเหมือนว่า เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่เพียงผลกระทบระยะสั้นเหมือนกับโรคระบาดที่มาแล้วก็ไป
แต่อาจจะกลายมาเป็นศึกรอบทิศทางของบริษัทเทคโนโลยี
ที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาเท่าไร กว่าศึกนี้จะจบลง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://backlinko.com/disney-users
-https://www.economist.com/business/2021/02/27/the-new-rules-of-competition-in-the-technology-industry
-https://www.jitta.com/stock/nasdaq:pdd/factsheet
-https://www.jitta.com/stock/nyse:baba/factsheet
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-10/china-fines-alibaba-group-2-8-billion-in-monopoly-probe
-https://www.jitta.com/stock/nasdaq:nflx/financial
-https://www.jitta.com/stock/nyse:dis/financial
-https://www.economist.com/business/2021/05/20/how-to-thrive-in-the-shadow-of-giants
bytedance stock 在 Apple Daily - English Edition Facebook 的最讚貼文
ByteDance, the Chinese internet company that develops video-sharing platform TikTok, has submitted papers for an initial public offering in Hong Kong’s stock market, a mainland media report says.
Read more: https://bit.ly/2RAFwT2
內媒中國證券報報道,抖音母公司字節跳動向港交所(388)提交承銷商聘用函,啟動赴港上市流程。
____________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
bytedance stock 在 M觀點 Facebook 的最讚貼文
在 CNN 的另一篇報導中看到一些其他新聞沒有透露的細節資訊,如果這些為真,那我收回川普輸一半那部分的評論。
---
CNN 這個報導裡面有些有趣的細節,如果真的細節是這樣,難怪川普會大致同意。
1. Oracle 要 Review TikTok 的原始碼。
2. 新公司的董事會成員要美國政府同意。
3. 其中一名董事要負責成立安全委員會,這個委員會的名單要美國政府同意。
If the arrangement gets a formal green light, ByteDance would continue to be the majority shareholder in the short-form video app, the person said. TikTok would also become a global company with headquarters in the United States, while Oracle will host TikTok's user data and review TikTok's code for security. The deal is meant to satisfy the US government's national security concerns about the app.
Under the proposal, the US government would approve members of TikTok's board; one board member is to be an expert in data security and would hold a top-secret security clearance, according to the person. That appointee would also be responsible for chairing a security committee whose members would be US citizens individually approved by the US government, the person said.
The new global company is expected to file for an initial public offering in about 12 months, the person said, with plans to be listed on a US stock exchange.
bytedance stock 在 TIKTOK STOCK PRICE PREDICTION With BYTEDANCE ... 的推薦與評價
... <看更多>