เมื่อเช้าจับ "ยุงยักษ์" ได้ตัวนึง ตัวใหญ่มาก สีสวยดีด้วย และเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อเราด้วยนะครับ (ไม่ดูดเลือด แต่ช่วยผสมเกสรดอกไม้ แถมลูกน้ำยุงยักษ์ยังกินลูกน้ำยุงอื่นด้วย)
เลยเอาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับยุงยักษ์ มาฝากกันครับ
-----
#ยุงยักษ์
อันดับ Diptera
วงศ์ Culicidae
วงศ์ย่อย Toxorhynchitinae (Megarhininae)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxorhynchites spp.
#รูปร่างลักษณะ
ยุงยักษ์เป็นยุงขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีสีสดใส เกล็ดเป็นมันวาว (metallic) ปลายปากโค้งงอจึงดูดกินเลือดไม่ได้ ขอบปีกด้านล่างมีรอยหยักอยู่ระหว่างเส้น CuA และเส้น Cu2 ไข่ในระยะแรกๆมีสีขาวขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร เมื่อใกล้จะฟักเป็นตัวไข่จะมีสีเหลืองอ่อน ลูกน้ำยุงยักษ์ระยะที่ 1 มีขนาดเล็กมากยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีสีเทาอ่อน ลูกน้ำระยะที่ 2 มีขนาดยาว 2-4 มิลลิเมตร มีสีเข้มขึ้น ลูกน้ำระยะที่ 3 มีขนาดยาว5-8 มิลลิเมตร มีสีแดงเข้มเหมือนสีเปลือกมังคุด ลูกน้ำระยะที่ 4 เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีสีแดงเข้มเช่นเดียวกับลูกน้ำระยะที่ 3 ตัวโม่งมีขนาดใหญ่ มีกลุ่มขน (seta) ที่ปล้อง 1-X
#วงจรชีวิต
ระยะไข่ใช้เวลา 2 วัน ระยะเวลาที่เป็นลูกน้ำนานประมาณ 16-17 วัน ระยะตัวโม่งนาน 5 วัน หลังจากยุงตัวผู้และยุงตัวเมียลอกคราบออกจากตัวโม่งแล้วประมาณ 2-3 วันก็จะเริ่มผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์ประมาณ 7 วันยุงตัวเมียจะเริ่มวางไข่ ยุงตัวเมียตัวหนึ่งๆจะวางไข่ประมาณ 10-50 ฟองต่อสัปดาห์ อายุเฉลี่ยของยุงตัวผู้ประมาณ 30 วัน สำหรับยุงตัวเมียอยู่ได้นานประมาณ 45 วัน
#อุปนิสัย
เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวลูกน้ำแล้วประมาณ 2 ชั่วโมงก็จะเริ่มกินอาหาร ซึ่งก็คือลูกน้ำของยุงชนิดอื่นๆและไรน้ำ ลูกน้ำยุงยักษ์จะลอยตัวนิ่งๆรอเหยื่อ และจะกินเหยื่อทุกชนิด (แม้แต่ลูกน้ำยุงยักษ์ด้วยกัน) ที่ว่ายน้ำเข้ามาใกล้ ลูกน้ำยุงยักษ์ระยะที่ 4 สามารถอดอาหารได้นานเป็นเดือนและมีชีวิตอยู่ได้แม้ในที่ชื้นหมาดๆในที่ร่มได้นานหลายวัน ยุงยักษ์ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่กัดคนและสัตว์ จะกินแต่น้ำหวานจากดอกไม้ผลไม้เท่านั้น
#แหล่งเพาะพันธุ์
ยุงยักษ์ตัวเมียวางไข่ตามท้องร่องในสวน บริเวณที่มีต้นไม้ร่มรื่น อาจพบลูกน้ำยุงยักษ์ได้ตามโอ่งน้ำที่อยู่นอกบ้าน ในโพรงไม้ ตอไม้ ตอไผ่ กาบต้นเตย กะลามะพร้าว เป็นต้น
#ความสำคัญ
ลูกน้ำยุงยักษ์มีศักยภาพในการกินลูกน้ำยุงลายดีมาก โดยเฉลี่ยแล้วลูกน้ำยุงยักษ์ระยะที่ 4 หนึ่งตัวสามารถกินลูกน้ำยุงลายระยะที่ 1 ได้ 940 ตัวต่อวัน กินลูกน้ำยุงลายระยะที่ 2 ได้ 315 ตัวต่อวัน กินลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 ได้ 60 ตัวต่อวัน และกินลูกน้ำยุงลายระยะที่ 4 ได้ 20 ตัวต่อวัน นอกจากนี้ยังสามารถกินตัวโม่งของยุงลายได้ 30 ตัวต่อวัน การนำยุงยักษ์ไปปล่อยในภาชนะขังน้ำเพื่อควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายนั้นควรใช้ระยะที่เป็นไข่ เนื่องจากสะดวกแก่การขนส่ง ในระยะที่เป็นลูกน้ำนั้นการขนส่งลำบาก ต้องใช้ภาชนะขนส่งจำนวนมาก เพราะถ้าใส่ลูกน้ำยุงยักษ์ไว้ในภาชนะเดียวกัน ลูกน้ำยุงยักษ์ก็จะกินกันเอง แต่การปล่อยลูกน้ำยุงยักษ์มีข้อดีคือสามารถกินลูกน้ำยุงลายได้ทันที ในประเทศไทยมีผู้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ยุงยักษ์ควบคุมยุงลายหลายท่านด้วยกัน ผลการศึกษาพบว่าสามารถควบคุมยุงลายได้นานหลายสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การควบคุมยุงลายในเขตเมืองโดยการใช้ยุงยักษ์มีข้อจำกัดเนื่องจากตัวยุงยักษ์ไม่สามารถแพร่พันธุ์ในเขตเมืองได้เพราะขาดแหล่งอาหาร จำเป็นต้องนำไข่หรือลูกน้ำยุงยักษ์ไปปล่อยเพิ่มเป็นระยะๆ
ข้อมูลจาก http://www.dhf.ddc.moph.go.th/Old/toxorhynchites.htm (22 สิงหาคม 2554)
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
diptera 在 國家地理雜誌 Facebook 的最讚貼文
看1萬5000隻蛆在實驗室內大嗑墨西哥夾餅!
小提醒:「蛆」(maggot)普遍被用來形容任何雙翅目 (Diptera)短角亞目 (Brachycera) 成員的幼蟲,例如家蠅或黑水虻幼蟲。此外,有些蛆雖可以吃掉傷口壞死的血肉,但實際運用在醫療用途的「合格」種類並不多。
#蛆 #墨西哥夾餅 #超級短片 #影片分享 #吃飯時先不要看
2020國家地理週年慶
訂閱最低3折:https://pse.is/T3PUT
diptera 在 Diptera - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>