#Opinion by Margaret Ng Ngoi-yee 吳靄儀|"In the absence of a democratic political system, the biggest goal of the establishment of a democratic party should be to strengthen democratic consciousness in society, to garner democratic forces, and allow like-minded people to have an inspiring place to gather and inspire each other. A seat in the council is the most direct way to demonstrate the democratic spirit and power, but if the democratic movement is forgotten in the process of winning seats, I find it to be utterly foolish."
Read more: https://bit.ly/3faDYr8
"在沒有民主政制之下,民主派成立政黨的最大目標是加深民主意識,凝聚民主力量,讓志同道合者有一個心曠神怡互相啟發的聚腳處。議席是發揮民主精神和力量的最直接方式,但為爭取議席而忘記民主運動,我認為愚不可及。"
____________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過9萬的網紅DREAM清醒夢LUCID,也在其Youtube影片中提到,十五年我從亞洲回到家鄉英國, 發現我從小被灌輸的那些“全球化、多元種族是對人類好的”的觀念竟然是有不同答案... 從小在沒有民主、沒有自由國家長大的人們, 不一定到了民主自由的國家就會開始喜歡民主和自由。 住在民主自由的國家十年、二十年還不一定想要或者尊重當地的民主與自由。 民主與自由這回事其實只佔...
「direct democracy」的推薦目錄:
direct democracy 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย"
ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ดังนั้นอำนาจในการปกครองของรัฐบาล (ผู้ปกครองที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ) ที่มาจากการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากประชาชนและมีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อาจแบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ ประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยทางผู้แทน และประชาธิปไตยทางตรงกับทางผู้แทนผสมผสานกัน ซึ่งเรียกว่า "ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรง” ดังนี้
1.การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาต่างๆของตนทุกเรื่อง ขอบเขตของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกรณีนี้จึงมีอำนาจอธิปไตยของแต่คนครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเล็กๆที่มีประชาชนไม่มากและปัญหาหรือเรื่องที่จะตัดสินใจไม่ยุ่งยาก จะเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งในสมัยดังกล่าวประชาชนมีจำนวนน้อย สามารถที่จะเรียกประชุมหรือนัดหมายกันได้ง่าย เพื่อออกความเห็นหรือตัดสินปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการปกครองประเทศหรือรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎหมายสำคัญๆ หรือแม้แต่การเลือกตั้งบุคคลสำคัญของรัฐ
ดังนั้นการเรียกประชุมนัดหมายประชาชนจึงกระทำได้ง่าย แต่ในปัจจุบันประชาชนพลเมืองมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และการปกครองการบริหารราชการแผ่นดินมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นยากแก่การให้ประชาชนทั้งหลายมาประชุมรวมกันได้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
ในปัจจุบันการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนี้ยังใช้อยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สำหรับบางมลรัฐ ที่เรียกว่า “Canton”มีอยู่ 3 มลรัฐ กล่าวคือ 1 ปี ประชาชนก็มาประชุมกันพิจารณาออกกฎหมายหรือจัดระเบียบภาษีอากร เสร็จแล้วก็เป็นหน้าที่กรรมการของมลรัฐที่จะทำงานต่อไปตามนั้นหรือในประเทศลิกเตนสไตล์เป็นรัฐเล็กๆ ในยุโรปที่มีประชากรประมาณ 36,000 คน เป็นต้น
ข้อสังเกต การใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนี้จะใช้ได้ผลดีเฉพาะในท้องที่ที่มีพลเมืองน้อยและมีความเจริญในทางจิตใจใกล้เคียงกัน แต่ถ้าท้องที่ใดมีพลเมืองมากก็ย่อมเป็นการยากที่จะใช้วิธีนี้มาประชุมออกเสียงจัดทำกฎหมายไjด้ ด้วยเหตุนี้ประเทศต่างๆจึงไม่นิยมใช้การอำนาจอธิปไตยทางตรงและหันมาใช้อำนาจอธิปไตยทางผู้แทนมาใช้ในการปกครองประเทศ
2.การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน (Representative Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนหรือตัวแทนเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ปัญหาแทนตน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยอ้อมเหมาะสมสำหรับชุมชนขนาดใหญ่มีประชากรมาก ปัญหาที่จะแก้ไขหรือเรื่องที่จะตัดสินใจก็มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก จึงจำเป็นต้องเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่แทนตน โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตน ประชาชนมีสิทธิเลือกตัวแทนเท่านั้น
จุดอ่อนสำคัญของประชาธิปไตยโดยอ้อม ก็คือ ไม่มีหลักประกันว่าการตัดสินใจของตัวแทนจะสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน เนื่องจากเห็นว่ามีผู้แทนซึ่งจะทำหน้าที่แทนตนอยู่แล้ว เมื่อขาดการติดตามและตรวจสอบจากประชาชน ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ปกครองและผู้บริหารซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนมีแนวโน้มที่จะปกครองและบริหาร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สาระสำคัญของการใช้อำนาจอธิปไตยโดยอ้อมหรือโดยทางผู้แทน คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) แต่ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยตรง จึงมีการมอบอำนาจให้กับตัวแทนประชาชน ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองโดยทางผู้แทน คือ
1) ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ตัวแทนไปใช้แทนตน
2) การมอบอำนาจอธิปไตยต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้ง (Election) ภายใต้ระบบการแข่งขัน (Competition)
3) ตัวแทนของประชาชนมีอำนาจจำกัดตามที่กฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) กำหนดไว้เท่านั้น
4) เป็นการมอบอำนาจให้กับผู้แทนอย่างมีเงื่อนไข หากผู้แทนใช้อำนาจนอกขอบเขตของกฎหมาย ใช้อำนาจโดยพลการหรือโดยบิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมเรียกคืนได้
แต่อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจอธิปไตยโดยอ้อมหรือผ่านทางผู้แทนกลับพบข้อบกพร่องและจุดอ่อนอยู่หลายประการ ทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขาดความเชื่อมั่นศรัทธาจากประชาชน ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายกับการเมือง จึงได้มีแนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมขึ้นมา กล่าวคือ ผสมผสานระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางผู้แทนขึ้นมาเพื่อแก้ไขความบกพร่องระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน
3. การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรงของประชาชน (semi-Direct Democracy) หรือเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในรูปแบบผสม รูปแบบนี้มีหลักการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยอ้อมหรือทางผู้แทนและอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยตรง เข้ามาใช้รวมกัน โดยประชาชนยังสงวนสิทธิที่จะใช้ อำนาจอธิปไตยทางตรงในบางเรื่อง แต่ส่วนใหญ่แล้วประชาชนได้มอบหมายให้ตัวแทนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน กล่าวคือ การใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นจะเป็นผู้ใช้สิทธิอำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการบริหารปกครองประเทศโดยการจัดตั้งรัฐบาล หรือแม้แต่การตรากฎหมาย แต่ในขณะเดียวกัน นอกจากจะให้ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อม โดยเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง และเรื่องสำคัญอื่นๆโดยการใช้อำนาจอธิปไตยได้โดยตรง เช่น การให้ประชาชนใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าสู่สภา สิทธิในการออกเสียงประชามติหรือแม้แต่การให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อถอดถอนตำแหน่งสำคัญของผู้บริหารหรือผู้ปกครองประเทศ เป็นต้น
ดังนั้นเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนแบบมีส่วนร่วมหรือแบบผสมระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อมเข้าด้วยกันหรืออาจเรียกว่า “การใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรง” เพื่อรักษาส่วนแบ่งพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในกรอบที่สามารถรักษาดุลยภาพระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อม และยึดโยงเข้ากันได้กับความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนด้วย ซึ่งต้องคำนึงถึงความสามารถในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและความสามารถในการสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเมืองของประชาชน (Political efficacy) ได้แก่ องค์ประกอบของหลักการในการกระจายอำนาจและการร่วมตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนหรือการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมสำคัญในทางการเมือง เป็นต้น
ดังนั้นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการปกครองประเทศในปัจจุบัน ส่วนประชาธิปไตยทางตรงนั้นเป็นตัวเสริมหรือสนับสนุนการมีประชาธิปไตยทางอ้อมหรือทางผู้แทน ซึ่งเรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” อันเป็นการผสมผสานแนวความคิดของทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
1. “แนวคิดทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน” เกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนในเลือกตั้งผู้แทน เป็นเรื่องของ “สิทธิ” ที่จะไปเลือกตั้งหรือไม่ไปเลือกตั้งผู้แทน แต่ “แนวคิดตามทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ” เกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นเรื่องของ “หน้าที่” ที่ต้องไปเลือกตั้งผู้แทน
2. แนวความคิดของทั้ง 2 ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นนั้น เมื่อมองในแง่ปรัชญาทางกฎหมายมหาชนแล้วเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ทฤษฎีมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องของอำนาจอธิปไตยที่ไปด้วยกันได้ เพราะแนวคิดที่กล่าวว่า ชาตินั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวแบ่งแยกไม่ได้ แตกต่างกับแนวคิดที่ว่าประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคนละหนึ่งส่วนโดยสิ้นเชิง รัฐสมัยใหม่ในปัจจุบันจึงให้การยอมรับแนวความคิดผสมผสานทั้ง 2 ทฤษฎีดังกล่าว
ปัจจุบันได้มีการนำแนวความคิดของทั้ง 2 ทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน และพยายามที่จะทำให้แนวคิดทั้ง 2 ไปด้วยกันได้อย่างราบรื่น ในหลายๆประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชน คือ หัวใจในการพยายามที่จะดึงจุดเด่นจุดด้อยของทั้ง 2 ทฤษฎีออกมาเพื่อนำมาปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกันของการปกครองในระบอบดังกล่าว ประชาชนซึ่งมีสิทธิและมีเสียงในการปกครองประเทศ เสียงของประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ที่ฝ่ายตัวแทนของประชาชน ผู้ปกครองบ้านเมืองต้องฟังเสียงของประชาชน นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการเสริมต่างๆที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมืองโดยตรงด้วย
ดังนั้นจึงนิยามความหมายของประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ระบบการปกครองที่สมาชิกรัฐสภาที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ตรากฎหมายและลงมติในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีมาตรการ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ในการบริหารกิจการบ้านเมืองในบางเรื่อง เช่น การแสดงประชามติ (Referendum) การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (Initiative Process) การถอดถอน (Recall) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เป็นต้น
direct democracy 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的精選貼文
เอาละครับ ผมรอจนมีคนมาสร้างหลักฐาน
เพื่อที่จะพิสูจน์สิ่งที่ผมพูดดังต่อไปนี้แล้ว
วันนี้ผมจะมาพูดอธิบายต่อครับว่า
คนรุ่นก่อนได้ทำอะไร
ที่เป็นตัวผลักให้ผู้ประท้วงอยู่ในสภาพฝาชนหลัง
จนเขาต้องออกมาเดินประท้วงนะครับ
-------------------------------
ก่อนที่ผมจะอธิบายจุดยืนของทางฝั่งเขา
ผมจะขอพูดเรื่องที่จะทำให้มีคนจำนวนมากทั้งสองฝั่ง
มาด่าว่าผมก่อนครับ
.......................
.............
......
....
...
..
.
........... การเลือกตั้ง ......... และรัฐสภา
....... มันไม่ใช่ประชาธิปไตยในตัวของมันเองครับ
...... มันเป็นแค่หนึ่งในวิธีการ
ที่ **อาจจะ** นำมาสู่ประชาธิปไตย
ซึ่งมันอาจจะทำให้ประเทศชาติเป็นเผด็จการหรือคอมมิวนิสต์ก็ได้
ขึ้นอยู่กับกระบวนทั้งระหว่างและหลังการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งเป็นการออกเสียงประเภทหนึ่ง
แต่ไม่ใช่การออกเสียงทั้งหมดที่เป็นการเลือกตั้ง
ซึ่งจริงๆแล้ว ถ้าในท้ายสุด
มันมีกระบวนการอะไรสักอย่าง
ที่ทำให้ผู้คนสามารถออกเสียงและใช้สิทธิเสียงของตัวเองได้
มันก็สามารถเป็นประชาธิปไตยได้ ต่อให้ไม่มีการเลือกตั้งก็ตาม
---------------
ทีนี้ เรามานิยามกันก่อนว่า
จุดประสงค์สูงสุดของประชาธิปไตยนั้นคืออะไร?
มันคือการที่เสียงของทุกคนนั้นมีค่าเท่ากัน
และเป็นสิ่งที่สามารถใช้ผลักดันนโยบายต่างๆของสังคมได้
ซึ่งถ้าเราจะดูจากตรงนี้เอง
เราก็จะเห็นกันได้นะครับว่า ระบบสภาผู้แทนนะ
จริงๆแล้วมันไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้ด้วยซ้ำ
เพราะผู้แทนที่อยู่ในสภา
ไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องลงเสียงตามผู้ที่เลือกตนมา
หรือเลือกตามเสียงส่วนใหญ่เสมอไป
อันเป็นเหตุให้สิทธิเสียงของคนกลุ่มหนึ่งนั้น
ไม่มีค่าขึ้นมาทันที
สาเหตุเดียวที่เรายังใช้ระบบผู้แทนในสภากัน
เพราะวิทยาการสมัยก่อน
มันไม่เอื้ออำนวยต่อการทำ Direct หรือ Liquid Democracy
แล้วเราก็ใช้ต่อๆกันมา
ก็เพราะเรายังเห็นกันว่ามันเพียงพอต่อการเป็นประชาธิปไตยแล้ว
และการที่ "เสียงของเขานั้นไร้ค่า"
<<== นี่แหละครับ คือต้นเหตุแท้จริงของการที่เขาต้องมาประท้วง
----------------------------
ตรงนี้ผมจะขอจงใจพูดว่า
นี่เป็นความผิดของผู้ใหญ่
ในฝั่งอนุรักษ์นิยมโดยรวมนะครับ
เวลาที่คนฝั่งอนุรักษ์นิยมเลือกใคร
มันจะมีส่วนของความรู้สึกบูชา
ที่มันเป็นผลพลอยมาจากวัฒนธรรมแบ่งชนชั้นอยู่
เวลาที่เยาวชนเลือกใคร ...... เช่นคนเสื้อส้ม
มันเลยจะมีมุมมองอยู่ว่า ที่เขาเลือกคนๆนั้น เพราะเขาบูชา
....... ซึ่งจริงๆมันไม่ใช่ครับ ....... อย่างน้อยก็ไม่ทั้งหมด
สาเหตุหลักๆที่เขาเลือกคนเสื้อส้ม
เพราะ "เป็นคนที่พูดกับเขารู้เรื่องสุด"
ถ้าเทียบกันกับผู้สมัครคนอื่นๆ
อย่างถ้าเราเน้นมาที่รัฐมนตรี
เราจะเห็นแต่คนอายุ 50+ เกือบทั้งหมด
ซึ่ง ...... อีกไม่กี่ปีผมก็จะอายุ 40 แล้ว
ผมยังทนความล้าหลังตกโลกของคนพวกนี้ไม่ได้เลย
นับประสาอะไรกับคนช่วงอายุราว 20 ที่จะต้องมาทน
เขาอยากได้คนมีความสามารถอย่าง Audrey Tang มาอยู่ในสภา
หรืออย่างน้อยก็คนที่พูดกันรู้เรื่อง
แต่กลับมีแต่คนที่ไม่ได้พยายามทำความเข้าใจอะไรในตัวพวกเขาเลย
การที่เขาไม่ได้เลือกผู้ใหญ่เหล่านั้น
ก็เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะมาเป็น "ตัวแทน" ให้เขาได้
เขาถึงได้ไปเลือกคนที่เขาคิดว่าเข้าใจพวกเขาได้มากสุด
..... เพื่อให้เขามาเป็น "ตัวแทน" ของเขาครับ
-----------------
ทีนี้นะครับ กรณีที่คนเสื้อส้มถูกตัดสิทธิทางการเมืองนะ
เราสามารถมาเถียงกันได้ว่า เขาผิดจริงหรือไม่
........ แต่ ........ ความจริงที่เกิดขึ้นและคุณปฏิเสธไม่ได้
คือการที่เสียงคนจำนวนไม่น้อยได้หายไปจากสภาแล้ว
....... ซึ่ง จริงๆแล้วมันไม่ได้จำเป็นจะต้องเป็นคนเสื้อส้มก็ได้
อย่างสมมุตินะครับว่า
ถ้าในสภายังมีคนที่เขาเชื่อว่ายังเป็นตัวแทนเสียงของเขาอยู่
หรือมีการเลือกตั้งซ่อมสำหรับคนที่เลือกคนเสื้อส้ม
เพื่อให้พวกเขา "มีตัวแทนเสียง" ในสภาอยู่
มันก็จะไม่เป็นการผลักกดดันพวกเขาจนถึงระดับนี้
เวลาที่คนฝั่งอนุรักษ์นิยมดูสถานการณ์นะ
เขาถือว่า เอ้า มันก็มีการเลือกตั้งแล้วไง
มันจะไม่เป็นประชาธิปไตยได้ยังไง?
เด็กพวกนี้ออกมาเดินขบวนแบบนี้
มันจะต้องมีคนเสี้ยมหนุนหลังสิ
...... โดยไม่ได้สนใจเลยว่า
คนฝั่งผู้ประท้วงที่ถือเอาประชาธิปไตยเป็นคุณธรรมสูงสุดนั้น
เขาได้ถูกเหยียบย่ำสิทธิและจิตใจจนถึงขีดสุดแล้ว
........ ความรู้สึกของเขานั้น
ไม่ได้ต่างอะไรกับความรู้สึกของผู้ภักดี
เวลาเห็นคนด่าว่า ร.9 หรือพระเทพเลย
เท่านั้นไม่พอ
พอคนเสื้อส้มถูกตัดสิทธิทางการเมือง
ยังมีคนมาเฮฮาเย้วๆสมน้ำหน้ากันด้วยซ้ำ
ซึ่งตรงนี้ ....... มันเป็นเรื่องพิสูจน์ด้วยครับว่า
คนฝั่งอนุรักษ์นิยมนะ
ไม่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์และสิทธิของพวกเขา
อันเป็นเหตุให้เขาถูกกดดันจนหลังชนฝา
และต้องออกมาประท้วง "เพื่อแสดงสิทธิเสียง" ของตัวเองครับ
---------------------------
ในกลุ่มผู้ประท้วงนะครับ
มันจะมีคนอยู่ 3 กลุ่มหลักๆด้วยกัน
กลุ่ม (1) ผมขอเรียกว่ากลุ่มกระแสหลัก
คือกลุ่มที่ขอให้เอาพระราชอำนาจมาอยู่ใต้กฏหมาย
กลุ่ม (2) คือกลุ่มที่ผมอธิบายไปคราวก่อน
คือไม่ยอมรับพระราชอำนาจเลย
ผมเรียกว่า กลุ่มประชาธิปไตยสุดฝา
และกลุ่ม (3) คือกลุ่มที่แยกรัฐบาลกับสถาบันออกจากกัน
ไม่ได้เรียกร้องอะไรจากสถาบันทั้งนั้น
ซึ่งจุดร่วมของคนทั้งสามกลุ่มนั้นคือ
การที่เสียงของเขาได้หายไป
และต้องลงมาเพื่อสู้บนถนน
เพราะสภาไม่มีที่ให้เสียงของเขานั้นไปถึงแล้ว
....... ทีนี้นะครับ ....... ปัญหานั้นมีอยู่ว่า
เมื่อผู้ใหญ่อนุรักษ์นิยม
ไม่ได้เห็นว่า การละเมิดสิทธิเสียงนั้นเกิดขึ้น
การเลือกตั้งก็เกิดขึ้นแล้ว มันจะเป็นปัญหาได้ยังไง
เขาก็ได้โยงตีความไปแล้วว่า
มันเป็นเรื่องของคนกลุ่ม (1) และ (2)
...... ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุอะไรก็ตาม
คนกลุ่มนี้ได้เชื่อไปแล้วว่าพระราชอำนาจนั้นอยู่เหนือกฏหมาย
โดยกลุ่ม (1) พยายามจะเรียกร้อง
ทำให้มันถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยแต่แรก
ส่วนกลุ่ม (2) คือมีคนที่พยายามจะโค่นลงมาให้ได้
..... แต่ ..... ปัญหาก็จะมีต่ออีกว่า
ฝ่ายผู้ใหญ่อนุรักษ์นิยม มีข้ออ้างพูดได้ต่อว่า
พระราชอำนาจอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
เขาก็เลยไม่เห็นว่า
ข้อเรียกร้องกลุ่ม (1) มันจะมีประเด็นอะไรให้มาพูด
เลยกลายเป็นว่าเขาเห็น
คนกลุ่ม (2) เป็นตัวแทนผู้ประท้วงทั้งหมดแทน
คือการตีความเอาฝั่งเดียวแล้วว่า
"ม็อบจะมาโค่นพระราชอำนาจลง"
โดยไม่ได้สนจุดยืนและตัวตนของคนกลุ่ม (1) และ (3) เลย
....... ซึ่งตรงนี้พิสูจน์ได้นะครับ
จากการดูข่าวฝั่งรัฐบาลที่เกิดขึ้น 1-2 วันมานี้เอง
...... มันพอๆกันกับอเมริกาสมัยที่คนดำกับผู้หญิงไม่มีสิทธิเลือกตั้งเลย
-------------------------------
แล้วพอเราพูดกันถึงเรื่องสิทธิออกเสียงกัน
ผมเชื่อนะครับว่า มีผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยจะต้องมาพูดว่า
เด็กก็อยู่ส่วนเด็ก เป็นนักเรียนนักศึกษาก็เรียนไปสิ เด็กจะมารู้อะไร
.......... ซึ่งเป็นความคิดที่โคตรจะล้าหลังเอามาก
มองไม่เห็นถึงศักยภาพของคนรุ่นใหม่
และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในโลก
ซึ่งตรงนี้ถ้าจะให้มาอธิบายละเอียดมันจะยาว
ผมอาจจะมาพูดวันหลัง
แต่ขอพูดสรุปสั้นๆว่า
มันเป็นหนึ่งในตัวการที่พิสูจน์ครับว่า
คุณไม่ได้ให้ค่ากับสิทธิที่เขาควรจะมี
ซึ่งขนาดผมไม่ได้เลือกคนเสื้อส้ม
ผมเองก็ยังอึดอัดทนไม่ได้เลย
เพราะคนที่สามารถเป็นตัวแทนเสียงแทนผมได้ก็ไม่ได้มีอยู่ในสภา
------------------------------------
ท้ายสุดตรงนี้
ผมขอพูดกับทางฝั่งผู้ประท้วงครับ
**ถ้า** เรายังถือว่าตัวแทนในสภาเป็นสิ่งสำคัญต้องมีอยู่
นอกจากการลดอำนาจของอีกฝ่าย
อีกสิ่งหนึ่งที่คุณสามารถทำได้
คือการเพิ่มอำนาจของตัวเอง
สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำคือ
ให้คุณยื่นข้อเสนอดังต่อไปนี้ครับ
ให้เสริมที่นั่งในสภาขึ้นอีก 250 ที่นั่ง
เป็นที่นั่งสำหรับคนรุ่น U-25
โดยมีกฏว่า ผู้สมัครทุกคนจะต้องมีอายุต่ำกว่า 25
และมีแต่คนอายุต่ำกว่า 25 เท่านั้นที่จะมีสิทธิเลือก
และถ้าฝั่งผู้ใหญ่เห็นว่าไม่เป็นธรรม
ก็ให้เสนอสร้างที่นั่ง O-50
สำหรับคนกลุ่มอายุเกิน 50 เข้าไปด้วย
เพื่อให้เสียงของทุกคนนั้น
มีค่าในสภามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ
....................
.............
........
.....
...
..
.
........ ถึงแม้ผมจะเห็นว่า
ระบบตัวแทนในสภานี่ก็ล้าหลังแล้วก็ตาม
และคนในอีก 50 ปีต่อมา
จะมาบอกว่าคนรุ่นเรานี่ล้าหลังมาก
แล้วเขาจะมาขอให้ทำของอย่างอื่น
ที่เขาเชื่อว่า เป็นประชาธิปไตยมากกว่าสิ่งที่คนยุคนี้เชื่อแทนครับ
direct democracy 在 DREAM清醒夢LUCID Youtube 的最佳解答
十五年我從亞洲回到家鄉英國,
發現我從小被灌輸的那些“全球化、多元種族是對人類好的”的觀念竟然是有不同答案...
從小在沒有民主、沒有自由國家長大的人們,
不一定到了民主自由的國家就會開始喜歡民主和自由。
住在民主自由的國家十年、二十年還不一定想要或者尊重當地的民主與自由。
民主與自由這回事其實只佔了整個人類歷史中非常短的時間,並且大多數國家至今都沒有。
這十五年來,我去到中國、香港與台灣,
他們三個地方離彼此那麼近,卻是那麼的不一樣。
我們必須保護自由的價值,中國變得強大,是因為與世界各國做買賣。
但為了GDP或者更便宜的成本,要賠上香港的自由與台灣的民主?
15 years is a long time. 15 years can change the way you look at everything. Arriving back in the UK I can't say I could be more at odds with the liberal globalist cult of British politics. We don't have to do any more than turn on the TV or look online to see examples of what happens when borders are not respected, when we undergo top down social experiments of mass immigration against the will of the populace. We don't need to look further than Hong Kong to see the dangers of authoritarian governments. We don't need to look further than Taiwan to see how fragile the world order is or how quickly everything could be turned on its head. We have become sedated with netflix and chocolates. We have been blind to the dangers of initiatives imposed on us by globalist elites who seek to undermine our way of life. Diversity of opinion with in a population is healthy. Diversity of peoples with ideologies in direct conflict with each other is the thing wars are made of. Borders are to be respected, borders must be upheld. Borders keep us us and our way of life safe. The more the border between hong kong and China is eroded the more pain conflict and strive we will see. The border separating Taiwan and China will only cause lose of life when it is eroded. We must not let this happen. We must stand on the side of democracy and freedom. Democracy, freedom of speech, freedom of assembly, freedom to critique the government, these are things that could be wiped out in a heartbeat. What has almost all of human history been of not tyranny of a minority over a majority.
▶ Patreon: https://www.patreon.com/dr34mlucid
▶ Paypal是一次性的,連結在此: https://www.paypal.me/dr34mlucid
▶ FB: https://www.facebook.com/dr34mlucid
▶ IG: dr34mlucid
▶ LINE貼圖連結(第一次做,謝謝支持):
https://store.line.me/stickershop/pro...
(也可以直接到LINE貼圖商城的創作者欄位搜尋:清醒夢 或 dr34mlucid )
#dr34mlucid #ChinaandTaiwan
direct democracy 在 What is DIRECT DEMOCRACY? What does ... - YouTube 的推薦與評價
http://www.theaudiopedia.com The Audiopedia Android application, ... ... <看更多>