เจ้าของสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ใหญ่สุดในโลก คือใคร ? /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทเทคโนโลยีในจีน หลายคนคงนึกถึง Alibaba หรือ Tencent
แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีอีกบริษัทเทคโนโลยีจากจีนที่กำลังมาแรง
ถึงขนาดที่ก้าวขึ้นมาเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้
บริษัทนั้น ก็คือ “ByteDance” เจ้าของแอปพลิเคชัน TikTok
ที่มีมูลค่าประเมินล่าสุดอยู่ที่ 14.0 ล้านล้านบาท
โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของยูนิคอร์นตัวนี้ คือ “จาง อี้หมิง”
แล้วกว่าจะมาเป็นวันนี้ จาง อี้หมิง และ ByteDance ผ่านอะไรมาบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จาง อี้หมิง เกิดในปี ค.ศ. 1983 ที่เมือง Longyan จังหวัด Fujian ประเทศจีน ปัจจุบันมีอายุ 38 ปี
แม้เขาจะเกิดและเติบโตในครอบครัวธรรมดา ฐานะปานกลาง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือครอบครัวของจาง ค่อนข้างให้อิสระกับเขา ไม่ได้มีกฎเกณฑ์หรือมีระเบียบเคร่งครัด ต่างจากครอบครัวชาวจีนในสมัยนั้น
นอกจากนี้ ทั้งพ่อและแม่ของจางก็ยังสนับสนุนให้เขาลองผิดลองถูกอยู่เสมอ
เรื่องนี้เอง ก็ได้ทำให้เขาเติบโตมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์
และมีความกล้าที่จะลองอะไรใหม่ ๆ ตลอดเวลา
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2001 เขาได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Nankai ในสาขา Microelectronics
ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาศึกษาในสาขาวิชา Software Engineer
หลังจากจบการศึกษา จางก็ได้เริ่มธุรกิจของตัวเองเป็นครั้งแรก ร่วมกับรุ่นพี่ที่รู้จักกันจากมหาวิทยาลัย
โดยธุรกิจที่เขาก่อตั้งขึ้นนั้น เป็นธุรกิจที่ทำระบบจัดการข้อมูลและการเข้าถึงสำหรับองค์กร
แต่ในตอนนั้นด้วยความที่ยังไม่มีประสบการณ์ จึงทำให้เขาทำผิดพลาดในหลายเรื่อง
เช่น การวางตำแหน่งทางการตลาดที่ไม่ดี สุดท้ายเขาก็ต้องล้มเลิกกิจการไป ภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว
ในปี ค.ศ. 2006 เขาได้เข้าทำงานกับสตาร์ตอัป Kuxun ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ที่ให้บริการสำหรับการจองตั๋ว เช่น เครื่องบิน โรงแรม และรถไฟ คล้าย ๆ กับ Agoda, Booking, Traveloka
ในช่วงที่เขาได้เข้ามาทำงานที่นี่ บริษัทยังถือว่ามีขนาดเล็กและมีพนักงานเพียงไม่กี่คน
เล็กในระดับที่เขา เป็นพนักงาน Software Engineer คนแรกขององค์กร
หลังจากผ่านไปได้เพียง 2 ปี Kuxun ที่ตอนแรกเป็นเพียงสตาร์ตอัปขนาดเล็ก
ก็ได้เติบโตขึ้นกลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานกว่า 40 คน
และด้วยความสามารถที่โดดเด่นของจาง ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคนิค
แต่แน่นอนว่าตำแหน่งหัวหน้าย่อมต้องมีเรื่องการบริหารเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วยความที่เขารู้สึกว่าตนเองยังไม่เก่งเรื่องการบริหารและทำได้ไม่ค่อยดี
เขาจึงอยากพัฒนาและต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารมากกว่านี้
เขาจึงมีเป้าหมายว่าต้องการเรียนรู้วิธีการบริหารจากบริษัทระดับโลก
ซึ่งนั่นก็นำไปสู่การเดินทางออกนอกประเทศบ้านเกิดในปี ค.ศ. 2008 เพื่อไปร่วมงานกับ Microsoft
แต่จางก็ทำงานที่นี่ได้ไม่นาน เพราะเขารู้สึกว่าบริษัทแห่งนี้ มีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดเกินไป
หลังจากลองผิดลองถูกและสะสมประสบการณ์มาพอสมควร
เขาก็ได้ตัดสินใจลาออกจาก Microsoft เพื่อกลับไปลองก่อตั้งบริษัทของตนเองอีกครั้ง
ชื่อว่า “99fang” แพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
หลังจากก่อตั้งได้เพียง 6 เดือน 99fang ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้
จนแพลตฟอร์มของเขาเติบโตจนมีผู้ใช้งานมากถึง 1.5 ล้านบัญชี
และได้ก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอสังหาริมทรัพย์ของจีนอันดับต้น ๆ ในเวลานั้นเลยทีเดียว
ในขณะเดียวกัน เขาเริ่มเห็นว่าผู้คนมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนมากขึ้น
ทำให้เขามองว่าการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนจะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคต
เขาจึงมองไปที่ตลาดที่ใหญ่กว่าตลาดในประเทศจีน นั่นก็คือ “ตลาดโลก”
จาง อี้หมิง ในวัย 29 ปี จึงได้ตัดสินใจจ้างผู้บริหารมารับไม้ต่อในการบริหาร 99fang
เพื่อที่เขาจะได้มาโฟกัสในธุรกิจใหม่ ในตอนนั้นเขาจึงก่อตั้ง “ByteDance” ขึ้นมา
โดยครั้งนี้เขาต้องการสร้าง แพลตฟอร์มโซเชียลที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นหลัก
แม้จะมีไอเดียที่ดี แต่ในตอนนั้นแทบไม่มีใครเชื่อมั่น และให้เงินสนับสนุนกับเขาเลย
ถึงขนาดว่าในช่วงเริ่มต้น ByteDance ถูกปฏิเสธจาก Venture Capital หรือผู้ให้เงินระดมทุนกว่า 30 ครั้ง
ก็จะมีแต่ Susquehanna International Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการค้าและเทคโนโลยีระดับโลก
ที่ได้ให้เงินสนับสนุนกับจางราว 155 ล้านบาท
หลังจากที่ได้เงินสนับสนุนมา ในปีเดียวกันบริษัท ByteDance ได้เปิดตัว Toutiao ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม
ที่ให้บริการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งจุดเด่นของ Toutiao คือจะนำเสนอเนื้อหาตามความชอบ
โดยใช้ AI ในการวิเคราะห์ หลังจากเปิดตัวได้ 2 ปีมีผู้ใช้งานสูงถึง 13 ล้านบัญชีต่อวัน
จุดนี้เอง ก็ได้เริ่มทำให้เหล่าบริษัทขนาดใหญ่เริ่มให้ความสนใจและให้เงินสนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SoftBank รวมถึง Sequoia Capital ที่เคยปฏิเสธจางไปในครั้งแรก
ก็ได้กลับมาให้เงินสนับสนุนมากถึง 3,200 ล้านบาทในปี ค.ศ. 2014
ต่อมา จางยังได้สังเกตเห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะดูคลิปวิดีโอสั้นมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
นั่นจึงเป็นไอเดียที่ทำให้ในปี ค.ศ. 2016 ByteDance ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นในจีน
ชื่อว่า “Douyin” หรือในเวอร์ชันสากลที่เรารู้จักกันคือ “TikTok” นั่นเอง
TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำหรับสร้างและรับชมวิดีโอสั้น ซึ่งจะมีฟีเชอร์เสริมที่สามารถใส่เพลงประกอบได้
โดยในตอนแรกจะมีความยาวของวิดีโอเพียง 15 วินาทีเท่านั้น แต่ในภายหลังได้เพิ่มให้วิดีโอสามารถมีความยาวได้ถึง 3 นาที
และแน่นอนว่า TikTok ก็มีระบบแนะนำวิดีโอที่เราชอบหรืออาจจะสนใจ โดยการใช้ AI
ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัท ซึ่ง TikTok ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
เร็วในระดับที่หลังจากเปิดให้บริการได้เพียง 1 ปี TikTok มียอดผู้ใช้งานทั่วโลกสูงถึง 54 ล้านบัญชี
และเติบโตต่อเนื่อง จนปัจจุบันยอดผู้ใช้งานของ TikTok ได้กลายเป็น 732 ล้านบัญชีทั่วโลก
แล้วที่ผ่านมา ByteDance มีผลประกอบการเป็นอย่างไร ?
ปี 2018 มีรายได้ 230,000 ล้านบาท
ปี 2019 มีรายได้ 650,000 ล้านบาท
ปี 2020 มีรายได้ 1,200,000 ล้านบาท
รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด
และปัจจุบัน ByteDance ได้กลายเป็นบริษัทเนื้อหอม ที่มีแต่ผู้เข้ามาให้เงินระดมทุนมหาศาล
จนล่าสุดบริษัท ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 14.0 ล้านล้านบาท
และด้วยมูลค่าบริษัทที่เพิ่มขึ้นนี้เอง จึงทำให้ตัวเจ้าของอย่างจาง มีมูลค่าทรัพย์สินสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท
ขึ้นแท่นเป็นคนที่รวยที่สุดอันดับ 9 ของจีน และอันดับ 39 ของโลก
แล้วถ้าถามว่าเคล็ดลับความสำเร็จของจาง อี้หมิง คืออะไร ?
เราก็น่าจะนำมาสรุปแบ่งได้เป็น 2 ข้อ นั่นก็คือ
1. เขากล้าที่จะคิดในสิ่งใหม่ ๆ และลงมือทำอย่างจริงจัง
เหมือนตอนที่เขาตัดสินใจจ้างผู้บริหารใหม่มาดูแล “99fang” ทั้ง ๆ ที่บริษัทกำลังไปได้ดี
เพื่อจะมาทำตามความฝัน โดยการก่อตั้ง “ByteDance”
ที่ในตอนแรกแทบไม่มีใครเชื่อว่าเขาจะทำได้
2. เขายอมรับข้อเสียของตัวเอง เพื่อที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
เหมือนกับในช่วงที่เขาลาออกจาก Kuxun เพื่อที่จะเข้าไปเรียนรู้การบริหารในบริษัทที่ใหญ่กว่าอย่าง Microsoft และเมื่อกลางปีที่ผ่านมา จาง อี้หมิง เพิ่งประกาศว่าจะลงจากตำแหน่ง CEO ของ ByteDance โดยให้เหตุผลว่า “เขายังคงขาดทักษะบางอย่าง ในการเป็นผู้บริหารที่ดี”
แม้ว่าวันนี้ จาง อี้หมิง จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคนหนึ่ง
แต่เขายังคงถ่อมตน ไม่หลงตัวเอง คอยมองหาข้อผิดพลาดเพื่อที่จะแก้ไขและเรียนรู้อยู่เสมอ
ด้วยแนวคิดนี้ เราจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม ByteDance ภายใต้การบริหาร
ของจาง อี้หมิง ได้ก้าวขึ้นมาเป็น ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/Zhang_Yiming
-https://www.youtube.com/watch?v=kqxbO067y4g
-https://en.wikipedia.org/wiki/ByteDance
-https://www.businessinsider.com/bytedance-cofounder-zhang-yiming-steps-down-as-ceo-report-2021-5
-https://forbesthailand.com/news/global/zhang-yiming-เจ้าของแอปฮิต-tiktok-บริจาค-10.html
-https://www.forbes.com/profile/zhang-yiming/?sh=686eec81993c
-https://www.businessofapps.com/data/tik-tok-statistics/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Toutiao
-https://en.wikipedia.org/wiki/TikTok
-https://www.longtunman.com/31622
-https://2.flexiple.com/founders/zhang-yiming
-https://asia.nikkei.com/Business/36Kr-KrASIA/TikTok-creator-ByteDance-hits-425bn-valuation-on-gray-market#:~:text=BEIJING%20%2D%2D%20The%20valuation%20of,stakes%20for%20sale%20in%20ByteDance.
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過7萬的網紅sherrybyw,也在其Youtube影片中提到,Big thanks to Ollie (Head of Talent at Golden Gate Ventures) for filming this series with me! • Timestamps • 0:35 Job searching platforms in SEA 1:54...
krasia 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
OVO ยูนิคอร์นฟินเทค ที่ใหญ่สุด ในอินโดนีเซีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินโดนีเซีย มีสตาร์ตอัปที่เป็นยูนิคอร์น หรือสตาร์ตอัปที่มีมูลค่าเกินกว่า 3 หมื่นล้านบาท อยู่ทั้งหมด 8 บริษัท ส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียมียูนิคอร์นมากที่สุดในอาเซียน และมากเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียเลยทีเดียว..
แต่รู้หรือไม่ว่าใน 8 บริษัทนั้น มีเพียงบริษัทเดียวที่เป็นแพลตฟอร์มด้านฟินเทค
โดยให้บริการด้านการชำระเงิน หรือ e-Wallet ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทนี้ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 9 หมื่นล้านบาท
แล้วยูนิคอร์นฟินเทคเพียงหนึ่งเดียวในอินโดนีเซียให้บริการอะไรบ้าง ? และมีความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงสตาร์ตอัปจากประเทศอินโดนีเซีย บริษัทที่คนไทยพอจะเคยได้ยินชื่อ ก็จะมี
Gojek ที่ให้บริการเรียกรถและสั่งอาหาร
Traveloka ที่ให้บริการจองที่พัก
Tokopedia และ Bukalapak ที่เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce
ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็น 4 บริษัทแรกของอินโดนีเซียที่ได้เป็นยูนิคอร์น
แล้วยูนิคอร์นอันดับที่ 5 คือใคร ?
แพลตฟอร์มที่สามารถก้าวมาเป็นยูนิคอร์น
อันดับที่ 5 ของอินโดนีเซียได้สำเร็จ
มีชื่อว่า “OVO” อ่านว่า โอ-โว
OVO เป็นแพลตฟอร์มด้านฟินเทคของบริษัท PT Visionet Internasional
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Lippo Group กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย
โดย OVO ถูกเริ่มพัฒนาในปี 2016 และจัดตั้งเป็นบริษัทฟินเทคในปีถัดมา
บริการหลักของ OVO ก็คือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Wallet
ซึ่งก็คล้ายกับ e-Wallet ที่หลายคนรู้จัก อย่างเช่น Alipay และ ShopeePay
หรือของไทยก็อย่างเช่น TrueMoney
ผู้ใช้งาน e-Wallet สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารเข้าไป
เพื่อไว้ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนได้เลย
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของจากหน้าร้านที่รับจ่ายด้วย e-Wallet
หรือซื้อของออนไลน์ และยังสามารถโอนเงินได้ด้วย
จุดเด่นของ e-Wallet ก็คือไม่มีกำหนดเงินในบัญชีขั้นต่ำ
ไม่มีกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ใช้งานแบบบัญชีออมทรัพย์
และที่สำคัญคือมีคะแนนหรือเหรียญให้สะสม เพื่อไว้ใช้เป็นส่วนลดในอนาคต
แล้วทำไม OVO รุกเข้าสู่ธุรกิจ e-Wallet ?
โดยทั่วไปหากเรานึกถึง ช่องทางการจ่ายเงินแบบไม่ใช้เงินสด ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรกก็คือ ผ่านบัตรทั้งบัตรเครดิตและเดบิต
ประเภทถัดมาก็คือ ผ่านช่องทางดิจิทัล
ซึ่งในประเทศพัฒนาแล้ว บัตรเครดิตและเดบิตเป็นที่นิยมมาก และถูกใช้กันมานานจนคุ้นเคย
ในขณะที่ e-Wallet ซึ่งก็เป็นวิธีการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดเหมือนกันแต่เริ่มมีทีหลัง กลับยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก
ในทางกลับกัน ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินโดนีเซีย
การใช้จ่ายผ่าน e-Wallet กลับได้รับความนิยมสูงมาก
นั่นก็เพราะว่าประชากรที่มีบัตรเครดิตและเดบิตยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อย
ในขณะที่การสมัครบัตรเครดิตมีเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น เกณฑ์เงินเดือนย้อนหลังหรือเงินฝากขั้นต่ำ
นั่นจึงทำให้ e-Wallet ที่มีเงื่อนไขน้อยกว่าและเข้าถึงโดยผ่านสมาร์ตโฟนได้ทันที จึงกลายเป็นที่นิยม
ซึ่งความนิยมของ e-Wallet นี้ ก็สะท้อนได้จากข้อมูลของปีที่ผ่านมา
ที่ e-Wallet เป็นช่องทางการชำระเงินที่คนในประเทศกำลังพัฒนาเลือกใช้มากที่สุด
และในอินโดนีเซียเอง ผลสำรวจก็พบว่า คนอินโดนีเซียเลือกชำระเงินผ่าน e-Wallet มากที่สุดเช่นกัน
นั่นเลยทำให้ตลาด e-Wallet ในอินโดนีเซีย มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด
โดยในปัจจุบันก็มีผู้เล่นหลักอยู่ 3 ราย นั่นก็คือ OVO, DANA และ GoPay
ซึ่ง GoPay เป็น e-Wallet ของ Gojek ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
ส่วน DANA ก็มีสัดส่วนผู้ใช้งานตาม OVO มาติด ๆ ซึ่งมี Ant Financial บริษัทการเงินของ Alibaba เป็นผู้ลงทุนหลัก
แล้วใครบ้างที่ลงทุนใน OVO
จนมีการเติบโตและเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดนี้ ?
เส้นทางการเติบโตอย่างรวดเร็วของ OVO
เริ่มต้นมาจากการเป็นพันธมิตรกับสตาร์ตอัปยักษ์ใหญ่
อย่าง Grab, Tokopedia, Zalora และ Lazada ในอินโดนีเซีย
ด้วยการเข้าไปเป็นช่องทางการชำระเงินบนแพลตฟอร์มเหล่านั้น
อย่างกรณีของ Grab และ Tokopedia ก็ได้ใช้ OVO
เป็นช่องทางในการชำระเงินบนแพลตฟอร์มของตัวเอง
จนในภายหลัง Grab และ Tokopedia ก็ได้เข้ามาร่วมลงทุนใน OVO ด้วย
และได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 อันดับแรก ด้วยสัดส่วนคนละกว่า 40%
จนในปี 2019 หรือเพียง 3 ปีหลังจากที่เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม
OVO ก็ได้กลายเป็นยูนิคอร์นอันดับที่ 5 ของอินโดนีเซีย และเป็นสตาร์ตอัปฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ที่มีผู้ใช้งานในประเทศมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าบริษัทในปัจจุบันกว่า 9 หมื่นล้านบาท
และล่าสุด เมื่อกลางปี 2020 ที่ผ่านมา OVO กับ DANA ก็ได้ตกลงควบรวมกิจการกัน
เพื่อที่จะเอาชนะ GoPay และกลายเป็น e-Wallet ที่ใหญ่สุดเพียงผู้เดียวในประเทศ
โดยในปัจจุบัน OVO ก็กำลังขยายตลาดไปสู่บริการทางการเงินในด้านอื่น ๆ
ทั้งการเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนและช่องทางซื้อขายประกันอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งโอกาสในการเติบโตของ OVO ต่อจากนี้ ยังถือว่ามีอยู่อีกมาก
หากลองพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
แต่มีคนอินโดนีเซียกว่า 1 ใน 3 ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของการลงทุน มีประชากรราว 1% เท่านั้น ที่เข้าถึงการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพียง 32%
และคนที่มีสมาร์ตโฟนเพียง 42% ของประชากร
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ เราจึงพอสรุปได้ว่า OVO
ยังมีโอกาสในการขยายฐานลูกค้าไปหาลูกค้าทั่วประเทศ
และตอนนี้อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเติบโตเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Tokopedia ซึ่งเป็น E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
เลือกลงทุนใน OVO เพื่อที่จะสู้กับสตาร์ตอัปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
อย่าง Gojek ที่มี GoPay เป็น e-Wallet ของตัวเอง
แต่ล่าสุด
Tokopedia กับ Gojek ก็ประกาศว่าจะควบรวมกัน
โดยใช้ชื่อใหม่ว่า GoTo ไปเป็นที่เรียบร้อย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.rapyd.net/resource/asia-pacific-ecommerce-and-payments-guide/
-https://www.techinasia.com/ovo-confirms-unicorn-status
-https://m2insights.com/the-2020-indonesian-ewallet-race/
-https://fintechnews.sg/42958/indonesia/e-wallet-indonesia/
-https://asia.nikkei.com/Business/Companies/Grab-expands-into-Indonesia-e-payments-taking-battle-to-Go-Jek
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-06-12/indonesia-s-ovo-is-said-close-to-merger-with-dana-to-fight-gojek
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-19/gojek-co-ceo-to-head-app-giant-after-merger-with-tokopedia
-https://asia.nikkei.com/Business/36Kr-KrASIA/Indonesia-s-Ovo-joins-ZhongAn-SoftBank-alliance-for-insurtech
-https://en.wikipedia.org/wiki/OVO_(payment_service)
krasia 在 Anchor Taiwan Facebook 的精選貼文
【 Check out our latest interview | #老闆又上新聞啦 #KrAsia 】
🚀 Thank you Kr-ASIA for having us on their Tuning In series for industry leaders! Our CEO, Elisa Chiu, shared her observations and insights of:
▧ Taiwan's innovation & startup ecosystem
▧ The booming supply chain industry
▧ Why Taiwan is a harmless partner
▧ CVC opportunities for international startups
.
📍 Follow us for more 📍
🎯 Hardware | Supply Chain | Sustainability
#Taiwan #startup #CVC #supplychains #innovation
krasia 在 sherrybyw Youtube 的最讚貼文
Big thanks to Ollie (Head of Talent at Golden Gate Ventures) for filming this series with me!
• Timestamps •
0:35 Job searching platforms in SEA
1:54 Tips for job hunting in the tech industry in Singapore
4:25 Tips for getting a job at a VC
10:12 How to answer: “Why do you want to go into VC?”
11:15 Investment Analyst interview example (+ an impressive applicant’s answer)
16:19 Why networking is important
16:42 Jobs in tech in SEA
17:07 Living & working in other SEA countries
18:30 Job prospect: Technical (e.g. Software engineer, data scientist)
22:18 Job prospect: Operation (e.g. HR)
24:05 Job prospect: Sales
24:40 Job prospect: Product & UX/UI
25:02 Job prospect: Digital marketing
25:14 Job prospect: Finance
Watch the previous episodes!
Part 1 (Work visas)
https://bit.ly/31LgB0y
Part 2 (Job application & interview tips)
https://bit.ly/34AEB9t
• Mentioned websites and resources •
JobsDB https://sg.jobsdb.com
JobStreet https://www.jobstreet.com.sg
Monster https://www.monster.com.sg
Glints https://glints.com/sg
AngelList https://angel.co
Tech in Asia https://www.techinasia.com
KRAsia https://kr-asia.com
DealStreetAsia https://www.dealstreetasia.com
e27 https://e27.co
#singapore #expat #jobhunting
? Instagram http://www.instagram.com/sherrybyw
☀️ Facebook http://www.facebook.com/sherrybyw
? TikTok https://bit.ly/2ZRS1Kn
Let's chat!
For random questions - sherry@abrushofbeauty.com
For business inquiries - info@abrushofbeauty.com
•••••••••••••••••••••••••••• CAMERA, EQUIPMENT, AND MUSIC ••••••••••••••••••••••••••••••••
Music by Gil Wanders - Dreams - https://thmatc.co/?l=1CB95E97
Canon EOS 70D
Canon EF-S 24mm f/2.8