Kurzarbeit วิธีแก้ปัญหาผู้คนตกงาน ของรัฐบาลเยอรมัน /โดย ลงทุนแมน
รัฐบาลเยอรมันรับมือกับโควิด-19 ได้ดีมากเมื่อดูจากอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศ
แต่ประเทศนี้ไม่ได้มีดีแค่การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เท่านั้น
เยอรมนียังถือเป็นประเทศต้นแบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติอย่างตอนนี้อีกด้วย
ลองคิดดูเล่นๆ ว่าถ้าเราเป็นผู้มีอำนาจในด้านเศรษฐกิจของประเทศที่มี GDP สูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของยูโรโซน
เราจะรับมือกับวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างไร?
ถ้ายังคิดไม่ออก ก็ไม่เป็นไร
เราลองมาดูการจัดการสถานการณ์ของมืออาชีพอย่างเยอรมนีกัน
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รัฐบาลเยอรมันทราบดีว่า หากแรงงานในประเทศได้รับค่าจ้างน้อยลง ถูกลดเวลาการทำงาน หรือไม่มีงานทำ
ย่อมส่งผลต่อการใช้จ่ายของคนในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปอีกไม่รู้จบ
แต่รัฐบาลก็จำเป็นต้องออกมาตรการ Lockdown เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
ทำให้กิจการหลายแห่งไม่สามารถเปิดทำการตามปกติได้
บริษัทจำนวนมากต้องลดเวลาการทำงานของพนักงาน รวมถึงค่าจ้างของพนักงานลง
จะเกิดอะไรขึ้น? หากบริษัทในเยอรมนีได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจหนักมากๆ เช่น
Adidas ล้มละลายจนผลิตรองเท้ารุ่นใหม่มาขายไม่ได้
BMW ต้องปิดโรงงานผลิตรถยนต์และจะไม่ออกรถรุ่นใหม่
หรือ Lufthansa ต้องขายเครื่องบินเพื่อนำเงินมาพยุงกิจการ
แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ รัฐบาลเยอรมันมีการใช้นโยบาย Kurzarbeit มาช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ
แล้ว Kurzarbeit คืออะไร?
คำนี้เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า การทำงานระยะสั้น
เป็นโครงการที่รัฐบาลจะสนับสนุนค่าจ้างให้พนักงานในกรณีที่ถูกลดเวลาการทำงานหรือพักงานโดยนายจ้าง
โดยรัฐบาลจะช่วยจ่ายเงินค่าจ้างให้กับแรงงานประมาณ 60% ของค่าแรง
และ 67% ของค่าแรง สำหรับแรงงานที่มีบุตร
โดยรัฐจะช่วยจ่ายเงินเป็นระยะเวลานานสูงสุดถึง 12 เดือน
โดยเงินเหล่านี้ก็ไม่ได้ลอยมาจากที่ไหน
แต่เกิดจากภาษีที่แรงงานจ่ายให้กับรัฐถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้เสียภาษีเอง
โดยเก็บสะสมมาไว้เป็นกองทุน
ประโยชน์ของโครงการนี้ก็คือ
บริษัทไม่ต้องเลิกจ้างพนักงานแบบถาวร แม้จะสูญเสียรายได้ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี
แปลว่าลูกจ้างก็ยังไม่ตกงานและยังได้เงินค่าจ้างอยู่
และเมื่อบริษัทไม่ต้องเลิกจ้างจึงไม่ต้องฝึกพนักงานใหม่ก่อนกลับมาทำงาน
นอกจากนี้บริษัทยังสามารถรักษาบุคลากรที่มีความสามารถหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาไว้ได้อีกด้วย
แต่ใช่ว่าบริษัทนึกอยากจะลดเวลาการทำงานหรือค่าจ้างพนักงานได้ตามใจชอบ
เพราะการจะรับเงินจาก Kurzarbeit ต้องเข้าหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด เช่น อยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ หรือเกิดภัยธรรมชาติ
ที่จริงแล้วนี่ก็ไม่ใช่กลยุทธ์ใหม่ของเยอรมนี
เพราะ Kurzarbeit ถูกนำมาใช้เพื่อรับมือกับ Hamburger Crisis ตั้งแต่ปี 2009
นโยบายนี้ช่วยให้แรงงานกว่า 500,000 คนในประเทศไม่ตกงานในวิกฤติครั้งนั้น
Kurzarbeit ยังคงถูกใช้เรื่อยมาเพื่อป้องกันการไล่พนักงานออก
และช่วยเหลือบริษัทเมื่อต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือความผันผวนในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้า
และตอนนี้มันกำลังถูกนำกลับมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ
ในปี 2019 มีจำนวนบริษัทเฉลี่ยประมาณ 1,300 แห่งเข้าร่วมโครงการต่อเดือน
แต่ในเดือนมีนาคม ปี 2020 เดือนเดียวมีบริษัทกว่า 470,000 แห่งเข้าร่วมโครงการ
โดยมีพนักงานที่ได้รับผลประโยชน์รวมกันประมาณ 9 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของแรงงานทั้งประเทศ
ดังนั้นความท้าทายของเยอรมนีในครั้งนี้ คือการรับมือกับจำนวนแรงงานมหาศาลที่เข้าร่วมโครงการ
เร็วๆ นี้เรากำลังจะได้เห็นแบรนด์ดังสัญชาติเยอรมันเข้าร่วมโครงการ Kurzarbeit เช่น BMW, Volkswagen, Puma, Lufthansa
Kurzarbeit ถือเป็นนโยบายตัวอย่างที่หลายๆ ประเทศกำลังนำมาใช้ในตอนนี้ เช่น
ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และแคนาดา
ประเทศเหล่านี้ต่างก็มีนโยบายจะช่วยเหลือบริษัทในการจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานอยู่เช่นกัน
อีกมุมหนึ่งที่สหรัฐอเมริกามีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวงเงินกว่า 66 ล้านล้านบาท
โดยงบประมาณส่วนหนึ่งได้นำไปสนับสนุนโครงการเพิ่มสวัสดิการในกรณีว่างงาน
โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมสัปดาห์ละประมาณ 20,000 บาท
เราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างนโยบายของเยอรมนีกับสหรัฐอเมริกา
ประเทศหนึ่งเลือกเยียวยาเพื่อรักษาสภาพการจ้างงานไว้
อีกประเทศหนึ่งเลือกเยียวยาหลังจากการว่างงานแล้ว
ไม่มีใครรู้ว่าวิธีไหนจะให้ผลดีที่สุดกับเศรษฐกิจของประเทศ
แต่สำหรับพนักงานทุกคนแล้ว
“การมีงานทำ และมีรายได้จากการทำงาน” คือสิ่งสำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-04-03/how-germany-pays-workers-when-their-work-dries-up-quicktake?srnd=premium-asia
-https://en.wikipedia.org/wiki/Short-time_working
-https://www.worldometers.info/gdp/gdp-by-country/
-https://www.brookings.edu/blog/up-front/2020/04/07/how-does-unemployment-insurance-work-and-how-is-it-changing-during-the-coronavirus-pandemic/
-https://www.bmas.de/SharedDocs/Downloads/DE/kug-faq-kurzarbeit-und-qualifizierung-englisch.pdf?__blob=publicationFile&v=5
lufthansa wiki 在 鬼島康介 X 單眼看世界 Facebook 的最佳貼文
[西班牙]格拉納達 阿爾罕布拉宮
這應該是最近最紅的韓劇了吧! 遊戲題材搭配明星魅力!讓本來就極具魅力的景點更添話題!
阿爾罕布拉是一個位於西班牙南部城市格拉納達的於摩爾王朝時期修建的古代清真寺—宮殿—城堡建築群。阿爾罕布拉宮最初的原址建有要塞稱為Al-Andalus,宮殿為原格拉納達摩爾人國王所建,現在則是一處穆斯林建築、文化博物館。1232年在老城改建的基礎上逐步形成現存規模。宮牆外圍有30米高的石砌城牆 words from wiki
走吧!旅行下一站!
#鬼島康介 #西班牙 #spain #spaintravel #spain🇪🇸
#espania #granada #granadaspain #alhambra #alhambrapalace #tokyocameraclub
#hello_worldpics #awesome_earthpix #東京カメラ部#ig_travel
#skyscanner#followskyscanner #canonphotographer#canon_photos#風景写真 #けしからん風景 #漢莎#漢莎航空 #德航 #lufthansa#星空聯盟#nonstopyou
#阿爾罕布拉宮的回憶#europe
@ Alhambra
lufthansa wiki 在 鬼島康介 X 單眼看世界 Facebook 的精選貼文
[德國]Dresden 宮廷主教堂
宮廷主教座堂(德語:Katholische Hofkirche)是德國城市德勒斯登的天主教主教座堂。宮廷主教座堂坐落在德勒斯登市中心易北河畔的老城。
薩克森選帝侯奧古斯特二世為了成為波蘭國王而由新教改信天主教,決定在德勒斯登建立這座薩克森皇家教堂。從1738年到1751年,義大利建築師Gaetano Chiaveri負責設計。教堂風格為巴洛克式,是薩克森地區最大的教堂之一。
二戰末期(1945年2月13日-2月15日),該教堂在盟軍的德勒斯登轟炸中嚴重受損,戰後的重建工程持續到1965年。戰火毀壞的痕跡直至今天還體現在教堂外牆那些顏色深淺不一的石塊上。
1980年,這座教堂成為天主教德勒斯登-梅森教區主教座堂。
文字轉貼自wiki
走吧!旅行下一站
#鬼島康介 #黎明 #德國
#germany🇩🇪 #dresden #dresdengram #tokyocameraclub
#hello_worldpics #awesome_earthpix #東京カメラ部#ig_travel
#skyscanner#followskyscanner #canonphotographer#canon_photos#風景写真 #けしからん風景 #漢莎#漢莎航空 #德航 #lufthansa#星空聯盟#nonstopyou#katholischekirche Hofkirche
lufthansa wiki 在 Company - Lufthansa Group 的相關結果
The latter also include Lufthansa AirPlus, Lufthansa Aviation Training and the IT companies. All segments occupy a leading position in their respective markets. ... <看更多>
lufthansa wiki 在 Home | Airbus | Pioneering sustainable aerospace 的相關結果
The very first A321XLR flight test aircraft, MSN11000, took a major step forward this week in becoming reality. This is the first of three ... ... <看更多>
lufthansa wiki 在 漢莎航空- 維基百科,自由嘅百科全書 的相關結果
漢莎航空,全稱德意志漢莎航空股份公司(德文:Deutsche Lufthansa AG;德文讀音: [ˈdɔʏt͡ʃə ˈlʊfthanza]),係德國嘅載旗航空公司。按照載客量同機隊規模來計,漢莎 ... ... <看更多>