*** พบบันทึกเรขาคณิต 3,700 ปี เก่าแก่กว่าพีทาโกรัส ***
นักคณิตศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ศาสตราจารย์ แดเนียล แมนส์ฟิลด์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ค้นพบบันทึกที่ใช้หลักการทางเรขาคณิตแบบเดียวกับ “ทฤษฎีสามจำนวนพีทาโกเรียน” สลักอยู่บนแผ่นหินสมัยบาบิโลนอายุ 3,700 ปี
“ทฤษฎีสามจำนวนพีทาโกเรียน” คือ 3 อันดับของจำนวนเต็มบวก ตามสมการ “c กำลังสอง = a กำลังสอง + b กำลังสอง” โดยผลจะออกมาเป็นชุดตัวเลข เช่น (3,4,5) หรือ (6,8,10) สามารถนำไปประโยชน์ได้หลายทาง เช่นใช้เขียนแบบ วัดขนาดที่ หรือคำนวณค่าทางวิศวกรรม
จากการตรวจสอบ แผ่นหินรหัส Si.427 มาจากบาบิโลนยุคเก่า ช่วง 1,900 - 1,600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่ายุคของพีทาโกรัสถึง 1,000 ปี สอดคล้องกับทฤษฎีสมัยใหม่ที่ว่า แท้จริงทฤษฎีเรขาคณิตดังกล่าวมีมานานแล้ว เพียงแต่พีทาโกรัสทำให้มันดังเพราะเป็นผู้นำทฤษฎีมาใช้เป็นคนแรกหมู่ชาวกรีกอย่างเป็นรูปธรรม
แผ่นหิน Si.427 ถูกขุดขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 ก่อนเก็บกรุอยู่ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอิสตันบูลโดยไม่ได้รับการศึกษาใดๆ จน ศ.แมนส์ฟิลด์ไปพบเข้า และได้แปลงความหมายออกมา
ก่อนหน้านี้ในปี 2017 ศาสตราจารย์แมนส์ฟิลด์และคณะเคยถอดรหัสแผ่นหินบุคบาบิโลน และพบการบันทึกทฤษฎีตรีโกณมิติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมาแล้ว ทำให้เขาเชื่อว่า ต้องมีแผ่นหินจากยุคเดียวกันที่บันทึกทฤษฎีทางเรขาคณิตอยู่อีก จึงได้พยายามออกตามหา และได้พบกับ Si.427 ในที่สุด
ศาสตราจารย์ให้สัมภาษณ์ว่า Si.427 ทำจากดินเหนียว เขียนข้อความด้วยแท่งไม้ เป็นบันทึกของนักประเมินที่ดิน ในแผ่นหินมีการระบุถึงลานกว้าง, บึง, ลานนวดข้าว ฯลฯ รวมถึงส่วนที่ขายออกไปแล้ว คล้ายกับบันทึกของนายหน้าค้าที่สมัยนี้ ทำให้เราได้รู้ว่า ระบบซื้อขายที่อยู่ที่กินมีมานานหลายพันปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้จะไขความหมายบนแผ่นหินได้แทบทั้งหมด ยังมีตัวเลขคู่หนึ่งอยู่ด้านหลัง เขียนว่า 25:49 ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าเลขอื่น ซึ่งศ.แมนส์ฟิลด์ยังไขไม่ได้ว่ามันหมายความว่าอะไรกันแน่ จะเป็นเวลา เป็นการคำนวณขนาดหรืออะไร เราคงต้องตามดูต่อไป
::: อ้างอิง :::
- youtu (ดอต) be/8C6IbJJ-mhM
- news (ดอต) unsw (ดอต) edu (ดอต) au/en/australian-mathematician-reveals-oldest-applied-geometry
- theguardian (ดอต) com/science/2021/aug/05/australian-mathematician-discovers-applied-geometry-engraved-on-3700-year-old-tablet
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅まりおねっと色々 傀儡まき,也在其Youtube影片中提到,Max Born まりおねっと色々ちゃんねるん Max Born Google Doodle Max Born’s 135th Birthday Max Born was a German physicist and mathematician who was instrumental in th...
mathematician 在 Facebook 的精選貼文
【模仿遊戲】描述圖靈破解了密碼,了解數學與機械的原理,但卻始終勘不破人性,終其一生都不被世人理解的故事。
與其說這是一部同志電影或是傳記電影,還不如說這是一個不能理解人類表達情感的方式的人,用自己單純的方法關懷著朋友與世界,但卻必須保守秘密,最後落得孤獨且不被諒解的故事。
班奈狄克康伯拜區最後一場戲,望著自己製作的機器崩潰落淚的表演頗為令人動容,而綺拉奈特莉慧睫聰明的笑容再次展現她的魅力,這部電影很美,也得以讓擁有孤單經驗的觀眾獲得一絲絲的安慰,因為這部片是拍給他們看的。
"有時候,被世人遺棄的人,才能成就讓人想不到的大事"
#模仿遊戲
mathematician 在 GIGAZINE Facebook 的最佳貼文
「ゴジラなどの怪獣と人類が戦うにはどうしたらいいのか?」を数学者が考える(2019)
https://gigazine.net/news/20190615-mathematician-how-defeat-kaijus/
mathematician 在 まりおねっと色々 傀儡まき Youtube 的最讚貼文
Max Born
まりおねっと色々ちゃんねるん
Max Born Google Doodle
Max Born’s 135th Birthday
Max Born was a German physicist and mathematician who was instrumental in the development of quantum mechanics
mathematician 在 Mathematician - Home | Facebook 的推薦與評價
Mathematician. 31625 likes · 323 talking about this. To promote cooperation in Mathematics To support the Mathematicians To encourage Mathematical... ... <看更多>