Nubank สตาร์ตอัป 7 แสนล้าน ที่ปฏิวัติธนาคารทั้งประเทศบราซิล /โดย ลงทุนแมน
“ประเทศบราซิล” จัดว่าเป็นประเทศที่มีต้นทุนทางการเงินสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
ซึ่งก็สวนทางกับระดับรายได้ของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ
เลยทำให้มีคนบราซิลมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับประเทศไทย ที่มีคนกลุ่มนี้อยู่เพียง 1 ใน 5 ของประชากร
แต่ไม่นานมานี้ ก็ได้มีสตาร์ตอัปด้านฟินเทคบริษัทหนึ่งชื่อว่า Nubank
ที่ได้เข้าไปทลายกำแพงการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับคนบราซิลได้สำเร็จ
จนตอนนี้ ก็ได้ก้าวไปเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ที่ถูกประเมินมูลค่าบริษัทไว้กว่า 7.8 แสนล้านบาท
ซึ่งมากกว่ามูลค่าบริษัทของทุกธนาคารที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แล้วบริษัทที่ว่านี้ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในประเทศไทย
เมื่อเรากู้เงินจากธนาคารพาณิชย์
ถ้าเรามีเครดิตดี
เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยที่ราว 5 ถึง 6% ต่อปี
หรือเมื่อเราเป็นหนี้บัตรเครดิต
เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยที่ราว 18% ต่อปี
แต่หากเราไปอยู่ที่ประเทศบราซิล
เมื่อเรากู้เงินจากธนาคารพาณิชย์
เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ 30 ถึง 50% ต่อปี สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
ในขณะที่ถ้าเราเป็นหนี้บัตรเครดิต
เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยสูงถึง 200-400% ต่อปี และมีบางช่วงที่พุ่งไปเกินกว่า 600% ต่อปี..
โดยสาเหตุที่ต้นทุนทางการเงินในบราซิลสูงขนาดนี้
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ธนาคารกลางได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น
เพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อที่เรื้อรัง
แต่อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือธนาคารพาณิชย์ในบราซิล
มีอำนาจต่อรองในการกำหนดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่สูงมากได้
นั่นก็เพราะ 5 ธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุด ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันกว่า 80%
ซึ่งก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่อยู่คู่กับระบบธนาคารในบราซิลมาโดยตลอด
และนอกจากอุปสรรคด้านดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่สูงมากแล้ว
การเข้าไปใช้บริการธนาคาร ยังทำได้ยุ่งยาก ซับซ้อน รวมทั้งใช้เวลานาน
อย่างเช่นจะเปิดบัญชีออมทรัพย์ ก็ต้องเสียเวลาไปเกินกว่าครึ่งวัน
ซึ่งอุปสรรคเหล่านี้ ก็ทำให้คนบราซิลยากที่จะเข้าถึงบริการจากธนาคาร
โดยมีประชากรเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน
ในขณะที่ประชากรกว่า 1 ใน 4 ยังไม่มีบัญชีธนาคาร
ส่งผลให้เกือบ 90% ของประชากรทั้งประเทศ ยังคงใช้จ่ายด้วยเงินสดเพียงอย่างเดียว
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณ David Vélez อยากกำจัดอุปสรรคเหล่านี้
และต้องการปฏิวัติการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับคนบราซิล
เขาจึงได้ชักชวนคุณ Cristina Junqueira และคุณ Edward Wible
มาร่วมกันก่อตั้งสตาร์ตอัปด้านฟินเทคในปี 2013 ที่ชื่อว่า “Nubank”
Nubank เป็นธนาคารดิจิทัลเจ้าแรก ๆ ในบราซิล
ซึ่งจะให้บริการทางการเงินในแบบที่ธนาคารพาณิชย์มี เพียงแต่ไม่มีหน้าสาขา
ดังนั้นในการทำธุรกรรมและการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ จะทำผ่านแอปพลิเคชันทั้งหมด
โดย Nubank เริ่มจากการให้บริการบัตรเครดิตเป็นอย่างแรก
ซึ่งในตอนนั้น มีประชากรบราซิลไม่ถึง 30% ที่มีบัตรเครดิต
แล้วอะไรที่ทำให้ Nubank เข้าไปเจาะกลุ่มตลาดนี้ได้ ?
จุดเด่นสำคัญอย่างแรกก็คือ Nubank ไม่คิดค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต
และยังคิดอัตราดอกเบี้ยหนี้บัตรเครดิตเฉลี่ยอยู่ที่ 145% ต่อปี
ซึ่งคิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากธนาคารพาณิชย์เท่านั้น
ที่ทำแบบนี้ได้ก็เพราะว่า เมื่อทุกอย่างเป็นดิจิทัลและไม่มีหน้าสาขา
เลยทำให้ Nubank มีต้นทุนที่น้อยกว่าธนาคารแบบดั้งเดิมมาก
จุดเด่นอย่างที่สองก็คือ มีการใช้งานที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
เพราะบัตรเครดิตจะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันที่สามารถทำได้ทุกอย่าง
ตั้งแต่ดูการใช้จ่ายย้อนหลัง วงเงินคงเหลือ ชำระบิล ไปจนถึงติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่
ที่สำคัญคือผู้ใช้งานสามารถสมัครบัตรเครดิตผ่านแอปพลิเคชันได้เลย
ซึ่ง Nubank จะใช้เวลาไม่กี่นาทีในการอนุมัติ และบัตรเครดิตจะถูกส่งมาให้ในอีกไม่กี่วันถัดไป
เทียบกับการสมัครผ่านธนาคารพาณิชย์ ที่จะต้องรออนุมัตินานกว่า
แต่ความท้าทายที่สำคัญของ Nubank
ก็คือการประเมินคุณภาพลูกค้า ว่าโอกาสที่จะเบี้ยวหนี้มีสูงหรือไม่
เพราะกลุ่มลูกค้าหลักของ Nubank ก็คือผู้ที่ไม่เคยเข้าถึงระบบธนาคารมาก่อน
ทางบริษัทจึงไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ในอดีตมาให้พิจารณา
Nubank จึงเริ่มเก็บข้อมูลลูกค้า จนมีฐานข้อมูลเฉพาะตัว
เพื่อใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพลูกค้า และต่อยอดไปถึงพฤติกรรมของลูกค้าในหลาย ๆ ด้าน
นี่จึงทำให้ Nubank มีจุดเด่นที่สำคัญอย่างที่สาม
นั่นก็คือระบบการจัดชั้นคุณภาพลูกค้าที่เป็นมาตรฐาน
และโมเดลวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพสูง
และด้วยจุดเด่นเหล่านี้ Nubank จึงไม่ต้องทำการตลาดแบบหวือหวา
ใช้เพียงแค่ระบบที่ให้ลูกค้าแนะนำเพื่อนต่อ ๆ กันไป
จนในปัจจุบัน Nubank มีส่วนแบ่งตลาดของการเปิดบัตรเครดิตใหม่ในบราซิลกว่า 50%
และก้าวขึ้นมาเป็นผู้ออกบัตรเครดิตรายใหญ่เป็นอันดับ 5 ของบราซิล
โดย ณ สิ้นปี 2020 Nubank มีลูกค้ากว่า 34 ล้านคน หรือคิดเป็น 16% ของประชากร
และนอกจากบัตรเครดิตที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีแล้ว
Nubank ยังได้ขยายไปสู่บริการด้านอื่น ๆ
หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการธนาคารในปี 2018
ซึ่งก็มีทั้งบริการบัญชีเงินฝากดิจิทัล, บัตรเดบิต และสินเชื่อส่วนบุคคล
และในปี 2020 ที่ผ่านมา Nubank ก็เข้าซื้อกิจการ Easynvest ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นและการลงทุนดิจิทัลในบราซิล เพื่อต่อยอดการเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินแบบดิจิทัลที่ครบวงจรมากขึ้น
นอกจากนี้ Nubank ยังขยายตลาดสู่ประเทศในแถบลาตินอเมริกา
โดยเริ่มให้บริการในประเทศเม็กซิโกและโคลอมเบียไปแล้ว และเป้าหมายต่อไปคืออาร์เจนตินา ซึ่งต่างก็มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและระบบธนาคารที่คล้ายกับบราซิล
ถึงแม้ว่าผลประกอบการของ Nubank จะยังคงขาดทุน
ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของสตาร์ตอัป ที่อยู่ในช่วงขยายฐานลูกค้า
โดย Nubank มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปี เป็นเท่าตัวมาโดยตลอด
และจากการที่ Nubank เน้นลูกค้าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ที่แม้ว่าจะมีจำนวนประชากรเยอะ แต่ยังมีคนที่เข้าถึงบริการทางการเงินได้ไม่มาก
และมีสัดส่วนการใช้เงินสดที่สูงอยู่ โอกาสเติบโตของ Nubank จึงยังมีอยู่อีกมหาศาล
ซึ่งการเติบโตของ Nubank แน่นอนว่าต้องมาควบคู่กับการระดมทุน
โดยบริษัทแห่งนี้ได้รับเงินระดมทุนจากบริษัทที่มีชื่อเสียงมากมาย
อย่างเช่น Goldman Sachs และ Tencent
และในเดือนมกราคมที่ผ่านมา Nubank ก็เพิ่งได้รับเงินระดมทุนใน Series G
ทำให้จนถึงปัจจุบัน ได้รับเงินลงทุนไปแล้วกว่า 46,900 ล้านบาท
และถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 7.8 แสนล้านบาท
และด้วยมูลค่าระดับนี้ จึงทำให้ Nubank เป็นทั้งสตาร์ตอัปยูนิคอร์นและผู้ทำธุรกิจฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา รวมทั้งเป็นธนาคารดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดนอกภูมิภาคเอเชีย ไปแล้วนั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://edition.cnn.com/2019/12/06/business/nubank-david-velez-risk-takers/index.html
-https://digital.hbs.edu/platform-rctom/submission/the-geeks-shall-inherit-the-earth/
-https://digital.hbs.edu/platform-digit/submission/nubank-digital-banking/
-https://www.forbes.com/sites/jeffkauflin/2021/04/07/fintech-billionaire-david-velez-nubank-brazil-digital-bank/?sh=438f11bb6b27
-https://www.reuters.com/article/us-easynvest-nubank-m-a-idUSKBN262236
-https://globalfindex.worldbank.org/sites/globalfindex/files/chapters/2017%20Findex%20full%20report_chapter2.pdf
-https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/industries/financial%20services/our%20insights/accelerating%20winds%20of%20change%20in%20global%20payments/2020-mckinsey-global-payments-report-vf.pdf
-https://www.crunchbase.com/organization/nubank/company_financials
-https://www.statista.com/statistics/882241/brazil-nubank-net-profit/
-https://www.theglobaleconomy.com/Brazil/people_with_credit_cards/
-https://tradingeconomics.com/brazil/bank-lending-rate
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過28萬的網紅城寨 Singjai,也在其Youtube影片中提到,「彌敦道政交所」 主持:湛國揚 嘉賓:鍾劍華 理大社會政策研究中心主任 題目:《兩制,遠矣 ! DETOUR---一時強弱在於力,千秋勝負在於理》 逢星期四 9:00 ~ 10:00 pm Facebook: https://facebook.com/NathanRoadPoliticsE...
mckinsey report 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ประเทศไหน ใช้เงินสด น้อยที่สุดในโลก ? /โดย ลงทุนแมน
วิธีการชำระเงินของมนุษย์ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
จากเปลือกหอย เหรียญ ธนบัตร จนมาถึงยุคปัจจุบัน
ที่เราใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
ซึ่งเรียกกันว่ายุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด
หากให้ลองนึกถึงประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้
หลายคนก็น่าจะนึกถึงประเทศจีน หรือไม่ก็สหรัฐอเมริกา
แต่คำตอบที่ได้จะไม่ใช่ทั้ง 2 ประเทศนี้เลย
แล้วประเทศนั้นคือประเทศอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศแห่งนี้มีสัดส่วนการใช้เงินสดอยู่ที่ 51%
เมื่อเทียบกับธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดในประเทศ
รองลงมาจะเป็นประเทศในแถบยุโรปฝั่งเหนือ
ซึ่งก็ได้แก่ ฟินแลนด์, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสวีเดน
ที่สัดส่วนการใช้เงินสดเฉลี่ยอยู่ที่ 55%
แต่พอมาวันนี้ หากเราลองมาดูสัดส่วนการใช้เงินสดของ 5 ประเทศ ที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 สวีเดน 9%
อันดับที่ 2 เนเธอร์แลนด์ 14%
อันดับที่ 3 สหราชอาณาจักร 23%
อันดับที่ 4 ฟินแลนด์ 24%
อันดับที่ 5 สหรัฐอเมริกา 28%
กลับกลายเป็นว่าแชมป์โลกเมื่อ 10 ปีก่อน อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ตกไปอยู่อันดับที่ 5
และประเทศ “สวีเดน” ได้กลายมาเป็นประเทศที่ไร้เงินสดที่สุดในโลก
คำถามที่ตามมาก็คือ เพราะอะไร ?
จริง ๆ แล้ว หากย้อนไปในอดีตจะพบว่าประเทศสวีเดน ถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงินมาอย่างยาวนาน อ้างอิงจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาตั้งแต่
ปี 1661 เป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มใช้ธนบัตร
ปี 1967 เริ่มใช้ตู้ ATM เป็นประเทศที่ 2 ของโลก ช้ากว่าประเทศแรกอย่างอังกฤษเพียง 1 สัปดาห์
และรู้หรือไม่ว่า ภายในปี 2023 เราอาจไม่ได้เห็นการใช้เงินสดในประเทศสวีเดนอีกเลย
เพราะมีการคาดการณ์ว่าภายในเดือนมีนาคม ปี 2023
ประเทศสวีเดนจะเป็นสังคมไร้เงินสดได้อย่างสมบูรณ์ เป็นประเทศแรกของโลก
นอกเหนือจากการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเงินแล้ว
ประเทศสวีเดนยังได้รับความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย
ทั้งผู้พัฒนาและผลักดันเทคโนโลยี รวมถึงผู้ใช้งาน
ในด้านของผู้พัฒนาเทคโนโลยี ประเทศสวีเดนถือว่าเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เห็นได้จากแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกอย่าง Spotify, SoundCloud และ Skype
หรือแม้แต่ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่งมีชื่อว่า Klarna ก็ก่อตั้งจากประเทศแห่งนี้
และแน่นอนว่ามันเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับระบบการชำระเงินผ่านการซื้อของออนไลน์
ที่ขาดไม่ได้คือแรงผลักดันจากรัฐบาลและกลุ่มสถาบันการเงิน
ที่ได้ออกกฎเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้ารับชำระเงินจากลูกค้าในแบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งการที่ภาครัฐผลักดันให้เลิกใช้เงินสด นอกจากเรื่องของความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งานแล้ว
สิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การลดการก่ออาชญากรรม ทั้งการปล้นเงินสด หรือการซื้อขายสิ่งผิดกฎหมาย เพราะธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตจะสามารถตรวจสอบได้
ในขณะเดียวกัน เงินสดยังมีต้นทุนในการจัดการสูง โดยเฉพาะเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย
จุดเปลี่ยนสำคัญที่นำสวีเดนไปสู่สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012
โดยธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน 6 แห่ง รวมถึงธนาคารกลางสวีเดน
ได้ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ตโฟน ที่มีชื่อว่า “Swish”
ตรงนี้ก็น่าคิดเหมือนกันว่า จริง ๆ แล้วประเทศไทยเอง
ก็มีระบบพร้อมเพย์ รวมไปถึงแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ถูกผลักดันโดยรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน
ก็น่าคิดเหมือนกันว่าเราจะมีพัฒนาการในลักษณะเดียวกันกับสวีเดนได้หรือไม่
กลับมาที่ Swish แอปพลิเคชันดังกล่าวมีเป้าหมายหลัก เพื่อสนับสนุนให้ชาวสวีเดน
เปลี่ยนมามีวิถีชีวิตแบบที่ไม่ใช้เงินสดได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ
เพราะปัจจุบันมีชาวสวีเดนที่ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันนี้ มากกว่า 60% ของประชากรแล้ว
และในปัจจุบัน ธนาคารกลางสวีเดนก็กำลังพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง
ชื่อว่า e-krona ที่คาดว่าจะใช้งานได้จริงภายในปี 2025 อีกด้วย
ในส่วนของผู้ใช้เทคโนโลยีก็สำคัญเช่นกัน เพราะชาวสวีเดนถือได้ว่าเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ได้เร็ว
สะท้อนมาจากผลสำรวจเมื่อปลายปี 2020 ที่ว่า คนสวีเดนทุก 3 ใน 4 คน
เลือกที่จะใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงประเทศเกาหลีใต้
ในขณะที่ชาวสวีเดนมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 94% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ได้ขับเคลื่อนสวีเดน
ให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้รวดเร็วที่สุดในโลกนั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยคำถามที่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้วจีนอยู่ตรงไหน ?
เรามาดู อันดับประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในเอเชีย ก็คือ
อันดับที่ 1 เกาหลีใต้ ใช้เงินสด 34%
อันดับที่ 2 สิงคโปร์ ใช้เงินสด 39%
อันดับที่ 3 จีน ใช้เงินสด 41%
จะเห็นได้ว่าตอนนี้ประเทศจีนยังอยู่ในอันดับที่ 3
แต่หากเราย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน
รู้หรือไม่ว่าสมัยนั้นคนจีนยังใช้เงินสดกันทั้งประเทศ
ถึงตรงนี้ เราก็คงสรุปได้ว่าอีกหน่อยโลกของเราก็น่าจะหมุนเข้าหาสังคมไร้เงินสดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และตัวกลางในการรับชำระอย่างเหรียญและธนบัตร ที่ใช้กันมานานกว่าหลายชั่วอายุคน
อาจจะกลายเป็นของสะสม หรือเป็นวัตถุโบราณที่หาดูได้ แค่ในพิพิธภัณฑ์..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/industries/financial%20services/our%20insights/accelerating%20winds%20of%20change%20in%20global%20payments/2020-mckinsey-global-payments-report-vf.pdf
-https://interestingengineering.com/sweden-how-to-live-in-the-worlds-first-cashless-society
-https://www.weforum.org/agenda/2021/01/this-chart-shows-cash-cashless-finance-payment-methods-global-preference/
-https://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.ZS?most_recent_value_desc=true
-https://en.wikipedia.org/wiki/Swish_(payment)
mckinsey report 在 McKinsey Taiwan Facebook 的最讚貼文
What is China's biggest economic challenge for the next 20 years? That's the question we tackle on the latest episode of the McKinsey on China podcast.
Nick Leung chats with Jonathan Woetzel, Joe Ngai, and Jeongmin Seong about the findings from their new report, "Reskilling China," which looks at the massive reskilling challenge China faces in the coming years.
#China #economy #reskilling #education #jobs
https://mck.co/3qRhEGI
mckinsey report 在 城寨 Singjai Youtube 的最佳解答
「彌敦道政交所」
主持:湛國揚
嘉賓:鍾劍華 理大社會政策研究中心主任
題目:《兩制,遠矣 ! DETOUR---一時強弱在於力,千秋勝負在於理》
逢星期四 9:00 ~ 10:00 pm
Facebook:
https://facebook.com/NathanRoadPoliticsExchange
mckinsey report 在 McKinsey & Company - Facebook 的推薦與評價
Our fourth annual report on The State of Fashion, a collaboration with #BusinessofFashion looks at the key themes and business imperatives ... ... <看更多>