เศรษฐกิจไทย จะไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม ถ้าการท่องเที่ยวไม่ฟื้น /โดย ลงทุนแมน
เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว ที่โควิด 19 สร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจโลก
หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่มาจนถึงวันนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับไปเหมือนเดิมได้ง่าย ๆ
สำหรับภาคการท่องเที่ยวของไทยนั้น
แม้ว่าหลายฝ่ายจะพยายามกระตุ้นให้ผู้คนกลับมาท่องเที่ยว แต่คงยังไม่มีใครสามารถบอกได้ชัดว่า สถานการณ์จะกลับไปในระดับเดิม ก่อนวิกฤติครั้งนี้ ได้เมื่อไร
คำถามก็คือ แล้วมีแนวทางอะไรบ้าง ที่จะทำให้การท่องเที่ยวของไทย กลับมาเหมือนเดิม
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เพื่อให้เห็นภาพรวมกันชัด ๆ เราลองมาดูภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด 19
ปี 2009 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 14 ล้านคน
รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 0.5 ล้านล้านบาท
ปี 2019 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ล้านคน
รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท
เราจะเห็นว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2019 คิดเป็นเกือบ 3 เท่า ของปี 2009 ขณะที่รายได้ก็คิดเป็นเกือบ 4 เท่า
ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนได้ว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยช่วงที่ผ่านมา มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้นมาเรื่อย ๆ
และถ้าลองมาดูสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เทียบ GDP ของไทย
- ปี 2009 สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดเป็นประมาณ 6% ของ GDP ไทย
- ปี 2019 สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ คิดเป็นประมาณ 11% ของ GDP ไทย
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เติบโต ยังทำให้มีการจ้างงานในภาคนี้รวมกันกว่า 7.5 ล้านคน หรือประมาณ 20% ของแรงงานในระบบ
ซึ่งแรงงานดังกล่าวเกี่ยวข้องกับธุรกิจจำนวนมาก เช่น โรงแรม, ร้านอาหาร, ร้านขายของที่ระลึก, ร้านสปาและนวด, การขนส่ง
โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในช่วงที่ผ่านมาเติบโตได้ดี ก็มีหลายปัจจัย เช่น
- รายได้ที่เพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในจีนและอินเดีย และความนิยมเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งมีไทยเป็นหนึ่งในจุดหมาย
- สถานที่ท่องเที่ยวของไทยที่มีชื่อเสียงในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
อย่างไรก็ตาม แม้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่อีกมุมหนึ่งก็ยังมีความท้าทายบางอย่างซ่อนอยู่ เช่น
- ไทยพึ่งพานักท่องเที่ยวหลักไม่กี่สัญชาติ
ในปี 2019 ประมาณ 28% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดเป็นชาวจีน ซึ่งการพึ่งพานักท่องเที่ยวชาติใดชาติหนึ่งมากเกินไป ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นได้
โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มากระทบกับนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว เช่น อุบัติเหตุเรือล่ม และการปราบทัวร์ศูนย์เหรียญ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงในช่วงเวลานั้น และกระทบกับรายได้การท่องเที่ยวของไทยไม่น้อย
- แหล่งท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่ไม่กี่แห่ง ไม่กี่จังหวัด
ในปี 2018 กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และภูเก็ต 3 จังหวัดนี้มีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมกัน คิดเป็น 65% ของรายได้จากภาคการท่องเที่ยวทั้งประเทศ สะท้อนได้ว่า รายได้จากการท่องเที่ยวของไทย ยังกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น
- การเติบโตของรายได้จากภาคการท่องเที่ยว มีน้ำหนักไปที่จำนวนนักท่องเที่ยว มากกว่าด้านราคา
มากกว่า 85% ของนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้ปานกลางถึงต่ำ และเพียง 15% เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูง หรือพูดง่าย ๆ ว่า การเติบโตของรายได้ภาคการท่องเที่ยวของไทยนั้น “เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ”
- ขีดจำกัดทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งท่องเที่ยว
อ้างอิงสถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ว่าประเทศไทยจะมีการลงทุนปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวและระบบการคมนาคม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวกว่า 13% ของรายได้จากการท่องเที่ยว
แต่ตัวเลขนี้ก็ยังถือว่าน้อยกว่า ฟิลิปปินส์และมาเลเซียที่มีสัดส่วนที่ 21% และ 27% ตามลำดับ
แม้หลายคนจะรับรู้ปัญหาที่ว่ามานี้ แต่เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวในภาพรวมยังเติบโต ทำให้หลายคนอาจมองข้ามปัญหาเหล่านี้ไป
จนกระทั่งการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบทั้งหมด ไม่สามารถเดินทางมาไทยได้
ในปี 2020 นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือเพียง 6.7 ล้านคน
ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2021 ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 58,000 คน ซึ่งถือว่าน้อยมาก
คำถามคือ จากปัญหาเหล่านี้ที่เราเห็น ถ้าอยากให้อนาคตการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวกลับมา และเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น จะมีแนวทางไหนบ้าง ?
แนวทางเบื้องต้นที่น่าจะช่วยได้ก็อย่างเช่น
- เน้นดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูงให้มากขึ้น
อ้างอิงจากผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับ Visa ปี 2019 ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยอยู่ที่เฉลี่ยคนละ 48,000 บาท
ซึ่งถ้าเรามองว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาในระดับเดิม เช่น จากที่เคยมากถึง 40 ล้านคน อาจเหลือเพียง 24 ล้านคน ในช่วงหนึ่งถึงสองปีข้างหน้า
หากลองสมมติว่า ประเทศไทยยังต้องการรายได้จากการท่องเที่ยวเท่าเดิมที่ 1.9 ล้านล้านบาท สิ่งที่ต้องทำก็คือ ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวให้อยู่ที่เฉลี่ยคนละ 80,000 บาท
โดยวิธีที่จะเพิ่มรายได้ต่อหัวของนักท่องเที่ยวได้ ก็อย่างเช่น
อาจต้องหันมาเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูง เช่น กลุ่ม Medical & Wellness Tourism ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายต่อทริปสูงถึงประมาณเฉลี่ย 80,000-120,000 บาทต่อคน
รวมไปถึงต้องพยายามดึงดูดกลุ่มนักลงทุน และพนักงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย ซึ่งนับเป็นอีกกลุ่มศักยภาพที่ใช้จ่ายสูง
- ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง และกระตุ้นให้มีการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี
ประเทศไทยควรลงทุนในระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน สำหรับเชื่อมระหว่างเมืองหลักและเมืองรอง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ให้สามารถเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวให้มากกว่าเดิม
และพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวให้ไม่จำกัดเพียงแค่ช่วงฤดูท่องเที่ยว ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยกระจายรายได้ไปยังจังหวัดอื่น ๆ แต่ยังช่วยลดความแออัดของนักท่องเที่ยวในเมืองหลักในยามที่นักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา
แน่นอนว่ายังมีสิ่งอื่น ๆ อีกมากที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนา และยกระดับเพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้มีทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น
รวมไปถึงการที่ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัย
สร้างจิตสำนึกไม่ให้เอาเปรียบนักท่องเที่ยวต่างชาติ พร้อมทั้งจัดการผู้ที่ทำผิดและฝ่าฝืนกฎระเบียบจนสร้างความเสียหายให้แก่ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
อีกเรื่องที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ ก็คงไม่พ้น
การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรมากที่สุด
และต้องประเมินการเปิดประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดี
เพราะสุดท้ายแล้ว คงต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยจะไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิมได้ ถ้าการท่องเที่ยว ไม่ฟื้นตัวกลับมา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_29Oct2019.aspx
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD?locations=TH
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/27062021_RevitalisingThailandTourism.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tourism_in_Thailand
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Aug2021.aspx
「wellness wiki」的推薦目錄:
wellness wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จักแม่ฮ่องสอน จังหวัดที่รายได้ต่อประชากร น้อยที่สุด / โดย ลงทุนแมน
“เมืองสามหมอก” ถูกตั้งให้เป็นฉายาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เพราะจังหวัดเล็ก ๆ ติดชายแดนเมียนมาแห่งนี้ มีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูง
สลับซับซ้อน ขณะที่สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลา
จนกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมายให้มาเยี่ยมเยือน โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว
แต่รู้หรือไม่ว่า แม่ฮ่องสอนถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่มีอัตราความยากจนมากที่สุดในประเทศไทย..
เรื่องราวของแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 12,765 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของประเทศ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่กว่า 87% ของพื้นที่ทั้งหมดในจังหวัด
เป็นป่าไม้ และมีประชากรอยู่เพียง 284,000 คน
ในแง่เศรษฐกิจ ปี 2562 มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ของแม่ฮ่องสอน
อยู่ที่เพียง 15,021 ล้านบาท น้อยที่สุดในบรรดา 77 จังหวัดของประเทศไทย
และมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศ
โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาตลาดปัจจุบัน ถ้าแบ่งตามสัดส่วนจะมาจาก
ภาคบริการ 68%
ภาคเกษตรกรรม 26%
ภาคอุตสาหกรรม 6%
แม้ว่าสัดส่วนของภาคเกษตรจะอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 4 ของมูลค่า GPP
แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดนั้นทำอาชีพภาคเกษตรเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนถึง 81% ของประชากรทั้งหมด
โดยผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ของแม่ฮ่องสอนที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กระเทียม ข้าวโพด กะหล่ำปลี และถั่วเหลือง
ปัญหาของชาวเกษตรกรที่แม่ฮ่องสอนประสบมักคล้ายๆ กับเกษตรกรไทยส่วนใหญ่นั่นคือ ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมกัน ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรมีความไม่แน่นอน จนส่งผลต่อการบริโภคของครัวเรือน
รวมทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่ได้มีพื้นที่ถือครองเพื่อทำการเกษตรของตนเอง ทำให้มีต้นทุนในการทำเกษตรกรรมที่สูง
อีกด้านหนึ่ง แม้ว่าภูมิประเทศของแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่เป็นธรรมชาติเหมาะกับการท่องเที่ยว และยังเคยได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 อันดับ จังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทย
แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็นิยมเดินทางมาเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ หรือเพียงแค่ประมาณ 4 เดือนที่เป็นช่วง High Season เท่านั้น
ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเดินทางมาที่อำเภอปายซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 61% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางมาที่แม่ฮ่องสอน จึงทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวยังมีจำนวนน้อยและกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่
เมื่อรายได้จากภาคเกษตรกรรมที่มีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวมีเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนภาคอุตสาหกรรมมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปไม้ และแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร
จึงทำให้มูลค่าเศรษฐกิจและรายได้ของประชากรที่แม่ฮ่องสอนนั้นน้อย
สวนทางกับค่าใช้จ่ายและหนี้สิน
รายได้เฉลี่ยต่อคนของชาวแม่ฮ่องสอนเท่ากับ 63,370 บาทต่อปี อยู่อันดับที่ 74 ของประเทศไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายได้เฉลี่ยต่อคนของคนไทยทั้งประเทศที่ 243,787 บาท เกือบ 4 เท่า
รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่แม่ฮ่องสอนเท่ากับ 13,097 บาท ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของประเทศ
และถึงแม้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 11,242 บาท ที่แม่ฮ่องสอนจะน้อยกว่าในจังหวัดอื่น แต่ก็คิดเป็นสัดส่วน 86% ของรายได้ต่อครัวเรือน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่เท่ากับ 77%
รวมไปถึงหนี้สินต่อครัวเรือนของชาวแม่ฮ่องสอนเท่ากับ 74,586 บาท สูงกว่ารายได้ต่อเดือนเกือบ 6 เท่า
พอเรื่องเป็นแบบนี้ แม่ฮ่องสอนจึงถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่มีอัตราความยากจนมากที่สุด
ในประเทศไทย
อุปสรรคอย่างหนึ่งในการพัฒนาและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดแห่งนี้ คือ การที่มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง ไม่เพียงแต่เป็นข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นอุปสรรคสำหรับภาครัฐในการพัฒนาและลงทุนสาธารณูปโภคในแต่ละพื้นที่ เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า การศึกษา และสาธารณสุข
นั่นจึงทำให้แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดเป้าหมายที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูงในการแก้ไขปัญหาความยากจน ที่เป็นปัญหาเรื้อรังของประชาชนที่แม่ฮ่องสอนมานาน
ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐพยายามออกมาตรการหลายอย่างเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของแม่ฮ่องสอนให้เติบโตก้าวหน้าขึ้นจากปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น
การส่งเสริมประชาสัมพันธ์และเสนอจุดขายให้แก่นักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวเมืองรองอย่างแม่ฮ่องสอนมากขึ้น ทั้งทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดได้มากขึ้น
มาตรการช่วยเหลือและปรับปรุงสินค้าเกษตรซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของประชาชนที่นี่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรที่แม่ฮ่องสอนให้ดีขึ้น
พัฒนาเส้นทางคมนาคม เพื่อยกระดับด่านชายแดนแม่ฮ่องสอนกับเมียนมา ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการค้าและการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ก็เป็นที่น่าติดตามว่า การพัฒนาต่าง ๆ จะช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชากรที่แม่ฮ่องสอนให้ดีขึ้นกว่าวันนี้ได้หรือไม่
แต่ที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าแม่ฮ่องสอนจะเป็นจังหวัดที่อัตราความยากจนมากที่สุด
แต่จังหวัดนี้เคยถูกสำรวจว่าเป็นจังหวัดที่ผู้คนมีความสุขมากที่สุดในประเทศไทย
จากการสำรวจของเอแบคโพล ในช่วงวันที่ 1-19 มีนาคม 2556
การสำรวจนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ
จำนวน 12,429 คน ผลการจัดอันดับค่าร้อยละของประชาชนที่อาศัยอยู่ในแต่ละจังหวัด
พบว่าจังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุด คือ แม่ฮ่องสอน ได้ร้อยละ 60.9
ทั้งนี้ก็เพราะว่า แม้ว่าประชาชนที่นี่จะมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งทำให้มีประเพณี วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่คนเหล่านั้นก็สามารถอาศัยอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมเกลียว
มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คดีอาชญากรรมต่ำ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง
อีกทั้งยังแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่เงียบสงบนั่นเอง
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
จากการสำรวจเดียวกัน จังหวัดที่ประชาชนมีความสุขน้อยที่สุดในประเทศไทย
ก็คือ กรุงเทพมหานคร พบว่าประชาชนมีความสุขเพียง 20.8%..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional
-https://en.wikipedia.org/wiki/Provinces_of_Thailand
-https://en.wikipedia.org/wiki/Mae_Hong_Son
-http://www.maehongson.go.th/index.php/th/province-info/general-info/product/11-province-info/districts-\info.html
-https://www.youtube.com/watch?v=QqGsBPTZe4o
-http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area
-https://www.tnnthailand.com/news/wealth/30943/
-แผนพัฒนาจังหวัด (พ.ศ. 2561-2565), สํานักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน
-https://www.thebangkokinsight.com/news/lifestyle/wellness/484069/
wellness wiki 在 Wellness Wiki - Apps on Google Play 的相關結果
The Wellness Wiki app is an endless online resource for everything that you need to know about wellness. Our network is maintained by a team of dedicated ... ... <看更多>
wellness wiki 在 wellness - Wiktionary 的相關結果
The quality or state of being in good health. · The process of learning about and engaging in behaviors that are likely to result in optimal health. ... <看更多>
wellness wiki 在 Wellness - Wikipedia 的相關結果
Wellness may refer to: Health · Well-being, psychological wellness; Wellness (alternative medicine) · Workplace wellness · Wellness tourism · Eudaimonia, ... ... <看更多>