เปิดมหาวิทยาลัยอย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 : ตัวอย่างจากมหาวิทยาลัย Duke ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศวาระแห่งกระทรวง อย่างชัดเจนว่า ในเทอมปลายนี้ จะเปิดให้เด็กๆกลับไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนให้ได้ .. โดยพยายามออกมาตรการแนวทางปฏิบัติตัวอย่างเพื่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้น โดยเฉพาะที่เด่นที่สุด คือ การระดมฉีดวัคซีนให้กับเด็กนักเรียนในชั้นมัธยมฯ และปวช. รวมถึงมาตรการอื่นๆ เช่น คัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK
แต่ในฝั่งของกระทรวง อว. ซึ่งกำกับดูแลมหาวิทยาลัยต่างๆ กลับค่อนข้างเงียบมาก ไม่สร้างความชัดเจน เรื่องการกลับไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยในเทอมปลาย เหมือนกระทรวงศึกษาฯ เลย มีแต่ซุ่มฉีดวัคซีนให้กับนิสิตนักศึกษาไปจำนวนหนึ่ง และออกแทนการเปิดมหาวิทยาลัย ทีละ 25% 50% ให้บุคลากรเข้าไปทำงานได้ โดยที่ไม่ได้เน้นว่า จะกลับมาเรียนหนังสือกันอีกเมื่อไหร่
จริงๆแล้ว มีสารพัดอย่างที่สามารถทำได้ และควรจะต้องวางแผนการทำตั้งแต่วันนี้แล้ว ... อยู่แค่ว่ามีใจกล้าพอ จะเผชิญความจริงของการที่ต้องสอนหนังสือ เรียนหนังสือ แล้วเจอผู้ติดเชื้อบ้าง ..หรือจะเอาแต่ "วิ่งหนีเชื้อโรคเข้าถ้ำ" เหมือนตลอดปีกว่าๆ ที่ผ่านมา
ไปเจอโพสต์ของ Karn Imwattana มิตรสหาย facebook ท่านหนึ่ง ที่เรียนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัย Duke ในประเทศสหรัฐอเมริกา พูดถึงมาตรการของเขา จึงอยากจะเอามาให้เป็นตัวอย่างแนวทาง เพื่อรัฐมนตรีกระทรวง อว. จะพอมีไอเดียในการสั่งการบ้างนะครับ
สรุปความได้ดังนี้
- เกือบทุกคนในมหาวิทยาลัย ได้ฉีดวัคซีน (ความเห็นผม : ของไทยเรา โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล ก็ฉีดกันไปเยอะมากเลยนะครับ คนภายนอกอาจจะไม่ทราบข่าวกัน)
- เปิดการเรียนการสอนเต็มที่แล้ว โดยทุกคนต้องใส่หน้ากากเมื่ออยู่ในอาคาร-ในห้องเรียน ยกเว้นแค่ตอนช่วงกินข้าว (ความเห็นผม : เรื่องใหญ่อีกเรื่องคือ ventilation การเปิดประตูหน้าต่าง ซึ่งในต่างประเทศเขาทำเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่ไทยเรา ยังติดนิสัยเรียนในห้องแอร์ และจำเป็นจะต้องมาทบทวนกันใหม่)
- มีการสุ่มตรวจโรคโควิดถี่มาก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือบางช่วง อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง (ความเห็นผม : ของไทยเรา ควรตรวจทุกคนก่อนเปิดเทอม 1 ครั้ง และสุ่มตรวจดูเรื่อยๆ ทุกสัปดาห์)
- เทคนิคที่ใช้ตรวจคือ PCR ด้วย ไม่ใช่ ATK (ความเห็นผม : สำหรับประเทศไทยเรา ได้ตรวจ ATK ก็ดีถมแล้ว)
- ที่ตรวจถี่ เพราะจะได้แยกตัวคนที่ติดเชื้อออกมาได้เร็ว ไม่ปล่อยให้ไปแพร่ต่อ (ความเห็นผม : การตรวจหาผู้ติดเชื้อ มีประโยชน์ไม่แพ้ หรืออาจจะจำเป็น ยิ่งกว่าการฉีดวัคซีนด้วยซ้ำ)
- นอกจากใช้แยกผู้ติดเชื้อแล้ว มหาวิทยาลัยยังเอาตัวอย่างที่เป็นบวก ไปทำ whole genome sequencing (การหาลำดับพันธุกรรมทั้งหมดของจีโนมไวรัส) เพื่อใช้ติดตามการระบาดว่าจากคนไหนสู่คนไหน และศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อโรค (ความเห็นผม : เราไม่จำเป็นขนาดนั้นต้องทำหรอก แต่น่าจะมีหลายมหาวิทยาลัยเลย ที่อาจจะอยากทำ เพื่อการศึกษาวิจัยได้นะครับ)
- จำนวนเคสติดเชื้อในมหาวิทยาลัยไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ต้องต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศให้มากที่สุด และไม่ให้การแพร่ระบาดต่อๆ กันในมหาวิทยาลัย ต้องหยุดได้ก่อนที่จะบานปลาย (ความเห็นผม : จะเห็นว่าต่างกันมากกับของไทย ที่ผู้บริหารกลัวว่าจะมีชื่อเป็นหน่วยงานที่มีผู้ติดเชื้อปรากฏอยู่ จึงไม่ยอมเปิดการเรียนการสอน เพราะกลัวว่าจะมีข่าวไม่ดีออกไป)
- การที่ ม. Duke เคยมีจำนวนเคสสูงกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ก็เพราะทำการตรวจเยอะกว่ามหาลัยอื่นมากๆ
--------
(จาก https://www.facebook.com/100001435461282/posts/4656558651068604/)
วันนี้ได้ไปฟังอาจารย์ที่ภาคพูดสัมมนาเรื่องมาตราการรับมือโควิดของมหาลัย ก่อนหน้านี้เคยได้ยินมาว่า Duke นี่เป็นมหาลัยที่ควบคุมสถานการณ์โควิดได้ดีที่สุดในสหรัฐฯ มหาลัยหนึ่งเลย ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจว่า มหาลัยได้ทำอะไรไปบ้าง
จากประสบการณ์ที่พบเองกับตัว มหาลัยนั้นทำการสุ่มตรวจถี่มาก ในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดนบังคับไปตรวจอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง บางอาทิตย์ (ช่วงใกล้ ๆ เปิดเทอม) โดนตรวจสองหรือสามครั้ง (เทคนิคที่ใช้ตรวจคือ PCR ด้วย ไม่ใช่ ATK) เท่าที่ได้ยินมา แทบไม่มีมหาลัยไหนเลย ที่ตรวจถี่ขนาดนี้
ตอนแรกก็คิดว่าที่ตรวจถี่ เพราะจะได้แยกตัวคนที่ติดเชื้อออกมาเร็ว ๆ ไม่ปล่อยให้ไปแพร่ต่อ แต่จากที่ฟังสัมมนาในวันนี้ ก็ได้รู้ว่า ในทุก positive case นั้น มหาลัยได้เอาตัวอย่างไปทำ whole genome sequencing ด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้ ก็มีทั้งก็เอามาใช้ประโยชน์ในระยะสั้น และระยะยาว
ประโยชน์ระยะสั้น ก็เช่น เอามาไล่ตามว่าการระบาด เกิดจากที่ไหน สมมติว่ามีนักเรียนสองคน เรียนในห้องเดียวกัน แล้วติดโควิด ถ้าข้อมูลดีเอ็นเอในไวรัสของนักเรียนทั้งสองคนนั้นใกล้ชิดกันมาก ก็มีโอกาสสูงที่จะมาจากการแพร่เชื้อในห้องเรียน (นั่นหมายความว่านักเรียนคนอื่นในห้อง ก็จะเป็นกลุ่มเสี่ยงไปด้วย) แต่ถ้าข้อมูลดีเอ็นเอนั้นต่างกันพอสมควร ก็เป็นไปได้ที่ว่านักเรียนทั้งสองคน ไปติดเชื้อมาจากที่อื่น แล้วค่อยมาอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน ถึงแม้จะไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่ก็สามารถบอกถึงแนวโน้ม และใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้
เคยมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งเมื่อหลายเดือนที่แล้ว ที่จู่ ๆ ก็มีเคสจำนวนมาก ที่ข้อมูลจีโนมไวรัสของแต่ละคนนั้น เกือบจะเหมือนกันเลย ซึ่งก็สามารถตามสืบเรื่องไปได้ว่า เกิดจากการจัดปาร์ตี้แล้วไม่มีการใส่หน้ากาก จำได้ว่าตอนนั้นเป็นแค่ครั้งเดียวที่มหาลัยสั่งยกเลิกการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวไปอาทิตย์นึง เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย
ประโยชน์ระยะยาว ก็เช่น การเก็บข้อมูลพื้นฐานของการวิวัฒนาการไวรัส การมีข้อมูลจากทั้งจีโนม ทำให้เราสามารถไล่ตามได้ว่า มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นในตัวไวรัสได้บ้าง ทั้งส่วนของ spike protein ที่เราเอามาทำวัคซีน และส่วนอื่น ๆ ของตัวไวรัส ที่อาจจะมีหน้าที่สำคัญอย่างอื่นที่เราไม่รู้ และในอนาคต จะกลายพันธุ์เป็นอะไรก็ไม่รู้ ซึ่งข้อมูลที่มหาลัยได้มา ก็สามารถเอาไปรวมกับของสถาบันวิจัยอื่น ๆ และใช้ในการวางแผนป้องกันไวรัสชนิดใหม่ในระยะยาวได้
และถึงแม้ในปัจจุบัน เกือบทุกคนในมหาลัยจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ยังมีการสุ่มตรวจอย่างเข้มข้นต่อไปเรื่อย ๆ (Duke อาจจะเป็นเพียงมหาลัยเดียวในประเทศ ที่ยังทำแบบนี้อยู่) ซึ่งการทำแบบนี้ สามารถช่วยให้ข้อมูลได้ว่า ไวรัสสายพันธุ์เดลตา มีการแพร่ระบาดอย่างไร ในคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว และการแพร่ระบาด เกิดจากในห้องเรียน (ที่ทุกคนต้องใส่หน้ากาก) หรือเกิดตอนที่คนมานั่งกินข้าวด้วยกัน (ซึ่งก็ต้องถอดหน้ากาก) หรือในสถาการณ์อื่น ๆ การที่มีข้อมูลเหล่านี้พร้อมอยู่ในมือ ทำให้มหาลัยสามารถปรับเปลี่ยนมาตราการได้ตลอดเวลา ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า ทุกคนจะปลอดภัย
และ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถใช้ชีวิตได้ปกติมากที่สุด
ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ทำให้มหาลัยสามารถบอกได้ว่า ถึงแม้จำนวนเคสในประเทศจะยังค่อนข้างสูง แต่ด้วยมาตราการของมหาวิทยาลัย จำนวนผู้ติดเชื้อในหมู่นักเรียนและบุคลากรนั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศมาก และถึงแม้ปัจจุบันจะเปิดการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวเต็มที่ แต่การที่ทุกคนฉีดวัคซีน และสวมใส่หน้ากากในห้องเรียน ทำให้ไม่มีเหตุการณ์แพร่ระบาดในมหาวิทยาลัยเลย หรือต่อให้มีการแพร่ระบาดเริ่มเกิดขึ้นในอนาคต ก็มีโอกาสสูงที่จะตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ และสามารถหยุดได้ ก่อนที่จะบานปลาย
มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ Duke โดนเพ่งเล็งว่า มีจำนวนเคสสูงกว่ามหาลัยอื่น แต่เมื่อมาดูตัวเลขจริง ๆ แล้ว พบว่าที่มีเคสเยอะนั้น เพราะ Duke ทำการตรวจเยอะกว่ามหาลัยอื่นมาก ๆ ก็จริงที่ตรวจเยอะ ก็เจอเคสเยอะ และอาจจะทำให้ภาพลักษณ์ดูไม่ดี แต่ก็แลกกับการที่มีข้อมูลอันแม่นยำ และสามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
เป็นการวางนโยบายโดยอิงจากข้อมูล ไม่ได้ขี้กลัวเกินเหตุและห้ามกิจกรรมทุกอย่าง แต่ก็ไม่ปล่อยปะละเลย จนเกิดการแพร่ระบาด
ชีวิตใน Duke ทุกวันนี้ นอกเหนือจากการโดนสุ่มตรวจ และต้องใส่หน้ากากในอาคาร ทุกอย่างเกือบจะเป็นปกติเลย ซึ่งก็ถือว่าโอเคมาก ๆ แล้ว เมื่อเทียบกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน
หลายคนอาจจะบอกว่า ใช่สิ ที่อเมริกา มีวัคซีนเหลือเฟือ และ Duke ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่รวยมาก ๆ ซึ่งผมไม่เถียงเลย 5555 แต่นอกเหนือจากปัจจัยสองอย่างนี้ ประเด็นเรื่องการวางแผน การใช้ข้อมูลจริง มาช่วยกำหนดนโยบาย เป็นอะไรที่มหาวิทยาลัย หรือประเทศอื่น ๆ สามารถทำได้ไม่ยาก
แต่ก็นะ ปัญหาสำหรับบางที่อาจจะไม่ใช่ว่าเราไม่รู้ว่าควรจะต้องทำอะไร แต่เป็นเพราะคนมีอำนาจไม่อยากทำในสิ่งที่ควรทำต่างหาก
ภาพประกอบจาก https://today.duke.edu/2020/08/what-dukes-first-day-classes-2020-looks
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「whole genome sequencing」的推薦目錄:
- 關於whole genome sequencing 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
- 關於whole genome sequencing 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於whole genome sequencing 在 Dr 文科生 Facebook 的最佳解答
- 關於whole genome sequencing 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
- 關於whole genome sequencing 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於whole genome sequencing 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
whole genome sequencing 在 Facebook 的最讚貼文
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ พบสายพันธุ์ย่อยของเดลตา 😓
รอคำอธิบายอีกทีครับ
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
เดลตาสายพันธุ์ย่อยปรากฏขึ้นแล้วในไทย! จะส่งผลกระทบต่อการระบาด การป้องกันด้วยวัคซีน หรือการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหรือไม่ต้องเฝ้าติดตาม
จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (SARS-CoV-2 whole genome sequencing 30,000 bp) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 จากตัวอย่างที่ส่งมาทั่วประเทศ อันเป็นการประสานงานกันระหว่างศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี และ กลุ่มพันธมิตร COVID-19 Network Investigations (CONI) พบ
B.1.1.7 (อัลฟา) 11%
B.1.351 (เบตา) 14%
B.1.617.2 (เดลตา) 71%
และ
AY.4 หรือ B.1.617.2.4 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) 3% พบในเขตปทุมธานี
AY.6 หรือ B.1.617.2.6 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในประเทศไทย
AY.10 หรือ B.1.617.2.10 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในเขต กทม.
AY.12 หรือ B.1.617.2.15 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในเขต กทม.
whole genome sequencing 在 Dr 文科生 Facebook 的最佳解答
《非主流意見》
最近係CUHK見到有preclinical醫學系二年級嘅同學抱怨無限個lectures同考試成日會考萬幾張slides裡面其中一個角落嘅minute details
首先,其實講粗口我覺得真係無乜所謂。私人生活同工作要有嘅專業形象係可以分開。不過要小心嘅係日後要確保真係私人生活同it won’t come back and bite you,呢一行好窄同好多人對粗口敏感,而你嘅事業好取決於同行對你嘅評價。
我覺得成件事有幾個好重要嘅點值得所有人反思下
1. 考試內容有無必要考d偏到無得再偏嘅details
全世界醫學院考試都有類似嘅題目,問一些上堂其中一張slide個角落嘅其中嘅minute detail。好多人話靠這些題目可以分辨邊d學生係精英中嘅精英,邊d學生值得攞distinction
我同意要有differentiating questions,但如果條題目問你AdenoCa Lung with EGFR mutation T790M應該用邊隻TKI時,呢類嘅題目又係唔係適合去分一個學生嘅能力?係咪今日無背到個mutation panel係咪代表你唔係好學生,係咪差過其他有背到張Slide嘅同學?
如果要differentiate一個學生嘅能力,我會覺得complicated clinical presentation +/- multiple comorbidity同藥物相沖etc去睇下個學生會點clinically prioritize同workup個病人,會更加能夠分辨到精英中嘅精英。
如果preclinical basic science嘅題目我倒唔覺得有幾需要分辨有背到minute details同無背到嘅同學,反而更加應該加多少少clinical relevance on basic sciences例如pharmacology, microbiology, drug interaction, disease presentation with regards to physiology etc
2. 真係唔好睇考試睇得太重
醫學唔係淨係科學,同時係充滿人性嘅一門藝術。傳統考試並唔代表d乜嘢,考得好考得差,合格嘅你就係醫生。
Don’t ever be defined by exam
你需要嘅係合格,達到醫學界對醫生知識嘅最低要求同埋擁有應對困難嘅能力。當刻你醒唔起lecture 134第48張slide嘅內容唔代表你唔識,亦唔代表你之後會醫死人,會係庸醫。考試其間有種種因素,時間嘅壓力、大腦突然mind blank、一時諗唔通等等,令你答錯呢條題目。
呢個並無咩咁大不了,如果你真心唔識嘅,就吸收呢次經驗同知識,be better next time 。如果你係識但因種種原因答錯嘅,唔緊要,下次更小心就好,無須覺得自己比別人低等。
香港學校好容易會出現一種互相比較嘅氣氛,really there is no need for such culture,相信自己嘅能力,記著,你唔需要一份筆試去定義你嘅人生。
*不過當然你仍然要合格,只係無必要去同人競爭鬥高分
當你看開d唔再區泥分數時,就算你無背到d rare minute details時,你一樣會合格會progress,呢d古怪題目唔會佔多過10-20%
我明好多時會覺得個考試唔公平,覺得個分數唔能夠充分反映你嘅努力同能力。
你絕對entitle你對考試內容不滿嘅感受,this should be acknowledged and not dismissed and framed as you are just a whining child
3. 基本重要defining features你其實真係要識
你未必需要知道concurrent chemoRT for NPC個platinum based regimen係乜嘢,但你起碼都要知個mainstream treatment係乜,chemo要be aware of neutropenic fever,RT個概念係乜嘢,呢d真心同你以後日常工作有關嘅知識
你的確可以以後睇症時up to date所有嘢,但你起碼要有個概念先知要uptodate乜嘢,如果唔係真係search到2046無都未搵到個答案。
至於whole genome sequencing其實我覺得你唔需要知得好詳細,但都可以了解下到底迎l近年醫學因為基因學嘅發展而有幾大嘅進步,癌症同autoimmune等疾病嘅治療近年咁大嘅改變,基因研究功不可沒。
都係果句,唔識或答錯唔緊要,從中學習睇下知識,只份卷10%嘅題目真係唔會令你唔合格。
4. 好多前輩們其實可以諗諗你覆個學生嘅objective係乜嘢
如果你只係想開心share呀叔同老娘當年都係狂背書,呢d嘢係well expected嘅時候,你想achieve d咩嘢
現實就係有學生覺得考試唔能夠全面評核佢地嘅知識同能力,呢個係一個legitimate嘅感受。當我地立即judge佢嘅心態再下埋判決覺得佢唔會survive medical career,覺得佢無做醫生嘅資格或質素,甚至叫佢quit U or transfer,你係無address過個root cause and culprit
當然你絕對有權去覺得新世代都係whining child,心態有問題,但當你睇症時都可以嘗試去從病人角度出發再adjust your approach時,點解面對師弟師妹又唔可以呢?
我唔同意單憑一個secret post就落judgement去判一個人死罪再圍鞭一輪。
的確世界唔係圍繞一個人而轉,世界亦未必會為咗一個人而改變,但如果我地真心覺得有地方值得改善,係唔應該submit to the culture or system
The world might not change for you
But if you believe a change is needed
Be that change yourself
非主流意見遇咗實有人會唔同意
最後只想同所有讀緊醫嘅同學們講
Preclinical係好悶,clinical years會好好多。唔好睇考試睇太重,the last one who passes is still a doctor
相信自己嘅能力,捱過難關後便會有另一番天地
Don’t ever be defined by exams or other people
whole genome sequencing 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
whole genome sequencing 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
whole genome sequencing 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
whole genome sequencing 在 Whole-Genome Sequencing - Illumina 的相關結果
Whole-genome sequencing (WGS) is a comprehensive method for analyzing entire genomes. Genomic information has been instrumental in identifying inherited ... ... <看更多>
whole genome sequencing 在 Whole Genome Sequencing (WGS) | PulseNet Methods - CDC 的相關結果
Whole genome sequencing : The bar-coded DNA from multiple bacteria are combined and put in the whole genome sequencer. The sequencer identifies the A's, C's, T's ... ... <看更多>
whole genome sequencing 在 Whole genome sequencing - Wikipedia 的相關結果
Whole genome sequencing (WGS), also known as full genome sequencing, complete genome sequencing, or entire genome sequencing, is the process of determining ... ... <看更多>