=========
ภาษี E-service ตัวร้าย? กับนายเกมเมอร์ 💸💸💸
=========
.
“ภาษี” คือหนึ่งใน “ค่าใช้จ่าย” ของประชาชนที่มีหน้าที่จ่าย เพื่อแลกมาซึ่งสวัสดิการทางสังคมต่าง ๆ ในอีกด้านหนึ่งภาษีคือ “รายได้” ของภาครัฐที่เรียกเก็บจากประชาชนในประเทศ เพื่อนำมาใช้อย่างคุ้มค่า สร้างสวัสดิการอันดีงามให้ประชาชนใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งเรื่องสาธารณสุข การคมนาคม สวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต เป็นต้น
.
(แต่ต้องขอวงเล็บไว้นะครับว่า ความพึงพอใจในสวัสดิการที่ภาครัฐส่งมอบให้ประชาชนในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่ามลรัฐไหนจะสามารถใช้ภาษีแล้วทำให้ประชาชนรู้สึกว่ามันคุ้มค่ากับที่ต้องเสียไป)
.
ทางภาครัฐจะเรียกเก็บภาษีผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ‘ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’ เรียกเก็บจากคนธรรมดาผู้มีรายได้ตามเกณฑ์และอาศัยอยู่ในประเทศไทย ‘ภาษีนิติบุคคล’ ที่เรียกเก็บจากธุรกิจเอกชนที่จดทะเบียนจัดตั้งและมีกำไรอยู่ในประเทศไทย หรือ ‘ภาษีมูลค่าเพิ่ม’ ที่เรียกเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าและบริการในประเทศไทย เป็นต้น
.
ล่าสุดนี้ ทางรัฐบาลไทยได้ประกาศใช้เครื่องมือเรียกเก็บภาษีตัวใหม่ที่มีชื่อว่า ‘ภาษี e-service’ ที่พอเหมาะพอดีกับวิถีชีวิตในโลกปัจจุบัน เพราะด้วยรูปแบบของการให้บริการและการทำธุรกรรมในยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อนมาก การซื้อขายสินค้าบริการทั้งหลายแปรสภาพไปอยู่บนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และอินเตอร์เน็ตมากขึ้น เครื่องมือนี้จึงเกิดขึ้น
.
เรื่องนี้ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค ผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และเหล่าเกมเมอร์ที่ซื้อเกมผ่านแพลตฟอร์มเกมต่าง ๆ อย่างแน่นอน เพราะโดยภาพรวมแล้วภาระของผู้ประกอบการก็อาจจะถูกผลักมาให้ผู้บริโภคช่วยกันแบ่งรับแบ่งสู้ ราคาของสินค้าและบริการก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นนั่นเองครับ
.
แต่จะส่งผลกระทบในรูปแบบอย่างไรบ้าง ค่อย ๆ ไปทำความรู้จักกับ e-service ตัวนี้กันครับ
.
📌 ภาษี e-service คือ อะไร?
.
ปกติแล้วธุรกิจที่ขายสินค้าและบริการในประเทศไทยจะถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ในอัตรา 7% จากผู้บริโภค ซึ่งผู้ประกอบการจะมีหน้าที่เก็บและนำส่งให้สรรพากร แต่ e-service จะเป็น VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศซึ่งไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย ต้องมีหน้าที่เสียภาษีนี้ให้กับประเทศไทย เมื่อมีรายได้ค่าบริการผ่านแพลทฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ในอัตรา 7% ของยอดสินค้าหรือบริการ
.
หลังจากวันที่ 1 กันยายน 2564 ผู้ที่ขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ให้กับลูกค้าในประเทศไทยจะมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากเดิมตามกฏหมาย
.
📌 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาษี e-service มีใครบ้าง?
.
โดยหลัก ๆ แล้วก็จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น Facebook Instagram Youtube ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับโฆษณาทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ธุรกิจให้บริการสตรีมมิ่งเพื่อความบันเทิง เช่น Netflix Spotify ธุรกิจที่ให้บริการออนไลน์ เช่น Agoda Booking.com Airbnb Grab และแพลตฟอร์มที่เป็นมาร์เก็ตเพลส หรือขายสินค้าออนไลน์ ทั้ง App Store, Play Store, Shopee, Amazon.com
.
สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเหล่าเกมเมอร์ ก็จะเป็นธุรกิจจำพวก Online Store ทั้ง Steam, PS Store, Nintendo Store และ XBOX Store รวมถึงตัวเกมที่มีการซื้อขายสินค้าด้วยเงินจริง การเติมเงินผ่านระบบที่อยู่ในต่างประเทศก็ต้องเสียภาษีนี้เช่นกัน เพราะในยุคนี้เกมต่าง ๆ จะถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้รูปแบบ in-game purchasing เสียเป็นส่วนใหญ่
.
📌 e-services เก็บทำไม มีในประเทศไทยที่เดียวหรือเปล่า?
.
อันที่จริงภาษี e-service เป็นภาษีที่ถูกเก็บตามคำแนะนำของ OECD โดยในหลายประเทศทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ก็ได้ออกหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนหน้าประเทศไทยกันบ้างแล้ว
.
ว่ากันว่า e-service จะช่วยสร้างความเป็นธรรมให้แก่ธุรกิจภายในประเทศมากขึ้น ลองนึกดูเล่น ๆ ก็ได้ครับ ถ้าร้านเกมค้าปลีกในไทยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพากรตามปกติ แต่ Steam ที่ขายเกมเหมือนกันไม่ต้องเสียภาษีอัตรา 7% เลย ชัดเจนว่าภาระค่าใช้จ่ายของร้านค้าปลีกจะเยอะกว่า ทำให้แพลตฟอร์มจากต่างประเทศรายนี้ได้เปรียบ เพราะมีช่องทางที่สามารถลดราคาเพื่อแข่งขันกับร้านเกมในไทยได้
.
📌 แล้วใครมันจะไปอยากเสียเงินมากกว่าเพื่อซื้อเกมที่เหมือนกันล่ะครับ ถูกไหม?
.
เมื่อมีการเก็บภาษีอย่างเท่าเทียมแล้ว แน่นอนว่ารายได้ของรัฐบาลไทยก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล มีการคาดการณ์ว่าจะสามารถเรียกเก็บภาษี e-service ได้มากกว่า 5 พันล้านบาทเลยล่ะครับ
.
📌 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคล่ะ มีอะไรบ้าง?
.
ถ้าพูดถึงผลกระทบที่เกิดกับผู้บริโภคที่เป็นบุคคลธรรมดาอย่างเรา ๆ โดยทั่วไป e-service ก็จะคล้ายกับ VAT ที่เราต้องเสียให้กับร้านค้าและบริการต่าง ๆ ในประเทศอยู่แล้ว
.
ซึ่งการเกิดขึ้นมาของภาษีตัวนี้จะทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เพราะพวกเขามีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีตัวนี้ให้กับทางสรรพากรตามข้อตกลง ทำให้จากเดิมที่ผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ไม่เคยต้องเสียภาษี e-service มาก่อน ต้องหาทางออกให้กับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
.
มีทางเลือกให้ 2 ทางครับ ทางเลือกแรกคือเรียกเก็บค่าสินค้าและบริการเท่าเดิม ไม่ชาร์จภาษี e-service เพิ่มจากลูกค้า อันนี้ก็เป็นผลดีกับตัวลูกค้า เพราะผู้ประกอบการใจป๋ายอมแบกรับต้นทุนส่วนเพิ่มนี้เอาไว้เอง
.
หากเป็นทางเลือกที่สอง คือ ผู้ประกอบการไม่อยากรับภาระส่วนนี้ไว้ เพราะต้องการรักษาความสามารถในการทำกำไรให้ได้เท่าเดิม แน่นอนว่าเขาก็ต้องผลักภาระส่วนนี้ให้กับผู้บริโภคอย่างเรา สินค้าก็จะแพงขึ้นประมาณ 7% บวกลบจากราคาก่อนหน้านี้
.
ในฐานะนักลงทุนที่คลุกคลีกับวงการเกมอยู่บ้าง ผมเชื่อว่าผู้พัฒนาเกมจะเลือกผลักภาระนี้มาให้ลูกค้าครับ เพราะโดยส่วนใหญ่อำนาจต่อรองของผู้พัฒนาเกมมีสูงกว่าผู้เล่น โดยเฉพาะเกมที่มีกลุ่มคนเล่นมากมาย และมี Network Effect ที่แข็งแกร่งมหาศาล
.
นึกภาพตามครับว่าเรากำลังเล่นเกม MOBA ยอดนิยมเกมหนึ่งมาอย่างยาวนาน ซื้อของในเกมไว้มากมาย ไต่แรงค์ไปอยู่เทียร์บนได้อย่างสง่าผ่าเผย ถ้าอนาคตผู้พัฒนาเกมจะขึ้นราคาสินค้าอีก 7% หรือมากกว่า เราจะยอมเลิกเล่นเกมนั้นแล้วเปลี่ยนไปเล่นเกมอื่น หรือหยุดซื้อของในเกมนั้นเพื่อแอนตี้ภาษีตัวนี้ แล้วยอมให้คนอื่น ๆ ที่ยังจ่ายเงินซื้อของในเกมเหมือนเดิมแซงหน้าไปหรือเปล่าล่ะ?
.
และสำหรับเกมเมอร์ที่ชอบไปลองเล่นเกมตามหน้าร้านแล้วรอกดซื้อเกมตอน Steam ประกาศลดราคา ก็อาจจะไม่เห็นความแตกต่างในการทำโปรโมชั่นบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากเหมือนที่ผ่านมา เพราะการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการไทยกับต่างประเทศจะมีความเท่าเทียมมากขึ้น
.
สรุปโดยง่าย หลังจากวันที่ 1 กันยายน 2564เป็นต้นไป เกมเมอร์ทุกคนอาจจะต้องซื้อเกมผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม และ Online Store ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากปกติ 7% บวกลบ นอกจากนี้ระบบการเติมเงินหรือซื้อสินค้าในเกมก็อาจจะโดนชาร์จภาษีตัวนี้เพิ่มเข้าไปด้วยเช่นกัน
.
ผมเข้าใจว่าเกมเมอร์ ผู้บริโภค ทุกคนย่อมหงุดหงิดเป็นธรรมดาเมื่อสินค้าและบริการมีโอกาสแพงขึ้น 7% แต่อัตราภาษีที่ถูกเรียกเก็บนี้ถือว่าไม่แพงมากนัก เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปที่เก็บภาษี e-service ในอัตรา 17-27% แม้กระทั่งเพื่อนบ้านอย่างอินโดนิเซียก็เรียกเก็บภาษีนี้ในอัตรา 10% และภาษีนี้จะเป็นหนึ่งในรายได้ที่ไหลเข้ากระเป๋าเงินของรัฐเพิ่มขึ้นในอนาคต
.
อันที่จริงผมเชื่อครับว่า ภาษี e-service ที่ชาร์จเพิ่ม 7% บนมูลค่าของสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์นี้จะไม่เป็นเรื่องใหญ่อะไร หรือเป็นตัวร้ายในสายตาของใครเลย หากผู้บริโภคอย่างเรารู้สึกว่าเงินเหล่านี้จะถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสวัสดิการที่ดีให้ทุกคนภายในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
.
เหมือนอย่างที่ผมกล่าวมาในตอนต้น ถ้าเงินภาษีเหล่านี้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนคนไทย (ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใด) อย่างแท้จริง
.
รัฐอยากจะเก็บ 10-20% ประชาชนก็คงไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไรเลย...
.
บทความโดย ปั้น - จิตรกร แสงวิสุทธิ์ Investment Planner แอดมินเพจ "นายปั้นเงิน"
.
💡 ติดตามความรู้ด้านการเงิน การออมและการลงทุน ได้ที่เพจ นายปั้นเงิน เพจที่จะทำให้เรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย ( https://www.facebook.com/artisanmoney/ )
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過2,960的網紅ANNDAY เที่ยวไปวันวัน,也在其Youtube影片中提到,ได้กลับมาเที่ยวพัทยาสักที ดีใจจัง ใกล้แค่ไหนคือไกล ไกลแค่ไหนคือใกล้ ทีภูเก็ตเชียงใหม่ล่ะไปบ๊อบบ่อย งง!! อ่ะๆ เข้าเรื่อง ก็คือวาเลนไทน์ แล้วจองวันนี้ไ...
agoda คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
เจ้าของสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ใหญ่สุดในโลก คือใคร ? /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทเทคโนโลยีในจีน หลายคนคงนึกถึง Alibaba หรือ Tencent
แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีอีกบริษัทเทคโนโลยีจากจีนที่กำลังมาแรง
ถึงขนาดที่ก้าวขึ้นมาเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้
บริษัทนั้น ก็คือ “ByteDance” เจ้าของแอปพลิเคชัน TikTok
ที่มีมูลค่าประเมินล่าสุดอยู่ที่ 14.0 ล้านล้านบาท
โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของยูนิคอร์นตัวนี้ คือ “จาง อี้หมิง”
แล้วกว่าจะมาเป็นวันนี้ จาง อี้หมิง และ ByteDance ผ่านอะไรมาบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จาง อี้หมิง เกิดในปี ค.ศ. 1983 ที่เมือง Longyan จังหวัด Fujian ประเทศจีน ปัจจุบันมีอายุ 38 ปี
แม้เขาจะเกิดและเติบโตในครอบครัวธรรมดา ฐานะปานกลาง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือครอบครัวของจาง ค่อนข้างให้อิสระกับเขา ไม่ได้มีกฎเกณฑ์หรือมีระเบียบเคร่งครัด ต่างจากครอบครัวชาวจีนในสมัยนั้น
นอกจากนี้ ทั้งพ่อและแม่ของจางก็ยังสนับสนุนให้เขาลองผิดลองถูกอยู่เสมอ
เรื่องนี้เอง ก็ได้ทำให้เขาเติบโตมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์
และมีความกล้าที่จะลองอะไรใหม่ ๆ ตลอดเวลา
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2001 เขาได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Nankai ในสาขา Microelectronics
ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาศึกษาในสาขาวิชา Software Engineer
หลังจากจบการศึกษา จางก็ได้เริ่มธุรกิจของตัวเองเป็นครั้งแรก ร่วมกับรุ่นพี่ที่รู้จักกันจากมหาวิทยาลัย
โดยธุรกิจที่เขาก่อตั้งขึ้นนั้น เป็นธุรกิจที่ทำระบบจัดการข้อมูลและการเข้าถึงสำหรับองค์กร
แต่ในตอนนั้นด้วยความที่ยังไม่มีประสบการณ์ จึงทำให้เขาทำผิดพลาดในหลายเรื่อง
เช่น การวางตำแหน่งทางการตลาดที่ไม่ดี สุดท้ายเขาก็ต้องล้มเลิกกิจการไป ภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว
ในปี ค.ศ. 2006 เขาได้เข้าทำงานกับสตาร์ตอัป Kuxun ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ที่ให้บริการสำหรับการจองตั๋ว เช่น เครื่องบิน โรงแรม และรถไฟ คล้าย ๆ กับ Agoda, Booking, Traveloka
ในช่วงที่เขาได้เข้ามาทำงานที่นี่ บริษัทยังถือว่ามีขนาดเล็กและมีพนักงานเพียงไม่กี่คน
เล็กในระดับที่เขา เป็นพนักงาน Software Engineer คนแรกขององค์กร
หลังจากผ่านไปได้เพียง 2 ปี Kuxun ที่ตอนแรกเป็นเพียงสตาร์ตอัปขนาดเล็ก
ก็ได้เติบโตขึ้นกลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานกว่า 40 คน
และด้วยความสามารถที่โดดเด่นของจาง ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคนิค
แต่แน่นอนว่าตำแหน่งหัวหน้าย่อมต้องมีเรื่องการบริหารเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วยความที่เขารู้สึกว่าตนเองยังไม่เก่งเรื่องการบริหารและทำได้ไม่ค่อยดี
เขาจึงอยากพัฒนาและต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารมากกว่านี้
เขาจึงมีเป้าหมายว่าต้องการเรียนรู้วิธีการบริหารจากบริษัทระดับโลก
ซึ่งนั่นก็นำไปสู่การเดินทางออกนอกประเทศบ้านเกิดในปี ค.ศ. 2008 เพื่อไปร่วมงานกับ Microsoft
แต่จางก็ทำงานที่นี่ได้ไม่นาน เพราะเขารู้สึกว่าบริษัทแห่งนี้ มีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดเกินไป
หลังจากลองผิดลองถูกและสะสมประสบการณ์มาพอสมควร
เขาก็ได้ตัดสินใจลาออกจาก Microsoft เพื่อกลับไปลองก่อตั้งบริษัทของตนเองอีกครั้ง
ชื่อว่า “99fang” แพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
หลังจากก่อตั้งได้เพียง 6 เดือน 99fang ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้
จนแพลตฟอร์มของเขาเติบโตจนมีผู้ใช้งานมากถึง 1.5 ล้านบัญชี
และได้ก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอสังหาริมทรัพย์ของจีนอันดับต้น ๆ ในเวลานั้นเลยทีเดียว
ในขณะเดียวกัน เขาเริ่มเห็นว่าผู้คนมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนมากขึ้น
ทำให้เขามองว่าการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนจะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคต
เขาจึงมองไปที่ตลาดที่ใหญ่กว่าตลาดในประเทศจีน นั่นก็คือ “ตลาดโลก”
จาง อี้หมิง ในวัย 29 ปี จึงได้ตัดสินใจจ้างผู้บริหารมารับไม้ต่อในการบริหาร 99fang
เพื่อที่เขาจะได้มาโฟกัสในธุรกิจใหม่ ในตอนนั้นเขาจึงก่อตั้ง “ByteDance” ขึ้นมา
โดยครั้งนี้เขาต้องการสร้าง แพลตฟอร์มโซเชียลที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นหลัก
แม้จะมีไอเดียที่ดี แต่ในตอนนั้นแทบไม่มีใครเชื่อมั่น และให้เงินสนับสนุนกับเขาเลย
ถึงขนาดว่าในช่วงเริ่มต้น ByteDance ถูกปฏิเสธจาก Venture Capital หรือผู้ให้เงินระดมทุนกว่า 30 ครั้ง
ก็จะมีแต่ Susquehanna International Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการค้าและเทคโนโลยีระดับโลก
ที่ได้ให้เงินสนับสนุนกับจางราว 155 ล้านบาท
หลังจากที่ได้เงินสนับสนุนมา ในปีเดียวกันบริษัท ByteDance ได้เปิดตัว Toutiao ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม
ที่ให้บริการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งจุดเด่นของ Toutiao คือจะนำเสนอเนื้อหาตามความชอบ
โดยใช้ AI ในการวิเคราะห์ หลังจากเปิดตัวได้ 2 ปีมีผู้ใช้งานสูงถึง 13 ล้านบัญชีต่อวัน
จุดนี้เอง ก็ได้เริ่มทำให้เหล่าบริษัทขนาดใหญ่เริ่มให้ความสนใจและให้เงินสนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SoftBank รวมถึง Sequoia Capital ที่เคยปฏิเสธจางไปในครั้งแรก
ก็ได้กลับมาให้เงินสนับสนุนมากถึง 3,200 ล้านบาทในปี ค.ศ. 2014
ต่อมา จางยังได้สังเกตเห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะดูคลิปวิดีโอสั้นมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
นั่นจึงเป็นไอเดียที่ทำให้ในปี ค.ศ. 2016 ByteDance ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นในจีน
ชื่อว่า “Douyin” หรือในเวอร์ชันสากลที่เรารู้จักกันคือ “TikTok” นั่นเอง
TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำหรับสร้างและรับชมวิดีโอสั้น ซึ่งจะมีฟีเชอร์เสริมที่สามารถใส่เพลงประกอบได้
โดยในตอนแรกจะมีความยาวของวิดีโอเพียง 15 วินาทีเท่านั้น แต่ในภายหลังได้เพิ่มให้วิดีโอสามารถมีความยาวได้ถึง 3 นาที
และแน่นอนว่า TikTok ก็มีระบบแนะนำวิดีโอที่เราชอบหรืออาจจะสนใจ โดยการใช้ AI
ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัท ซึ่ง TikTok ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
เร็วในระดับที่หลังจากเปิดให้บริการได้เพียง 1 ปี TikTok มียอดผู้ใช้งานทั่วโลกสูงถึง 54 ล้านบัญชี
และเติบโตต่อเนื่อง จนปัจจุบันยอดผู้ใช้งานของ TikTok ได้กลายเป็น 732 ล้านบัญชีทั่วโลก
แล้วที่ผ่านมา ByteDance มีผลประกอบการเป็นอย่างไร ?
ปี 2018 มีรายได้ 230,000 ล้านบาท
ปี 2019 มีรายได้ 650,000 ล้านบาท
ปี 2020 มีรายได้ 1,200,000 ล้านบาท
รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด
และปัจจุบัน ByteDance ได้กลายเป็นบริษัทเนื้อหอม ที่มีแต่ผู้เข้ามาให้เงินระดมทุนมหาศาล
จนล่าสุดบริษัท ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 14.0 ล้านล้านบาท
และด้วยมูลค่าบริษัทที่เพิ่มขึ้นนี้เอง จึงทำให้ตัวเจ้าของอย่างจาง มีมูลค่าทรัพย์สินสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท
ขึ้นแท่นเป็นคนที่รวยที่สุดอันดับ 9 ของจีน และอันดับ 39 ของโลก
แล้วถ้าถามว่าเคล็ดลับความสำเร็จของจาง อี้หมิง คืออะไร ?
เราก็น่าจะนำมาสรุปแบ่งได้เป็น 2 ข้อ นั่นก็คือ
1. เขากล้าที่จะคิดในสิ่งใหม่ ๆ และลงมือทำอย่างจริงจัง
เหมือนตอนที่เขาตัดสินใจจ้างผู้บริหารใหม่มาดูแล “99fang” ทั้ง ๆ ที่บริษัทกำลังไปได้ดี
เพื่อจะมาทำตามความฝัน โดยการก่อตั้ง “ByteDance”
ที่ในตอนแรกแทบไม่มีใครเชื่อว่าเขาจะทำได้
2. เขายอมรับข้อเสียของตัวเอง เพื่อที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
เหมือนกับในช่วงที่เขาลาออกจาก Kuxun เพื่อที่จะเข้าไปเรียนรู้การบริหารในบริษัทที่ใหญ่กว่าอย่าง Microsoft และเมื่อกลางปีที่ผ่านมา จาง อี้หมิง เพิ่งประกาศว่าจะลงจากตำแหน่ง CEO ของ ByteDance โดยให้เหตุผลว่า “เขายังคงขาดทักษะบางอย่าง ในการเป็นผู้บริหารที่ดี”
แม้ว่าวันนี้ จาง อี้หมิง จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคนหนึ่ง
แต่เขายังคงถ่อมตน ไม่หลงตัวเอง คอยมองหาข้อผิดพลาดเพื่อที่จะแก้ไขและเรียนรู้อยู่เสมอ
ด้วยแนวคิดนี้ เราจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม ByteDance ภายใต้การบริหาร
ของจาง อี้หมิง ได้ก้าวขึ้นมาเป็น ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/Zhang_Yiming
-https://www.youtube.com/watch?v=kqxbO067y4g
-https://en.wikipedia.org/wiki/ByteDance
-https://www.businessinsider.com/bytedance-cofounder-zhang-yiming-steps-down-as-ceo-report-2021-5
-https://forbesthailand.com/news/global/zhang-yiming-เจ้าของแอปฮิต-tiktok-บริจาค-10.html
-https://www.forbes.com/profile/zhang-yiming/?sh=686eec81993c
-https://www.businessofapps.com/data/tik-tok-statistics/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Toutiao
-https://en.wikipedia.org/wiki/TikTok
-https://www.longtunman.com/31622
-https://2.flexiple.com/founders/zhang-yiming
-https://asia.nikkei.com/Business/36Kr-KrASIA/TikTok-creator-ByteDance-hits-425bn-valuation-on-gray-market#:~:text=BEIJING%20%2D%2D%20The%20valuation%20of,stakes%20for%20sale%20in%20ByteDance.
agoda คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
“Scuttlebutt” กลยุทธ์หาหุ้นเด้ง จากคำซุบซิบนินทา /โดย ลงทุนแมน
ข้อมูล Inside หรือข้อมูลวงในของหุ้น เป็นสิ่งที่ใครหลายคนต้องการ
เพราะหากข้อมูลเหล่านี้เป็นความจริง มันก็จะทำให้เราได้เปรียบ
ในการลงทุนซึ่งนำไปสู่โอกาสในการได้ผลตอบแทนที่ดี
และถ้าถามว่าใครมีข้อมูลเหล่านี้มากที่สุด
ก็คงไม่พ้นมาจากเหล่าผู้บริหารและนักบัญชีของบริษัท
แต่ข้อมูลจากกลุ่มคนเหล่านี้ หากยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ
ก็จะถือว่ามีความผิดต่อกฎของ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
อย่างไรก็ตาม มีวิธีหนึ่งที่เราจะสามารถหาข้อมูลวงในได้โดยไม่ผิดกฎ
โดยวิธีนี้มีชื่อว่า “Scuttlebutt” หรือแปลเป็นไทยคือ คำซุบซิบนินทา
คำนี้ถูกคิดโดยคุณฟิลลิป ฟิชเชอร์ ผู้ที่ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งหุ้นเติบโต
และเป็นต้นตำรับในการหาหุ้นที่สร้างผลตอบแทนหลายเด้ง
และรู้หรือไม่ว่าเขาคนนี้ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้วอร์เรน บัฟเฟตต์
เปลี่ยนแนวทางการลงทุนจากที่แต่เดิมหาเฉพาะหุ้นราคาถูก
ให้หันมาลงทุนในหุ้นที่มีกิจการที่แข็งแกร่งอีกด้วย
แล้วเราจะไปหา Scuttlebutt ได้จากที่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Scuttlebutt หรือ คำซุบซิบนินทา เป็นวิธีการหาข้อมูลวงในจากการตามแกะรอยกิจการ
โดยแกะรอยในที่นี้ ก็คือการที่เราเข้าไปหามุมมองต่อสินค้าหรือบริการทั้งจากบริษัทที่เราสนใจ
หรือแม้แต่ไปตามหาเอาจากบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ซึ่งเราก็จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประกอบการดูงบการเงิน เสพข่าว หรือการฟังการรายงานจากผู้บริหาร เพื่อนำไปตรวจสอบว่าข้อมูลเหล่านี้ เป็นจริงมากน้อยเพียงใด
คำถามที่ตามมาก็คือ
แล้วเราจะไปฟังคำซุบซิบนินทา
หรือไปสืบข้อมูลเหล่านี้ จากใครได้บ้าง ?
วิธีที่ 1 สืบเสาะผ่านการซุบซิบกับพนักงานบริษัท
นั่นก็เพราะว่า พนักงาน คือผู้ที่อยู่หน้างาน
ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเห็นพฤติกรรมของลูกค้าโดยตรงเสมอ
และพอคาดการณ์ได้ว่ายอดขายของสินค้าหรือบริการกำลังไปทิศทางใด
นอกจากนี้ เรายังสามารถล้วงไปจนถึงกระบวนการทำงานภายในขององค์กรอีกด้วย
และแน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่เราไม่มีวันหาอ่านได้จากงบการเงิน
ในขณะที่ข้อมูลจากอดีตพนักงานที่เคยทำงานในบริษัทที่เราสนใจก็ถือว่าเป็นประโยชน์ เช่นกัน
ดังนั้น เราจึงควรหาคนรู้จักที่เป็นพนักงาน หรือไม่ก็สร้างความสัมพันธ์กับเหล่าพนักงาน
เพราะพวกเขาเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลชั้นยอด
ที่มีโอกาสสร้างความได้เปรียบให้กับการลงทุนของเรา
วิธีที่ 2 สืบเสาะผ่านคู่ค้า
แหล่งข้อมูลชั้นดีอีกหนึ่งแห่ง คือ คู่ค้าของกิจการ
เพราะผลประกอบการของบริษัทเอง มักจะสะท้อนไปยังคู่ค้าเช่นกัน
เช่น บริษัทผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สามารถรู้แนวโน้มผลประกอบการได้
จากพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง หรือก็คือร้านค้าปลีกและค้าส่ง
เซเว่น อีเลฟเว่นในบ้านเรา เป็นตัวอย่างหนึ่ง
ที่เราสามารถเช็กว่าสินค้าใดบ้างที่ขายดี
โดยการดู “ป้ายสินค้าตรงมุมขวาล่าง”
ซึ่งมีสัญลักษณ์ตั้งแต่ T1, T2, T3 หรือ T4
โดยสินค้าที่ขายดีมากมีสัญลักษณ์คือตัว T1
และไล่ลงมาจนขายไม่ดี คือไม่มีตัวอักษรเลย
จุดนี้ ก็สามารถช่วยให้เรานำไปประกอบการวิเคราะห์และนำไปคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทได้
ยกตัวอย่าง เช่น เครื่องดื่มของบริษัทไหนถ้ามีสัญลักษณ์ T1 เราก็อาจจะคาดเดาได้ว่าเครื่องดื่มของบริษัทนั้นขายดี
หรือแม้แต่เหล่าร้านจัดจำหน่ายสมาร์ตโฟน ที่นอกจากเราจะดูได้จากปริมาณลูกค้าในร้านแล้ว
เราก็ยังสามารถสอบถามพนักงานได้ว่าสินค้าไหนที่ขายดี
และแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร
จากข้อมูลดังกล่าว ก็จะยิ่งทำให้เราตัดสินใจได้ว่าผู้ผลิตสมาร์ตโฟนรายไหน เช่น Apple, Xiaomi หรือ Samsung มาแรงกว่ากัน
วิธีที่ 3 สืบเสาะผ่านคู่แข่งในอุตสาหกรรม
เป็นธรรมดาที่การทำธุรกิจ เราต้องทำการวิเคราะห์คู่แข่ง
ซึ่งนอกจากเราจะดูภาพในเชิงตัวเลขอย่างส่วนแบ่งการตลาด
หรือแนวโน้มการเติบโตของแต่ละแบรนด์ในอุตสาหกรรมเดียวกันที่ผ่านมาแล้ว
เราก็สามารถใช้ข้อมูลของผู้เล่นรายอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
มาประกอบการตัดสินใจในธุรกิจที่เรากำลังสนใจได้
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทไหนมีปัญหาในการขนส่งล่าช้า เราก็อาจไปสอบถามจากพนักงานของแต่ละร้านว่าสินค้าตัวเดียวกันของบริษัทอื่นมีของในสต็อกพร้อมไหม
ซึ่งเราก็สามารถนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์ความพร้อมของแต่ละบริษัท หรือการบริหารคลังสินค้าเบื้องต้นได้ เช่นกัน
หรือแม้แต่ในการรายงานผลประกอบการของผู้บริหารในประเทศไทย
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Oppday ที่มีช่วงที่ให้ผู้เข้าฟังสอบถามผู้บริหาร
ที่เป็นคู่แข่งกับบริษัทที่เราสนใจ เราก็สามารถยิงคำถาม
เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละบริษัท เมื่อเทียบกับคู่แข่งได้
ข้อดีของวิธีการนี้ คือส่วนใหญ่บริษัทคู่แข่งจะระบุข้อเสียของบริษัทอื่นได้ดีกว่าที่บริษัทบอกเอง
หรือหากคู่แข่งยอมรับในจุดแข็งของบริษัทอื่นที่เราสนใจ จุดแข็งนั้นจะถือว่ามีความน่าเชื่อถือ
วิธีที่ 4 สืบเสาะผ่านกลุ่มลูกค้า
หากเป็นสมัยก่อน
การหารีวิวจากกลุ่มลูกค้าอาจจะค่อนข้างทำได้ยาก
หรือไม่ก็สอบถามได้จากเพียงแค่คนรู้จักหรือคนกลุ่มน้อยเท่านั้น
แต่ปัจจุบันเราสามารถค้นหาความคิดเห็นของลูกค้านับหมื่นคน ได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ
เช่น รีวิวสินค้าตามแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อย่าง Amazon, Lazada หรือ Shopee
ในขณะที่รีวิวโรงแรม เราก็สามารถดูได้จากรีวิวบน Agoda
หรือร้านอาหาร ก็ Wongnai และ Tripadvisor
ซึ่งรีวิวของคนกลุ่มนี้ก็ทำให้เห็นว่า สิ่งที่ผู้บริหารคิดกับเรื่องที่จะเกิดขึ้นจริง
มีโอกาสเป็นไปได้และเป็นความจริงมากน้อยขนาดไหน
หากเป็นสินค้าหรือบริการสำหรับธุรกิจ หรือที่เรียกว่า B2B
สามารถสอบถามผ่านพนักงานของบริษัทนั้น ๆ แทนก็ได้
เช่น อุปกรณ์การแพทย์ แน่นอนว่าเราไม่สามารถถามผู้บริหารของบริษัทที่ซื้อได้ก็จริง
แต่เราสามารถรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้านี้ได้จากพนักงาน หรือแพทย์และพยาบาล
เพราะเป็นผู้ที่ใช้งานโดยตรง และข้อมูลนี้อาจดีกว่ามาจากผู้บริหารเอง
สำหรับวิธีสุดท้ายก็คือ สืบจากการใช้งานจริงของ “ตัวเราเอง” หรือบุคคลใกล้ชิด
ปีเตอร์ ลินซ์ ผู้จัดการกองทุนระดับโลก
ใช้วิธีการนี้ในการหาธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนหลายเด้ง
โดยการสังเกตจากสินค้าและบริการที่ครอบครัวตนเองใช้
อย่างเช่น ภรรยาของเขาที่ชอบใช้ถุงน่องแบรนด์ L'eggs
ซึ่งอยู่ภายใต้บริษัทที่ชื่อว่า HanesBrands
เขาก็ได้ทดลองนำถุงน่องคู่แข่งอีกแบรนด์มาให้ภรรยาเปรียบเทียบกัน
และได้ข้อสรุปว่าถุงน่องของคู่แข่งไม่สามารถมาแทนได้
เพราะใส่ไม่สบายเท่าแบรนด์ L'eggs
ซึ่งหลังจากทดลองไปไม่นาน
ผลประกอบการต่อมาก็เป็นไปตามคาด
ยอดขายถุงน่องแบรนด์ L'eggs เติบโตพุ่งทะยาน
ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นเป็นหลายเท่า
จากเรื่องนี้ทำให้เห็นว่า หุ้นที่ดีอาจใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
และบางธุรกิจอาจจะอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามากกว่าที่เราคิด
เพียงแต่เราไม่ได้นึกถึง
ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเลยก็คงหนีไม่พ้น
Apple ที่บุกเบิกสมาร์ตโฟนเป็นเครื่องแรกของโลก
หากลงทุนตั้งแต่ที่ iPhone เริ่มเข้าประเทศไทยช่วงแรก
จะสามารถสร้างผลตอบแทนให้ถึง 42 เท่า
หรือแม้แต่โปรแกรมแต่งภาพอย่าง Adobe
ที่เติบโตตามงานกราฟิก ที่ไม่ว่าเราจะทำคอนเทนต์อะไร
ก็มักจะต้องใช้โปรแกรมนี้สร้างขึ้นแทบจะทั้งนั้น
หากเราลงทุนตั้งแต่เราเริ่มใช้ Adobe ก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างมหาศาลเช่นกัน
แต่การใช้วิธีนี้ ต้องระวังอคติ
ที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการที่เราใช้เองด้วย
เพราะบางครั้งเราอาจมองโลกในแง่ดีหรือร้ายจนเกินไป
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์คำซุบซิบนินทา หรือ Scuttlebutt
ก็เป็นหนึ่งในไอเดียการหาข้อมูลประกอบการวิเคราะห์หุ้นที่น่าสนใจ
เพราะหากเราทำอย่างสม่ำเสมอ มันก็ถือเป็นวินัยที่ดีของนักลงทุน
ที่จะทำให้เรารู้ลึก รู้จริง และรู้มากกว่าตัวเลขรายได้กำไรในอดีต
ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ ที่ไม่ว่าใคร ก็รู้เหมือน ๆ กับเรา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-หนังสือ Common Stocks and Uncommon Profits โดย ฟิลลิป ฟิชเชอร์
-หนังสือ One Up on Wall Street โดย ปีเตอร์ ลินซ์
-http://www.scuttlebuttinvestor.com/blog/2018/11/19/the-scuttlebutt-method
-https://finance.yahoo.com/quote/AAPL?p=AAPL&.tsrc=fin-srch
-https://finance.yahoo.com/quote/ADBE?p=ADBE&.tsrc=fin-srch
-https://finance.yahoo.com/quote/COM7.BK?p=COM7.BK&.tsrc=fin-srch
agoda คือ 在 ANNDAY เที่ยวไปวันวัน Youtube 的最佳解答
ได้กลับมาเที่ยวพัทยาสักที ดีใจจัง ใกล้แค่ไหนคือไกล ไกลแค่ไหนคือใกล้ ทีภูเก็ตเชียงใหม่ล่ะไปบ๊อบบ่อย งง!!
อ่ะๆ เข้าเรื่อง ก็คือวาเลนไทน์ แล้วจองวันนี้ไปพุ่งนี้ ได้ที่พักดี คือถือว่าเริ่ด X2 Oceanphere PATTAYA ห้องแบบ 2 bedroom pool villa ราคา10000++ เราจ่ายเพียง 6000++ (ไม่รวมอาหารเช้า) เพราะมี voucher ใน agoda มาถึงจ่ายค่า floating breakfast เพิ่มอีก 2500 กินคุ้มมั้ยไม่รู้ แต่ถ่ายรูปคุ้มมากกกก สรุป I love ที่นี่มากกก ห้องสวย บรรยากาศดี บริการดี ถ้าติดทะเล คือ 10 10 10 ไปเลยยยยย
ถ้าชอบคลิปนี้ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ หรือจะคอมเม้นให้กำลังใจ หรือมีคำถามถามทิ้งไว้ในคอมเม้นได้เลยนะค้า
ช่องทางการติดตาม
IG : anntie_alita https://www.instagram.com › anntie...Web resultsAlita Blättler แอนตี้ (@anntie_alita) • รูปและวิดีโอ Instagram
Facebook Pages : ANNDAY เที่ยวไปวันวัน https://www.facebook.com/anndayofficial/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnC6PdN5rJWFTs81si3OXTw
#พัทยา #PATTAYA #X2oceanphere
#X2pattaya #โรงแรมพัทยา
agoda คือ 在 WabisabiTV Youtube 的精選貼文
Apps : HotelsCombined คือ ตัวช่วยนักเดินทาง สำหรับเปรียบเทียบราคาจากเว็บไซต์จองโรงแรมชั้นนำทั่วโลก เช่น Booking.com, Expedia, Hotels.com, Agoda, Venere, LateRooms และ อื่นๆ อีกมากมาย รับประกันว่าได้จะราคาที่ดีที่สุด
Download for Android : http://goo.gl/ZVrRtC
Download for iOS : http://goo.gl/p2bQVn
รายการ "สุโก้ยไทยแลนด์" ( SUGOI THAILAND) すごいタイランド
タイ紹介旅番組 『すごいタイランド』 MC/ HIRO SANO / 佐野 ひろ
รายการที่จะพาคุณไปตะลุยเที่ยวไทยในแบบฉบับคนญี่ปุ่นที่ต้องร้องว่า...สุโก้ย...!!!
โดยคนญี่ปุ่นอารมณ์ดีอย่าง " ฮิโระซัง " พาเราไปเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยว
ในมุมมองของคนญี่ปุ่น แบบใหม่ๆ ชิคๆ ที่ไม่เหมือนใคร รับรองว่า สนุก...มันส์...ฮา...ฝุดๆ แน่นอน!!