ผู้วางรากฐาน สกุลเงินยูโร คือใคร ? /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 24 ปีก่อน ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้ง
เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ 3 นโยบายพร้อมกัน นั่นก็คือ
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
การอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี
การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
การดำเนินนโยบายเหล่านี้ ถือเป็นการขัดกับทฤษฎี Impossible Trinity
หรือ สามเป็นไปไม่ได้ ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Robert Mundell
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คนนี้ก็ยังได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งสกุลเงิน “ยูโร”
แล้วบทบาทของ Mundell ต่อสกุลเงินยูโร เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Robert Mundell เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดา เจ้าของรางวัลโนเบลในปี 1999
จากผลงาน ทฤษฎี “Optimal Currency Areas” ที่ตีพิมพ์ในปี 1961
และการบุกเบิกทฤษฎีนี้เอง ทำให้เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานสกุลเงินยูโร
แล้วการรวมกลุ่มกันของประเทศในยุโรป เริ่มต้นขึ้นเมื่อไร ?
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ประเทศในยุโรปอยากที่จะปรองดองและลดความขัดแย้งในอดีต
จึงมองหาแนวทางที่เหมาะสม นั่นคือการรวมตัวและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา ประเทศในยุโรปได้เริ่มให้มีการค้าและการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ระหว่างกันอย่างเสรีและมีการใช้ระบบภาษีแบบเดียวกัน
จนในปี 1992 ก็ได้ตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการว่า สหภาพยุโรป หรือ EU และยังพัฒนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกขั้น ซึ่งต่างจาก ASEAN ที่เป็นเพียงเขตการค้าเสรี
เพราะในปีเดียวกันนั้น สหภาพยุโรปได้เสนอให้ใช้สกุลเงินร่วมกัน
เพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน
และนี่จึงเป็นจุดกำเนิดของสกุลเงิน “ยูโร”
โดยแนวคิดนี้ ก็มีรากฐานมาจากทฤษฎี Optimal Currency Areas (OCA)
ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย คุณ Robert Mundell
แล้ว OCA คืออะไร ?
OCA หรือ เขตเงินตราที่เหมาะสม อธิบายว่าการรวมกลุ่มของประเทศ ที่มีการใช้สกุลเงินเดียวกันจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดได้เมื่อเหล่าประเทศสมาชิก ทำตามเงื่อนไข 4 ข้อ ซึ่งมีใจความสำคัญ ได้แก่
1. แรงงานและทรัพยากร ต้องเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี
2. การเคลื่อนย้ายของเงินทุน การตั้งราคาสินค้าและค่าจ้าง ต้องปรับตามกันได้ง่าย
3. ประเทศที่เศรษฐกิจดี มีเงินเยอะ ต้องช่วยเหลือประเทศที่เศรษฐกิจไม่ดีและขาดดุล
4. วัฏจักรทางธุรกิจของแต่ละประเทศ ถ้าเป็นขาขึ้นก็ควรขึ้นไปด้วยกัน ขาลงก็ลงด้วยกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อปรับให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป
และยังช่วยให้การกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะเมื่อใช้สกุลเงินเดียวกันแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ “การใช้นโยบายการเงินร่วมกัน”
ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก เพราะมันหมายความว่าประเทศเหล่านั้นต้องยอมขาดอิสระในการกำหนดนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเอง
และเรื่องดังกล่าวเราก็ยังสามารถใช้ Impossible Trinity อธิบายได้ด้วย
เพราะเมื่อสหภาพยุโรปอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี และยังใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ โดยมีการผูกสกุลเงินเดิมของแต่ละประเทศไว้กับยูโร ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ จึงไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงินเองได้ และต้องรับนโยบาย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อัตราดอกเบี้ย, เงินเฟ้อเป้าหมาย และอัตราแลกเปลี่ยน ที่เหมือนกัน ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจของตัวเองในตอนนั้นจะเป็นอย่างไร
ซึ่งผู้กำหนดนโยบายการเงินของสกุลเงินยูโร ก็คือ ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB นั่นเอง
ในช่วงเตรียมแผนการเพื่อเริ่มใช้สกุลเงินเดียวกัน
ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญา “Maastricht” และร่วมลงนามในปี 1992
ซึ่งก็ได้มีรากฐานสำคัญมาจากทฤษฎีของคุณ Robert Mundell
โดยสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติร่วมกันของทุกประเทศ
ที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร หลัก ๆ มีอยู่ 4 ข้อ
1. ต้องมีวินัยทางการคลัง
โดยงบประมาณรายปีห้ามขาดดุลเกิน 3% ของ GDP
ในขณะที่หนี้ภาครัฐต้องไม่เกิน 60% ของ GDP
2. ต้องคุมเงินเฟ้อให้ไม่สูงจนเกินไป
โดยอัตราเงินเฟ้อต้องไม่สูงกว่า 1.5% เหนือค่าเฉลี่ยของ 3 ประเทศในกลุ่มที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด
เช่น ค่าเฉลี่ยคือ 0.5% ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อก็ต้องไม่สูงเกิน 2.0%
3. ต้องผ่านการทดสอบความมีเสถียรภาพของสกุลเงินเดิม ก่อนจะเริ่มเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร
โดยต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือผูกค่าเงินสกุลเดิมไว้กับค่าเงินยูโร
และควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ให้ขยับขึ้นลงอยู่ภายในกรอบที่กำหนด อย่างน้อย 2 ปี
4. ต้องควบคุมดอกเบี้ยระยะยาวให้ไม่สูงจนเกินไป
โดยอัตราดอกเบี้ยระยะยาวต้องไม่เกิน 2% เหนือค่าเฉลี่ยของ 3 ประเทศในกลุ่มที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด
หลังผ่านกระบวนการเตรียมความพร้อมมาแล้ว
ในที่สุด สกุลเงินยูโร ก็ได้เริ่มใช้จริง ในวันที่ 1 มกราคม ปี 1999
โดยมี 11 ประเทศแรกเริ่ม และต่อมาประเทศอื่น ๆ ก็ทยอยเข้าร่วม
จนในปัจจุบันมี 19 จาก 27 ประเทศในสหภาพยุโรป ที่ใช้เงินยูโร เรียกรวมว่ากลุ่ม Eurozone
ปัจจุบัน สหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และเชื่อมโยงกันมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันกว่า 566 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาที่มีขนาดเศรษฐกิจ 660 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ยูโรยังเป็นสกุลเงินที่ใช้กันมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในโลกเช่นกัน
คิดเป็น 36.6% ของมูลค่าธุรกรรมการค้าขายทั่วโลก
เป็นรองเพียงดอลลาร์สหรัฐ ที่คิดเป็น 38.3% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ
เพราะการรวมกลุ่มโดยใช้สกุลเงินเดียวกันแบบนี้ ก็มี “จุดอ่อน” ในหลายด้าน
หนึ่งในจุดอ่อนสำคัญ ก็คือการต้องใช้นโยบายการเงินร่วมกันนั่นเอง
ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นมานานแล้ว และกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันเป็นวงกว้างอีกครั้ง ในปี 2010
ที่ผลพวงจากวิกฤติซับไพรม์ในสหรัฐฯ ได้ลามมาเป็นวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป
ต้นตอของปัญหาก็คือว่า ไม่ใช่ทุกประเทศสมาชิก ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่มีร่วมกันได้
หลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม PIIGS ได้แก่ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน
ขาดวินัยทางการคลัง รัฐบาลก่อหนี้จนเกินกว่าข้อกำหนดไปกว่าเท่าตัว
ลุกลามไปเป็นเงินเฟ้อที่สูงกว่าเกณฑ์ และทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผลตอบแทนพันธบัตรฯ นี้ ก็คือต้นทุนการกู้ยืมของตัวรัฐบาลเอง
กลายเป็นว่า ภาระต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น เป็นผลมาจากการก่อหนี้เกินตัว นั่นเอง
หากเป็นกรณีทั่วไป เครื่องมือในการแก้ปัญหา ก็คือนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน
โดยปัญหาการก่อหนี้เกินตัวนี้ หมายถึงว่านโยบายการคลังขาดประสิทธิภาพไปแล้ว
นโยบายการเงินจึงเข้ามามีบทบาทหลักในการแก้ปัญหา
ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนพันธบัตรฯ ที่กำลังพุ่งขึ้น
แต่ในกรณีของประเทศเหล่านี้ ไม่สามารถใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาได้
และนโยบายการเงินของยูโร ก็ไม่ได้สอดคล้องกับประเทศที่มีปัญหาเสียทีเดียว
เพราะนโยบายถูกกำหนดโดยดูจากภาพรวมเศรษฐกิจของทั้งกลุ่ม
ซึ่งทั้งกลุ่ม ก็มีทั้งประเทศที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดได้และไม่ได้
นโยบายการคลัง ก็ใช้การแทบไม่ได้ เพราะขาดดุลไปเยอะแล้ว
นโยบายการเงิน ก็กำหนดเองไม่ได้ เพราะใช้สกุลเงินร่วมกับคนอื่น
ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ และแนวทางการแก้ไข ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้..
มาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะรู้จักกับต้นกำเนิด “สกุลเงินยูโร” ไม่มากก็น้อย
ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Robert Mundell
คนเดียวกับที่คิดค้นทฤษฎี Impossible Trinity
และอีกหลาย ๆ ผลงานที่ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเศรษฐศาสตร์และการเงินระหว่างประเทศ
และสาเหตุที่ลงทุนแมนเขียนบทความนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า
เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา หรือ 4 วันก่อน
คุณ Robert Mundell เพิ่งเสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย 88 ปี
ถึงแม้ว่าตัวเขาจะจากไปแล้ว
แต่ผลงานทั้งหมดที่เขาได้สร้างไว้ ก็น่าจะอยู่กับโลกนี้ และคนรุ่นหลังไปอีกนาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-05/robert-mundell-nobel-prize-winning-economist-dies-at-88
-https://transportgeography.org/contents/chapter7/globalization-international-trade/economic-integration-levels/
-https://www.investopedia.com/terms/o/optimal-currency-area.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Mundell
-https://en.wikipedia.org/wiki/European_Union
-https://en.wikipedia.org/wiki/Maastricht_Treaty
-https://en.wikipedia.org/wiki/European_Exchange_Rate_Mechanism
-https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_euro
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-18/yuan-s-popularity-for-cross-border-payments-hits-five-year-high
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過570的網紅Mich8Lee,也在其Youtube影片中提到,Left Friday night and flew home by Sunday. So much to see and do in Ho Chi Minh (Saigon), this is only the beginning. Here's to more weekend adventure...
asean wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก ย่างกุ้ง เมืองเศรษฐกิจสำคัญ ของเมียนมา /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าปัจจุบัน เมืองหลวงของเมียนมา ถูกย้ายไปยังกรุงเนปยีดอ 15 ปีแล้ว
แต่หลายคนก็คงจะคุ้นเคยกันดี กับชื่อเมืองหลวงเก่า อย่าง “ย่างกุ้ง”
แม้จะไม่ได้เป็นเมืองหลวงของประเทศแล้ว
แต่ ย่างกุ้ง ก็ยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศเมียนมา
โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ
แล้ววันนี้ เศรษฐกิจของเมืองย่างกุ้ง มีความสำคัญกับประเทศเมียนมา มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย่างกุ้ง อดีตนั้นมีชื่อเดิมว่า ดากอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ
และมีสถานที่สำคัญของเมือง คือ เจดีย์ชเวดากอง
ที่เป็นหนึ่งสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่ขึ้นชื่อมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมียนมา
ต่อมาในปี ค.ศ. 1755 พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์ของเมียนมาในยุคสมัยนั้น สั่งให้มีการบูรณะเมืองดากองให้เป็นเมืองสำคัญ พร้อมกับสถาปนาชื่อใหม่ที่มีชื่อว่า “ย่างกุ้ง (Yangon)”
ความรุ่งเรืองจากการบูรณะเมืองครั้งใหญ่ในครั้งนั้น
ดึงดูดให้ประชากรชาวเมียนมา อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ต่อมาในยุคล่าอาณานิคม
เมียนมาตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตั้งแต่ปี 1824
อังกฤษได้เข้ามาทำการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง
ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า และการเมืองของประเทศ
พร้อมทั้งแต่งตั้งให้ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของเมียนมา ในปี 1853
ย่างกุ้งภายใต้อาณานิคมของอังกฤษเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
มีการจัดตั้งสถานพยาบาล, ระบบคมนาคมขั้นพื้นฐาน, สถานศึกษา และก่อตั้งมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ขึ้นในปี 1878 ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศเมียนมา
ย่างกุ้ง ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของเมียนมาถึง 153 ปี
ก่อนที่ต่อมารัฐบาลทหารของเมียนมา ได้ย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้ง ไปยัง กรุงเนปยีดอ ในปี 2006
ทำให้ย่างกุ้ง ได้ยุติบทบาทของการเป็นเมืองหลวงลง ตั้งแต่ตอนนั้น
ปัจจุบัน ย่างกุ้งมีพื้นที่รวม 10,170 ตารางกิโลเมตร
ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1.5% ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศ
ขณะที่ย่างกุ้งมีจำนวนประชากรประมาณ 7.3 ล้านคน
หรือคิดเป็นประมาณ 14% ของจำนวนประชากรเมียนมา
แม้ปัจจุบัน เมืองหลวงของเมียนมา ถูกย้ายไปอยู่เมืองเนปยีดอแล้ว
แต่ย่างกุ้งยังคงมีบทบาทเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ, อุตสาหกรรม, การค้า, การลงทุน, การเดินทาง, การท่องเที่ยว และเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าสำคัญของเมียนมา
ที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
ซึ่งมีพื้นที่รวมกันประมาณ 15,000 ไร่
ที่ใช้เงินลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจแห่งนี้ไปกว่า 98,400 ล้านบาท
ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลเมียนมา กับบริษัทเอกชนญี่ปุ่นอีก 3 แห่ง
โดยรัฐบาลเมียนมาถือหุ้นในโครงการดังกล่าว 51%
และบริษัทเอกชนญี่ปุ่น 3 แห่ง คือ บริษัท Mitsubishi Corp., Marubeni Corp. และ Sumitomo Corp. ที่ถือหุ้นรวมกัน 49%
เขตเศรษฐกิจแห่งนี้ ทางรัฐบาลเมียนมาใช้เพื่อรองรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฮเทค อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก
ด้วยการเป็นที่ตั้งของเศรษฐกิจพิเศษนี้เอง
ทำให้ขนาดเศรษฐกิจของเมืองย่างกุ้ง มีขนาดใหญ่
เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจทั้งประเทศเมียนมา
โดยในปี 2018 มูลค่า GDP ของย่างกุ้ง สูงกว่า 570,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศ
ในแง่ของการเดินทางและการท่องเที่ยว
ย่างกุ้งยังเป็นที่ตั้งของหนึ่งในสนามบินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมา
โดยในปี 2018 มีผู้โดยสารเดินทางมาใช้บริการสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง กว่า 6.1 ล้านคน
ซึ่ง 64% เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
ภายในตัวเมืองย่างกุ้ง ยังมีสวนสาธารณะ และทะเลสาบที่กว้างขวาง
ทั้งยังมีอาคารที่ทันสมัย และสถาปัตยกรรมไม้แบบดั้งเดิม
ทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “สวนเมืองแห่งทิศตะวันออก” หรือ The Garden City of the East
เมืองย่างกุ้งยังเป็นที่ตั้งของ Myanmar Investment Commission
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่อนุมัติการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้าไปลงทุนในเมียนมา
ที่สำคัญก็คือ ย่างกุ้ง เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง
หรือ Yangon Stock Exchange ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2015
ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของประเทศเมียนมา
และปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้ มีบริษัทจดทะเบียนอยู่ทั้งหมด 6 บริษัท
แม้ว่าวันนี้ ย่างกุ้ง จะไม่ได้ดำรงฐานะเป็นเมืองหลวงของเมียนมาแล้ว
แต่จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า
เมืองหลวงเก่าแห่งนี้ คือเมืองที่มีความสำคัญอย่างมาก ต่อเศรษฐกิจประเทศเมียนมา..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
เมียนมา เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง รวมไปถึงแหล่งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งปัจจุบัน เมียนมานับเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ในเอเชียเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.macrotrends.net/cities/20339/yangon/population
-https://en.wikipedia.org/wiki/Thilawa_Special_Economic_Zone
-https://www.exim.go.th/eximinter/e-news/11285/enews_july2014_CLMV.html
-https://www.eyeonasia.gov.sg/asean-countries/know/overview-of-asean-countries/yangon-a-city
-https://elevenmyanmar.com/news/yangon-gdp-expected-to-hit-89-pc-next-fy
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD?locations=MM
-https://marketdata.set.or.th/th/gms_exchanges/overview.html
-https://www.aseanbriefing.com/news/myanmar-opens-stock-market-to-foreign-investors
-https://ysx-mm.com/
asean wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
VietJet Air สายการบินที่มีกำไร ในวิกฤติโรคระบาด /โดย ลงทุนแมน
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการระบาดของโควิด 19
สายการบินเกือบทุกแห่ง ต้องหยุดดำเนินธุรกิจชั่วคราว
และจำนวนผู้โดยสารก็หายไปอย่างน่าใจหาย
ส่งผลให้สายการบินส่วนใหญ่ ล้วนมีผลประกอบการขาดทุนหนัก
อย่างเช่น ในประเทศไทย ช่วง 9 เดือนแรก ปี 2020
การบินไทย ขาดทุน 49,553 ล้านบาท
การบินกรุงเทพ ขาดทุน 4,882 ล้านบาท
นกแอร์ ขาดทุน 3,936 ล้านบาท
ไทยแอร์เอเชีย ขาดทุน 3,650 ล้านบาท
แต่รู้ไหมว่า สายการบิน “VietJet Air” จากประเทศเวียดนาม
กลับสามารถสร้างกำไรได้ในปีที่ผ่านมา แถมยังไม่ได้ปลดพนักงานออกอีกด้วย
VietJet ทำอย่างไรให้ตัวเองรอดพ้นจากวิกฤติ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
VietJet Air เป็นสายการบิน Low-cost สัญชาติเวียดนาม
ก่อตั้งขึ้นโดยนักธุรกิจหญิง ชื่อว่า คุณเหงียน ที เฟือง เถา
โดย VietJet เริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินแรก เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2011
ซึ่งถือเป็นสายการบินเอกชนรายที่สองของประเทศเวียดนาม
ในช่วงปี 2011-2019 เศรษฐกิจเวียดนาม เติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 6.3%
ส่งผลให้ประชาชนมีฐานะดีขึ้น และมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งรวมไปถึงการนั่งเครื่องบินโดยสาร
พอเป็นเช่นนี้ สายการบิน VietJet ที่ราคาตั๋วไม่แพง จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ถึงขนาดที่เมื่อปลายปี 2019 บริษัทสามารถก้าวขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาด ได้ประมาณ 42% ของสายการบินท้องถิ่นทั้งหมด แซงหน้ากระทั่งสายการบินแห่งชาติอย่าง Vietnam Airline เลยทีเดียว
ปัจจุบัน VietJet ให้บริการเที่ยวบินอยู่ 47 เส้นทางการบิน ทั้งบินในเวียดนาม และประเทศภูมิภาคใกล้เคียง เช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย และกลุ่ม ASEAN ที่ไทยเป็นหนึ่งในนั้น
โดยผลประกอบการล่าสุดของ VietJet Air
ปี 2018 รายได้ 69,650 ล้านบาท กำไร 6,900 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 65,800 ล้านบาท กำไร 4,900 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 23,700 ล้านบาท กำไร 90 ล้านบาท
จะเห็นได้ชัดเจนว่า บริษัทมีรายได้ลดลงมากในปีที่แล้ว เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ผู้โดยสารที่เคยใช้บริการเที่ยวบินหายไปเกือบหมด
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่สายการบินอื่นๆ ทั่วโลก กำลังประสบปัญหาขาดทุนกันอย่างหนัก
แต่ VietJet ยังพลิกกลับมาทำกำไรจากการดำเนินงานได้ แม้เพียงแค่เล็กน้อยก็ตาม
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ VietJet มีกำไร?
เมื่อเครื่องบินไม่มีคนนั่ง บริษัทจึงพยายามหาผู้โดยสารรายใหม่มาทดแทน
ซึ่งคราวนี้ไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็น “สินค้า”
โดยในปีที่ผ่านมา VietJet เป็นสายการบินแรกของเวียดนาม
ที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ให้ดำเนินการบรรทุกสินค้าภายในห้องผู้โดยสารได้
บริษัทจึงเริ่มขยายธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ
ซึ่งจุดหมายปลายทางไม่ใช่แค่ในเวียดนาม แต่ส่งไปยังสหรัฐอเมริกา และยุโรปด้วย
โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมา
VietJet Air ก็ได้ทำข้อตกลงเป็นพันธมิตรกับ United Parcel Service (UPS) บริษัทขนส่งสินค้ายักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ
ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ยอดใช้บริการขนส่งสินค้า เติบโตกว่า 75% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า
ส่งผลให้ในปี 2020 นั้น VietJet Air มีรายได้จากธุรกิจเสริม คิดเป็นสัดส่วน 50% ของรายได้ทั้งหมด หรือประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งเข้ามาช่วยชดเชยธุรกิจเที่ยวบินโดยสารได้บางส่วน
นอกจากนั้น บริษัทยังได้พัฒนามาตรฐานบริการ และบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เช่น
การเปิดศูนย์บริการภาคพื้นดินของตัวเอง ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ กรุงฮานอย
หรือการทำสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งขณะนั้นราคาตกต่ำเหลือราว 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ VietJet Air มีต้นทุนเชื้อเพลิงถูกกว่าตลาดถึง 25%
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ที่ผ่านมา บริษัทไม่มีนโยบายปลดพนักงานออกเพื่อลดต้นทุน
และได้ใช้ช่วงเวลาที่หยุดดำเนินธุรกิจเที่ยวบินโดยสาร มาเป็นโอกาสฝึกอบรมพนักงาน ทั้งในสถานที่จริงและผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อรักษาคุณภาพของบริการ ให้พร้อมสำหรับกลับมาบินได้ทุกเมื่อ
ประจวบเหมาะกับที่เวียดนามสามารถควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ดี
เมื่อสิ้นปีมีจำนวนผู้ติดเชื้อแค่เพียง 1,465 ราย
ทำให้ VietJet Air กลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศได้อย่างรวดเร็ว
จากความพยายามทั้งหมดนี้ จึงส่งผลให้สายการบิน VietJet Air ยังสามารถทำกำไรได้
รวมทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่ออนาคตของบริษัทให้แก่นักลงทุน
โดยในช่วงวิกฤติโควิด 19 ราคาหุ้น VietJet ทำจุดต่ำสุดอยู่ที่ 93,200 ดองต่อหุ้น (ราว 120 บาท)
แต่ปัจจุบัน ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 129,000 ดองต่อหุ้น (ราว 170 บาท)
ทำให้ล่าสุด VietJet Air มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 88,500 ล้านบาท
ซึ่งใหญ่กว่า ทุกสายการบินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมกันเสียอีก
เรื่องราวนี้คงเป็นตัวอย่างที่ดีว่า
แม้ต้องเจอกับวิกฤติที่หนักหนาสาหัส
แต่มันอาจมีช่องทางธุรกิจให้หารายได้ใหม่ๆ จากสินทรัพย์ที่มีอยู่เดิมได้
และถ้าเราสามารถประคองตัวให้รอดพ้นจากวิกฤติได้ดี
ก็เหมือนกับว่า เรากลับมายืนอยู่บนจุดสตาร์ต และพร้อมออกวิ่งทันทีที่สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ
ในขณะที่ คนที่บาดเจ็บหนัก อาจยังต้องพักรักษาตัวต่อ และไม่แข็งแกร่งเหมือนแต่ก่อนแล้ว
ซึ่งเชื่อว่า VietJet Air ก็น่าจะเป็นหนึ่งในสายการบิน ที่มีโอกาสฟื้นตัวหลังวิกฤติ ได้เร็วกว่าคนอื่น..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://ir.vietjetair.com/Home/ViewPost/Vietjet-reports-VND274-billion-of-after-tax-profit-in-Q4,-making-profits-in-2020
-https://simpleflying.com/vietjet-2020-profit/
-https://simpleflying.com/vietjet-no-losses-layoffs/
-https://www.reuters.com/companies/VJC.HM/financials/income-statement-annual
-https://en.wikipedia.org/wiki/VietJet_Air
-https://vietnamnews.vn/economy/571056/new-players-reshape-vietnamese-aviation-market.html
asean wiki 在 Mich8Lee Youtube 的最佳解答
Left Friday night and flew home by Sunday. So much to see and do in Ho Chi Minh (Saigon), this is only the beginning. Here's to more weekend adventures!
From wiki:
Ho Chi Minh City, formerly known as Saigon is the largest city in Vietnam by population. It was once known as Prey Nokor prior to annexation by the Vietnamese in the 17th century. Under the name Saigon, it was the capital of the French colony of Cochinchina and later of the independent republic of South Vietnam 1955–75. On 2 July 1976, Saigon merged with the surrounding Gia Định Province and was officially renamed Ho Chi Minh City after revolutionary leader Hồ Chí Minh.
Here are the places we visited:
1. Ben Tanh Market
2. Bui Vien Street
3. Cu Chi Tunnels
4. Chill Skybar
Hotel:
Alagon Central Hotel & Spa
Subs appreciated!
asean wiki 在 ASEAN explained in 5 minutes - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>